องค์ประกอบที่ 7 นักศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 7.1 นักศึกษา (การบริการและการช่วยเหลือผู้เรียน)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7-8 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-6 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. มีการสื่อสารเรื่องการรับผู้เรียน เกณฑ์และขั้นตอนการรับเข้าเรียนในหลักสูตรอย่างชัดเจน

หลักสูตรฯ มีระบบการรับนักศึกษา (student admissions) ซึ่งเป็นแนวทางในการดำเนินการรับนักศึกษาไว้อย่างชัดเจนตาม มคอ. 2 ของหลักสูตรฯ (Evidence TQF2) ดังภาพที่ 7.1 แสดงภาพระบบการรับนักศึกษา (student admissions)

ภาพที่ 7.1 แสดงภาพระบบการรับนักศึกษา (student admissions)

 

โดยหลักสูตรฯกำหนดคุณสมบัติของนักศึกษา ดังนี้ (1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการให้การรับรอง (2) เป็นไปตามระเบียบวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559 (3) มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ และ (4) มีความประพฤติดีมีความตั้งใจที่จะใช้ความสามารถของตนในการที่จะศึกษาและปฏิบัติตามกฎระเบียบของวิทยาลัยอย่างเคร่งครัด นอกจากนั้น หลักสูตรฯยังได้กำหนดเกณฑ์ที่ใช้คัดเลือกนักศึกษาและแจ้งคณะ/วิทยาลัย โดยใช้เกณฑ์ด้านวิชาการ (ความพร้อมวิชาชีพ) ควบคู่กับเกณฑ์ทางด้านภาษาอังกฤษ (ความพร้อมภาษาอังกฤษ) (Evidence 7.1.1) และได้มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลดังกล่าวออกไป เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยประชาสัมพันธ์ผ่านเว็ปไซต์วิทยาลัย (Evidence 7.1.2) ประชาสัมพันธ์ผ่านการแนะแนวในภูมิภาคต่าง ๆ โดยอาจารย์แนะแนว (Evidence 7.1.3) และประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ของหลักสูตร โดยนำผลงานสร้างสรรค์ของนักศึกษา จากการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียนมากระตุ้นและสร้างความสนใจกลุ่มเป้าหมาย (Evidence 7.1.4)

นอกจากนั้น หลักสูตรฯยังมีนโยบายในการติดตามจำนวนการรับนักศึกษาเข้าใหม่ โดยเก็บเป็นสถิติ   ดังแสดงใน ตารางที่ 7.1 แสดงข้อมูลการรับเข้านักศึกษาปีแรก (ห้าปีการศึกษาล่าสุด) และ ตารางที่ 7.2 แสดงข้อมูลจำนวนนักศึกษาทั้งหมด (ห้าปีการศึกษาล่าสุด) ดังนี้

 

ตารางที่ 7.1 แสดงข้อมูลการรับเข้านักศึกษาปีแรก (ห้าปีการศึกษาล่าสุด)

ปีการศึกษา ผู้สมัคร
จำนวนผู้สมัคร

(No. Applied)

จำนวนผู้มีสิทธิเข้าศึกษา

(No. Admitted)

จำนวนที่ลงทะเบียน

(No. Enrolled)

2565 39 16 17
2564 10 7 7
2563 38 35 21
2562
2561

 

ตารางที่ 7.2 แสดงข้อมูลจำนวนนักศึกษาทั้งหมด (ห้าปีการศึกษาล่าสุด)

ปีการศึกษา นักศึกษา
ปี 1 ปี 2 ปี 3 ปี 4 > ปี 4 ทั้งหมด
2565 15 4 4 11 1 35
2564 7 7 3 16 33
2563            
2562            
2561            

 

ผลการติดตามจำนวนการรับนักศึกษาเข้าใหม่ พบว่า ในปีการศึกษา 2565 จำนวนนักศึกษามีแนวโน้มในการสมัครเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ดีขึ้น และมีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนเข้าสู่รูปแบบปกติ ซึ่งจากการสอบถาม พบว่า นักศึกษามีความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยระหว่างการเรียนการสอนโดยสอดคล้องกับแผนการตลาดของวิทยาลัยที่วางเอาไว้

 

หลักฐาน

7.1
TQF2 เอกสารหลักสูตรฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประทับตรารับทราบ
7.1.1 Flowchart การรับนักศึกษา
7.1.2 STIC Website
7.1.3 โบชัวร์แนะแนว
7.1.4 สื่อออนไลน์ของหลักสูตร

 

 

2. มีการวางแผนบริการสนับสนุนผู้เรียนที่เพียงพอและมีคุณภาพ

หลักสูตรฯมีการวางแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาวเกี่ยวกับการบริการสนับสนุนทางด้านวิชาการ (Academic support services) และการบริการสนับสนุนที่ไม่ใช่วิชาการ (Non-academic support services) เพื่อให้แน่ใจว่าการบริการสนับสนุนงานด้านการสอน การวิจัย และการบริการชุมชน มีความเพียงพอและมีคุณภาพ

 

แผนระยะยาวการบริการสนับสนุน (Evidence 7.2.1)

          หลักสูตรฯมีการกำหนดแผน 5 ปี สำหรับการบริการสนับสนุน ดังแสดงใน ตารางที่ 7.3 แสดงแผนการบริการสนับสนุนสาขาวิชาสื่อดิจิทัล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)

 

ตารางที่ 7.3 แสดงแผนการบริการสนับสนุนสาขาวิชาสื่อดิจิทัล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)

No. Project/Activity PLOs YLOs ปีการศึกษา การบริการสนับสนุน
2563 2564 2565 2566 2567 การสอน การวิจัย บริการชุมชน
การให้คำปรึกษาและแนะนำ
1 นักศึกษาใหม่ (การปฐมนิเทศ)   YLO1 / / / / / /    
2 นักศึกษา (ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา)   YLO1-4 / / / / / /    
3 นักศึกษาใกล้จบ (ระบบที่ปรึกษาโครงงาน)   YLO4 / / / / /   /  
4 นักศึกษาก่อนจบ (การปัจฉิมนิเทศ)   YLO4 / / / / / /    
การบริการสนับสนุนทางด้านวิชาการ (Academic support services)
5 โครงการอาจารย์พิเศษ PLO5-9 YLO1-3 / / / / / /
6 โครงการ CA Show Case PLO14-21 YLO1-4 / / / / / /
7 โครงการศึกษาดูงานผู้ผลิตงานด้านสื่อสารมวลชน /
– กิจกรรมเสริมสร้างทัศนคติ PLO1-2 YLO1-2 /   /   /
– กิจกรรมเสริมสร้างแรงบันดาลใจ PLO3-4 YLO3 / / / / /
8 โครงการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญด้านนิเทศศาสตร์ /
– กิจกรรมเสริมสร้างทัศนคติ PLO1-2 YLO3-4 / / / / /
– กิจกรรมเสริมความรู้ PLO5-9 YLO3-4 / / / / /
– กิจกรรมเสริมทักษะ PLO10-13 YLO3-4   /   /
การบริการสนับสนุนที่ไม่ใช่วิชาการ (Non-academic support services)
9 โครงการชุมชนเข้มแข็ง ELO14-17 อาสาสมัคร   / / / / /
10 โครงการนครนายกชาแนล ELO14-17 อาสาสมัคร / / / / / /
11 โครงการพัฒนาสตูดิโอและห้องเรียนของสาขาวิชาสื่อดิจิทัล /
– ห้องปฏิบัติการแสดง   YLO1-4 /        
– สตูดิโออัดเสียง   YLO1-4   /      
– ห้องปฏิบัติการถ่ายภาพ   YLO1-4     /    
– ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ไอแมค   YLO1-4       /  
– โถง CA (Co-learning Space)   YLO1-4       /

 

แผนระยะสั้นการบริการสนับสนุน (Evidence 7.2.1)

ภายหลังหลักสูตรฯกำหนดแผน 5 ปี สำหรับการบริการสนับสนุนแล้ว หลักสูตรฯได้ปฏิบัติตามแผนการ    ที่วางไว้ โดยได้วางแผนการปฏิบัติงานระยะสั้น (ปีการศึกษา 2565) โดยระบุช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถบรรลุการบริการทั้งหมดที่วางแผนไว้ ดังแสดงใน ตารางที่ 7.4 แสดงแผนการทำงานสาขาวิชาสื่อดิจิทัล  (ปีการศึกษา 2565)

 

ตารางที่ 7.4 แสดงแผนการทำงานสาขาวิชาสื่อดิจิทัล (ปีการศึกษา 2565)

นอกจากการบริการสนับสนุนที่ดำเนินการโดยหลักสูตรฯแล้ว นักศึกษายังได้รับการบริการสนับสนุนส่วนกลางอีกด้วย เช่น ระบบ MIS (ช่วยให้นักศึกษาสามารถทราบแผนการเรียนและติดตามความก้าวหน้าของการศึกษาได้ด้วยตนเอง) (Evidence 7.2.2) ระบบ Moodle LMS Exam (ช่วยให้นักศึกษาสามารถทำแบบฝึกหัดและทบทวนบทเรียนได้ด้วยตนเอง) (Evidence 7.2.3) Google Classroom (ช่วยให้นักศึกษาสามารถติดตามเนื้อหาการเรียนและภาระงานได้อย่างง่ายดาย) (Evidence 7.2.4) ศูนย์วิทยบริการ (ห้องสมุด) (Evidence 7.2.5) และห้องปฏิบัติการภาษา (ช่วยให้นักศึกษาสามารถพัฒนาภาษาอังกฤษได้ด้วยตนเอง) (Evidence 7.2.6) เป็นต้น

 

หลักฐาน

7.2

7.2.1 การบริการสนับสนุน (Student support service)
7.2.2 ตัวอย่างระบบ MIS สำหรับนักศึกษา
7.2.3 ตัวอย่างระบบ Moodle LMS Exam สำหรับ นศ.
7.2.4 ตัวอย่าง Google Classroom สำหรับนักศึกษา
7.2.5 ตัวอย่างระบบ ULIB ของห้องสมุด
7.2.6 ภาพห้องปฏิบัติการภาษา

 

3. ติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ มีการให้ข้อมูลย้อนกลับ และข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง

หลักสูตรฯจัดการเรียนการสอนตามระบบทวิภาค หนึ่งปีการศึกษาแบ่งเป็น 2 ภาคการศึกษา โดยหนึ่งภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ สำหรับการศึกษาภาคฤดูร้อนกำหนดระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิตโดยให้มีสัดส่วนเทียบเคียงได้กับภาคการศึกษาปกติ และให้เป็นไปตามระเบียบวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ.2559 (Evidence 7.3.1) สำหรับการจัดการเรียนการสอนในภาคฤดูร้อนสามารถกระทำได้หากมีความจําเป็น โดยพิจารณาตามความเหมาะสมและไม่ขัดกับหลักการและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรฯ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ โดยหลักสูตรฯ มีการคิดหน่วยกิตในระบบทวิภาค ดังนี้

  • รายวิชาภาคทฤษฎี ที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อ ภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่า 1 หน่วยกิตในระบบทวิภาค
  • รายวิชาปกติ ที่ใช้เวลาฝึกปฏิบัติหรือทดลองไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อ ภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่า 1 หน่วยกิตในระบบทวิภาค
  • การฝึกงาน การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อ ภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่า 1 หน่วยกิตในระบบทวิภาค
  • การทำโครงงาน หรือการทำกิจกรรมการเรียนที่ได้รับมอบหมายที่ใช้เวลาทำโครงงานหรือกิจกรรมนั้น ๆ ไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่า 1 หน่วยกิตในระบบทวิภาค

โดยหลักสูตรฯได้จัดทำแผนการเรียนในแต่ละภาคการศึกษาให้กระจายจำนวนหน่วยกิตในแต่ละภาคการศึกษาอย่างสม่ำเสมอและเหมาะสม ตามที่ระบุใน (Evidence TQF2) โดยการแบ่งระบบของการลงทะเบียนรายวิชาในแต่ละเทอมจะมีเครดิตไม่เกินภาคเรียนละ 21 หน่วยกิต

 

ระบบติดตามความก้าวหน้าของนักศึกษา

หลักสูตรฯมีการติดตามความก้าวหน้าของนักศึกษาผ่าน (1) ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา (2) ระบบที่ปรึกษาโครงงาน และ (3) อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา (ผู้สอน) ดังอธิบายความสัมพันธ์ได้ดัง ภาพที่ 7.2 แสดงความสัมพันธ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบติดตามความก้าวหน้าของนักศึกษา

ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา

ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อดูแล ให้ข้อมูล ให้คำปรึกษา ให้ความช่วยเหลือด้านการใช้ชีวิตด้านวิชาการ และแนะแนว เพื่อให้นักศึกษามีการเรียนรู้อย่างมีความสุข โดยหลักสูตรฯมีการแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาให้กับนักศึกษาทุกคน โดยใช้ระบบรุ่น (อาจารย์ 1 ท่าน รับผิดชอบนักศึกษา 1 รุ่น โดยดูแลตลอดระยะเวลาตั้งแต่นักศึกษาเข้าศึกษาในชั้นปีที่ 1 จนกระทั่งจบการศึกษา) ดังแสดงใน ตารางที่ 7.5 แสดงรายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาและสถานะนักศึกษา

 

ตารางที่ 7.5 แสดงรายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาและสถานะนักศึกษา

รุ่น อาจารย์ที่ปรึกษา สถานะ
CA04 คมสัน สืบแสง สำเร็จการศึกษา 2565
CA05 ฐิตวีร์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา กำลังศึกษา
CA06 คมสัน สืบแสง กำลังศึกษา
CA07 ปริศนา กัมพูสิริ กำลังศึกษา
CA08 สิทธิพันธ์ อชิรอารีพันธ์ นักศึกษาใหม่

 

โดยอาจารย์ที่ปรึกษาต้องเข้าร่วมประชุมและรับทราบแนวทางปฏิบัติของอาจารย์ที่ปรึกษา (Evidence 7.3.2) โดยมีรายละเอียดการประชุมคือ วาระที่ 1 เรื่อง สรุปผลของระบบอาจารย์ที่ปรึกษา ในปีการศึกษา 2564 วาระที่ 2 หน้าที่ความรับผิดชอบอาจารย์ที่ปรึกษาตามคำสั่งวิทยาลัย วาระที่ 3 แผนงานระบบอาจารย์ที่ปรึกษาเพิ่มเติม สำหรับปีการศึกษา 2565 (เฉพาะสาขาวิชา) วาระที่ 4 แจ้งผลการแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษา ปีการศึกษา 2565

หลังจากนั้นอาจารย์ที่ปรึกษาจะได้รับตารางเวลาการพบนักศึกษาเป็นประจำทุกสัปดาห์ (Evidence 7.3.3) อาจารย์ที่ปรึกษาต้องพบนักศึกษาตามตารางเวลา สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง และยึดแนวทางปฏิบัติของอาจารย์ที่ปรึกษา ดังแสดงใน ภาพที่ 7.3 แสดงภาพแนวทางปฏิบัติของอาจารย์ที่ปรึกษา และต้องบันทึกผลการพบนักศึกษาในแบบรายงานที่คณะหรือวิทยาลัยกำหนดหรือในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของวิทยาลัย (Evidence 7.3.4)

ระหว่างปีการศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาต้องมีการใช้งาน Online Community (เช่น Line Group) สำหรับสนทนา แลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงเป็นพื้นที่ให้นักศึกษาสามารถปรึกษานอกเวลาเรียนได้ (Evidence 7.3.5) ผลที่ได้รับ คือ เกิดการสื่อสารแบบ 2 ways / Group Communication อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นักศึกษามีความกระตือรือร้นในการเรียนทั้งในและนอกห้องเรียน เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคณาจารย์และลูกศิษย์ คณาจารย์สามารถทราบถึงปัญหาและแก้ไขได้อย่างทันเวลา ทำให้เกิดความสามัคคีในรั้ววิทยาลัย  ปูพื้นฐานในการมีความรับผิดชอบ ทักษะการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี เป็นการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมเสริมสร้างให้มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สืบต่อไป

ระหว่างปีการศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาต้องทำความรู้จักนักศึกษาเป็นรายบุคคล

ระหว่างปีการศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาต้องติดตามทั้งด้านการใช้ชีวิตและด้านวิชาการของนักศึกษาทุกคน ตลอดจนสามารถคัดกรองนักศึกษาได้ เพื่อให้สามารถให้คำแนะนำและช่วยเหลือนักศึกษาได้อย่างทันท่วงที โดยให้แบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ดังแสดงใน ตารางที่ 7.6 แสดงแนวทางการคัดกรองนักศึกษา

ตารางที่ 7.6 แสดงแนวทางการคัดกรองนักศึกษา

กลุ่ม ด้านการใช้ชีวิต ด้านวิชาการ หมายเหตุ
กลุ่มปกติ พฤตกรรมดี ผลการเรียนดี เน้นส่งเสริม พัฒนา
กลุ่มเสี่ยง พฤติกรรมดี การเรียนแย่ เน้นช่วยเหลือ / แก้ปัญหาตามแต่กรณี
กลุ่มเฝ้าระวัง พฤติกรรมแย่ ผลการเรียนดี เน้นป้องกัน / ช่วยเหลือ /             แก้ปัญหาโดยเร่งด่วน
พฤติกรรมแย่ การเรียนแย่
กลุ่มพิเศษ มีความสามารถพิเศษ มีความเป็นอัจฉริยะ แสดงออกซึ่งความสามารถอันโดดเด่นด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน เน้นการส่งเสริม พัฒนาศักยภาพความสามารถพิเศษนั้นจนถึงขั้นสูงสุด
ข้อควรระวัง 1 นักศึกษาที่มีปัญหาด้านผลการเรียน เช่น สถานะติด F อาจารย์ที่ปรึกษาต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะหากยังไม่แก้ไขสถานะดังกล่าวนักศึกษาจะไม่สามารถฝึกงานและจบการศึกษาได้

ข้อควรระวัง 2 ให้ความสนใจทักษะภาษาอังกฤษ และกระตุ้นการใช้งานโปรแกรมฝึก TOEIC ด้วยตนเอง

 

ระหว่างปีการศึกษา หากนักศึกษามีปัญหาใด ๆ ให้อาจารย์ที่ปรึกษาช่วยป้องกัน ให้คำแนะนำ และแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ระหว่างปีการศึกษา หากนักศึกษามีปัญหาใด ๆ ที่เป็นปัญหาเร่งด่วน หรือร้ายแรง และเกินความสามารถในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ให้อาจารย์ที่ปรึกษานำเรื่องเข้าประชุม เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน ผลคือ ในปีการศึกษา 2565 ไม่มีวาระเร่งด่วน แต่มีวาระสืบเนื่องจากปีการศึกษา 2564 คือ กรณีของนักศึกษาปี 6 ซึ่งต้องการกลับมาศึกษาต่อ หลังจากดรอปไป 2 ปี จากการประชุมเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกันทำให้อาจารย์ที่ปรึกษาสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ทันท่วงที ส่งผลให้นักศึกษาชั้นปีที่ 6 คนดังกล่าว มีแนวทางในการสำเร็จการศึกษาได้ภายในปีการศึกษา 2565

หลังจบปีการศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่อาจใช้แก้ไขในปีการศึกษานี้หรืออาจใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการให้ให้คำปรึกษาในปีการศึกษาต่อไปและติดตามประเมินผลดำเนินการ ผลคือ

(1) นักศึกษาส่วนมากอยู่ในกลุ่มปกติ คือ มีพฤติกรรมและผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี การดูแล เน้นการส่งเสริมและการพัฒนามีความเหมาะสมดีแล้ว

(2) นักศึกษากลุ่มเสี่ยง คือ พฤติกรรมดี แต่การเรียนแย่ พบบ้างเล็กน้อยในนักศึกษาชั้นปีที่ 3 เนื่องจาก นักศึกษามีพื้นฐานภาษาไม่ดีเท่าเพื่อน ทำให้สามารถปรับตัวได้ช้ากว่า แต่หากเทียบกับปีการศึกษาก่อนหน้าก็มีแนวโน้มการปรับตัวที่ดีขึ้น การแก้ไข คือ ให้สนใจและติดตามอย่างใกล้ชิด หมั่นเรียกมาสอบถามและให้กำลังใจ ตลอดจนหากิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดการฝึกปฏิบัติมากขึ้น

(3) นักศึกษากลุ่มเฝ้าระวัง คือ พฤติกรรมแย่ แต่ผลการเรียนดี พบ 1 คน ในชั้นปีที่ 4 คือ นักศึกษามีผลการเรียนดี แต่ขาดการมีส่วนร่วมในงานกลุ่มทีสิส ในกรณีนี้พบว่า นักศึกษามีความเข้าใจดี แต่มักมาสายและขาดการดีเฟนทีสิสในบางครั้ง ตลอดจนขาดการมีส่วนร่วมในการผลิตผลงาน อาจารย์พยายามช่วยเหลือโดย เน้นป้องกัน (แจ้งเตือนการขาดดีเฟนทีสิสว่ามีผลต่อการให้คะแนนและการจบ) ช่วยเหลือ (ให้คำปรึกษา สอบถามอย่างใกล้ชิด) แก้ปัญหาโดยเร่งด่วน (มอบหมายงานพิเศษให้นักศึกษาได้แสดงทักษะเพิ่มเติม)

(4) นักศึกษากลุ่มเฝ้าระวัง คือ พฤติกรรมแย่ และการเรียนแย่ พบนักศึกษา ลักษณะนี้ 2 คน คือนักศึกษามีพฤติกรรมขาดเรียนบ่อยมาก ความตั้งใจในชิ้นงานที่ส่งมีน้อย บางครั้งไม่ส่งงาน และผลการเรียนไม่ดี ในกรณีนี้ พบว่า ต้นตอของการขาดเรียน คือ นักศึกษา 1 คน มีภาวะโรคการเรียนรู้บกพร่อง  (LD) และนักศึกษา 1 คน ขาดความกระตือรือร้นในการเรียน ผลคือ นักศึกษาทั้งสองคนเวลาเรียนไม่พอ และผลการเรียนเฉลี่ยทั้ง 2 ภาคการศึกษาต่ำกว่า 1.50 ในกรณีของนักศึกษาสองคนนี้ อาจารย์ทีปรึกษามีการติดตามอย่างใกล้ชิดตลอดปีการศึกษา 2565 มีการเรียกคุยหลายครั้ง ตลอดจนติดต่อผู้ปกครองเพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน แต่นักศึกษาไม่ปรับตัว และเรียนต่อไม่ไหว จึงพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาในที่สุด

(5) กลุ่มพิเศษ คือ มีความสามารถพิเศษ มีความเป็นอัจฉริยะ แสดงออกซึ่งความสามารถอันโดดเด่นด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน พบนักศึกษา ลักษณะนี้ จำนวนหนึ่งในชั้นปีที่ 1 และ 4 กล่าวคือ นักศึกษาปี 1 หลายคนมีความสามารถในการเต้นที่โดดเด่นและมีความกล้าแสดงออก และนักศึกษาปี 4 มีความถนัดทางวิชาชีพเริ่มปรากฎเด่นชัดโดยเฉพาะด้านการผลิตผลงานเพลง หลักสูตรฯเน้นการส่งเสริม พัฒนาศักยภาพความสามารถพิเศษนั้นจนถึงขั้นสูงสุด โดยในปีการศึกษาที่ผ่านมา ใช้วิธีการชื่นชม เสริมสร้างความมั่นใจ และหาโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความสามารถและโชว์ผลงานผ่านกิจกรรมในการเรียน และกิจกรรม CA Show Case

หลังจบปีการศึกษา อาจารย์รายงานผลของนักศึกษาที่รับผิดชอบต่อหลักสูตรฯ คณะ และวิทยาลัยเป็นลำดับ (Evidence 7.3.6) ผลคือ แผนการดูแลช่วยเหลือนักศึกษา (ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา) ซึ่งทางหลักสูตรฯได้นำมาใช้ในปีการศึกษา 2565 พบว่า ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ โดยทางหลักสูตรฯเห็นควรนำไปใช้ในปีการศึกษา 2566 โดยจะมีการปรับปรุงเพิ่มเติมในกรณีของนักศึกษาที่มีผลการเรียนแย่นั้นนักศึกษามักจะละเลยที่จะติดตามผลการเรียนของตนเอง จึงเน้นให้ปรึกษาช่วยดำเนินการติดตามดูแลด้านผลการเรียนของนักศึกษาในกลุ่มนี้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น

 

ระบบที่ปรึกษาโครงงาน

ระบบที่ปรึกษาโครงงาน เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ เพื่อให้นักศึกษาในหลักสูตรฯสำเร็จการศึกษาได้ตามระยะเวลาที่กำหนด โดยหลักสูตรฯมีการแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาให้กับนักศึกษาทุกคน / ทุกกลุ่ม โดยใช้ระบบนักศึกษาเลือกก่อน-ที่ปรึกษาเลือกทีหลัง กล่าวคือ นักศึกษาจะต้องมีหัวข้อโครงงานที่ตนสนใจ แล้วจึงนำโครงงานดังกล่าวไปเสนอต่อที่ปรึกษา หากที่ปรึกษาพิจารณาว่ามีความเข้าใจ และ/หรือ มีความถนัดในหัวข้อดังกล่าว จึงตอบรับเป็นที่ปรึกษาโครงงานนั้น (โดยที่ปรึกษา 1 ท่าน ไม่ควรรับผิดชอบโครงงานเกินครั้งละ 3 โครงงาน) ผลการแต่งตั้ง ดังแสดงใน ตารางที่ 7.7 แสดงรายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานและนักศึกษาในความรับผิดชอบ (Evidence 7.3.7)

 

ตารางที่ 7.7 แสดงรายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานและนักศึกษาในความรับผิดชอบ

โครงงานนิเทศศาสตร์ รหัสนักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา
Subconscious 172121016 ปริศนา กัมพูสิริ
192121001
192121004
192121006
192121012
Loop 192121002 คมสัน สืบแสง
192121007
192121016
192121020
A Moment 192121014 สิทธิพันธ์ อชิรอารีพันธ์
192121015
192121019

 

ระหว่างปีการศึกษา ที่ปรึกษาต้องคอยให้คำปรึกษาใกล้ชิด และคอยติดตามความคืบหน้าของโครงงานจนกระทั่งสิ้นสุดโครงงาน (Evidence 7.3.8 7.3.9) โดยสาขาวิชามีการจัดทำคู่มือรายวิชา เพื่ออธิบายขอบเขตของโครงงานนิเทศศาสตร์เค้าโครงการเขียนเล่ม เกณฑ์การให้คะแนน กำหนดการต่าง ๆ ตลอดจนคู่มือการเขียนโครงงานนิเทศศาสตร์ เพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานและนักศึกษาร่วมกันวางแผนการการทำโครงงานนิเทศศาสตร์ให้สำเร็จตามกรอบได้

ระหว่างปีการศึกษา หากโครงงานใดมีปัญหาเร่งด่วน หรือร้ายแรงจนอาจส่งผลให้นักศึกษาไม่สามารถสำเร็จการศึกษาได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ให้ที่ปรึกษานำเรื่องเข้าประชุม เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน

หลังจบปีการศึกษา ที่ปรึกษาเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่อาจใช้แก้ไขในปีการศึกษานี้หรืออาจใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการให้ให้คำปรึกษาในปีการศึกษาต่อไปและติดตามประเมินผลดำเนินการ ผลคือ แผนการดูแลช่วยเหลือนักศึกษาใกล้จบ (ระบบที่ปรึกษาโครงงาน) ซึ่งทางหลักสูตรฯได้นำมาใช้ในปีการศึกษา 2565 พบว่า ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ โดยทางหลักสูตรฯเห็นควรนำไปใช้ในปีการศึกษา 2566 ต่อไป

 

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา

หลักสูตรฯมีนโยบายให้ผู้สอนการติดตามภาระงานของนักศึกษาและมีการบันทึกภาระงานอย่างเป็นระบบ ผ่านระบบ Google Classroom เพื่อให้นักศึกษาสามารถติดตามภาระงานของตนเองได้ และผู้สอนควรให้ข้อเสนอแนะแก่นักศึกษาและดำเนินการแก้ไขหากจำเป็น (Evidence 7.3.10)

 

หลักฐาน

7.3
7.3.1 ระเบียบวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
7.3.2 รายงานการประชุม เรื่องแนวทางการปฏิบัติของอาจารย์ที่ปรึกษา
7.3.3 ตารางเวลาการพบนักศึกษา
7.3.4 ตัวอย่าง รายงานผลการให้คำปรึกษา
7.3.5 ภาพตัวอย่างแสดงการให้คำปรึกษาในกลุ่ม LINE
7.3.6 รายงานการประชุม เรื่องสรุปแผนการดูแลช่วยเหลือนักศึกษา (ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา 2565)
7.3.7 รายงานการประชุม เรื่องที่ปรึกษาโครงงาน
7.3.8 เอกสารชี้แจงคำอธิบายรายวิชา เค้าโครง เกณฑ์การให้คะแนน กำหนดการและการนัดหมาย
7.3.9 คู่มือการเขียนโครงการนิเทศศาสตร์
7.3.10 ตัวอย่างการติดตามใน Google Classroom

 

4. มีกิจกรรมเสริมหลักสูตร และการบริการสนับสนุนช่วยเหลือผู้เรียนเพื่อปรับปรุงประสบการณ์การเรียนรู้ และความสามารถในการทำงาน

หลักสูตรฯดำเนินการวางแผนส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาผ่านระบบการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ในช่วงก่อนเปิดปีการศึกษาใหม่ โดยกิจกรรมต่าง ๆ ถูกออกแบบให้สนับสนุนต่อความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา ตามที่ระบุไว้ใน มคอ.2 และมีการนำผลการประเมินการดำเนินการในปีการศึกษาที่ผ่านมา มาพิจารณาและให้อาจารย์ในหลักสูตรฯได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผน ประกอบด้วย (1) กิจกรรมวิทยาลัย (ส่งเสริม/สนับสนุนให้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ) (2) กิจกรรมคณะ (ส่งเสริม/สนับสนุนให้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ) และ (3) กิจกรรมสาขา (ดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพ บุคลิกภาพ ความเป็นพลเมือง การมีจิตสาธารณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21) ดังแสดงใน ตารางที่ 7.8 แสดงแผนกิจกรรมปีการศึกษา 2565 และรหัสหลักฐาน

 

ตารางที่ 7.8 แสดงแผนกิจกรรมปีการศึกษา 2565 และรหัสหลักฐาน

กิจกรรม Evidence
(1) กิจกรรมวิทยาลัย (ส่งเสริม/สนับสนุนให้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ)
กิจกรรมปฐมนิเทศ 7.4.1

7.4.2

7.4.3

กิจกรรมปัจฉิมนิเทศ 7.4.4

7.4.5

7.4.6

กิจกรรมการสอบ TOEIC 7.4.7

7.4.8

7.4.9

กิจกรรมการศึกษาภาษาอังกฤษด้วยตนเอง (TOEIC.stic.ac.th) 7.4.10
กิจกรรม International Culture Day 7.4.11

7.4.12

7.4.13

กิจกรรมไหว้ครู

กิจกรรมลอยกระทง

กิจกรรมสงกรานต์

7.4.14

7.4.15

7.4.16

(2) กิจกรรมคณะ (ส่งเสริม/สนับสนุนให้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ)
กิจกรรม Personality Development, Social and Dining Etiquette (ปี 4) 7.4.17

7.4.18

7.4.19

กิจกรรม Quality Assurance Seminar  for Students 7.4.20

7.4.21

7.4.22

กิจกรรม Students Morality and Ethics Development Project 7.4.23

7.4.24

7.4.25

กิจกรรม A Day 2 BE Excellent, An Opportunity 2 BE 1 Season 4 7.4.26

7.4.27

7.4.28

กิจกรรม Academic Camp 7.4.29

7.4.30

7.4.31

กิจกรรม HuSo English Showcase 7.4.32

7.4.33

7.4.34

กิจกรรมประกวดภาพถ่าย หัวข้อ Selfie With STIC 7.4.35

7.4.36

7.4.37

(3) กิจกรรมสาขา (ดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพ บุคลิกภาพความเป็นพลเมือง การมีจิตสาธารณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21)
กิจกรรม CA Showcase 7.4.38

7.4.39

7.4.40

กิจกรรมดูงานหอภาพยนตร์ 7.4.41

7.4.42

7.4.43

กิจกรรมดูงานกองถ่าย 7.4.44

7.4.45

7.4.46

กิจกรรมสัมมนาคุยกับอดัม…ภาพยนตร์ vs ซีรีย์ มีดีแตกต่างกันอย่างไร 7.4.47

7.4.48

7.4.49

กิจกรรมสัมมนาสุนทรียศาสตร์แห่งความคิดสร้างสรรค์ 7.4.50

7.4.51

7.4.52

กิจกรรมสัมมนาสร้างงานอย่างไรให้มีสไตล์ 7.4.53

7.4.54

7.4.55

กิจกรรมผลิตรายการเที่ยวตามเซนต์ ตอน 5/1-2 จะไปฟิต with จปร. 7.4.56

7.4.57

7.4.58

กิจกรรมผลิตรายการเที่ยวตามเซนต์ ตอน 6 ไทยพวนชวนฝัน 7.4.59

7.4.60

7.4.61

 

 

 

หลังดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ หลักสูตรฯตรวจสอบโดยการประเมินกิจกรรมในโครงการต่าง ๆ   และรายงานผลการดำเนินการและผลการประเมินกิจกรรม / โครงการต่อคณะและวิทยาลัยเป็นลำดับ ผลลัพธ์แสดงดัง ตารางที่ 7.9 แสดงผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา 2565 (Evidence 7.4.62)

 

ตารางที่ 7.9 แสดงผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา 2565

นักศึกษา ผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา
ชั้นปีที่ 1           (1) นักศึกษามีความรู้และทักษะต่าง ๆ เช่น ความรู้ด้านทฤษฎีเบื้องต้นของการสื่อสาร ความหมายของการสื่อสาร อาชีพในงานสื่อสารมวลชน โดยเรียนรู้ผ่านการเรียนการสอนตามหลักสูตรฯ และกิจกรรมปฐมนิเทศ กิจกรรม CA Show Case กิจกรรมผลิตรายการเที่ยวตามเซนต์

(2) นักศึกษามีความรู้และยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรมเพื่อปรับตนให้เข้ากับความเป็นนานาชาติของสถาบัน โดยเรียนรู้ผ่านกิจกรรม International Culture Day กิจกรรมลอยกระทง กิจกรรมสงกรานต์ กิจกรรมสงกรานต์ไทพวน และกิจกรรมถวายพระพรพระราชินีในรัชกาลที่ 10

(3) นักศึกษามีความรู้ด้านภาษาอังกฤษเพื่อนำมาพัฒนาใช้ในงานสายวิชาชีพระดับสูงต่อไป โดยเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการสอบ TOEIC และกิจกรรมการศึกษาภาษาอังกฤษด้วยตนเอง ผ่านระบบ TOEIC.stic.ac.th

ชั้นปีที่ 2           (1) นักศึกษาสามารถนำความรู้พื้นฐานทางด้านทฤษฎีการสื่อสารมาบูรณาการกับความรู้ด้านเทคโนโลยีและศิลปะเพื่อสร้างงาน โดยเรียนรู้ผ่านการเรียนการสอนตามหลักสูตรฯ และกิจกรรมผลิตรายการเที่ยวตามเซนต์

(2) นักศึกษาสามารถนำเสนอผลงานสื่อดิจิทัลเบื้องต้นได้ภายใต้คุณธรรมและจริยธรรมของงานสื่อสารมวลชน โดยเรียนรู้ผ่านกิจกรรม CA Show Case

ชั้นปีที่ 3           (1) นักศึกษาสามารถออกแบบงานสื่อสารมวลชนได้ตรงตามวัตถุประสงค์ทางการตลาดและยังสามารถแก้ไขปัญหาทั้งในระดับบุคคลและองค์กรสามารถบริหารและจัดการบุคลากรให้เหมาะสมตามหน้าที่ สามารถสร้างสรรค์งานภายใต้ความกดดันที่สูงและสถานการณ์บังคับได้ โดยเรียนรู้ผ่านการเรียนการสอนตามหลักสูตรฯ และกิจกรรมดูงานหอภาพยนตร์ กิจกรรมดูงานกองถ่าย กิจกรรมสัมมนาคุยกับอดัม…ภาพยนตร์ vs ซีรีย์ มีดีแตกต่างกันอย่างไร กิจกรรมสัมมนาสุนทรียศาสตร์แห่งความคิดสร้างสรรค์ กิจกรรมสัมมนาสร้างงานอย่างไรให้มีสไตล์กิจกรรมผลิตรายการเที่ยวตามเซนต์
ชั้นปีที่ 4           (1) นักศึกษาสามารถบูรณาการความรู้จากที่เรียนมาโดยตลอดเพื่อสร้างรูปแบบงานเฉพาะตน สามารถทำงานและบริหารงานร่วมกับบุคคลภายนอก โดยเรียนรู้ผ่านการเรียนการสอนตามหลักสูตรฯ และการผลิตผลงานในรายวิชาโครงงานนิเทศศาสตร์ ตลอดจนการเป็นหัวหน้าทีมในกิจกรรมผลิตรายการเที่ยวตามเซนต์

(2) นักศึกษาสามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวได้เป็นอย่างดีแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของตัวเองที่พร้อมในงานสายสื่อดิจิทัล โดยเรียนรู้ผ่านกิจกรรมกิจกรรมปัจฉิมนิเทศ และกิจกรรม CA Show Case

 

หลักสูตรฯพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยการนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะไปปรับปรุงแผนการพัฒนานักศึกษาในปีการศึกษาต่อไป ผลคือ ระบบและกลไกการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา ในปีการศึกษา 2565 ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ โดยกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นนั้นสนับสนุนต่อความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา ตามที่ระบุไว้ใน มคอ.2 ทางหลักสูตรฯเห็นควรคงกิจกรรมต่าง ๆ ไว้ ในปีการศึกษา 2566 ต่อไป โดยกิจกรรมทุกกิจกรรมต่างมีตัวชี้วัดย่อยที่ระบุอยู่ในเอกสารโครงการ หากกิจกรรมใดไม่บรรลุผลตามตัวชี้วัดย่อยที่ระบุไว้ ให้พิจารณาแก้ไขและปรับปรุงเพื่อให้บรรลุได้ในปีการศึกษาถัดไป

 

หลักฐาน

7.4
7.4.1 เอกสารโครงการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่ ปี 1
7.4.2 รายงานผลการดำเนินงานโครงการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่ ปี 1
7.4.3 หลักฐานประกอบโครงการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่ ปี 1
7.4.4 เอกสารโครงการปัจฉิมนิเทศ
7.4.5 รายงานผลการดำเนินงานโครงการปัจฉิมนิเทศ
7.4.6 หลักฐานประกอบโครงการปัจฉิมนิเทศ
7.4.7 เอกสารโครงการพัฒนาหลักสูตรและการสอน (TOEIC)
7.4.8 รายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาหลักสูตรและการสอน (TOEIC)
7.4.9 หลักฐานประกอบโครงการพัฒนาหลักสูตรและการสอน (TOEIC)
7.4.10 กิจกรรมส่งเสริมความสามารถภาษาอังกฤษด้วยตนเอง ในระบบ Moodle Online
7.4.11 เอกสารโครงการ International Culture Day 2022
7.4.12 รายงานผลการดำเนินงานโครงการ International Culture Day 2022
7.4.13 หลักฐานประกอบโครงการ International Culture Day 2022
7.4.14 เอกสารโครงการ Cultural & Traditional Heritage 2022
7.4.15 รายงานผลการดำเนินงานโครงการ Cultural & Traditional Heritage 2022
7.4.16 หลักฐานประกอบโครงการ Cultural & Traditional Heritage 2022
7.4.17 เอกสารโครงการ Personality Development, Social and Dining Etiquette
7.4.18 รายงานผลการดำเนินงานโครงการ Personality Development, Social and Dining Etiquette
7.4.19 หลักฐานประกอบโครงการ Personality Development, Social and Dining Etiquette
7.4.20 เอกสารโครงการ Quality Assurance Seminar  for Students
7.4.21 รายงานผลการดำเนินงานโครงการ Quality Assurance Seminar  for Students
7.4.22 หลักฐานประกอบโครงการ Quality Assurance Seminar  for Students
7.4.23 เอกสารโครงการ Students Morality and Ethics Development Project
7.4.24 รายงานผลการดำเนินงานโครงการ Students Morality and Ethics Development Project
7.4.25 หลักฐานประกอบโครงการ Students Morality and Ethics Development Project
7.4.26 เอกสารโครงการ A Day 2 BE Excellent, An Opportunity 2 BE 1
7.4.27 รายงานผลการดำเนินงานโครงการ A Day 2 BE Excellent, An Opportunity 2 BE 1
7.4.28 หลักฐานประกอบโครงการ A Day 2 BE Excellent, An Opportunity 2 BE 1
7.4.29 เอกสารโครงการ Academic Camp
7.4.30 รายงานผลการดำเนินงานโครงการ Academic Camp
7.4.31 หลักฐานประกอบโครงการ Academic Camp
7.4.32 เอกสารโครงการ HuSo English Showcase
7.4.33 รายงานผลการดำเนินงานโครงการ HuSo English Showcase
7.4.34 หลักฐานประกอบโครงการ HuSo English Showcase
7.4.35 เอกสารโครงการประกวดภาพถ่าย หัวข้อ Selfie With STIC
7.4.36 รายงานผลการดำเนินงานโครงการประกวดภาพถ่าย หัวข้อ Selfie With STIC
7.4.37 หลักฐานประกอบโครงการประกวดภาพถ่าย หัวข้อ Selfie With STIC
7.4.38 เอกสารโครงการ CA Show Case
7.4.39 รายงานผลการดำเนินงานโครงการ CA Show Case
7.4.40 หลักฐานประกอบโครงการ CA Show Case
7.4.41 เอกสารโครงการศึกษาดูงานผู้ผลิตงานด้านสื่อสารมวลชน (กิจกรรมดูงานหอภาพยนตร์)
7.4.42 รายงานผลการดำเนินงานโครงการศึกษาดูงานผู้ผลิตงานด้านสื่อสารมวลชน (กิจกรรมดูงานหอภาพยนตร์)
7.4.43 หลักฐานประกอบโครงการศึกษาดูงานผู้ผลิตงานด้านสื่อสารมวลชน (กิจกรรมดูงานหอภาพยนตร์)
7.4.44 เอกสารโครงการศึกษาดูงานผู้ผลิตงานด้านสื่อสารมวลชน (กิจกรรมดูงานกองถ่าย)
7.4.45 รายงานผลการดำเนินงานโครงการศึกษาดูงานผู้ผลิตงานด้านสื่อสารมวลชน (กิจกรรมดูงานกองถ่าย)
7.4.46 หลักฐานประกอบโครงการศึกษาดูงานผู้ผลิตงานด้านสื่อสารมวลชน (กิจกรรมดูงานกองถ่าย)
7.4.47 เอกสารโครงการการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญด้านนิเทศศาสตร์ (กิจกรรมสัมมนาคุยกับอดัม…ภาพยนตร์ vs ซีรีย์ มีดีแตกต่างกันอย่างไร)
7.4.48 รายงานผลการดำเนินงานโครงการการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญด้านนิเทศศาสตร์ (กิจกรรมสัมมนาคุยกับอดัม…ภาพยนตร์ vs ซีรีย์ มีดีแตกต่างกันอย่างไร)
7.4.49 หลักฐานประกอบโครงการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญด้านนิเทศศาสตร์ (กิจกรรมสัมมนาคุยกับอดัม…ภาพยนตร์ vs ซีรีย์ มีดีแตกต่างกันอย่างไร)
7.4.50 เอกสารโครงการการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญด้านนิเทศศาสตร์ (กิจกรรมสัมมนาสุนทรียศาสตร์แห่งความคิดสร้างสรรค์)
7.4.51 รายงานผลการดำเนินงานโครงการการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญด้านนิเทศศาสตร์ (กิจกรรมสัมมนาสุนทรียศาสตร์แห่งความคิดสร้างสรรค์)
7.4.52 หลักฐานประกอบโครงการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญด้านนิเทศศาสตร์ (กิจกรรมสัมมนาสุนทรียศาสตร์แห่งความคิดสร้างสรรค์)
7.4.53 เอกสารโครงการการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญด้านนิเทศศาสตร์ (กิจกรรมสัมมนาสร้างงานอย่างไรให้มีสไตล์)
7.4.54 รายงานผลการดำเนินงานโครงการการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญด้านนิเทศศาสตร์ (กิจกรรมสัมมนาสร้างงานอย่างไรให้มีสไตล์)
7.4.55 หลักฐานประกอบโครงการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญด้านนิเทศศาสตร์ (กิจกรรมสัมมนาสร้างงานอย่างไรให้มีสไตล์)
7.4.56 เอกสารโครงการนครนายกชาแนล (เที่ยวตามเซนต์ ตอน 5/1-2 จะไปฟิต with จปร.)
7.4.57 รายงานผลการดำเนินงานโครงการนครนายกชาแนล (เที่ยวตามเซนต์ ตอน 5/1-2 จะไปฟิต with จปร.)
7.4.58 หลักฐานประกอบโครงการนครนายกชาแนล (เที่ยวตามเซนต์ ตอน 5/1-2 จะไปฟิต with จปร.)
7.4.59 เอกสารโครงการชุมชนเข้มแข็ง (เที่ยวตามเซนต์ ตอน 6 ไทยพวนชวนฝัน)
7.4.60 รายงานผลการดำเนินงานโครงการชุมชนเข้มแข็ง (เที่ยวตามเซนต์ ตอน 6 ไทยพวนชวนฝัน)
7.4.61 หลักฐานประกอบโครงการชุมชนเข้มแข็ง (เที่ยวตามเซนต์ ตอน 6 ไทยพวนชวนฝัน)
7.4.62 รายงานประชุมเรื่องสรุปผลลับการเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา 2565

 

5. กำหนดสมรรถนะบุคลากรสายสนับสนุนที่ชัดเจนเกี่ยวกับการให้บริการผู้เรียน เพื่อให้มั่นใจว่า สามารถให้บริการได้อย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพ

คุณภาพของโปรแกรมการศึกษาขึ้นอยู่กับปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่และนักศึกษาเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่วิชาการไม่สามารถทำงานได้ดีหากปราศจากบริการที่มีคุณภาพจากเจ้าหน้าที่สนับสนุนโดยหลักสูตรได้กำหนดคุณลักษณะเฉพาะตำแหน่งไว้ดังนี้

 

การกำหนดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

บุคลากรสายสนับสนุนควรมีวุฒิปริญญาตรีที่เกี่ยวข้องกับภาระงานที่รับผิดชอบ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จะวางแผนการจัดการเรียนการสอนร่วมกับผู้บริหารของคณะและอาจารย์ผู้สอน ติดตามและรวบรวมข้อมูล สำหรับใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรโดยกระทำทุกปีอย่างต่อเนื่อง

 

ตารางที่ 7.10 แสดงจำนวนเจ้าหน้าที่สนับสนุน (31 พฤษภาคม 2566)

เจ้าหน้าที่

ฝ่ายสนับสนุน

ความสำเร็จทางการศึกษาสูงสุด ทั้งหมด
มัธยม ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก
เจ้าหน้าที่บริการนักศึกษา 1 1
ทั้งหมด 0 1 0 0 1

 

จากตารางที่ 7.10 พบว่า คณะฯมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุน จำนวน 1 คน ซึ่งมีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการเป็นเจ้าหน้าที่สนับสนุนหลักสูตรตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่ได้กำหนดไว้เบื้องต้นตาม มคอ.2 หลักสูตรฯมีการกำหนดและมอบหมายให้บุคลากรสายสนับสนุนระบุภาระงานของตนเองโดยใช้แบบบรรยายลักษณะงาน (Job Description) ของตำแหน่ง (Evidence 7.5.1) โดยหลังจากที่พนักงานฝ่ายสนับสนุนได้ปฏิบัติงานภายในหลักสูตร ทางหลักสูตรได้มีนโยบายในการเพิ่มทักษะความรู้เพื่อการปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางเอาไว้ ดังนี้

  • จัดการฝึกอบรมในด้านการปฏิบัติงานในหน้าที่และการบริหาร เช่น การบริหารเวลา
  • จัดระบบการศึกษาดูงาน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานในหน่วยงานอื่น
  • สนับสนุนให้บุคลาการได้ร่วมงานกับอาจารย์ในโครงการบริการทางวิชาการและโครงการวิจัยของสาขาวิชา
  • สร้างระบบพัฒนาบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอนที่มีความสามารถดีเด่นและคุณวุฒิเหมาะสมให้สามารถทำหน้าที่สอน
  • ให้ทุนการศึกษาเพิ่มเติมในสาขาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรสำหรับผู้ปฏิบัติงานดีเด่น

          โดยปีการศึกษา 2565 พนักงานฝ่ายสนับสนุนได้เพิ่มทักษะความรู้เพื่อการปฏิบัติงาน ดังแสดงใน ตารางที่ 7.11 แสดงการเพิ่มทักษะความรู้เพื่อการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายสนับสนุน ปีการศึกษา 2565 (Evidence 7.5.2)

 

ตารางที่ 7.11 แสดงการเพิ่มทักษะความรู้เพื่อการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายสนับสนุน ปีการศึกษา 2565

วันที่ หัวข้อการอบรม/สัมมนา จำนวนชั่วโมง หมายเหตุ
May 30, 2022

08.30-12.30

Annual Staff Meeting Academic Year 2022 4
June 15, 2022

15.00-15.30

1st Faculty Meeting 0.5
August 8, 2022

10.00-12.00

Study Visit at Laem Chabang Port Customs Office 2
August 24, 2022

15.00-15.30

2nd Faculty Meeting 0.5
August 25, 2022

09.00-12.00

Study Visit at Svarnabhumi Airport Museum 3
October 21, 2022

11.45-12.45

1st KM Day 2022 “Wisdom for Change” 1
November 9, 2022

16.00-16.30

3rd Faculty Meeting 0.5
November 16, 2022

13.00-15.00

อบรมเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการศึกษา

พ.ศ. 2565 ระดับหลักสูตร

2
November 29, 2022 อบรมหลักสูตร เสกงานกราฟฟิกแบบมือ

อาชีพด้วย Canva

2 อบรมออนไลน์
November 29, 2022 อบรมหลักสูตร Easy English อังกฤษ ฉบับบ้านๆ 2 อบรมออนไลน์
February 8, 2023

11.45-12.45

2nd KM Day 2022 “Wisdom for Change II” 1
April 27, 2023

13.00-16.00

อบรมชี้แจง สำหรับผู้ประเมิน SAR

ระดับหลักสูตร

3
May 10, 2023

13.30-16.30

อบรมเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการศึกษา

พ.ศ. 2565 ระดับคณะ

3
12 Tenses 4 ศึกษาด้วยตนเอง
การเขียน E-mail สำหรับวัยทำงาน 0.5 ศึกษาด้วยตนเอง
รวมจำนวนชั่วโมงการประชุม/อบรม/สัมมนา 29

 

หลักฐาน

7.5

7.5.1 Job Description ของพนักงานฝ่ายสนับสนุน
7.5.2 หลักฐานการเพิ่มทักษะความรู้เพื่อการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายสนับสนุน ปีการศึกษา 2565

 

 

6. ประเมินผลการให้การบริการและช่วยเหลือผู้เรียน และเทียบเคียงสมรรถนะเพื่อปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

ภายหลังหลักสูตรฯได้จัดการบริการสนับสนุนนักศึกษา (Student support services) เสร็จสิ้นแล้ว หลักสูตรฯยังให้ความสำคัญกับการประเมิน การเปรียบเทียบ และการเพิ่มประสิทธิภาพ ดังแสดงใน ตารางที่ 7.12 แสดงผลการประเมินระบบ/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีการศึกษา 2565 ตารางที่ 7.13 แสดงการเปรียบเทียบผลการประเมินระบบ/โครงการ/กิจกรรม (สามปีย้อนหลัง) และ ภาพที่ 7.4 แสดงแผนภูมิเปรียบเทียบผลการประเมินระบบ/โครงการ/กิจกรรม (สามปีย้อนหลัง) (Evidence 7.6.1)

 

ตารางที่ 7.12 แสดงผลการประเมินระบบ/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีการศึกษา 2565

ระบบ/โครงการ/กิจกรรม ผลการประเมิน
การให้คำปรึกษาและแนะนำ
นักศึกษาใหม่ (การปฐมนิเทศ) 4.50
นักศึกษา (ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา) 5
นักศึกษาใกล้จบ (ระบบที่ปรึกษาโครงงาน) 5
นักศึกษาก่อนจบ (การปัจฉิมนิเทศ) 3.61
การบริการสนับสนุนทางด้านวิชาการ (Academic support services)
โครงการอาจารย์พิเศษ ยกเลิก
โครงการ CA Show Case 5
โครงการศึกษาดูงานผู้ผลิตงานด้านสื่อสารมวลชน 4.40
    – กิจกรรมเสริมสร้างทัศนคติ (ดูงานหอภาพยนตร์) 4.42
    – กิจกรรมเสริมสร้างแรงบันดาลใจ (ดูงานกองถ่าย) 4.39
โครงการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญด้านนิเทศศาสตร์ 4.53
    – กิจกรรมเสริมสร้างทัศนคติ (สัมมนาคุยกับอดัม…ภาพยนตร์ vs ซีรีย์ มีดีแตกต่างกันอย่างไร) 4.40
    – กิจกรรมเสริมความรู้ (สัมมนาสุนทรียศาสตร์แห่งความคิดสร้างสรรค์) 4.38
    – กิจกรรมเสริมความรู้ (สัมมนาสร้างงานอย่างไรให้มีสไตล์) 4.82
การบริการสนับสนุนที่ไม่ใช่วิชาการ (Non-academic support services)
โครงการชุมชนเข้มแข็ง (เที่ยวตามเซนต์ ตอน 6 ไทยพวนชวนฝัน) 4.39
โครงการนครนายกชาแนล (เที่ยวตามเซนต์ ตอน 5/1-2 จะไปฟิต with จปร.) 5
โครงการพัฒนาสตูดิโอและห้องเรียนของสาขาวิชาสื่อดิจิทัล 3.94
    – ห้องปฏิบัติการถ่ายภาพ 3.94

 

ตารางที่ 7.13 แสดงการเปรียบเทียบผลการประเมินระบบ/โครงการ/กิจกรรม (สามปีย้อนหลัง)

ระบบ/โครงการ/กิจกรรม คะแนน
2563 2564 2565
การให้คำปรึกษาและแนะนำ
นักศึกษาใหม่ (การปฐมนิเทศ) 4.14 3.85 4.50
นักศึกษา (ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา) 5 5 5
นักศึกษาใกล้จบ (ระบบที่ปรึกษาโครงงาน) 5 5 5
นักศึกษาก่อนจบ (การปัจฉิมนิเทศ) 3.94 4.17 3.61
การบริการสนับสนุนทางด้านวิชาการ (Academic support services)
โครงการอาจารย์พิเศษ ยกเลิก ยกเลิก ยกเลิก
โครงการ CA Show Case 5 5 5
โครงการศึกษาดูงานผู้ผลิตงานด้านสื่อสารมวลชน 4.45 4.30 4.40
    – กิจกรรมเสริมสร้างทัศนคติ ยกเลิก 4.42 4.42
    – กิจกรรมเสริมสร้างแรงบันดาลใจ 4.33 4.49 4.39
โครงการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญด้านนิเทศศาสตร์ 4.44 4.41 4.53
    – กิจกรรมเสริมสร้างทัศนคติ 4.53 4.44 4.40
    – กิจกรรมเสริมความรู้ 4.35 4.45 4.6
    – กิจกรรมเสริมทักษะ 4.35
การบริการสนับสนุนที่ไม่ใช่วิชาการ (Non-academic support services)
โครงการชุมชนเข้มแข็ง 4.50 4.39
โครงการนครนายกชาแนล 5 5 5
โครงการพัฒนาสตูดิโอและห้องเรียนของสาขาวิชาสื่อดิจิทัล 3.58 3.94 3.94
    – ห้องปฏิบัติการถ่ายภาพ 3.58 3.94 3.94

จากแผนภูมิเปรียบเทียบผลการประเมินระบบ/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีการศึกษา 2565 พบว่า โครงการที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจมากกว่า 3.51 (ผ่านตัวชี้วัด) มีจำนวนร้อยละ 90 จากโครงการทั้งหมด มีเพียงโครงการอาจารย์พิเศษโครงการเดียวเท่านั้นที่ไม่มีการวัดระดับความพึงพอใจ เนื่องจาก หลักสูตรฯมีอาจารย์ผู้สอนเพียงพอ จึงยกเลิกโครงการอาจารย์พิเศษในปีการศึกษาดังกล่าว

จากกราฟผลการเปรียบเทียบผลการประเมินระบบ/โครงการ/กิจกรรม (สามปีย้อนหลัง) พบว่า

  1. ระบบการให้คำปรึกษาและแนะนำนักศึกษา
  • การปฐมนิเทศ ในปีการศึกษา 2565 มีระดับความพึงพอใจที่ 50 ซึ่งสูงกว่า 2 ปีที่ผ่านมา
  • ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา มีระดับความพึงพอใจคงที่ที่ 5 ติดต่อกันเป็นปีที่ 3
  • ระบบที่ปรึกษาโครงงาน มีระดับความพึงพอใจคงที่ที่ 5 ติดต่อกันเป็นปีที่ 3
  • การปัจฉิมนิเทศ ในปีการศึกษา 2565 มีระดับความพึงพอใจที่61 แม้จะผ่านตัวชี้วัดที่ระดับความพึงพอใจมากกว่า 3.51 แต่ต้องพัฒนาการจัดงานให้ดีขึ้นในปีการศึกษาหน้าต่อไป
  • 2.การบริการสนับสนุนทางด้านวิชาการ (Academic support services)
  • โครงการอาจารย์พิเศษ ไม่สามารถวัดผลได้ เนื่องจาก หลักสูตรฯมีอาจารย์ผู้สอนเพียงพอ จึงยกเลิกโครงการอาจารย์พิเศษในปีการศึกษาดังกล่าว
  • โครงการ CA Show Case มีระดับความพึงพอใจคงที่ที่ 5 ติดต่อกันเป็นปีที่ 3
  • โครงการศึกษาดูงานผู้ผลิตงานด้านสื่อสารมวลชน มีระดับความพึงพอใจที่ 4.45  4.30 4.44 ในปีการศึกษา 2563 2564 2565 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในระดับที่ดี
  • โครงการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญด้านนิเทศศาสตร์ มีระดับความพึงพอใจที่ 4.44  4.41  4.53 ในปีการศึกษา 2563 2564 2565 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในระดับที่ดี-ดีมาก
  • 3. การบริการสนับสนุนที่ไม่ใช่วิชาการ (Non-academic support services)
  • งานบริการชุมชน (โครงการชุมชนเข้มแข็งและโครงการนครนายกชาแนล) มีระดับความพึงพอใจที่ 5.00   4.75   4.70 ในปีการศึกษา 2563 2564 2565 ตามลำดับ แม้ระดับความพึงพอใจจะมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย แต่ยังอยู่ในระดับที่ดีมาก หลักสูตรฯจะจับตาดูแนวโน้มตัวเลขในปีการศึกษาต่อไป เพื่อรักษามาตรฐานให้อยู่ในเกณฑ์ ดี-ดีมาก
  • โครงการพัฒนาสตูดิโอและห้องเรียนของสาขาวิชาสื่อดิจิทัล มีระดับความพึงพอใจที่ 3.58  3.94  3.94 ในปีการศึกษา 2563 2564 2565 ตามลำดับ แม้จะผ่านตัวชี้วัดที่ระดับความพึงพอใจมากกว่า 3.51 แต่หลักสูตรฯจะมุ่งพัฒนาสตูดิโอและห้องเรียนต่อไป โดยในปีการศึกษาหน้าควรมีการสำรวจความต้องการนักศึกษาต่ออุปกรณ์สาขาและห้องเรียนเพิ่มเติม

 

หลักฐาน

7.6

7.6.1 รายงานประชุมเพื่อประเมินเปรียบเทียบและเพิ่มประสิทธิภาพการบริการสนับสนุนนักศึกษา ประจำปี 2565

 

7. มีการรับฟัง วิเคราะห์และตอบสนองความต้องการของผู้เรียน

หลักสูตรฯมีกระบวนการในการทำการประเมินผลเพื่อวิเคราะห์และรับฟังความคิดเห็นจากนักศึกษา โดยมีระบบการจัดทำแบบสอบถามความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมและบริการสนับสนุนของหลักสูตรฯต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของนักศึกษามากยิ่งขึ้น ผ่านการทำแบบสอบถามเพื่อให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่อโครงการในทุก ๆ โครงการที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งได้มีการวิเคราะห์เกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป ดังที่ได้อธิบายไปแล้วในข้อ 4 และข้อ 6

 

หลักฐาน

7.7

7.4.2 รายงานผลการดำเนินงานโครงการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่ ปี 1
7.4.5 รายงานผลการดำเนินงานโครงการปัจฉิมนิเทศ
7.4.8 รายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาหลักสูตรและการสอน (TOEIC)
7.4.12 รายงานผลการดำเนินงานโครงการ International Culture Day 2022
7.4.15 รายงานผลการดำเนินงานโครงการ Cultural & Traditional Heritage 2022
7.4.18 รายงานผลการดำเนินงานโครงการ Personality Development, Social and Dining Etiquette
7.4.21 รายงานผลการดำเนินงานโครงการ Quality Assurance Seminar  for Students
7.4.24 รายงานผลการดำเนินงานโครงการ Students Morality and Ethics Development Project
7.4.27 รายงานผลการดำเนินงานโครงการ A Day 2 BE Excellent, An Opportunity 2 BE 1
7.4.30 รายงานผลการดำเนินงานโครงการ Academic Camp
7.4.33 รายงานผลการดำเนินงานโครงการ HuSo English Showcase
7.4.36 รายงานผลการดำเนินงานโครงการประกวดภาพถ่าย หัวข้อ Selfie With STIC
7.4.39 รายงานผลการดำเนินงานโครงการ CA Show Case
7.4.42 รายงานผลการดำเนินงานโครงการศึกษาดูงานผู้ผลิตงานด้านสื่อสารมวลชน (กิจกรรมดูงานหอภาพยนตร์)
7.4.45 รายงานผลการดำเนินงานโครงการศึกษาดูงานผู้ผลิตงานด้านสื่อสารมวลชน (กิจกรรมดูงานกองถ่าย)
7.4.48 รายงานผลการดำเนินงานโครงการการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญด้านนิเทศศาสตร์ (กิจกรรมสัมมนาคุยกับอดัม…ภาพยนตร์ vs ซีรีย์ มีดีแตกต่างกันอย่างไร)
7.4.51 รายงานผลการดำเนินงานโครงการการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญด้านนิเทศศาสตร์ (กิจกรรมสัมมนาสุนทรียศาสตร์แห่งความคิดสร้างสรรค์)
7.4.54 รายงานผลการดำเนินงานโครงการการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญด้านนิเทศศาสตร์ (กิจกรรมสัมมนาสร้างงานอย่างไรให้มีสไตล์)
7.4.57 รายงานผลการดำเนินงานโครงการนครนายกชาแนล (เที่ยวตามเซนต์ ตอน 5/1-2 จะไปฟิต with จปร.)
7.4.60 รายงานผลการดำเนินงานโครงการชุมชนเข้มแข็ง (เที่ยวตามเซนต์ ตอน 6 ไทยพวนชวนฝัน)

 

 

8. มีการให้คำปรึกษาและดูแลผู้เรียนให้ประสพความสำเร็จในการศึกษา

หลักสูตรฯมีระบบการให้คำปรึกษาและแนะนำนักเรียนเพื่อให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการศึกษาตามเวลาที่กำหนด โดยได้แบ่งออกเป็น 4 ระบบย่อย ดังต่อไปนี้

  • ระบบการให้คำปรึกษาและแนะนำนักศึกษาใหม่ (การปฐมนิเทศ)
  • ระบบการให้คำปรึกษาและแนะนำนักศึกษา (ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา)
  • ระบบการให้คำปรึกษาและแนะนำนักศึกษาใกล้จบ (ระบบที่ปรึกษาโครงงาน)
  • ระบบการให้คำปรึกษาและแนะนำนักศึกษาก่อนจบ (การปัจฉิมนิเทศ)

 

ระบบการให้คำปรึกษาและแนะนำนักศึกษาใหม่ (การปฐมนิเทศ)

การปฐมนิเทศ เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาใหม่ โดยในการปฐมนิเทศจะมีการให้ข้อมูล ให้คำปรึกษา แนะนำ ให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ เพื่อให้นักศึกษามีการเรียนรู้อย่างมีความสุข โดยในปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยฯ มีการจัดการปฐมนิเทศ ในวันที่ 08/06/2565 เวลา 13.30-16.30 น. ณ SMB Hall โดยมอบหายให้ อ.Leo Anthony Bril Flores และ อ.คมสัน สืบแสง เป็นผู้ดำเนินการ ภายในการปฐมนิเทศก่อนเรียน ภาคเรียนที่ 1/2565 มีการแจกคู่มือนักศึกษาใหม่ (Handbook for Humanities and Social Sciences Students 2020/2021) ซึ่งอธิบายถึงหลักสูตร ระเบียบและขั้นตอนการศึกษา การพบที่ปรึกษา ทุนการศึกษา ตลอดจนสิ่งส่งเสริมการเรียนรู้ และปฏิทินการศึกษา เพื่อให้นักศึกษาสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ในภายหลัง

วิทยาลัยฯ ตรวจสอบผลการดำเนินงาน พบว่า ดำเนินการสำเร็จตามแผน โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80.95 (บรรลุตัวชี้วัดผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80) และมีระดับความพึงพอใจเฉลี่ย 4.50 (บรรลุตัวชี้วัดที่ระดับควาพึงพอใจมากกว่า 3.51) และได้มีการนำข้อเสนอแนะจากปี 2564 ที่แนะนำว่าควรมีรุ่นพี่มาแบ่งปันประสบการณ์มากกว่านี้มาปรับใช้ ผลคือ นักศึกษาใหม่เกิดความพึงพอใจ ด้านปัญหาและอุปสรรค คือ (1)  อาจารย์บางท่านไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้เนื่องจากติดภารกิจการสอนในวันและเวลาเดียวกัน (Evidence 7.4.1 7.4.2 7.4.3)

ระบบการให้คำปรึกษาและแนะนำนักศึกษา (ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา)

ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อดูแล ให้ข้อมูล ให้คำปรึกษา ให้ความช่วยเหลือด้านการใช้ชีวิตด้านวิชาการ และแนะแนว เพื่อให้นักศึกษามีการเรียนรู้อย่างมีความสุข โดยหลักสูตรฯมีการแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาให้กับนักศึกษาทุกคน โดยใช้ระบบรุ่น ดังที่ได้อธิบายไปแล้วในข้อ 3 (Evidence 7.3.2 7.3.3 7.3.4 7.3.5 7.3.6)

 

ระบบการให้คำปรึกษาและแนะนำนักศึกษาใกล้จบ (ระบบที่ปรึกษาโครงงาน)

ระบบที่ปรึกษาโครงงาน เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ เพื่อให้นักศึกษาในหลักสูตรฯสำเร็จการศึกษาได้ตามระยะเวลาที่กำหนด โดยหลักสูตรฯมีการแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาให้กับนักศึกษาทุกคน / ทุกกลุ่ม ดังที่ได้อธิบายไปแล้วในข้อ 3 (Evidence 7.3.7 7.3.8 7.3.9)

 

ระบบการให้คำปรึกษาและแนะนำนักศึกษาก่อนจบ (การปัจฉิมนิเทศ)

การปัจฉิมนิเทศ เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาก่อนจบ โดยในการปัจฉิมนิเทศจะมีการให้ข้อมูล ให้คำปรึกษา ตลอดจนแนะแนวเกี่ยวกับการใช้ชีวิต การปรับตัวในการทำงาน และการวางแผนอนาคต เพื่อให้นักศึกษาจบการศึกษาอย่างมั่นใจและมีความสุข โดยการปัจฉิมนิเทศ ในภาคเรียนที่ 2/2565 ถูกจัดขึ้นในวันที่ 10/02/2566 เวลา 12.00-14.00 น. ที่ SMB Hall โดยมอบหมายให้ รศ.ดร.บุญเรือง ชื่นสุวิมล และ อ.คมสัน สืบแสง เป็นผู้ดำเนินการ

วิทยาลัยฯ ตรวจสอบผลการดำเนินงาน พบว่า ดำเนินการสำเร็จตามแผน ผลคือ (1) จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 53.71 ไม่บรรลุตัวชี้วัดที่ระบุผู้เข้าร่วมไว้ที่ร้อยละ 80 (2) ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยที่ 3.61 ส่งผลให้บรรลุตัวชี้วัดที่ระบุระดับที่ 3.51 (3) ปัญหาและอุปสรรค คือ นักศึกษาจำนวนหนึ่งมีงานทำแล้ว จึงไม่สะดวกเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ (Evidence 7.4.4 7.4.5 7.4.6)

 

หลักฐาน

7.8
7.3.2 รายงานการประชุม เรื่องแนวทางการปฏิบัติของอาจารย์ที่ปรึกษา
7.3.3 ตารางเวลาการพบนักศึกษา
7.3.4 ตัวอย่าง รายงานผลการให้คำปรึกษา
7.3.5 ภาพตัวอย่างแสดงการให้คำปรึกษาในกลุ่ม LINE
7.3.6 รายงานการประชุม เรื่องสรุปแผนการดูแลช่วยเหลือนักศึกษา (ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา 2565)
7.3.7 รายงานการประชุม เรื่องที่ปรึกษาโครงงาน
7.3.8 เอกสารชี้แจงคำอธิบายรายวิชา เค้าโครง เกณฑ์การให้คะแนน กำหนดการและการนัดหมาย
7.3.9 คู่มือการเขียนโครงการนิเทศศาสตร์
7.4.1 เอกสารโครงการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่ ปี 1
7.4.2 รายงานผลการดำเนินงานโครงการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่ ปี 1
7.4.3 หลักฐานประกอบโครงการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่ ปี 1
7.4.4 เอกสารโครงการปัจฉิมนิเทศ
7.4.5 รายงานผลการดำเนินงานโครงการปัจฉิมนิเทศ
7.4.6 หลักฐานประกอบโครงการปัจฉิมนิเทศ

 

 

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ) การประเมินตนเอง
…5 ข้อ… IQA(1-8) 1,2,3,5,6 ….5…ข้อ …4..คะแนน
AUN-QA(1-6) 1(3), 2(3), 3(2) ระดับ……1…….

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเอง IQA AUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 7.1 …5… …1…

Leave a Reply