Component 2: Indicator 2.2 Strategy Management (Strategy Implementation)

Component 2 กลยุทธ์และการบริหาร

ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 การบริหารกลยุทธ์ (การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ) : Strategy Management (Strategy Implementation)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-6 ข้อ7-9 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-7 ประเมิน 40 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

1 การจัดทำแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ (แผนปฏิบัติการ) –แผนปฏิบัติการที่สำคัญทั้งระยะสั้นและระยะยาวของสถาบันมีอะไรบ้าง

การดำเนินการ

แนวทาง: แผนปฏิบัติการที่สำคัญของสถาบัน ประกอบด้วย แผนการปรับปรุงคุณภาพตามผลการประเมินคุณภาพภายใน ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการที่กำหนดระยะเวลาปฏิบัติให้แล้วเสร็จภายใน 1 ภาคเรียน หรือน้อยกว่า 1 ปี และ แผนปฏิบัติการประจำปี ซึ่งมีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 1 ปี

กระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติการ ประกอบด้วยการนำผลการประเมินคุณภาพการศึกษา ทั้งการประกันคุณภาพภายใน และการประกันคุณภาพภายนอก มาใช้ร่วมกับแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว 5 ปี โดยคณะ จัดทำ(ร่าง)แผนปฏิบัติการประจำปี เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายและแผน เพื่อจัดทำเป็น (ร่าง)แผนปฏิบัติการประจำปีระดับวิทยาลัย  เสนอต่อสภาวิชาการ/คณะกรรมการบริหาร และสภาวิทยาลัยอนุมัติ

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: การจัดทำ(ร่าง)แผนปฏิบัติการประจำปีของแต่ละคณะวิชา จะเชื่อมโยงกับผลการปฎิบัติงาน ในระดับหลักสูตร และผลการปฏิบัติงานในระดับคณะ ทำให้ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และผู้บริหารคณะ จะทำการตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน กับมาตรฐานคุณภาพของวิทยาลัย และแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี ก่อน จึงจะนำข้อมูลไปจัดทำ(ร่าง)แผนปฏิบัติการประจำปี

การเรียนรู้: การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี ที่ดำเนินการผ่านการ(ร่าง)แผนปฏิบัติการประจำปีระดับคณะวิชา ก่อนนำมารวบรวมและยกร่างเป็นแผนปฏิบัติการประจำปีระดับวิทยาลัย จะผ่านคณะบุคคลในระดับคณะ ในแต่ละคณะวิชา จึงมีการแต่งตั้งคณะกรรมการแผนปฏิบัติการประจำปีในระดับคณะ เพื่อให้แผนปฏิบัติการในแต่ละระดับบรรลุตามวัตถุประสงค์ของแผน และตอบสนองแผนยุทธศาสตร์ของวิทยาลัย

การบูรณาการ: วิทยาลัยมีการบูรณาการการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี กับการบริหารงานคุณภาพ ทำให้บุคลากรตั้งแต่ ระดับหลักสูตร ระดับคณะ และระดับวิทยาลัย เกิดวัฒนธรรมคุณภาพสำคัญคือ การทำงานที่มุ่งผลลัพธ์ ดังภาพที่ 2.2-1-01

ภาพที่ 2.2-1-01 การบูรณาการการจัดทำแผนปฏิบัติการกับการบริหารงานคุณภาพ

2 การจัดทำแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ (การนำแผนปฏิบัติการไปใช้) –สถาบันมีวิธีการอย่างไรในการถ่ายทอดแผนปฏิบัติการไปสู่การปฏิบัติ

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยนำแผนปฏิบัติการประจำปีที่ได้รับอนุมัติจากสภาวิทยาลัย แจ้งให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและแผน รับทราบ เพื่อให้ผู้แทนคณะวิชา/หน่วยงานต่างๆ นำไปสู่การดำเนินการตามที่ร่วมกันวางแผน นอกจากนี้ยังมีการประชุมผู้บริหารให้รับทราบ นำไปสู่การบริหารแผนงาน/โครงการ และรายงานผลการดำเนินการตามโครงการเมื่อดำเนินการตามโครงการแล้วเสร็จ ตลอดจน รายงานผลการดำเนินการตามแผนเมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: คณะกรรมการนโยบายและแผน แจ้งให้ผู้แทนคณะวิชา/หน่วยงานต่างๆ ดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ  โดยผู้แทนคณะวิชา/หน่วยงาน นำไปถ่ายทอดต่อผู้รับผิดชอบในหน่วยงานว่า ก่อนดำเนินการตามโครงการใดๆ ให้ผู้รับผิดชอบโครงการนำเสนอขออนุมัติใช้งบประมาณ ต่ออธิการบดี ผ่านการตรวจสอบของคณบดี และรองอธิการบดีฝ่ายแผน เพื่อให้ความเห็นว่า เป็นไปตามแผนงาน และเป็นไปตามเป้าหมาย ตามตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนในภาพรวม

การเรียนรู้: สำนักนโยบายและแผน ทำหน้าที่ในการติดตามผลการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี โดยมีการแบ่งการดำเนินการตามโครงการออกเป็น 4 ไตรมาส และติดตามโครงการที่ยังไม่ได้นำเสนอขออนุมัติใช้งบประมาณ ต่ออธิการบดี ก่อนสิ้นสุดระยะเวลาในแต่ละไตรมาส จึงทำให้การดำเนินการเป็นไปตามกำหนดระยะเวลา นอกจากนี้ ก่อนสิ้นสุดไตรมาสที่ 4 คณะกรรมการนโยบายและแผนทำการประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อประเมินผลการดำเนินการตามแผน ตามตัวชี้วัดความสำเร็จของแผน

การบูรณาการ: วิทยาลัยได้ทำการบูรณาการ กระบวนการนำแผนปฏิบัติการไปสู่การปฏิบัติ กับกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ในการบรรลุเป้าหมายคุณภาพและบรรลุผลลัพธ์ของการดำเนินการตามแผน ดัง ภาพที่ 2.2-2-01

ภาพที่ 2.2-2-01 การบูรณาการ กระบวนการนำแผนปฏิบัติการไปสู่การปฏิบัติ กับกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา

3 การจัดทำแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ (การจัดสรรทรัพยากร) สถาบันทำอย่างไรให้มั่นใจว่ามีทรัพยากรด้านการเงินและด้านอื่นๆ พร้อมใช้ในการสนับสนุนแผนปฏิบัติการจนประสบความสำเร็จและบรรลุพันธะผูกพันในปัจจุบัน

การดำเนินการ

แนวทาง: การจัดสรรทรัพยากรด้านการเงิน เป็นการจัดสรรให้คณะ สำหรับการดำเนินการตามพันธกิจของอุดมศึกษา ได้แก่การจัดการศึกษา(การผลิตบัณฑิต) การวิจัยและนวัตกรรม การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การบริหารจัดการ สำหรับการจัดสรรทรัพยากรด้านอื่นๆ ดำเนินการโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง เช่นด้านกายภาพ/สภาพแวดล้อม มีงานอาคารสถานที่รับผิดชอบ ด้านสารสนเทศ มีงานสารสนเทศรับผิดชอบ เป็นต้น จึงมั่นใจว่าการจัดสรรทรัพยากร ทำให้แผนปฏิบัติสามารถนำไปสู่การปฏิบัติจนประสบความสำเร็จ และบรรลุพันธะผูกพันต่างๆ ได้ เช่นการดำเนินการตาม MOU กับคู่ความร่วมมือ หรือ พันธมิตร

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: คณะและหน่วยงาน ดำเนินการจัดสรรงบประมาณ ให้สอดคล้องกับพันธกิจที่ได้รับมอบหมาย เช่นคณะวิชา ประกอบด้วย 6 แผนงาน คือ แผนงานจัดการศึกษา (หลักสูตร วิชาการ การพัฒนาอาจารย์) แผนงานพัฒนานักศึกษา แผนงานวิจัยและนวัตกรรม แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม แผนงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม แผนงานบริหารจัดการ  

การเรียนรู้: การจัดสรรงบประมาณของวิทยาลัย เป็นการจัดสรรจากรายรับที่ได้จากการลงทะเบียนของนักศึกษา เพื่อให้เกิดความมั่นใจถึงความมั่นคงทางการเงิน วิทยาลัยได้คำนึงถึงความเสี่ยงของงบประมาณ ที่อาจเกิดจาก สถานการณ์ที่ผิดปกติ(เช่นการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่) การรับนักศึกษาไม่ได้ตามเป้าหมาย และสภาพแวดล้อมที่สร้างผลกระทบให้การจัดเก็บรายได้ ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ด้วยการจัดสรรงบประมาณจากการประมาณการรายได้เพียงร้อยละ 80 ทั้งนี้ ผลลัพธ์การดำเนินการด้านการเงิน ดังตารางที่ 2.2-3-01

ตารางที่ 2.2-3-01 ผลลัพธ์ของการดำเนินการด้านการเงิน

ผลการดำเนินการด้าน

ผลลัพธ์

การควบคุมต้นทุน

การควบคุมต้นทุนต้นทุนการดำเนินการเมื่อเทียบกับงบประมาณ และการจัดเก็บรายได้

การควบคุมต้นทุนต้นทุนที่ลดลง จากผลการบริหารที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

การควบคุมต้นทุนต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้ จากผลการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ

การควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายรายหัวของผู้เรียน

ประสิทธิผลการใช้งบประมาณ

ร้อยละค่าใช้จ่ายด้านการจัดการเรียนรู้ ต่อ การใช้งบประมาณตามแผนปฏิบัติการประจำปี

ร้อยละค่าใช้จ่ายด้านเงินเดือน ต่อ การใช้งบประมาณตามแผนปฏิบัติการประจำปี

ร้อยละค่าใช้จ่ายของคณะวิขา ต่อ การใช้งบประมาณตามแผนปฏิบัติการประจำปี

ผลการใช้งบประมาณตามแผนปฏิบัติการประจำปีต่อผู้เรียน(เพิ่มขึ้น/ลดลง)

การบูรณาการ: วิทยาลัยได้มีการบูรณาการ การจัดสรรงบประมาณจากการประมาณการรายได้ของการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาปกติ กับ การใช้ทรัพยากรร่วมกันกับคู่ความร่วมมือ หรือ พันธมิตร ตาม MOU เช่น การส่งนักศึกษาฝึกปฏิบัติการในสถานประกอบการ แบบ WIL ทำให้ลดการใช้งบประมาณ หรือการเสนอขอรับงบประมาณจากการรับผลิตผลงานวิจัย หรือเป็นที่ปรึกษาการทำวิจัย ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการด้านการเงิน ปรากฏในองค์ประกอบที่ 7.5 ข้อ 7.5.1

4 การจัดทำแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ (แผนด้านบุคลากร) แผนบุคลากรที่สำคัญที่สนับสนุนวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการทั้งระยะสั้นและระยะยาวมีอะไรบ้าง

การดำเนินการ

แนวทาง: แผนบุคลากรของวิทยาลัย มีกระบวนการที่เกี่ยวข้อง 4 กระบวนการ การสรรหาบุคลากร การพัฒนาบุคลากร การใช้ประโยชน์จากสมรรถนะบุคลากร และการรักษาบุคลากร ทำให้ได้บุคลากรที่มีขีดความสามารถสูง และมีสมรรถนะ ในการสนับสนุนให้แผนยุทธศาสตร์ และ แผนปฏิบัติการบรรลุผลตามวัตถุประสงค์

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: สำนักอธิการบดี ขับเคลื่อนให้แผนบุคลากร ทั้ง 4 กระบวนการประสบผลสำเร็จ ดังนี้ 1)การสรรหาบุคลากร มุ่งให้ได้บุคลากรใหม่ ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก มีตำแหน่งทางวิชาการ มีความชำนาญเฉพาะทาง  2)การพัฒนาบุคลากร มุ่งพัฒนาให้บุคลากร มีคุณวุฒิเพิ่มสูงขึ้น มีตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น หรือเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการให้สูงขึ้น พัฒนาให้มีสมรรถนะเต็มตามศักยภาพ 3)การใช้ประโยชน์จากสมรรถนะบุคลากร มุ่งส่งเสริม สนับสนุนให้ใช้ศักยภาพ สร้างผลิตภัณฑ์ทางการเรียนการสอน การวิจัยและนวัตกรรม การบริการวิชาการกับชุมชน และ ทำนุบำรุงส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมในพื้นที่  และ 4)การรักษาบุคลากร มุ่งการรักษาสมรรถนะเฉพาะทางของบุคลากร และพัฒนาสมรรถนะใหม่ที่จำเป็นในการพัฒนาวิทยาลัย มุ่งการสร้างขวัญ กำลังใจ การมีคุณภาพชีวิตที่ดี ในการทำงาน เป็นต้น

การเรียนรู้: แผนบุคลากร ของวิทยาลัย ให้ความสำคัญกับลักษณะโดยรวมของบุคลากรที่ แสดงในตารางที่ op1 ก 3-1 นอกเหนือจากการสรรหา/พัฒนา/ใช้ประโยชน์/รักษาบุคลากร ให้สอดคล้องตามคุณวุฒิการศึกษา และ ตามอายุ(Generation) แล้ว วิทยาลัยยังคำนึงถึง ปัจจัยที่บุคลากรมีความผูกพันกับวิทยาลัยด้วย

การบูรณาการ: วิทยาลัยบูรณาการ แผนบุคลากร ในกระบวนการใช้ประโยชน์บุคลากร จากการที่อาจารย์นำความรู้และนักศึกษา ออกให้บริการวิชาการแก่สังคม ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นองค์ความรู้เชิงพื้นที่ วิทยาลัยได้ส่งเสริมให้นำความรู้ที่ได้มาบูรณาการในกระบวนการพัฒนาบุคลากร ตั้งแต่การนำองค์ความรู้ใหม่ดังกล่าวประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน การพัฒนาสู่การวิจัย การสร้างผลงานวิชาการ การเขียนเอกสารประกอบการสอน การเขียนหนังสือ หรือตำรา ตลอดจน นำผลการให้บริการวิชาการสู่ชุมชน/การวิจัย/ผลงานวิชาการ สู่การขอรับการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการด้วย

5 การจัดทำแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ (ตัววัดผลการดำเนินการ) ตัววัดผลที่สำคัญที่ใช้ติดตามความสำเร็จและประสิทธิผลของแผนปฏิบัติการมีอะไรบ้าง

การดำเนินการ

แนวทาง: ตัววัดผลที่ใช้ติดตามความสำเร็จและประสิทธิผลของแผนปฏิบัติการ ประกอบด้วย ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ และตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ ประกอบด้วย มีการดำเนินการตามโครงการอย่างน้อยร้อยละ 80 ทั้งในมิติจำนวนโครงการ จำนวนการบรรลุตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ และมิติการใช้งบประมาณ

ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ เป็นไปตามยุทธศาสตร์ ที่ประกอบด้วย 1)บัณฑิตมีสมรรถนะทางวิชาชีพและสมรรถนะภาษาอังกฤษ 2)คณาจารย์มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ 3)ศูนย์ความเป็นเลิศที่ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมของวิทยาลัยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน 4)วิทยาลัยมีองค์ความรู้ที่เกิดจากการศึกษา สืบสาน ทำนุ บำรุง ศิลปวัฒนธรรมในพื้นที่ 5)วิทยาลัยเป็นองค์การการเรียนรู้ที่มุ่ง “งานได้ผล คนเป็นสุข” 

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: คณะกรรมการนโยบายและแผน นำไปชี้แจง/ประชาสัมพันธ์ ให้กับผู้รับผิดชอบแผน/โครงการของ คณะ/หน่วยงานต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ มีการ

การเรียนรู้: สำนักนโยบายและแผน รายงานผลการติดตามความสำเร็จ และประสิทธิผลของแผนปฏิบัติการ ทั้งในตัวชี้วัดเชิงปริมาณ และตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ ในแต่ละไตรมาส ต่อคณะกรรมการนโยบายและแผน ซึ่งมีผลให้การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ บรรลุผลสำเร็จตามตัวชี้วัด และ แผนปฏิบัติการนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผล

การบูรณาการ: วิทยาลัยได้บูรณาการ ติดตามความสำเร็จ และประสิทธิผลของแผนปฏิบัติการ  เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะ ด้านการบริหารองค์การ ทำให้ผลการประเมินประสิทธิผลของแผน และการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับคณะ ได้ผลในระดับดี ถึง ดีมาก

6 การจัดทำแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ (การคาดการณ์ผลการดำเนินการ) ตัวชี้วัดที่สำคัญตามกรอบเวลาของการวางแผนทั้งระยะสั้นและระยะที่ยาวขึ้นของสถาบันมีอะไรบ้าง

การดำเนินการ

แนวทาง: ตัวชี้วัดที่สำคัญตามกรอบเวลาของการวางแผนระยะสั้น ของวิทยาลัยคือ ผลการติดตามความสำเร็จ และประสิทธิผลของแผนปฏิบัติการ เชิงปริมาณ 2 ไตรมาสติดต่อกัน มีการดำเนินการโครงการต่ำกว่าร้อยละ 80 และสำหรับตัวชี้วัดที่สำคัญตามกรอบเวลาของการวางแผนระยะยาว ของวิทยาลัยคือ ผลการประจัดการความเสี่ยงของวิทยาลัย ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด  ดังนั้น เมื่อเป็นไปตามตัวชี้วัดใด หรือทั้งสองตัวชี้วัด คณะกรรมการนโยบายและแผนจะนำเสนอการคาดการณ์ผลการดำเนินการที่อาจไม่เป็นไปตามเป้าหมาย/ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามตัวชี้วัด เสนอต่อวิทยาลัยทันที

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: สำนักนโยบายและแผน จะทำการรายงานผลการดำเนินการ ติดตามความสำเร็จ และประสิทธิผลของแผนปฏิบัติการ และรายงานผลการจัดการความเสี่ยง ต่อ คณะกรรมการนโยบายและแผน เป็นรายไตรมาส หากมีกรณี ตัวชี้วัดที่สำคัญตามกรอบเวลาของการวางแผนตัวชี้วัดใด หรือทั้งสองตัวชี้วัด ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายและแผนทันที

การเรียนรู้: คณะกรรมการนโยบายและแผน เมื่อได้รับแจ้งให้ เร่งจัดทำการคาดการณ์ผลการดำเนินการที่อาจไม่เป็นไปตามเป้าหมาย/ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามตัวชี้วัด เสนอต่อวิทยาลัย พร้อมเสนอแนวทางการแก้ไข หรือป้องกันปัญหา เพื่อให้วิทยาลัย และ/หรือ สภาวิทยาลัย ตัดสินใจ

การบูรณาการ: วิทยาลัยบูรณาการ การจัดการความเสี่ยง เป็นตัวชี้วัดตามกรอบเวลา กรณีการวางแผนระยะยาว ทำให้การคาดการณ์ผลการดำเนินการที่อาจไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ครอบคลุม ปัจจัยเสี่ยงทั้ง ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก

7 การปรับเปลี่ยนแผนปฏิบัติการ -สถาบันรับรู้และตอบสนอง อย่างไร ในกรณีที่สถานการณ์บังคับให้ต้องปรับแผนปฏิบัติการและนำแผนใหม่ไปปฏิบัติอย่างรวดเร็ว

การดำเนินการ

แนวทาง: ในกรณีที่สถานการณ์บังคับ ทั้งในกรณีสถานการณ์ทั่วไป เช่น การดำเนินการโครงการต่ำกว่าร้อยละ 80 หรือการใช้งบประมาณเกินกว่าร้อยละ 80 ฯลฯ และกรณีมีสถานการณ์ไม่คาดคิด เช่น การเกิดการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ การเกิดอุบัติภัย การปฏิบัติตามนโยบายของต้นสังกัด ฯลฯ คณะกรรมการ นโยบายและแผนจะนำเสนอการทบทวนแผนปฏิบัติการ ต่อวิทยาลัยทันที

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: สำนักนโยบายและแผน จะทำการติดตาม สถานการณ์ต่างๆ ที่มีผลต่อ ความสำเร็จ และประสิทธิผลของแผนปฏิบัติการ หากมีสถานการณ์บังคับ ทั้งที่เป็นสถานการณ์ทั่วไป และ สถานการณ์ไม่คาดคิด จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายและแผน ทันที

การเรียนรู้: คณะกรรมการนโยบายและแผน เมื่อได้รับแจ้งให้ เร่งทำการทบทวนแผนปฏิบัติการ เช่นปรับปรุงแนวทางการดำเนินโครงการ ปรับเปลี่ยนกิจกรรม ปรับเพิ่ม/ลดโครงการ ปรับเพิ่ม/ลดงบประมาณ หรือ ยุติแผนกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการต่อได้ โดยให้นำแผนปฏิบัติการฉบับทบทวน  เสนอต่อวิทยาลัย และ/หรือ สภาวิทยาลัย ตัดสินใจ

การบูรณาการ: วิทยาลัยบูรณาการ การปรับเปลี่ยนแผนปฏิบัติการ เข้ากับการดำเนินการในการประกันคุณภาพการศึกษา นั่นคือ หากกรณีผลการประเมินคุณภาพภายใน ระดับหลักสูตร และ/หรือ ระดับคณะ ไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ถือว่าเป็นกรณีสถานการณ์บังคับ สามารถปรับเปลี่ยนแผนปฏิบัติการ เพื่อให้การดำเนินการระดับหลักสูตร และ/หรือ ระดับคณะ เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาโดยเร็ว

8 แผนปฏิบัติการ ครอบคลุมการดำเนินการตามกลยุทธ์และการดำเนินการตามพันธกิจ

การดำเนินการ

แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2565 ครอบคลุมกลยุทธ์และพันธกิจ ดังตารางที่ 2.2-8-01

ตารางที่ 2.2-8-01 กลยุทธ์และพันธกิจ ที่ใช้จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2565

พันธกิจ

กลยุทธ์

แผนงาน

ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ

1)พัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของสังคมไทยและภูมิภาคอาเซียน

จัดการศึกษา

2)พัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะทางปัญญาและสมรรถนะภาษา

พัฒนานักศึกษา

ผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพ

1)ผลิตงานวิจัย ผลงานวิชาการ นวัตกรรม ที่มีคุณภาพระดับชาติ

วิจัยและนวัตกรรม

2)พัฒนาเครือข่ายการวิจัย ผลงานวิชาการ นวัตกรรม ทั้งในและต่างประเทศ

วิจัยและนวัตกรรม

บริการวิชาการกับสังคม

1)ยกระดับความเชี่ยวชาญบุคลากรเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน

บริการวิชาการ

2)เร่งรัดพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศตามความเชี่ยวชาญของวิทยาลัย

บริการวิชาการ

สืบสานศิลปวัฒนธรรม

1)ส่งเสริมให้บุคลากรและนักศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมไทย/นานาชาติ

ศิลปวัฒนธรรม/สิ่งแวดล้อม

2)เร่งรัดพัฒนาให้สถาบันเป็นสถาบันอุดมศึกษาสีเขียว

ศิลปวัฒนธรรม/สิ่งแวดล้อม

บริหารสู่ความเป็นเลิศ

1)ใช้ธรรมาภิบาลบริหารให้เป็นองค์กรสมรรถนะสูง

บริหารจัดการ

2)พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ส่งเสริมการปฏิบัติงาน

บริหารจัดการ

9 มีการประเมินผลการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติตามตัวชี้วัดความสำเร็จ

การดำเนินการ

คณะกรรมการนโยบายและแผนได้ทำการประเมินผลตามแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2565 ผลการประเมินฯได้นำเสนอคณะกรรมการบริหาร และเสนอต่อสภาวิทยาลัย โดยในภาพรวม ร้อยละ 80 เป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของกลยุทธ์ รายละเอียดตัวชี้วัดความสำเร็จ ดัง ตารางที่ 2.2-9-01

ตารางที่ 2.2-9-01 ตัวชี้วัดความสำเร็จของกลยุทธ์ที่ใช้จัดทำแผนปฏิบัติการ

พันธกิจ

กลยุทธ์

ตัวชี้วัด

ผู้รับผิดชอบหลัก

ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ

1)พัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของสังคมไทยและภูมิภาคอาเซียน

2

วิชาการ/คณะ

2)พัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะทางปัญญาและสมรรถนะภาษา

5

วิชาการ/คณะ

ผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพ

1)ผลิตงานวิจัย ผลงานวิชาการ นวัตกรรม ที่มีคุณภาพระดับชาติ

3

วิจัย/คณะ

2)พัฒนาเครือข่ายการวิจัย ผลงานวิชาการ นวัตกรรม ทั้งในและต่างประเทศ

2

วิจัย/คณะ

บริการวิชาการกับสังคม

1)ยกระดับความเชี่ยวชาญบุคลากรเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน

1

คณะ

2)เร่งรัดพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศตามความเชี่ยวชาญของวิทยาลัย

2

คณะ

สืบสานศิลปวัฒนธรรม

1)ส่งเสริมให้บุคลากรและนักศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมไทย/นานาชาติ

2

คณะ/กิจการ

2)เร่งรัดพัฒนาให้สถาบันเป็นสถาบันอุดมศึกษาสีเขียว

1

คณะ/กิจการ

บริหารสู่ความเป็นเลิศ

1)ใช้ธรรมาภิบาลบริหารให้เป็นองค์กรสมรรถนะสูง

3

สำนักอธิการบดี

2)พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ส่งเสริมการปฏิบัติงาน

1

สำนักอธิการบดี

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

5 ข้อ

IQA (1-9)

1,2,3,4,5,6,7,8,9

 9 ข้อ

 5 คะแนน

EdPEx (1-7)

1,2,3,4,5,6,7

ร้อยละ 30

(จาก40 คะแนน)

 12 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐานรายการ
2.2-01คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและแผน
2.2-02รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายและแผน
2.2-03คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้บริหาร
2.2-04รายงานการประชุมคณะกรรมการผู้บริหาร
2.2-05แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2565
2.2-06แผนพัฒนาบุคลากร
2.2-07กลยุทธ์ พันธกิจ และแผนงาน ตามแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2565
2.2-08การประเมินผลตามแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2565

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเอง IQAEdPEx
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1513.5
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2512
คะแนนเฉลี่ย(IQA)/คะแนนรวม(EdPEx) 525.5