องค์ประกอบที่ 4 การจัดการเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ที่ 4.1  การจัดการเรียนรู้ (แนวทางการจัดเรียนการสอน)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7-8 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-5 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. ปรัชญาการศึกษาชัดเจน มีการสื่อสาร และนำไปสู่กิจกรรมการเรียนรู้

การดำเนินการ

วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาได้มีการกำหนดปรัชญาด้านการศึกษาเพื่อจัดการศึกษาที่ดีมีคุณภาพจะพัฒนาให้ประสบความสำเร็จและมีสังคมชีวิตที่ดีซึ่งการจัดทำหลักสูตรสาขาสื่อดิจิทัล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา

ปรัชญาของหลักสูตร มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติผ่านการเรียนรู้จากมืออาชีพสายงานสื่อดิจิทัล (digital media) ตลอดจนรู้เท่าทันความเป็นไปของวงการสื่อดิจิทัล สามารถเป็นผู้ให้บริการด้านเนื้อหา (content provider) อย่างสร้างสรรค์ ทันสมัยและมีรูปแบบเฉพาะตัวสอนคล้องกับ PLOs และ CLOs และสอนคล้องกับผลลัพท์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs) ของหลักสูตร

อาจารย์ได้จัดการเรียนการสอน ตามแผนการสอน ที่ได้ผ่านการอนุมัติจากหัวหน้าสาขาสื่อดิจิทัลและคณบดีบนระบบ MIS ของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา นั้นคือเป็นความเชื่อมั่นว่าปรัชญาการศึกษาของสาขา ได้นำไปสู่การจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามปรัชญาของวิทยาลัยโดยในทุกปีการศึกษาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจะจัดการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่เพื่ออธิบายปรัชญาการศึกษา วัตถุประสงค์และแนวทางการเรียนการสอนของหลักสูตร

โดยกิจกรรมของหลักสูตรได้แสดงให้เห็นในช่องทางการประชาสัมพันธ์ของหลักสูตร เช่น Facebook, YouTube และเว๊ปไซต์ของวิทยาลัยโดยเป็นการสื่อสารที่สอดคล้องกับปรัชญาของวิทยาลัยและหลักสูตรสื่อดิจิทัล

หลักฐาน

4.1

TQF2 เอกสารหลักสูตรฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประทับตรารับทราบ
4.1.1 TQF3 แผนการสอนภาพรวมในทุกรายวิชาในปีการศึกษา 2565
4.1.2 STIC Website
4.1.3 โบชัวร์แนะแนว
4.1.4 สื่อประชาสัมพันธ์ของหลักสูตร

2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการเรียนรู้

 

การดำเนินการ

นโยบายในการมีส่วนร่วมในการออกแบบการเรียนรู้ในแต่ละชั้นปีการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายของหลักสูตรตามแผนการแนวทางการดำเนินงานในปี 2565 โดยการออกแบบรายวิชาอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาจะออกแบบตามหลักการ PLOs และ CLOs ของหลักสูตรตาม TQF2 (Evidence TQF2) โดยจะต้องให้นักศึกษามีส่วนช่วยในการออกแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอนดังแสดงในแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตราฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) ใน มคอ.2 (Evidence 4.2.1) ในการออกแบบรายวิชา อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาจะต้องแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผลการเรียนรู้ของรายวิชากับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรที่รายวิชานั้นมีความรับผิดชอบหลักเป็นอย่างน้อย และจะต้องระบุวิธีการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งการวัดและประเมินผลที่จะทำให้นักศึกษาบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังนั้น

ในปีการศึกษา 2565 มีจำนวนรายวิชาที่ต้องกำกับติดตามการจัดทำ มคอ.3 ซึ่งสามารถติดตามให้อาจารย์จัดทำได้ครบตามกำหนดเวลาทุกรายวิชา แต่ละรายวิชามีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายวิธีและตามความเหมาะสมกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอนต่าง ๆ มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ตามที่ระบุไว้ใน มคอ.3 โดยนักศึกษามีส่วนร่วมในการออกแบบการเรียนการสอนดังนี้

 โดยการออกแบบการเรียนรู้นั้นสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่

ผลการเรียนรู้ 5 ด้าน ELOs กลยุทธ์การสอน การมีส่วนร่วมของนักศึกษา ในรายวิชาต่างๆ
ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม ELO1

ELO2

ELO3

ELO4

1) กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของ

2) สถาบัน มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านผู้อื่นเป็นต้น

3) กำหนดให้นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม

 

อาจารย์ผู้สอนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ ฯลฯ

เช่นรายวิชา โฆษณาและประชาสัมพันธ์ (Advertising and Public Relation) (TQF.3 รายวิชาโฆษณาและประชาสัมพันธ์) มีการให้นักศึกษากำหนดหน้าที่ในการทำงานเป็นกลุ่มเพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนโดยการแบ่งหน้าที่ตามความต้องการของนักศึกษา
ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ ELO5

ELO6

ELO7

ELO8

ELO9

4) ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง

5) จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง

6) ฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ

เช่นรายวิชาฝึกงาน (Training Practicum) มีการให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการออกแบบการเรียนรู้โดยสามารถเลือกสถานที่ฝึกงานเองเผื่อให้เหมาะสมกับความรู้ที่นักศึกษาต้องการที่จะศึกษา
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา ELO10

ELO11

ELO12

ELO13

7) กรณีศึกษา

8) การอภิปรายกลุ่ม

9) ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง

เช่นรายวิชา 131 215  ฝึกงาน (Training Practicum) มีการให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการออกแบบการเรียนรู้โดยสามารถเลือกสถานที่ฝึกงานเองเผื่อให้เหมาะสมกับความรู้ที่นักศึกษาต้องการที่จะศึกษาทำให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงผ่านการเรียนรู้ในสถานประกอบการ

หรือ

รายวิชา 131 108 วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคสื่อ (Analysis of Media-Consumer Behavior) (TQF.3 รายวิชาวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคสื่อ) ได้มีการให้นักศึกษาอภิปรายแบบกลุ่มและยกกรณีศึกษาเพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียนโดยเป็นกรณีศึกษาที่นักศึกษาสนใจที่จะศึกษา

ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ ELO14

ELO15

ELO16

ELO17

10) ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่มการทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่น

 

สอนให้สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี

 

เน้นในเรื่องมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไปและมีภาวะผู้นำ

 

เช่น รายวิชา ในรายวิชา 131 104 งานภาพเคลื่อนไหว (Motion Graphic) (TQF.3 รายวิชางานภาพเคลื่อนไหว) ได้มีการให้นักศึกษามีการทำงานเป็นกลุ่มโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจับกลุ่มในการผลิตชิ้นงาน (หลักฐานจาก อ.เติ้ล)
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี ELO18

ELO19

ELO20

ELO21

จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง

และสถานการณ์เสมือนจริง

 

นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม

 

เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์หลักการต่างๆ ในสถานการณ์ที่ผิดไปจากการปฏิบัติงาน

ประจำ

เช่น รายวิชา 131 213 การผลิตโฆษณา (Advertising Production) (TQF.3 รายวิชาการผลิตโฆษณา) มีการจัดกิจกรรมให้นักศึกษาวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานตามโจทย์ที่ได้รับมอบหมาย

ตารางที่ 4.1 ตารางการออกแบบการเรียนรู้นั้นสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน

หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการเรียนการสอนในแต่ละภาคการศึกษา ได้ให้นักศึกษาทำการประเมินการสอนผ่านทางระบบประเมินของมหาวิทยาลัย และประเมินรายวิชา จากการประเมินในรอบปีการศึกษา 2565 อาจารย์ผู้สอนนำผลการประเมินมาพัฒนาและปรับกลยุทธ์การเรียนการสอนในรอบปีการศึกษา 2566 เพื่อให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้มากขึ้นซึ่งทำให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการออกแบบการเรียนรู้

 

หลักฐาน

4.2

TQF2 TQF 2
4.2.1 แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) ใน มคอ.2
4.2.2 ตัวอย่างระบบ MIS ในส่วนของการประเมินการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชา

     

 

3. กิจกรรมการเรียนรู้เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม

การดำเนินการ

หลักสูตรสาขาวิชาสื่อดิจิทัล คณะมนุษยศาสตร์และสังคม วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาได้จัดให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่หลากหลายโดยสอดคล้องกับลักษณะของผู้เรียนโดยมีการออกแบบการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษและปฏิบัติให้สอดคล้ตามการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้านดังนี้

Domain of learning Bloom’s taxonomy ELOs Teaching methods Examples of courses
คุณธรรม จริยธรรม Affective Domain ELO1 (1) กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของสถาบัน มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านผู้อื่นเป็นต้น

(2) กำหนดให้นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม

(3) อาจารย์ผู้สอนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ ฯลฯ

131 102(63) Law and Ethics

131 206(63) Aesthetics Photo

131 213(63) Advertising

131 303(63) Film Criticism

ELO2 131 101(63) Principle of CA

131 204(63) Creative Storytelling

131 210(63) Acting 1

131 308(63) Acting 2

ELO3 131 208(63) Light&Sound Design

131 210(63) Acting 1

131 211(63) Documentary

131 214(63) Seminar

ELO4 131 105(63) Advertising&PR

131 201(63) Visual Interpretation

131 205(63) Conceptual Photo

131 208(63) Light&Sound Design

ความรู้ Cognitive Domain

Psychomotor Domain

ELO5 (1) ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง

(2) จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง

(3) ฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ

131 101(63) Principle of CA

131 102(63) Law and Ethics

131 203(63) Fiction Writing

131 208(63) Light&Sound Design

ELO6 131 201(63) Visual Interpretation

131 202(63) Articles News

131 211(63) Documentary

131 303(63) Film Criticism

ELO7 131 104(63) Motion Picture

131 109(63) Speech&Personality

131 207(20) Production Design

131 209(63) Editing

ELO8 131 107(63) Intercultural Com

131 203(63) Fiction Writing

131 204(63) Creative Storytelling

131 208(63) Light&Sound Design

ELO9 131 202(63) Articles News

131 205(63) Conceptual Photo

131 206(63) Aesthetics Photo

131 213(63) Advertising

131 209(63) Editing

ทักษะทางปัญญา Cognitive Domain

Psychomotor Domain

ELO10 1) กรณีศึกษา

(2) การอภิปรายกลุ่ม

(3) ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง

131 102(63) Law and Ethics

131 104(63) Motion Picture

131 207(20) Production Design

131 211(63) Documentary

ELO11 131 303(63) Film Criticism
ELO12 131 107(63) Intercultural Com

131 203(63) Fiction Writing

131 204(63) Creative Storytelling

131 210(63) Acting 1

ELO13 131 108(63) Analysis of MCB

131 202(63) Articles News

131 205(63) Conceptual Photo

131 214(63) Seminar

ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ Affective Domain ELO14 (1) ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่น

(2) สอนให้สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี

(3) เน้นในเรื่องมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไปและมีภาวะผู้นำ

131 101(63) Principle of CA

131 201(63) Visual Interpretation

131 204(63) Creative Storytelling

131 213(63) Advertising

ELO15 131 105(63) Advertising&PR

131 109(63) Speech&Personality

131 209(63) Editing

131 210(63) Acting 1

ELO16 131 104(63) Motion Picture

131 108(63) Analysis of MCB

131 203(63) Fiction Writing

131 206(63) Aesthetics Photo

ELO17 131 107(63) Intercultural Com

131 207(20) Production Design

131 214(63) Seminar

131 308(63) Acting 2

ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Cognitive Domain ELO18 (1) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองและสถานการณ์เสมือนจริง

(2) นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม

(3) เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์หลักการต่างๆ ในสถานการณ์ที่ผิดไปจากการปฏิบัติงานประจำ

 

131 101(63) Principle of CA

131 105(63) Advertising&PR

131 109(63) Speech&Personality

131 303(63) Film Criticism

ELO19 131 108(63) Analysis of MCB

131 109(63) Speech&Personality

131 201(63) Visual Interpretation

131 214(63) Seminar

ELO20 131 205(63) Conceptual Photo

131 206(63) Aesthetics Photo

131 213(63) Advertising

131 308(63) Acting 2

ELO21 131 105(63) Advertising&PR

131 107(63) Intercultural Com

131 108(63) Analysis of MCB

131 202(63) Articles News

ตารางที่ 4.2 ตารางการแสดงตัวอย่างกลยุทธ์การสอนที่ใช้วัด ELOs ในแต่ละรายการของสาขาวิชาสื่อดิจิทัล ปีการศึกษา 2565

โดยวิชาทั่วไปของหลักสูตรนั้นจะประกอบไปด้วยการจัดกิจกรรมการสอนที่มีความหลากหลายในหลายๆโดยหลักสูตรได้แบ่งหมวดหมู่ด้านรายวิชาออกมาเป็น 3 ด้านแห่งการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีของ Bloom’s Taxonomy เพื่อจัดกลยุทธ์การสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังทั้ง 5 ด้านโดยในแต่ละด้านมีรายละเอียดดังนี้

  1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม ได้มีการออกแบบระบบเช็คชื่อในระบบ MIS เพื่อให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของการเข้าชั้นเรียนและมีความตรงต่อเวลาในการเรียนในแต่ละรายวิชา (Evidence 4.3.1)
  2. ด้านความรู้ ได้มีการออกแบบระบบให้นักศึกษาได้นำทฤษฎีและปฏิบัติมาใช้ในการเรียนการสอนโดยนักศึกษาสามารถนำทฤษฎีมาประยุคน์ใช้ได้เช่นระบบการให้คะแนนของแบบฝึกหัดในชั้นเรียนและการให้คะแนนของโครงงานต่างๆทั้ง Midterm Project และ Final Project (Evidence 4.3.2)
  3. ด้านทักษะทางปัญญา โดยนักศึกษาได้มีการปฏิบัติจริงในรายวิชาที่มีการวัดผลในด้านของการปฏิบัติซึ่งจะเป็นรายวิชาในขั้นสูงเช่น รายวิชา Motion Picture, Acting 2, Advertising Production และ Conceptual Photo (Evidence 4.3.3)
  4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ โดยเน้นการทำกิจกรรมกลุ่มของแต่ละรายวิชาเพื่อให้นักศึกษามีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในชั้นเรียนและนอกห้องเรียนเช่นการทำกิจกรรมกลุ่มในวิชา Advertising Production และ วิชา Acting 2 (Evidence 4.3.4)

ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเน้นการจัดกิจกรรมจำลองเพื่อจัดแสดงผลงานของนักศึกษา เช่น การจัดโซนของงาน CA Showcase เพื่อส่งเสริมให้จำลองการจัด Event ในวิทยาลัยเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมในสถานการณ์จำลองนั้นๆ (Evidence 4.3.5)

 

หลักฐาน

4.3

4.3.1 ตัวอย่างระบบเช็คชื่อในรายวิชาต่างๆ ใน MIS
4.3.2 ตัวอย่างการประเมินผลโดยใช้ระบบการให้คะแนนในแต่ละรายวิชา
4.3.3 ตัวอย่างงานในรายวิชาจากงาน CA Showcase ในส่วนของรายวิชา เช่น ละครเวที หนังโฆษณาของ นศ.ปี 3 เป็นต้น
4.3.4 ตัวอย่างการทำกิจกรรมกลุ่มในรายวิชา Acting 2
4.3.5 ตัวอย่างการจัดโซนกิจกรรมในแต่ละชั้นปีการศึกษาในงาน CA Showcase 2565

 

 

4. มีกิจกรรมปลูกฝังให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

การดำเนินการ

การเรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learners) ในความหมายตามร่างพระราชบัญญัติการศึกษาตลอดชีวิต หมายความว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาที่เกิดขึ้นในตัวบุคคล  อันเป็นผลมาจากการได้รับความรู้ ทักษะ หรือประสบการณ์จากการศึกษา หรือจากกิจกรรมในวิถีชีวิตที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนตาย (Evidence 4.4.1)

ดังนั้นทางสาขาได้พัฒนานักศึกษาให้มีทักษะความรู้ที่นำไปต่อยอดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเช่นการฝึกให้นักศึกษาสามารถนำทฤษฎีที่เรียนมาเพื่อวิเคราะห์และนำไปใช้เป็นการฝึกการประยุคน์ใช้องค์ความรู้เพื่อต่อยอดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักศึกษาโดยมีการกระตุ้นให้นักศึกษามีการเรียนรู้แบบ active learning โดยหลักสูตรมุ่งหวังให้นักศึกษามีโอกาศการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติงานจริงโดยมีแต่ละรายวิชาจะรูปแบบของ active learning เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่แตกต่างกันออกไปตามกลยุทธ์การสอนที่หลักสูตรได้วางเอาไว้โดยหากเปรียนเทียบกลยุทธ์การสอนกับแนวทางการเรียนรู้ตลอดชีวิตในรายวิชาต่างๆมีดังนี้

ELOs Teaching Method Lifelong Learning
ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม

(1) มีความซื่อสัตย์สุจริต และสามารถจัดการปัญหาทางด้านจริยธรรม และความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ที่ได้รับกับจรรยาบรรณวิชาชีพ

(2) มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพและแสดงออกซึ่งคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติงานและปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างสม่าเสมอ

(3) รับผิดชอบต่อหน้าที่ เป็นสมาชิกที่ดีของหมู่คณะและร่วมมือร่วมใจในกิจกรรมพัฒนา มีภาวะผู้นำและเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่นเสมอ

(4) มีวินัย มีความตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฏ ข้อบังคับขององค์กรและสังคม

(1) กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของสถาบัน มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านผู้อื่นเป็นต้น

(2) กำหนดให้นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม

(3) อาจารย์ผู้สอนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำ

ประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ ฯลฯ

ให้นักศึกษาได้มีระเบียบวินัยในการรับผิดชอบต่อการทำงานกลุ่มทำให้นักศึกษาสามารถทำงานเข้ากับคนในสังคมหรือชุมชนได้ ทำให้นักศึกษามีทักษะเพื่อไปประยุค์ใช้ก่อให้เกิดเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ในอนาคต ซึ่งการทำงานกลุ่มเป็นทักษะที่สำคัญที่สามารถให้นักศึกษาต่อยอดการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ในอนาคต
ความรู้

(1) มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา

(2) สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางด้านการสื่อสาร

(3) สามารถประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา

(4) สามารถวิเคราะห์ ออกแบบปรับปรุงการจัดการและการผลิตผลงานด้านการสื่อสารให้ตรงตามข้อกำหนด

(5) สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(1) ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง

(2) จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง

(3) ฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ

การเรียนการสอนที่หลากหลายก่อให้เกิดการเรียนแบบ active learning ทำให้นักศึกษาเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายทำให้นักศึกษาเปิดรับความรู้ใหม่ๆมากขึ้นมากไปกว่านั้นการเรียนรู้จากสถานที่จริงจากผู้มีประสบการณ์จะเป็นการฝึกฝนให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลด้วยตนเองจากการฟัง การสักถามจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่สำคัญของนักศึกษา
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

(1) พัฒนาแนวคิดอย่างมีวิจารณญาณ ภายใต้ความเพียงพอของข้อมูลและอย่างมีระบบ

(2) สามารถแก้ปัญหาด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์

(3) สามารถคิดแก้ปัญหาในการจัดการเรียนรู้ที่มีความสลับซับซ้อน เสนอทางออกและนำไปสู่การแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์

(4) มีความเป็นผู้นาทางปัญญาในการคิดพัฒนาการจัดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และมี

วิสัยทัศน์

 

 

(1) กรณีศึกษา

(2) การอภิปรายกลุ่ม

(3) ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง

นักศึกษาได้เรียนรู้จากกรณีศึกษาและอภิปรายกลุ่มทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยเป็นทักษะให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติงานจริงจากบทเรียนที่ได้เรียนรู้มาในห้องเรียนทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเองในอนาคต
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

(1) สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและ

ภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

(2) สามารถให้ความช่วยเหลือและอานวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์

ต่างๆ ในกลุ่ม ทั้งในบทบาทของผู้นาและผู้ร่วมทีมทางาน

(3) สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นาสังคมในประเด็นที่เหมาะสม

(4) มีความรับผิดชอบในการกระทาของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม

(1) ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่น

(2) สอนให้สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี

(3) เน้นในเรื่องมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไปและมีภาวะผู้นำ

การกำหนดให้มีกิจกรรมกลุ่มและมีการแบ่งงานกันตามตำแหน่งจะทำให้นักศึกษาต้องเกิดการประสานงานกับผู้อื่นในห้องเรียนซึ่งเป็นการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีให้กับผู้ร่วมงานในองค์กรเกิดเป็นทักษะ (skill) ในการเรียนรู้ตลอดชีวิตเช่นการทำงานกลุ่มในชั้นเรียน หรือ การจัดกิจกรรม CA Showcase ในแต่ละปี
ผลการเรียนรู้ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

(1) สามารถแนะนาประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์สามารถแนะนาประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์

(2) สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนาเสนออย่างเหมาะสมสามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม

(3) สามารถนานวัตกรรมเทคโนโลยีการสื่อสาร สารสนเทศมาใช้ผลิตงานสื่อดิจิทัลเพื่อการสื่อสารได้

(4) รู้เท่าทันสื่อ คัดกรองและตรวจสอบเนื้อหาสื่อก่อนนามาใช้งานหรือส่งต่อข้อมูล

(1) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองและสถานการณ์เสมือนจริง

(2) นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม

(3) เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์หลักการต่างๆ ในสถานการณ์ที่ผิดไปจากการปฏิบัติงานประจำ

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในทุกรายวิชาจะทำให้นักศึกษานำความรู้มาเสนอแนวทางการแก้ไขและประยุคน์หลักการต่างๆที่ได้เรียนมามาแก้ไขให้เกิดเป็นชิ้นงานที่ได้รับมอบหมายซึ่งการเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเป็นวิธีการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้

ตารางที่ 4.3 ตารางการเปรียบเทียบ ELOs กับกลยุทธ์การสอนเพื่อสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักศึกษา

จากตารางที่ 4.3 พบว่าการเปรียบเทียบ ELOs กับกลยุทธ์การสอนเพื่อสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตพบว่าองค์ประกอบทั้ง 5 ด้านของการเรียนรู้ของหลักสูตรนั้นมีความสัมพันธ์กันสามารถทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตสอดคล้องกับองค์ประกอบการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้านได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

นอกจากกิจกรรมในห้องเรียนแล้วทางหลักสูตรได้มีการจัดกิจกรรมต่างๆทั้งการเรียนรู้แบบวิชาการ (academic leaning) และแบบที่ไม่ใช่ด้านวิชาการ (non-academic learning) ซึ่งสอดคล้องกับโครงการในแต่ละโครงการของหลักสูตรที่ได้จัดทำตลอดปีการศึกษาของหลักสูตร นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้จากการลงมือปฏิบัติจริงในแต่ละโครงการ ยกตัวอย่างเช่นการถ่ายทำรายการในจังหวัดนครนายก ชื่อรายการ “เที่ยวตามเซนต์” (Evidence 4.4.2) ทำให้นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเกิดเป็นประสบการณ์ที่ไม่สามารถหาได้ในห้องเรียนโดยมีอาจารย์หลักสูตรเป็นผู้ชี้นำการเรียนรู้ระหว่างการถ่ายทำทำให้เกิดเป็นความรู้และประสบการณ์ใหม่ของนักศึกษา

 

หลักฐาน

4.4

4.4.1 ร่างพระราชบัญญัติ ความหมายคำว่า การเรียนรู้ตลอดชีวิต Lifelong Learning
4.4.2 เอกสารโครงการ “เที่ยวตามเซนต์”

 

5. มีกิจกรรมปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ และการเป็นผู้ประกอบการ

การดำเนินการ

ในปีการศึกษา 2565 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้มีผลงานนวัตกรรมทางวิชาการจำนวน 2 ชิ้นงาน โดยเกิดจากการรับนโยบายของหัวหน้าสาขาวิชาที่มอบหมายให้กับอาจารย์ประจำรายวิชานำมาปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน โดยนโยบายมีรายละเอียด ดังนี้

  • ต้องการให้นักศึกษามีโอกาสได้ฝึกปฏิบัติมากขึ้น
  • ต้องการให้นักศึกษาเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
  • ต้องการให้นักศึกษาเกิดความภาคภูมิใจในสาขาวิชาและสถาบัน

ผลงานนวัตกรรมทางวิชาการจำนวน 2 ชิ้นงาน ได้แก่

  1.            วิชาการเล่าเรื่องเพื่องานขายเชิงสร้างสรรค์ (131 204 Creative Storytelling for Sale) โดยอาจารย์ประจำวิชาได้ให้นักศึกษาสร้างสรรค์ผลงานการเล่าเรื่องผ่านนวัตกรรมความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) เพื่อใช้ในงาน CA Showcase 2023 โดยเป็นการสร้างความคิดริเริ่มด้านการเล่าเรื่องผ่านนวัตกรรมใหม่ให้นักศึกษาได้ฝึกการประยุคน์ใช้องค์ความรู้ที่เรียนมาประยุคน์ใช้ในการจัดงานจริงของหลักสูตร (Evidence 4.5.1)
  2. วิชาการสร้างสรรค์ภาพยนตร์โฆษณา (131 309 Creative Design of Television Commercials) โดยอาจารย์ประจำรายวิชาได้ออกแบบและสั่งผลิตหมวกที่สกรีนชื่อ วิทยาลัยนานชาติเซนต์เทเรซา เพื่อสร้างเอกลักษณ์และความภาคภูมิใจให้กับนักศึกษา ซึ่งเป็นสินค้าเพื่อใช้ในเรียนการสอนและลงมือปฏิบัติจริง ภายใต้ชื่อโปรเจคว่า STIC CAP เพื่อให้นักศึกษาได้นำสิ่งเรียนมาทดลองใช้จริงในการศึกษาตลาดวางกลยุทธ์ ผลิตชิ้นงานโฆษณาและได้ทดลองขายจริงเพื่อสร้างความคิดด้านการเป็นผู้ประกอบการให้แก่นักศึกษา (Evidence 4.5.2)

โดยชิ้นงานทั้ง 2 ชิ้นได้ตอบโจทย์ในแง่ของการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาโดยนักศึกษาเป็นผู้ร่วมออกแบบสื่อสร้างสรรค์ทำให้เกิดเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ใหม่ในรายวิชารวมทั้งทำให้นักศึกษามีความภูมิใจในผลงานตนเองเพราะได้นำมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมรวมทั้งให้เกิดประโยชน์แก่หลักสูตรและวิทยาลัย

 

หลักฐาน

4.5

4.5.1 Poster ภาพที่ใช้เทคโนโลยี Augmented Reality ในงาน CA Showcase
4.5.2 หมวก STIC cap และโฆษณาของปีการศึกษา 2565

 

 

6. ปรับปรุงกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับอุตสาหกรรมและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง

กระบวนการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรได้มีการพัฒนาหลักสูตรมาอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของอุตสาหกรรม โดยการพัฒนา PLOs ของหลักสูตรจะปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการของอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปและส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีการร่วมงานกับผู้ที่ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมสื่ออย่างต่อเนื่อง โดยหลักสูตรจะวิเคราะห์และกระจายการเรียนรู้ไปในส่วนต่างๆของรายวิชาในแต่ละระดับชั้นของการเรียนรู้ดังนี้ (Evidence 4.6.1)

ปีที่ รายละเอียด
1 นักศึกษามีความรู้และทักษะต่างๆเช่นความรู้ด้านทฤษฎีเบื้องต้นของการสื่อสารความหมายของการ สื่อสารอาชีพในงานสื่อสารมวลชน มีความรู้และยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม เพื่อปรับตนให้เข้ากับความเป็นนานาชาติของสถาบัน นักศึกษามีความรู้ด้านภาษาอังกฤษเพื่อนามาพัฒนาใช้ในงานสายวิชาชีพระดับสูงต่อไป
2 นักศึกษาสามารถนาความรู้พื้นฐานทางด้านทฤษฎีการสื่อสารมาบูรณาการกับความรู้ด้านเทคโนโลยีและศิลปะเพื่อสร้างงาน และนำเสนอผลงานสื่อดิจิทัลเบื้องต้นได้ ภายใต้คุณธรรมและจริยธรรมของงานสื่อสารมวลชน
3 นักศึกษาสามารถออกแบบงานสื่อสารมวลชนได้ตรงตามวัตถุประสงค์ทางการตลาดและยังสามารถแก้ไขปัญหาทั้งในระดับบุคคลและองค์กรสามารถบริหารและจัดการบุคลากรให้เหมาะสมตามหน้าที่ สามารถสร้างสรรค์งานภายใต้ความกดดันที่สูงและสถานการณ์บังคับได้
4 นักศึกษาสามารถบูรณาการความรู้จากที่เรียนมาโดยตลอด เพื่อสร้างรูปแบบงานเฉพาะตน สามารถทำงานและบริหารงานร่วมกับบุคคลภายนอก สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวได้เป็นอย่างดีแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของตัวเองที่พร้อมในงานสายสื่อดิจิทัล

ตารางที่ 4.4 ตารางแสดงผลความคาดหวังของผลลัพท์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา

จากตารางที่ 4.4 จากการแสดงการกระจายตัวของผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของนักศึกษาในแต่ละชั้นปีทำให้นักศึกษาแต่ละชั้นปีมีการเรียนรู้ตามลำดับของเนื้อหาที่ได้ถูกออกแบบตาม PLOs ของหลักสูตรโดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ในปี 1 นักศึกษาจะได้เรียนรู้การทักษะด้านทฤษฎีเบื้อนต้นเพื่อปูพื้นฐานด้านความรู้ทั่วไปในสายงานอาชีพสื่อสารมวลชนซึ่งเป็นความรู้ที่สำคัญในการต่อยอดของสายอาชีพโดยการปรับปรุงของเนื้อหาในชั้นปีนี้ 1 จะมีการปรับปรุงในเรื่องตัวอย่างของเนื้อหาให้มีความทันสมัยและเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันตามทฤษฎีที่เรียนได้
  2. ในปีที่ 2 นักศึกษาสามารถนำทฤษฎีมาประยุคน์ใช้ให้เข้ากับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ได้อย่างดีเพื่อสร้างงานบนสื่อดิจิทัลในระดับเบื้องต้นได้ซึ่งมีการนำทฤษฎีที่ใช้ในปี 1 มาประยุคน์ใช้ให้เกิดประโยชน์
  3. ในปีที่ 3 นักศึกษาสามารถออกแบบสื่อให้ตรงตามโจทย์ที่ได้รับมอบหมายในระดับสูงขึ้นโดยรายวิชาจะเป็นรายวิชาในระดับสูงเช่น Advance advertising หรือ วิชา Aesthetics Photo ทำให้นักศึกษาสามารถสร้างงานตามโจทย์ที่ได้เป็นการฝึกการทำงานตามโจทย์และเพื่อทำให้เกิดการสร้างสรรค์งานสื่อดิจิทัลได้อย่างดี
  4. ในปีที่ 4 นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนทั้ง 3 ชั้นปีที่ผ่านมา สร้างเป็นชิ้นงานและมีการออกไปฝึกงานตามรายวิชาฝึกงานเพื่อให้นักศึกษามองเห็นศักยภาพของตนเองว่าสามารถทำงานในสถานประกอบการได้อย่างดีและมากไปกว่านั้นสามารถผลิตผลงานสื่อที่สามารถเผยแพร่สู่สาธารณะชนได้ตามรายวิชา Senior Project

จากรายละเอียดดังกล่าวจะนำเสนอระบบการเรียนการสอนของหลักสูตรได้มีการจัดการเรียนการสอนตามความต้องการของอุตสาหกรรมและการเรียนรู้ที่คาดหวังของของนักศึกษาในหลักสูตรโดยผู้สอนแจ้งรายละเอียดคำอธิบายรายวิชาทั้งหมดกับผู้เรียน พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนตัดสินใจ ตัดสินใจเลือกตัวเลือกร่วมกัน ผู้สอนจัดการเรียนการสอนและประเมินผล ผู้เรียนทำการประเมินตนเอง และ รายวิชาผ่านระบบประเมินการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย และประเมินผู้สอนผ่านระบบประเมินการสอนของ อาจารย์โดยนักศึกษา จากนั้นผู้สอนจัดทำ TQF.5 (Evidence 4.6.2) เพื่อสรุปผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของผู้เรียนและสะท้อนข้อคิดเห็นการ จัดการเรียนการสอนของผู้เรียนและผู้สอนเอง โดยมีประธานหลักสูตร เป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องและเหมาะสม เบื้องต้น ก่อนนำส่งให้ผู้บริหารลำดับชั้นถัดไปตรวจสอบ ประธานหลักสูตรรวบรวมข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นจาก รายวิชา เพื่อเป็นข้อมูลในการทบทวนและพัฒนาหลักสูตรต่อไป เช่น บางรายวิชาได้สะท้อนปัญหาของคอมพิวเตอร์ในห้องปฏิบัติการ ประธานหลักสูตรได้แจ้งปัญหาดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการวิชาการคณะ เพื่อให้ได้รับการแก้ไขปัญหาถัดไป

หลักฐาน

4.6

4.6.1 รายงานประชุมเรื่องสรุปผลลับการเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา 2565
4.6.2 ตัวอย่าง TQF 5 ในแต่ละรายวิชาในส่วนของการประเมินรายวิชา

 

7. จัดการเรียนรู้ในระบบชั้นเรียน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

การดำเนินการ

การจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนนั้นได้มีการจัดการเรียนการสอนแบบให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้โดยจากรายละเอียดในข้อ 4.2 จะเห็นได้ว่าในทุก ELOs ของหลักสูตรได้ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการออกแบบการเรียนรู้ทั้งสิ้นทำให้นักศึกษาสามารถร่วมกันออกแบบการเรียนรู้ได้ในทุกๆรายวิชา นักศึกษาสามารถรับรู้แผนการสอนในแต่ละรายวิชาและสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนได้ในทุกชั่วโมงการเรียนในแต่ละวิชา (Evidence 4.7.1)

การจัดการเรียนการสอนจะมีระบบที่ให้นักศึกษาเป็นผู้ประเมินการสอนและกิจกรรมในห้องเรียนทำให้หลักสูตรสามารถนำผลการประเมินมาเพื่อพิจารณาในการจัดการเรียนการสอนในครั้งต่อไปได้ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในทุกรายวิชาโดยเป็นนโยบายของหลักสูตร (Evidence 4.7.2)

หลักสูตรยังมีการให้นักศึกษาสามารถเลือกสิ่งที่สนใจจะศึกษาได้ในบางรายวิชาเช่นในวิชา Senior Project/Thesis นั้นมีระบบให้นักศึกษาได้เลือกหัวข้อที่สนใจจะศึกษาและสามารถเลือกอาจารย์ที่เชี่ยวชาญในเรื่องที่นักศึกษาต้องการจะศึกษาทำให้เป็นระบบที่ตอบโจทย์การเรียนรู้ที่มีนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง

 

หลักฐาน

4.7

4.7.1 ตัวอย่าง เนื้อหารายวิชาในคลาสแรกเพื่อแลกเปลี่ยนความต้องการของผู้เรียนในรายวิชา
4.7.2 ตัวอย่าง TQF 5 ในแต่ละรายวิชาในส่วนของการประเมินรายวิชา

 

8. จัดการเรียนรู้ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยเทคนิควิธีการต่างๆ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

          การจัดการทางด้านการเรียนรู้ในห้องเรียนได้มีการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารผ่าน Line (Evidence 4.8.1) และ ส่งงานผ่าน Google Classroom (Evidence 4.8.2) และมีการใช้สื่อการเรียนการสอนจากสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เช่น Facebook (Evidence 4.8.3), YouTube (Evidence 4.8.4), และ Website (Evidence 4.8.5) เพื่อให้นักศึกษาสะดวกในการสื่อสารและจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมซึ่งการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามาเกี่ยวข้องนั้น ทางหลักสูตรต้องมีปัจจัยพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีที่ดีเช่น ระบบอินเตอร์เน็ตไร้สาย Wireless Fidelity (Wi-Fi) ไวไฟ, เทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สาย ตามมาตรฐาน IEEE 802.11 ซึ่งใช้คลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz และ 5.0 GHz ของวิทยาลัยและหลักสูตร (Evidence 4.8.6) ทำให้ประสิทธิภาพการสื่อสารมีความลื่นไหลทำให้เกิดประสิทธิผลทางด้านการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาในหลักสูตรผ่านระบบเทคโนโลยีต่างๆ

 

หลักฐาน

4.8

4.8.1 Line ของหลักสูตรกับนักศึกษา
4.8.2 Google Classroom ของแต่ละรายวิชา
4.8.3 Facebook สาขาสื่อดิจิทัล
4.8.4 YouTube สาขาสื่อดิจิทัล
4.8.5 Website วิทยาลัยในหน้าสาขาสื่อดิจิทัล
4.8.6 ระบบอินเตอร์เน็ตไร้สาย Wireless Fidelity (Wi-Fi) ของวิทยาลัย

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ) การประเมินตนเอง
…5….ข้อ IQA(1-8) 1,2,3,7,8 ….5…ข้อ …4..คะแนน
AUN-QA(1-6) 1(4), 2(4), 3(4) ระดับ……3…….

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเอง IQA AUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 …4… …3…

Leave a Reply