องค์ประกอบที่ 3 หลักสูตร

ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 หลักสูตร (โครงสร้างโปรแกรมและเนื้อหา)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7-9 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-7 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. หลักสูตรทันสมัยเป็นปัจจุบันและมีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม

         ในการปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจนั้น ทางหลักสูตรได้วางแผนการพัฒนาหลักสูตรโดยคำนึงถึสถานการณ์หรือพัฒนาการทางเศรษฐกิจ คือ

         แนวโน้มความต้องการศักยภาพในความเชี่ยวชาญทางภาษาอังกฤษในฐานะภาษาสากลของการดำเนินธุรกิจในอนาคต ได้แก่

1. สังคมวิวัฒนาการเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งเป็นยุคของเทคโนโลยีขั้นสูงที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการดำเนินการภาคธุรกิจหลายลักษณะและครอบคลุมเชื่อมโยงกันทุกพื้นที่ของโลกให้มีลักษณะเป็นโครงสร้างเดียวกันของห่วงโซ่มูลค่าโลก (Global Value Chain)ผ่านกระบวนการพัฒนาโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) ซึ่งเป็นวิวัฒนาการทางด้านข้อมูลของโรงงานแบบใหม่ ที่มีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันผ่านเครือข่ายต่าง ๆ เป็นสภาพแวคล้อม (Landscape) ใหม่ที่ผู้เข้าสู่ระบบการทำงานจำเป็นต้องมีทักษะทางธุรกิจเพื่อการแข่งขัน สภาพแวคล้อมนี้นำไปสู่ปัจัยที่สำคัญที่หลักสูตรภาษาอังกฤษธุรกิจต้องนำมาพิจารณา คือ

          (1) ความรวดเร็วของกระบวนการสินค้ (Fast Products) เช่น อุตสาหกรรมเสื้อผ้าและการแต่งกาย จากแนวคิด (Concept) สู่หน้าร้าน สู่ผู้บริโภค ที่เป็นสงครามการแข่งขันในความรวดเร็วทุกขั้นตอนเพื่อให้ถึงผู้บริโภคก่อนคู่แข่ง

          (2) การเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบ (Platformatization) และการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกดิ์สากล (International Commerce) จากการมีโครงสร้างพื้นฐานหรือแพลตฟอร์มที่เอื้อให้กับทุกโปรแกรมสำเร็จรูป ผสานกับการประมวลผลบนก้อนเมฆ (Cloud-Computing) ทำให้ทุกกิจกรรมทางธุรกิจผสานเป็นหนึ่งเดียวกัน ที่ทำให้ผู้บริโภคได้ราคาที่ถูกลง

         (3) การมีแนวปฏิบัติทางธุรกิจอย่างยั่งยืน ผู้ผลิตต้องมีระบบควบคุมติดตามทรัพย์สิน (Asset Tracking) เพื่อนำมาแปรใช้ใหม่ (Recycle) นำมาผลิตใหม่ (Remanufacture) และนำมาใช้ใหม่ (Reuse)จากวิวัฒนาการดังกล่าวส่งผลต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง 3 ระดับ คือ ระดับโลก ที่เรียกว่า โลกาภิวัตน์ (Globalization) ระดับภูมิภาค (Regionalization) และระดับท้องถิ่น (Localization) ประเทศไทยจึงสร้างโมเดลเศรษฐกิจไทยแลนด์ 4.0 เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนเพื่อให้วิสาหกิจใช้เทดใน โลฮีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้แข่งขันในเวทีโลกได้

2. ความก้าวหน้าทางการแพทย์และการรักษา ทำให้มนุษย์มีสุขภาพและ ะอนามัยที่ดีขึ้น อัตราการเสียชีวิตลคลง และมีอายุยืนมากขึ้น ขณะเดียวกันอัตราการเกิดลดลง สังคมจึงมีผู้สูงอายุมากขึ้นจนกลายเป็น “สังคมผู้สูงอายุ” อย่างไรก็ตาม มีการจำแนกวัยของผู้สูงอายุออกเป็น

        (1) วัยก่อนชราภาพ (65-74 ปี)

        (2) วัยชราภาพ (70 ปี ขึ้นไป

        (3) วัยชราภาพอาวุโส (90 ปี ขึ้นไป)

วัยก่อนชราภาพเป็นวัชที่สร้างผลิตภาพ(Productivity) ได้ ซึ่งเป็นการลดภาระด้านเศรษฐกิจและสังคมให้กับบุคคลช่วงวัยหนุ่มสาว ส่วนวัยชราภาพและชราภาพอาวุโส เป็นวัยที่สมควรได้รับสวัสดิการจากรัฐ

           จะเห็นได้ว่า การดำเนินธุรกิจมีความเป็นพลวัตที่เป็นไปด้วยความฉับไวของทุกภาคส่วนเชื่อมโยงถึงกันโดยมีภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งการสื่อสารแบบผชิญหน้าและที่ไหลเวียนไปตามระบบ ดังนั้น ผู้ที่มีความรู้ทางกาษาอังกฤษและสามารถใช้ได้อย่างช่ำชองจึงเป็นผู้มีโอกาสที่ดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษในการดำเนินการและให้บริการต่งๆ ทางธุรกิจ นอกจากนี้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางภาษาที่เข้าสู่ตลาดแรงงานที่ให้บริการค้านสุขภาพ และการดูแลผู้สูงอายุ ย่อมมีโอกาสความสำเร็จในอาชีพสูง เนื่องจากประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเป็นศูนย์กลางการบริการผู้สูงอายุและสุขภาพของภูมิภาคและของโลก

           ดังนั้น ภาคส่วนวิชาการด้านภาษาอังกฤษธุรกิจึงเห็นถึงความจำเป็นในการสร้างหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจที่มีกระบวนทัศน์ (Paradigm) ที่จะทำให้ผู้รียนเพิ่มพูนสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจให้บรรลุวิถีใหม่จากวิวัฒนาการอุตสาหกรรมยุค 4.0 และโมเคลเศรษฐกิจไทยแลนค์ 4.0 นี้

 

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ เป็นหลักสูตรที่มีความทันสมัย และมีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมในทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ

BE​ is an up-to-date program and related to industry, including the previous five First S-curve consisting of

1.Next-Generation Automotive 

  1. Smart Electronics
  2. Affluent, Medical and Wellness Tourism
  3. Agriculture and Biotechnology
  4. Food for the Future

Or the New S-curve, consisting of 

1.Next-Generation Automotive

  1. Aviation and Logistics
  2. Biofuels and Biochemicals
  3. Digital
  4. Medical Hub

 (First S-curve) ประกอบด้วย 

(1) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ( Next-Generation Automotive)

(2) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) 

(3) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี (Affluent, Medical and Wellness Tourism) 

(4) อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology) 

(5)อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future)

หรือ 5 อุตสาหกรรมอนาคต (New S-curve) ประกอบด้วย

(1) หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม (Robotics)

(2) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)

(3) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals)

(4) อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital)

(5) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)

ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกอุตสาหกรรมนั้นจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพราะอุตสาหกรรมเหล่านี้ล้วนผลิตเพื่อการส่งออกทั้งในระดับอาเซียนและในระดับโลก ทางหลักสูตรได้ให้เล็งเห็นว่า ด้วยสมรรถนะและศักยภาพในปัจจุบัน วิทยาลัยฯ สามารถสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้ที่ใช้ทักษะด้านภาษาอังกฤษดำเนินธุรกิจในสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงถึงกันทุกระดับที่สื่อสารทั่วถึงกันด้วยความรวดเร็ว ตลอดจนให้บัณฑิตเป็นผู้ให้บริการในภาคธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการบริการค้านสุขภาพในสังคมผู้สูงอายุได้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงได้พัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจนี้ ดังจะเห็นได้จากบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาซึ่งได้งานทำให้สถานประกอบการที่หลากหลาย

หลักฐาน :

3.1.1.1 มคอ.2

2. หลักสูตรครอบคลุม ทันสมัย และมีการสื่อสารไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

หลักสูตรมีความครอบคลุม ทันสมัย เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตร มีการสื่อสื่อสารไปยังผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ 

– สื่อสารไปยังผู้ที่สนใจเข้าศึกษาและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ผ่านทางโบว์ชัวร์ หน้าเว็บไซต์ของวิทยาลัย

– สื่อสารไปยังนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ผ่านคู่มือนักศึกษาในการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่

– สื่อสารไปยังอาจารย์ผู้สอนในการปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่

สื่อสารไปยังผู้ใช้บัณฑิตในการนิเทศนักศึกษาฝึกงานในสถานประกอบการต่างๆ

หลักฐาน :

3.1.2.1 โบว์ชัวร์

3.1.2.2 หน้าเว็บไซต์ของวิทยาลัย

3.1.2.3 คู่มือนักศึกษา

3.1.2.4 รายงานการนิเทศนักศึกษาฝึกงาน

3. การออกแบบเนื้อหาหลักสูตรสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

หลักสูตรพัฒนาโดยคณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตร มีการออกแบบหลักสูตรโดยแบ่งเป็นกลุ่มวิชาเฉพาะด้าน กลุ่มวิชาบังคับ กลุ่มวิชาเลือก กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และปรัชญาของหลักสูตร และเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของ สกอ. โดยแบ่งโครงสร้างของหลักสูตรออกเป็นทั้งหมด จำนวน 124 หน่วยกิต ประกอบด้วย

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 30 หน่วยกิต

หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 88 หน่วยกิต

หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน 6 หน่วยกิต

หมวดวิชา โครงสร้างหลักสูตรปรับปรุง 2562
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

   1.1 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์

   1.2 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์

   1.3 กลุ่มวิชาภาษาศาสตร์

   1.4 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

   1.5 กลุ่มวิชาพัฒนาคุณภาพชีวิต

30 หน่วยกิต

3 หน่วยกิต

5 หน่วยกิต

15 หน่วยกิต

6 หน่วยกิต

1 หน่วยกิต

2. หมวดวิชาเฉพาะ

   2.1 กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน

   2.2 กลุ่มวิชาบังคับ

   2.3 กลุ่มวิชาเลือก

   2.4 กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา

88 หน่วยกิต

30 หน่วยกิต

33 หน่วยกิต

15 หน่วยกิต

10 หน่วยกิต

3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 124 หน่วยกิจ

หลักสูตรจัดการเรียนทั้งในภาคเรียนต้นและภาคเรียนปลาย โดยกำหนดให้รายวิชาต่างๆนั้นจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนักศึกษา และการพัฒนาผลการเรียนรู้ในแต่ละด้าน  กล่าวคือ แต่ละรายวิชาที่จัดการเรียนการสอนได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดและประเมินผลในรายวิชาอย่างละเอียดและแสดงใน มคอ.3 ทุกรายวิชา โดยแต่ละรายวิชาได้ระบุผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้านร่วมกับการส่งผลการเรียนในแต่ละรายวิชาซึ่งแสดงใน มคอ.5

หลักสูตรมีการจัดการเรียนการสอนตาม curriculum mapping ตามกรอบ TQF เป็นไปตามเกณฑ์ของ สกอ. และได้ดำเนินการจัดการศึกษาสอดคล้องกับปรัชญาของหลักสูตรที่มุ่งให้บัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจ ที่ยึดมั่นคุณธรรม จริยธรรม ในการประกอบอาชีพและดำเนินชีวิต เพื่อดำรงสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน

ทั้งนี้ทางหลักสูตรยังได้ดำเนินการวัดและประเมินผลการจัดหลักสูตร มีการประเมินโดยใช้แบบสอบถามโดยการให้นักศึกษาประเมินผู้สอน และนำผลที่ได้มาใช้ในการปรับปรุง/ออกแบบเนื้อหาให้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ในภาคเรียนต่อๆไป 

 

หลักฐาน :

3.1.3.1 มคอ.2

3.1.3.1 มคอ.3

3.1.3.3 มคอ.5

3.1.3.4 ผลการประเมินจากนักศึกษา

4. การออกแบบหลักสูตรสอดคล้องผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

หลักสูตรมีการออกแบบ ควบคุม กำกับการจัดทำหลักสูตรรายวิชาต่างๆ ให้มีเนื้อหาที่ทันสมัยและ

เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุคมศึกษาแห่งชาติ โดยการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกเข้ามามีส่วน

ร่วมกับคณะกรรมการบริหารหลักสูตรในการออกแบบโครงสร้างหลักสูตรและจัดทำรายวิชาต่างๆ ให้มีเนื้อหาที่

ทันสมัย และนำข้อมูลจากการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตจากหน่วยงานภาครัฐ หรือสถาน

ประกอบการ มาประกอบในการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต ซึ่งกำหนดไว้ใน TQF 2 หมวดที่ 7 การประกันคุณภาพหลักสูตร

 

หลักฐาน :

3.1.4.1 มคอ.2

5. โครงสร้างหลักสูตรจัดลำดับวิชาอย่างเป็นระบบและเหมาะสม

หลักสูตรมีการจัดลำดับรายวิชาให้สอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตร โดยมีแผนการเรียนในแต่ละภาคเรียนตลอด 4 ปีการศึกษา โดยคำนึงถึงลำดับชั้นในการเรียน วัตถุประสงค์ ของหลักสูตร อีกทั้งมีการปรับลำดับรายวิชาในแผนการเรียนตามความเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาในรายวิชาเลือกของทุกปีการศึกษา

ตารางแสดงแผนการเรียนในแต่ละภาคการศึกษา

แผนการศึกษา

 ปีที่ 1         ภาคการศึกษาที่ 1

หมวดวิชา รหัสและชื่อวิชา น (ท-ป-ศ)
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 100 1XX กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 3(3-0-6)
100 2XX กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 1(0-2-1)
100 3XX กลุ่มวิชาภาษาศาสตร์ 3(3-0-6)
100 4XX กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 3(3-0-6)
กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน 121 103  การฟังและการพูด 1 3(2-2-5)
121 107  การอ่านอนุเฉท 3(3-0-6)
รวมหน่วยกิต 16

 

ปีที่ 1          ภาคการศึกษาที่ 2

หมวดวิชา รหัสและชื่อวิชา น (ท-ป-ศ)
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 100 2XX กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 3(3-0-6)
100 3XX กลุ่มวิชาภาษาศาสตร์ 3(3-0-6)
100 3XX กลุ่มวิชาภาษาศาสตร์ 3(3-0-6)
100 4XX กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 3(3-0-6)
กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน     121 104  การฟังและการพูด 2                              3(2-2-5)
รวมหน่วยกิต 15

ปีที่ 2          ภาคการศึกษาที่ 1

หมวดวิชา รหัสและชื่อวิชา น (ท-ป-ศ)
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 100 2XX กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 1(0-2-1)
100 3XX กลุ่มวิชาภาษาศาสตร์ 3(3-0-6)
กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน 121 102  ไวยากรณ์เพื่อสื่อสาร 3(2-2-5)
121 105  การพูดเบื้องต้น 3(3-0-6)
121 106  การสื่อสารระหว่างบุคคล 3(2-2-5)
121 109  การเขียนอนุเฉท 3(2-2-5)
รวมหน่วยกิต 16

 

ปีที่ 2          ภาคการศึกษาที่ 2

หมวดวิชา รหัสและชื่อวิชา น (ท-ป-ศ)
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 100 3XX กลุ่มวิชาภาษาศาสตร์ 3(3-0-6)
100 5XX กลุ่มพัฒนาคุณภาพชีวิต 1(0-2-1)
กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน 121 101  การออกเสียงภาษาอังกฤษ 3(3-0-6)
121 110  ภาษาอังกฤษสำหรับการนำเสนอธุรกิจ 3(3-0-6)
กลุ่มวิชาบังคับ 121 201  การพูดภาษาอังกฤษธุรกิจขั้นสูง 3(3-0-6)
121 202  การเจรจาทางธุรกิจ 3(3-0-6)
121 203  การอ่านเชิงวิจารณ์ 3(3-0-6)
รวมหน่วยกิต 19

ปีที่ 3          ภาคการศึกษาที่ 1

หมวดวิชา รหัสและชื่อวิชา น (ท-ป-ศ)
กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน 121 108   การอ่านและการตีความ 3(3-0-6)
กลุ่มวิชาบังคับ 121 204   การเขียนภาษาอังกฤษธุรกิจ 3(3-0-6)
121 205   การเขียนเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ 3(3-0-6)
121 206   การเขียนภาษาอังกฤษธุรกิจขั้นสูง 3(3-0-6)
121 207   การแปลและการเป็นล่ามทางธุรกิจ 3(3-0-6)
121 208   ภาษาอังกฤษสำหรับการประชาสัมพันธ์ 3(3-0-6)
รวมหน่วยกิต 18

 

ปีที่ 3          ภาคการศึกษาที่ 2

หมวดวิชา รหัสและชื่อวิชา น (ท-ป-ศ)
กลุ่มวิชาบังคับ 121 209   ภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ 3(3-0-6)
121 210   ภาษาอังกฤษเพื่อการตลาด 3(3-0-6)
กลุ่มวิชาเลือก 121 xxx 3(3-0-6)
121 xxx 3(3-0-6)
121 xxx 3(3-0-6)
121 xxx 3(3-0-6)
รวมหน่วยกิต 18

ปีที่ 4  ภาคการศึกษาที่ 1

หมวดวิชา รหัสและชื่อวิชา น (ท-ป-ศ)
กลุ่มวิชาบังคับ 121 211   การทำวิจัยทางธุรกิจ 3(3-0-6)
วิชาเลือก 121 xxx 3(3-0-6)
วิชาเลือกเสรี xxx xxx 3(3-0-6)
xxx xxx 3(3-0-6)
วิชาสหกิจศึกษา 121 601 สัมมนาสหกิจศึกษา 1(0-2-1)
รวมหน่วยกิต 13

 

ปีที่ 4          ภาคการศึกษาที่ 2

หมวดวิชา รหัสและชื่อวิชา น (ท-ป-ศ)
วิชาสหกิจศึกษา 121 602 สหกิจศึกษา 9
รวมหน่วยกิต 9

หลักฐาน :

3.1.5.1 แผนการเรียนของหลักสูตร ที่ระบุใน มคอ.2

 

6. หลักสูตรมีทางเลือกสำหรับผู้เรียนที่ต้องการความเชี่ยวชาญพิเศษ

       วิทยาลัยส่งเสริมความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เพื่อให้โอกาสนักศึกษา ได้ศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยทั่วโลก หลักสูตรปริญญาบัตรในหลายสาขาวิชาเปิดโอกาสให้นักศึกษาเรียนต่อต่างประเทศเป็นระยะเวลา 1-2 ปี กับมหาวิทยาลัยที่เป็นพันธมิตร ซึ่งปริญญาบัตรที่ได้รับจากมหาวิทยาลัยเหล่านี้ได้รับการยอมรับและรับรองจากทั่วโลก อาทิ Patten University ประเทศสหรัฐอเมริกา, มหาวิทยาลัย Waiariki Institute of Technology ประเทศนิวซีแลนด์, University of Northampton, University of South Wales, University of East London ประเทศอังกฤษ, Jose Rizal University และ Iloilo State College of fisheries ประเทศฟิลิปปินส์

     นอกจากนี้ทางหลักสูตรจัดให้มีทางเลือกผู้เรียน โดยกำหนดในแผนการศึกษาให้มีรายวิชากลุ่มเลือกเสรี จำนวน 6 หน่วยกิต เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกศึกษาได้ตามความสนใจ โดยเลือกรายวิชาที่เปิดสอนในวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา

สำหรับรายวิชาในกลุ่มวิชาเลือก ทางหลักสูตรกำหนดให้นักศึกษาเลือกเรียนหนึ่งกลุ่มจากสามกลุ่ม ดังนี้

  1. กลุ่มการจัดการธุรกิจ

121 301    หลักการจัดการ                                                              3(3-0-6)

Principles of Management

121 302    หลักเศรษฐศาสตร์                                                          3(3-0-6)

Principles of Economics

121   303  ธุรกิจการบิน                                                                 3(3-0-6)

Airline Business

121   304  การบริหารทรัพยากรมนุษย์                                               3(3-0-6)

Human Resource Management

121   305  กฎหมายธุรกิจ                                                               3(3-0-6)

Business Law

121   306  การใช้คอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ                                             3(3-0-6)

Application of Computer in Business

121   307  การพัฒนาบุคลิกภาพสำหรับนักธุรกิจ                                   3(3-0-6)

Personality Development for Businessmen

121   308  สัมมนาการจัดการธุรกิจ                                                   3(3-0-6)

Seminar on Business Management

  1. กลุ่มธุรกิจสมัยใหม่

121  401   การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม                                                 3(3-0-6)

Cross Cultural Communication

121  402   ธุรกิจการค้าสมัยใหม่                                                       3(3-0-6)

Modern Business Trade

121  403   การจัดการประชุมและนิทรรศการ                                       3(3-0-6)

Conference and Exhibition Management

121  404   การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์                                                 3(3-0-6)

E-Commerce

121  405   การเป็นผู้ประกอบการสมัยใหม่                                          3(3-0-6)

Start-Up Entrepreneur

121  406   การค้าระหว่างประเทศ                                                    3(3-0-6)

International Trade

121  407   ผู้จัดทำเนื้อหาออนไลน์                                                     3(3-0-6)

Online Content Provider

121  408   สัมมนาธุรกิจสมัยใหม่                                                      3(3-0-6)

Seminar on Modern Business

  1. กลุ่มธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพและสังคมผู้สูงอายุ

121 501    อุตสาหกรรมบริการ                                                        3(3-0-6)

Service Industry

121 502    ธุรกิจการบริการด้านสุขภาพ                                              3(3-0-6)

Service Business for Health

121 503    ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ                                                   3(3-0-6)

Food Business for Health

121 504    ธุรกิจการบริการเพื่อผู้สูงอายุ                                              3(3-0-6)

Elderly-Care Service Business

121 505    ธุรกิจออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ                                           3(3-0-6)

Physical Exercise Business for Health

121 506    จัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ                                          3(3-0-6)

Health Tourism Management

121 507    การจัดการสปาและการบำบัด                                             3(3-0-6)

Spa and Therapy  Management

121 508    สัมมนาธุรกิจการบริการเพื่อสุขภาพและสังคมผู้สูงอายุ               3(3-0-6)

Seminar on Health and Elderly-Care Service Business

 

หลักฐาน :

3.1.6.1 ข้อมูลความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยนานาชาติ

3.1.6.2 ข้อมูลรายวิชาเลือกของหลักสูตร

7. หลักสูตรได้รับการทบทวนให้ทันสมัยและความต้องการของอุตสาหกรรม

หลักสูตรได้รับการทบทวนให้ทันสมัยและความต้องการของอุตสาหกรรม

ในปีการศึกษา 2565 หลักสูตรได้จัดทบทวนโดยได้ดำเนินปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร (ปรับปรุงเล็กน้อย) ดังนี้

  1. ขอปรับปรุงคำอธิบายรายวิชาภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) จำนวน 2 รายวิชา คือ 

– รายวิชา 121 101 การออกเสียงภาษาอังกฤษ (Pronunciation) เนื่องจากคำอธิบายรายวิชาไม่ชัดเจนในบางประเด็น ทำให้ผู้สอนแต่ละคนเน้นเนื้อหาสาระแตกต่างกันไป

– รายวิชา 121 106 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) เนื่องจากคำอธิบายรายวิชาระบุเนื้อหาไม่ชัดเจนและมีบางส่วนที่ซ้ำซ้อนับรายวิชา 100 203 การสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์ (Communication and Human Relations) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

ซึ่งเป็นการปรับเล็กน้อยไม่กระทบต่อโครงสร้างหลักสูตร ผ่านความเห็นชอบจากสภาวิชาการ ในการประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2565 แล้และมีผลบังคับใช้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ที่ประชุมสภาวิทยาลัยฯ มีมติอนุมัติในการประชุม ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2565

  1. ขอปรับปรุงชื่อรายวิชาภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) โดยขอปรับปรุงชื่อรายวิชา จำนวน 1 รายวิชา คือ รายวิชา 121 307 การพัฒนาบุคลิกภาพสำหรับนักธุรกิจ (Personality Development for Businessmen) ซึ่งเป็นการปรับเล็กน้อยไม่กระทบต่อโครงสร้างหลักสูตร มีผลบังคับใช้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ที่ประชุมสภาวิทยาลัยฯ มีมติอนุมัติในการประชุม ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2565

นอกจากนี้ทางหลักสูตรกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนาหลักสูตร (ปรับปรุงหลักสูตร) ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร (ทุกรอบ 5 ปี) อีกด้วย

 

หลักฐาน : 3.1.7.1 โครงการ HS 01 โครงการพัฒนาหลักสูตรและการสอน

 สรุปผลการดำเนินการโครงการพัฒนาหลักสูตรและการสอน

                   หลักฐานประกอบโครงการพัฒนาหลักสูตรและการสอน

8. หลักสูตรเป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

หลักสูตรมีระบบการกำกับการบริหารหลักหลักสูตรเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ตามที่ระบุไว้ใน มคอ.2 หมวดที่7 เรื่องการกำกับมาตรฐาน กล่าวคือ

ในการบริหารหลักสูตร จะมีคณะกรรมการประจำหลักสูตร อันประกอบด้วยอาจารย์ประจำหลักสูตร 5 คน และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีคุณวุฒิตรงกับวิชาเอก 3 คน ทำหน้าที่รับผิดชอบโดยมีคณบดีเป็นผู้

กำกับดูแลและให้คำแนะนำ ตลอดจนกำหนดนโยบายปฏิบัติให้แก่คณะกรรมการประจำหลักสูตร เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และหลักสูตรมีการบริหารจัดการหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา และตามกรอบ

มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ตลอดระยะเวลาที่มีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร วางแผนจัดการเรียนการสอนร่วมกับผู้บริหารของคณะและอาจารย์ผู้สอนติดตามและรวบรวมข้อมูลสำหรับใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง

การจัดการหลักสูตรมีคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ซึ่งมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

1) พัฒนาและปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรและรายวิชาให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ

2) จัดหาและกำหนดอาจารย์ผู้สอนรายวิชาในหลักสูตร ที่มีความรู้ความสามารถและคุณสมบัติตรงตามรายวิชาที่สอน

3) จัดตารางการเรียนการสอน ตารางสอบ ตารางการฝึกปฏิบัติ ตามที่กำหนดในหลักสูตร

4) ควบคุม กำกับ ติดตาม และประเมินผลการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ให้มีคุณภาพและ

เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและรายวิชา

5) การกำหนดอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อให้คำแนะนำแก่นักศึกษา

6) ส่งเสริมและจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพของอาจารย์ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การส่งเสริมการผลิตผลงานวิชาการ 

7) ส่งเสริมและจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตตามเป้าหมายด้านคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร

8) ติดตามประเมินผลหลักสูตร โดยศึกษาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้ใช้บัณฑิต ศิษย์เก่า อาจารย์และนักศึกษาปัจจุบัน

 

หลักฐาน :

3.1.8.1 TQF 2

3.1.8.2 ตารางแสดงมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

9. บริหารหลักสูตรให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาสูงขึ้น โดยเปรียบเทียบปีการศึกษา 2563-2564

ปีการศึกษา 2563 ปีการศึกษา 2564
1. ด้านคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ 3.65 4.48
2. ด้านความรู้ความสามารถทางวิชาการ/วิชาชีพ 3.66 3.95
3. ด้านเชาว์ปัญญาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน 3.70 4.09
4. ด้านปฏิสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานและความรับผิดชอบ 3.66 4.35
5. ด้านทักษะการวิเคราะห์ ตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี 3.57 3.86

และผลผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ในปีการศึกษา 2565 เป็นดังนี้

ปีการศึกษา 2565
1. ด้านความรู้ 3.98
2. ด้านทักษะ 3.91
3. ด้านจริยธรรม 4.05
4. ด้านลักษณะบุคคล 4.05

 

หลักฐาน : 3.1.9.1  กราฟเปรียบเทียบผลลัพธ์การเรียนของผู้เรียนตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2563-2564

      3.1.9.2  ตารางผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนของผู้เรียนตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2565

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ) การประเมินตนเอง
…5 ข้อ… IQA(1-9) 1,2,3,4,5,6,8,9 ….8…ข้อ …5..คะแนน
AUN-QA(1-7) 1,5 ระดับ……2…….

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐาน รายการ
3.1.1 3.1.1.1 มคอ.2
3.1.2 3.1.2.1 โบว์ชัวร์

3.1.2.2 หน้าเว็บไซต์ของวิทยาลัย

3.1.2.3 คู่มือนักศึกษา

3.1.2.4 รายงานการนิเทศนักศึกษาฝึกงาน

3.1.3 3.1.3.1 มคอ.2

3.1.3.1 มคอ.3

3.1.3.3 มคอ.5

3.1.3.4 ผลการประเมินจากนักศึกษา

3.1.4 3.1.4.1 มคอ.2
3.1.5 3.1.5.1 แผนการเรียนของหลักสูตร ที่ระบุใน มคอ.2
3.1.6 3.1.6.1 ข้อมูลความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยนานาชาติ

3.1.6.2 ข้อมูลรายวิชาเลือกของหลักสูตร

3.1.7 3.1.7.1 โครงการ HS 01 โครงการพัฒนาหลักสูตรและการสอน

 สรุปผลการดำเนินการโครงการพัฒนาหลักสูตรและการสอน

                   หลักฐานประกอบโครงการพัฒนาหลักสูตรและการสอน

3.1.8 3.1.8.1 TQF 2

3.1.8.2 ตารางแสดงมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

3.1.9 3.1.9.1  กราฟเปรียบเทียบผลลัพธ์การเรียนของผู้เรียนตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2563-2564

 3.1.9.2  ตารางผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนของผู้เรียนตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2565

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเอง IQA AUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 …5… 2…

Leave a Reply