Criterion 1 – Expected Learning Outcomes

Criterion 1 – Expected Learning Outcomes

1.1 The programme to show that the expected learning outcomes are appropriately formulated in accordance with an established learning taxonomy, are aligned to the vision and mission of the university, and are known to all stakeholders.

จากการทบทวนและวิเคราะห์ปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจจาก แผนยุทธศาสตร์วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาเพื่อการพัมนามหาวิทยาสู่ความเป็นเลิศ  และแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ พ.ศ. 2563-2567 และทบทวนวิเคราะห์คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย จากร่างมคอ.1 มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย พ.ศ. 2562 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ปรัชญา วิสัยทัศน์และพันธกิจของมหาวิทยาลัย (พ.ศ.2553-2567)

วิสัยทัศน์และพันธกิจของคณะสาธารณสุขศาสตร์ (พ.ศ.2554-2567)

มคอ.1 ระดับปริญญาตรี สาขาสาธารณสุขศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง

ปรัชญา:

“การจัดการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ พัฒนาบัณฑิตให้ประสบความสาเร็จและมีสังคมชีวิตที่ดี”

ปรัชญา:(ใช้ร่วมกับมหาวิทยาลัย)

การจัดการศึกษาที่ดีมีคุณภาพจะพัฒนาบัณฑิตให้ประสบความสำเร็จและมีสังคมชีวิตที่ดี

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

1. มีความรู้ความเข้าใจ คาดการณ์สืบค้น ประเมินและควบคุมป้องกันอันตรายจากการทำงานของผู้ประกอบอาชีพ เพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพมีสุขภาพที่ดีไม่เกิดความเจ็บป่วย หรือเป็นโรคจากการทำงานมีความปลอดภัยขั้นต่ำตามกฎหมายหรือมาตรฐานทางวิชาการ
2. มีความรู้ความเข้าใจในประเด็นปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สามารถเลือกและประยุกต์ใช้เทคนิคทางระบบการจัดการที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน สามารถใช้ข้อมูลสถิติ ระบาดวิทยามาประเมินความเสี่ยง ผลกระทบแนวโน้มที่มีผลต่อสุขภาพอย่างเหมาะสม
3. เป็นผู้นำทางวิชาการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้านสาธารณสุขมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผล
4. มีความรู้และมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์สามารถ ใช้เทคนิคที่เหมาะสมในการสื่อสารกับบุคคลกลุ่มต่างๆ และสามารถสื่อสารด้วยภาษาสากลและภาษาอังกฤษ
5. มีความรู้ความสามารถด้านกฎหมายอาชีวอนามัยความปลอดภัยและสภาพแวดล้อม ในการทำงานกฎหมายสาธารณสุข และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
6. มีคุณธรรมจริยธรรมในการดำรงชีวิต มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน โดยคำนึงถึงจรรยาบรรณวิชาชีพด้านอาชีวอนามัยความปลอดภัยและด้านสาธารณสุข

วิสัยทัศน์:

เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ

วิสัยทัศน์:

  1. บัณฑิตมีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรมจริยธรรม ตามมาตรฐานสาขาวิชา
  2. บัณฑิตได้งานทำในภาครัฐ เอกชน ทั้งในและต่างประเทศ
  3. ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อคุณภาพของบัณฑิต
  4. ผลงานวิชาการและวิจัยได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ
  5. การบริการวิชาการเป็นที่ยอมรับของชุมชน / สังคม

พันธกิจ:

1.ผลิตบัณฑิตให้มีสมรรถวิชาชีพเฉพาะทาง
2.วิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมสังคม
3.บริการวิชาการด้านสุขภาพและบริการแก่สังคม
4.สืบสาน รักษา ศิลปวัฒนธรรมไทย บนความหลากหลายทางวัฒนธรรม
5.บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพด้วยมาตรฐานสากล

พันธกิจ:

  1. การจัดการศึกษาผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ
  2. การพัฒนานักศึกษาให้มีสมรรถวิชาชีพเฉพาะทาง
  3. การวิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมสังคม
  4. บริการวิชาการด้านสาธารณสุขแก่สังคม
  5. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยและอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้
  6. การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพด้วยมาตรฐานสากล

ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวได้ทำการวิเคราะห์เพื่อนำสร้างเป็นภาพร่างของคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ โดยได้กำหนดเป็นคำสำคัญเพื่อแสดงถึงองค์ประกอบของคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ดังนี้

องค์ประกอบ

ความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของ

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตาม มคอ.1

มหาวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา

คณะสาธารณสุขศาสตร์

1.มีความรู้ความเข้าใจปัญหาและอันตรายทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

               /

                    /

                   /

2.สามารถสืบค้น ประเมินและควบคุมป้องกันอันตรายจากการทำงานของผู้ประกอบอาชีพ               /                     /                      /

3.ประยุกต์ใช้เทคนิคทางระบบการจัดการที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน 

               /                   /                     /
4.ผู้นำทางวิชาการและความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น                /                   /                     /
5.ใช้เทคนิคที่เหมาะสมในการสื่อสารกับบุคคลกลุ่มต่างๆ                /                  /                     /
6.มีคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย              /                 /                    /
       
       
       

จากนั้นจึงได้นำองค์ประกอบที่ได้ทำการวิเคราะห์ร่วมกับการสำรวจการรับรู้และรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่ประกอบด้วย 1.นักศึกษาปีสุดท้าย 2.ศิษย์เก่า 3.ผู้ใช้บัณฑิต 4.แหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 5.สภาวิชาชีพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แล้วมากำหนดเป็น Expected learning outcome (ELO) เพื่อเป็นคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่กำหนดไว้ในเล่มหลักสูตรสวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ปรับปรุง พ.ศ.2564 ดังนี้

1.    เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ในการดำเนินชีวิต มีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ สังคม และสิ่งแวดล้อม

2. เป็นผู้มีความสามารถทางวิชาการและทักษะทางวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

3. เป็นผู้มีความสามารถในแก้ปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มีจิตสาธารณะ ดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และมีคุณค่า 

Expected learning outcome/

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564

องค์ประกอบที่ได้จากการวิเคราะห์

ข้อที่

1

ข้อที่

2

ข้อที่

3

ข้อที่

4

ข้อที่

5

ข้อที่

6

1.    เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ในการดำเนินชีวิต มีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ สังคม และสิ่งแวดล้อม

         

 /

2. เป็นผู้มีความสามารถทางวิชาการและทักษะทางวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

/

/

       

3. เป็นผู้มีความสามารถในแก้ปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มีจิตสาธารณะ ดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และมีคุณค่า 

   

/

/

/

 
             
             

หมายเหตุ องค์ประกอบ 6 ข้อ*

1.มีความรู้ความเข้าใจปัญหาและอันตรายทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

2.สามารถสืบค้น ประเมินและควบคุมป้องกันอันตรายจากการทำงานของผู้ประกอบอาชีพ

3.ประยุกต์ใช้เทคนิคทางระบบการจัดการที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

4.ผู้นำทางวิชาการและความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น 

5.ใช้เทคนิคที่เหมาะสมในการสื่อสารกับบุคคลกลุ่มต่างๆ 

6.มีคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

นอกจากนี้ทางหลักสูตรได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิตในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตที่จะต้องมีศักยภาพในยุด Thailand 4.0 ที่สามารถใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี จึงได้ทำการวิเคราะห์ความสอดคล้องของคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิต แบ่งออกเป็น 8 ด้าน ดังที่ได้ระบุไว้ใน มคอ.2 หมวด 4 ดังนี้

  1. ด้านบุคลิกภาพ 2. ด้านภาวะผู้นำและความรับผิดชอบตลอดจนการมีวินัยในตนเอง 3. ด้านจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ 4. ความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ 5. ด้านวิชาการ 6. ด้านการสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศ 7.ด้านทักษะการปฏิบัติงาน 8. ด้านจิตสาธารณะ 

และพิจารณาความสอดล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของมหาวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา คณะสาธารณสุขศาสตร์ และร่างมคอ.1 ระดับปริญญาตรี สาขาสาธารณสุขศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ดังนี้

คุณลักษณะพิเศษของบัณฑิต ELOความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจ
123 มหาวิทยาลัย คณะ มคอ.1
 1.ด้านบุคลิกภาพ  / /  /  /  /
 2.ด้านภาวะผู้นำและความรับผิดชอบตลอดจนการมีวินัยในตนเอง /   /  /  /
 3.ด้านจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ /    /  /  /
 4.ความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ  /   /  /  /
 5.ด้านวิชาการ  /  /  /  /
 6.ด้านการสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศ  /  /  /  /
 7.ด้านทักษะการปฏิบัติงาน   /  /  /  /
 8.ด้านจิตสาธารณะ    /  /  /

ซึ่ง ELO ทั้ง 3 ข้อ มีความสอดคล้องกันกับวิสัยทัศน์ พันธกิจของของมหาวิทยาลัย และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ และคุณลักษณะของบัณฑิตตาม มคอ.1 วิชาชีพ

หมายเหตุ Expected learning outcome (ELO) / คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564*

1.เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ในการดำเนินชีวิต มีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ สังคม และสิ่งแวดล้อม

2.เป็นผู้มีความสามารถทางวิชาการและทักษะทางวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

3.เป็นผู้มีความสามารถในแก้ปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มีจิตสาธารณะ ดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และมีคุณค่า 

1.2 The programme to show that the expected learning outcomes for all courses are appropriately formulated and are aligned to the expected learning outcomes of the programme.

        หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ฉบับหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2564 ได้ดำเนินการประยุกต์ใช้สูตรตามแนวทาง Outcome- Based Education (OBE) และประยุกต์ใช้เกณฑ์คุณภาพ AUN-QA ในการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2565  และได้มีการออกแบบหลักสูตรโดยใช้หลักการของ Backward curriculum design ในการ breakdown ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLOs) โดยใช้กระบวนการออกแบบหลักสูตรแบบย้อนกลับ Backward Curriculum Design ที่พิจารณาตามระดับขั้นการเรียนรู้ของ Bloom’s Taxonomy และการแบ่งประเภทของ PLOs ที่ได้กำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้เฉพาะด้าน (Specific LOs) และผลลัพธ์การเรียนรู้ทั่วไป (Generic LOs) ซึ่งการออกแบบรายวิชาจะมีการกำหนดสาระการเรียนรู้ 6 ด้าน ได้แก่ 1)คุณธรรม จริยธรรม 2) ความรู้ 3) ทักษะทางปัญญา 4) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5) ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6) ทักษะการฝึกปฏิบัติทางวิชาชีพ         ซึ่งแต่ละรายวิชาจะกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ในระดับหลักสูตร (PLO) ทั้ง 6 ด้านเหล่านี้ ดังแสดงไว้ใน curriculum mapping ใน มคอ.3 

        และในปีการศึกษา 2566 ได้มีการประยุกต์ใช้เกณฑ์คุณภาพ AUN-QA version 4 ที่จะต้องแสดงผลการเรียนรู้ในระดับรายวิชา (CLO) ซึ่งทางหลักสูตร โดยประธานหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอน ได้เข้าร่วมเรียนรู้แนวทางการจัดทำ มคอ. 3 และ มคอ. 4 ของระบบจัดการหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (TQF) และเรียนรู้การเขียน CLOs ตามหลักการของ OBE พร้อมทั้งกำหนด CLOs ของแต่ละรายวิชาไว้ตั้งแต่ออกแบบรายวิชา และให้อาจารย์ผู้สอนนำไปออกแบบการจัดการเรียนสอนและการวัดผลประเมินผลต่อไป

1.3 The programme to show that the expected learning outcomes consist of both generic outcomes (related to written and oral communication, problem solving, information technology, teambuilding skills, etc) and subject specific outcomes (related to knowledge and skills of the study discipline).

      จากการดำเนินการกระจาย ELO ให้ครอบคลุมตาม Generic skills และ Specialized skill  นั้น โดยพิจารณาคุณลักษณะของทักษะด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และทักษะการฝึกปฏิบัติทางวิชาชีพ ซึ่งสามารถแยกผลการเรียนรู้ที่คาดหวังในแต่ละข้อกระจายตาม Generic skills ที่บัณฑิตจะต้องมีพื้นฐานสำหรับการประกอบวิชาชีพ    และ Specialized skill ที่มีความจำเพาะและสร้างความโดดเด่นในสาขาวิชาชีพ ดังนี้

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELO)

Generic Skills

Specialized Skill and Knowledge

1. เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ในการดำเนินชีวิต มีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ สังคม และสิ่งแวดล้อม

      /

2. เป็นผู้มีความสามารถทางวิชาการและทักษะทางวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

      /

3. เป็นผู้มีความสามารถในแก้ปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มีจิตสาธารณะ ดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และมีคุณค่า

          /

จากการพิจารณา ELO จากจำนวน 3 ข้อ ที่สามารถแสดงคุณลักษณะเด่นของของบัณฑิตในหลักสูตรสวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณาหลักสูตรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และได้พิจารณาความสอดคล้องของ ELO กับระดับขั้นการเรียนรู้ตาม Bloom’s Taxonomy โดยได้เริ่มพิจารณาที่สอดคล้องกับคุณลักษณะบัณฑิตของหลักสูตรและผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ดังนี้

Knowledge: เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย อย่างแตกฉานภายใต้คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
Comprehension: เป็นผู้ที่มีทักษะในการสรุปการอภิปรายได้เป็นอย่างดี

Application: เป็นผู้ที่มีทักษะในการประยุกต์ใช้ศาสตร์และนวัตกรรมได้อย่างคล่องแคล่วและเชี่ยวชาญในการสื่อสารทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

Analysis: เป็นผู้ที่มีทักษะในการวิเคราะห์และสรุปองค์ความรู้ทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

Synthesis: เป็นผู้ที่มีทักษะในการสังเคราะห์ และบูรณาการ/จัดการองค์ความรู้ทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

 Evaluation: เป็นผู้ที่มีทักษะในการประเมินผลทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ELOGeneric Skills
Specialized Skill and Knowledge Bloom ‘s Taxonomy
KnowledgeComprehensionApplicationAnalysisSynthesisEvaluation
 1.ผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ในการดำเนินชีวิต มีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ สังคม และสิ่งแวดล้อม  /   /  /  /   
 2.ผู้มีความสามารถทางวิชาการและทักษะทางวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย  /   /  /  /  /  
 3.ผู้มีความสามารถในแก้ปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มีจิตสาธารณะ ดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และมีคุณค่า   /  /  /  /  /  /  /
และทางหลักสูตรได้กำหนดรายวิชาจำแนกตามกลุ่ม Generic subject และ subject specific ดังแสดงในเอกสารแนบ

1.4 The programme to show that the requirements of the stakeholders, especially the external stakeholders, are gathered, and that these are reflected in the expected learning outcomes.

จากการจัดประชุมเพื่อวิพากษ์หลักสูตร โดยเชิญมีสภาคณบดีคณะสาธารณสุขแห่งประเทศไทย สภาวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน นักวิชาการแรงงาน ศิษย์เก่าและผู้ใช้บัณฑิต มาให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงหลักสูตรในเรื่องการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ สมรรถนะของนักศึกษาของแต่ละชั้นปี โครงสร้างหลักสูตร และการพัฒนารายวิชาให้ทันสมัยต่อสถานการณ์โลกและสอดคล้องการแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯของประเทศ ดังนี้

กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

             ผู้ให้ข้อมูล

รายละเอียดโดยสรุป

1.สภาวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน

นายกสภาฯ นักวิชาการและเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของสภาฯ

กำหนดให้ดำเนินตามข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชนว่าด้วยการให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2564

2.สภาคณบดีคณะสาธารณสุขแห่งประเทศไทย

นายกสภาคณบดีฯ อาจารย์และเลขานุการสภาคณบดีฯ

-เพิ่มรายวิชาเคมีให้ไม่น้อยกว่า 8 หน่วยกิต     -ระบุสมรรถรายชั้นปีในหลักสูตร

-ระบุกิจกรรมที่สนับสนุนคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิตที่พึงประสงค์

3.ผู้ใช้บัณฑิต

ตัวแทนบริษัท

การเตรียมความพร้อมในการทำงานโดยสามรถทำงานได้ทันที

4.นักวิชาการแรงงาน กระทรวงแรงงาน

หัวหน้างานวิชาการพิจารณาหลักสูตรเทียบเท่าอาชีวอนามัยฯ กระทรวงแรงงาน

รายวิชาตามกลุ่มในกลุ่มวิชาชีพเฉพาะสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ไม่น้อยกว่า 44 หน่วยกิต

5.ตัวแทนศิษย์เก่า

บัณฑิตที่ทำงานในด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

เพิ่มเติมหัวข้อการทำงานด้านก่อสร้างและการจัดทำระบบมาตรฐานด้านอาชีวอนามัยฯ

ผลจากการวิพากษ์หลักสูตรทำให้ทางคณะกรรมการบริหารหลักสูตรดำเนินการปรับปรุงในเรื่องโครงสร้างของหลักสูตรให้เป็นไปตามที่ สภาวิชาชีพสาธารณสุขชุมชนและการพิจารณาหลักสูตรเทียบเท่าอาชีวอนามัยฯ ของกระทรวงแรงงาน อีกทั้งเพิ่มจุดเด่นของหลักสูตรในด้านวิชาเคมีเพื่อรองรับการสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมกากของเสียอันตรายของกรมโรงงานอุตสาหกรรม และมีการระบุสมรรถนรายชั้นปีดังนี้

ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา

ปีที่รายละเอียด
11.นักศึกษาสามารถอธิบายศาสตร์พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้พื้นฐานวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข วิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ เคมีและฟิสิกส์ทางการสาธารณสุข สถิติ กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา ปรสิต จุลชีววิทยา จิตวิทยา เป็นต้น
2. มีความรับผิดชอบต่อตนและสังคม มีการนำเสนอได้ทั้งการพูด การอ่าน และการเขียนได้ในระดับหนึ่ง
21.นักศึกษาสามารถอธิบายศาสตร์พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ทางด้านสาธารณสุข และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องชัดเจน
2. มีทักษะพื้นฐานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย อนามัยสิ่งแวดล้อม สุขศาสตร์อุตสาหกรรม พิษวิทยาพื้นฐาน ของโรคจากการประกอบอาชีพ และโรคเนื่องจากงานประเภทต่างๆ  เช่น  อุตสาหกรรม เกษตรกรรม และการบริการ
3. มีความรับผิดชอบต่อตนและสังคม มีการพัฒนาทักษะการนำเสนอได้ทั้งการพูด การอ่าน และการเขียน มีความมั่นใจในตนเองในการนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
31. นักศึกษาสามารถค้นหาอันตราย วิเคราะห์สาเหตุของอันตราย และประเมินอันตรายจากสิ่งคุกคามทางเคมี สิ่งคุกคามทางกายภาพ สิ่งคุกคามทางชีวภาพ การยศาสตร์  สิ่งคุกคามทางจิตสังคม และการตรวจวินิจฉัยโรคเบื้องต้นจากการทำงาน
2. สามารถวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางด้านสาธารณสุข และสามารถประเมินสถานการณ์เพื่อทำการวินิจฉัย การวางแผนโครงการสุขภาพ สามารถใช้เครื่องมือและฝึกปฏิบัติการทางอาชีวอนามัยได้อย่างถูกต้อง และสามารถปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพได้  
41.นักศึกษาสามารถนำความรู้ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมาใช้ในควบคุม การป้องกันและแก้ไขปัญหาจากสัมผัสสิ่งคุกคามที่เป็นอันตรายจากการประกอบอาชีพได้
2. สามารถกำหนดกลวิธี วางแผนและดำเนินโครงการหรืองานวิจัยทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสถานประกอบการได้
3. สามารถปฏิบัติตนเป็นนักสาธารณสุขตามจรรยาบรรณวิชาชีพได้เป็นอย่างดี

1.5 The programme to show that the expected learning outcomes are achieved by the students by the time they graduate

หลักสูตรได้วางแผนและใช้ผลการประเมินประเมินการบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร ซึ่งมีการดำเนินการให้นักศึกษาในหลักสูตรชั้นปีสุดท้าย และนักศึกษาแต่ละชั้นปีทำการประเมินด้วยตนเอง ซึ่งในปีการศึกษา 2566  สามารถประเมินการบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLOs)” ทั้งนี้หลักสูตรได้นำส่งผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรและใช้นักศึกษาชั้นปีสุดท้าย  ซึ่งมีผลการประเมินและรายงานผลการประเมินให้กับคณบดี ซึ่งจากผลการประเมินพบว่าผู้เรียนสามารถบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังได้ครบทุกข้อเมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา

Evidence

ID_EvidenceName_Evidence
1.1-1
1.1-2
1.2-1

Self-Assessment

RequirementsResultScore
1.1 The programme to show that the expected learning outcomes are appropriately formulated in accordance with an established learning taxonomy, are aligned to the vision and mission of the university, and are known to all stakeholders./1
1.2 The programme to show that the expected learning outcomes for all courses are appropriately formulated and are aligned to the expected learning outcomes of the programme./1
1.3 The programme to show that the expected learning outcomes consist of both generic outcomes and subject specific outcomes./1
1.4 The programme to show that the requirements of the stakeholders, especially the external stakeholders, are gathered, and that these are reflected in the expected learning outcomes./1
1.5 The programme to show that the expected learning outcomes are achieved by the students by the time they graduate/1
Overall5

Leave a Reply