องค์ประกอบที่ 5 การประเมินผล

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การประเมินผล (การประเมินผู้เรียน)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7-9 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-5 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. การประเมินผู้เรียนสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

หลักสูตรฯ มีระบบการประเมินผลการเรียนรู้นักศึกษาโดยผู้สอนต้องใช้วิธีการประเมินที่หลากหลายเพื่อประเมินว่านักศึกษาบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (PLOs) และวัตถุประสงค์การเรียนการสอน (CLOs) ตามที่กำหนดหรือไม่ โดยเป็นไปตามระเบียบวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559 โดยแบ่งการประเมินออกเป็น 3 ช่วงเวลา ได้แก่

– การประเมินในคาบเรียน (20 คะแนน)

– การประเมินในช่วงสอบกลางภาค (20 คะแนน)

– การประเมินในช่วงสอบปลายภาค (60 คะแนน)

 

การประเมินในคาบเรียน

การประเมินในคาบเรียน เป็นการประเมินผลโดยการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการจัดการเรียนการสอนหรือการจัดกิจกรรมทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน โดยผู้สอนสามารถออกแบบการประเมินได้ แต่ต้องสอดคล้องกับแผนที่รับผิดชอบมาตรฐานการเรียนรู้ (จุดขาวจุดดำ) ที่ถูกกำหนดไว้ในแต่ละรายวิชา โดยการประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวังในด้านต่าง ๆ มีแนวทางกลยุทธ์ที่ใช้ในการออกแบบการประเมิน (Evidence TQF2) ดังนี้

การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม 

(1) ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม

(2) ประเมินจากการมีวินัยและความพร้อมของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร

(3) ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้

(1) การทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน

(2) การฝึกปฏิบัติ

(3) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน

(4) ประเมินจากรายงาน โครงการ และหรือผลงานที่นักศึกษาจัดทำ

(5) ประเมินจากการนำเสนอในชั้นเรียน

การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

(1) ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา

(2) ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์ เป็นต้น

การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

(1) ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน

(2) สังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ

(3) ความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล

การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

(1) ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎีการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยี สารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์ และสถิติที่เกี่ยวข้อง

(2) ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัดเหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ การอภิปรายกรณีศึกษาต่าง ๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน

การประเมินในช่วงสอบกลางภาคและปลายภาค

การประเมินในช่วงสอบกลางภาคและปลายภาค ผู้สอนถูกกำหนดให้ออกข้อสอบโดยต้องกำหนดแผนผังในการออกข้อสอบ (Test Blueprint) โดยให้มีข้อสอบแบบปรนัยและอัตนัยในสัดส่วนที่แตกต่างกันไปในแต่ละ  ชั้นปี ดังนี้ (Evidence 5.1.1)

– นักศึกษาปี 1 ข้อสอบปรนัยอย่างน้อย 60 คะแนน

และต้องมีข้อสอบอัตนัย คะแนนเต็มรวม 100 คะแนน

– นักศึกษาปี 2 ข้อสอบปรนัยอย่างน้อย 40 คะแนน

และต้องมีข้อสอบอัตนัย คะแนนเต็มรวม 100 คะแนน

– นักศึกษาปี 3 ข้อสอบปรนัยอย่างน้อย 30 คะแนน

และต้องมีข้อสอบอัตนัย คะแนนเต็มรวม 100 คะแนน

– นักศึกษาปี 4 ข้อสอบปรนัยอย่างน้อย 20 คะแนน

และต้องมีข้อสอบอัตนัย คะแนนเต็มรวม 100 คะแนน

โดยข้อสอบต้องมีลักษณะของการวัด ด้านความรู้ความจำ ด้านความเข้าใจ ด้านการประยุกต์ใช้ ด้านการวิเคราะห์ ด้านการสังเคราะห์ และด้านการประเมินค่า ตามแนวคิดของ Bloom’s Taxonomy (Evidence 5.1.2)

ในส่วนข้อสอบอัตนัยควรมีข้อสอบที่ไม่จำกัดคำตอบในทุกรายวิชา ลักษณะคำถามควรเปิดโอกาสให้ผู้ตอบคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัดสินใจ และคิดสร้างสรรค์อย่างอิสระ เขียนได้อย่างกว้างขวางตามแนวคิด เหตุผล หลักการ ไม่จำกัดขอบเขตคำตอบ (Evidence 5.1.2)

ผู้สอนต้องออกแบบข้อสอบร่างแรกให้แล้วเสร็จภายในเวลาตามที่ปฏิทินการศึกษากำหนด เพื่อทำการรีวิวข้อสอบภายในโดยอาจารย์ในสาขาวิชาสื่อดิจิทัล หลังจากนั้น ข้อสอบจะถูกส่งต่อให้คณะกรรมการตรวจสอบการวัดผลและการประเมินผลผู้เรียน เพื่อทำการรีวิวต่อในลำดับต่อไป หากมีข้อท้วงติง ผู้สอนต้องแก้ไขข้อสอบนั้น หรือหากประสงค์จะไม่แก้ไขต้องชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับข้อสอบนั้นกลับไปที่คณะกรรมการตรวจสอบการวัดผลและการประเมินผลผู้เรียน เพื่อให้มั่นใจว่าหลักสูตรฯมีการประเมินผลที่มีคุณภาพ มีเครื่องมือมีความน่าเชื่อถือ และสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและวัตถุประสงค์การเรียนการสอน (Evidence 5.1.3)

ภายหลังการสอบเสร็จสิ้น หลักสูตรฯมีการทวนสอบ แล้วนำผลมาวิเคราะห์เพื่อวินิจฉัยข้อบกพร่อง หาคุณภาพเครื่องมือ และจัดรวบรวมข้อสอบที่ผ่านการวิเคราะห์ได้คุณภาพในรูปคลังข้อสอบ เพื่อนำมาใช้งานต่อไป (Evidence 5.1.4)

หลักฐาน

5.1
TQF2 เอกสารหลักสูตรฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประทับตรารับทราบ
5.1.1 รายงานการประชุม เรื่อง แนวทางการออกข้อสอบ ปีการศึกษา 2565
5.1.2 ตัวอย่างการออกแบบข้อสอบ ปีการศึกษา 2565
5.1.3 ตัวอย่างการรีวิวข้อสอบ ปีการศึกษา 2565
5.1.4 ตัวอย่างการทวนสอบ ปีการศึกษา 2565

 

 

2. มีการประเมินผลและการอุทธรณ์ผลการประเมินที่ชัดเจน

หลักสูตรฯ มีการกำหนดนโยบายการประเมิน (The assessment policies) และนโยบายการอุทธรณ์การประเมิน (The assessment-appeal policies) ซึ่งหลักสูตรฯ ใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนทุกรายวิชา ผู้สอนต้องวางแผนจัดทำ มคอ.3 และ มคอ.4 โดยก่อนที่จะนำไปใช้ต้องผ่านการพิจารณาจากอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

 

นโยบายการประเมิน (The assessment policies)

ผู้สอนต้องใช้วิธีการประเมินที่หลากหลายและสอดคล้องอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้บรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (PLOs) และวัตถุประสงค์การเรียนการสอน (CLOs) ดังที่ได้อธิบายไปแล้วใน ข้อ 1 และผู้สอนจะต้องสื่อสารกับนักศึกษาให้เข้าใจ โดยในคาบแรกของทุกรายวิชาผู้สอนต้องแสดงข้อมูล ดังต่อไปนี้ (Evidence 5.2.1)

– ผู้สอนต้องแสดงคำอธิบายรายวิชา (Course Description)

– ผู้สอนต้องแสดงแผนการสอน (Teaching Plan)

ได้แก่ หัวข้อในการสอนแต่ละสัปดาห์ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

– ผู้สอนต้องแสดงแผนการประเมินผล (Assessment Plan)

ได้แก่ สัดส่วนการเก็บคะแนนผ่านการสอบหรือวิธีการประเมินอื่น ๆ ที่นักศึกษาต้องเผชิญ

และเกณฑ์ที่จะใช้ในการประเมินผล

– ผู้สอนต้องอธิบายระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการขาดเรียน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

– การเช็ค Absent ใช้ในกรณีที่มีการลากิจ ลาป่วย และขาดเรียนโดยไม่แจ้งล่วงหน้า (จดหมายลาหรือใบรับรองแพทย์ไม่มีผลต่อการนับวันเรียน แต่อาจมีผลต่อคะแนนจิตพิสัย ให้เป็นไปตามผู้สอนเห็นสมควร)

– การเช็ค Special Absent ใช้ในกรณีที่นักศึกษาขาดเรียนเพื่อไปทำกิจกรรมของคณะหรือวิทยาลัยเท่านั้น โดยต้องมีเอกสารรับรองจากคณะหรือวิทยาลัย (นับเวลาเรียนให้)

– หากนักศึกษาขาดเรียนเกินร้อยละ 20 ของเวลาเรียนทั้งหมด นักศึกษาจะหมดสิทธิ์สอบ โดยฝ่ายทะเบียนจะแจ้งเตือนผลทางอีเมลล์ก่อนสัปดาห์สอบอย่างน้อย 1 สัปดาห์ หากนักศึกษาประสงค์จะขอเข้าสอบ ให้รีบติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ประจำรายวิชาเพื่อทำเรื่องอุทธรณ์

ระหว่างภาคการศึกษา ผู้สอนต้องทำการประเมินในคาบเรียน เพื่อประเมินความก้าวหน้าของนักศึกษา เพื่อบรรลุความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติที่กำหนดไว้ โดยข้อสอบต้องผ่านการรีวิวข้อสอบโดยอาจารย์ในสาขาวิชาสื่อดิจิทัล หลังจากนั้น ข้อสอบจะถูกส่งต่อให้คณะกรรมการตรวจสอบการวัดผลและการประเมินผลผู้เรียน เพื่อทำการรีวิวต่อในลำดับต่อไป (ดังที่ระบุรายละเอียดไปแล้วในข้อ 1) นอกจากนั้น หลักสูตรฯยังกำหนดให้มีการนิเทศการสอน อย่างน้อย 1 ครั้ง เพื่อให้เกิดการวิพากษ์การเรียนการสอนและการประเมินผลในคาบเรียน อันนำไปสู่การพัฒนาต่อไป (ทำให้การประเมินไม่ขึ้นอยู่กับการประเมินของผู้ตรวจสอบเพียงคนเดียว) (Evidence 5.2.2)

หลังจบภาคการศึกษา ระบบ MIS จะแจ้งให้นักศึกษาทำแบบประเมินหลักสูตรโดยนักศึกษา (คะแนนการประเมินของอาจารย์แต่ละท่านและสรุปรายวิชา) ก่อน จึงจะสามารถเข้าดูผลการเรียนได้ โดยแบบประเมินดังกล่าวจะถูกแสดงใน TQF 5 เพื่อให้ผู้สอนได้ทราบความพึงพอใจของนักศึกษาต่อเป้าหมายหลักสูตร/วัตถุประสงค์ การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และการประเมินผลของผลการเรียนรู้ ตลอดจนความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนในรายวิชานั้น ๆ เพื่อให้ผู้สอนสามารถนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนได้ โดยผลดังกล่าวแสดงตามหัวข้อต่อไปนี้ (Evidence 5.2.3)

– คะแนนการประเมินรายวิชารายหมวดตามผลการประเมินของนักศึกษา (Course evaluation scores per category of items according to the students’ evaluation.)

– เป้าหมายหลักสูตรฯ/วัตถุประสงค์ (Course Goals/Objectives)

– The course objectives were made clear and well understood by you.

– The intended learning outcomes were made clear and understood by you.

– การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ (Learning Engagement)

– This course enabled you to learn or engage in learning.

– Your interest in the knowledge content increased as the course progressed.

 

– การประเมินผลของผลการเรียนรู้ (Assessment of LO’s)

– The assessment of learning outcomes was relevant and consistent to the course content and learning activities.

– The examination and assignment allowed you to show your acquired knowledge and skills.

– คะแนนประเมินการสอนรายข้อแบบสำรวจตามผลการประเมินของนักศึกษา (Teaching evaluation scores per survey items according to the students’ evaluation.)

– Instructor described clearly objectives of the course/topics.

– Instructor has in-depth knowledge and experience about the course/topics.

– Instructor transferred meaningful knowledge and experience to the students.

– Instructor used variety of learning activities to engage you to learn new knowledge and skills.

– Instructor used relevant learning resource or materials to teach the course.

– Instructor incorporated moral and ethical values while teaching the course.

– Instructor taught and assessed your thinking skills for intellectual development.

– Instructor paid attention to develop learning outcomes of individual students.

ภายหลังนักศึกษาทำแบบประเมินหลักสูตรแล้ว นักศึกษาจะสามารถเข้าดูผลการเรียนได้ โดยผลการประเมินผู้เรียนของอาจารย์ในทุกรายวิชา ถูกกำหนดให้มีการตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม คือ มีการกระจายของคะแนนเป็นกราฟลักษณะคล้ายระฆังคว่ำ (Normal Curve) ยกเว้น นักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยนรวมไม่ถึง 2 เท่านั้น ที่จะไม่สามารถเข้าดูผลการเรียนได้ นักศึกษาต้องรีบติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อปรึกษาแนวทางในการศึกษาต่อไป (ดังจะอธิบายเป็นลำดับต่อไปในข้อ 3)

 

นโยบายการอุทธรณ์การประเมิน (The assessment-appeal policies)

กรณีที่นักศึกษาต้องการขออุทธรณ์ผลการประเมิน นักศึกษามีสิทธิ์ในการยื่นคำร้องต่อหัวหน้าสาขาวิชา เพื่อขอให้ตรวจสอบหรือดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน หัวหน้าสาขาจะดำเนินการตามสมควรเพื่อความเป็นธรรมและโปร่งใสในกรณีที่เป็นรายวิชาที่สอนโดยหัวหน้าสาขาวิชา ให้นักศึกษายื่นคำร้องต่อคณบดี กรณีที่มีความจำเป็น หัวหน้าสาขาวิชาหรือคณบดีอาจแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอแนะการดำเนินการที่จำเป็น (Evidence TQF2)

ในรอบปีการศึกษา 2565 ยังไม่มีนักศึกษารายใดยื่นเรื่องขอร้องเรียน ซึ่งหลักสูตรฯได้พิจารณาให้ดำเนินการตามระบบการรับเรื่องร้องเรียนเดิมต่อไป

 

หลักฐาน

5.2
TQF2 เอกสารหลักสูตรฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประทับตรารับทราบ
5.2.1 ตัวอย่างเอกสารชี้แจงการประเมิน ตามนโยบายการประเมิน (The assessment policies)
5.2.2 เอกสารการนิเทศการสอน ปีการศึกษา 2565
5.2.3 ตัวอย่างการประเมินอาจารย์และสรุปรายวิชา จาก TQF 5 ในระบบ MIS

 

3. มีมาตรฐานและขั้นตอนการประเมินความก้าวหน้า และการสำเร็จการศึกษาของผู้เรียนอย่างชัดเจนและเปิดเผย

หลักสูตรฯมีมาตรฐานและขั้นตอนการประเมินความก้าวหน้าของนักศึกษาและการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญา โดยแบ่งนักศึกษาออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่

– นักศึกษาใหม่

– นักศึกษาที่กำลังศึกษา

– นักศึกษาใกล้จบ

– นักศึกษาก่อนจบ

 

มาตรฐานและขั้นตอนการประเมินนักศึกษาใหม่

มาตรฐานการประเมินนักศึกษาใหม่ (Evidence TQF2 5.3.1)

– เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการให้การรับรอง

– เป็นไปตามระเบียบวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ.2559

– มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ

– มีความประพฤติดี มีความตั้งใจที่จะใช้ความสามารถของตนในการที่จะศึกษาและปฏิบัติตามกฎระเบียบของวิทยาลัยอย่างเคร่งครัด

ขั้นตอนการประเมินนักศึกษาใหม่ (Evidence 5.3.2)

ขั้นตอนการประเมินนักศึกษาใหม่เป็นไปตามระบบการรับนักศึกษาของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ดังแสดงใน ภาพที่ 5.1 แสดง Flowchart ขั้นตอนการรับนักศึกษาใหม่

มาตรฐานการประเมินนักศึกษาที่โอนย้าย (Evidence 5.3.1)

นักศึกษาที่เคยศึกษาในหลักสูตรอื่นหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นมาก่อน สามารถเทียบโอนหน่วยกิต ของรายวิชาที่เทียบเท่ากับรายวิชาในหลักสูตรฯของวิทยาลัยฯ เพื่อนับเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในหลักสูตรฯ ได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การเทียบโอนให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ หรือระเบียบวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559 ส่วนวิชาที่ไม่สามารถเทียบโอนได้ต้องเรียนตามหลักสูตรฯที่วิทยาลัยกำหนด

 

 

 

(1) กรณีที่เป็นนักศึกษาที่โอนย้ายจากหลักสูตรอื่น (สถาบันเดียวกัน) ให้เป็นไปตามเงื่อนไขต่อไปนี้

– นักศึกษาจะขอย้ายสาขาวิชาไปคณะอื่นได้ ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาและคณบดีในคณะเดิม และได้เรียนตามแผนการศึกษาในสาขาวิชาเดิมมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งภาคการศึกษาปกติ ทั้งนี้ไม่นับภาคการศึกษาที่ลาพักหรือถูกสั่งพักการศึกษา

– การย้ายสาขาวิชาไปคณะอื่นจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของสาขาวิชา และคณะนั้น ซึ่งอยู่ในดุลยพินิจของคณบดี

– เมื่อนักศึกษาได้ย้ายสาขาวิชาแล้ว รายวิชาที่เคยเรียนมาทั้งหมดจะถูกโอนนํามาคิดแต้มระดับคะแนน เฉลี่ยสะสมในสาขาวิชาใหม่ทั้งหมด

– รายวิชา ผลการเรียน และหน่วยกิตที่ได้ศึกษามาแล้ว ให้โอน และ/หรือเทียบโอนมาเป็นรายวิชาและ หน่วยกิตในหลักสูตรฯใหม่ได้ โดยต้องได้รับอนุมัติจากคณบดี ตามความเห็นชอบของคณบดี ทั้งนี้ นักศึกษาไม่ต้อง ชําระค่าธรรมเนียมการโอนผลการเรียน

– การย้ายสาขาวิชาจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้ชําระค่าธรรมเนียมการย้ายสาขาวิชา และได้รับการเปลี่ยนรหัสประจําตัวนักศึกษาใหม่แล้ว

(2) กรณีที่เป็นนักศึกษาที่โอนย้ายจากสถาบันอุดมศึกษาอื่น

วิทยาลัยอาจรับโอนนักศึกษาจะทำได้ก็ต่อเมื่อสาขาวิชา/คณะที่ขอเข้าศึกษาสามารถรับได้ โดยต้องได้รับการอนุมัติจากคณบดี นักศึกษาที่จะได้รับการพิจารณารับโอนเข้าศึกษาต้องมีคุณสมบัติตามระเบียบ หรือประกาศของวิทยาลัยว่าด้วยการรับนักศึกษา เงื่อนไขการรับโอนเข้าศึกษา มีดังนี้

– นักศึกษาจะต้องโอนมาศึกษาในสาขาวิชาเดียวกับสาขาวิชาที่กําลังศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาเดิม หรือเทียบเท่า อยู่ในดุลยพินิจของคณบดีโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการเทียบโอนของคณะ

– นักศึกษาต้องกําลังศึกษาอยู่ในสถาบันเดิม และได้ศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ภาคการศึกษาปกติ โดยไม่นับภาคการศึกษาที่ลาพัก

– รายวิชาเดิมที่จะนํามาพิจารณาเทียบโอน จะต้องมีผลการศึกษาในระดับคะแนนไม่ตํ่ากว่า C หรือ แต้มระดับคะแนนไม่ตํ่ากว่า 2.00 หรือเทียบเท่า

– จำนวนหน่วยกิตที่เทียบโอนรวมแล้ว ต้องไม่เกินกึ่งของหลักสูตรฯ

– ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมถึงภาคการศึกษาสุดท้ายก่อนการขอโอนไม่ตํ่ากว่า 2.25 โดยรายวิชาและผลการศึกษาก่อนที่จะได้รับโอน ให้บันทึกตามภาค และปีการศึกษาที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนตั้งแต่ แรกเข้าในสถาบันอุดมศึกษาเดิม แต่ไม่นํามาคํานวณการวัดผลการศึกษา ให้วัดเฉพาะรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนใน วิทยาลัยเท่านั้น

นักศึกษาที่โอนจากสถาบันอื่น ให้ใช้รหัสนักศึกษาเทียบเท่ากับปีการศึกษาแรกเข้าจากสถาบันอุดมศึกษาเดิม และมีสิทธิ์ศึกษาในวิทยาลัยรวมระยะเวลาไม่เกินสองเท่าของจำนวนปีที่กำหนดไว้ในหลักสูตรฯของคณะที่เข้าศึกษา โดยนับรวมระยะเวลาที่ศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาเดิมด้วย

นักศึกษาที่โอนเข้าศึกษาในวิทยาลัยจะต้องมีระยะเวลาเป็นนักศึกษาวิทยาลัยไม่น้อยกว่า 2 ภาคการศึกษา ทั้งนี้ ไม่นับภาคการศึกษาพิเศษ

นักศึกษาจะต้องชําระค่าธรรมเนียมการโอนย้ายตามที่วิทยาลัยกำหนด แต่ไม่ต้องชําระค่าเทียบโอนผลการเรียน

นักศึกษาที่เคยศึกษารายวิชา หรือกลุ่มวิชาวิทยาลัยได้ โดยไม่จํากัดจำนวนหน่วยกิตที่ขอโอน ให้บันทึกผลการศึกษาด้วยรหัสวิชา และชื่อวิชาตามหลักสูตรฯที่ใช้ กับรุ่นที่เข้าศึกษา โดยต้องมีผลการศึกษาในระดับคะแนนไม่ตํ่ากว่า C และจะนับเฉพาะหน่วยกิตที่ได้ แต่ไม่นํามาคํานวณ ทั้งนี้ ระยะเวลาในการศึกษารวมแล้วต้องไม่เกินจำนวนปีที่กำหนดไว้ในหลักสูตร หรือเข้ารับการอบรมตามหลักสูตร และระดับการศึกษาของ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาแบบนักศึกษาบุคคลภายนอก และผ่านกระบวนการคัดเลือกและสรรหาเข้าเป็นนักศึกษาใหม่ สามารถนํารายวิชา และหน่วยกิตที่ได้ศึกษามาแล้ว โอนมาเป็นรายวิชาและหน่วยกิตในหลักสูตร

ขั้นตอนการประเมินนักศึกษาที่โอนย้าย

(1) กรณีที่เป็นนักศึกษาที่โอนย้ายจากหลักสูตรอื่น (สถาบันเดียวกัน) มีขั้นตอนการประเมิน         ดังแสดงใน ภาพที่ 5.2 แสดง Flowchart ขั้นตอนการประเมินนักศึกษาที่โอนย้าย (สถาบันเดียวกัน)

(2) กรณีที่เป็นนักศึกษาที่โอนย้ายจากสถาบันอุดมศึกษาอื่น มีขั้นตอนการประเมิน ดังแสดงใน ภาพที่ 5.3 แสดง Flowchart ขั้นตอนการประเมินนักศึกษาที่โอนย้าย (ต่างสถาบัน)

มาตรฐานและขั้นตอนการประเมินนักศึกษาที่กำลังศึกษา

มาตรฐานนักศึกษาที่กำลังศึกษา (Evidence TQF2 5.3.1)

ให้นักศึกษาพ้นสภาพนักศึกษาในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้

– นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่มีแต้มคะแนนเฉลี่ยสะสมตํ่ากว่า 1.50 เมื่อสิ้นภาคการศึกษาที่สอง

– นักศึกษาที่มีแต้มคะแนนเฉลี่ยสะสมตํ่ากว่า 1.75 ต่อเนื่องกัน 2 ภาคการศึกษาปกติ ยกเว้นปี การศึกษาแรกของนักศึกษาใหม่ (กรณีที่นักศึกษาได้เรียนครบตามหลักสูตรฯแล้ว แต่แต้มระดับคะแนนเฉลี่ย สะสมตํ่ากว่า 2.00 จะได้รับอนุญาตให้เรียนวิชาที่วิทยาลัยกำหนดต่อไปอีกไม่เกิน 2 ภาคการศึกษาปกติ ติดต่อกัน เมื่อสิ้นสุดระยะเวลานี้แล้ว ถ้าแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตํ่ากว่า 2.00 ให้นักศึกษาพ้นสภาพนักศึกษา ทั้งนี้ ไม่เกินระยะเวลา 2 เท่าของหลักสูตร)

– นักศึกษาที่อยู่ในสภาพรอพินิจต่อเนื่องกัน 4 ภาคการศึกษาปกติ

– และข้อกำหนดอื่น ๆ ตามระเบียบวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559

ขั้นตอนการประเมินนักศึกษาที่กำลังศึกษา (Evidence 5.3.3)

หลักสูตรฯมีระบบการประเมินผลการเรียนรู้นักศึกษา โดยผู้สอนต้องใช้วิธีการประเมินที่หลากหลายเพื่อประเมินว่านักศึกษาบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและวัตถุประสงค์การเรียนการสอนตามที่กำหนดหรือไม่ โดยเป็นไปตามระเบียบวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559 โดยแบ่งการประเมินออกเป็น 3 ช่วงเวลา ได้แก่ การประเมินในคาบเรียน (20 คะแนน) การประเมินในช่วงสอบกลางภาค (20 คะแนน) และการประเมินในช่วงสอบปลายภาค (60 คะแนน) ดังที่ได้อธิบายไปแล้วในข้อ 1 มีขั้นตอนการประเมินทั้งระบบ ดังแสดงใน ภาพที่ 5.4 แสดง Flowchart ขั้นตอนการกำหนดวิธีการประเมินผลการเรียนรู้

มาตรฐานและขั้นตอนการประเมินนักศึกษาใกล้จบ

มาตรฐานนักศึกษาใกล้จบ (Evidence 5.3.4)

นักศึกษาจะต้องศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และพัฒนางานสื่อดิจิทัลในหัวข้อที่เลือก เพื่อแสดงความรู้ ทักษะ และความสามารถในการใช้ความรู้ในสถานการณ์ใหม่ ผ่านการแก้ปัญหาในกระบวนการออกแบบการผลิต จนกระทั่งงานเสร็จสมบูรณ์ ภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การประกอบวิชาชีพ

การประเมินในขั้นตอนนี้ จะประเมินผ่านการนำเสนอความคิดของนักศึกษา การผลิตชิ้นงาน การนำผลงานสื่อดิจิทัลออกเผยแพร่สู่สาธารณชน การเขียนรายงาน และการประเมินผลจากคณะกรรมการ โดยมีมาตรฐานการเรียนรู้ ดังนี้

– โครงงาน/งานวิจัยสามารถพัฒนาและต่อยอดความรู้ทางด้านนิเทศศาสตร์ได้

– มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการวิจัย และสามารถเขียนผลงานวิจัยทางนิเทศศาสตร์ได้

– มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการผลิตงานด้านสื่อดิจิทัล (Digital Media) ผลิตงานให้มีลักษณะเฉพาะตนได้

– สามารถทำงานวิจัยเบื้องต้น เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหางานด้านสื่อดิจิทัล (Digital Media) ได้

ขั้นตอนการประเมินสำหรับนักศึกษาใกล้จบ

(1) นักศึกษาเลือกหัวข้อและนำเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน

(2) นักศึกษานำเสนอกระบวนการผลิตงาน (ประเมินผลจากความก้าวหน้าในการทำโครงงาน/การวิจัย) รวม 50 คะแนน

– Defense ครั้งที่ 1 นำเสนอหัวข้อต่อคณะกรรมการ

– Defense ครั้งที่ 2 นำเสนอความคืบหน้าต่อคณะกรรมการ

– Defense ครั้งที่ 3 นำเสนอแผนการทำงานต่อคณะกรรมการ

– รายงานความคืบหน้าระหว่างกระบวนการผลิตกับ อ.ที่ปรึกษา

– Defense ครั้งที่ 4 นำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ

โดยมีเงื่อนไขการ Defense ดังนี้

– นักศึกษามีเวลาในการสอบเค้าโครงกลุ่มละ 40 นาที

– การสอบแต่ละครั้งคะแนนเต็ม 100 คะแนน (นำคะแนนทั้งหมดมาคิดเป็น 50 คะแนน ในภายหลัง)

– นักศึกษาต้องเข้าสอบตามเวลาที่กำหนดเท่านั้น เข้าสอบสายหัก 5 คะแนน ไม่มาสอบหัก 30 คะแนน

– กรณีสอบไม่ผ่านจะต้องนัดสอบซ่อม โดยคะแนนรอบสอบซ่อมจะได้ไม่เกิน 80 คะแนน และ 60 คะแนนตามลำดับ

(3) แสดงผลงาน ในงาน CA Showcase (ประเมินผลจากการนำเสนอผลงานการผลิตสื่อดิจิทัล) รวม 30 คะแนน

– ประเมินจากผลงานสื่อดิจิทัลที่ถูกเผยแพร่

– ภายหลังเผยแพร่งาน มีการวิจารณ์ผลงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระหว่างอาจารย์ รุ่นพี่ รุ่นน้อง และผู้เข้าชมงาน

(4) ส่งเล่มโครงงาน (ประเมินผลจากการนำเสนอปากเปล่าและจากการเขียนรายงานผลงานวิจัย) รวม 20 คะแนน

(5) ผู้เรียนประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเองตามเงื่อนไขของอาจารย์ที่ปรึกษารายวิชา

 

มาตรฐานและขั้นตอนการประเมินนักศึกษาก่อนจบ

มาตรฐานนักศึกษาก่อนจบ (Evidence TQF2 5.3.1)

– นักศึกษาต้องศึกษาและลงทะเบียนครบตามโครงสร้างที่หลักสูตรฯกำหนดจำนวน 126 หน่วยกิต

– ต้องได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.00 ตามระเบียบว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ.2559 ของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา และต้องผ่านการฝึกงาน

– เป็นบุคคลประพฤติดี ไม่ฝ่าฝืนกฎระเบียบ

– ไม่มีภาระหนี้สินกับวิทยาลัย

ขั้นตอนการประเมินสำหรับนักศึกษาก่อนจบ (Evidence 5.3.5)

หลักสูตรฯมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศผลการศึกษา และการตรวจสอบการสำเร็จการศึกษาของผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา ทั้งในสถาบัน และนอกสถาบัน ผ่านระบบ MIS

หลักฐาน

5.3
TQF2 เอกสารหลักสูตรฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประทับตรารับทราบ
5.3.1 ระเบียบวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ.2559
5.3.2 Flowchart ขั้นตอนการรับนักศึกษาใหม่
5.3.3 Flowchart ขั้นตอนการกำหนดวิธีการประเมินผลการเรียนรู้
5.3.4 เอกสารชี้แจงคำอธิบายรายวิชา เค้าโครง เกณฑ์การให้คะแนน กำหนดการและการนัดหมาย
5.3.5 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศผลการศึกษา และการตรวจสอบการสำเร็จการศึกษาของผู้เรียน

 

 

 

4. มีวิธีการประเมินผล ที่คลอบคลุม วิธีการ ระยะเวลา เกณฑ์การประเมิน การกระจายค่าน้ำหนักและการตัดเกรด ที่มีความถูกต้อง เชื่อถือได้ และเป็นธรรม

วิธีการประเมิน

หลักสูตรฯได้จัดทำ มคอ.3 ทุกรายวิชาที่เปิดสอนตามแบบฟอร์มที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กำหนด ซึ่งประธานหลักสูตรฯได้ตรวจสอบ มคอ.3 ในแต่ละภาคการศึกษาเพื่อให้มั่นใจว่า ผู้สอนได้ระบุมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของรายวิชาตรงตามที่หลักสูตรฯกำหนด รวมทั้งได้ระบุวิธีการวัดผลและประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา ซึ่งอาจารย์ผู้สอนได้ระบุเกณฑ์การประเมินไว้อย่างชัดเจน และแจ้งให้นักศึกษาทราบล่วงหน้าก่อนเริ่มการเรียนการสอน

ในระหว่างการศึกษา อาจารย์ผู้สอนของแต่ละรายวิชาได้ทำการประเมินอย่างต่อเนื่อง ผู้เรียนจะถูกวัดและประเมินผลให้มีความรู้ความสามารถที่สอดคล้องและบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังในหลายระดับ ซึ่งหลักสูตรฯได้กำหนดวิธีการประเมินไว้หลากหลายเพื่อให้ผู้รับผิดชอบรายวิชาสามารถนําไปใช้ในการประเมินตามความเหมาะสมและให้สอดคล้องกับลักษณะการจัดการเรียนการ สอนของรายวิชานั้น ๆ โดยในปีการศึกษา 2565 ได้เปิดสอนทั้งสิ้น 29 รายวิชา และได้กำหนดวิธีการประเมินของแต่ละรายวิชา ดังแสดงในตารางที่ 5.1 แสดงกำหนดวิธีการประเมินของแต่ละรายวิชา ประจำปีการศึกษา 2565

ตารางที่ 5.1 แสดงกำหนดวิธีการประเมินของแต่ละรายวิชา ประจำปีการศึกษา 2565

วิธีการประเมิน คุณธรรม

จริยธรรม

ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะในการวิเคราะห์        เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
(1) (2) (3) (1) (2) (3) (4) (5) (1) (2) (1) (2) (3) (1) (2)
131 104(63) Motion Picture / / / / / / /
131 105(63) Advertising&PR / / / / / / / / /
131 107(63) Intercultural Com / / / / / / / / /
131 108(63) Analysis of MCB / / / / / / / / / /
131 201(63) Visual Interpretation / / / / / / / / /
131 202(63) Articles News / / / / / / / / /
131 205(63) Conceptual Photo / / / / / / / / / /
131 209(63) Editing / / / / / / / / /
131 210(63) Acting 1 / / / / / / /
131 216 Training Practicum / / / / / / /
131 308(63) Acting 2 / / / / / / /
131 311 Film Production / / / / / / / / / / /
131 317 Advanced Performance / / / / / / /
131 101(63) Principle of CA / / / / / /
131 102(63) Law and Ethics / / / / / / /
131 109(63) Speech&Personality / / / / / / / / /
131 203(63) Fiction Writing / / / / / /
131 204(63) Creative Storytelling / / / / / /
131 206(63) Aesthetics Photography / / / / / / / /
131 207 Content Provider / / / / / / /
131 207(20) Production Design / / / / / / / / /
131 208(63) Light&Sound Design / / / / / / / /
131 211(63) Documentary / / / / / / / / /
131 213(63) Advertising / / / / / / / / /
131 213 Doc&Mockumentary / / / / / / / / /
131 214(63) Seminar / / / / / / /
131 217 Senior Project/Thesis / / / / / / / / / / /
131 303(63) Film Criticism / / / / / /
131 309 Creative Design of TVC / / / / / / / / /

โดยผู้สอนแต่ละรายวิชาต้องจัดทำ มคอ.3 ตามตัวอย่างแผนการประเมินผลการเรียนรู้ฯ ตามตัวอย่างตาราง ดังแสดงใน ตารางที่ 5.5 แสดงตัวอย่างตารางแผนการประเมินผลการเรียนรู้ฯ (Evidence TQF3)

 

Learning Outcomes

(See section 3 for detail)

Assessment Scheduled

Week

Proportion of

course grading (%)

3.1.1, 3.1.2, 3.2.5, 3.4.3, 3.5.3 Class participation Every session 5%
3.1.1, 3.1.2, 3.2.1, 3.3.1, 3.4.3, 3.5.3 Assignments and quizzes weekly 15%
3.2.1 Midterm test 10th 20%
3.2.1 Final examination 18th 60%

ตารางที่ 5.5 แสดงตัวอย่างตารางแผนการประเมินผลการเรียนรู้ฯ

 

ผู้สอนต้องออกแบบข้อสอบร่างแรกให้แล้วเสร็จภายในเวลาตามที่ปฏิทินการศึกษากำหนด (Evidence 5.4.1) เพื่อทำการรีวิวข้อสอบภายในโดยอาจารย์ในสาขาวิชาสื่อดิจิทัล หลังจากนั้น ข้อสอบจะถูกส่งต่อให้คณะกรรมการตรวจสอบการวัดผลและการประเมินผลผู้เรียน เพื่อทำการรีวิวต่อในลำดับต่อไป หากมีข้อท้วงติง ผู้สอนต้องแก้ไขข้อสอบนั้น หรือหากประสงค์จะไม่แก้ไขต้องชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับข้อสอบนั้นกลับไปที่คณะกรรมการตรวจสอบการวัดผลและการประเมินผลผู้เรียน เพื่อให้มั่นใจว่าหลักสูตรฯมีการประเมินผลที่มีคุณภาพ มีเครื่องมือมีความน่าเชื่อถือ และสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและวัตถุประสงค์การเรียนการสอน ดังที่ได้อธิบายไปแล้วในข้อ 1

 

กฎระเบียบหรือหลักเกณฑ์ในการให้ระดับคะแนน (เกรด)

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษาเป็นไปตามระเบียบวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559

เกณฑ์การให้คะแนน (Scoring Rubric)

หลักสูตรฯได้กําหนดให้ทุกรายวิชาให้ระดับขั้น (Grade) โดยยึดถือเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ใน มคอ.3 เป็นหลัก และขอความร่วมมือให้แต่ละรายวิชานําเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริคองค์รวม (Holistic Rubrics) มาปรับใช้เป็นเกณฑ์การให้คะแนนผลงาน และนําเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริคแยกส่วน (Analytic Rubrics) มาปรับใช้เป็นเกณฑ์การให้คะแนนคุณลักษณะของผลงานหรือกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้แต่ละรายวิชา ผู้สอนต้องแจ้งแนวทางการให้ระดับคะแนนไว้อย่างชัดเจน (Evidence 5.4.2)

แผนผังการให้คะแนน (Marking Schemes)

หลักสูตรฯได้ขอความร่วมมือให้แต่ละรายวิชาใช้แผนผังการให้คะแนน (Marking Schemes)

เป็นเครื่องมือในการประเมินนักศึกษา (Evidence 5.4.3)

 

กระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา

(ความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือและความเป็นธรรมในการประเมิน)

หลักสูตรฯมีการปฏิบัติการประเมินผล โดยมีกรอบเวลาตามปฏิทินการศึกษาของวิทยาลัย โดยผลการประเมินของสาขาวิชาจะส่งต่อไปยังสำนักทะเบียนและวัดผลตามกำหนด เพื่อทำการทวนสอบ การประเมินผล การกระจายค่าน้ำหนัก และการตัดเกรด ตามเกณฑ์การประเมินที่หลักสูตรฯกำหนด ให้ผลการประเมินมีความ ถูกต้อง เชื่อถือได้ และเป็นธรรมกับผู้เรียน

การทวนสอบมาตรฐานการเรียนรู้ขณะนักศึกษายังไม่สำเร็จการศึกษา (Evidence 5.1.4)

– ให้อาจารย์แสดงตัวอย่างการประเมินผลทุกรายวิชาเพื่อการทวนสอบ

– จัดตั้งกรรมการเพื่อตรวจสอบการให้คะแนนในรายวิชาหรือรายงานของผู้เรียน

– เปรียบเทียบการให้คะแนนข้อสอบในแต่ละรายวิชา ตามเกณฑ์ที่กำหนดเพื่อให้ผู้สอนมีมาตรฐานการให้คะแนน โดยเฉพาะรายวิชาที่มีผู้สอนมากกว่า 1 คน

การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้หลังจากนักศึกษาสำเร็จการศึกษา (Evidence 5.4.4 5.4.5 5.4.6)

– จัดตั้งคณะกรรมการในการทวนสอบมาตรฐานการเรียนรู้หลังจากนักศึกษาสำเร็จการศึกษา

– ดำเนินการทวนสอบหลังจากนักศึกษาสำเร็จการศึกษา

– สำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิตแต่ละรุ่นที่สำเร็จการศึกษา โดยการวิจัยหรือรายงานผลสัมฤทธิ์การมีงานทำของบัณฑิต และนำผลมาปรับปรุงหลักสูตรฯฯและกระบวนการเรียนการสอน

– ตรวจสอบจากสถานศึกษาและสถานประกอบโดยการตอบแบบสอบถามหรือการสัมภาษณ์ เพื่อประเมินความพึงพอใจในบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา และเข้าทำงานในสถานประกอบการนั้น ๆ

 

หลักฐาน

5.4
TQF3 มคอ. 3
5.1.4 ตัวอย่างการทวนสอบ ปีการศึกษา 2565
5.4.1 ปฏิทินการศึกษา ปีการศึกษา 2565
5.4.2 ตัวอย่างการแจ้งเกณฑ์การให้คะแนน
5.4.3 ตัวอย่างการใช้แผนผังการให้คะแนนเป็นเครื่องมือในการประเมินนักศึกษา
5.4.4 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการทวนสอบ
5.4.5 ข้อมูลภาวะการมีงานทำของบัณฑิต
5.4.6 ผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

 

5. มีวิธีการประเมินเพื่อวัดผลสำเร็จของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรและรายวิชา

ในการระบุวิธีการประเมิน ผู้สอนทุกคนต้องปฏิบัติตาม PLOs ใน TQF2 จากนั้นผู้สอนจึงจะออกแบบวิธีการประเมินที่เหมาะสมตาม CLOs และวัตถุประสงค์ของหลักสูตรฯ โดยพื้นฐานแล้วสำหรับด้านเจตพิสัย (Affective Domain) จะประเมินโดยใช้การสังเกตจากการเข้าห้องเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย การร่วมกิจกรรม การมีวินัย และความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เป็นต้น ในขณะที่ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) และด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) จะประเมินโดยใช้การมอบหมายงาน แบบทดสอบ ข้อสอบ ข้อเขียน เรียงความ กรณีศึกษา สถานการณ์จำลอง ปากเปล่า งานนำเสนอ หรืองานโครงการ เป็นต้น

หลักสูตรฯได้แสดงตัวอย่างวิธีการประเมินที่สอดคล้องกับ PLOs ดังแสดงใน ตารางที่ 5.6 แสดงวิธีการประเมินที่ใช้ในการวัด PLOs แต่ละรายการ (ปีการศึกษา 2565) โดยเมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา วิธีการประเมินจะถูกประเมินโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอก ได้แก่ ศิษย์ปัจจุบัน อาจารย์ และคณะกรรมการตรวจประเมินตามลำดับ เพื่อให้วิธีการประเมินมีคุณภาพและประสิทธิภาพ

 

ตารางที่ 5.6 แสดงวิธีการประเมินที่ใช้ในการวัด PLOs แต่ละรายการ (ปีการศึกษา 2565)

Domain of learning Bloom’s taxonomy ELOs Assessment methods Examples of courses
คุณธรรม จริยธรรม Affective Domain

(emotion-based)

ELO1 (1) ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม

(2) ประเมินจากการมีวินัยและความพร้อมของนักศึกษา

ในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรฯ

(3) ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

131 102(63) Law and Ethics

131 206(63) Aesthetics Photo

131 213(63) Advertising

131 303(63) Film Criticism

ELO2 131 101(63) Principle of CA

131 204(63) Creative Storytelling

131 210(63) Acting 1

131 308(63) Acting 2

ELO3 131 208(63) Light&Sound Design

131 210(63) Acting 1

131 211(63) Documentary

131 214(63) Seminar

ELO4 131 105(63) Advertising&PR

131 201(63) Visual Interpretation

131 205(63) Conceptual Photo

131 208(63) Light&Sound Design

ความรู้ Cognitive Domain

(knowledge-based)

 

Psychomotor Domain

(action-based)

ELO5 (1) การทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน

(2) การฝึกปฏิบัติ

(3) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน

(4) รายงาน โครงการ และหรือผลงานที่นักศึกษาจัดทำ

(5) ประเมินจากการนำเสนอในชั้นเรียน

131 101(63) Principle of CA

131 102(63) Law and Ethics

131 203(63) Fiction Writing

131 208(63) Light&Sound Design

ELO6 131 201(63) Visual Interpretation

131 202(63) Articles News

131 211(63) Documentary

131 303(63) Film Criticism

ELO7 131 104(63) Motion Picture

131 109(63) Speech&Personality

131 207(20) Production Design

131 209(63) Editing

ELO8 131 107(63) Intercultural Com

131 203(63) Fiction Writing

131 204(63) Creative Storytelling

131 208(63) Light&Sound Design

ELO9 131 202(63) Articles News

131 205(63) Conceptual Photo

131 206(63) Aesthetics Photo

131 213(63) Advertising

131 209(63) Editing

ทักษะทางปัญญา Cognitive Domain

(knowledge-based)

 

Psychomotor Domain

(action-based)

ELO10 (1) ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา

(2) ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียนการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือ สัมภาษณ์ เป็นต้น

131 102(63) Law and Ethics

131 104(63) Motion Picture

131 207(20) Production Design

131 211(63) Documentary

ELO11 131 303(63) Film Criticism
ELO12 131 107(63) Intercultural Com

131 203(63) Fiction Writing

131 204(63) Creative Storytelling

131 210(63) Acting 1

ELO13 131 108(63) Analysis of MCB

131 202(63) Articles News

131 205(63) Conceptual Photo

131 214(63) Seminar

ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ Affective Domain

(emotion-based)

ELO14 (1) ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่ม ในชั้นเรียน

(2) สังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วม กิจกรรมต่าง ๆ

(3) ความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล

131 101(63) Principle of CA

131 201(63) Visual Interpretation

131 204(63) Creative Storytelling

131 213(63) Advertising

ELO15 131 105(63) Advertising&PR

131 109(63) Speech&Personality

131 209(63) Editing

131 210(63) Acting 1

ELO16 131 104(63) Motion Picture

131 108(63) Analysis of MCB

131 203(63) Fiction Writing

131 206(63) Aesthetics Photo

ELO17 131 107(63) Intercultural Com

131 207(20) Production Design

131 214(63) Seminar

131 308(63) Acting 2

ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Cognitive Domain

(knowledge-based)

ELO18 (1) ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎี การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยี สารสนเทศ               หรือคณิตศาสตร์ และสถิติที่เกี่ยวข้อง

(2) ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัดเหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ การอภิปรายกรณีศึกษาต่าง ๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน

131 101(63) Principle of CA

131 105(63) Advertising&PR

131 109(63) Speech&Personality

131 303(63) Film Criticism

ELO19 131 108(63) Analysis of MCB

131 109(63) Speech&Personality

131 201(63) Visual Interpretation

131 214(63) Seminar

ELO20 131 205(63) Conceptual Photo

131 206(63) Aesthetics Photo

131 213(63) Advertising

131 308(63) Acting 2

ELO21 131 105(63) Advertising&PR

131 107(63) Intercultural Com

131 108(63) Analysis of MCB

131 202(63) Articles News

 

หลักสูตรฯนําผลการประเมินรายวิชาที่ผ่านการทวนสอบแล้ว มาจัดทำรายงานการวัดผลสำเร็จของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของรายวิชา และรายงานการวัดผลสำเร็จของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรฯรายชั้นปี เพื่อให้มั่นใจว่ามีผลการดำเนินการเป็นไปตามที่หลักสูตรฯกำหนด (Evidence 5.5.1)

 

หลักฐาน

5.5
5.5.1 รายงานการวัดผลสำเร็จของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง รายวิชา และผลสำเร็จของหลักสูตรฯรายชั้นปี

 

 

6. ให้ข้อมูลป้อนกลับกับผู้เรียนที่เหมาะสมกับระยะเวลาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

หลักสูตรฯ มีแนวทางการให้ข้อมูลย้อนกลับและแนวทางการช่วยเหลือนักศึกษา โดยมีการให้ข้อมูลย้อนกลับ/ประเมินผลการเรียนระหว่างเรียน (formative assessment) เช่น สังเกตการมีส่วนร่วม การตอบคำถาม ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ร่วมอภิปราย ทำแบบฝึกหัดทั้งในขณะเรียนทันที หรือผ่านแบบฝึกหัด หรือผลงาน การให้ข้อมูลย้อนกลับผ่านระบบออนไลน์ในชั้นเรียนและเป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งการเปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลย้อนกลับได้ทันทีและทั่วถึง จากการสอบถามการดำเนินการลักษณะดังกล่าว นักศึกษามีความพึงพอใจ เนื่องจากมีโอกาสปรับปรุงตนเองให้สามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปปฏิบัติได้

จากผลการติดตามพบว่านักศึกษามีผลลัพธ์การเรียนรู้ดีขึ้น เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนมีการให้ข้อมูลป้อนกลับในหลากหลายช่องทาง Chat, line, Google Classroom, Google meet รวมทั้งทางโทรศัพท์ (Evidence 5.6.1)

 

หลักฐาน

5.6
5.6.1 ตัวอย่างการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักศึกษา

 

 

7. มีการทบทวนและปรับปรุงการประเมินผลผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

การประเมินนักศึกษา (The student assessment)

ในการดำเนินการของหลักสูตรฯ เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนแต่ละวิชา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ จะมีการการประเมินนักศึกษา (The student assessment) เพื่อให้มั่นใจว่าสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ดังแสดงใน ตารางที่ 5.7 แสดงผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา 2565

 

ตารางที่ 5.7 แสดงผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา 2565

นักศึกษา ผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา ผลลัพธ์ 2565
ปี 1 นักศึกษามีความรู้และทักษะต่าง ๆ เช่น ความรู้ด้านทฤษฎีเบื้องต้นของการสื่อสารความหมายของการ สื่อสารอาชีพในงานสื่อสารมวลชน มีความรู้และยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม เพื่อปรับตนให้เข้ากับความเป็นนานาชาติของสถาบัน นักศึกษามีความรู้ด้านภาษาอังกฤษเพื่อนามาพัฒนาใช้ในงานสายวิชาชีพระดับสูงต่อไป บรรลุ
ปี 2 นักศึกษาสามารถนาความรู้พื้นฐานทางด้านทฤษฎีการสื่อสารมาบูรณาการกับความรู้ด้านเทคโนโลยีและศิลปะเพื่อสร้างงาน และนำเสนอผลงานสื่อดิจิทัลเบื้องต้นได้ ภายใต้คุณธรรมและจริยธรรมของงานสื่อสารมวลชน บรรลุ
ปี 3 นักศึกษาสามารถออกแบบงานสื่อสารมวลชนได้ตรงตามวัตถุประสงค์ทางการตลาดและยังสามารถแก้ไขปัญหาทั้งในระดับบุคคลและองค์กรสามารถบริหารและจัดการบุคลากรให้เหมาะสมตามหน้าที่ สามารถสร้างสรรค์งานภายใต้ความกดดันที่สูงและสถานการณ์บังคับได้ บรรลุ
ปี 4 นักศึกษาสามารถบูรณาการความรู้จากที่เรียนมาโดยตลอด เพื่อสร้างรูปแบบงานเฉพาะตน สามารถทำงานและบริหารงานร่วมกับบุคคลภายนอก สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวได้เป็นอย่างดีแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของตัวเองที่พร้อมในงานสายสื่อดิจิทัล บรรลุ

 

การประเมินกระบวนการประเมินนักศึกษา

ในระดับรายวิชาฯ เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนแต่ละวิชา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจะมีการทบทวนกระบวนการจัดการประเมินผลการเรียนรู้ในแต่ละรายวิชา โดยรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • การประเมินจากนักศึกษาผ่านแบบสอบถาม ดังที่ได้อธิบายไปแล้วในข้อ 2 หัวข้อ นโยบายการประเมิน (The assessment policies) (Evidence TQF5)
  • การประเมินจากคณาจารย์ในหลักสูตรฯ ผ่านการนิเทศการสอน ดังที่ได้อธิบายไปแล้วในข้อ 2 หัวข้อ นโยบายการประเมิน (The assessment policies) (Evidence 5.2.2)
  • ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากกรรมการที่ทำการรีวิวข้อสอบ และทวนสอบ ดังที่ได้อธิบายไปแล้วในข้อ 4 หัวข้อ กระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา (Evidence 5.1.3 5.1.4 5.4.4)

ในระดับหลักสูตรฯ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจะรับฟังความคิดเห็นจากนักศึกษา อาจารย์ผู้สอน และพี่เลี้ยงในแหล่งฝึก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะผู้ใช้บัณฑิตและสถานประกอบการ เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรฯต่อไป (Evidence 5.7.1)

หลักฐาน

5.7

TQF5 มคอ.5
5.1.3 ตัวอย่างการรีวิวข้อสอบ ปีการศึกษา 2565
5.1.4 ตัวอย่างการทวนสอบ ปีการศึกษา 2565
5.2.2 เอกสารการนิเทศการสอน ปีการศึกษา 2565
5.4.4 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการทวนสอบ
5.7.1 รายงานประชุม ข้อเสนอแนะจากผู้ใช้บัณฑิตและสถานประกอบการต่อนักศึกษาฝึกงาน

8. มีการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้และการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน

หลักสูตรฯมีการประเมินผลการเรียนรู้และพัฒนาการการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยใช้ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้ติดตามอย่างใกล้ชิด (โดยจะอธิบายอย่างละเอียดไปแล้วในองค์ประกอบที่ 7 ข้อที่ 3 หัวข้อระบบติดตามความก้าวหน้าของนักศึกษา ในลำดับต่อไป) อาจารย์ที่ปรึกษาสามารถติดตามผลการเรียนรู้และพัฒนาการการเรียนรู้ของนักศึกษาได้จากระบบ MIS ในหัวข้อ Advisor (Evidence 5.8.1)  โดยสามารถติดตามข้อมูลประวัตินักศึกษา (Advisee Profiles) คะแนนสอบกลางภาคของนักศึกษา (Advisee Midterm Score Export) เกรดเฉลี่ยของนักศึกษา (Advisee Grades Export) การเข้าเรียนของนักศึกษา (Advisee Attendance Export) และคะแนนโทอิกของนักศึกษา (Advisee TOEIC Score Export)

จากการติดตามพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา ระหว่างปีการศึกษา 2562 – 2565 สามารถแสดงพัฒนาการการเรียนรู้ของนักศึกษาได้ ดังแสดงใน ตารางที่ 5.8 ตารางแสดงคะแนนเฉลี่ยสะสม (Cumulative Grade Point Average : CGPA)

 

ตารางที่ 5.8 ตารางแสดงคะแนนเฉลี่ยสะสม (Cumulative Grade Point Average : CGPA)

ลำดับที่ รหัสนักศึกษา ชื่อ-นามสกุล CGPA สถานะ
2562 2563 2564 2565
1 2 1 2 1 2 1 2
1 172121016 PHONGPHAT PHANCHOMPHU 2.80 W W W W W 2.83 2.93 สำเร็จการศึกษา
2 192121001 BAWONRAK KHOPRASERTTHAWORN 2.6 2.25 2.25 2.3 2.51 2.62 2.62 2.64 สำเร็จการศึกษา
3 192121002 THANABUN NUROT 1.95 2.13 2.09 2.06 2.00 2.12 2.12 2.16 สำเร็จการศึกษา
4 192121004 RATTHANON PRAKING 3.25 2.96 2.89 2.73 2.78 2.79 2.79 2.80 สำเร็จการศึกษา
5 192121006 THANAKORN SUEBJON 3.14 2.72 2.76 2.54 2.64 2.68 2.68 2.72 สำเร็จการศึกษา
6 192121007 LIKASIT SANSANG 2.11 2.12 2.02 1.95 1.91 1.98 2.01 2.02 สำเร็จการศึกษา
7 192121012 CHEERY OUTKHAM LIM 3.50 3.42 3.39 3.29 3.27 3.32 3.32 3.34 สำเร็จการศึกษา
8 192121014 NATAMON THAOPHUMMEK 2.00 2.10 1.98 2.02 2.16 2.23 2.22 2.22 สำเร็จการศึกษา
9 192121015 NIRATCHA BOONSUK 2.85 2.43 2.25 2.18 2.24 2.20 2.22 2.19 สำเร็จการศึกษา
10 192121016 PATCHARAPOL LA-LERD 3.32 3.10 3.03 2.96 3.08 3.07 3.07 3.11 สำเร็จการศึกษา
11 192121019 NAPHASON KIAOPHAN 3.42 3.00 3.00 3.02 3.14 3.22 3.22 3.23 สำเร็จการศึกษา
12 192121020 BUNNAROT PANTIAN 2.50 2.18 2.08 2.10 2.18 2.12 2.12 2.12 สำเร็จการศึกษา
13 202121008 PHURIT KLOMKANGPLU 2.47 2.68 2.66 2.37 2.34 2.32 กำลังศึกษา
14 202121015 SUTTHICHAI NARMTHUM 2.35 2.59 2.64 2.62 2.64 2.59 กำลังศึกษา
15 202121017 THANAKRIT LERTDAMRONGRAK 3.61 3.26 3.27 3.31 3.36 3.30 กำลังศึกษา
16 202121020 WONGSAKORN SRIRUANG 2.52 2.72 2.90 2.89 2.73 2.64 กำลังศึกษา
17 212121001 ALUNGKARN PAOOW 2.50 2.54 2.50 2.42 กำลังศึกษา
18 212121002 JATUPORN KHONGSOMPEN 3.00 2.90 2.70 2.64 กำลังศึกษา
19 212121004 KITTISAK DACHAKAMJONSAKUL 3.32 3.41 3.47 3.47 กำลังศึกษา
20 212121005 NATTHASIT KHUNWAPI 2.71 2.91 2.89 2.89 กำลังศึกษา
21 222121004 PATTHITA KHUNCHANDEE 2.61 2.47 กำลังศึกษา
22 222121005 SUCHADA CHAROENUPAKORN 2.61 2.47 กำลังศึกษา
23 222121006 CHANAKAN PRADONCHOB 2.44 2.30 กำลังศึกษา
24 222121007 PHUMIN KHAMCHAROEN 2.83 2.62 กำลังศึกษา
25 222121008 PHANNITA KOSANTHIA 2.86 2.72 กำลังศึกษา
26 222121016 PIMPILAI TEPKAEW 2.77 2.63 กำลังศึกษา
27 222121017 KUNTHICHA SIRIBOON 3.66 3.67 กำลังศึกษา

 

จากตารางที่ 5.8 หลักสูตรฯสามารถวิเคราะห์พัฒนาการการเรียนรู้ของนักศึกษาแต่ละชั้นปีได้ (Evidence 5.5.1) โดยจะแสดงตัวอย่างของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ซึ่งมีการเก็บข้อมูลครบถ้วนจนสำเร็จการศึกษา ดังแสดงใน  ภาพที่ 5.5 แสดงกราฟพัฒนาการการเรียนรู้ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4

จากการเปรียบเทียบผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา 2562 และ 2563 พบว่า ผู้เรียนร้อยละ 18.18 มีพัฒนาการที่ดีขึ้น ในขณะที่ผู้เรียนร้อยละ 81.81 มีพัฒนาการการเรียนรู้ถดถอย จากการวิเคราะห์สาเหตุ พบว่าเกิดจากการสถานการณ์โรคระบาดโควิดที่ทำให้ต้องเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนเป็นแบบออนไลน์ ส่งผลต่อการเรียนการสอน โดยเฉพาะในวิชาภาคปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง

จากการเปรียบเทียบผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา 2563 และ 2564 พบว่า ผู้เรียนร้อยละ 100           มีพัฒนาการที่ดีขึ้น เนื่องจาก หลักสูตรฯได้ปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์โรคระบาดโควิดได้ดียิ่งขึ้น โดยเปลี่ยนรูปแบบงานภาคปฏิบัติจากการสั่งงานกลุ่มในห้องเรียน เป็นการส่งประกวดเพื่อชิงรางวัลแบบเดี่ยวหรือกลุ่มเล็กไม่เกิน 3 คน ส่งผลให้นักศึกษามีความกระตือรือร้นต่อการเรียนรู้และมีประสบการณ์จากการฝึกปฏิบัติมากขึ้น

จากการเปรียบเทียบผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา 2564 และ 2565 พบว่า ผู้เรียนร้อยละ 75             มีพัฒนาการที่ดีขึ้น ผู้เรียนร้อยละ 8.3 มีพัฒนาการคงที่ ในขณะที่ผู้เรียนร้อยละ 16.66 มีพัฒนาการการเรียนรู้ที่ถดถอยลงเล็กน้อย เพียง 0.01 เท่านั้น คือ จาก 2.23 เป็น 2.22 และ 2.20 เป็น 2.19 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้

จากการวิเคราะห์ผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อผู้เรียนสำเร็จการศึกษา อ้างอิงตามระเบียบวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ.2559 พบว่า ผู้เรียนร้อยละ 25 มีผลลัพธ์การเรียนรู้อยู่ในระดับดี ผู้เรียนร้อยละ 33.33 มีผลลัพธ์การเรียนรู้อยู่ในระดับค่อนข้างดี และ ผู้เรียนร้อยละ 41.66 มีผลลัพธ์การเรียนรู้อยู่ในระดับพอใช้ ส่งผลให้ผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา 2565 ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 บรรลุ ดังได้แสดงใน ตารางที่ 5.7 แสดงผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา 2565 (องค์ประกอบที่ 7 ข้อที่ 7)

 

หลักฐาน

5.8

5.5.1 รายงานการวัดผลสำเร็จของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังรายวิชา และผลสำเร็จของหลักสูตรฯรายชั้นปี
5.8.1 ภาพหน้าระบบ MIS ในหัวข้อ Advisor

 

9. มีการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษา

ผลการดำเนินการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ ในปีการศึกษา 2565 ของหลักสูตรฯ พบว่า สาขาวิชามีการดำเนินการเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรฯ (Evidence 5.5.1)

 

หลักฐาน

5.9

5.5.1 รายงานการวัดผลสำเร็จของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังรายวิชา และผลสำเร็จของหลักสูตรฯรายชั้นปี

 

 

 

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ) การประเมินตนเอง
 ….9ข้อ…. IQA(1-9) 1,2,3,8,9 ….5…ข้อ …4..คะแนน
AUN-QA(1-7) 1(4), 2(4), 3(4) ระดับ……3…….

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐาน รายการ
5.1.1.1 ตัวอย่างการประเมินในรายวิชา
5.1.1.2 ตัวอย่างการประเมินในข้อสอบปลายภาค
5.1.1.3 ตัวอย่างการประเมินในโครงงานนิเทศศาสตร์
5.1.1.4 กระบวนการกลั่นกรอง
5.1.1.5 ตัวอย่างการประเมิน / การทำเครื่องหมายรูบริก
5.1.1.6 ข้อกำหนดของโปรแกรมและหลักสูตร
5.1.1.7 ข้อกำหนดของโปรแกรมและหลักสูตร
5.1.1.8
5.1.1.9

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเอง IQA AUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 …5… …4…

Leave a Reply