องค์ประกอบที่ 5 การประเมินผล

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การประเมินผล (การประเมินผู้เรียน)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7-9 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-5 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. การประเมินผู้เรียนสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

ทางหลักสูตรมีการประเมินนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่แรกเข้ามาศึกษา ช่วงทำการศึกษา และการทดสอบก่อนจบการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. การประเมินนักศึกษาตั้งแต่แรกเข้า โดยกำหนดคุณสมบัติการรับเข้าของนักศึกษา โดยหลักสูตรกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาใน มคอ.2 ดังนี้

  ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา เป็นผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า และมีคุณสมบัติตามที่วิทยาลันนานาชาติเซนต์เทเรซากำหนด

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาเป็นผู้ดำเนินการคัดเลือกเอง

  1. การประเมินนักศึกษาในระหว่างการเรียนปรับพื้นฐานก่อนเริ่มภาคการศึกษา (Intensive English Program) ทางวิทยาลัยกำหนดให้มีการประเมินผลก่อน-หลังเรียนปรับพื้นฐาน อีกทั้งยังกำหนดให้มีการสอบวัดผลอีกด้วย
  2. การประเมินนักศึกษาระหว่างเรียน ใช้การวัดผลในหลายวิธีขึ้นกับความเหมาะสมของแต่ละรายวิชา ทั้งการทดสอบข้อเขียน การสอบปฏิบัติ การทำกรณีศึกษา การเขียนรายงาน การเขียนงานวิจัย และการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ โดยมีการระบุใน มคอ.3 ระบุชัดเจนถึงเนื้อหาบทเรียน วิธีการเรียน การวัดผล 
  3. มีการประเมินผลนักศึกษาก่อนจบการศึกษา โดยใช้การประเมินจากการนำเสนอสหกิจศึกษาของนักศึกษาและผลการการประเมินจากสถานประกอบการที่นักศึกษาฝึกงาน  นอกจากนี้ยังมีการสอบ Exit  Exam (TOEIC) อีกด้วย

 

หลักฐาน ; 5.1.1.1 มคอ.2

                   5.1.1.2 ระบบการรับนักศึกษา

                   5.1.1.3 ประกาศระเบียบวิทยาลัย

                   5.1.1.4 ผลการสอบก่อน-หลังเรียนปรับพื้นฐาน

                   5.1.1.5 ผลการประเมินจากสถานประกอบ

                   5.1.1.6 ผลการสอบ Exit  Exam (TOEIC)

2. มีการประเมินผลและการอุทธรณ์ผลการประเมินที่ชัดเจน

หลักสูตรมีการกำหนดทั้งระยะเวลาในการประเมิน วิธีการประเมิน การระบุรายการย่อยและให้น้ำหนักการประเมินแต่ละรายการ มีความชัดเจน โดยระบุไว้ตาม มคอ.3 มีการแสดงเอกสาร มคอ.3 และชี้แจงข้อมูลให้นักศึกษาทราบในวันแรกของการเรียนในรายวิชา โดยอธิบายรายละเอียดในการเข้าห้องเรียนครั้งแรก มีการรายงานผลการประเมินตาม มคอ.5 โดยทั่วไปในแต่ละรายวิชาจะมีกระบวนการประเมินในทางปฏิบัติ ดังนี้

  1. มีการประเมินหลังการสอบย่อยในห้องเรียน
  2. มีการประเมินจากการสอบกลางภาค
  3. มีการประเมินจากรายงาน/งานวิจัย และการฝึกปฏิบัติ
  4. มีการประเมินจากการสอบปลายภาค

การประเมินผลบอกคะแนนหลังการสอบประมาณ 1 สัปดาห์ จะมีการสรุปข้อผิดพลาดของนักศึกษาบ้างเป็นบางกรณี (ในกรณีที่นักศึกษาสอบตกหรือทำคะแนนได้น้อย) ข้อสอบมีทั้งแบบอัตนัยและปรนัย มีการระบุสัดส่วนคะแนนที่ใช้ในการวัดผล (เป็น Rubrics ที่กำหนดขึ้นเอง) มีการระบุวิธีการตัดเกรดว่าเป็นแบบอิงเกณฑ์ และจะระบุคะแนนไว้อย่างชัดเจน หากรายวิชาใดที่มีผลการประเมินผิดปกติให้มีการทำบันทึกชี้แจงถึงคณะฯ

ผลคะแนนกิจกรรมและการสอบย่อยในชั้นเรียน สอบกลางภาคและปลายภาค จะมีการประกาศแจ้งให้นักศึกษาทราบ หากนินักศึกษามีข้อสงสัยสามารถสอบถามผู้สอนได้โดยตรง และสามารถปรับแก้ไขได้ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ โดยผู้สอนในแต่ละรายวิชาจะมีการชี้แจงให้นักศึกษาทราบในการเรียนครั้งแรก และเป็นระยะๆตลอดการศึกษา

หากทราบระดับเกรดแล้ว หากมีข้อสงสัย นักศึกษาสามารถดำเนินการได้ 2 กรณี คือ สอบถามจากอาจารย์ผู้สอนเพื่อขอดูคะแนนการสอบ หรือดำเนินการตามขั้นตอนการเขียนคำร้องเพื่อขอรับการตรวจสอบ ทบทวน หรือขอทราบคะแนนในแต่ละรายวิชาผ่านสำนักทะเบียนและวัดผลได้

 

หลักฐาน : 5.1.2.1 มคอ.5

                   5.1.2.2 ระบบการอุทธรณ์ผลการประเมินผู้เรียน

3. มีมาตรฐานและขั้นตอนการประเมินความก้าวหน้า และการสำเร็จการศึกษาของผู้เรียนอย่างชัดเจนและเปิดเผย

หลักสูตรมีการใช้ระบบสารสนเทศในการบันทึกผลการศึกษา และการตรวจสอบการสำเร็จการศึกษาของผู้เรียนที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึงระบบได้ตลอดเวลาทั้งในและนอกสถาบัน

 

หลักฐาน : 5.1.3.1 ระบบสารสนเทศ MIS

4. มีวิธีการประเมินผล ที่คลอบคลุม วิธีการ ระยะเวลา เกณฑ์การประเมิน การกระจายค่าน้ำหนักและการตัดเกรด ที่มีความถูกต้อง เชื่อถือได้ และเป็นธรรม

หลักสูตรมีการปฏิบัติการประเมินผลตามปฏิทินการศึกษาที่กำหนดโดยวิทยาลัย และผลการประเมินในแต่ละครั้งของสาขาวิชาจะส่งต่อไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลตามกำหนด เพื่อทำการทวนสอบ การประเมินผลการกระจายค่าน้ำหนัก และการตัดเกรดตามเกณฑ์การประเมินที่หลักสูตรกำหนด เพื่อให้ผลการประเมินมีความถูกต้อง เชื่อถือได้ และเป็นธรรมกับผู้เรียน

 

หลักฐาน : 5.1.4.1 ปฏิทินการศึกษา 2565

                  5.1.4.2 ระเบียบวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๙ และระเบียบวิทยาลัยนานาชาติชนต์เทรซา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๙ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒

5. มีวิธีการประเมินเพื่อวัดผลสำเร็จของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรและรายวิชา

หลักสูตรนำผลการประเมินรายวิชาที่ผ่านการทวนสอบแล้ว มาจัดทำรายงานการวัดผลสำเร็จของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของรายวิชา  และรายงานการวัดผลสำเร็จของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรรายชั้นปีเพื่อให้มั่นใจว่ามีผลการดำเนินการเป็นไปตามที่หลักสูตรกำหนด

 

หลักฐาน : 5.1.5.1 ผลการทวนสอบ

                  5.1.5.2 รายงานการวัดผลสำเร็จของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรรายชั้นปี

5.1.5.3 TQF 5

5.1.5.4 TQF 7

6. ให้ข้อมูลป้อนกลับกับผู้เรียนที่เหมาะสมกับระยะเวลาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

การจัดการเรียนการสอนแต่ละรายวิชา จะมีการประกาศคะแนนสอบกลางภาคและปลายภาคให้นักศึกษารับทราบผ่านทางระบบทะเบียนออนไลน์ เพื่อให้นักศึกษาประเมินผลการเรียนของตนเองได้อย่างคร่าวๆสำหรับการเรียนซ้ำในบางรายวิชา (ถ้ามี)  เมื่อนักศึกษาได้รับทราบผลการสอบแล้ว สามารถพบอาจารย์เพื่อให้นักศึกษาที่มีปัญหาในการเรียนมาพบสำหรับวางแผนในการพัฒนาการเรียนรู้เป็นรายบุคคล หรือในกรณีที่นักศึกษาที่มีข้อสงสัย ซึ่งสามารถสะท้อนทั้งในรูปแบบของการพูดคุยและการทำแบบประเมินเพื่อให้ผู้สอนปรับเนื้อหาหรือกระบวนการจัดการเรียนการสอน

หลังจากการจัดการเรียนการสอนเสร็จสิ้น ผู้สอนจะต้องระบุผลการประเมินของนักศึกษาในรายวิชา นำเอาข้อเสนอแนะของนักศึกษาในรายวิชามาระบุในมคอ.5 และมคอ.6 เพื่อนำไปวางแผนในการจัดการเรียนการสอนในเทอมต่อไป

นอกจากนี้ทางหลักสูตรยังมีการให้ข้อมูลป้อนกลับหลังการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรม Seminar Workshop in English Language Development Program กิจกรรมสัมมนาทางวิชาการ/วิชาชีพ เป็นต้น

หลักฐาน ; 5.1.6.1 รายงานสรุปการให้คำปรึกษา

                   5.1.6.2 มคอ.5

                   5.1.6.3 มคอ.6

7. มีการทบทวนและปรับปรุงการประเมินผลผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

หลักสูตรมีการทบทวนและปรับปรุงการประเมินผลผู้เรียนตามกระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา

  1. การทวนสอบมาตรฐานการเรียนรู้ขณะนักศึกษายังไม่สำเร็จการศึกษา

1.1 ให้อาจารย์แสดงตัวอย่างการประเมินผลทุกรายวิชาเพื่อการทวนสอบ

1.2 จัดตั้งกรรมการเพื่อตรวจสอบการให้คะแนนในรายวิชาหรือรายงานของผู้เรียน

1.3 เปรียบเทียบการให้คะแนนข้อสอบแต่ละข้อในแต่ละรายวิชา ตามเกณฑ์ที่กำหนดเพื่อให้ผู้สอนมีมาตรฐานการให้คะแนน โดยเฉพาะรายวิชาที่มีผู้สอนมากกว่า 1 คน

  1. การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้หลังจากนักศึกษาสำเร็จการศึกษา

2.1 จัดตั้งคณะกรรมการในการทวนสอบมาตรฐานการเรียนรู้หลังจากนักศึกษาสำเร็จการศึกษา

2.2 ดำเนินการทวนสอบหลังจากนักศึกษาสำเร็จการศึกษา

2.2.1 สำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิตแต่ละรุ่นที่สำเร็จการศึกษา โดยการวิจัยหรือรายงานผลสัมฤทธิ์การมีงานทำของบัณฑิต และนำผลมาปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน

2.2.2 ตรวจสอบจากสถานศึกษาและสถานประกอบ การ โดยการตอบแบบสอบถามหรือการสัมภาษณ์ เพื่อประเมินความพึงพอใจในบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา และเข้าทำงานในสถานประกอบการนั้น ๆ

หลักฐาน : 5.1.7.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการทวนสอบ

                  5.1.7.2 ผลการวนสอบ

                 5.1.7.3 รายงานการมีงานทำของบัณฑิต

                 5.1.7.4 ผลประเมินความพึงพอใจในบัณฑิต

8. มีการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้และการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน

ทางหลักสูตรได้ทำการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาทุกชั้นปี ผลวิเคราะห์ผู้เรียนทุกชั้นปีดังนี้

ผลลัพธ์ผู้เรียน ชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 2 ชั้นปีที่ 3 ชั้นปีที่ 4
1. ด้านความรู้ 4.30 3.65 3.79 3.94
2. ด้านทักษะ 4.20 3.68 3.83 3.94
3. ด้านจริยธรรม 4.40 3.95 3.81 4.03
4. ด้านลักษณะบุคคล 4.40 3.84 3.81 4.14

 และในด้านการพัฒนาผู้เรียนในด้านต่างๆ ผลวิเคราะห์ ดังนี้

การพัฒนาผู้เรียน ชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 2 ชั้นปีที่ 3 ชั้นปีที่ 4
1. ผลลัพธ์ผู้เรียนสู่การปฏิบัติให้เกิดผล 4.47 3.63 3.74 3.93
2. ด้านการวิจัยและนวัตกรรม 4.72 3.78 3.77 3.78
3. ด้านการบริการวิชาการ 4.60 3.78 3.70 3.70
4. ด้านศิลปวัฒนธรรม 4.44 3.68 3.78 3.90
5. ด้านบริหารจัดการ 4.32 3.72 3.76 3.89

 

หลักฐาน 5.1.8.1 ผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาทุกชั้นปี

9. มีการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษา

หลักสูตรมีการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่กำหนดในหลักสูตรการ ดังแสดงใน มคอ.3 และ มคอ.5

 

หลักฐาน : 5.1.9.1 มคอ.3

                  5.1.9.2 มคอ.5

5.1.9.3 ผลการประเมินผลลัพธ์ผู้เรียน

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ) การประเมินตนเอง
 ….9ข้อ…. IQA(1-9) 1,2,4,5,6,7,8 ….7…ข้อ …5..คะแนน
AUN-QA(1-7) 1,2,4,6,7 ระดับ……2…….

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐาน รายการ
5.1.1 5.1.1.1 มคอ.2

5.1.1.2 ระบบการรับนักศึกษา

5.1.1.3 ประกาศระเบียบวิทยาลัย

5.1.1.4 ผลการสอบก่อน-หลังเรียนปรับพื้นฐาน

5.1.1.5 ผลการประเมินจากสถานประกอบ

5.1.1.6 ผลการสอบ Exit  Exam (TOEIC)

5.1.2 5.1.2.1 มคอ.5

5.1.2.2 ระบบการอุทธรณ์ผลการประเมินผู้เรียน

5.1.3 5.1.3.1 ระบบสารสนเทศ MIS
5.1.4 5.1.4.1 ปฏิทินการศึกษา 2565

 5.1.4.2 ระเบียบวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๙ และระเบียบวิทยาลัยนานาชาติชนต์เทรซา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๙ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒

5.1.5 5.1.5.1 ผลการทวนสอบ

5.1.5.2 รายงานการวัดผลสำเร็จของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรรายชั้นปี

5.1.5.3 TQF 5

5.1.5.4 TQF 7

5.1.6 5.1.6.1 รายงานสรุปการให้คำปรึกษา

5.1.6.2 มคอ.5

5.1.6.3 มคอ.6

5.1.7 5.1.7.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการทวนสอบ

5.1.7.2 ผลการวนสอบ

5.1.7.3 รายงานการมีงานทำของบัณฑิต

5.1.7.4 ผลประเมินความพึงพอใจในบัณฑิต

5.1.8 5.1.8.1 ผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาทุกชั้นปี
5.1.9 5.1.9.1 มคอ.3

5.1.9.2 มคอ.5

5.1.9.3 ผลการประเมินผลลัพธ์ผู้เรียน

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเอง IQA AUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 …5… …2…

Leave a Reply