3.2 ความผูกพันของลูกค้า

3.2 ความผูกพันของลูกค้า (ชุดคำถามจากเกณฑ์ EdPEx ไทย 2563-66)

3.2-ความผูกพันของลูกค้า

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-6 ข้อ7-8 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-4 ประเมิน 45 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

3.2-1 คณะมีวิธีการอย่างไรในการสร้าง และจัดการความสัมพันธ์กับผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น
(ชุดคำถาม: คณะมีวิธีอย่างไรในการทำการตลาดหรือประชาสัมพันธ์ สร้างและจัดการความสัมพันธ์กับผู้เรียนเพื่อให้ได้ผู้เรียนและส่วนแบ่งตลาด เพื่อจัดการและเสริมสร้างภาพลักษณ์ และเพื่อรักษาผู้เรียนไว้โดยตอบสนองความต้องการและทำให้เหนือความคาดหวัง)

คณะบริหารธุรกิจ ได้ดำเนินการและมีแผนสร้างและจัดการความสัมพันธ์กับผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น เพื่อวัตถุประสงค์และด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

ObjectivesMethods
To acquire new students and market sharePrograms roadshow, school visit and in-class meeting with students, parent visit, publicizing news and activities through social media posts and advertisements, response to social media inquiries, following-up with the prospects
To maintain current students and exceed their expectationsPlanning to collect, aggregate, analyze and use complaint data and incident reports to drive the improvements and minimize dissatisfaction and loss of confidence
To manage and enhance the brand imagePlanning to make good use of alumni testimonials and success stories to create perception and brand image toward the program offerings by means of social media communication

3.2-2 คณะมีวิธีการอย่างไรในการช่วยให้ผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นสามารถสืบค้นสารสนเทศ และรับการสนับสนุนจากสถาบัน
(ชุดคำถาม: ผู้เรียนหรือลูกค้าอื่นจะเข้าถึงบริการและรับการสนับสนุนอย่างไร คณะมีการสนับสนุนที่สำคัญและการสื่อสารหลักอะไรบ้าง วิธีให้การสนับสนุนนี้แตกต่างกันอย่างไรระหว่างกลุ่มผู้เรียน ลูกค้า และส่วนตลาด คณะมีวิธีค้นหาความต้องการหลักที่ผู้เรียนและลูกค้าจะขอรับการสนับสนุนอย่างไร และถ่ายทอดสู่ทุกคนและกระบวนการที่เกี่ยวข้องเพื่อปฏิบัติอย่างไร)

คณะบริหารธุรกิจมีแผนที่จะให้บริการแก่นักศึกษาในสิ่งที่พวกเขาต้องการรับการสนับสนุนจากทางคณะ เพื่อประโยชน์ในการสร้างความผูกพันกับผู้เรียน เช่น การฝึกฝนข้อสอบภาษาอังกฤษ TOEIC เพื่อให้ได้ระดับคะแนนที่ดีขึ้น ทักษะการสัมภาษณ์งานด้วยภาษาอังกฤษ ทักษะการนำเสนองานด้วยภาษาอังกฤษ ใช้บล็อกหรือเว็บไซต์แนะนำและให้ข้อคิดในการเตรียมตัวหาที่ฝึกงานที่มีประโยชน์ การสร้าง portfolio ที่แสดงทักษะวิชาชีพหรือผลงานของนักศึกษาระหว่างที่เรียน และการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่อาชีพให้แก่นักศึกษา ซึ่งอาจมีข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงาน องค์กร และลักษณะของงานหรืออาชีพที่ต้องการบุคคลากรที่จบสาขาวิชาที่นักศึกษาเรียนอยู่ การสัมภาษณ์ศิษย์เก่าซึ่งมีประสบการณ์ที่ดีมาแบ่งปันให้รุ่นน้อง เป็นต้น

และเพื่อให้นักศึกษาสามารถนำเสนอหัวข้อหรือประเด็นคำถามเพื่อขอรับข้อมูลหรือการสนับสนุนเพิ่มเติมจากที่ทางคณะได้จัดเตรียมไว้ให้แล้วนั้น คณะได้จัดช่องทางการสื่อสารให้นักศึกษาสามารถส่งข้อความถึงคณบดีและคณะกรรมการบริหารคณะ โดยผ่านทาง online form ที่เรียกว่า Message to the Dean ซึ่งนักศึกษาสามารถเข้าถึงและกรอกแบบฟอร์ม (google form) เพื่อขอข้อมูลหรือขอรับการสนับสนุนจากคณบดีได้ โดยมี URLให้นักศึกษาสามารถเข้าถึงได้ทาง Registration / MIS student portal, facebook messenger และ STIC email 

     นอกจากนี้ วิทยาลัยมีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลให้ผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นได้รับทราบทางเว็บไซต์หลักของวิทยาลัย (www.stic.ac.th) ซึ่งจะมีข้อมูลที่ปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันเกี่ยวกับรายวิชา หลักสูตร กรรมการบริหารคณะ ข่าวจากคณบดีและศิษย์เก่า รวมไปถึงระบบรับสมัครเข้าศึกษาออนไลน์และเพจเฟซบุ๊ค (Facebook pages) ของทั้งวิทยาลัยและของคณะบริหารธุรกิจ

     นอกจากจะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินภารกิจการจัดการเรียนการสอนแล้ว ยังใช้ในการบริหารจัดการงานด้านอื่น ๆ เช่น ระบบสารสนเทศของวิทยาลัย ที่สามารถกำกับติดตามการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย และยังเชื่อมโยงกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (UlibM) ของศูนย์วิทยการในการให้บริการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ และบริการออนไลน์ต่าง ๆ ไปจนถึงแหล่งข้อมูล เพื่อการสนับสนุนการเรียนรู้ภายนอก

3.2-3 คณะมีวิธีการอย่างไรในการจัดการข้อร้องเรียนจากผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น
(คณะมีวิธีการอย่างไรในการแก้ไขข้อร้องเรียนอย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิผล สามารถเรียกความเชื่อมั่นของผู้เรียนคืนมาได้อย่างไร สร้างเสริมความพึงพอใจและผูกพัน และหลีกเลี่ยงข้อร้องเรียนแบบนี้ในอนาคตได้อย่างไร)

     คณะใช้ช่องทาง Message to the Dean ในการรับเรื่องและจัดการข้อร้องเรียนจากนักศึกษา โดยข้อมูลที่นักศึกษาส่งข้อร้องเรียนทางแบบฟอร์มออนไลน์นั้นจะถูกส่งตรงมายัง email ของคณบดีเพื่อจะสามารถรับทราบและแก้ไขข้อร้องเรียนได้อย่างทันท่วงที โดยที่

     1) คณบดีจะเป็นผู้พิจารณาตอบข้อร้องเรียนให้แก่นักศึกษา และนำเสนอต่อที่ประชุมกรรมการคณะเพื่อแก้ไขข้อร้องเรียน หรือช่วยเหลือนักศึกษาตามที่ประเด็นที่ขอรับการสนับสนุน

     2) อาจารย์ทึ่ปรึกษาชี้แจงให้นักศึกษาทราบถึงกติกาและวิธีการส่งข้อร้องเรียนทาง Message to the Dean ในกิจกรรมการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ประจำปี และในชั่วโมงที่นักศึกษาเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาพร้อมกันทั้งกลุ่มตามตารางนัดหมาย และระบุเป็น procedure ในคู่มือนักศึกษา

     คณะจัดการข้อร้องเรียนโดยการรวบรวมข้อมูลมาพิจารณาและประเมินระดับปัญหาและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อการปรับปรุงการให้บริการ หรือจัดการปัญหาที่อยู่ในข้อร้องเรียนโดยเร็ว และจัดเก็บรวบรวม จัดหมวดหมู่ของข้อร้องเรียน เพื่อเป็นสารสนเทศที่ใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงของคณะต่อไป

3.2-4 คณะมีวิธีการอย่างไรในการค้นหา ความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ และความผูกพันของผู้เรียน และลูกค้ากลุ่มอื่น

     คณะบริหารธุรกิจกำหนดช่องทางการสื่อสาร เพื่อประเมินความพึงพอใจ และความไม่พึงพอใจของผู้เรียน และลูกค้ากลุ่มอื่น ผ่านแบบประเมินความพึงพอใจต่อการรับบริการต่าง ๆ และการจัดการข้อร้องเรียน

5. คณะมีวิธีการอย่างไรในการรวบรวมสารสนเทศเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น

     มีการประเมินความพึงพอใจและความไม่พึงพอใจต่อการรับบริการต่าง ๆ และระบบการจัดการข้อร้องเรียน อย่างไรก็ตามการประเมินเพื่อสะท้อนกลับด้านความผูกพันธ์ที่ศิษย์เก่ามีต่อหลักสูตรยังไม่มีความชัดเจน ไม่สามารถเปรียบเทียบกับองค์กรอื่นได้ ซึ่งเป็นข้อที่ควรพัฒนา

6. คณะมีวิธีการอย่างไรในการใช้ข้อมูลและสารสนเทศที่ได้จากเสียงของลูกค้าและตลาด

     คณะบริหารธุรกิจ มีการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประจำปี และประเมินผลลัพธ์การดำเนินงาน ด้านการผลิตบัณฑิต โดยใช้ข้อมูลและสารสนเทศจากการประเมินความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต

     คณะบริหารธุรกิจ มีการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศของบัณฑิตในการสำรวจภาวะการมีงานทำ และประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

     ผลการสำรวจภาวะการมีงานทำประจำปี 2565 ตามที่รายงานข้อมูลรายบุคคลอุดมศึกษาต่อศูนย์สารสนเทศอุดมศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2566 (ผ่านระบบ www.employ.mhesi.go.th) พบว่า บัณฑิตคณะบริหารธุรกิจ (รวมทุกหลักสูตร) มีงานทำร้อยละ 91.27 ซึ่งสูงกว่าค่าเป้าหมาย ร้อยละ 80 ของวิทยาลัย ซึ่งถือว่า บัณฑิตมีงานทำอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ และร้อยละ 60.89 บัณฑิตมีรายได้ตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป / เดือน โดยผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต เฉลี่ยรวมทุกรายด้าน (ด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ด้านสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 และทักษะภาษาอังกฤษ) เท่ากับ 4.23 จากระดับ 5 คะแนน

7. กำกับดูแลให้เกิดการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้และการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน

คณะกรรมการบริหารของแต่ละหลักสูตร ดำเนินการกำกับดูแลกระบวนการจัดการเรียนการสอน การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และการประเมินสมรรถะผู้เรียนรายชั้นปี และสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษในชั้นปีสุดท้าย และผลการประเมินมาวิเคราะห์ ทบทวน และปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน

8. จัดบริการให้คำปรึกษาและการดูแลผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จในการศึกษา

     คณะบริหารธุรกิจ กำหนดระบบและกลไกการให้คำปรึกษา ทั้งในด้านการเรียน การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การใช้ชีวิตส่วนตัว และทุนการศึกษาของนักศึกษา ผ่านชั่วโมงการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษา และช่องทางการสื่อสารออนไลน์กับอาจา่รย์

     นอกจากนี้ตั้งแต่ในระดับสถาบัน วิทยาลัยจัดกิจกรรมการเตรียมความพร้อมนักศึกษาตั้งแต่แรกเข้า คือ ช่วงที่เรียนปรับพื้นฐานภาษาอังกฤษแบบเข้มข้น (Intensive English Program: IEP) ซึ่งมีอาจารย์ดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิด มีการจัดกิจกรรม “Dorm Night” ทุกวันพุธ บริเวณลานสนามหญ้าของหอพัก 1 – 3 เพื่อส่งเสริมพื้นที่การใช้ชีวิต หรือการเป็น Campus Life ในวิทยาลัย สร้างความคุ้นเคยในการใช้ภาษาอังกฤษผ่านกิจกรรมดนตรีและเกมการละเล่น และสร้างความสัมพันธ์กับอาจารย์และเพื่อน ๆ จนเมื่อจะสำเร็จการศึกษา ในวันปัจฉิมนิเทศก็จะเชิญผู้ประกอบการ และศิษย์เก่ามาให้คำแนะนำ และเตรียมความพร้อมเพื่อไปประกอบอาชีพ

     ผลลัพธ์การดำเนินการ สะท้อนผ่านอัตราการคงอยู่ของนักศึกษา และผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการรับบริการ

การประเมินตนเอง

3.2 Customer engagementระบุข้อ (จำนวนข้อ) ที่ทำได้คะแนนหมายเหตุ
ผลการประเมินตาม IQA1, 2, 3, 7, 8 (5)41. Customer relationship management
2. Student and other customer access and support
3. Complaint management
7. การประเมินพัฒนาการและผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
8. การจัดบริการให้คำปรึกษาและดูแลผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จ
ผลการประเมินตาม EdPEx1, 20/45ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน รายการ
3.2.1.1ระบบและกลไกการดูแลและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา
3.2.2.1ระบบสนับสนุนการให้คำปรึกษา (Advisory system) บนระบบสารสนเทศของวิทยาลัย (STIC MIS)
3.2.2.2หน้าเว็บไซต์วิทยาลัย แสดงข้อมูลคณาจารย์ในคณะบริหารธุรกิจ (www.stic.ac.th)
3.2.3.1คู่มือนักศึกษา
3.2.3.2ตู้รับเรื่องร้องเรียนออนไลน์
3.2.6.1รายงานผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต ประจำปี 2565
3.2.8.1คู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา
3.2.8.2ภาพกิจกรรม Dorm Night

ผลการประเมินของคณะกรรมการ

ผลการประเมินของคณะกรรมการ เกณฑ์ IQA ที่ทำได้ / ทั้งหมด (ข้อ)คะแนน IQAEdPEx rubrics score (%)คะแนน EdPEx (คะแนนเต็ม)
3.1 Customer expectation5 / 6452 (40)
3.2 Customer engagement4 / 8400 (45)
คะแนน IQA เฉลี่ย/คะแนน EdPEx รวม42 (85)