Criterion 4 – Student Assessment

Criterion 4 – Student Assessment

Operational Result

4.1 A variety of assessment methods are shown to be used and are shown to be constructively aligned to achieving the expected learning outcomes and the teaching and learning objectives.

เพื่อให้มั่นใจว่านักศึกษาที่เข้าศึกษาและสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มีคุณสมบัติตามที่ได้กำหนดไว้ในผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และปรัชญาของหลักสูตร จึงได้จัดให้มีการ
ประเมินดังนี้

1. การประเมินนักศึกษา มีการประเมิน 3 ระยะ คือ

1.1 ประเมินผู้เรียนก่อนรับเข้าศึกษาและกระบวนการรับเข้า หลักสูตรได้กำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครโดยยึดถือ
ตามคุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาที่กำหนดไว้ใน มคอ.2 คือ จบชั้นมัธยมปลาย สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ เพื่อให้สอดคล้องตามเกณฑ์มาตรฐานของการเทียบหลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย กระทรวงแรงงาน

1.2 การประเมินระหว่างการศึกษาของนักศึกษา เป็นไปตามรายละเอียดของรายวิชา ใน มคอ.3 ทั้งรายวิชาบังคับและวิชาเลือกที่ระบุไว้ในแผนการศึกษาของหลักสูตร โดยทางหลักสูตรฯ ได้จัดทำ มคอ.3 ทุกรายวิชาที่เปิดสอนในปีการศึกษา 2566 ตามแบบฟอร์ม MIS-Online ของมหาวิทยาลัย ซึ่งประธานหลักสูตรได้ตรวจสอบ มคอ.3 ในแต่ละภาคการศึกษาเพื่อให้มั่นใจว่า ผู้สอนได้ระบุมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของรายวิชาตรงตามที่หลักสูตรกำหนด รวมทั้งได้ระบุวิธีการวัดผลและประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา ซึ่งอาจารย์ผู้สอนได้ระบุเกณฑ์การประเมินไว้อย่างชัดเจน และแจ้งให้นักศึกษาทราบล่วงหน้าก่อนเริ่มการเรียนการสอน ดังตัวอย่างการประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวังย่อย 6 ด้านของรายวิชา      921 111 Occupational Health and Safety Managementกับสอดคล้องกับ Curriculum Mapping ของ มคอ.2 ดังนี้

Learning Outcomes

(See section 3 for detail)

Assessment

Scheduled Week

Proportion of course grading(%)

1,2,4,5 Class participation Every session
1,2,3,4,5 Assignments and quizzes weekly 20%
2,3,5 Midterm test 8,9th 20%
2,3,5,6 Final examination 17th 60%

 ในระหว่างการศึกษาอาจารย์ผู้สอนของแต่ละรายวิชาได้ทำการประเมินอย่างต่อเนื่อง ผู้เรียนจะถูกวัดและประเมินผลให้มีความรู้ความสามารถที่สอดคล้องและบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังในหลายระดับ ซึ่งหลักสูตรได้กำหนดวิธีการประเมินไว้หลากหลายเพื่อให้ผู้รับผิดชอบรายวิชาสามารถนำไปใช้ในการประเมินตามความเหมาะสมและให้สอดคล้องกับลักษณะการจัดการเรียนการสอนของรายวิชานั้น ๆ และหลักสูตรได้กำหนดวิธีการประเมินของแต่ละรายวิชาที่หลากหลาย สามารถเลือกนำไปปรับใช้ตามบริบทของแต่ละรายวิชาให้เหมาะสม อันได้แก่ 1.การสอบกลางภาคและปลายภาค 2. การมอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเอกสารทางวิชาการ หรือเอกสารงานวิจัย 3. การจัดทำรายงานทั้งเดี่ยวและกลุ่ม 4. การนำเสนอ 5.ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และตอบข้อซักถาม 6. การเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ และส่งงาน
ตามกำหนดเวลา

1.3 การประเมินก่อนการสำเร็จการศึกษา เป็นการประเมินคุณสมบัติของผู้ที่จะสำเร็จการศึกษาในภาพรวม ซึ่ง
จะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในการวัดผลและการสำเร็จการศึกษาเป็นไปตามระเบียบวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา  ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ประกอบด้วย การประมวลผลสำเร็จจากการเรียนรายวิชาต่างๆ  การสอบภาษาอังกฤษ  และผู้ที่จะสำเร็จการศึกษาจะต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยรวมทุกภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 2.00 ซึ่งสอดคล้องและสัมพันธ์กับผลการเรียนรู้ที่
คาดหวัง (ELO) ดังนี้

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (รายข้อย่อย)

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา

1. ด้านความรู้

– ศึกษารายวิชาครบตามที่กำหนดในหลักสูตร 148 หน่วยกิต เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.00

2.ด้านทักษะทางปัญญา

– รูปแบบ/วิธีการเสนอรายงานในชั้นเรียน

3.ด้านคุณธรรมและจริยธรรม

– การแสดงออกความคิดเห็น/ความประพฤติในชั้นเรียน

4.ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

– การทำงานกลุ่มและการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน

5.ด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้

เทคโนโลยีสารสนเทศ

-การฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือตรวจวัด

-การประเมินผลและรายงานผลการตรวจวัด

6.ด้านทักษะทางวิชาชีพฯ

-การนำเสนอการป้องกันและแก้ไขปัญญาทางอาชีว อนามัยและความปลอดภัย

  1. การประเมินรายวิชา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เมื่อสิ้นภาคการศึกษา หลักสูตรได้ดำเนินการประเมิน
    รายวิชา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยให้นักศึกษาตอบแบบสอบถาม ซึ่งได้นำผลการประเมินเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร (หลักฐาน 4.1_1)

4.2 The assessment and assessment-appeal policies are shown to be explicit, communicated to students, and applied consistently.

นักศึกษาสามารถยื่นคำร้องเพื่อขออุทธรณ์ในกรณีที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการสอบ ผลคะแนน และวิธีการประเมินผล ตามช่องทางที่กำหนด ในกรณีที่นักศึกษามีข้อสงสัยเกี่ยวกับ การประเมินผลหรือผลคะแนนที่นักศึกษาได้รับ  หลักสูตรฯเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถอุทธรณ์ได้ โดยได้จัดช่องทางการรับคำร้องเพื่อการขออุทธรณ์ของนักศึกษา และได้กำหนดระบบและกลไกการอุทธรณ์ร้องทุกข์ของนักศึกษาไว้ดังนี้

-นักศึกษาสามารถอุทธรณ์ร้องทุกข์ผ่านทางผู้บริหาร อาจารย์ที่ปรึกษา/อาจารย์ผู้สอน ซึ่งสามารถเข้าพบและให้
ข้อมูลได้โดยตรง
– นักศึกษายื่นคำร้องตามแบบฟอร์มที่กำหนดโดยฝ่ายสำนักทะเบียนและประเมินผลและส่งที่เจ้าหน้าที่ของฝ่ายฯ

-มหาวิทาลัยมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและผู้บริหารสำนักทะเบียนฯเป็นคณะกรรมการพิจารณาการอุทธรณ์ร้องทุกข์ของนักศึกษา

และในรอบปีการศึกษา 2566 ยังไม่มีนักศึกษารายใดยื่นเรื่องขอร้องเรียน ซึ่งหลักสูตรได้พิจารณาให้ดำเนินการตาม
ระบบการรับเรื่องร้องเรียนเดิมต่อไป

4.3 The assessment standards and procedures for student progression and degree completion, are shown to be explicit, communicated to students, and applied consistently.

หลักสูตรได้กำหนดวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของนักศึกษาไว้อย่างชัดเจนในหมวดที่ 3 เรื่อง DEVELOPMENT OF STUDENT LEARNING OUTCOMES ของ TQF3 ในแต่ละรายวิชา และกำหนดแผนการสอนและวิธีการประเมินผลการเรียนในหมวดที่ 4 เรื่อง TEACHING AND ASSESSMENT PLAN เช่น หัวข้อที่สอน สัดส่วนของคะแนนสอบกลางภาคปลายภาค คะแนนการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน คะแนน Assignments และทุกรายวิชาอาจารย์ผู้สอนได้แจ้งรายละเอียดดังกล่าว ให้นักศึกษาทราบในชั่วโมงแนะนำรายวิชา อีกทั้งการวัดและประเมินผลในแต่ละรายวิชาต้องมีมากกว่า 1 วิธี เช่น การสอบข้อเขียน การสอบปรนัย การมอบหมายงาน การนำเสนอ การให้คะแนนความตั้งใจ เป็นต้น

นอกจากนี้ทางคณะกรรมการบริหารหลักสูตรร่วมกับคณะกรรมการพิจารณาผลการเรียนของมหาวิทยาลัยร่วมประชุมพิจารณาเกรดร่วมกัน และประกาศผลการเรียนในช่องทาง MIS-Online ซึ่งนักศึกษาสามารถตรวจสอบผลการเรียนด้วยตัวเองด้วยการระบุเลขประจำตัวและรหัสผ่านประจำตัวที่ได้กำหนดไว้เอง และทางหลักสูตรกำหนดให้มีอาจารย์ที่ปรึกษาดูแลผลการเรียน การใช้ชีวิตในระดับอุดมศึกษาและการแนะนำการลงทะเบียนรายวิชาให้แก่นักศึกษาตลอดจนจบหลักสูตร ซึ่งกำหนดให้อาจารย์ที่ปรึกษาพบนักศึกษา 1 ครั้งต่อสัปดาห์และมีช่องทางติดต่อ onlinโดย Line Application ได้ตลอดเวลา

สำหรับการประเมินการสำเร็จการศึกษา ยึดถือปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของมหาวิทยาลัย ที่มีทั้งการ
ประมวลผลสำเร็จจากการเรียนรายวิชาต่างๆ การสอบภาษาอังกฤษ REAL TOEIC ในชั้นปีที่ 4 ทุกคน และนักศึกษาเรียนวิชาครบตามโครงสร้างของหลักสูตร 148 หน่วยกิตและมีผลการเรียนเฉลี่ยตั้งแต่ 2.00 ในกรณีที่มีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์หรือข้อกำหนดใหม่จะมีการสื่อสารให้นักศึกษาทราบอย่างทั่วถึง สม่ำเสมอผ่านทาง เว็ปไซต์มหาวิทยาลัย Facebook คณะ, Lineกลุ่มนักศึกษาของคณะ

4.4 The assessments methods are shown to include rubrics, marking schemes, timelines, and regulations, and these are shown to ensure validity, reliability, and fairness in assessment.

ทุกรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษามีการกำหนดกระบวนการและแผนในการประเมินผลการเรียนรู้ของ
ผู้เรียน วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ในแต่ละรายวิชาไว้อย่างชัดเจนใน มคอ.3 ซึ่งจะสัมพันธ์กับผลการผลการเรียนรู้ที่
คาดหวัง (ELO) ที่ได้ระบุไว้ในรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3) โดยผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการบริหาร
หลักสูตร และหลักสูตรกำหนดให้มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน ซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปตามธรรมชาติของแต่ละรายวิชาภายใต้มาตรฐานผลการเรียนรู้ 6 ด้าน ซึ่งในแต่ละด้านจะมีมาตรฐานผลการเรียนรู้ข้อย่อยเพื่อใช้ในการกำหนดความรับผิดชอบของแต่ละรายวิชาที่สอนแล้วทำให้ผู้เรียนมีมาตรฐานผลการเรียนรู้ครบทั้ง 6 ด้าน ตามที่กำหนดไว้ใน มคอ.2

หลักสูตรได้กำหนดให้ทุกขอ้สอบทุกรายวิชาและการประเมิน Grade เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน มคอ.3 เป็นหลัก โดยได้แจ้งแนวทางการให้ระดับคะแนนไว้อย่างชัดเจน และการประเมินผลการเรียนรู้แต่ละรายวิชาโดยผ่านคณะกรรกรรมการพิจารณาคะแนนของหมาวิทยาลัยร่วมกับคณะวิชา ส่วนการจัดทำข้อสอบอาจารย์ผู้สอนส่งข้อสอบให้คณะกรรมการผู้บริหารหลักสูตรพิจารณาข้อสอบด้านความสอดคล้องกับหัวข้อที่สอน ระดับความยากง่ายและความซ้ำซ้อนของข้อสอบ

หลักสูตรมีแนวปฏิบัติในการประเมินผลเพื่อให้มีความ validity, reliability and fairness ดังนี้

1. อาจารย์ผู้สอนจัดทำ TQF3 ก่อนเปิดภาคการศึกษา โดยกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการประเมินผลไว้ให้ชัดเจน ใน TQF2 และนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
2. แจ้งแนวทางการประเมินผล การให้ระดับคะแนนแก่นักศึกษาตั้งแต่คาบแรกของการเรียน และเปิดโอกาสให้
นักศึกษาแสดงความคิดเห็น/เสนอแนะ เพื่อให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วม

3. ให้แจ้งผลการประเมินคะแนนกลางภาคแก่นักศึกษาทุกครั้งเพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักศึกษาทำให้
นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและแก้ไขในส่วนที่บกพร่องได้ ก่อนการวัดผลสอบปลายภาค และเมื่อสิ้นสุดการประเมินผลปลายภาค นักศึกษาจะต้องประเมินอาจารย์ผู้สอน หลังจากนั้นเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการพิจารณาผลการเรียนจึงจะสื่อสารไปยังนักศึกษาในช่องทาง MIS ของมหาวิทยาลัย

4. อาจารย์ผู้สอนจัดทำ TQF5 หลังสิ้นสุดการเรียนการสอน โดยกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการประเมินผลไว้ให้ชัดเจนใน TQF2 และนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และทบทวนผลสัมฤทธิ์ของรายวิชาที่เปิดสอนของแต่ละภาคการศึกษาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25

4.5 The assessment methods are shown to measure the achievement of the expected learning outcomes of the programme and its courses.

จากการเปลี่ยนแปลงวิทยาการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมีพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 และกฎหมายแรงงานกำหนดให้มีบุคลากรที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยประจำอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม มี (1) พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 (2) ความสอดคล้องกับเกณฑ์ในการพิจารณาวุฒิการศึกษาปริญญาตรี สาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่าตามกฏกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549  และ (3) ข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชน ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2562 ดังนั้นจึงทำให้บุคลากรในกลุ่มดังกล่าวจำเป็นต้องพัฒนาเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการจัดการปัญหาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ดังนั้นหลักสูตรเน้นการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริงกับสถานการณ์ที่พบเห็นและสามารถนำมาเป็นข้อมูลในการเรียนและการทำวิจัย วิธีการเรียนการสอนจึงมีหลากหลายรูปแบบ ตามที่ได้แสดงไว้ในตารางแสดงความสอดคล้องของวิธีการประเมินกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร 6 ด้าน โดยกำหนดหัวข้อวิธีการประเมิน 7 ด้าน ได้แก่ (4.5-1)

  1. การสอบข้อเขียนและข้อสอบปรนัย
  2. การมอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเอกสารทางวิชาการ
  3. การจัดทำรายงานทั้งเดี่ยว/กลุ่ม
  4.  การนำเสนองานในชั้นเรียน
  5. การฝึกปฏิบัติเก็บข้อมูลในพื้นที่และวิเคราะห์
  6. ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และตอบข้อซักถามในชั้นเรียน
  7. การเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ และส่งงานตามกำหนดเวลา

 

4.6 Feedback of student assessment is shown to be provided in a timely manner.

สำหรับรายวิชาทุกรายวิชาอาจารย์ผู้สอนได้เปิดช่องทางสื่อสารระหว่างผู้เรียนทางกลุ่ม Line เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนความก้าวหน้าในการเรียนรู้และการส่งเอกสารการเรียน และทางหลักสูตรได้กำหนดให้นักศึกษาสามารถพบผู้สอนแบบ Face-to-Face ที่ห้องพักอาจารย์ได้ตลอดเวลา ผลลัพท์ที่ได้ทำให้ผลป้อนกลับข้อมูลต่างที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษาสามารถสื่อสารได้ทันทีและมีความทันเวลา

จากผลการทำเนินการที่ผ่านมาสามารถช่วยเหลือนักศึกษาที่มีระดับผลการเรียน F และลงทะเบียนในภาคการศึกษา Summer ได้ และทางหลักสูตรได้สำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการดำเนินการหลักสูตรในชั้นปีที่ 1-3 จำนวน 20 คน พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจต่อการบริหารหลักสูตร มีค่าเฉลี่ย 4.04 และความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการดำเนินการหลักสูตรในชั้นปีสุดท้ายจำนวน 6 คน พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจต่อการบริหารหลักสูตร มีค่าเฉลี่ย 4.21

4.7 The student assessment and its processes are shown to be continuously reviewed and improved to ensure their relevance to the needs of industry and alignment to the expected learning outcomes.

หลักสูตรมีการทบทวนกระบวนการเรียนการสอนและการประเมินผลผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการดังกล่าวมีความเกี่ยวเนื่อง และสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง โดยทบทวนจาก มคอ.3/4 และ มคอ.5/6 ของแต่ละรายวิชา โดยมีจุดมุ่งหมายทบทวนผลลัพธ์การเรียนรู้ให้เป็นไปตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร

หลักสูตรมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในรายละเอียดของรายวิชา
อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา โดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรการทวน
สอบ ซึ่งจะประเมินในหัวข้อ1.ความเหมาะสมของวิธีการสอน 2.การประเมินผลการเรียนรู้ กับแผนการประเมินผลการเรียนรู้ 3. การกระจายของผลการเรียน 4. การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ด้าน 6 ด้าน   รายวิชาที่ทวนสอบฯ มีดังต่อไปนี้

       ภาคการศึกษาที่  1/2566

  1. 100 201 The Art of Thinking
  2. 100 303 English 1
  3. 901 103 Biochemistry
  4. 912 113 Sanitation and Environmental Health
  5. 922 101 Occupational Disease and Control 
  6. 922 118 Fundamental to Industrial Hygiene
  7. 921 110 Industrial Risk Assessment and Management
  8. 921 111 Occupational Health and Safety Management                                                                         ภาคการศึกษาที่  2/2566 

   1.100 302 Thai for Communication                                                                                                                   2. 901 104 Basic Biology                                                                                                                                   3. 901 111 Calculus and Ordinary Differential Equation                                                                                   4. 912 106 Epidemiology for Public Health                                                                                                       5. 922 108 Safety in Industrial Process and Hazards                                                                                         6. 922 116 International Standard Management of Occupational Health and Safety System                           7. 922 117 Legislation of Occupational Health, Safety and Environment

 

Evidence

ID_EvidenceName_Evidence
4.1-1
4.1-2
3.2-1

Self-Assessment

RequirementsResultScore
4.1 A variety of assessment methods are shown to be used and are shown to be constructively aligned to achieving the expected learning outcomes and the teaching and learning objectives./1
4.2 The assessment and assessment-appeal policies are shown to be explicit, communicated to students, and applied consistently./1
4.3 The assessment standards and procedures for student progression and degree completion, are shown to be explicit, communicated to students, and applied consistently./1
4.7 The student assessment and its processes are shown to be continuously reviewed and improved to ensure their relevance to the needs of industry and alignment to the expected learning outcomes. 
4.4 The assessments methods are shown to include rubrics, marking schemes, timelines, and regulations, and these are shown to ensure validity, reliability, and fairness in assessment./1
4.5 The assessment methods are shown to measure the achievement of the expected learning outcomes of the programme and its courses./
4.6 Feedback of student assessment is shown to be provided in a timely manner./1
Overall5

Leave a Reply