Component 7: Indicator 7.2 Service Results (Customer Results)

Component 7 Results

ตัวบ่งชี้ที่ 7.2 ผลด้านบริการ(ผลลัพธ์ด้านลูกค้า): Service Results (Customer Results)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3 ข้อ4 ข้อ5 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐานEdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-2 ประเมิน 80 คะแนน ประเมินแบบ LeTCI

ผลการดำเนินการ

1 ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น (ความพึงพอใจของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น) ผลลัพธ์ด้านความพึงพอใจและความไม่พึงพอใจของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นคืออะไร

การดำเนินการ

ระดับผลการดำเนินการ: ผลลัพธ์ด้านความพึงพอใจของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น คือ การเข้าถึงและการสนับสนุนของผู้เรียนและลูกค้า(ข้อ 3.2.2)  การค้นหาความพึงพอใจของผู้เรียนและลูกค้า(ข้อ 3.2.4) การค้นหาความพึงพอใจของผู้เรียนและลูกค้าเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น(ข้อ 3.2.5) ผลการดำเนินการในปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับดีมาก ผลลัพธ์ด้านความไม่พึงพอใจของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นคือ ข้อร้องเรียนและการจัดการข้อร้องเรียนของผู้เรียนและลูกค้า(ข้อ 3.2.3) การค้นหาความไม่พึงพอใจของผู้เรียนและลูกค้า(ข้อ 3.2.4) ผลการดำเนินการในปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับดีมาก มีรายละเอียด ดังตารางที่ 7.2-1-01

ตารางที่ 7.2-1-01 ผลลัพธ์ด้านความพึงพอใจและความไม่พึงพอใจของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น

ด้าน/กระบวนการ

การดำเนินการ

ผลลัพธ์ด้านประสิทธิผล

ความพึงพอใจ

1)การเข้าถึงและสนับสนุนผู้เรียนและลูกค้า

-เตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา/รับบริการ

-ให้คำปรึกษาการใช้ชีวิตและการทำงานร่วมกับผู้อื่น

-ให้คำปรึกษาทางวิชาการ

-ทุนการศึกษาและแหล่งงานนอกเวลา

-แหล่งเรียนรู้ ในหลักสูตรและนอกหลักสูตร

-ระดับสมรรถนะภาษาอังกฤษและพื้นฐานสูงกว่า 4.51

-ร้อยละ 100 นศ. ใช้ชีวิตและมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนได้ดี

-ร้อยละ 80 นศ. เรียนรู้อย่างมีประสิทธิผล

-ความโปร่งใสในการพิจารณาผู้รับทุน สูงกว่า 4.51

-ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ สูงกว่า 4.51

2)การค้นหาความพึงพอใจของผู้เรียนและลูกค้า

-การประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

-การประเมินผลการทำกิจกรรมเสริมหลักสูตร

-การประเมินผลการดูงาน/ฝึกปฏิบัติ/ฝึกงาน

-ความพึงพอใจการสอนอาจารย์/วิทยากร สูงกว่า 4.51

-ความพึงพอใจในกิจกรรม/การมีส่วนร่วม สูงกว่า 4.51

-ความพึงพอใจการปฏิบัติงาน/ฝึกงาน สูงกว่า 4.51

3)การค้นหาความพึงพอใจเมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น

-การเตรียมความพร้อมก่อนสำเร็จการศึกษา

-ประเมินความรู้/ทักษะ ก่อนและหลังการรับบริการ

-การมีงานทำ/ความพึงพอใจในงาน สูงกว่า 4.51

-ร้อยละ 80 ผู้รับบริการนำไปประยุกต์ใช้งานได้

-ร้อยละ 80 ผู้รับบริการ มีการใช้บริการซ้ำ

ความไม่พึงพอใจ

1)ข้อร้องเรียนและการจัดการข้อร้องเรียน

-ช่องทางการรับฟังเสียงของผู้เรียนและลูกค้า

-การจัดการข้อร้องเรียนเชิงรับ

-การจัดการข้อร้องเรียนเชิงรุก

-ร้อยละ 100 ข้อร้องเรียน ได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็ว

-ร้อยละศูนย์ ข้อร้องเรียนที่เกิดซ้ำ

-ร้อยละ 50 ข้อร้องเรียนใหม่เป็นเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่

2)การค้นหาความไม่พึงพอใจ

-ข้อเสนอแนะจากผลการให้บริการ

-ข้อควรปรับปรุงจากแบบประเมินความพึงพอใจ

-ร้อยละ 50ข้อเสนอแนะ ใช้ดำเนินการวางแผนในอนาคต

-ร้อยละ 50ข้อควรปรับปรุง ได้รับการประเมินที่ดีขึ้น

แนวโน้มที่ดี: ผลการดำเนินการ ในปีการศึกษา 2563-2565 พบว่า ผลลัพธ์ด้านความพึงพอใจของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น ทุกรายการ มีความพึงพอใจสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  (7.2-1-01)และ ผลลัพธ์ด้านความไม่พึงพอใจของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น ทุกรายการ มีความไม่พึงพอใจลดลงอย่างต่อเนื่อง (7.2-1-02)

การเปรียบเทียบกับคู่เทียบเคียง: ผลการดำเนินการของคู่เทียบเคียงในประเด็นการผลิตบัณฑิต พบว่า ในปีการศึกษา 2565 มีผลการดำเนินการไม่แตกต่างกัน และกรณีประเด็นพันธกิจอื่น การเปรียบเทียบกับผลการดำเนินการ 2 ปีที่ผ่านมา คือ ในปีการศึกษา 2563-2564 พบว่า ผลลัพธ์ด้านความพึงพอใจ สูงขึ้น และ ผลลัพธ์ด้านความไม่พึงพอใจ ลดลง

การบูรณาการ: การดำเนินการผลลัพธ์การมุ่งเน้นผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น ที่เกี่ยวกับผลลัพธ์ด้านความพึงพอใจและความไม่พึงพอใจ เป็นไปตามการดำเนินการด้านนักศึกษาและผู้รับบริการ องค์ประกอบ 3 ข้อ 3.2.2 ข้อ 3.2.3 ข้อ 3.2.4 ข้อ 3.2.5 และ เป็นไปตาม การออกแบบการจัดการศึกษา วิจัย และบริการวิชาการ และกระบวนการ องค์ประกอบ 6 ข้อ 6.1.4  ข้อ 6.1.5 ข้อ 6.1.6 ข้อ 6.2.1 ข้อ 6.2.3 ข้อ 6.2.4 ข้อ 6.2.5

2 ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น (ความผูกพันของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น) ผลลัพธ์ด้านความผูกพันของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นคืออะไร

การดำเนินการ

ระดับผลการดำเนินการ: ผลลัพธ์ด้านความผูกพันของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นคือ การจัดการความสัมพันธ์ของผู้เรียนและลูกค้า(ข้อ 3.2.1)  การค้นหาความผูกพันของผู้เรียนและลูกค้า(ข้อ 3.2.4) การค้นหาความผูกพันของผู้เรียนและลูกค้าเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น(ข้อ 3.2.5) การใช้ข้อมูลเสียงของลูกค้าและตลาด(ข้อ 3.2.6) ผลการดำเนินการในปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับดีมาก ดังตารางที่ 7.2-2-01

ตารางที่ 7.2-2-01 ผลลัพธ์ด้านความผูกพันของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น

กระบวนการ

การดำเนินการ

ผลลัพธ์ด้านประสิทธิผล

1)การสร้างความสัมพันธ์ของผู้เรียนและลูกค้า

-การวิเคราะห์วงจรชีวิตผู้เรียนและลูกค้า -การแนะแนว

-การทำกิจกรรมของนักศึกษา และผู้ใช้บริการ

-ระดับความเชื่อมั่น การยอมรับและผูกพัน สูงกว่า 4.51

-ระดับการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม สูงกว่า 4.51

2)การค้นหาความผูกพันของผู้เรียนและลูกค้า

-นักศึกษาแนะนำนักเรียนมัธยมศึกษาให้มาเข้าศึกษา

-ศิษย์เก่ามาร่วมกิจกรรมกับนักศึกษารุ่นน้อง เช่น วันปฐมนิเทศ กิจกรรมเสริมหลักสูตร วันปัจฉิมนิเทศ

-ศิษย์เก่ามารับบริการ re-skills, up-skills, new skills หรือ ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

-ระดับการแนะนำและการบอกต่อ สูงกว่า 4.51

-ร้อยละ 100 ของคณะวิชา ที่ศิษย์เก่ามีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนา นศ. รุ่นน้อง

-ร้อยละ 10 ของศิษย์เก่าหรือผู้รับบริการ มาใช้บริการซ้ำ หรือศึกษาต่อ

3)ความผูกพันเมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น

-การสร้างชื่อเสียง/เป็นตัวแทนประกวด/แข่งขัน

-การมีส่วนร่วมพัฒนาหลักสูตรของศิษย์เก่า

-การรับศิษย์เก่า เข้ามาเป็นอาจารย์ในหลักสูตร

-ร้อยละ 50 ของคณะวิชา ที่ นศ. ได้รับการยกย่องระดับชาติ

-ร้อยละ 100 ของคณะวิชา ที่ศิษย์เก่าร่วมพัฒนาหลักสูตร

-ร้อยละ 50 ของคณะวิชา ที่รับศิษย์เก่า เข้ามาเป็นอาจารย์

4)การใช้ข้อมูลเสียงของลูกค้าและตลาด

-ข้อเสนอแนะจากบัณฑิต พี่เลี้ยงนักศึกษาฝึกงานในสถานประกอบการ ผู้ใช้บัณฑิต ศิษย์เก่า เครือข่ายฯ

-ประเด็นที่ควรปรับปรุงจากแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต แบบประเมินความพึงพอใจของบัณฑิต

-ร้อยละ 50 ของข้อเสนอแนะ จากบัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิต เครือข่ายฯ ได้ถูกนำไปใช้ในการพัฒนาผลการดำเนินการ

-ร้อยละ 50 ข้อควรปรับปรุง ได้รับการประเมินที่ดีขึ้น ตามความต้องการของลูกค้าและตลาด

แนวโน้มที่ดี: ผลการดำเนินการ ในปีการศึกษา 2563-2565 พบว่า ผลลัพธ์ด้านความผูกพันของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น ทุกรายการ มีความผูกพันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  (7.2-2-01)

การเปรียบเทียบกับคู่เทียบเคียง: ผลการดำเนินการของคู่เทียบเคียงในประเด็นการผลิตบัณฑิต พบว่า ในปีการศึกษา 2565 มีผลการดำเนินการไม่แตกต่างกัน และกรณีประเด็นพันธกิจอื่น การเปรียบเทียบกับผลการดำเนินการ 2 ปีที่ผ่านมา คือ ในปีการศึกษา 2563-2564 พบว่า ผลลัพธ์ด้านความผูกพันใน ปีการศึกษา 2565 สูงขึ้น โดยการสร้างชื่อเสียงที่สำคัญ เช่น นักศึกษาได้รับคัดเลือกเป็นเด็กและเยาวชนดีเด่นในการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ จากกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ 14 มกราคม 2566 (7.2-2-02) สำหรับการประกวดแข่งขันที่สำคัญ เช่น รางวัลชนะเลิศการประกวดสิ่งประดิษฐ์ด้านพยาบาล ระดับประเทศ จากเครือข่ายสถาบันที่ผลิตพยาบาล (7.2-2-03) รางวัลผู้นำเยาวชนระดับอุดมศึกษา ในงาน 2023 Thailand Leaders Conference จาก International Youth Fellowship เมื่อ 17 มิถุนายน 2023 (7.2-2-04)

การบูรณาการ: การดำเนินการด้านผลลัพธ์การมุ่งเน้นผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น ที่เกี่ยวกับผลลัพธ์ด้านความผูกพันของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น เป็นไปตามการดำเนินการด้านนักศึกษาและผู้รับบริการ องค์ประกอบ 3 ข้อ 3.2.1 ข้อ 3.2.4 ข้อ 3.2.5 ข้อ 3.2.6 และเป็นไปตาม การออกแบบการจัดการศึกษา วิจัย และบริการวิชาการ และกระบวนการ องค์ประกอบ 6 ข้อ 6.1.4  ข้อ 6.1.5 ข้อ 6.1.6 ข้อ 6.2.1 ข้อ 6.2.3 ข้อ 6.2.4 ข้อ 6.2.5

3 การบริการวิชาการ สร้างคุณค่า/มูลค่า ให้กับสังคม

การดำเนินการ

วิทยาลัยมีการบริการวิชาการที่สร้างคุณค่าให้กับสังคม ทางด้านสุขภาพที่สำคัญ เช่น การสร้าง อสม.แกนนำ ด้าน CPR ในชุมชนเขมรฝั่งใต้ และชุมชนบึงสนั่น การสร้าง อสม. แกนนำ ด้านการตรวจเต้านมเพื่อคัดกรองมะเร็งเต้านม ชุมชนบ้านลาดช้าง  ทางด้านการบริการที่สำคัญ  เช่น การพัฒนาโรงเรียน ครู และนักเรียน ตามโครงการ U-School Mentoring เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนประถมศึกษาในจังหวัดนครนายก  การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและทรัพยากรธรรมชาติ ตามโครงการ Nakhon Nayok Channel และการพัฒนาบุคลากรด้านภาษาอังกฤษ เป็นต้น

วิทยาลัยมีการบริการวิชาการที่สร้างมูลค่าให้กับสังคม  ทางด้านสุขภาพที่สำคัญ  เช่น การสร้างฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นจากผู้สูงอายุในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก  การสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทางด้านการบริการที่สำคัญเช่น การสร้างฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นนครนายก การพัฒนาสื่อดิจิทัล “ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ”  การพัฒนาสื่อดิจิทัล “Thai Puan Musium”เป็นต้น

วิทยาลัยมีการบริการวิชาการแก่สังคม เพื่อผลิตบุคลากรตามความต้องการของอุตสาหกรรมบริการสุขภาพ และสร้างมูลค่า(รายได้)ให้วิทยาลัยด้วย คือ การผลิตผู้ช่วยพยาบาล 

4 มีการเผยแพร่ศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง

การดำเนินการ

วิทยาลัยมี บูรณาการการจัดการเรียนรู้ การวิจัย การบริการวิชาการ เพื่อเผยแพร่ศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ในปีการศึกษา 2565 มี จำนวน 3 ผลงาน ผลงานที่ได้ นำไปเผยแพร่ในการประชุม สัมมนา ทางวัฒนธรรมระดับจังหวัด และระดับชาติ และมีผลการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เช่น

1) The Identity of Thai People of Vietnamese Descent who are Roman Catholic: A Case Study of Saowapa Phongsri Community, Ongkharak District, Nakhon Nayok Province, Thailand

2) The Development of Thailand’s Local Wisdom on Low-Fat Krayasart (Thai Sweet Cereal Bar) Products, developed by local product groups in Nakhon Nayok for commercial purposes.

3) The Existence of Cultures and Traditions of Thai People of Khmer Descent in Ongkharak, Nakhon Nayok, Thailand

5 ผลการให้บริการสร้างประโยชน์ให้ท้องถิ่นและสังคม

การดำเนินการ

ผลการให้บริการทางวิชาการของวิทยาลัยในปีการศึกษา 2565 สร้างประโยชน์ให้ท้องถิ่นและสังคมเป็นจำนวนมาก ดัง ตารางที่ 7.2-5-01

ตารางที่ 7.2-5-01 ผลการให้บริการทางวิชาการของวิทยาลัยที่สร้างประโยชน์ให้ท้องถิ่นและสังคม

โครงการ

ตัวชี้วัด

ชุมชน

ผลการดำเนินการ

ประโยชน์ต่อท้องถิ่น/สังคม

1.การพัฒนาภาษา อังกฤษ เครือข่าย ครูโรงเรียนประถม ศึกษา นครนายก

1.พัฒนาการสอนภาษา อังกฤษ ไม่น้อยกว่า 4 โรงเรียน

2.ผลการสอบกลุ่มสาระภาษาอังกฤษของนักเรียนแต่ละโรงเรียนเพิ่มสูงขึ้น

-กลุ่มโรงเรียนวัดช่องตะเคียน

1.ครูจำนวน 13 โรงเรียนได้รับการพัฒนาการสอนภาษาอังกฤษ

2.ผลการสอบสาระภาษาอังกฤษของนักเรียนทุกโรงเรียนเพิ่มสูงขึ้น และสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับอำเภอองครักษ์

3.มีผลงานวิจัย1 เรื่อง

คุณค่าของชุมชนที่ร้องขอ คือ คุณภาพการศึกษา

2.การพัฒนาภาษา อังกฤษ เครือข่ายครูโรงเรียนมัธยมศึกษา    นครนายก

1.พัฒนาการสอนภาษา อังกฤษ ไม่น้อยกว่า 2 โรงเรียน

2.ผลการสอบกลุ่มสาระภาษาอังกฤษของนักเรียนแต่ละโรงเรียนเพิ่มสูงขึ้น

-กลุ่มโรงเรียนมัธยม จังหวัดนครนายก

1.ครูจำนวน 4 โรงเรียนได้รับการพัฒนาการสอนภาษาอังกฤษ

2.ผลการสอบกลุ่มสาระภาษาอังกฤษของนักเรียนแต่ละโรงเรียนเพิ่มสูงขึ้น และสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับจังหวัดนครนายก

คุณค่าของชุมชนที่ร้องขอ คือ คุณภาพการศึกษา

3.ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยววิถีชุมชน

ชุมชนสื่อสารภาษา อังกฤษกับนักท่องเที่ยวได้

-ชุมชนคลอง 15

-ชุมชนตลาดเก่า

สมาชิกชุมชน ร้อยละ 80 สื่อสารภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการท่องเที่ยววิถีชุมชน กับนักท่องเที่ยวได้

คนในชุมชนพัฒนาอาชีพ มีรายได้จากนักท่องเที่ยว เพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิตดีขี้น

4.การสร้างสุขภาวะที่ดีให้ผู้สูงอายุ

1.ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาวะที่ดี

2.มีผลการวิจัย 1 เรื่อง

-ชุมชนโพธิ์แทน

-ชุมชนเสาวภาผ่องศรี

1.ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการร้อยละ 100 มีสุขภาวะที่ดี

2.มีผลการวิจัย  1 เรื่อง

1.ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตดี มีสุขภาพแข็งแรง

2.เกิดองค์ความรู้ที่เชื่อมโยงทฤษฎีกับการปฏิบัติ  1 เรื่อง

5.การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ

1.ผู้สูงอายุ อย่างน้อยร้อยละ 80มีคุณภาพชีวิตดี

2.มีผลการวิจัย 1 เรื่อง

ชุมชนองครักษ์ นครนายก

1.ผู้สูงอายุ ในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ร้อยละ 100 มีคุณภาพชีวิตที่ดี

2.มีผลการวิจัย 1 เรื่อง

1.ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตดี มีสุขภาพแข็งแรง

2.เกิดองค์ความรู้ด้านการดูแลผู้สูงอายุ ในศูนย์ดูแลฯ

6.การบริหารจัดการท่องเที่ยวชุมชน

1.ชุมชนจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้

2.มีผลการวิจัย 1 เรื่อง

-ชุมชนคลอง 15

-ชุมชนตลาดเก่า

1.ชุมชนคลอง 15 และ ชุมชนตลาดเก่าจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้

2.มีผลการวิจัย 1 เรื่อง

1.ความสามารถจัดการท่องเที่ยวของชุมชน

2.องค์ความรู้การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

4.ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ แบบ Day Care

ผู้สูงอายุร้อยละ 80ช่วยเหลือตัวเองได้

-ชุมชนตลาดใหม่ เสาวภาผ่องศรี

ผู้สูงอายุร้อยละ 100 ดูแลตัวเองได้ ในระดับดีมาก

ผู้สูงอายุและผู้ดูแลในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

 5 ข้อ

IQA (1-5)

1,2,3,4,5

 5 ข้อ

 5 คะแนน

EdPEx (1-2)

1,2

ร้อยละ 30 (จาก80คะแนน)

 24 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐานรายการ
7.2-1-01รายงานผลด้านความพึงพอใจของผู้เรียนและลูกค้า
7.2-1-02รายงานผลด้านความไม่พึงพอใจของผู้เรียนและลูกค้า
7.2-2-01รายงานผลด้านความผูกพันของผู้เรียนและลูกค้า
7.2-2-02โล่เกียรติคุณ เด็กและเยาวชนดีเด่นในการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ(นางสาว ชยานิตย์ แซ่ว้าง) จากกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ 14 มกราคม 2566
7.2-2-03รางวัลชนะเลิศการประกวดสิ่งประดิษฐ์ด้านพยาบาล ระดับประเทศ
7.2-2-04เกียรติบัตร รางวัลผู้นำเยาวชนระดับอุดมศึกษา ในงาน 2023 (วรัญญา บุญทศ) จาก Thailand Leaders Conference จาก International Youth Fellowship เมื่อ 17 มิถุนายน 2023
7.2-3-01รายงานผลการบริการวิชาการที่สร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับสังคม
7.2-4-01รายงานผลการเผยแพร่ศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับสังคม
7.2-5-01รายงานผลการให้บริการทางวิชาการที่สร้างประโยชน์ให้ท้องถิ่นและสังคม