Criterion 6 – Student Support Services

Criterion 6 – Student Support Services

Requirements for AUNQA Criterion 6
6.1 Student admission

The student intake policy, admission criteria, and admission procedures to the programme are shown to be clearly defined, communicated, published, and up-to-date.

Diagnostic questions
  • How is student intake monitored and analysed?
  • How are students selected?
  • What policy is pursued with regard to the intake of students? Does it aim to increase the intake or to stabilise it? Why?
  • What measures are taken to influence the quality and the size of the intake? What effect does these measures have?
  • How does the programme take into account the level of achievement of entering students?
6.2 Service planning

Both short-term and long-term planning of academic and non-academic support services are shown to be carried out to ensure sufficiency and quality of support services for teaching, research, and community service.

Diagnostic questions
  • What are the academic support services? What are non-academic support services?
  • What are the short-term and long-term plans of academic support services?
  • What are the short-term and long-term plans of non-academic support services?
  • What are the support services for teaching, research and community service?
  • How are the sufficiency and quality of support services determined?
6.3 Student monitor

An adequate system is shown to exist for student progress, academic performance, and workload monitoring. Student progress, academic performance, and workload are shown to be systematically recorded and monitored. Feedback to students and corrective actions are made where necessary.

Diagnostic questions
  • Is the study load divided equally across and within each academic year? How is the credit hours calculated?
  • What are the indicators used to monitor student progress and performance?
  • Does the department have a monitoring system for recording study progress and following graduates? How does it work?
  • How is the data of the monitoring system used?
  • What is the corrective feedback? How is it provided?
6.4 Co-curricular activities

Co-curricular activities, student competition, and other student support services are shown to be available to improve learning experience and employability.

Diagnostic questions
  • What are the co-curricular activities and student competition used?
  • How do they improve learning experience or employability?
6.5 Service competences evaluation

The competences of the support staff rendering student services are shown to be identified for recruitment and deployment. These competences are shown to be evaluated to ensure their continued relevance to stakeholders needs. Roles and relationships are shown to be well-defined to ensure smooth delivery of the services.

Diagnostic questions
  • Are the support staff members competent and qualified for their jobs?
  • Are the competencies and expertise of the support staff adequate?
  • How are the required competence of the support staff identified?
  • Are the competence relevant to stakeholders’ needs?
  • Are support staff members satisfied with their roles?
6.6 Service quality enhancement

Student support services are shown to be subjected to evaluation, benchmarking, and enhancement.

Diagnostic questions
  • What are the indicators used to monitor student progress and performance?
  • Are students satisfied with the support services provided?
  • How are the students support services evaluated?
  • Is benchmarking used? How are the student support services enhanced?
Scoring for TRSU QA
TRSU QA score12345
Items showing
QA practice
1 item2 items3-4 items5 items5 items + 6.6
AUNQA scoring rubrics

A seven-point rating scale used for AUNQA assessment is described below.

1. Absolutely inadequate

The QA practice to fulfil the criterion is not implemented
There are no plans, documents, evidences or results available. 
Immediate improvement must be made.

2. Inadequate and improvement is necessary

The QA practice to fulfil the criterion is still at its planning stage or is inadequate where improvement is necessary. 
There is little document or evidence available. 
Performance of the QA practice shows little or poor results.

3. Inadequate but minor improvement will make it adequate

The QA practice to fulfil the criterion is defined and implemented but minor improvement is needed to fully meet them. Documents are available but no clear evidence to support that they have been fully used. Performance of the QA practice shows inconsistent or some results.

4. Adequate as expected

The QA practice to fulfil the criterion is adequate and evidences support that it has been fully implementedPerformance of the QA practice shows consistent results as expected.

5. Better than adequate

The QA practice to fulfil the criterion is better than adequate. Evidence supports that it (the QA practice) has been efficiently implemented. Performance of the QA practice shows good results and positive improvement trend.

6. Example of best practice

The QA practice to fulfil the criterion is considered to be example of best practices in the field. Evidences support that it has been effectively implemented
Performance of QA practice shows very good results and positive improvement trend.

7. Excellent (example of world-class or leading practice)

The QA practice to fulfil the criterion is considered to be excellent or is an example of world-class practices in the field. Evidences support that it has been innovatively implemented. 
Performance of the QA practice shows excellent results and outstanding improvement trends.

Guide to writing a self-assessment report (SAR)
  • The report is the account of the self-assessment. It is not only descriptive but also analytical. It identifies and evaluates the problems and also provides an indication of how the problems identified will be dealt with. (Use the diagnostic questions provided in each of the AUN-QA criteria to do this.)
  • Illustrate clearly what, where, when, who, and how the QA mechanisms or instruments are implemented and managed to fulfil the criteria. This will help to piece all related information together.
  • Focus on information and data (objective evidences) that directly address the criteria. The report has to be concise and factual. Provide trends and statistics to show achievement and performance.
What is the QA practice to fulfil the criterion?

Quality assurance practice should mean QA plan that evaluates and/or modifies organization’s procedures to ensure that they provide the desired results. The QA plan documents the planning, implementation and assessment procedures for a project, process or any QA activity.
The QA plan should provide information about some or all of the following.

  • An overview of the project or process describing background, need, scope, activities, and deadlines;
  • Quality objectives to be attained (for example, characteristics, effectiveness, cycle time, cost, etc.);
  • Steps in the process that constitute the operating practice or procedures of the organization;
  • Allocation of responsibilities, authority, and resources for different phases of the project/process;
  • Specific document describing standards, practices, procedures, and instructions to be applied;
  • Suitable testing, inspection, examination, and audit programs at appropriate stages;
  • A documented procedure for changes and modifications to a quality plan as a process is improved;
  • A method for measuring the achievement of the quality objectives;

    (Source: https://asq.org/quality-resources/quality-plans)

Operational Result

6.1 The student intake policy, admission criteria, and admission procedures to the programme are shown to be clearly defined, communicated, published, and up-to-date.

การดำเนินการ

หลักสูตรฯ ได้มีการประชาสัมพันธ์หลักสูตรผ่านหลากหลายช่องทางในการรับนักศึกษาใหม่ประจำปีการศึกษา 2566 โดยได้ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดภายในประเทศในการจัดทำโครงการ Open House เพื่อโปรโมทสาขชาวิชาฯ ให้กับอาจารย์แนะแนวทั่วทั้งประเทศได้รับทราบเกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียนการสอน ผ่านคณะครูจาก กรุงเทพมหานคร ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสื่อสารให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 และผู้ปกครองทั่วประเทศให้ทราบผ่านทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยฯ และPlatform โซเชียลมีเดียต่าง ๆ ของทางสาขาวิชาฯ อาทิ Facebook และTiktok พร้อมกันนี้ยังได้ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดต่างประเทศของมหาวิทยาลัยฯ
ในการประชาสัมพันธ์หลักสูตรฯ โดยได้อธิบายและบรรยายหลักสูตรฯ ให้แก่เจ้าหน้าฝ่ายการตลาดต่างชาติที่เข้ามาเยี่ยมชมภายในห้องปฏิบัติการควบคุมจราจรทางอากาศได้ฟัง พร้อมทั้งสาธิตการควบคุมจราจรทางอากาศทั้งเขตสนามบินและเขตประชิดสนามบินโดยใช้เรดาร์ ให้ได้ชมถึงขั้นตอนและวิธีการควบคุมเครื่องบินเบื้องต้นอีกด้วย และในตอนท้ายได้อธิบายถึงเกณฑ์และคุณสมบัติในการรับนักศึกษาใหม่ของสาขาวิชาฯ เพื่อโปรโมทสาขาวิชาฯ และหลักสูตรฯ ให้ผู้ที่สนใจที่จะเข้ามาศึกษาต่อเข้ามาสมัครและทำการเรียนการสอนในปีการศึกษาถัดไป

โดยคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ามาศึกษาในสาขาวิชาฯ นี้ จะมีคุณสมบัติและขั้นตอนการสมัคร ดังนี้

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการให้การรับรอง
  2. เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562
  3. มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ
  4. มีพื้นฐานความรู้และทักษะภาษาอังกฤษดี
  5. มีความประพฤติดีมีความตั้งใจที่จะใช้ความสามารถของตนในการที่จะศึกษา และปฏิบัติตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ อย่างเคร่งครัด

หลังจากการรับสมัครนักศึกษาเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ทางสาขาวิชาฯ และมหาวิทยาลัยฯ ได้มีขั้นตอนการทดสอบเกี่ยวกับความรู้ภาษาอังกฤษเบื้องต้น โดยการสอบวัดความสามารถ ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ หากผ่านการทดสอบก็ให้นักศึกษาดำเนินการลงทะเบียนในขั้นตอนต่อไปได้ แต่หากไม่ผ่านการทดสอบ นักศึกษาจะต้องเข้ารับการเรียนเพิ่มเติม Intensive English Programe ในช่วง Summer และทำการวัดผลอีกครั้งหลังการเรียนการสอน ถ้าผ่านจะดำเนินการลงทะเบียนต่อไป ถ้าไม่ผ่านก็ปฏิเสธการรับสมัคร

ซึ้งหลังการเรียนการสอน Intensive English Programe สาขาวิชาฯ ยังคงพบปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ ของนักศึกษาแรกเข้า เกี่ยวกับการปรับตัวในการเรียนระดับอุดมศึกษา ซึ่งเน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง การมีวินัย และควบคุมตนเอง ซึ่งผู้นักศึกษาอาจขาดความรู้ ความเข้าใจ และความเชื่อมั่นในการประกอบวิชาชีพ และมีพื้นฐานความรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษที่ยังไม่ได้เกณฑ์ตามที่กำหนด

ทางสาขาวิชาฯ ร่วมกับทางมหาวิทยาลัยฯ จึงได้มีกลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา/ข้อจำกัดของนักศึกษาดังกล่าว โดยการจัดปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ในระดับมหาวิทยาลัยฯ คณะ และสาขาวิชาฯ และมีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาดูแลอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งจัดให้มีการจัดกิจกรรมเสริมสร้างความถนัดและทัศนคติในการประกอบวิชาชีพต่าง ๆ มากมาย เช่น การศึกษาดูงานนอกสถานที่ การแข่งขันทักษะทางวิชาการ การบริการวิชาการ เป็นต้น

หลักฐาน

  1. กำหนดการ Open House ของคณะครูแนะแนวทั่วประเทศและต่างประเทศ
  2. ภาพ วิดีโอ และเว็บไซต์โปรโมทหลักสูตร
  3. Tiktok การโมทหลักสูตร
  4. โบชัวร์ โปรโมทหลักสูตร
  5. โครงการศึกษาดูงาน และ รายงานผลโครงการศึกษาดูงาน
  6. โครงการทางวิชาการ
  7. โครงการบริการวิชาการ

6.2 Both short-term and long-term planning of academic and non-academic support services are shown to be carried out to ensure sufficiency and quality of support services for teaching, research, and community service.

การดำเนินการ

หลักสูตรฯ ได้มีการกำหนดแผนกิจกรรม และโครงการประจำปีที่ให้บริการสนับสนุนนักศึกษาทุกชั้นปีในหลากหลายรูปแบบ เช่น โครงการศึกษาดูงานนอกสถานที่ โครงการบริการวิชาการสู่ชุมชน โครงการแข่งขันทักษะทางวิชา โครงการฝึกระเบียบวินัย โครงการวันเด็ก โครงการนิเทศน์ศึกษา
เพื่อเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียนในแก่นักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาคุ้นเคยกับการทำงานนอกสถานที่ การทำงานเป็นกลุ่ม และการทำงานร่วมกับผู้ที่มีอายุมากและน้อยกว่าตน

พร้อมกันนี้ทางสาขาวิชาฯ ยังได้มีการวางแผนกับคณะในการกำหนดคุณสมบัติของบุคลากรที่จะเข้ามาช่วยดูแลนักศึกษาภายในคณะและสาขาวิชาฯ เพื่อให้มั่นใจว่าการบริการสนับสนุนด้านการสอน การวิจัย และการบริการชุมชนมีคุณภาพและมาตรฐานที่เพียงพอ โดยได้มีการกำหนดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอนให้เป็นไปตามข้อบังคับ และระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ และคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับงาน สำหรับการเพิ่มทักษะความรู้เพื่อการปฏิบัติงาน บุคลากรสายสนับสนุนต้องเข้าใจโครงสร้างและธรรมชาติของหลักสูตร สามารถให้บริการแก่อาจารย์ เช่น การใช้สื่อการสอน การเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่อาจารย์ โดยบุคลากรต้องได้รับการอบรมด้านที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน ตลอดจนได้รับการฝึกปฏิบัติเพื่อเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

การบริหารหลักสูตรการเรียนการสอน และการประเมินผลการเรียน หลักสูตรฯ จะมีคณะกรรมการประจำหลักสูตรของคณะวิชา ประกอบด้วย คณบดี หัวหน้าสาขาวิชาฯ และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ โดยมีรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการร่วมกำกับดูแลและคอยให้คำแนะนำตลอดจนกำหนดนโยบายปฏิบัติ  และมีการวางแผนการจัดการเรียนการสอนล่วงหน้า มีการติดตามและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ ทั้งด้านขององค์ความรู้ และเทคนิคกระบวนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ พร้อมทั้งมีการประมวลผล เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งโดยกระทำทุกปีอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

  1. เตรียมความพร้อมก่อนการเปิดการเรียนการสอน หัวหน้าสาขาวิชา/ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมอบหมายผู้สอนเตรียมความพร้อมในเรื่องอุปกรณ์การเรียนการสอน สื่อการสอน เอกสารประกอบการสอนและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ รวมทั้งการติดตามผลการเรียนการสอน และการจัดทำรายงาน
  2. ติดตามการจัดการเรียนการสอน หัวหน้าสาขาวิชาฯ และผู้รับผิดชอบหลักสูตรจัดทำระบบติดตามและตรวจสอบกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ทราบปัญหา อุปสรรค และขีดความสามารถของผู้สอน
  3. เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยฯ จัดทำระบบการประเมินผลผู้สอนโดยผู้เรียน ผู้สอนประเมินผลการสอนของตนเองและผู้สอนประเมินผลรายวิชา
  4. เมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา หัวหน้าสาขาวิชาฯ และผู้รับผิดชอบหลักสูตรติดตามภาวะการมีงานทำคุณภาพการสอน โดยการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา
  5. เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนแต่ละปี หัวหน้าสาขาวิชาฯ และผู้รับผิดชอบหลักสูตรจัดทำร่างรายงานผลการดำเนินงานหลักสูตรประจำปี ซึ่งประกอบด้วยผลการประเมินคุณภาพการสอน รายงานรายวิชา ผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของรายวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของรายวิชาของปีนั้นๆ เสนอคณบดี
  6. หัวหน้าสาขาวิชาร่วมกับอาจารย์ผู้รับผิดชอบจัดประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตร วิเคราะห์ผลการดำเนินงานหลักสูตรฯ ประจำปี และใช้ข้อมูลเพื่อการปรับปรุงกลยุทธ์การสอน ทักษะของอาจารย์ผู้สอน การใช้กลยุทธ์การสอน และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของหลักสูตรและจัดทำรายงานผลการดำเนินงานหลักสูตรเสนอคณบดี
  7. เมื่อครบรอบ 4 ปีคณบดีแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิประเมินผลการดำเนินงานหลักสูตรโดยประเมินจากรายงานผลการดำเนินงานหลักสูตร ทั้งนี้จัดให้มีการประเมินคุณภาพหลักสูตรโดยนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายก่อนสำเร็จการศึกษาและผู้ใช้บัณฑิตร่วมด้วย
  8. มหาวิทยาลัยฯแต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตร ที่มีจำนวนและคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์

ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรปริญญาตรี พ.ศ. 2558 เพื่อให้มีการปรับปรุงหลักสูตรอย่างน้อยทุก 5 ปี โดยนำความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ บัณฑิตใหม่ ผู้ใช้บัณฑิต ให้รองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม

สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

การบริหารทรัพยากรการเรียนการสอน

  1. การบริหารงบประมาณ

          ทางสาขาวิชาฯ ได้จัดทำแผนงบประมาณประจำปี เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการมหาวิทยาลัยฯ ให้จัดสรรงบประมาณประจำปี เพื่อจัดซื้อตำรา สื่อการเรียนการสอน โสตทัศนูปกรณ์ การซ่อมบำรุงอุปกรณ์ และวัสดุครุภัณฑ์อย่างเพียงพอเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนในชั้นเรียน และสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา

  1. ทรัพยากรการเรียนการสอนที่มีอยู่เดิม

          มหาวิทยาลัยฯ มีห้องสมุดที่มีความพร้อมของทรัพยากรการเรียนการสอน ตำรา หนังสือ เอกสาร อุปกรณ์การเรียนการสอน ศูนย์การเรียนรู้ที่จัดให้มีฐานข้อมูลระดับนานาชาติและห้องสมุดออนไลน์

  1. การจัดหาทรัพยากรการเรียนการสอนเพิ่มเติม

          สาขาวิชาฯ มีการประสานงานกับห้องสมุดของมหาวิทยาลัยฯ ในการจัดซื้อหนังสือและตำราที่เกี่ยวข้อง เพื่อบริการให้อาจารย์และนักศึกษาได้ค้นคว้าและใช้ประกอบการเรียนการสอน ในการประสานการจัดซื้อหนังสือนั้น อาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชาจะมีส่วนร่วมในการเสนอแนะรายชื่อหนังสือ ตลอดจนสื่ออื่นๆ ที่จำเป็น นอกจากนี้อาจารย์พิเศษที่เชิญมาสอนบางรายวิชาและบางหัวข้อยังมีส่วนร่วมในการเสนอแนะรายชื่อหนังสือ รวมทั้งอุปกรณ์และเครื่องมือที่เป็นประโยชน์

  1. การประเมินความเพียงพอของทรัพยากร

          มีบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ประจำห้องสมุด ซึ่งจะประสานงานกับหัวหน้าสาขาวิชาฯ ในการจัดซื้อจัดหาหนังสือเข้าห้องสมุด และทำหน้าที่ประเมินความพอเพียงของหนังสือและตำรา นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่ด้านโสตทัศนูปกรณ์ซึ่งจะอำนวยความสะดวกในการใช้สื่อของอาจารย์และประเมินความพอเพียงรวมทั้งความต้องการใช้สื่อของอาจารย์ โดยมีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้

ตารางตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators)

เป้าหมาย

การดำเนินการ

 การประเมินผล

จัดให้มีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ระบบเครือข่าย แม่ข่าย อุปกรณ์ การทดลอง ทรัพยากร สื่อและ ช่องทางการเรียนรู้ที่เพียบพร้อม เพื่อสนับสนุนทั้งการศึกษาในและ นอกห้องเรียน และเพื่อการเรียนรู้ ได้ด้วยตนเองอย่างเพียงพอและมี ประสิทธิภาพ

1. จัดให้มีห้องเรียนมัลติมีเดียที่มี
ค ว า ม พ ร้ อ ม ใ ช้ ง า น อ ย่ า ง มีประสิทธิภาพ ทั้งในการสอน การบันทึก เพื่อเตรียมจัดสร้างสื่อสำหรับ การทบทวนการเรียน

2. จัดเตรียมห้องปฏิบัติการจำลองที่มีเครื่องมือทันสมัยและเป็นเครื่องมือ วิชาชีพใน ร ะดับสากล เพื่อให้ นักศึกษาสามารถฝึกปฏิบัติ สร้าง ความพร้อมในการปฏิบัติงานในวิชาชีพ

3. จัดให้มีห้องสมุดให้บริการทั้ง หนังสือตำรา และสื่อดิจิทัลเพื่อการ เรียนรู้ ทั้งห้องสมุดทางกายภาพ และทางระบบเสมือน (Virtual)

– รวบ รวมจัดทำสถิติจำนวน เครื่องมืออุปกรณ์ต่อนักศึกษา ชั่วโมงการใช้งานห้องปฏิบัติการ และเครื่องมือสนับสนุน

 – จำนวนนักศึกษาลงเรียนในวิชา
เ รียนที่มีการ ฝึกปฏิบัติด้วย อุปกรณ์ต่างๆ
– สถิติของจำนวนหนังสือตำรา และสื่อดิจิทัลที่มีให้บริการ และ สถิติการใช้งานหนังสือตำราสื่อ ดิจิทัล

– ผลสำรวจความพึงพอใจของ
นัก ศึกษาต่อการให้บริการ ทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้และ
การปฏิบัติการ

จากข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมดสามารถสรุปได้ว่า สาขาวิชฯ มีแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาวในการจัดการศึกษา และแผนในการสนับสนุนนักศึกษาให้มีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านความรู้ ทักษะ ด้านวิชาการและด้านที่ไม่ใช่วิชาการ ดังนั้น หลักสูตรและสาขาวิชาฯ จึงถือได้ว่ามีคุณภาพและพร้อมที่จะผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ออกสู่ตลาดแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล

 

หลักฐาน

  1. คู่มือบุคลากร
  2. โครงการประจำปี 2566
  3. รายการซ่อมบำรุงอุปกรณ์
  4. บันทึกขอซื้อตำราเรียนเพิ่มเติม

6.3 An adequate system is shown to exist for student progress, academic performance, and workload monitoring. Student progress, academic performance, and workload are shown to be systematically recorded and monitored. Feedback to students and corrective actions are made where necessary.

การดำเนินการ

หลักสูตรจัดทำฐานข้อมูลนักศึกษาเพื่อเสริมพลังการเรียนรู้ สู่ความสำเร็จ

โดยสาขาวิชาฯ ได้จัดทำฐานข้อมูลนักศึกษา มุ่งมั่นส่งเสริมความสำเร็จทางการศึกษาของนักศึกษา ผ่านระบบสนับสนุนที่ครอบคลุม ดังนี้

       ฐานข้อมูลนักศึกษา: เก็บข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลการศึกษา ผลการเรียน กิจกรรมนักศึกษา โครงการที่สนับสนุนการเรียนรู้ และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

       ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา: อาจารย์ที่ปรึกษาจะพบนักศึกษาประจำทุกสัปดาห์เพื่อติดตามความก้าวหน้าทางการเรียน ให้คำแนะนำและสนับสนุนอย่างใกล้ชิด นักศึกษาสามารถปรึกษาปัญหาส่วนตัวแบบตัวต่อตัวได้สะดวก ผ่านโปรแกรมไลน์ หรือเข้ามานัดหมายที่ห้องพักอาจารย์

       ระบบติดตามผล: วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหานักศึกษาที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด

       ตัวอย่างผลลัพธ์ที่สำเร็จ: ในปีการศึกษาที่ผ่านมา มีนักศึกษาเข้าปรึกษาเรื่องรายวิชาที่สอบไม่ผ่าน ซึ่งถือเป็น Serious Case เนื่องจากมีผลการเรียนที่ไม่ผ่านหลายวิชา 

อาจารย์ที่ปรึกษาและสำนักวัดผลและประมวลผลได้ร่วมหาทางออก จัดตารางเรียนให้เหมาะสม ช่วยให้นักศึกษาสามารถแก้ไขรายวิชาที่สอบไม่ผ่าน ส่งผลให้สามารถออกฝึกปฏิบัติงาน และสำเร็จการศึกษาตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด ดังตัวอย่างผลการศึกษาตามภาพ

หลักฐาน

1. ประวัตินักศึกษา
2. ฐานข้อมูลของนักศึกษาในระบบ MIS
3. ไลน์กลุ่มนักศึกษาแต่ละชั้นปี

6.4 Co-curricular activities, student competition, and other student support services are shown to be available to improve learning experience and employability.

การดำเนินการ

ตามแผนปฏิบัติการประจำปี 2566 ของสาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศ โดยการสนับสนุนของมหาวิทยาลัยฯ หลักสูตรฯ ได้ดำเนินการวางแผนส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาผ่านระบบการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน โดยได้จัดให้มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่สนับสนุนต่อความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา ตามที่ระบุไว้ใน มคอ.2 และมีการนำผลการประเมินการดำเนินการในปีการศึกษาที่ผ่านมา มาพิจารณาและให้อาจารย์ในหลักสูตรฯได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผน ประกอบด้วย

  1. กิจกรรมของทางมหาวิทยาลัยฯ ได้แก่ กิจกรรมกีฬาสี กิจกรรมการไหว้ครู กิจกรรมวัน International day กิจกรรมวันลอยกระทง กิจกรรมวันคริสมาส เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถใช้ชีวิตและทำกิจกรรมในสังคมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
  2. กิจกรรมของคณะ ได้แก่ กิจกรรมการปฐมนิเทศน์ กิจกรรมการปัจฉิมนิเทศน์ กิจกรรมด้านคุณธรรม จริธรรม เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถค้นพบแนวทางในการใช้ชีวิตของตนเอง และสามารถวางแผนการทำงานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. กิจกรรมของสาขาวิชาฯ ได้แก่

          3.1 โครงการเยี่ยมชมศึกษาดูงานหอบังคับการบินสระพรานนาค ค่ายสมเด็จพระศรีนครินทรา ต.เขาพระงาม อ.เมือง  จ.ลพบุรี เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นการปฏิบัติจริง ของเจ้าหน้าที่ ATC ในการควบคุมอากาศยานของเหล่าศิษย์การบินทหารบก และเป็นการบูรณาการความรู้ควบคู่ไปกับการเรียนการสอนในรายวิชา 223 221 การควบคุมจราจรทางอากาศสนามบิน (Aerodrome Control Service) และรายวิชา 223 222 ปฏิบัติการจำลองการควบคุมจราจรทางอากาศสนามบิน (Aerodrome Control Simulation)

          3.2 โครงการบริการวิชาการ ณ โรงเรียนราชวินิตบางแก้วในพระบรมราชูปถัมภ์ ในระหว่างวันที่ 28-29  กันยายน 2566 โดยตัวแทนนักศึกษาสาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศได้มีโอกาสไปถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ เรื่อง การควบคุมจราจรทางอากาศให้แก่เหล่าผู้เข้ารับการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือเหล่าอากาศได้ฟัง  เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษาฯ สามารถนำความรู้ ความสามารถที่ได้เรียนมาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ร่วมถึงฝึกให้นักศึกษาฯ กล้าที่จะแสดงออกและมีภาวการณ์เป็นผู้นำในการดำเนินกิจกรรม เพื่อฝึกให้นักศึกษาสามารถเข้าใจแนวทางในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นหรือองค์กรอื่นได้ พร้อมทั้งสามารถวางแผนงานได้อย่างละเอียดรอบคอบ ทั้งก่อนการดำเนินกิจกรรม ระหว่างดำเนินกิจกรรม และสรุปผลหลังจากดำเนินกิจกรรมได้อย่างเป็นระบบ

          3.3 โครงการฝึกระเบียบวินัย พัฒนาบุคคลิกภาพ ความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกัน และภาวการณ์เป็นผู้นำ เพื่อให้นักศึกษาในสาขาวิชาฯ ฝึกระเบียบวินัย พัฒนาบุคลิกภาพ ความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกัน สร้างภาวการณ์เป็นผู้นำ เป็นตัวอย่างให้แก่เยาวชน และตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม

หลังดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ หลักสูตรฯ ตรวจสอบโดยการประเมินกิจกรรมในโครงการ
ต่าง ๆ   และรายงานผลการดำเนินการและผลการประเมินกิจกรรม / โครงการต่อคณะและมหาวิทยาลัยเป็นลำดับ

หลังจากนั้นหลักสูตรฯ ได้พัฒนาปรับปรุงกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยการนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะไปปรับปรุงแผนการพัฒนานักศึกษาในปีการศึกษาต่อไป ผลคือ ระบบและกลไกการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา ในปีการศึกษา 2566 ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ โดยกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นนั้นสนับสนุนต่อความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา ตามที่ระบุไว้ใน มคอ.2 ทางหลักสูตรฯเห็นควรคงกิจกรรมต่าง ๆ ไว้ ในปีการศึกษา 2567 ต่อไป โดยกิจกรรมทุกกิจกรรมต่างมีตัวชี้วัดย่อยที่ระบุอยู่ในเอกสารโครงการ หากกิจกรรมใดไม่บรรลุผลตามตัวชี้วัดย่อยที่ระบุไว้ ให้พิจารณาแก้ไขและปรับปรุงเพื่อให้บรรลุได้ในปีการศึกษาถัดไป

พร้อมกันนี้ทางสาขาวิชาฯ ร่วมกับทางมหาวิทยาลัยฯ ได้พิจารณาคัดเลือกและส่งเสริมให้บุคลากรสายสนับสนุนมีคุณสมบัติ มีความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการให้บริการแก่นักศึกษา โดยกำหนดให้มีการอบรมเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ ที่จะนำมาใช้ในการให้บริการกับนักศึกษาและพัฒนากิจกรรมที่เป็นประโยชน์ เพื่อช่วยส่งเสริมให้นักศึกษาได้ค้นหาตัวตนที่อยากจะเป็นหรืออาชีพที่เหมาะสมกับนักศึกษา และจบไปอย่างคุณภาพและประสิทภาพ เช่น

เจ้าหน้าที่ห้องทะเบียน ผู้ที่คอยให้คำแนะนำกับนักศึกษาเกี่ยวกับรายวิชาที่เรียน และการลงทะเบียนในแต่ละภาคการศึกษา

 เจ้าหน้าห้องไอที ผู้ที่คอยช่วยเหลือนักศึกษาเกี่ยวสัญญาณอินเทอร์เน็ต ไฟฟ้า และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

เจ้าหน้าที่ด้านอาคารและสถานที่ ผู้ที่คอยช่วยเหลือและเตรียมสถานให้กับนักศึกษาได้ใช้ในการทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายหลังเลิกเรียน

เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ผู้ที่คอยดูแลเรื่องความปลอดภัยให้ทั้งอาจารย์และนักศึกษาในการทำงานและมาเรียน รวมทั้งการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยฯ

หลักฐาน

  1. แผนปฏิบัติการประจำปี 2566
  2. โครงการประจำปี 2566
  3. ภาพบรรยากาศการจัดกิจกรรม

6.5 The competences of the support staff rendering student services are shown to be identified for recruitment and deployment. These competences are shown to be evaluated to ensure their continued relevance to stakeholders needs. Roles and relationships are shown to be well-defined to ensure smooth delivery of the services.

การดำเนินการ 

โดยการสนับสนุนของมหาวิทยาลัยในการพิจารณาคัดเลือกและส่งเสริมให้บุคลากรสายสนับสนุนมีคุณสมบัติ มีความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการให้บริการแก่นักศึกษา กำหนดให้มีการอบรมเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ ที่จะนำมาใช้ในการให้บริการกับนักศึกษาและพัฒนากิจกรรมที่ประโยชน์เพื่อช่วยส่งเสริมให้นักศึกษาได้ค้นหาตัวตนที่อยากจะเป็นหรืออาชีพที่เหมาะสมกับนักศึกษาได้

สาขาวิชาฯ ร่วมกับทางมหาวิทยาลัยได้มีการกำหนดคุณสมบัติของบุคลากรสายสนับสนุนไว้ ดังนี้

การรับสมัครอาจารย์ใหม่

การรับสมัครอาจารย์ใหม่ใช้หลักเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยฯ โดยอาจารย์ใหม่จะต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกสาขาการจัดการการบิน หรือสาขาที่เกาะเกี่ยวที่มีประสบการณ์การบิน มีความสามารถในการสอน มีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความมุ่งหวังในความก้าวหน้าในการผลิตผลงานทางวิชาการ และมีจริยธรรม คุณธรรม โดยประเมินการสอน และสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการที่คณบดีแต่งตั้งก่อนรับเข้าทำงาน

การแต่งตั้งคณาจารย์พิเศษ

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเป็นผู้พิจารณาเชิญอาจารย์พิเศษ โดยความเห็นชอบของคณบดี โดยอาจารย์พิเศษจะต้องมีประสบการณ์ตรงโดยมีคุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเอก สาขาการจัดการการบิน หรือสาขาที่เกาะเกี่ยว และมีความเชี่ยวชาญในประสบการณ์การบิน 

การบริหารอาจารย์

คณบดีแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบในการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน ดังนี้

  1. ด้านการสอน อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนจะต้องประชุมร่วมกันในการวางแผนจัดการเรียนการสอน โดยจัดภาระงานสอนแต่ภาคการศึกษาแก่อาจารย์แต่ละคนตามคุณวุฒิ ประสบการณ์ ซึ่งภาระงานสอนไม่เกินภาระงานปกติที่มหาวิทยาลัยกำหนด และให้อาจารย์ทุกคนต้องทำ มคอ.3/4 ให้เสร็จก่อนเปิดภาคการศึกษา และเมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา อาจารย์ทุกคนต้องจัดทำ มคอ.5/6 ภายในระยะเวลาที่กำหนด
  2. ด้านการให้คำปรึกษา การมอบหมายภาระงานให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาตามตารางที่มหาวิทยาลัยฯ กำหนด
  3. ด้านงานวิชาการ โดยกำหนดให้อาจารย์ต้องทำแผนพัฒนาตนเองในแต่ละปี และต้องผลิตผลงานทางวิชาการ เพื่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ หรือศึกษาต่อเพื่อให้คุณวุฒิที่สูงขึ้น
  4. ด้านงานบริการวิชาการและกิจกรรมอื่น ๆ โดยอาจารย์ในหลักสูตรจะได้รับมอบหมายและแต่งตั้งจากคณะวิชาและหลักสูตรในการเป็นคณะกรรมการกลุ่มต่าง ๆ อาทิ กรรมการบริหารจัดการความเสี่ยง กรรมการบริหารจัดการความรู้ กรรมการบริการวิชาการ กรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กรรมการประกันคุณภาพ เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้มีการกระจายงานแก่อาจารย์ทุกคนอย่างชัดเจนและเกิดการเข้าร่วมกิจกรรมกับมหาวิทยาลัยผ่านโครงการในรูปแบบต่าง ๆ

การมีส่วนร่วมของคณาจารย์ในการวางแผน การติดตาม และทบทวนหลักสูตร

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนจะต้องประชุมร่วมกันในการวางแผนจัดการเรียนการสอน ประเมินผล และให้ความเห็นชอบการประเมินผลทุกรายวิชา เก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อการปรับปรุงหลักสูตร ตลอดจนปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อหาแนวทางที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตร และผลิตบัณฑิตให้เป็นไปตามคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์

การส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์

  1. การส่งเสริมอาจารย์ศึกษาต่อระดับที่สูงขึ้น ด้วยการสนับสนุนทางการเงินเป็นทุนการศึกษาของมหาวิทยาลัย
  2. การส่งเสริมอาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ สำหรับอาจารย์ที่มีแผนขอกำหนดตำแหน่งฯ มหาวิทยาลัยมีหน่วยงานพี่เลี้ยงให้คำแนะนำการเขียนเอกสารประกอบการสอน การจัดหาผู้ประเมินพิจารณาก่อนยื่นผลงาน
  3. การส่งเสริมการทำผลงานวิจัย ซึ่งมหาวิทยาลัยมีสำนักวิจัยและพัฒนา ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำตั้งแต่การขอทุนสนับสนุนวิจัย การพัฒนาหัวข้อวิจัย การเขียนโครงร่างวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล และการช่วยด้านอื่น ๆ ตามความจำเป็นของอาจารย์ที่ทำวิจัย
  4. การส่งเสริมให้เข้าร่วมประชุมวิชาการ และการอบรมสัมมนา กับหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยมีงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรตามนโยบายด้านงบประมาณในแต่ละปี

การบริหารบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน

มีการกำหนดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอนเป็นไปตามข้อบังคับและระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ และคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับงาน สำหรับการเพิ่มทักษะความรู้เพื่อการปฏิบัติงาน บุคลากรสายสนับสนุนต้องเข้าใจโครงสร้างและธรรมชาติของหลักสูตร สามารถให้บริการแก่อาจารย์ เช่น การใช้สื่อการสอน การเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่อาจารย์ โดยบุคลากรต้องได้รับการอบรมด้านที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน ตลอดจนได้รับการฝึกปฏิบัติเพื่อเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

การบริหารหลักสูตรการเรียนการสอน และการประเมินผลการเรียน

ในการบริหารหลักสูตรจะมีคณะกรรมการประจำหลักสูตรของคณะวิชา ประกอบด้วย คณบดี หัวหน้าสาขาวิชา และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร โดยมีรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการร่วมกำกับดูแลและคอยให้คำแนะนำ ตลอดจนกำหนดนโยบายปฏิบัติ

มีการวางแผนการจัดการเรียนการสอนล่วงหน้า  มีการติดตามและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ ทั้งด้านขององค์ความรู้ และเทคนิคกระบวนการสอนให้เกิดการเรียนรู้มีการประมวลผล เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งโดยกระทำทุกปีอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

  1. เตรียมความพร้อมก่อนการเปิดการเรียนการสอน หัวหน้าสาขาวิชา/ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมอบหมายผู้สอนเตรียมความพร้อมในเรื่องอุปกรณ์การเรียนการสอน สื่อการสอน เอกสาร
    ประกอบการสอนและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ รวมทั้งการติดตามผลการเรียนการสอน
    และการจัดทำรายงาน
  2. ติดตามการจัดการเรียนการสอน หัวหน้าสาขาวิชาและผู้รับผิดชอบหลักสูตรจัดทำระบบติดตามและตรวจสอบกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ทราบปัญหา อุปสรรค และขีดความสามารถของผู้สอน
  3. เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยฯ จัดทำระบบการประเมินผลผู้สอนโดยผู้เรียน ผู้สอนประเมินผลการสอนของตนเองและผู้สอนประเมินผลรายวิชา
  4. เมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา หัวหน้าสาขาวิชาและผู้รับผิดชอบหลักสูตรติดตามผลการประเมินคุณภาพการสอน โดยการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา
  5. เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนแต่ละปี หัวหน้าสาขาวิชาและผู้รับผิดชอบหลักสูตรจัดทำร่างรายงานผลการดำเนินงานหลักสูตรประจำปี ซึ่งประกอบด้วยผลการประเมินคุณภาพการสอน
    รายงานรายวิชา ผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของรายวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของรายวิชา
    ของปีนั้นๆ เสนอคณบดี
  6. หัวหน้าสาขาวิชาร่วมกับอาจารย์ผู้รับผิดชอบจัดประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตร วิเคราะห์ผลการดำเนินงานหลักสูตรประจำปี และใช้ข้อมูลเพื่อการปรับปรุงกลยุทธ์การสอน ทักษะของ
    อาจารย์ผู้สอน การใช้กลยุทธ์การสอน และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพ
    ของหลักสูตรและจัดทำรายงานผลการดำเนินงานหลักสูตรเสนอคณบดี
  7. เมื่อครบรอบ 4 ปี คณบดีแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิประเมินผลการดำเนินงานหลักสูตร
    โดยประเมินจากรายงานผลการดำเนินงานหลักสูตร ทั้งนี้จัดให้มีการประเมินคุณภาพหลักสูตร โดยนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายก่อนสำเร็จการศึกษาและผู้ใช้บัณฑิตร่วมด้วย
  8. มหาวิทยาลัยฯแต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตร ที่มีจำนวนและคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรปริญญาตรี พ.ศ. 2558 เพื่อให้มีการปรับปรุงหลักสูตรอย่างน้อยทุก 5 ปี โดยนำความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ บัณฑิตใหม่ ผู้ใช้บัณฑิต
    ให้รองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม

สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

การบริหารทรัพยากรการเรียนการสอน

  1. การบริหารงบประมาณ

          ทางสาขาวิชาฯ ได้จัดทำแผนงบประมาณประจำปี เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการมหาวิทยาลัยฯ ให้จัดสรรงบประมาณประจำปี เพื่อจัดซื้อตำรา สื่อการเรียนการสอน โสตทัศนูปกรณ์ การซ่อมบำรุงอุปกรณ์ และวัสดุครุภัณฑ์อย่างเพียงพอเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนในชั้นเรียน และสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา

  1. ทรัพยากรการเรียนการสอนที่มีอยู่เดิม

          มหาวิทยาลัยฯ มีห้องสมุดที่มีความพร้อมของทรัพยากรการเรียนการสอน ตำรา หนังสือ เอกสาร อุปกรณ์การเรียนการสอน ศูนย์การเรียนรู้ที่จัดให้มีฐานข้อมูลระดับนานาชาติและห้องสมุดออนไลน์

  1. การจัดหาทรัพยากรการเรียนการสอนเพิ่มเติม

          สาขาวิชาฯ มีการประสานงานกับห้องสมุดของมหาวิทยาลัยฯ ในการจัดซื้อหนังสือและตำราที่เกี่ยวข้อง เพื่อบริการให้อาจารย์และนักศึกษาได้ค้นคว้าและใช้ประกอบการเรียนการสอน ในการประสานการจัดซื้อหนังสือนั้น อาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชาจะมีส่วนร่วมในการเสนอแนะรายชื่อหนังสือ ตลอดจนสื่ออื่นๆ ที่จำเป็น นอกจากนี้อาจารย์พิเศษที่เชิญมาสอนบางรายวิชาและบางหัวข้อยังมีส่วนร่วมในการเสนอแนะรายชื่อหนังสือ รวมทั้งอุปกรณ์และเครื่องมือที่เป็นประโยชน์

  1. การประเมินความเพียงพอของทรัพยากร

          มีบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ประจำห้องสมุด ซึ่งจะประสานงานกับหัวหน้าสาขาวิชาฯ ในการจัดซื้อจัดหาหนังสือเข้าห้องสมุด และทำหน้าที่ประเมินความพอเพียงของหนังสือและตำรา นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่ด้านโสตทัศนูปกรณ์ซึ่งจะอำนวยความสะดวกในการใช้สื่อของอาจารย์และประเมินความพอเพียงรวมทั้งความต้องการใช้สื่อของอาจารย์

จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นบ่งชี้ให้เห็นว่าบุคลากรฝ่ายสนับสนุนมีคุณสมบัติ สมรรถนะ และความพร้อมในการดูแลให้คำแนะนำแก่นักศึกษาเป็นอย่างดี ในด้านของอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้
ที่จำเป็นต้องใช้ในระหว่างการเรียนการสอนทั้งตำราเรียน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องเรียน สถานที่ มีความทันสมัยและได้รับการตรวจสอบ พร้อมที่ใช้งานอยู่เสมอ เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และใช้งานอุปกรณ์ทุกชิ้นได้มีคุณภาพและคุณค่า

หลักฐาน

  1. แผนพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน
  2. รายละเอียดการซ่อมบำรุงอุปกรณ์
  3. การอบรมของบุคลากร
  4. งานวิจัยประจำปี
  5. โครงกานพัฒนาอาจารย์
  6. สัมมนาทางวิชาการ
  7. ทุนการศึกษา ป.เอก

6.6 Student support services are shown to be subjected to evaluation, benchmarking, and enhancement.

การดำเนินการ

หลักสูตรโดยอาจารย์ที่ปรึกษาของนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอนในรายวิชาต่าง ๆ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันเกี่ยวกับการเรียนของนักศึกษา ผลการศึกษา ผลการเข้าชั้นเรียน ผลการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย โดยในกรณีที่พบปัญหา หลักสูตรจะให้คณาจารย์ผู้เกี่ยวข้องร่วมกันช่วยเสนอแนะแนวทางในการสนับสนุนและให้คำแนะนำนักศึกษา เพื่อให้สำเร็จการศึกษาตามกรอบระยะเวลาของหลักสูตร โดยในปีการศึกษาที่ผ่านมาได้มีนักศึกษาเข้ามาปรึกษาเรื่องรายวิชาที่ทำการสอบไม่ผ่าน ซึ่งทางอาจารย์ในสาขาได้ให้ความช่วยเหลือไปโดยจัดตารางเรียนให้เอื้อต่อการเรียนของนักศึกษาคนดังกล่าว ส่งผลให้นักศึกษาสามารถออกฝึกงานได้ในภาคการศึกษาที่ 2/2566 และสำเร็จการศึกษาได้ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด

หลักสูตรฯ มีระบบการให้คำปรึกษาและแนะนำนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาประสบความสำเร็จในการศึกษาตามเวลาที่กำหนด โดยได้แบ่งออกเป็น 4 ระบบย่อย ดังต่อไปนี้

  1. ระบบการให้คำปรึกษาและแนะนำนักศึกษาใหม่ (การปฐมนิเทศ)

          การปฐมนิเทศ เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาใหม่ โดยในการปฐมนิเทศจะมีการให้ข้อมูล ให้คำปรึกษา แนะนำ ให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ เพื่อให้นักศึกษามีการเรียนรู้อย่างมีความสุข โดยในปีการศึกษา 2566 มหาวิทยาลัยฯ มีการจัดการปฐมนิเทศ ในวันที่ 04/06/2566 เวลา 13.30-16.30 น. ณ SMB Hall โดยมอบหายให้ อ.นพอนันต์ เพียรมั่นคง และ อ.อมรเทพ  อินทศร เป็นผู้ดำเนินการ ในการปฐมนิเทศก่อนเรียน ภาคเรียนที่ 1/2566 มีการแจกคู่มือนักศึกษา ซึ่งอธิบายถึงหลักสูตร ระเบียบและขั้นตอนการศึกษา การพบที่ปรึกษา ทุนการศึกษา ตลอดจนสิ่งส่งเสริมการเรียนรู้ และปฏิทินการศึกษา เพื่อให้นักศึกษาสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ในภายหลัง

มหาวิทยาลัยฯ ตรวจสอบผลการดำเนินงาน พบว่า ดำเนินการสำเร็จตามแผน โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 100 (บรรลุตัวชี้วัดผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80) และมีระดับความพึงพอใจเฉลี่ย 4.00 (บรรลุตัวชี้วัดที่ระดับความพึงพอใจมากกว่า 3.51)  และได้มีการนำข้อเสนอแนะจากปี 2565 ที่แนะนำว่าควรมีรุ่นพี่มาแบ่งปันประสบการณ์มากกว่านี้มาปรับใช้ ผลคือ นักศึกษาใหม่เกิดความพึงพอใจ ด้านปัญหาและอุปสรรค คือ (1)  อาจารย์บางท่านไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้เนื่องจากติดภารกิจการสอนในวันและเวลาเดียวกัน

  1. ระบบการให้คำปรึกษาและแนะนำนักศึกษา (ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา)

          ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อดูแล ให้ข้อมูล ให้คำปรึกษา ให้ความช่วยเหลือด้านการใช้ชีวิตด้านวิชาการ และแนะแนว เพื่อให้นักศึกษามีการเรียนรู้อย่างมีความสุข
โดยหลักสูตรฯ มีการแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาให้กับนักศึกษาทุกคน ดังนี้

 

รายชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบ

 

งานที่ได้รับมอบหมาย

1. น.ท. สุรัฐ  ศรีเดช

1. อาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 1

2. อาจารย์ นพอนันต์  เพียรมั่นคง

1. อาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 1

3. อาจารย์ ชวัลณัฐ หงษ์วาณิชวงศ์

1. อาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 2

4. อาจารย์ เคน ตัณฑะสุวรรณ

1. อาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 3

5. อาจารย์ อมรเทพ อินทศร

1. อาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 4

พร้อมทั้งประเมินความพึงพอใจในการให้บริการของนักศึกษาประจำปีการศึกษา 2566 ผลคือ (1) จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 75.00 ไม่บรรลุตัวชี้วัดที่ระบุผู้เข้าร่วมไว้ที่ร้อยละ 80 (2) ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยที่ 3.61 ส่งผลให้บรรลุตัวชี้วัดที่ระบุระดับที่ 3.51

แบบประเมินผลความพึงพอใจของนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ประจำปีการศึกษา 2566 ผลคือ (1) จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 87.00 บรรลุตัวชี้วัดที่ระบุผู้เข้าร่วมไว้ที่ร้อยละ 80 (2) ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยที่ 3.76 ส่งผลให้บรรลุตัวชี้วัดที่ระบุระดับที่ 3.51 

แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรีต่อหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาสาขาวิชการควบคุมจราจรทางอากาศ มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.16

แบบประเมินคุณลักษณะบัณฑิต (ผลลัพธ์ผู้เรียน) ระดับปริญญาตรีของนักศึกษาสาขาวิชการควบคุมจราจรทางอากาศ มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.15

เพื่อนำผลที่ได้มาปรับปรุงในการให้บริการนักศึกษาในปีการศึกษาถัดไป

  1. ระบบการให้คำปรึกษาและแนะนำนักศึกษาใกล้จบ (ระบบที่ปรึกษาการทำเล่มจบ)

          ระบบที่ปรึกษาโครงงาน เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ เพื่อให้นักศึกษาในหลักสูตรฯ สำเร็จการศึกษาได้ตามระยะเวลาที่กำหนด โดยหลักสูตรฯมีการแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาให้กับนักศึกษาทุกคน / ทุกกลุ่ม ในการให้คำแนะนำเกี่ยวสถานที่ฝึกงาน การทำเล่ม และการพรีเซ้นต์จบหลังจากฝึกปฏิบัติวิชาชีพ

  1. ระบบการให้คำปรึกษาและแนะนำนักศึกษาก่อนจบ (การปัจฉิมนิเทศ)

          การปัจฉิมนิเทศ เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาก่อนจบ
โดยในการปัจฉิมนิเทศจะมีการให้ข้อมูล ให้คำปรึกษา ตลอดจนแนะแนวเกี่ยวกับการใช้ชีวิต การปรับตัวในการทำงาน และการวางแผนการทำงานในอนาคต เพื่อให้นักศึกษาจบการศึกษาอย่างมั่นใจและมีความสุข โดยการปัจฉิมนิเทศ ในภาคเรียนที่ 2/2566 ถูกจัดขึ้นในวันที่ 09/02/2567 เวลา 09.00-12.00 น. ที่ SMB Hall โดยมอบหมายให้ อาจายร์ ดร. ชัยภัฏ วรรธนะสาร เป็นผู้ดำเนินการ

มหาวิทยาลัยฯ ตรวจสอบผลการดำเนินงาน พบว่า ดำเนินการสำเร็จตามแผน ผลคือ (1) จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 53.71 ไม่บรรลุตัวชี้วัดที่ระบุผู้เข้าร่วมไว้ที่ร้อยละ 80 (2) ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยที่ 3.61 ส่งผลให้บรรลุตัวชี้วัดที่ระบุระดับที่ 3.51 (3) ปัญหาและอุปสรรค คือ นักศึกษาจำนวนหนึ่งมีงานทำแล้ว จึงไม่สะดวกเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้

หลักฐาน

  1. รายงานสรุปผลการสำเร็จการศึกษา
  2. โครงการปฐมนิเทศ
  3. คู่มือนักศึกษา
  4. โครงการปัจฉิมนิเทศน์
  5. ตัวอย่างเล่มรายงานจบนักศึกษาปีที่ 4
  6. แบบประเมินผลความพึงพอใจของนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
  7. แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรีต่อหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน
  8. แบบประเมินคุณลักษณะบัณฑิต (ผลลัพธ์ผู้เรียน)

Evidence

ID_EvidenceName_Evidence
6.1-1กำหนดการ Open House ของคณะครูแนะแนวทั่วประเทศและต่างประเทศ
6.1-2ภาพ วิดีโอ และเว็บไซต์โปรโมทหลักสูตร
6.1-3Tiktok การโมทหลักสูตร
6.1-4โบชัวร์ โปรโมทหลักสูตร
6.1-5โครงการศึกษาดูงาน และ รายงานผลโครงการศึกษาดูงาน
6.1-6โครงการทางวิชาการ
6.1-7โครงการบริการวิชาการ
6.2-1คู่มือบุคลากร
6.2-2โครงการประจำปี 2566
6.2-3รายการซ่อมบำรุงอุปกรณ์
6.2-4บันทึกขอซื้อตำราเรียนเพิ่มเติม
6.3-1ประวัตินักศึกษา
6.3-2ฐานข้อมูลของนักศึกษาในระบบ MIS
6.3-3ไลน์กลุ่มนักศึกษาแต่ละชั้นปี
6.4-1แผนปฏิบัติการประจำปี 2566
6.4-2โครงการประจำปี 2566
6.4-3ภาพบรรยากาศการจัดกิจกรรม
6.5-1แผนพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน
6.5-2รายละเอียดการซ่อมบำรุงอุปกรณ์
6.5-3การอบรมของบุคลากร
6.5-4งานวิจัยประจำปี
6.5-5โครงกานพัฒนาอาจารย์
6.5-6สัมมนาทางวิชาการ
6.5-7ทุนการศึกษา ป.เอก
6.6-1รายงานสรุปผลการสำเร็จการศึกษา
6.6-2รายงานสรุปผลการสำเร็จการศึกษา
6.6-3คู่มือนักศึกษา
6.6-4โครงการปัจฉิมนิเทศน์
6.6-5ตัวอย่างเล่มรายงานจบนักศึกษาปีที่ 4
6.6-6แบบประเมินผลความพึงพอใจของนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.6-7แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรีต่อหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน
6.6-8แบบประเมินคุณลักษณะบัณฑิต (ผลลัพธ์ผู้เรียน)

Self-Assessment

RequirementsResultScore
6.1 The student intake policy, admission criteria, and admission procedures to the programme are shown to be clearly defined, communicated, published, and up-to-date./1
6.2 Both short-term and long-term planning of academic and non-academic support services are shown to be carried out to ensure sufficiency and quality of support services for teaching, research, and community service./1
6.4 Co-curricular activities, student competition, and other student support services are shown to be available to improve learning experience and employability./
6.3 An adequate system is shown to exist for student progress, academic performance, and workload monitoring. Student progress, academic performance, and workload are shown to be systematically recorded and monitored. Feedback to students and corrective actions are made where necessary./1
6.5 The competences of the support staff rendering student services are shown to be identified for recruitment and deployment. These competences are shown to be evaluated to ensure their continued relevance to stakeholders needs. Roles and relationships are shown to be well-defined to ensure smooth delivery of the services./1
6.6 Student support services are shown to be subjected to evaluation, benchmarking, and enhancement./1
Overall5

Leave a Reply