Criterion 3 – Teaching and Learning Approach

Criterion 3 – Teaching and Learning Approach

Operational Result

3.1 The educational philosophy is shown to be articulated and communicated to all stakeholders. It is also shown to be reflected in the teaching and learning activities.

ปรัชญาการศึกษาของหลักสูตรคือการจัดการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ พัฒนาบัณฑิตให้ประสบความสาเร็จและมีสังคมชีวิตที่ดี ซึ่งใช้ร่วมกับมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยได้ประกาศปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยไว้ที่ http://stic.ac.th ในการปีการศึกษา 2566เพื่อให้ผู้ที่สนใจหรือนักศึกษาศิษปัจจุบันและศิษย์เก่าสามารถเข้าชมได้ อีกทั้งคณะได้จัดคู่มือ Hand book ให้กับนักศึกษาใหม่ รวมทั้งคณาจารย์ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดของปรัชญาการศึกษา วิสัยทัศน์ พันธกิจ  ในวันปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ ซึ่งเมื่อมีการสอบถามการรับรู้ของอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน และผู้เรียน พบว่ามีการรับรู้ปรัชญาการศึกษาเพิ่มขึ้น

และเมื่อนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ทางหลักสูตรได้จัดทำคู่มือฝึกฯที่มีการสื่อสารถึงปรัชญาอีกด้วยเพื่อให้ทั้ง 2 ฝ่ายรับทราบเจตนารมณ์และเป็นแนวทางการฝึกฯให้กับนักศึกษและพี่เลี้ยงของแหล่งฝึก

3.2 The teaching and learning activities are shown to allow students to participate responsibly in the learning process.

หลักสูตรมีคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ พิจารณาจัดสรรรายวิชาให้กับอาจารย์ผู้สอนตามหลักเกณฑ์กำหนดรหัสวิชาของสาขาวิชาของคณะสาธารณสุขศาสตร์ ในรายวิชาของหลักสูตรมีการกำหนดกลยุทธ์การสอน และการประเมินผล อาจารย์ผู้สอน และได้พัฒนากลยุทธ์การสอนให้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยทางหลักสูตรได้พิจารณาจากจัดทำ TQF3 และ TQF5 ในระบบ MIS-online ของมหาวิทยาลัย (3.2-1) นอกจากนี้ในเล่มหลักสูตร TQF2 ยังได้กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนในหลักสูตรที่สอดคล้องกับผลลัพท์การเรียนรู้พิเศษ 8 ด้าน ดังนี้

คุณลักษณะพิเศษ

กลยุทธ์หรือกิจกรรมของนักศึกษา

1.ด้านบุคลิกภาพ

–      แนะนำและสอดแทรกในระหว่างการเรียนการสอน   

2.ด้านภาวะผู้นำและความรับผิดชอบตลอดจนการมีวินัยในตนเอง

–      จัดให้รายวิชาที่เกี่ยวข้องมีกิจกรรมการเรียนการสอนแบบทำงานกลุ่ม การมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการทำงาน

–      จัดให้มีการลงชื่อเข้าเรียนของนักศึกษาเพื่อสร้างวินัยความตรงต่อเวลา

3.ด้านจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ

–      สอดแทรกระหว่างการเรียนการสอนให้นักศึกษาตระหนักถึงคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ

4.ความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ

–      จัดอบรมหลักสูตรภาษาอังกฤษพื้นฐาน (Intensive Course) เป็นการเตรียมความพร้อมด้านภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษา

–      ส่งเสริมทักษะด้านภาษาเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการศึกษา

5.ด้านวิชาการ

– จัดการเรียนการสอนมุ่งสร้างบัณฑิตให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการและเป็นที่พึงประสงค์จากภายนอก

– จัดการเรียนการสอนหลายรูปแบบ เน้นการมีส่วนร่วมในรายวิชาการเรียนการสอน เช่น การค้นคว้า การอภิปราย การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก และสามารถประยุกต์ใช้ในงานได้

6.ด้านการสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศ

– จัดการเรียนการสอนให้มีรายวิชาเกี่ยวกับระบบการสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศ

– จัดการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

7.ด้านทักษะการปฏิบัติงาน

– จัดการฝึกปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการ

– จัดการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริงในสถานบริการสุขภาพและชุมชน

8.ด้านจิตสาธารณะ

– จัดตั้งชมรมและจัดอาสาสมัครในการจัดกิจกรรมต่างๆ

– จัดกิจกรรมเข้าค่ายส่งเสริมจิตอาสาสำหรับนักศึกษา

– จัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์และบริการวิชาการแก่สังคมของผู้เรียน

นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนโครงการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมส่งเสริมการเรียนและการสอน ได้แก่ การมีส่วนร่วมจัดทำแผนงานพัฒนานักศึกษา

1.โครงการศึกษาดูงาน 2.โครงการสัมมนาวิชาการ/วิชาชีพ 3.โครงการปฐมนิเทศนักศึกษา 4. โครงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพนักศึกษา 5.โครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษา 6. โครงการอบรมคุณธรรมและจริยธรรม

ในการจัดห้องเรียนนั้นทางคณะได้จัดให้มีกิจกรรมการเรียนการสอนที่ตึกบริหารชั้น 3 และชั้น4 และตึกเซนต์แมรี่ชั้น 1 

3.3 The teaching and learning activities are shown to involve active learning by the students.

ทางหลักสูตรได้กำหนดให้กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการแลกเปลี่ยนความรู้และข้อคิดเห็นโดยใช้หลัก Reality Model and Problem Base Learning ในแต่ละรายวิชา นอกจากนี้ทางหลักสูตรยังกำหนดรายวิชาที่เน้นการปฏิบัติโดยนักศึกษาอันได้แก่ วิชาการเก็บตัวอย่างทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ซึ่งนกศึกษาจะต้องฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์สำหรับตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านเสียง ความร้อน ฝุ่น แสงสว่างและสารเคมี และนักศึกษาจะต้องนำเสนอผลการตรวจวัดและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานด้วยตนเองโดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษา

และในภาคการเรียนที่ 2 ของชั้นปีที่ 4 นักศึกษาออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านอาชีวอนามัยฯให้กับสถานประกอบการโดยใช้หลักการทางวิชาการด้าน 1.สืบค้นอันตราย/ปัญหา 2.ประเมินอันตราย/ปัญหา 3.ควบคุมและแก้ไขอันตราย/ปัญหา และนำไปสู่การจัดลำดับความสำคัญของปัญหาเพื่อเลือกปัญหาที่สำคัญมากที่สุดหรือสอดคล้องกับนโยบายของสถานประกอบการในการจัดการปัญหาเหล่านั้น และหลังจากนั้นนักศึกษาดำเนินการแก้ไปปัญหาจนอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ พร้อมนำเสนอผลการดำเนินการโดยมีคณาจารย์และพี่เลี้ยงให้คำแนะนำและจัดทำรูปเล่มรายงานแก่ทางหลักสูตร

3.4 The teaching and learning activities are shown to promote learning, learning how to learn, and instilling in students a commitment for life-long learning (e.g., commitment to critical inquiry, information-processing skills, and a willingness to experiment with new ideas and practices).

หลักสูตรได้จัดการเรียนการสอนที่ให้นักศึกษา มีทักษะทางปัญญา ทักษะการวิเคราะห์ การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งทักษะเหล่านี้จะส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเป็นพื้นฐานไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยใช้หลักการจัดการศึกษาแบบ Continuing Education ที่หลักสูตรมีวลีที่ว่า “ติดอาวุธทางปัญญา” ซึ่งในการเรียนที่ 1 ของชั้นปีที่ 4 นักศึกษาจะต้องเรียนในรายวิชาเรียน วิธีวิจัยทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเพื่อฝึกฝนให้นักศึกษารู้จักค้นคว้าวิจัยซึ่งเป็นหาฝึกการหาความรู้นอกห้องเรียน เมื่อนักศึกษาเรียนภาคทฤษฏีเสร็จสิ้นจะต้องค้นคว้าหัวข้องานวิจัยที่สนใจทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และจัดทำรูปวิจัยแบบ Proposal 3 บท โดยกำหนดให้นักศึกษาทุกคนจะต้องรวมกลุ่มกันทำงาน มีการค้นคว้างานวิจัยเพื่อนำมาสรุป วิพากษ์ วิจารณ์ ร่วมกัน โดยผู้สอนจะสรุปวิธีการเรียนรู้ตอนท้าย

นอกจากนี้ทางหลักสูตรได้จัดให้มีกิจกรรมนอกหลักสูตรโดยจัดกิจกรรมศึกษาดูงานการจัดการขยะมูลฝอยของเขตอ่อนนุช กรุงเทพมหานครฯ ทำให้นักศึกษาเป็นการสร้างความตระหนักและความมีจิตสำนึกในการร่วมลดขยะที่แหล่งกำเนิด และทำให้ทราบเส้นทางการจัดการขยะที่ปลายทาง

3.5 The teaching and learning activities are shown to inculcate in students, new ideas, creative thought, innovation, and an entrepreneurial mindset.

อาจารย์ในหลักสูตรได้ไปนิเทศงานนักศึกษาในรายวิชา 900 210 Professional Practice in Occupational Health and Safety เพื่อให้คำปรึกษาด้านเทคนิคทางวิชาการเช่น การประเมินความเสี่ยงของกระบวนการผลิต การได้มาของข้อมูล เป็นต้น และเสริมสร้างกระบวนการตัดสินใจในการเลือกปัญหาหรืออันตรายที่พบในสถานประกอบการเพื่อจัดทำโครงการแก้ไขปัญหา และสอดคล้องกับความสนใจในการแก้ไขปัญหาของสถานประกอบการด้วย จากผลการดำเนินงานพบว่านักศึกษาจำนวน 6 คนที่ลงทะเบียนในรายวิชานี้มีการดำเนินการจัดการปัญหาสภาพแวดล้อมในสถานประกอบการดังนี้

  1. โครงการ การจัดการปัญหาของฝุ่นและลดผลกระทบของฝุ่นในการก่อสร้าง บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

  2. โครงการ Big cleaning day ในพื้นที่ก่อสร้างอาคาร บริษัท เอส.ดี.เอ็นจิเนี่ยริ่ง เเอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด
  3. โครงการ ส่งเสริมให้ความรู้ทางด้านการยศาสตร์แก่พนักงาน บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียร์ริ่ง แอน สตรัคชั่น จํากัด
  4. โครงการ อุปกรณ์ลดฝุ่นจากวัสดุรีไซเคิล บริษัท วีทีวี เอ็นจิเนียร์ริ่ง

3.6 The teaching and learning processes are shown to be continuously improved to ensure their relevance to the needs of industry and are aligned to the expected learning outcomes.

หลักสูตรมีการทบทวนกระบวนการเรียนการสอนและการประเมินผลผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการดังกล่าวมีความเกี่ยวเนื่อง และสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง โดยทบทวนจาก TQF.3/4 และ TQF5/6 ของแต่ละรายวิชาโดยประธานสาขาวิชา อีกทั้งทางอาจารผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้จัดประชุมเรื่องการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้และการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ในแต่ละภาคการศึกษาโดยเลือกทวนสอบฯไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนของแต่ละภาคการศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายทบทวนผลลัพธ์การเรียนรู้ให้เป็นไปตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรและข้อผิดปกติที่พบจากการจัดการเรียนการสอน

จากผลการดำเนินการในภาคการศึกษาที่ 1 มีทั้งหมด 31 รายวิชา เลือกทวนสอบฯ 8 รายวิชา คิดเป็นร้อยละ 25 และภาคการศึกษาที่ 2 มีทั้งหมด 25 รายวิชา เลือกทวนสอบฯ 7 รายวิชา คิดเป็นร้อยละ 25 พบว่านักศึกษามีผลการเรียนรู้เป็นไปตามที่หลักสูตรคาดหวังและมีระดับความพึงพอใจมากกว่า 3.51 (หลักฐาน 3.6_1)

รายการ

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

รายวิชาที่ทำการเปิดสอนในปีการศึกษา 2566

56

รายวิชาที่ทำการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา

          หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

 

3

          หมวดวิชาเฉพาะด้าน – กลุ่มวิชาชีพพื้นฐาน

3

          หมวดวิชาเฉพาะด้าน – กลุ่มวิชาชีพทางสาธารณสุข

4

          หมวดวิชาเฉพาะด้าน – กลุ่มวิชาชีพเฉพาะสาขา

5

รวม

15

คิดเป็นร้อยละ

25

Evidence

ID_EvidenceName_Evidence
3.1-1
3.1-2
3.2-1

Self-Assessment

RequirementsResultScore
3.1 The educational philosophy is shown to be articulated and communicated to all stakeholders. It is also shown to be reflected in the teaching and learning activities./1
3.2 The teaching and learning activities are shown to allow students to participate responsibly in the learning process./1
3.3 The teaching and learning activities are shown to involve active learning by the students./
3.4 The teaching and learning activities are shown to promote learning, learning how to learn, and instilling in students a commitment for life-long learning./1
3.5 The teaching and learning activities are shown to inculcate in students, new ideas, creative thought, innovation, and an entrepreneurial mindset./1
3.6 The teaching and learning processes are shown to be continuously improved to ensure their relevance to the needs of industry and are aligned to the expected learning outcomes./1
Overall5

Leave a Reply