องค์ประกอบที่ 2 ผลลัพธ์การเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ที่ 2.1  ผลลัพธ์การเรียนรู้ (ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-5 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. กำหนดและสื่อสาร ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

     การดำเนินการ

              สาขาวิชาสื่อดิจิทัลเกี่ยวข้องกับอุสาหกรรมการผลิตสื่อ ที่เกี่ยวข้องในทุกกระบวนการผลิตสื่อ ตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นในการคิดสร้างสรรค์งาน การเขียนบท การเขียนคอนเท้นต์ ที่คำนึงถึงความเหมาะสมในการเผยแพร่ในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในปัจจุบัน ไปจนถึงกระบวนการเตรียมงาน ในการออกแบบ การวิเคราะห์ การตีความหมายในการเข้าใจแก่นของโจทย์งานและสามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างถูกทิศทาง ที่จะต่อเนื่องไปจนถึงกระบวนการผลิตที่ต้องอาศัยการเตรียมงานที่พร้อมในการลงมือผลิตชิ้นงาน การออกแบบแสงและเสียง เรียนรู้เครื่องมือต่าง ๆ ในการผลิตภาพยนตร์ อีกทั้งกระบวนการหลังการผลิต ในส่วนของการตัดต่อ และการจัดฉายแสดงผลงาน

             โดยหลักสูตรได้กำหนดและสื่อสารผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่สอดคล้องกับปรัชญาของหลักสูตรที่เป็นไปตามวิสัยทัศน์และพันธกิจของสถาบัน

วิสัยทัศน์ของสถาบัน

เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ

พันธกิจของสถาบัน

  1. ผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะสูงด้านวิชาการ วิชาชีพ และภาษาอังกฤษ
  2. พัฒนางานวิจัยและผลงานวิชาการ ให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
  3. พัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ วิชาชีพ และภาษาอังกฤษ
  4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยและนานาชาติให้เป็นสังคมพหุวัฒนธรรม
  5. บริหารจัดการองค์กรสู่ความเป็นเลิศ

ปรัชญาของหลักสูตร

ปรัชญาของหลักสูตร มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ผ่านการเรียนรู้จากมืออาชีพสายงานสื่อดิจิทัล (digital media) ตลอดจนรู้เท่าทันความเป็นไปของ วงการสื่อดิจิทัล สามารถเป็นผู้ให้บริการด้านเนื้อหา (content provider) อย่างสร้างสรรค์ ทันสมัย และมีรูปแบบเฉพาะตัว

ความเกี่ยวข้องของหลักสูตรกับพันธกิจของสถาบัน

ผลกระทบจากสถานการณ์ภายนอกที่ส่งผลต่อพันธกิจเด่นของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร วิทยาลัยนานาชาติเซนต์ เทเรซาจึงให้นักศึกษาใช้อัตลักษณ์ของบัณฑิตให้สอดคล้องกับความรู้ด้านนิเทศศาสตร์ ในการเป็น ผู้ผลิตดิจิทัลคอนเทนท์ (digital content) ในอุตสาหกรรม digital entertainment industry ที่รองรับการใช้งานสื่อดิจิทัล บูรณาการกับผู้เชี่ยวชาญทาง ภาษาและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อสามารถทางาน และนาเสนอผลงานในระดับสากลได้เป็นอย่างดี

หลักสูตรกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ของแต่ล่ะชั้นปีโดยคำนึงถึงวิสัยทัศน์และพันธกิจของวิทยาลัยและให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมในการพัฒนาหลักสูตรมีการประชุมระหว่างผู้ประกอบการในสายอาชีพ รวมถึงตัวนักศึกษา เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หลังจากเสร็จสิ้นการประชุมหลักสูตรสรุปผลการประชุมกำหนดผลการเรียนที่รู้คาดหวัง เพื่อให้ตอบโจทย์อาชีพต่างๆในตลาดแรงงาน  

โดยหลักสูตรได้กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ดังนี้

หมวดวิชาทั่วไป

1. ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม

1.1 มีระเบียบ วินัย และตรงต่อเวลา

1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ สุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน ขยันและอดทน

1.3 มีความรับผิดชอบต่อตนเอง และต่อผู้อื่น

1.4 ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และประเพณีอันดีงามขององค์กรและสังคม

2. ผลการเรียนรู้ด้านความรู้

2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎี ในองค์ความรู้พื้นฐานทั่วไปอย่าง กว้างขวาง และเป็นระบบ

2.2 มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้ โดยคำนึงถึงบริบทของ สังคมไทยและสากล

2.3 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการคิด เป้าหมายชีวิต ศิลปะ วัฒนธรรม มนุษย สัมพันธ์ และการดาเนินชีวิตประจำวัน รวมถึงการนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาของตน

2.4 มีความสามารถในการเรียนรู้ สามารถใช้เทคโนโลยีในการค้นหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ การดารงชีวิตในสังคม

2.5 มีความรู้และความเข้าใจพื้นฐานในปรากฎการณ์และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

3. ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

3.1 มีความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริง การหาข้อมูล การทาความเข้าใจข้อมูลและ ประเมินข้อมูล จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อมูลที่ได้ ในการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง

3.2 มีทักษะในการใช้วิจารณญาณ คิด วิเคราะห์และสังเคราะห์สิ่งต่างๆ อย่างเป็นระบบ

3.3 มีทักษะในการ กาหนดประเด็นปัญหา เสนอทางเลือกและตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างเป็น ระบบ

3.4 มีทักษะในการคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ ในการแสวงหาความรู้และความจริงเพิ่มเติมอย่าง เหมาะสม

4. ผลการเรียนรู้ด้านทักษะ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ

4.1 มีความสามารถในการปรับตัว มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี เคารพและให้ คุณค่าแก่ตนเองและผู้อื่น

4.2 มีความสามารถในการแสดงออกได้อย่างเหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆ

4.3 มีความสามารถในการทางานร่วมกับผู้อื่นท้ังในบทบาทผู้นาและสมาชิกของกลุ่มเรียนรู้ที่ จะอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่นด้วยความรับผิดชอบ และด้วยจิตอาสา

4.4 ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลและวัฒนธรรมที่หลากหลายเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับ สมาชิกในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างมีความสุข

5. ผลการเรียนรู้ด้านทักษาะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสาเทศ

5.1 มีความสามารถในการประยุกต์ใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ และสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลใน ชีวิตประจำวัน

5.2 มีความสามารถในการแปลความหมายข้อมูลทางคณิตศาสตร์และสถิติได้อย่างมีประสิทธิผล

5.3 มีความสามารถในการสื่อสารท้ังการพูด ฟัง อ่าน เขียน โดยใช้ภาษาประจาชาติและ ภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิผล

5.4 มีความสามารถในการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสืบค้น เก็บรวบรวม แปล ความหมาย ประเมินผล และนาเสนอข้อมูล เพ่ื่อการศึกษาได้อย่างเหมาะสมและรู้เท่าทัน

หมวดวิชาเฉพาะ

1. ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม

1.1 มีความซื่อสัตย์สุจริต และสามารถจัดการปัญหาทางด้านจริยธรรม และความขัดแย้ง ระหว่างผลประโยชน์ที่ได้รับกับจรรยาบรรณวิชาชีพ

1.2 มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพและแสดงออกซึ่งคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติงานและ ปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างสม่าเสมอ

1.3 รับผิดชอบต่อหน้าที่ เป็นสมาชิกที่ดีของหมู่คณะและร่วมมือร่วมใจในกิจกรรม พัฒนา มีภาวะผู้นา และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่นเสมอ

1.4 มีวินัย มีความตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฏ ข้อบังคับขององค์กรและสังคม

2. ผลการเรียนรู้ด้านความรู้

2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สาคัญในเนื้อหาท่ีศึกษา

2.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางด้านการสื่อสาร

2.3 สามารถประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือท่ีเหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา

2.4 สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ปรับปรุงการจัดการและการผลิตผลงานด้านการสื่อสารให้ตรงตามข้อกาหนด

2.5 สามารถบูรณาการความรู้ในท่ีศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

3. ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

3.1 พัฒนาแนวคิดอย่างมีวิจารณญาณ ภายใต้ความเพียงพอของข้อมูลและอย่างมีระบบ 

3.2 สามารถแก้ปัญหาด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์

3.3 สามารถคิดแก้ปัญหาในการจัดการเรียนรู้ที่มีความสลับซับซ้อน เสนอทางออกและนำไปสู่การแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์

3.4 มีความเป็นผู้นำทางปัญญาในการคิดพัฒนาการจัดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และมีวิสัยทัศน์

4. ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ

4.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและ ภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

4.2 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ ต่างๆ ในกลุ่ม ท้ังในบทบาทของผู้นำและผู้ร่วมทีมทางาน

4.3 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม

4.4 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม

5. ผลการเรียนรู้ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

5.1 สามารถแนะนาประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการ แสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์สามารถแนะนาประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์

5.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสมสามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม

5.3 สามารถนำนวัตกรรมเทคโนโลยีการสื่อสารสารสนเทศมาใช้ผลิตงานสื่อดิจิทัลเพื่อการสื่อสารได้

5.4 รู้เท่าทันสื่อคัดกรองและตรวจสอบเนื้อหาสื่อก่อนนำมาใช้งานหรือส่งต่อข้อมูล

 

หลักสูตรได้มีการวางนโยบายของหลักสูตรและจัดการประชุมเพื่อสื่อสารไปยังคณาจารย์และแจ้งนักศึกษาผ่านคู่มือนักศึกษาที่มอบให้ในงานปฐมนิเทศเพื่อให้ได้ผลการเรียนรู้ตามที่คาดหวังและได้มีการสื่อสารผลการเรียนรู้ที่คาดหวังทางช่องทางของคู่มือหลักสูตรในช่วงปฐมนิเทศสำหรับนักศึกษา ซึ่งการสื่อสารยังรวมไปถึงการสื่อสารกับบุคคลภายนอกผ่านทาง Website Youtube และ Facebook ของหลักสูตร ที่มุ่งเน้นไปยังผู้ประกอบการ นักเรียนที่กำลังจะเข้าเรียนต่อหรือผู้ที่สนใจและนักศึกษา

อาจารย์ประจำรายวิชาออกแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2552 โดยกำหนดกิจกรรมและวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนในแผนการสอน อีกทั้งกำหนดแผนการศึกษาตลอดทั้งหลักสูตรที่เรียงลำดับรายวิชาตามภาคเรียนการศึกษาในแต่ล่ะชั้นปีที่เป็นไปตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

หลักฐาน

2.1.1.1 TQF.2

2.1.1.2 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)

2.1.1.3 รายงานการประชุมประจำปีเปิดภาคการศึกษา

2.1.1.4 สื่อโบรชัวร์แนะนำสาขาสื่อ Digital บน Website

2.1.1.5 Website สาขาสื่อดิจิทัล

 

2. ออกแบบผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้

    การดำเนินการ

หลักสูตรได้ออกแบบผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้เป็นการบูรณาการเนื้อการรายวิชาต่าง ๆ ในแต่ละชั้นปี โดยใช้แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบผลการเรียนสู่รายวิชาในการออกแบบตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2552 

กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2552 

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรกําหนดให้มีมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่ครอบคลุมอย่างน้อย 5 ด้านคือ 

  1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม (Ethics and Moral) 
  2. ด้านความรู้ (Knowledge) 
  3. ด้านทักษะทางปัญญา (Cognitive Skills) 
  4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ (Interpersonal Skills and Responsibility) 
  5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills)

  หลักสูตรได้กำหนดแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบผลการเรียนรู้สู่รายวิชา (curriculum mapping) อาจารย์ประจำรายวิชาออกแบบการเรียนรู้ที่คาดหวังในแต่ละรายวิชา ตามแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบผลการเรียนสู่รายวิชา (curriculum mapping) เพื่อมาบูรณาการในการเรียนรู้ผ่านทฤษฎีและนำมาประยุกต์ในการ ฝึกปฏิบัติ ตามเนื้อหาของแต่ล่ะรายวิชาใน TQF 3 ซึ่งลักษณะรายวิชาของหลักสูตรจะมีทั้งวิชาทฤษฎี วิชาปฏิบัติ และวิชาที่ออกไปฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ การทำงานเป็นทีม ในฐานะที่เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองตามตำแหน่งความรับผิดชอบ ฝึกนักศึกษาให้ทำงานอย่างเป็นระบบ ฝึกให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีประกอบกับการใช้ทักษะความรู้ที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้ในการฝึกปฏิบัติที่เป็นไปตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง

หลักฐาน

2.1.2.1 แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา หมวดวิชาเฉพาะ (หน้า 52-56)

 

3. ระบุผลลัพธ์การเรียนรู้ทั่วไป และผลลัพธ์การเรียนรู้เฉพาะทาง

การดำเนินการ

 

หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะ
1. ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม (1)  มีระเบียบ วินัย และตรงต่อเวลา
(2)  มีความซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ สุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน ขยันและอดทน
(3)  มีความรับผิดชอบต่อตนเอง และต่อผู้อื่น
(4)  ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และประเพณีอันดีงามขององค์กรและสังคม
(1) มีความซื่อสัตย์สุจริต และสามารถจัดการปัญหาทางด้านจริยธรรม และความขัดแย้ง ระหว่างผลประโยชน์ที่ได้รับกับจรรยาบรรณวิชาชีพ

(2) มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพและแสดงออกซ่ึงคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติงานและ ปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างสม่าเสมอ

(3) รับผิดชอบต่อหน้าที่ เป็นสมาชิกที่ดีของหมู่คณะและร่วมมือร่วมใจในกิจกรรม พัฒนา มีภาวะผู้นา และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่นเสมอ

(4) มีวินัย มีความตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฏ ข้อบังคับขององค์กรและสังคม

2. ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ (1) มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎี ในองค์ความรู้พื้นฐานทั่วไปอย่าง กว้างขวาง และเป็นระบบ

(2) มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้ โดยคำนึงถึงบริบทของ สังคมไทยและสากล

(3) มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการคิด เป้าหมายชีวิต ศิลปะ วัฒนธรรม มนุษย สัมพันธ์ และการดาเนินชีวิตประจำวัน รวมถึงการนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาของตน

(4) มีความสามารถในการเรียนรู้ สามารถใช้เทคโนโลยีในการค้นหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ การดารงชีวิตในสังคม

(5) มีความรู้และความเข้าใจพื้นฐานในปรากฎการณ์และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

(1) มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สาคัญในเนื้อหาท่ีศึกษา

(2)  สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางด้านการสื่อสาร
(3)  สามารถประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือท่ีเหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
(4)  สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ปรับปรุงการจัดการและการผลิตผลงานด้านการสื่อสารให้ตรงตามข้อกาหนด
(5) สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

3. ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา (1) มีความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริง การหาข้อมูล การทาความเข้าใจข้อมูลและ ประเมินข้อมูล จากแหล่งข้อมูลท่ีหลากหลาย และใช้ข้อมูลที่ได้ ในการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง

(2) มีทักษะในการใช้วิจารณญาณ คิด วิเคราะห์และสังเคราะห์ส่ิงต่างๆ อย่างเป็นระบบ

(3) มีทักษะในการ กาหนดประเด็นปัญหา เสนอทางเลือกและตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างเป็น ระบบ

(4) มีทักษะในการคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ ในการแสวงหาความรู้และความจริงเพิ่มเติมอย่าง เหมาะสม

(1)  พัฒนาแนวคิดอย่างมีวิจารณญาณ ภายใต้ความเพียงพอของข้อมูลและอย่างมีระบบ 

(2)  สามารถแก้ปัญหาด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์

(3)  สามารถคิดแก้ปัญหาในการจัดการเรียนรู้ที่มีความสลับซับซ้อน เสนอทางออกและนำไปสู่การแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์

 (4) มีความเป็นผู้นำทางปัญญาในการคิดพัฒนาการจัดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และมีวิสัยทัศน์

4. ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ (1) มีความสามารถในการปรับตัว มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และมีปฏิสัมพันธ์ท่ีดี เคารพและให้ คุณค่าแก่ตนเองและผู้อ่ืน

(2)มคีวามสามารถในการแสดงออกได้อย่างเหมาะสมในสถานการณ์ต่าง ๆ

(3) มีความสามารถในการทางานร่วมกับผู้อื่นท้ังในบทบาทผู้นาและสมาชิกของกลุ่มเรียนรู้ที่ จะอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่นด้วยความรับผิดชอบ และด้วยจิตอาสา

(4) ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลและวัฒนธรรมที่หลากหลายเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับ สมาชิกในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างมีความสุข

(1)  สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและ ภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
(2)  สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ ต่างๆ ในกลุ่ม ท้ังในบทบาทของผู้นำและผู้ร่วมทีมทางาน
(3)  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
(4)  มีความรับผิดชอบในการกระทาของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
5. ผลการเรียนรู้ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (1) มีความสามารถในการประยุกต์ใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ และสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลใน ชีวิตประจำวัน

(2) มีความสามารถในการแปลความหมายข้อมูลทางคณิตศาสตร์และ

สถิติได้อย่างมีประสิทธิผล

(3) มีความสามารถในการสื่อสารท้ังการพูด ฟัง อ่าน เขียน โดยใช้ภาษาประจาชาติและ ภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิผล

(4) มีความสามารถในการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสืบค้น เก็บรวบรวม แปล ความหมาย ประเมินผล และนาเสนอข้อมูล เพ่ือการศึกษาได้อย่างเหมาะสมและรู้เท่าทัน

(1) สามารถแนะนาประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการ แสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์สามารถแนะนาประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์

(2)  สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสมสามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม
(3)  สามารถนานวัตกรรมเทคโนโลยีการสื่อสารสารสนเทศมาใช้ผลิตงานสื่ออดิจิทัลเพื่อการสื่อสารได้
(4)  รู้เท่าทันสื่อคัดกรองและตรวจสอบเนื้อหาสื่อก่อนนามาใช้งานหรือส่งต่อข้อมูล

 หลักฐาน

2.1.3.1 เล่มหลักสูตร (หน้า 25-34)

 

4. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังบรรลุตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

การดำเนินการ

สาขาวิชาดำเนินการวัดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังว่าบรรลุตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยในปีการศึกษา 2565 ได้สํารวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4 กลุ่มคือนักศึกษาบัณฑิตผู้ใช้บัณฑิตอาจารย์ประจําหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน

โดยมีวิธีการรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

 

  1. ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของบัณฑิต จากการสอบถามผู้ใช้บัณฑิต ผลการดำเนินการพบว่า ผู้ใช้บัณฑิตตอบแบบถามกลับคืนมา ร้อยละ 22.22 ผลการวิเคราะห์แบบสอบถาม พบว่า ผู้ใช้บัณฑิตพึงพอใจในภาพรวม ที่คะแนนเฉลี่ย 4.48 
  2. ผลลัพธ์ความพึงพอใจของนักศึกษา จากการสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษา ผลวิเคราะห์แบบสอบถามพบว่า นักศึกษาพอใจในภาพรวมที่คะแนนเฉลี่ย 4.26

หลักฐาน

2.1.4.1 แบบประเมินความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต

2.1.4.2 แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตร

2.1.4.3 แบบประเมินของสถานประกอบการที่นักศึกษาไปฝึกงาน

 

5. ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง บรรลุผลกับผู้เรียนเมื่อสำเร็จการศึกษา

การดำเนินการ

จากผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาสื่อดิจิทัล ผู้เรียนจะได้รับผลลัพธ์จากการศึกษาในรายวิชาต่างๆในแต่ละชั้นปีดังนี้

 

ปีที่1

นักศึกษามีความรู้และทักษะต่างๆเช่นความรู้ด้านทฤษฎีเบื้องต้นของการสื่อสารความหมายของการ สื่อสารอาชีพในงานสื่อสารมวลชน มีความรู้และยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม เพื่อปรับตนให้เข้า กับความเป็นนานาชาติของสถาบัน นักศึกษามีความรู้ด้านภาษาอังกฤษเพื่อนามาพัฒนาใช้ในงานสาย วิชาชีพระดับสูงต่อไป

 

ปีที่ 2

นักศึกษาสามารถนาความรู้พื้นฐานทางด้านทฤษฎีการสื่อสารมาบูรณาการกับความรู้ด้านเทคโนโลยีและ ศิลปะเพื่อสร้างงาน และนำเสนอผลงานสื่อดิจิทัลเบื้องต้นได้ ภายใต้คุณธรรมและจริยธรรมของงาน สื่อสารมวลชน

ปีที่ 3

นักศึกษาสามารถออกแบบงานสื่อสารมวลชนได้ตรงตามวัตถุประสงค์ทางการตลาดและยังสามารถแก้ไข ปัญหาทั้งในระดับบุคคลและองค์กรสามารถบริหารและจัดการบุคลากรให้เหมาะสมตามหน้าที่ สามารถ สร้างสรรค์งานภายใต้ความกดดันที่สูงและสถานการณ์บังคับได้

 

ปีที่ 4

นักศึกษาสามารถบูรณาการความรู้จากที่เรียนมาโดยตลอด เพื่อสร้างรูปแบบงานเฉพาะตน สามารถ ทำงานและบริหารงานร่วมกับบุคคลภายนอก สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวได้เป็นอย่างดี แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของตัวเองที่พร้อม ในงานสายสื่อดิจิทัล

 

หลักฐาน

2.1.5.1 เล่มหลักสูตร (ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา)

 

6. ผลการประเมินผลการเรียนรู้ ด้านความรู้ ทักษะ จริยธรรม และลักษณะบุคคล ของนักศึกษา(กลุ่มตัวอย่างทุกชั้นปี) สูงกว่า 3.51

 การดำเนินการ

สาขาวิชานำผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ 5 ด้านตามหลักสูตร ของนักศึกษาทุกชั้นปี มาทำการแปลงค่า 4 ด้าน ได้ผลการดำเนินการ ดังนี้ ด้านความรู้ (ความรู้) ทักษะ (ทักษะทางปัญญา และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ) จริยธรรม (คุณธรรมจริยธรรม) และลักษณะบุคคลของนักศึกษา (ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ) ผลการดำเนินการพบว่า นักศึกษาในแต่ละชั้นปี มีผลการประเมิน ดังนี้ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 (ค่าเฉลี่ย 4.38) นักศึกษาชั้นปีที่ 2 (ค่าเฉลี่ย 3.88) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 (ค่าเฉลี่ย 4.36) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 (ค่าเฉลี่ย 4.15) นั่นคือ นักศึกษาทุกชั้นปีมีผลการประเมินการเรียนรู้ ทั้ง 4 ด้าน สูงกว่า 3.51

 

หลักฐาน

2.1.6.1 ผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษารายชั้นปี ปีการศึกษา 2565

 

7. ผลการประเมินผลการเรียนรู้เฉลี่ยทั้ง 4 ด้าน สูงกว่า 3.51

 การดำเนินการ

สาขาวิชานำผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ 5 ด้านตามหลักสูตร ของนักศึกษาทุกชั้นปี มาทำการแปลงค่าให้เป็น 4 ด้าน ได้ผลดำเนินการ ดังนี้ 

-ด้านความรู้(ความรู้=4.23) 

– ด้านทักษะ(ทักษะทางปัญญาและทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ=4.15) 

-ด้านจริยธรรม(คุณธรรมจริยธรรม=4.16) และ

-ด้านลักษณะบุคคลของนักศึกษา(ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ=4.23) 

ผลการดำเนินการพบว่า การประเมินผลการเรียนรู้ ทั้ง 4 ด้าน สูงกว่า 3.51

 

หลักฐาน

2.1.7.1 ผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษารายทักษะ ปีการศึกษา 2565

 

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ) การประเมินตนเอง
….5ข้อ…. IQA(1-7) 1,2,3,6,7 ….5…ข้อ …4..คะแนน
AUN-QA(1-5) 1(4), 2(4), 3(4) ระดับ……3…….

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐาน รายการ
2.1.1 2.1.1.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)

2.1.1.2 รายงานการประชุมประจำปีเปิดภาคการศึกษา

2.1.2 2.1.2.1 แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา หมวดวิชาเฉพาะ (หน้า 52-56)
2.1.3 2.1.3.1 เล่มหลักสูตร (หน้า 25-34)
2.1.4 2.1.4.1 แบบประเมินความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต

2.1.4.2 แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตร

2.1.4.3 แบบประเมินของสถานประกอบการที่นักศึกษาไปฝึกงาน

2.1.5 2.1.5.1 เล่มหลักสูตร (ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา)
2.1.6 2.1.6.1 ผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษารายชั้นปี ปีการศึกษา 2565
2.1.7 2.1.7.1 ผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษารายทักษะ ปีการศึกษา 2565

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเอง IQA AUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 …4… …3…

Leave a Reply