บทนำ: สถานการณ์ขององค์กร

2. สถานการณ์ขององค์กร

ก. สภาพแวดล้อมด้านการแข่งขัน

1)ลำดับในการแข่งขัน

วิทยาลัยมีการกำหนดคู่แข่ง และประเด็นการแข่งขันเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ โดยเทียบเคียงผลการดำเนินการกับสถาบันอุดมศึกษาอื่น จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์ด้านการศึกษา  สำหรับผลิตภัณฑ์ด้านการวิจัย ผลิตภัณฑ์ด้านการบริการวิชาการ และผลิตภัณฑ์ด้านการทำนุบำรงศิลปวัฒนธรรม  ได้ทำการเทียบเคียงกับผลการดำเนินการของวิทยาลัย ในปีปัจจุบันกับ ผลการดำเนินการ 2 ปีที่ผ่านมา

การกำหนดคู่แข่ง และประเด็นการแข่งขัน ผลิตภัณฑ์ด้านการศึกษา กับสถาบันอุดมศึกษาอื่น  มีรายละเอียดดังตารางที่  op2 ก 1-1

ตารางที่ op2 ก 1-1 การแข่งขัน ประเด็นการแข่งขัน ของผลิตภัณฑ์ด้านการศึกษา

ประเภทการแข่งขัน

คู่แข่ง

ลำดับการแข่งขัน

การมีงานทำ/ประกอบอาชีพอิสระ บัณฑิต ป ตรี ใน 1 ปี

มหาวิทยาลัยคริสเตียน (ร้อยละ 100)

อัตราการมีงานทำ ร้อยละ 100

อันดับมหาวิทยาลัยโดย Web-ometrics (Jan2023)

มหาวิทยาลัยคริสเตียน (อันดับ 122)

อันดับ 141       

-Impact Rank

มหาวิทยาลัยคริสเตียน (อันดับ 12256)

อันดับ 14613   

-Openness Rank

มหาวิทยาลัยคริสเตียน (อันดับ 6547)

อันดับ 6547     

-Excellence Rank

มหาวิทยาลัยคริสเตียน (อันดับ 7206)

อันดับ 7206     

อันดับมหาวิทยาลัย ในฐานข้อมูล Google Scholar โดย AD Scientific Index 2023(อันดับประเทศ/ภูมิภาค/โลก)

-h-index

-citations

-i10-index

 

มหาวิทยาลัยคริสเตียน (อันดับ 81/4786/12107)

มหาวิทยาลัยคริสเตียน (อันดับ 81)

มหาวิทยาลัยคริสเตียน (อันดับ 101)

มหาวิทยาลัยคริสเตียน (อันดับ 79)

 

อันดับ 104/6288/14942

อันดับ 104

อันดับ 99

อันดับ 100

2)การเปลี่ยนแปลงความสามารถในการแข่งขัน

วิทยาลัย ศึกษาข้อมูล การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากร การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางการตลาด การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทางการศึกษา ความท้าทายและการได้เปรียบทางกลยุทธ์ของวิทยาลัย จากนั้นนำมาวิเคราะห์ SWOT ทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ ทำให้ทราบปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการแข่งขัน ดังตารางที่  op2 ก 2-1

ตารางที่  op2 ก 2-1 ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการแข่งขัน

ผลิตภัณฑ์

ปัจจัย

การเปลี่ยนแปลงที่กระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน

ด้านการวิจัย

ภายใน

จำนวนคณาจารย์ที่เสนอขอรับทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก

 

ภายนอก

จำนวนแหล่งทุนวิจัยภายนอก ที่เน้นการวิจัยการสร้างนวัตกรรมทางสังคม

ด้านการศึกษา

ภายใน

การปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีของคณาจารย์

 

ภายนอก

การเปลี่ยนแปลงทางGeneration ของผู้เรียน ที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนรู้

ด้านการบริการวิชาการ

ภายใน

ประสิทธิภาพแผนการตลาดของการให้บริการทางวิชาการแบบมีรายได้แก่สังคม

 

ภายนอก

อำนาจต่อรองของผู้รับบริการจากสภาพการแข่งขันของผู้ให้บริการทางวิชาการที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น

ด้านการทำนุบำรุง

ภายใน

การปรับตัวในการพัฒนางานวิจัยศิลปวัฒนธรรม ให้เป็น Soft Power ของคณาจารย์

ศิลปวัฒนธรรม

ภายนอก

ความต้องการใช้ Soft Power เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชน

3)แหล่งข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ

วิทยาลัย ใช้ข้อมูลเปรียบเทียบ จากแหล่งข้อมูลภายในประเทศ เช่น รายงานการประเมินตนเอง รายงานประจำปี CHE-QA online จากแหล่งข้อมูลนานาชาติ เช่น ฐานข้อมูล SCOPUS, ISI, SciVal และ การจัดอันดับมหาวิทยาลัย ในฐานข้อมูล Google Scholar โดย AD Scientific Index  และ Web-ometric  มีรายละเอียดดังตารางที่  op2 ก 3-1

ตารางที่  op2 ก 3-1 แหล่งข้อมูลที่ใช้เปรียบเทียบ

ผลิตภัณฑ์

แหล่งข้อมูลเปรียบเทียบที่สำคัญ

ด้านการวิจัย

จำนวนผลงานวิจัยทั่วไป และงานวิจัยเชิงประยุกต์ที่มีคุณภาพ จากฐานข้อมูล SCOPUS, ISI, SciVal 

จำนวน นวัตกรรม จากฐานข้อมูลการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา

ด้านการศึกษา

ร้อยละของบัณฑิตที่ได้งานทำใน 1 ปี  ในฐานข้อมูล CHE-QA online

การจัดอันดับมหาวิทยาลัย Web-ometric และจัดอันดับในฐานข้อมูล Google Scholar โดย AD Scientific Index

ด้านการบริการวิชาการ

จำนวน หน่วยงาน/บุคคล ที่มารับบริการ

จำนวนเงินรายได้ที่ได้จากการบริการ

ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ

ความผูกพัน และการใช้บริการซ้ำ ของผู้รับบริการ

ด้านการทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม

จำนวนผลงานวิจัยด้านศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณภาพ จากฐานข้อมูล SCOPUS, ISI, SciVal 

จำนวน นวัตกรรม/Soft Power จากฐานข้อมูลการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา

ข. บริบทเชิงกลยุทธ์

ในปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยได้จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ ของวิทยาลัย พ.ศ. 2563-2567 โดยมีความท้าทายและความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ ดังตารางที่  op2 ข 1-1

ตารางที่  op2 ข 1-1 ความท้าทายและความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์

ความท้าทายเชิงกลยุทธ์(ภัยคุกคาม/จุดอ่อน)

ความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์(จุดแข็ง/โอกาส)

ด้านการวิจัย

1.แหล่งทุนวิจัยภายนอก เน้นการวิจัยที่เป็นการสร้างนวัตกรรม

2.คณาจารย์ที่เสนอขอรับทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกมีจำนวนน้อย

1.ผลงานวิจัยของวิทยาลัยตีพิมพ์ใน Q1-Q4 สูงกว่า TCI1-TCI2

2.มีพันธมิตรความร่วมมือในการเสนอขอรับทุนวิจัยภายนอก

ด้านการศึกษา

1.การเปลี่ยนแปลงทางGeneration ของผู้เรียน เป็นยุคของผู้เรียนที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนรู้

2.คณาจารย์จำนวนหนึ่ง ปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี

1.IT.dept ของวิทยาลัย มีความสามารถสูง ในการพัฒนาเทคโนโลยีที่สนับสนุน การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการเรียนรู้

2.วิทยาลัยมี MOU กับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เช่น South Wale

3.สป.อว. มีระบบการจัดการเรียนรู้ข้ามสถาบัน

ด้านการบริการวิชาการ

1.ผู้รับบริการมีอำนาจต่อรองสูง จากสภาพการแข่งขันของผู้ให้บริการทางวิชาการที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น

2.ประสิทธิภาพแผนการตลาดของการให้บริการทางวิชาการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้จำกัด

1.การบูรณาการการเรียนรู้กับการปฏิบัติแบบ WIL ทำให้ลดต้นทุนการบริการทางวิชาการ

2.คณาจารย์ สามารถสามารถสร้างสื่อการเรียนรู้เพื่อการบริการวิชาการได้ทั้งแบบออนไลน์ และออนไซด์

ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

1.แหล่งทุนวิจัยภายนอก ที่เน้นการวิจัยศิลปวัฒนธรรมมีน้อย

2.ขาดการขับเคลื่อนการใช้ Soft Power สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ

1.จังหวัดนครนายก(ที่ตั้งของวิทยาลัย)เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ที่นำไปสร้าง เป็น Soft Power ได้

ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม

1.สภาพทางเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะไม่เอื้ออำนวย

2.กลุ่มผู้เรียนใหม่ ต้องการหลักสูตรใหม่ๆที่ใช้เวลาเรียนน้อยๆ

1.วิทยาลัยมีการจัดทุนการศึกษาให้นักศึกษาหลากหลายรูปแบบ

2.สป.อว. ให้จัด Up-skills สำหรับการเรียนรู้แบบสะสมหน่วยกิตได้

ด้านระบบปฏิบัติการ

1.ระบบปฏิบัติการของต้นสังกัด มีเพิ่ม/ปรับปรุง/เปลี่ยน/ขัดข้อง บ่อย

2.คณาจารย์จำนวนหนึ่งใช้ระบบปฏิบัติการได้ไม่สมบูรณ์

1.บุคลากรสนับสนุน เรียนรู้การใช้ระบบปฏิบัติการของต้นสังกัดได้ดี

2.มีพันธมิตรเครือข่าย เพื่อการเรียนรู้สำหรับการพัฒนาคณาจารย์

ค. ระบบการปรับปรุงผลการดำเนินการ 

การปรับปรุงการดำเนินการ ในผลลัพธ์ด้านการวิจัย ผลลัพธ์ด้านการศึกษา และผลลัพธ์ด้านการบริการวิชาการ วิทยาลัยได้ใช้ เกณฑ์การประกันคุณภาพภายใน พ.ศ. 2565 ระดับหลักสูตร ระดับคณะ และระดับสถาบัน เป็นเครื่องมือในการตรวจ และประเมินเพื่อนำไปสู่การปรับปรุง โดยทำการประเมินคุณภาพภายใน(IQA) เป็นประจำทุกปี
สำหรับการปรับปรุงกระบวนการและระบบงาน วิทยาลัยได้จัดทำกลไก STIC Improvement Tools for Excellence ตามภาพ op2 ค 1-1 ที่เป็นการปรับปรุงทั่วทั้งองค์กร ใน 2 ระดับคือ ระดับองค์กร และระดับบุคคล  มาใช้ปรับปรุงผลการดำเนินการให้บรรลุตามเป้าหมาย ตามแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการประจำปีที่วิทยาลัยกำหนด

ภาพที่ op2 ค 1-1 STIC Improvement Tools for Excellence