องค์ประกอบที่ 3 หลักสูตร

ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 หลักสูตร (โครงสร้างโปรแกรมและเนื้อหา)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7-9 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-7 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. หลักสูตรทันสมัยเป็นปัจจุบันและมีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม

การดำเนินการ

หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาสื่อดิจิทัล เริ่มเปิดรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2558 และได้ดําเนินการปรับปรุงหลักสูตร ครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ.2563 และมีแผนการดำเนินการปรับปรุงครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2564 ซึ่งเป็นการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบที่กําหนดทุกๆ 5 ปี และปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามนโยบายของมหาวิทยาลัยที่กําหนดให้ใช้แนวทางการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ Outcome Based Education (OBE) 

หลักสูตรได้ทำการออกแบบรายวิชาที่ครอบคลุม รายวิชาต่างๆเพื่อสอดคล้องกับอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นใน Digital Entertainment Industry ที่สร้างสรรค์ของประเทศไทยซึ่งกลุ่มคอนเทนต์และสื่อสร้างสรรค์ พบว่า ยังมีความทันสมัย และเป็นปัจจุบัน ทั้งนี้หลักสูตรมีการเชิญผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม และผู้ชำนาญการในสายอาชีพ ล้วนเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แสดงความคิดเห็นในด้าน ต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ซึ่งกันและกันเพื่อนำมาพัฒนาการเรียนการสอนให้มีความทัน สมัยสอดคล้องกับบริบทอย่างต่อเนื่องเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและ ทางออกร่วมกันเพื่อการปรับปรุงหลักสูตรให้ตรงเป้าหมายสอดคล้องกับยุคของการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

หลักฐาน

3.1.1.1 การเทียบเคียงรายวิชาที่สอน กับ สาขาวิชานี้ในสถาบันอื่น 

3.1.1.2 ภาพสัมมนาผู้เชี่ยวชาญต่างๆ

3.1.1.3 Website: Creative Economy Agency (อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในประเทศไทย) ทั้ง 5 กลุ่ม

 

2. หลักสูตรครอบคลุม ทันสมัย และมีการสื่อสารไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

การดำเนินการ

สาขาวิชา ได้เผยแพร่ข้อมูลความคลอบคลุมของหลักสูตรตามความต้องการของสขาวิชา และความทันสมัย สื่อสารไปยังผู้สนใจเข้าศึกษาและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆผ่านทาง โบชัวร์ สื่อสารไปยังนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ผ่านคู่มือนักศึกษาในการปฐมนิเทศนักศึกษา และ เว็บไซต์ St. Theresa International College และเพจเฟซบุ๊ค Digital Media: St. Theresa International College รวมถึงเผยแพร่ผลงานต่างๆของนักศึกษาผ่านทาง Youtube Digital Media St. Theresa International College สำหรับบุคคลภายนอกและบุคคลภายในเข้ารับชมผลงาน ข่าวสารต่างๆ 

หลักฐาน

3.1.2.1 เว็บไซต์

3.1.2.2 เพจเฟซบุ๊ค Digital Media: St. Theresa

3.1.2.3 โบชัวร์

3.1.2.4 คู่มือนักศึกษา

3. การออกแบบเนื้อหาหลักสูตรสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

การดำเนินการ

  • ในการได้มาซึ่งหลักสูตรสาขาวิชาสื่อดิจิทัลในระหว่างช่วงก่อนปรับปรุงหลักสูตร
  • หลักสูตรได้วางแผนประชุมหารือภายในที่จะคัดเลือกผู้ประกอบการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสายงานเพื่อ ร่วมพัฒนาหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • หลักสูตรได้ดำเนินการติดต่อประสานไปยังผู้ประกอบการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาเป็นคณะกรรมการจากภายนอกเข้ามามีส่วนในการวิพากษ์พัฒนาหลักสูตร
  • หลักสูตรได้มีการประชุมหารือกับผู้ประกอบการในการหาแนวทางร่วมเพื่อพัฒนาหลักสูตรให้ ตรงตามความต้องการของตลาด
  • หลักสูตรจัดการวิพากษ์เพื่อปรับปรุงหลักสูตรโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากสถานประกอบการและสถาบันการศึกษา อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
  • หลักสูตรได้นำผลจากการวิพากษ์มาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร
  • หลักสูตรได้ทำแบบประเมินให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้ใช้บัณฑิตร่วมแสดงความคิดเห็นถึงจุดอ่อนและจุด แข็งของบัณฑิตเพื่อนำมาปรับปรุงในหลักสูตรใน
  • สรุปทิศทางในการเรียนการสอนในยุคของการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ของเทคโนโลยีสารสนเทศ 
  • หลักสูตรได้นำหลักสูตรจากสาขาวิชานี้หรือใกล้เคียงจากสถาบันอื่นมาตรวจสอบและทำการเทียบเคียง
  • ซึ่งคณะกรรมการได้ร่างหลักสูตรที่พัฒนาใหม่หรือปรับปรุงที่เป็นไปตามเกณฑ์ มาตรฐานหลักสูตรและทิศทางของตลาดในปัจจุบัน

 

หลักฐาน

3.1.3.1 คำสั่งแต่งตั้งคระกรรมการวิพากษ์หลักสูตร

3.1.3.2 หลักฐานแบบประเมินนักศึกษาต่อหลักสูตร

 

4. การออกแบบหลักสูตรสอดคล้องผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

การดำเนินการ

หลักสูตรได้นําผลการเรียนรู้ที่คาดหวังมาจัดทําแผนที่ความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) โดยคณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตร

โดยมีประเด็นที่สําคัญคือ ทุกรายวิชามีผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างน้อย 1 ข้อ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังกระจายอยู่ในรายวิชาในกลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพและกลุ่มวิชาชีพบังคับ ซึ่งเป็นรายวิชาที่นักศึกษาทุกคนต้องเรียน  ทุกรายวิชามีผลการเรียนรู้ที่คาดหวังทั้งที่เป็นความรู้และทักษะทั่วไปและความรู้และทักษะเฉพาะ จะต้องตอบผลการเรียนรู้ที่คาดหวังทุกข้อ ก่อนการเรียนการสอนในแต่ละภาคการศึกษาผู้ประสานงานรายวิชาที่เปิดสอนจะต้องดําเนินการจัดทํารายละเอียดของรายวิชา ใน TQF 3 บนระบบ MIS ของวิทยาลัย ที่กําหนดจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของรายวิชาผลการเรียนรู้ในแต่ละด้านที่มุ่งหวังในการพัฒนานักศึกษาแผนการเรียนวิธีการสอนและข้อกําหนดในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาเพื่อให้กรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาความเหมาะสมก่อนใช้ในการวางแผนการสอนของแต่ละวิชาและเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในแต่ละภาคการศึกษาผู้ประสานงานรายวิชาจะต้องดําเนินการจัดทำ TQF 5 ซึ่งมีรายละเอียดในหัวข้อต่างๆคือผลการจัดการเรียนการสอนที่เปรียบเทียบกับแผนการสอนสรุปผลการจัดการเรียนการสอนรายวิชาปัญหาและผลกระทบต่อการดําเนินการโดยนักศึกษาจะต้องประเมินรายวิชาประเมินผู้สอนเพื่อให้สามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการปรับปรุงการเรียนการสอนปรับปรุงรายวิชาในภาคการศึกษาหรือปีการศึกษาถัดไปและเป็นข้อมูลในการปรับปรุงหลักสูตรในรอบต่อไป

 

หลักฐาน

3.1.4.1 แผนที่ความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)

3.1.4.2 TQF 3

3.1.4.2 TQF 5

5. โครงสร้างหลักสูตรจัดลำดับวิชาอย่างเป็นระบบและเหมาะสม

การดำเนินการ

สาขาวิชา ได้จัดลำดับรายวิชาให้สอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตร โดยรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และหมวดวิชาเฉพาะ ในส่วนของวิชาเฉพาะจะแบ่งย่อยเป็น กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ, กลุ่มวิชาชีพบังคับ และ กลุ่มวิชาเลือก ลำดับการให้เรียนในชั้นปีที่ 1 และ ปีที่ 2 รายวิชาที่เรียนจะเป็นวิชาที่อยู่มรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ประกอบกับวิชาที่เป็นกลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพที่เน้นไปที่ทฤษฎีเบื้องต้นและมีปฏิบัติเป็นส่วนน้อย ในชั้นปีที่ 3 รายวิชาจะเป็นกลุ่มวิชาชีพบังคับและกลุ่มวิชาเลือก เป็นทฤษฎีขั้นสูงที่ต้องผ่านการเรียนวิชาเบื้องต้นมาก่อนจึงจะสามารถเรียนได้ตามที่ระบุไว้ในเงื่อนไขรายวิชา กลุ่มวิชาบังคับจะเน้นในตัวทฤษฎีที่เข้มข้นและภาคปฏิบัติที่มากขึ้น ในชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 จะเป็นวิชาฝึกงานที่นักศึกษาจะเอาสิ่งที่ศึกษามาไปใช้ในสถานประกอบการจริงๆ จากนั้นเป็นโครงงานนิเทศศาสตร์ในชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ที่นักศึกษาได้นำสิ่งที่เรียนรู้มาทั้งทฤษฎีและปฎิบัติ รวมถึงประสบการณ์ในการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการนำมาประยุกต์สร้างสรรค์ผลงานของตนเองและเผยแพร่ตามแพลตฟอร์มต่างๆต่อไป

 

หลักฐาน

3.1.5.1 เล่มหลักสูตร : แผนการศึกษาตลอดหลักสูตร

3.1.5.2 เงื่อนไขรายวิชาในคำอธิบายรายวิชา ตัวอย่าง 131 212 การผลิตภาพยนตร์สั้น

3.1.5.3 ภาพเด็กฝึกงาน

3.1.5.4 ภาพเผยแพร่งาน CA Showcase

 

6. หลักสูตรมีทางเลือกสำหรับผู้เรียนที่ต้องการความเชี่ยวชาญพิเศษ

การดำเนินการ

แผนการเรียนหลักของหลักสูตรได้มีทางเลือกสำหรับผู้เรียนที่ประสงค์จะเรียนรู้ตามความสนใจที่แตกต่างออกไปสามารถเรียนในระดับที่ลึกซึ้งที่เป็นความเชี่ยวชาญพิเศษ ในด้านการกำกับ การเขียนบท การแสดง การเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ คิดรูปแบบรายการโทรทัศน์ รวมถึงนวัตกรรมในงานสื่อดิจิทัล โดยตั้งแต่ชั้นปีที่ 3 ขึ้นไปนักศึกษาจะสามารถลงกลุ่มวิชาชีพเลือกได้ตามเงื่อนไขรายวิชาของหลักสูตร

หลักฐาน

3.1.6.1 รายวิชากลุ่มวิชาชีพเลือก

 

7. หลักสูตรได้รับการทบทวนให้ทันสมัยและความต้องการของอุตสาหกรรม

การดำเนินการ

สาขาวิชา ได้มีการจัดสัมนาทบทวนความทันสมัยของหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยในปีการศึกษา 2565 ได้มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากสถานประกอบการ มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากหลายภาคส่วนในอุตสหกรรมสื่อดิจิทัล โดยในแต่ล่ะหัวข้อจะมุ่งเน้นที่ประโยชน์ของนักศึกษาและมุมมองความเป็นไปของอุตสาหกรรม ณ ปัจจุบันที่สามารถสะท้อนมายังหลักสูตร ทบทวนให้ทันสมัยตอบความต้องการของอุตสาหกรรม

หลักฐาน

3.1.7.1 โครงการสัมนาทั้ง 3 กิจกรรม

3.1.7.2 สรุปการทบทวนหลักสูตรจากผู้เชี่ยวชาญ

 

8. หลักสูตรเป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

การดำเนิการ

  • ในระหว่างช่วงก่อนปรับปรุงหลักสูตร คณะกรรมการได้มีการร่วมนำเสนอ และ แสดงความคิดเห็นในด้าน ต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เพื่อนำมาพัฒนาการเรียนการสอนให้มีความทัน สมัยสอดคล้องกับบริบทอย่างต่อเนื่อง
  • ร่วมแสดงความคิดเห็นถึงปัญหาต่างๆทั้งภายในและภายนอก เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและทาง ทางออกร่วมกันเมื่อเกิดปัญหา เพื่อการปรับปรุงหลักสูตรให้ตรงเป้าหมายสอดคล้องกับยุคของการเปลี่ยนแปลง ที่รวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • คณะกรรมการประชุมหารือร่วมกัน สรุปทิศทางในการเรียนการสอนในยุคของการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ของเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งคณะกรรมการได้ร่างหลักสูตรที่พัฒนาใหม่หรือปรับปรุงที่เป็นไปตามเกณฑ์ มาตรฐานหลักสูตรและทิศทางของตลาดในปัจจุบัน
  • คณะกรรมการดำเนินการให้มีการประชุมประชาพิจารณ์หลักสูตรที่พัฒนาใหม่หรือปรับปรุงก่อนนำเสนอ คณะวิชา ได้มีการร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษาอื่นๆ หรือ หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร เพื่อพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • คณะกรรมการเสนอร่างหลักสูตรที่พัฒนาใหม่หรือปรับปรุงต่อคณะวิชาเพื่อพิจารณาเห็นชอบ
  • คณะวิชาดำเนินการเสนอร่างหลักสูตรที่พัฒนาใหม่หรือปรับปรุงต่อสภาวิชาการ เพื่อการอนุมัติ
  • สภาวิชาการวิทยาลัยนำเสนอร่างหลักสูตรที่พัฒนาใหม่หรือปรับปรุงเพื่อขออนุมัติจากสภาวิทยาลัย
  • หลักสูตรสามารถดำเนินการหลักสูตรที่พัฒนาใหม่หรือปรับปรุงได้ภายหลังสภาวิทยาลัยอนุมัติ
  • วิทยาลัยนำเสนอ สกอ. เพื่อการรับทราบหลักสูตรที่พัฒนาใหม่หรือปรับปรุงต่อไป
  • สกอ. อนุมัติหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563

หลักฐาน

3.1.8.1 TQF 2

 

9. บริหารหลักสูตรให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

การดำเนินการ

1. หลักสูตรได้วางแผนประชุมภายในถึงแนวทางหรือวิธีการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ของหลักสูตรไปพัฒนาหลักสูตร

2. หลักสูตรได้นำผลสรุปจากการประชุมภายในสำหรับแนวทางจากผลสรุปผลการประเมินตนเองปี 2564 และวิธีการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินความสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรไปพัฒนาหลักสูตร ได้ข้อสรุปดังนี้

– ทำแบบสอบถามวัดความพึงพอใจ

– สอบถามนักศึกษาทุกชั้นปีเป็นรายบุคคล

– ผลสรุปการประเมินตนเองปี 2564
3. หลักสูตรได้จัดทำแบบสอบถามเพื่อใช้ประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรไปพัฒนาหลักสูตร 

4. หลักสูตรได้เรียกตัวแทนนักศึกษของแต่ล่ะชั้นปีมาสอบถามถึงปัญหาและความต้องการอย่างใกล้ชิด
5. หลักสูตรนำผลการประเมินจากความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตร และ ผลลัพธ์ผู้เรียน รวมถึงข้อมูลเชิง ลึกที่ได้สอบถามจากตัวแทนนักศึกษาไปพัฒนาหลักสูตรต่อไป

6. สาขาวิชา ได้นำข้อเสนอแนะจาก การรายงานผลการบริหารหลักสูตร นิเทศศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาสื่อดิจิทัล ต่อ คณะบดีคณะมนุษยศาสตร์และสัมคมศาสตร์ ในปีการศึกษา 2565 มาใช้ในการวางแผนพัฒนาหลักสูตรนิเทศศาตรบัณฑิตสาขาวิชาสื่อดิจิทัล ในปีการศึกษา 2566

หลักฐาน

3.1.9.1 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อหลักสูตร

 

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ) การประเมินตนเอง
…5 ข้อ… IQA(1-9) 1,2,3,8,9 ….5…ข้อ …4..คะแนน
AUN-QA(1-7) 1(4), 2(4), 3(4) ระดับ……3…….

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐาน รายการ
3.1.1 3.1.1.1 การเทียบเคียงรายวิชาที่สอน กับ สาขาวิชานี้ในสถาบันอื่น 

3.1.1.2 ภาพสัมมนาผู้เชี่ยวชาญต่างๆ

3.1.2 3.1.2.1 เว็บไซต์

3.1.2.2 เพจเฟซบุ๊ค Digital Media: St. Theresa

3.1.2.3 โบชัวร์

3.1.2.4 คู่มือนักศึกษา

3.1.3 3.1.3.1 คำสั่งแต่งตั้งคระกรรมการวิพากษ์หลักสูตร

3.1.3.2 หลักฐานแบบประเมินนักศึกษาต่อหลักสูตร

3.1.4 3.1.3.1 คำสั่งแต่งตั้งคระกรรมการวิพากษ์หลักสูตร

3.1.3.2 หลักฐานแบบประเมินนักศึกษาต่อหลักสูตร

3.1.1.5 3.1.5.1 เล่มหลักสูตร : แผนการศึกษาตลอดหลักสูตร

3.1.5.2 เงื่อนไขรายวิชาในคำอธิบายรายวิชา ตัวอย่าง 131 212 การผลิตภาพยนตร์สั้น

3.1.5.3 ภาพเด็กฝึกงาน

3.1.5.4 ภาพเผยแพร่งาน CA Showcase

3.1.1.6 3.1.6.1 รายวิชากลุ่มวิชาชีพเลือก
3.1.1.7 3.1.7.1 โครงการสัมนาทั้ง 3 กิจกรรม

3.1.7.2 สรุปการทบทวนหลักสูตรจากผู้เชี่ยวชาญ

3.1.1.8 3.1.8.1 TQF 2
3.1.1.9 3.1.9.1 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อหลักสูตร

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเอง IQA AUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 …4… …3…

Leave a Reply