Component 4: Indicator 4.1 Measurement, Analysis (Measurement, Analysis, and Improvement)

Component 4 Knowledge Management

ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 การวัด วิเคราะห์ผล (การวัด วิเคราะห์ และปรับปรุง) : Measurement, Analysis (Measurement, Analysis, and Improvement)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-6 ข้อ7-8 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-6 ประเมิน 45 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

1 การวัดผลการดำเนินการ (ตัววัดผลการดำเนินการ) สถาบันมีวิธีการติดตามข้อมูล และสารสนเทศของการปฏิบัติงานประจำวัน การดำเนินการโดยรวมของสถาบัน อย่างไร

การดำเนินการ

แนวทาง: ตัววัดผลหรือตัวชี้วัดผลสำเร็จของวิทยาลัย ประกอบด้วย ตัวชี้วัดเป้าประสงค์ตามกลยุทธ์(Strategic KPIs) ที่ใช้วัดผลการดำเนินการโดยรวมของวิทยาลัย และ ตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการตามแผนปฏิบัติการ(Action Plan KPIs) ที่ใช้วัดผลการดำเนินการ ทั้งการวัดผลการปฏิบัติงานประจำวัน และผลการดำเนินการโดยรวมของวิทยาลัย

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: คณะกรรมการนโยบายและแผน ทำหน้าที่ติดตามข้อมูล และสารสนเทศ ผลการดำเนินการเสนอต่ออธิการบดี โดยมีผู้แผนของคณะแต่ละคณะ ทำหน้าที่ติดตามข้อมูลการดำเนินการตามตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ และสำนักนโยบายและแผนทำหน้าที่ติดตามข้อมูลการดำเนินการตามตัวชี้วัดเป้าประสงค์

การเรียนรู้: วิทยาลัย มีการกำหนดกรอบเวลาของการรายงาน หรือ ความถี่ในการรายงานเป็นเครื่องมือในการติดตามให้ข้อมูลทั้งในระดับคณะ และในภาพรวมเป็นปัจจุบัน ตัวอย่างการดำเนินการในบางงาน/ระบบงาน ดังตารางที่ 4.1-1-01

ตารางที่ 4.1-1-01 ตัวอย่างกรอบเวลาของการรายงานในงาน/ระบบงาน

งาน/ระบบงาน

ความถี่

ข้อมูล

สารสนเทศ

การจัดทำ มคอ.3, มคอ.5

S,Y

จำนวน มคอ.3, มคอ.5

ร้อยละรายวิชาที่สอนตามแผนฯ

ประเมินการสอนของอาจารย์

S

เทคนิคการสอน, สื่อ, การวัดผล

สมรรถนะการจัดการเรียนรู้

การให้คำปรึกษาทางวิชาการกับผู้เรียน

W,S,Y

จำนวนผู้รับบริการ, การแก้ปัญหา

อัตราการออกกลางคัน

ประเมินผู้ใช้บัณฑิต

Y

ความพึงพอใจ, ข้อเสนอแนะ

คุณภาพบัณฑิต

การบริหารงานบุคคล

D,M,Y

การปฏิบัติงาน

สมรรถนะการปฏิบัติงาน

ดำเนินการตามโครงการ

Q,Y

จำนวน โครงการ/งปม./ผลสำเร็จ

รายงานผลรายไตรมาส/ปี

ประเมินผู้รับบริการทางวิชาการฯ

S,Y

จำนวนผู้รับบริการ, การนำไปใช้

มูลค่า/คุณค่าที่เกิดกับสังคม

ประเมินการบริหารด้วยธรรมาภิบาล

S,Y

ความพึงพอใจ, ข้อเสนอแนะ

สมรรถนะองค์กร

หมายเหตุ D=Day, W=Week, M=Month, Q=Quarter, S=Semester, Y=Year

การบูรณาการ: วิทยาลัยดำเนินการบูรณาการ เรื่องการใช้ตัววัดผลความสำเร็จ เป็นวิธีการติดตามข้อมูล และสารสนเทศของการปฏิบัติงาน กับ ระบบการปรับปรุงงาน(STIC Improvement Tools for Excellence ดังภาพที่ op2 ค 1-1 ทำให้บุคลากร ใช้ตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์(OKR) ในการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

2 การวัดผลการดำเนินการ (ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ) สถาบันมีวิธีการเลือกและใช้ข้อมูล สารสนเทศเชิงเปรียบเทียบ อย่างไร เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลจริง

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยพิจารณาเลือกแหล่งข้อมูล และสารสนเทศ(องค์กร)ที่ใช้ในการเปรียบเทียบ จากแหล่งที่มีลักษณะโครงร่างองค์กรใกล้เคียงกับวิทยาลัย

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: คณะกรรมการนโยบายและแผน นำเสนอ ข้อมูลองค์กรที่ใช้เปรียบเทียบจาก  1)เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ประเภทมหาวิทยาลัย 2)มีหลักสูตรผลิตบัณฑิตทั้งด้าน การบริการ(บริหารธุรกิจ ศึกษาศาสตร์ ศิลปะศาสตร์) และวิทยาศาสตร์สุขภาพ(พยาบาลศาสตร์ และสาธารณสุขศาสตร์) 3)มีผลการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาในระดับนานาชาติที่สูงกว่าวิทยาลัย เสนอต่อคณะกรรมการบริหารอนุมัติ จากนั้น นำเสนอองค์กรที่มีลักษณะโครงร่างองค์กรใกล้เคียงกับวิทยาลัย พิจารณาใช้เป็นแหล่งข้อมูล และสารสนเทศที่ใช้ในการเปรียบเทียบ

การเรียนรู้: วิทยาลัย ใช้ข้อมูล และสารสนเทศเปรียบเทียบ ทั้งจากแหล่งข้อมูลภายในประเทศ เช่น รายงานการประเมินตนเอง รายงานประจำปี CHE-QA online และจากแหล่งข้อมูลนานาชาติ เช่น ฐานข้อมูล SCOPUS, ISI, SciVal และ การจัดอันดับมหาวิทยาลัย ในฐานข้อมูล Google Scholar โดย AD Scientific Index  และ Web-ometric  มีรายละเอียดดังตารางที่  op2 ก 3-1

การบูรณาการ: วิทยาลัย บูรณาการเรื่องการใช้ข้อมูล และสารสนเทศเปรียบเทียบ กับเรื่องการดำเนินการตามพันธกิจอุดมศึกษา นั่นคือ การใช้ข้อมูลและสารสนเทศ เปรียบเทียบทั้ง ด้านการจัดการศึกษา ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการ และด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ

3 การวัดผลการดำเนินการ (ความคล่องตัวของการวัดผล) สถาบันมั่นใจได้อย่างไรว่าระบบการวัดผลการดำเนินการของคณะสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในหรือภายนอกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหรือที่ไม่ได้คาดคิด และให้ข้อมูลที่ทันเวลา

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยกำหนดให้มี การรายงานผลตามตัววัดผล การรายงานผลจากข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ และการรายงานผลจากข้อมูลอื่นๆ ที่กระทบต่อการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: คณะกรรมการนโยบายและแผน ทำหน้าที่ติดตาม เก็บรวบรวม วิเคราะห์ ข้อมูลและสารสนเทศ และรายงานผลตามตัววัดผล รายงานผลจากข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ และการรายงานผลจากข้อมูลอื่นๆ ต่อคณะกรรมการที่ทำหน้าที่บริหารงานในแต่ละระดับ  เพื่อให้ผู้บริหารในแต่ละระดับ ได้ข้อมูลที่ทันเวลา สามารถใช้ข้อมูลตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในหรือภายนอกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้คาดคิด และสนับสนุนการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลจริง

การเรียนรู้: เพื่อให้การรายงานผลของ คณะกรรมการนโยบายและแผน ทันเวลา และทันต่อการเปลี่ยนแปลง จึงมีการกำหนดความถี่ในการรายงานต่อคณะกรรมการที่ทำหน้าที่บริหารงานในแต่ละระดับ ดังรายละเอียดใน ตารางที่ 4.1-3-01 

ตารางที่ 4.1-3-01 ความถี่ในการรายงานต่อคณะกรรมการที่ทำหน้าที่บริหารงานในแต่ละระดับ

หน่วยงานรับรายงาน

ความถี่ในการรายงาน

ประเด็นที่รายงาน

ผลตัววัดStrategic KPIs

ผลตัววัด Action Plan KPIs

ข้อมูลจากคู่เทียบ/อื่นๆ

คณะกรรมการผู้บริหาร

เดือนละ 1 ครั้ง

ไตรมาสละ 1 ครั้ง

กรรมการบริหาร

ภาคเรียนละ 2 ครั้ง

อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

สภาวิชาการ

ภาคเรียนละ 2 ครั้ง

อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

สภาวิทยาลัย

ภาคเรียนละ 1 ครั้ง

อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

การบูรณาการ: วิทยาลัยนำระบบการรายงานผลการดำเนินการตามตัววัดผล ต่อคณะกรรมการที่ทำหน้าที่บริหารงานในแต่ละระดับ กับการบริหารความเสี่ยงของวิทยาลัย นั่นคือ หากพบว่ามีประเด็น/เรื่อง หรือผลการดำเนินการใด ที่มีการรายงานต่อคณะกรรมการที่ทำหน้าที่บริหารงานในแต่ละระดับ ต้องดำเนินการตามมาตรการ การบริหารความเสี่ยงของวิทยาลัย

4 การวิเคราะห์และทบทวนผลการดำเนินการ สถาบันมีวิธีการทบทวนผลการดำเนินการและขีดความสามารถของของคณะอย่างไร

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยกำหนดให้มีการทบทวนผลการดำเนินการและขีดความสามารถของสถาบัน ทุกระยะครึ่งแผน และเมื่อสิ้นสุดของแผน ทั้ง แผนปฏิบัติการประจำปี และแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: คณะกรรมการนโยบายและแผน ทำหน้าที่ ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลผลการดำเนินการ  และข้อมูลขีดความสามารถของวิทยาลัย เสนอต่อคณะกรรมการบริหาร เมื่อแผนปฏิบัติการประจำปี ดำเนินการมาได้ครึ่งแผน(สิ้นสุดภาคเรียนที่ 1) หรือ เมื่อแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี ดำเนินการมาได้ครึ่งแผน(สิ้นสุดภาคเรียนที่ 1 ในปีที่สามของการใช้แผน) กรณีคณะกรรมการบริหาร มีความเห็นว่าผลการดำเนินการ และ/หรือขีดความสามารถของวิทยาลัย ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ให้ดำเนินการทบทวนแผนปฏิบัติการประจำปี เสนอต่อ คณะกรรมการบริหาร และสภาวิทยาลัย อนุมัติ

การเรียนรู้: ข้อมูลผลการดำเนินการ  และข้อมูลขีดความสามารถของวิทยาลัย ที่คณะกรรมการ นโยบายและแผน ใช้ในการวิเคราะห์ เป็นข้อมูลที่ได้จากระบบการวัดผลการดำเนินการของวิทยาลัย ทั้งที่ได้จากการรายงานผลต่อคณะกรรมการที่ทำหน้าที่บริหาร และข้อมูลความจำเป็นของวิทยาลัยในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในหรือภายนอกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหรือการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้คาดคิด เพื่อให้ผลการดำเนินการของวิทยาลัยเป็นไปตามเป้าหมาย และทันเวลาที่กำหนด

การบูรณาการ: วิทยาลัยบูรณาการ ระบบการทบทวนผลการดำเนินการและขีดความสามารถ กับกระบวนการจัดทำกลยุทธ์ นั่นคือกระบวนการทบทวนแผนฯ ให้เป็นตาม ภาพที่ 2.1-1-01

5 การปรับปรุงผลการดำเนินการ (ผลการดำเนินการในอนาคต) สถาบันคาดการณ์ผลการดำเนินการในอนาคตอย่างไร

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยกำหนดให้ทำการวิเคราะห์ผลการดำเนินการเมื่อสิ้นสุดแผน ทั้ง แผนปฏิบัติการประจำปี และแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับผลการดำเนินการให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: คณะกรรมการนโยบายและแผน เก็บรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินการ ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น โครงสร้างของประชากร สภาพแวดล้อมทางการตลาด เศรษฐกิจและสังคม เทคโนโลยีทางการศึกษา ความท้าทายและการได้เปรียบทางกลยุทธ์ของวิทยาลัย จากนั้นนำข้อมูลทุก ด้านมาวิเคราะห์ SWOT และคาดการณ์ผลการดำเนินการในอนาคต  เสนอต่อคณะกรรมการบริหาร เพื่อเป็นกรอบในการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี และ/หรือแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี ให้สอดคล้องกับปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการแข่งขัน

การเรียนรู้: วิทยาลัย ได้ใช้เทคนิคต่างๆ ในการวิเคราะห์ผลการดำเนินการ เพื่อให้สอดคล้องกับ ผลการดำเนินการที่เป็นไปตามเป้าหมาย สูงกว่าเป้าหมาย หรือต่ำกว่าเป้าหมาย ตลอดจนให้สอดคล้องกับปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการแข่งขัน เช่น Forecast, Trend Analysis, Root Cause Analysis, Comparisons, Prioritization ตัวอย่างการวิเคราะห์ ผลการดำเนินการ งาน/ผลงาน ตามตัวชี้วัด เพื่อการคาดการณ์ผลการดำเนินการในอนาคต ดังแสดงในตารางที่ 4.1-5-01

ตารางที่ 4.1-5-01 ตัวอย่างการวิเคราะห์ ผลการดำเนินการ งาน/ผลงาน ตามตัวชี้วัด

งาน/ผลงาน

ผลการดำเนินการ

การวิเคราะห์

การดำเนินการที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

จำนวนนักศึกษาในแต่ละหลักสูตร

เป็นไปตาม/สูงกว่าเป้าหมาย

F,T

ขยายจำนวนรับ/เพิ่มอาคาร-อุปกรณ์

ต่ำกว่าเป้าหมาย

R,C,P

ปิดหลักสูตร/ควบรวมหลักสูตร/

ปรับเป้าหมายผู้เรียน

ความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต

เป็นไปตาม/สูงกว่าเป้าหมาย

F,T

ยกระดับ/เพิ่มสมรรถนะบัณฑิต

ต่ำกว่าเป้าหมาย

R,C,P

ปรับเนื้อหา/ผลลัพธ์การเรียนรู้/หลักสูตร

ความพึงพอใจของผู้รับบริการทางวิชาการฯ

เป็นไปตาม/สูงกว่าเป้าหมาย

F,T

เพิ่มจำนวน/หลักสูตร/ศูนย์ความเป็นเลิศ

ต่ำกว่าเป้าหมาย

R,C,P

ปรับปรุงหลักสูตร/ปรับกลุ่มเป้าหมาย

ระดับความสุขของบุคลากร

เป็นไปตาม/สูงกว่าเป้าหมาย

F,T

เพิ่มเส้นทางความก้าวหน้า/ตำแหน่งวิชาการ

ต่ำกว่าเป้าหมาย

R,C,P

พัฒนากระบวนการสร้างขวัญ กำลังใจ

หมายเหตุ F=Forecast, T=Trend Analysis, R=Root Cause Analysis, C=Comparisons, P=Prioritization

การบูรณาการ: วิทยาลัยบูรณาการ ระบบวิเคราะห์ผลการดำเนินการเพื่อการคาดการณ์ผลการดำเนินการในอนาคต กับกระบวนการจัดทำกลยุทธ์ นั่นคือกระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี และแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี ให้เป็นตาม ภาพที่ 2.1-1-01

6 การปรับปรุงผลการดำเนินการ (การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและการสร้างนวัตกรรม) สถาบันใช้ผลการทบทวนผลการดำเนินการ นำจัดลำดับความสำคัญของเรื่องที่ต้องปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและโอกาสในการสร้างนวัตกรรมอย่างไร

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยนำผลการดำเนินการ มาทำการจัดลำดับความสำคัญของการปรับปรุงและพัฒนาสู่การสร้างนวัตกรรม โดยเทียบกับค่าเป้าหมายตามตัวชี้วัด

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: คณะกรรมการนโยบายและแผน นำผลการดำเนินการ มาทำการจัดลำดับความสำคัญของการปรับปรุงและพัฒนาสู่การสร้างนวัตกรรม เป็น 4 ลำดับความสำคัญ โดยเทียบกับค่าเป้าหมายตามตัวชี้วัด ประกอบด้วย ต่ำกว่าค่าเป้าหมายขั้นวิกฤต(สีแดง-ต้องดำเนินการแก้ไขเร่งด่วน) ต่ำกว่าค่าเป้าหมาย(สีเหลือง-ต้องมีการปรับปรุง) เป็นไปตามค่าเป้าหมาย(สีเขียวอ่อน-ต้องมีการพัฒนา) และสูงกว่าค่าเป้าหมาย(สีเขียว-นำไปสู่การสร้างนวัตกรรม) จากนั้นนำผลการจัดลำดับความสำคัญ แจ้งกับคณะ/คณะกรรมการ/ผู้รับผิดชอบในงานดังกล่าว ให้ดำเนินการบริหารจัดการผ่านกระบวนการ Facts Analysis, Find Solution, Action ตามระยะเวลาที่กำหนด แล้วรายงานผลต่อ คณะกรรมการบริหาร หรือ สภาวิชาการ ต่อไป

การเรียนรู้: วิทยาลัย ได้ใช้เทคนิคต่างๆ ในการบริหารจัดการ กับงานที่มีผลการดำเนินการ ต่ำกว่าเป้าหมาย เป็นไปตามเป้าหมาย หรือสูงกว่าเป้าหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับ การจัดลำดับความสำคัญของการปรับปรุงและพัฒนาสู่การสร้างนวัตกรรม เช่น การลดโอกาสเกิด การลดผลกระทบ การกำหนดมาตรการเสริม  การยกระดับการพัฒนา การพัฒนาให้เป็นแนวปฏิบัติที่ดี แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ นวัตกรรมสังคม หรือนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ เป็นต้น การดำเนินการ ดังตารางที่ 4.1-6-01

ตารางที่ 4.1-6-01 การดำเนินการบริหารจัดการตามการจัดลำดับความสำคัญ

ลำดับความสำคัญ

ร้อยละของการดำเนินการ

ความหมาย

การบริหารจัดการ

ต่ำกว่าค่าเป้าหมายขั้นวิกฤต

ต่ำกว่า 30

ต้องมีการแก้ไขเร่งด่วน

ลดโอกาสเกิด ลดผลกระทบ

ต่ำกว่าค่าเป้าหมาย

30-49

ต้องมีการปรับปรุง

กำหนดมาตรการเสริม พัฒนาการใช้ทรัพยากร

เป็นไปตามค่าเป้าหมาย

50-80

ต้องมีการพัฒนา

ยกระดับการพัฒนา เพิ่มกลุ่มเป้าหมาย

สูงกว่าค่าเป้าหมาย

มากกว่า 80

นำไปสู่การสร้างนวัตกรรม

สร้างแนวปฏิบัติที่ดี แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ

สร้างนวัตกรรมสังคม นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์

การบูรณาการ: วิทยาลัยบูรณาการ การดำเนินการบริหารจัดการตามการจัดลำดับความสำคัญ กับกระบวนการปรับปรุงเพื่อความเป็นเลิศ(STIC Improvement Tools for Excellent) นั่นคือกระบวนการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและโอกาสในการสร้างนวัตกรรม ให้เป็นตามกระบวนการจัดการความรู้ ในระดับ Functional Level ดัง ภาพที่ op2 ค 1-1

7 มีการรวบรวม วิเคราะห์ และจัดการข้อมูลที่ได้จากความพึงพอใจของผู้เรียนและบัณฑิต

การดำเนินการ

การรวบรวม วิเคราะห์ และจัดการข้อมูลที่ได้จากความพึงพอใจของผู้เรียน ดำเนินการโดยการประเมินผลการสอนของอาจารย์ ในแต่ละรายวิชาในทุกภาคเรียน ประเมินความพึงพอใจในการใช้บริการต่างๆของวิทยาลัย เป็นรายปีการศึกษา และประเมินความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรม ในการดำเนินการตามโครงการทุกโครงการ

การรวบรวม วิเคราะห์ และจัดการข้อมูลที่ได้จากความพึงพอใจของบัณฑิต ดำเนินการโดยการประเมินผลตามผลลัพธ์การเรียนรู้ การประเมินผลลัพธ์ผู้เรียน การประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21 และ การประเมินความพึงพอใจหลังสำเร็จการศึกษา ซึ่งดำเนินการเมื่อสิ้นสุดภาคเรียนสุดท้ายของการศึกษา

8 มีการรวบรวม วิเคราะห์ และจัดการข้อมูลที่ได้จากผู้ใช้บัณฑิต

การดำเนินการ

หลักสูตร และ คณะ มีการรวบรวม วิเคราะห์ และจัดการข้อมูลที่ได้จากผู้ใช้บัณฑิต เพื่อเป็นข้อมูลใช้ในการพัฒนาเนื้อหารายวิชาในหลักสูตร กรณีที่พบว่า เป็นการปรับเล็กน้อยให้ทันความก้าวหน้าตามศาสตร์ และใช้ในการปรับปรุงหลักสูตร เมื่อ ครบรอบระยะเวลาการปรับปรุง หรือ เมื่อ หลักสูตร/คณะ เห็นว่าต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

5 ข้อ

IQA (1-8)

1,2,3,4,5,6,7,8

 8 ข้อ

 5 คะแนน

EdPEx (1-6)

1,2,3,4,5,6

ร้อยละ 30

(จาก45 คะแนน)

13.50 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐานรายการ
4.1-01เอกสารการติดตามผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการรายไตรมาศ
4.1-02ระบบสารสนเทศ TQF3, TQF5
4.1-03ระบบสารสนเทศประเมินผลการสอนของอาจารย์
4.1-04เอกสารการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ในฐานข้อมูล Google Scholar โดย AD Scientific Index และ เอกสารการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ในฐานข้อมูล Web-ometric
4.1-05คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการความเสี่ยง
4.1-06แผนบริหารจัดการความเสี่ยง
4.1-07รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการความเสี่ยง
4.1-08รายงานการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี
4.1-09แผนยกระดับและพัฒนาความเป็นเลิศ ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2566-2570
4.1-10รายงานการประเมินผลตามผลลัพธ์การเรียนรู้ การประเมินผลลัพธ์ผู้เรียน การประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน
4.1-11SAR ระดับคณะ