Criterion 2 – Programme Structure and Content

Criterion 2 – Programme Structure and Content

Operational Results

2.1 The specifications of the programme and all its courses are shown to be comprehensive, up-to-date, and made available and communicated to all stakeholders.

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ได้มีการจัดทำรายละเอียดข้อมูลที่จำเป็นของหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564 และเผยแพร่ให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบได้แก่ โครงสร้างหลักสูตร แผนการศึกษา และรายวิชาและคำอธิบายรายวิชา ให้กับนักศึกษาปัจจุบัน ศิษย์เก่า ผู้ใช้บัณฑิต สภาวิชาชีพ กระทรวงแรงงานและผู้ที่สนใจ ซึ่งในการดำเนินประชาสัมพันธ์ข้อมูลหลักสูตรไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ โดยมีช่องทางการเผยแพร่ที่หลากหลายช่องทาง เช่นในรูปแบบของเล่มหลักสูตร (มคอ.2) ให้กับอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน ที่ได้แจกไปยังอาจารย์ในหลักสูตรทุกท่าน และสาขาวิชาที่อาจารย์สังกัด รวมถึงอาจารย์สามารถขอเล่มหลักสูตรเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายเลขานุการคณะ นอกจากเล่มหลักสูตร (มคอ.2) ในการเผยแพร่รายละเอียดของหลักสูตรยังมีการใช้ระบบ MIS ของมหาวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ซึ่งอาจารย์และนักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรทุกท่านสามารถรับทราบรายละเอียดของหลักสูตรได้  ในส่วนของสภาวิชาชีพ และกระทรวงแรงงานได้เผยแพร่โดยการจัดทำรูปเล่มหลักสูตร (มคอ.2) อีกทั้งได้รับการรับรองหลักสูตรและถูกเผยแพร่ลงในเวปไซด์ของหน่วยงานเหล่านั้น และในส่วนของศิษย์เก่า ผู้ใช้บัณฑิตและผู้ที่สนใจอื่นๆ สามารถเข้าดูที่เวปไซด์ของมหาวิทยาลัย https://www.stic.ac.th/th/undergraduate-program/occupational-health-safety-th   สำหรับนักศึกษาปี 1 ที่เข้าศึกษาใหม่จะแจกเล่มคู่มือการศึกษาในรูปแบบของไฟล์อิเล็คโทรนิกส์ เพื่อเป็นเอกสารสำหรับการจัดการศึกษาในหลักสูตร

      ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรได้ทบทวนความครบถ้วนของรายละเอียดของหลักสูตรที่เผยแพร่ผ่านทางช่องทางต่างๆ ตามเกณฑ์ของ AUN version 4.0 ดังนี้

รายละเอียดที่เผยแพร่

มคอ.2

เล่มคู่มือนักศึกษา

Website คณะ/มหาวิทยาลัย

MIS-online

ประกาศรับสมัคร

ชื่อมหาวิทยาลัย

  / / / / /

คณะเปิดสอน

/ / / / /

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

/ / / / /

รหัสและชื่อหลักสูตร

/ / / / /
ELOs / / / /

/

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา/
เกณฑ์การคัดเลือก

/   /   /

แผนการศึกษา/จำนวนหน่วยกิต

/ / / / /

โครงสร้างหลักสูตร

/ / / /

/

รายวิชา

/ / / /

/

           

จากผลการทบทวนพบว่าช่องทางเผยแพร่รายละเอียดของหลักสูตรที่ผ่านทาง website คณะ/ประกาศรับสมัครมีรายละเอียดไม่ครบถ้วนตามเกณฑ์ ซึ่งทางหลักสูตรจะได้ประสานงานฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการเพิ่มเติมรายละเอียดให้ครบถ้วนต่อไป

หลักสูตรฯ ได้มีการจัดทำรายละเอียดของรายวิชาและเผยแพร่ให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบ โดยใช้ มคอ.3 ที่จัดทำโดยอาจารย์ผู้สอนรายวิชาต่างๆ ของหลักสูตร จะต้องจัดทำรายละเอียดของรายวิชาก่อนเปิดภาคการศึกษา และบันทึกข้อมูลลงในระบบ MIS-online และชั่วโมงแรกของแต่ละรายวิชา อาจารย์ผู้สอนจะชี้แจงรายละเอียดของรายวิชาให้กับนักศึกษาทั้ในรูปแบบอิเล็คโทรนิกส์ไฟล์ และทำความเข้าใจรายละเอียดของรายวิชาร่วมกัน

ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรได้ทบทวนความครบถ้วนของรายละเอียดของรายวิชา ที่เผยแพร่ผ่านทาง MIS-TQF Online ดังนี้

รายละเอียดที่เผยแพร่MIS-TQF3/4-online
ชื่อวิชา /
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน /
CLO {Knowledge/Skill/Attitudes} 
คำอธิบายรายวิชา /
วัตถุประสงค์ของรายวิชา /
วิธีการจัดการเรียนการสอน /
วิธีการประเมินผล /
สัดส่วนคะแนน/เกรด /
กำหนดการสอน/กิจกรรม /
Version/Date /

ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรได้ดำเนินการสอบถามการเข้าถึงรายละเอียดของหลักสูตรและรายละเอียดของรายวิชาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะนักศึกษาปัจจุบันจะสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหลักสูตรได้จากคู่มือที่ได้รับ และ มคอ.3 ที่อาจารย์นำเสนอก่อนเริ่มเรียน สำหรับผู้ที่สมัครเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรจากการสอบถามระหว่างการเข้ารับการสัมภาษณ์และเข้ามอบตัวเพื่อเข้าศึกษาต่อในหลักสูตร พบว่าทั้งหมดจะได้รับการประชาสัมพันธ์ของหลักสูตรผ่านทางเว็บไซต์ของคณะและผ่านทางการนำเสนอหลักสูตรของอาจารย์แนะแนว อีกทั้งได้รับการชักชวนจากรุ่นพี่/ศิษย์เก่าที่เคยศึกษาในหลักสูตร

สำหรับรายละเอียดของรายวิชา วิธีการสอน และวิธีการประเมินผล ผู้เรียนได้รับรู้จากอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา/อาจารย์ผู้สอนที่ได้เผยแพร่ในระบบ MIS-TQF online (มคอ.3) และการชี้แจงรายละเอียดในชั่วโมงแรกของรายวิชานั้นๆ และเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน นักศึกษาจะต้องประเมินผู้สอน โดยจากผลการประเมินการสอนของอาจารย์ในห้องเรียนในรายวิชาต่างๆ พบว่า นักศึกษาให้คะแนนประเมินในหัวข้อ การชี้แจงวัตถุประสงค์ ขอบข่ายเนื้อหา แผนการสอน และวิธีการประเมินผลการเรียน ด้วยคะแนนมากว่า 3.51 ขึ้นไปในทุกรายวิชา และทางหลักสูตรได้ติดตามการจัดทำ TQF3/4 ของแต่ละรายวิชาให้สอดคล้องกับ ELOs ของหลักสูตร

2.2 The design of the curriculum is shown to be constructively aligned with achieving the expected learning outcomes.

การปรับปรุงหลักสูตร พ.ศ.2564 ได้มีการพิจารณาการออกแบบหลักสูตรให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELO) โดpการพิจารณาผลการเรียนรู้ (Learning outcome) ของแต่ละรายวิชา ให้มีภาพรวมของผลการเรียนรู้ตลอดหลักสูตร (ความรับผิดชอบหลัก) ครบถ้วนตามผลการเรียนรู้ทั้ง 6 ด้านที่กำหนดไว้ในร่าง มคอ.1 ของสภาคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ฯ (ปี 2562)

และจากการสร้างเมตริกซ์เพื่อแสดงความสอดคล้องระหว่าง ELO ของหลักสูตร กับผลการเรียนรู้วิชาเฉพาะด้านทั้ง 6 ด้านที่กำหนดไว้ในร่าง มคอ.1 สาขาวิชาวิทยาศาสตรบัณฑิตบัณฑิต สาขาอาชีวอนามยและความปลอดภัย  (ปรับปรุง มิถุนายน พ.ศ.2562) (หลักฐาน 2.2-1) พบว่า

ELO ข้อ 1 เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ในการดำเนินชีวิต มีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมในข้อย่อย 1-5

ELO ข้อ 2 เป็นผู้มีความสามารถทางวิชาการและทักษะทางวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มีความสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ด้านความรู้ในข้อย่อย 1-3, ผลการเรียนรู้ด้านทักษะปัญญาในข้อย่อย 1-5 และผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในข้อย่อย 1-3

ELO ข้อ 3 เป็นผู้มีความสามารถในแก้ปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มีจิตสาธารณะ ดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และมีคุณค่า มีความสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบในข้อย่อย 1-3, ผลการเรียนรู้ด้านผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในข้อย่อย 1-3 และทักษะการฝึกปฏิบัติทางวิชาชีพในข้อย่อย 1-5

ซึ่งจากความสอดคล้องดังกล่าว พบว่าการออกแบบหลักสูตรตามผลการเรียนรู้จะมีสามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะตรงกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่กำหนดไว้ได้ โดยจะกล่าวถึงรายละเอียดของกลยุทธ์การสอนและการประเมินผลที่ใช้พัฒนาผลการเรียนรู้ใน AUN criteria ที่ 3-4

2.3 The design of the curriculum is shown to include feedback from stakeholders, especially external stakeholders.

ในการปรับปรุงหลักสูตร พ.ศ.2564 หลักสูตรมีการนำข้อมูลความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และความต้องการของนักศึกษาผ่านระบบประเมินการเรียนการสอนออนไลน์ในรายวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอนในแต่ละปีการศึกษา 2563 โดยมหาวิทยาลัย ตลอดจนข้อเสนอแนะจากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรในปี 2562-2563 มาใช้ในการวางแผนและพัฒนาหลักสูตร และมีการทบทวนและวางแผนการปรับปรุงหลักสูตร 2564 ตามแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Outcome-based Education) และมีการเก็บข้อมูลเพื่อทบทวน ELO ไว้สำหรับเป็นฐานข้อมูลในการปรับปรุงหลักสูตรในรอบ 5 ปี ในปี 2569

สำหรับการปรับปรุงหลักสูตร พ.ศ.2569 นั้น ทางหลักสูตรได้เตรียมการทบทวนและกำหนดปรับปรุงแนวทางการพัฒนาหลักสูตรให้เป็นแบบ Outcome-based Education ตามเกณฑ์ สปอว. โดยใช้การสำรวจ Needs ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อนำมากำหนดเป็น Expected Learning Outcome ของหลักสูตร และใช้กระบวนการ Backward curriculum design ในการออกแบบโครงสร้างหลักสูตร และโครงสร้างรายวิชา โดยในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรได้กำหนดกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และอยู่ระหว่างดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล และนำข้อมูลมาวิเคราะห์และการออกแบบหลักสูตรให้เสร็จภายในปีการศึกษา 2568 โดยมีกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลดังนี้

กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

หน่วยงาน/องค์กร

ผู้ให้ข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1.วิชาชีพ

สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ผู้ทรงคุณวุฒิจากวิชาชีพฯ

(ร่าง) มคอ.1 (ถ้ามี)

สภาคณบดีคณะสาธารณสุขแห่งประเทศไทย

ผู้ทรงคุณวุฒิจากสภาคณบดี

2.มหาวิทยาลัย/คณะ

มหาวิทยาลัยนานชาติเซนต์เทเรซา

แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย 15 ปี        (ปี 2568-2583)

คณะสาธารณสุขศาสตร์/อาจารย์

แผนยุทธศาสตร์คณะ 5 ปี (ปี 2568-2572)

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอน

3.ผู้ใช้บัณฑิต

โรงงาน/สถานประกอบกิจการ

กระทรวงแรงงาน

ผู้ทรงคุณวุฒิจากโรงงาน/สถานประกอบกิจการ

ผู้แทนจากส่วนงานกองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

4.ศิษย์เก่า

โรงงาน/สถานประกอบกิจการ

ตัวแทนศิษย์ที่ทำงานในโรงงานและทำงานบริษัทรับเหมาก่อสร้าง

2.4 The contribution made by each course in achieving the expected learning outcomes is shown to be clear.

การออกแบบหลักสูตรฯ หลักสูตรปรับปรุง 2564 นั้น ได้ใช้แนวทางการจัดการศึกษามุ่งที่ผลลัพธ์ (Outcome-Based Education: OBE โดยสามารถกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้เฉพาะด้าน (Specific LOs) และผลลัพธ์การเรียนรู้ทั่วไป (Generic LOs) ให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ทั้ง 6ด้าน ได้แก่ 1.ความรู้ 2.ปัญญา 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขฯ 6. การฝึกทักษะการฝึกปฏิบัติทางวิชาชีพ
โดยสามารถแสดงการกระจายความรับผิดชอบผลการเรียนรู้สู่รายวิชา ได้ดังเอกสารแนบ (2.4-1)

2.5 The curriculum to show that all its courses are logically structured, properly sequenced (progression from basic to intermediate to specialised courses), and are integrated.

หลักสูตรได้วางโครงสร้างรายวิชาของหลักสูตรวิทยาศาสตบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ได้คำนึงถึงลำดับความสำคัญและความสัมพันธ์ของรายวิชาพื้นฐาน รายวิชาขั้นกลาง และรายวิชาขั้นสูงตามลำดับอย่างเหมาะสม สามารถอธิบายลักษณะโครงสร้างหลักสูตรได้ ดังนี้

โครงสร้างหลักสูตร

(1)

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

30

หน่วยกิต

 

– กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์

3

หน่วยกิต

 

– กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์

5

หน่วยกิต

 

– กลุ่มวิชาภาษาศาสตร์

15

หน่วยกิต

 

– กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

6

หน่วยกิต

 

– กลุ่มวิชาพัฒนาคุณภาพชีวิต

1

หน่วยกิต

(2)

หมวดวิชาชีพ

112

หน่วยกิต

 

– กลุ่มพื้นฐานวิชาชีพ

   41

หน่วยกิต

– กลุ่มวิชาชีพเฉพาะ 

– กลุ่มฝึกประสบการณ์วิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

61

10

 หน่วยกิต

 หน่วยกิต

(3)

หมวดวิชาเลือกเสรี

6

หน่วยกิต

อีกทั้งหลักสูตรจะมีการเรียงลำดับของเนื้อหาในหลักสูตร เริ่มตั้งแต่กลุ่มพื้นฐานวิชาชีพ กลุ่มวิชาชีพเฉพาะ และกลุ่มฝึกประสบการณ์วิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ซึ่งคำนึงถึงการจัดเรียงลำดับรายวิชาตามความง่าย-ยากของรายวิชาและลำดับขั้นของการเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom คือ 1) ด้านพุทธิพิสัย ได้จัดรายวิชาพื้นฐานที่เน้นการบรรยาย การทำความเข้าใจและการอภิปรายในเนื้อหา 2) ด้านทักษะพิสัย ได้จัดรายวิชาที่เน้นการฝึกปฏิบัติ ฝึกทักษะ และรายวิชาที่เน้นการเรียนรู้แบบ problem based ซึ่งได้แก่วิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาระเบียบวิธีการวิจัย และวิชาสัมมนา 3) ด้านจิตพิสัย ได้กำหนดให้มีการสอนสอดแทรกในรายวิชาทุกรายวิชา

หากได้พิจารณาการเรียงลำดับของรายวิชาตามแผนการศึกษาที่ได้กำหนดไว้ในหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2564 ตามลำดับขั้นการเรียนรู้ของ Bloom พบว่ามีความเหมาะสม ดังรายละเอียด เอกสารแนบ (2.5_1) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพในชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2 นักศึกษาจะต้องบูรณาการความรู้ทั้งหมดที่เรียนมาใช้ในการออกแบบสร้างผลงานเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับสถานที่ฝึกประสบการณ์และจัดทำรายงานผลการฝึกฯพร้อมทั้งนำเสนอทางวิชาการให้แก่อาจารย์ในหลักสูตร

2.6 The curriculum to have option(s) for students to pursue major and/or minor specialisations.

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หลักสูตรปรับปรุง 2564 ได้ออกแบบให้มีรายวิชาเลือกที่นักศึกษาสามารถเลือกรายวิชาที่มีความสนใจ หรือความถนัด ในหลักสูตรของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาที่เปิดสอนซึ่งในหลักสูตร หรือเลือกจากรายวิชาต่อไปนี้ จำนวน 6 รายวิชา โดยหลักสูตรได้ออกแบบให้นักศึกษาเลือกจำนวนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต รวมทั้งหมด 6 หน่วยกิต แบ่งออกเป็นในชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 3 หน่วยกิต และภาคเรียนที 2 จำนวน 3 หน่วยกิต 

วิชาเลือกเสรีที่ทางหลักสูตรกำหนดไว้มีจำนวน 6 รายวิชา ดังนี้

903 201

การจัดบริการสุขภาพในสถานประกอบการ

Health Service Management in Industry

3(3-0-6)

903 202

คุณภาพอากาศภายในอาคาร

Indoor Air Quality

3(3-0-6)

903 203

การป้องกันและควบคุมอันตรายจากรังสี

Prevention and Control of Radiation Hazards

3(3-0-6)

903 204

การแพทย์ทางเลือกและภูมิปัญญาท้องถิ่น

Alternative Medicines and Local Wisdoms

3(3-0-6)

903 205

สุขภาพประชากรโลก

Global Health

3(3-0-6)

903 206

การสร้างธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการด้านสุขภาพ

Health Business Venture and Enterpreneurship

3(3-0-6)

2.7 The programme to show that its curriculum is reviewed periodically following an established procedure and that it remains up-to-date and relevant to industry.

หลักสูตรมีการทบทวนกระบวนการเรียนการสอนและการประเมินผลผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการดังกล่าวมีความเกี่ยวเนื่อง และสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง โดยทบทวนจาก TQF.3/4 และ TQF.5/6 ของแต่ละรายวิชา โดยมีจุดมุ่งหมายทบทวนผลลัพธ์การเรียนรู้ให้เป็นไปตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร

จากผลการดำเนินการทางหลักสูตรได้ประชุมและมีมติให้ทางอาจารย์ผู้สอนนำประเด็นที่ทันสมัยต่อสถานการณ์ทางด้านอาชีวอนามัยฯไปสอนในชั้นเรียน เช่น หัวข้ออุบัติเหตุจากการก่อสร้างรถไฟฟ้า ทางด่วน และโกดังสารเคมีระเบิด เพื่อให้นักศึกษาได้ร่วมกันวิเคราะ์สาเหตุและแนวทางในการป้องกัน

นอกจากนี้หลักสูตรได้จัดการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของการเรียน ซึ่งจะย้อนถามกลับไปยังสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากรายวิชา และนำข้อมูลที่ได้มาประเมินผล พิจารณาข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนต่อไป และในการทบทวนผลการดำเนินงาน คณะกรรมการบริหารหลักสูตรจึงได้กำหนดการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษาโดย พบว่านักศึกษามีผลการเรียนรู้เป็นไปตามที่หลักสูตรคาดหวัง เอกสารแนบ(2.7_1)

Evidence

ID_EvidenceName_Evidence
2.1-1
2.1-2
2.2-1

Self-Assessment

RequirementsResultScore
2.1 The specifications of the programme and all its courses are shown to be comprehensive, up-to-date, and made available and communicated to all stakeholders./1
2.4 The contribution made by each course in achieving the expected learning outcomes is shown to be clear./
2.2 The design of the curriculum is shown to be constructively aligned with achieving the expected learning outcomes./1
2.3 The design of the curriculum is shown to include feedback from stakeholders, especially external stakeholders./
2.5 The curriculum to show that all its courses are logically structured, properly sequenced and integrated./1
2.6 The curriculum to have option(s) for students to pursue major and/or minor specialisations./1
2.7 The programme to show that its curriculum is reviewed periodically following an established procedure and that it remains up-to-date and relevant to industry./1
Overall5

Leave a Reply