1.2 การกำกับดูแลองค์กรและการสร้างประโยชน์ให้สังคม (Governance and Societal Contributions)

1. การนำองค์กร
1.2 การกำกับดูแลองค์กรและการสร้างประโยชน์ให้สังคม (Governance and Societal Contributions)
สถาบันดำเนินการอย่างไรในการกำกับดูแลองค์กร และสร้างประโยชน์ให้สังคม (50 คะแนน)

  • ก.1 ระบบกำกับดูแลองค์กร (Governance system)
    สถาบันทำให้มั่นใจได้อย่างไรว่ามีการกำกับดูแลองค์กรด้วยความรับผิดชอบอย่างครอบคลุมอย่างรอบด้าน
  • ก.2 การประเมินผลการดำเนินการ (PERFORMANCE Evaluation)
    สถาบันประเมินผลการดำเนินการของผู้นำระดับสูงและคณะกรรมการกำกับดูแลองค์กรอย่างไร
  • ข.1 การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ และการรับรองคุณภาพ (Legal, Regulatory, and Accreditation Compliance)
    สถาบันดำเนินการด้านกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับในปัจจุบันและในอนาคต รวมถึงความกังวลของชุมชนที่มีต่อหลักสูตรการศึกษา วิจัย และบริการฯ และการปฏิบัติการอย่างไร
  • ข.2 การประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม (ETHICAL BEHAVIOR)
    สถาบันดำเนินการอย่างไรในการส่งเสริมและสร้างความมั่นใจว่าปฏิสัมพันธ์ทุกด้านของสถาบันเป็นไปอย่างมีจริยธรรม
  • ค.1 ความผาสุกของสังคม (Societal Well-being)
    สถาบันคำนึงถึงความผาสุกและผลประโยชน์ของสังคมเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์และการปฏิบัติการประจำวันอย่างไร
  • ค.2 การสนับสนุนชุมชน (Community Support)
    สถาบันดำเนินการอย่างไรในการสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนที่สำคัญ (KEY communities) ของสถาบัน
1.2-การกำกับดูแลองค์กรและสร้างประโยชน์แก่สังคม-p34-37

1.2.1 ระบบการกำกับดูแลองค์กร (Governance system)
การกำกับดูแลองค์กรของคณะบริหารธุรกิจ ดำเนินการโดย คณะกรรมการ 2 ชุด คือ
– (คณะกรรมการ)สภาวิทยาลัย เป็นบอร์ดสูงสุดมีหน้าที่กำกับดูแลสถาบัน มีอธิการบดีเป็นเลขานุการ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกเป็นนายกสภา ผู้รับใบอนุญาตเป็นอุปนายกสภา ตัวแทนผู้ถือหุ้นเป็นกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากต้นสังกัด ศาสตราจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกซึ่งเป็นประธานกรรมการพิจารณาตำแหน่งวิชาการของอาจารย์ในสถาบัน ตัวแทนอาจารย์
– (คณะกรรมการ)สภาวิชาการ มี อธิการบดีเป็นประธาน รองอธิการบดี 3 ฝ่าย และคณบดีของ 5 คณะ ผอ.สำนักวิชาการ และ ผอ.สำนักประกันคุณภาพ เป็นกรรมการ
คณะมีการกำกับดูแลคณบดี ร่วมกับผู้นำระดับสูงของสถาบันดังนี้

ความรับผิดชอบในการกำกับดูแลองค์กรการดำเนินการ
ความรับผิดชอบในการกระทำของผู้นำระดับสูงในการประชุมกรรมการสภาสถาบัน คณบดีนำเสนอแผนการปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ และขออนุมัติจากสภาสถาบันเพื่อดำเนินการ
เมื่อสิ้นปี คณบดีรายงานผลการดำเนินการตามประเด็นความรับผิดชอบต่างๆ
สถาบันแต่งตั้งกรรมการภายในเป็นผู้ประเมินความรับผิดชอบของคณบดีตามประเด็นที่กำหนด
ความรับผิดชอบต่อกลยุทธ์คณบดีรายงานผลสำเร็จของการดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ต่อสภาสถาบันปีละ 2 ครั้ง โดยแสดงความรับผิดชอบต่อผลงานเมื่อเทียบกับวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
ความรับผิดชอบด้านการเงินสถาบันแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชีอิสระภายนอกสถาบัน เป็นผู้ตรวจสอบรายงานการเงินและกองทุนต่างๆ ตามนโยบายของ สน.ปลัดกระทรวง อว. ต้นสังกัด
ความโปร่งใสในการดำเนินการอธิการบดีเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญให้แก่กรรมการสภาทราบและส่งเสริมให้กรรมการพูดคุยแบบเปิดใจเพื่อความเป็นประโยชน์ต่อสถาบัน ก่อนการประชุมจริง และมีบันทึกการประชุมและรายงานต่อต้นสังกัดเพื่อแสดงความโปร่งใสในการดำเนินการของคณะกรรมการสภาสถาบัน
การปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ถือหุ้นผู้ถือหุ้นมีการเสนอชื่อตัวแทนเป็นกรรมการสภาสถาบัน
มากกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการสภาสาบันรวมถึงนายกสภาฯ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่มีความเป็นอิสระ ไม่มีความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของสถาบัน
การวางแผนสืบทอดตำแหน่งของผู้นำคณบดีมีการวางแผนสรรหาผู้สืบทอดตำแหน่งคณบดี
คณบดีมีแผนที่จะใช้เกณฑ์เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Performance Execellence) เป็นหลักในการบริหารของผู้นำและหัวหน้างานทุกระดับในสถาบัน

1.2.2 การประเมินผลการดำเนินการ (Performance evaluation)
ทุกสิ้นปีการศึกษาคณบดีจะถูกประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยคณะกรรมการประเมินผู้บริหารคณะซึ่งประกอบด้วย อธิการบดี และ รองอธิการบดีทั้ง 3 ฝ่าย ในประเด็นของความรับผิดชอบที่ครอบคลุมและรอบด้านดังนี้

ประเด็นที่คณบดีถูกประเมิน ในปีการศึกษา 2565ประเด็นที่คณบดีจะต้องรายงานผลก่อนถูกประเมิน ในปีการศึกษา 2566
– การบริหารงานตามภารกิจหลัก 4 ด้าน คือ การผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการ และศิลปะวัฒนธรรม
– ผลการบริหารคณะ ตามนโยบาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ
– ผลสำเร็จตามแผนกลยุทธ์ แผนงาน แผนเงิน และแผนคน
– การบริหารผลงานและการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร
– ผลการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล 10 ประการ คือ หลักประสิทธิผล ประสิทธิภาพ การตอบสนอง ความรับผิดชอบ การมีส่วนร่วม การกระจายอำนาจ นิติธรรม ความเสมอภาค และการมุ่งฉันทามติ
– ความรับผิดชอบในการกระทำของคณบดี
– ความรับผิดชอบต่อกลยุทธ์
– ความรับผิดชอบด้านการเงิน
– การปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้ถือหุ้น
– การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง

ส่วนการประเมินคณะกรรมการกำกับดูแลองค์กรนั้น สถาบันยังไม่มีนโยบายให้ผู้นำระดับสูงหรือผู้บริหารคณะประเมินกรรมการสภาสถาบัน แต่ในอนาคตอาจจัดให้มี Council audit committee ประเมินผลลัพธ์ที่เกิดจากนโยบายและข้อเสนอแนะของกรรมการสภาฯ โดยพิจารณาจากผลลัพธ์ที่เกิดจากการนำองค์กร (7.4) ในประเด็นดังต่อไปนี้
– ผลที่ได้จากการสื่อสารและสร้างความผูกพันของบุคลากร
– ผลที่ได้จากความรับผิดชอบในการกำกับดูแลองค์กร
– ผลด้านกฎหมาย กฎระเบียบ และการรับรองคุณภาพ
– ผลที่ได้จากการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม
– ผลด้านความผาสุกของสังคมและการสนับสนุนชุมชนที่สำคัญ

1.2.7 คณะมีการกำกับดูแลให้บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
คณะมีการกำกับให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ ดังนี้
– เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้บุคลากรตระหนักในค่านิยมหลัก คือ ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นผู้เรียนหรือลูกค้า การมุ่งเน้นความสำเร็จ และการส่งมอบคุณค่าและผลลัพธ์
– มอบหมายงานโดยคำนึงถึงขีดความสามารถและภาระหน้าที่อื่นของผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงความเหมาะสมของผู้สนับสนุน
– ให้บุคลากรรายงานผลงานประจำปีเป็นรายบุคคล
– หลังสิ้นสุดการดำเนินงานประจำปี บุคลากรต้องประเมินผลงานของตนเองตามแผนหรืองานที่ได้รับมอบหมาย และเขียนแผนพัฒนาตนเองเป็นรายบุคคล
– มีการดำเนินงานตามแผนพัฒนาความสามารถของบุคลากร
– มีการประเมินความดีความชอบของบุคลากรประจำปี โดยใช้ความสำเร็จตามตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติการ และค่านิยมของคณะ

คณบดีให้อาจารย์แต่ละคน ทั้งที่เป็นอาจารย์ประจำและอาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรของคณะ จัดส่งรายงานวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของตนเองประจำปี และแผนการพัฒนาตนเองและแผนปฏิบัติการสำหรับปีการศึกษาต่อไป ก่อนจะมีการพิจารณาว่าจะต่อหรือไม่ต่อสัญญาจ้าง ทั้งนี้เพื่อขออนุมัติต้นสังกัดในการจัดทำใบอนุญาตทำงานและวีซ่าให้กับอาจารย์ชาวต่างชาติต่อไป
แบบฟอร์มการรายงานของอาจารย์
ตัวอย่างรายงานที่อาจารย์ส่ง

1.2.8 คณะมีการประเมินผล เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
คณะมีการประชุมทบทวนผลการปฏิบัติงานตามแผนกลยุทธ์ประจำปี โดยทบทวนภาคการศึกษาละครั้ง
– บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (Executive summary) และ รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปี 2564-65 ของคณะบริหารธุรกิจ
– แผนการปรับปรุงผลการดำเนินงาน สำหรับปีการศึกษา 2566-67 (Improvement plan for 2023-24)

พิจารณาตามมาตรฐาน วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา (STIC-QA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-6 ข้อ7-8 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-6 ประเมิน 50 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการประเมินตนเอง

1.2 Governance & societal contributionsระบุข้อ (จำนวนข้อ) ที่ทำได้คะแนนหมายเหตุ
ผลการประเมินตนเองตาม IQA1, 2, 7, 8 (4 ข้อ)3มีการดำเนินการตามแผนบางส่วน และได้ปรับปรุงแผนสำหรับปีต่อไป
1. Governance system
2. Performance evaluation
7. กำกับดูแลให้บุคลากรทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
8. ประเมินผลเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ผลการประเมินตนเองตาม EdPEx1, 22.5/50ยังไม่มีแนวทาง

ผลการประเมินตนเอง โดยคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตร
Scores as confirmed by Internal Quality Assurance Committee

ผลการประเมินของกรรมการ เกณฑ์ IQA ที่ทำได้ / ทั้งหมด (ข้อ)คะแนน IQAEdPEx rubrics score (%)คะแนน EdPEx (คะแนนเต็ม)
1.1 Senior leadership4 / 735%3.5 (70)
1.2 Governance & societal contributions4 / 835%2.5 (50)
คะแนน IQA เฉลี่ย/EdPEx รวม36 (120)

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน รายการ
1.2.2-01รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ คณะบริหารธุรกิจ ปีการศึกษา 2565
1.2.2-02ข้อบังคับวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ว่าด้วย จริยธรรมและธรรมาภิบาล พ.ศ. 2565
1.2.2-03แบบประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณบดี
1.2.7-01คู่มือมาตรฐานคุณภาพการศึกษา วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา พ.ศ. 2565
1.2.8-01รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี 2565