Component 3: Indicator 3.2 Engagement (Customer Engagement)

Component 3 Students and Customers

ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 ความผูกพัน (ความผูกพันของลูกค้า) : Engagement (Customer Engagement)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-6 ข้อ7-8 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-4 ประเมิน 45 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

1 ความสัมพันธ์และการสนับสนุนผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นๆ (การจัดการความสัมพันธ์) สถาบันมีวิธีการอย่างไรในการสร้าง และจัดการความสัมพันธ์กับผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยมีการนำข้อมูลผู้เรียนและลูกค้า มาทำการวิเคราะห์วงจรชีวิตของการเป็นลูกค้า และ นำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ มาใช้เป็นแนวทางในการสร้างและจัดการความสัมพันธ์

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: วิทยาลัยกำหนดให้ อาจารย์แนะแนว อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นิเทศ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ประชาสัมพันธ์ และกิจการนักศึกษา ร่วมกันนำข้อมูลผู้เรียนและลูกค้าตลอดปีการศึกษาที่ผ่านมา ทำการวิเคราะห์วงจรชีวิตของการเป็นลูกค้า ผลการวิเคราะห์ นำมาใช้ในการสร้างและจัดการความสัมพันธ์กับผู้เรียนและลูกค้าในปีการศึกษาต่อไป

การเรียนรู้: ผลการวิเคราะห์ และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง พบว่า วงจรชีวิตที่สำคัญคือ ก่อนเป็นลูกค้า สนใจข้อมูล เริ่มเป็นลูกค้า มีความพึงพอใจ ติดตามข่าวสาร(สนใจข้อมูล) ใช้บริการซ้ำ(เป็นลูกค้า) พึงพอใจ ติดตามข่าวสาร และ ชักชวนหรือบอกต่อให้กับผู้อื่นมาใช้บริการซ้ำ

ดังนั้น วิทยาลัยจึงได้ทำการกำหนดระบบการสร้างและจัดการความสัมพันธ์ผู้เรียน เป็น 5 กิจกรรมหลัก ประกอบ กิจกรรมสร้างการรับรู้ที่ถูกต้อง กิจกรรมสร้างความพึงพอใจ กิจกรรมสร้างความเชื่อมั่น กิจกรรมสร้างการยอมรับ กิจกรรมสร้างความผูกพัน โดยเรียกระบบนี้ว่าระบบการสร้างความผูกพันของผู้เรียนและลูกค้า

ภาพที่ 3.2-1-01 ระบบการสร้างความผูกพันของผู้เรียนและลูกค้า

การบูรณาการ: วิทยาลัยบูรณาการ ระบบการสร้างความผูกพันของผู้เรียนและลูกค้า กับระบบการแนะแนวและประชาสัมพันธ์ เช่น การแนะแนวการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา วิทยาลัยสนับสนุนให้นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ไปร่วมกิจกรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษาเดิมที่เคยศึกษา ซึ่งนักศึกษาสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว จากเดิมที่ยังไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ สร้างการรับรู้ให้กับรุ่นน้องว่า การเรียนในระดับอุดมศึกษาที่วิทยาลัย นอกจากได้ความรู้ตามศาสตร์ที่ต้องการแล้ว ยังได้สมรรถนะทางภาษาอังกฤษในเวลาอันรวดเร็วอีกด้วย เป็นต้น นอกจากนี้ นักศึกษากลุ่มดังกล่าว เมื่อสำเร็จการศึกษาไปแล้ว และไปทำงานในต่างประเทศ ยังผูกพันกับวิทยาลัย และมีกิจกรรมร่วมกับวิทยาลัยอย่างสม่ำเสมอ

2 ความสัมพันธ์และการสนับสนุนผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นๆ (การเข้าถึงและการสนับสนุนผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น) สถาบันมีวิธีการอย่างไรในการช่วยให้ผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นสามารถสืบค้นสารสนเทศ และรับการสนับสนุนจากสถาบัน

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยมีระบบการให้ความช่วยเหลือผู้เรียนและลูกค้า ตั้งแต่ก่อนเข้ารับการศึกษา(รับบริการ) จนถึงการเตรียมความพร้อมก่อนสำเร็จการศึกษา(ก่อนสิ้นสุดการรับบริการ) เพื่อให้ผู้เรียนและลูกค้า บรรลุเป้าหมายที่คาดหวัง

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: วิทยาลัยกำหนดให้ อาจารย์แนะแนว อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นิเทศ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และกิจการนักศึกษา ร่วมกันสนับสนุนผู้เรียนและลูกค้า ประกอบด้วยกิจกรรม 5 กลุ่ม คือ กลุ่มการเตรียมความพร้อม กลุ่มการให้คำปรึกษาในการใช้ชีวิตและการทำงานร่วมกับผู้อื่น กลุ่มให้คำปรึกษาทางวิชาการ กลุ่มทุนการศึกษาและแหล่งการทำงานนอกเวลา กลุ่มแหล่งเรียนรู้ในหลักสูตรและนอกหลักสูตร

การเรียนรู้: มีการกำหนดผู้รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมแต่ละกลุ่มอย่างชัดเจน  ดังภาพที่3.2-2-01 มีรายละเอียด ดังนี้

กลุ่มการเตรียมความพร้อม มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมทางด้านพื้นฐานภาษาอังกฤษก่อนเข้าศึกษา(โปรแกรม EIP) ดำเนินการ 10 สัปดาห์ก่อนเปิดเรียนและความรู้พื้นฐานเฉพาะสาขาวิชา(คณิตศาสตร์ ชีววิทยา เป็นต้น) ดำเนินการ 4 สัปดาห์แรกของการเรียน คู่ขนานกับการเรียนรายวิชาปกติ

กลุ่มการให้คำปรึกษาในการใช้ชีวิตและการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีอาจารย์แนะแนว อาจารย์ที่ปรึกษา รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมในการใช้ชีวิตและการทำงานในระดับอุดมศึกษา เพื่อลดอัตราการออกกลางคัน หรือการซึมเศร้า โดยผู้เรียนชั้นปีที่ 1 ให้บริการทุกวันผ่านการพบ/พูดคุย และการใช้แอปพลิเคชั่นต่างๆสำหรับผู้เรียนหรือลูกค้ากลุ่มอื่น ให้บริการทุกเดือนหรือ ตามที่มีการนัดหมาย   

กลุ่มให้คำปรึกษาทางวิชาการ มีอาจารย์ที่ปรึกษา รับผิดชอบในการให้คำปรึกษา และการจัดกิจกรรมสนับสนุน การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิผล เช่น การลงทะเบียนเรียน การเพิ่ม/ลดรายวิชา การแก้/เรียนซ้ำ/เรียนเพิ่ม/เรียนไม่คิดหน่วยกิต การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คลังสะสมหน่วยกิต การเทียบโอนรายวิชา การเทียบโอนประสบการณ์ เป็นต้น โดยให้บริการทุกสัปดาห์ ตามตารางนัดหมาย และเมื่อมีการร้องขอ

กลุ่มทุนการศึกษาและแหล่งการทำงานนอกเวลา มีกิจการนักศึกษา รับผิดชอบในการจัดหา/จัดเตรียม และคัดเลือกผู้เรียนที่สมควรได้รับทุนการศึกษาประเภทต่างๆ ทั้งทุนการศึกษาของวิทยาลัย และทุนการศึกษาจากหน่วยงานอื่นๆภายนอก รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของทุน กยศ. จัดหาและคัดเลือก แหล่งทำงานนอกเวลาให้กับผู้เรียนและลูกค้า เป็นต้น

กลุ่มแหล่งเรียนรู้ในหลักสูตรและนอกหลักสูตร มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และ อาจารย์นิเทศ รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น ฐานข้อมูลอีเล็คทรอนิกส์ ห้องสมุดดิจิทัล  การเรียนรู้แบบทางไกล ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้เพื่อให้เกิดนวัตกรรม เช่น การจัดพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ร่วม(Co-working Space) การส่งเสริม UBI การส่งเสริมให้เกิด Start Up เป็นต้น

การบูรณาการ: วิทยาลัยได้บูรณาการ ระบบการให้ความช่วยเหลือผู้เรียนและลูกค้า กับการส่งผลงานของผู้เรียนและลูกค้าที่ประสบผลสำเร็จ เข้าประกวดในกิจกรรมต่างๆระดับประเทศ เช่น การประกวดเยาวชนดีเด่นในวันเยาวชนระดับประเทศ การประกวดผลงานนวัตกรรมของนักศึกษาพยาบาลแห่งประเทศไทย เป็นต้น ทำให้ผู้เรียนและลูกค้าได้รับการสนับสนุนจนประสบความสำเร็จที่เป็นรูปธรรม

ภาพที่ 3.2-2-01 ระบบการให้ความช่วยเหลือผู้เรียนและลูกค้า

3 ความสัมพันธ์และการสนับสนุนผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นๆ (การจัดการข้อร้องเรียน) สถาบันมีวิธีการอย่างไรในการจัดการข้อร้องเรียนจากผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยกำหนดให้มีช่องทางร้องเรียนหลากหลายช่องทาง และให้ผู้รับข้อร้องเรียนจากผู้เรียนและลูกค้า ดำเนินการแก้ปัญหา/ประสานงานการแก้ปัญหา เพื่อให้ได้ผลสรุปชี้แจงให้กับผู้เรียนและลูกค้าอย่างรวดเร็ว

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: วิทยาลัยกำหนดให้ประชาสัมพันธ์เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการรวบรวมข้อมูลการร้องเรียนของผู้เรียนจาก ช่องทางการรับฟังเสียงของผู้เรียนและลูกค้า ตามตารางที่ 3.1-1-01 และช่องทางการสื่อสารของ ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และคู่ความร่วมมือ ตามตารางที่ op1 ข 3-1 ถึง ตารางที่ op1 ข 3-4 จากนั้นดำเนินการส่งเรื่องไปยังผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงเพื่อตรวจสอบ และ/หรือแก้ไข และแจ้งให้กับผู้ร้องเรียนโดยตรง

การเรียนรู้: ผลการดำเนินการจัดการข้อร้องเรียนพบว่า หลายเรื่องเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน และหลายเรื่องเป็นการดำเนินการในเชิงรับมากกว่า เชิงรุกหรือเชิงป้องกัน วิทยาลัยจึงพัฒนาระบบการจัดการข้อร้องเรียนจากผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น ดังภาพที่ 3.2-3-01 มีรายละเอียด ดังนี้

1)การรวบรวมข้อร้องเรียน โดยประชาสัมพันธ์ รวบรวมข้อร้องเรียน ร้องทุกข์ ข้อเสนอแนะ จากช่องทางต่างๆ ทุกวัน นำมาจัดกลุ่มเรื่อง/ประเด็นที่ร้องเรียนฯ และจัดลำดับความเร่งด่วน

2)การประเมินสถานการณ์จากการจัดการความรู้ที่ผ่านมา(KM) โดยประชาสัมพันธ์ นำเรื่อง/ประเด็นการร้องเรียนฯ ตามดำลับความเร่งด่วน มาตรวจสอบ/ประเมินสถานการณ์กับรายการที่ได้ผ่านการจัดการการร้องเรียน(จัดการความรู้/จัดเก็บความรู้มาแล้ว)

3)การจัดการข้อร้องเรียนที่ไม่ซับซ้อน ในกรณีที่ประเมินสถานการณ์แล้ว พบว่ามีแนวทางการดำเนินการจัดการที่ชัดเจน และ/หรือ ไม่ซับซ้อน ประชาสัมพันธ์ จะส่งเรื่อง/ประเด็นการร้องเรียนฯ ไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องเร่งทำการแก้ไข และแจ้งผลการแก้ไขให้ผู้ร้องเรียนฯอย่างเร่งด่วน

4)การจัดการข้อร้องเรียนที่ซับซ้อน ในกรณีที่ประเมินสถานการณ์แล้ว พบว่ายังไม่มีแนวทางการดำเนินการ และ/หรือเป็นเรื่องที่ซับซ้อน หรือเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ให้ประชาสัมพันธ์ส่งเรื่องไปยัง คณะกรรมการจัดการความเสี่ยง แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อทำการแก้ไข และแจ้งผลการแก้ไขให้ผู้ร้องเรียนฯโดยเร็ว หลังจากนั้นทำการวิเคราะห์หาสาเหตุแห่งปัญหา โอกาสเกิด ผลกระทบ และเสนอแนวทางการป้องกันเชิงรุก ต่อคณะกรรมการจัดการความเสี่ยงต่อไป

5)การจัดการความรู้ คณะกรรมการจัดการความเสี่ยง ดำเนินการเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากการดำเนินการ ปรับปรุง/ทบทวน การจัดการกับข้อร้องเรียนฯ ตามแนวทางการของการจัดการความรู้ เพื่อการจัดเก็บความรู้ และปรับปรุงเป็นแนวปฏิบัติที่ดี และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศต่อไป

6)การรายงานผล กรณีเป็นการจัดการข้อร้องเรียนที่ไม่ซับซ้อน ให้ประชาสัมพันธ์ สรุปรายงานผลการจัดการฯต่ออธิการบดีอย่างน้อย ภาคเรียนละ 1 ครั้ง สำหรับกรณีการจัดการข้อร้องเรียนที่ซับซ้อน ให้ประชาสัมพันธ์ สรุปรายงานผลการจัดการฯต่ออธิการบดี ภายหลังแจ้งผลการแก้ไขต่อผู้ร้องเรียนฯจนได้รับความพึงพอใจแล้ว หรือ รายงานผลทันทีหากผู้ร้องเรียนฯยังไม่พึงพอใจต่อผลการแก้ไข หรือเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนด ยังไม่สามารถจัดการกับข้อร้องเรียนได้

การบูรณาการ: วิทยาลัยบูรณาการ ระบบการจัดการข้อร้องเรียนจากผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น กับการดำเนินการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล นั่นคือ มีการเผยแพร่ผลการดำเนินการตามข้อร้องเรียนฯ ตามหลักความโปร่งใส เป็นธรรม โดยมีการรายงานผลต่อสาธารณะในภาพรวม ทุกปี

ภาพที่ 3.2-3-01 ระบบการจัดการข้อร้องเรียนจากผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น

4 การค้นหาความพึงพอใจและความผูกพันของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น (ความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ และความผูกพัน) สถาบันมีวิธีการอย่างไรในการค้นหา ความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ และความผูกพันของผู้เรียน และลูกค้ากลุ่มอื่น

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยกำหนดให้มีการค้นหาความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ และความผูกพันของผู้เรียน และลูกค้ากลุ่มอื่น เป็น 3 ระยะ คือ  ก่อนใช้บริการ ระหว่างการใช้บริการ หลังการใช้บริการ

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: ผู้รับผิดชอบโครงการ ทั้ง 4 พันธกิจ ต้องทำการสำรวจ/ค้นหา ความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ และความผูกพันของผู้เรียน และลูกค้ากลุ่มอื่น ผ่านการกำหนดหัวข้อคำถาม และ/หรือ การสัมภาษณ์ การสังเกต การประชุมสัมมนา การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น อย่างน้อย ปีละหนึ่งครั้ง ตัวอย่างประเด็นการค้นหา ในแต่ละกลุ่ม และในแต่ละระยะการใช้บริการ ดัง ตารางที่ 3.2-4.01

ตารางที่ 3.2-4-01 การค้นหา ความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ และความผูกพัน

กลุ่มเป้าหมาย

ระยะเวลาในการค้นหา

ก่อนใช้บริการ

ระหว่างการใช้บริการ

หลังการใช้บริการ

ผู้เรียน

ประเมินผลการสำรวจพื้นฐานผู้เรียน

ประเมินผลการเตรียมความพร้อมด้านภาษาอังกฤษ

ประเมินผลการเตรียมความพร้อมด้านอื่นๆ

ประเมินผลการสอนของอาจารย์

ประเมินผลการทำกิจกรรม

ประเมินผลการฝึกปฏิบัติงาน

ประเมินทักษะภาษา/ศตวรรษที่ 21

ประเมินผลตามผลลัพธ์การเรียนรู้

ติดตามผลการมีงานทำ

ลูกค้ากลุ่มอื่น

ความคาดหวังของการใช้บริการ

ความรู้/ทักษะก่อนรับบริการ

จำนวน/คุณภาพ งานที่ต้องการ

ผลการรับบริการ

ผลการรับบริการ

จำนวน/คุณภาพ งานที่ได้รับ

ผลกระทบจากการรับบริการ

ความรู้/ทักษะหลังรับบริการ

จำนวน/คุณภาพ งานที่ใช้ประโยชน์

การเรียนรู้: การค้นหาความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ และความผูกพันที่ผ่านมา ด้วยแนวทางต่างๆ ทั้งการกำหนดหัวข้อคำถาม และ/หรือ การสัมภาษณ์ การสังเกต การประชุมสัมมนา การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ผู้รับผิดชอบโครงการจะนำไปสรุป เป็นประเด็น ความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ และความผูกพันของผู้เรียน และลูกค้ากลุ่มอื่น ในแต่ละรายการ และผู้รับผิดชอบโครงการ นำผลการค้นหา ไปใช้ในการพัฒนางานในปีถัดไป หรือโครงการถัดไป

การบูรณาการ: วิทยาลัยบูรณาการ การค้นหาความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ และความผูกพันของผู้เรียน และลูกค้ากลุ่มอื่น กับการปฏิบัติงานตามแผนงาน/โครงการ นั่นคือ ให้มีการนำผลการประเมินความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ และความผูกพันของผู้เรียน และลูกค้ากลุ่มอื่น ไปใช้ในการวางแผนพัฒนาแผนปฏิบัติการประจำปี ในปีการศึกษาต่อไป

5 การค้นหาความพึงพอใจและความผูกพันของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น (ความพึงพอใจเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น) สถาบันมีวิธีการอย่างไรในการรวบรวมสารสนเทศเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยนำสารสนเทศเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น ด้านการศึกษาเปรียบเทียบกับองค์กรคู่เทียบคือ มหาวิทยาลัยคริสเตียน สำหรับสารสนเทศด้าน การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ทำการเทียบเคียงกับผลการดำเนินการของวิทยาลัยในปีปัจจุบัน กับผลการดำเนินการ 2 ปี ที่ผ่านมา

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: สำนักนโยบายและแผน นำสารสนเทศเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น ด้านการศึกษา เปรียบเทียบกับองค์กรคู่เทียบ โดยใช้ข้อมูลจากรายงานการประเมินตนเอง รายงานประจำปี บนฐาน CHE-QA online และความพึงพอใจของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น ด้านการวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เปรียบเทียบกับผลการดำเนินการ 2 ปี ที่ผ่านมา

การเรียนรู้: ผลการค้นหาความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ และความผูกพันของผู้เรียน และลูกค้ากลุ่มอื่น ด้านการศึกษาเมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น พบว่า ประเด็นข้อคำถาม  ของความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ และความผูกพัน ในปัจจุบันไม่ได้ขึ้นอยู่กับการบริการอย่างไรเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีของผู้ให้บริการ ที่สัมพันธ์กับ Generation ของผู้เรียนและลูกค้าด้วย สำหรับด้านอื่นๆ ยังคงขึ้นอยู่กับ ความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าหรือผู้รับบริการ

การบูรณาการ: ผลการประเมินความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ และความผูกพันของผู้เรียน และลูกค้ากลุ่มอื่น เมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น และเมื่อเปรียบเทียบกับ ผลการดำเนินการ 2 ปี ที่ผ่านมา เมื่อนำไปบูรณาการกับการวิเคราะห์วงจรชีวิตของการเป็นลูกค้า จะเป็นการสร้างให้มีจำนวนลูกค้ากลุ่ม Post Customer เพิ่มขึ้น

6 การใช้ข้อมูลเสียงของลูกค้าและตลาด สถาบันมีวิธีการอย่างไรในการใช้ข้อมูลและสารสนเทศที่ได้จากเสียงของลูกค้าและตลาด

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยนำข้อมูลและสารสนเทศที่ได้จากเสียงของผู้เรียน ลูกค้าและตลาด ไปใช้ในการตรวจสอบการบรรลุวิสัยทัศน์ของการนำองค์การ

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: สำนักนโยบายและแผน นำข้อมูลและสารสนเทศที่ได้จากเสียงของผู้เรียน ลูกค้าและตลาด ไปใช้ในการประเมินผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประจำปี และแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี ของวิทยาลัย แล้วรายงานผลต่อสภาวิทยาลัย เป็นประจำทุกปี

การเรียนรู้: ข้อมูลและสารสนเทศที่ได้จากเสียงของผู้เรียน ลูกค้าและตลาด เป็นข้อมูล/สารสนเทศ ที่ใช้ร่วมกับ ข้อมูลความเสี่ยงของวิทยาลัย ความจำเป็นของวิทยาลัย ขีดความสามารถของบุคลากรที่เปลี่ยนแปลงไป และผลการดำเนินการในรอบปีที่ผ่านมา จะถูกนำไปใช้ในการวิเคราะห์กลยุทธ์ การนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ การประเมินกลยุทธ์ การทบทวนกลยุทธ์ หรือการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ ให้ทันสมัย เป็นปัจจุบัน รองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ทั้งการดำเนินการในระยะสั้น และการดำเนินในระยะยาว

การบูรณาการ: ผลการดำเนินการนำข้อมูลและสารสนเทศที่ได้จากเสียงของผู้เรียน ลูกค้าและตลาด ไปบูรณาการกับ ระบบการจัดทำกลยุทธ์ ดังภาพที่ 2.1-1-01 มีผลดีต่อวิทยาลัยคือ เมื่อได้รับสารสนเทศที่กระทบกับความสามารถในการแข่งขัน วิทยาลัยสามารถ ทบทวนแผนปฏิบัติการครึ่งปี หรือทบทวนแผนยุทธศาสตร์ครึ่งระยะการปฏิบัติได้

7 กำกับดูแลให้เกิดการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้และการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน

การดำเนินการ

คณะวิชา มีการดำเนินการให้ทุกหลักสูตร ทำการประเมินผลลัพธ์ด้านการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประเมินผู้เรียน ทั้งการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ในรายวิชา ผลลัพธ์การเรียนรู้รายชั้นปี และการประเมินพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ทุกคณะวิชา

8 จัดบริการให้คำปรึกษาและการดูแลผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จในการศึกษา

การดำเนินการ

คณะวิชา มีการดำเนินการจัดอาจารย์ที่ปรึกษาให้กับนักศึกษาทุกกลุ่มเรียน  เพื่อให้คำปรึกษาในการใช้ชีวิตและการทำงานร่วมกับผู้อื่น ให้คำปรึกษาทางวิชาการ ทั้งทางการเรียน และการฝึกปฏิบัติการ ตลอดจนมีระบบดูแลช่วยเหลือ และส่งต่อ เพื่อทำให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในระยะเวลาที่กำหนดในหลักสูตร และส่งเสริมให้นักศึกษาที่มีศักยภาพ ได้ศึกษาในหลักสูตรความร่วมมือกับต่างประเทศได้สำเร็จ (หลักสูตร 3+1)

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

5 ข้อ

IQA (1-8)

1,2,3,4,5,6,7,8

8 ข้อ

 5 คะแนน

EdPEx (1-6)

1,2,3,4,5,6

ร้อยละ 30

(จาก45 คะแนน)

 13.50 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐานรายการ
3.2-01คู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา
3.2-02ระบบสารสนเทศของอาจารย์ที่ปรึกษา
3.2-03การประกวดเยาวชนดีเด่นในวันเยาวชนระดับประเทศ
3.2-04รางวัลการประกวดนวัตกรรมนักศึกษาพยาบาลระดับประเทศ
3.2-05SAR ระดับหลักสูตร
3.2-06SAR ระดับคณะ
3.2-07ภาพนักศึกษาที่ศึกษาในหลักสูตรความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย South Wales

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเอง IQAEdPEx
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1512
ตัวบ่งชี้ที่ 3.2513.50
คะแนนเฉลี่ย(IQA)/คะแนนรวม(EdPEx) 525.5