Component 1 : Indicators 1.1 Leadership (Senior Leadership)

Component 1 Leadership

ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 การนำองค์กร(การนำองค์กรโดยผู้นำระดับสูง) : Leadership (Senior Leadership)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-6 ข้อ7 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-5 ประเมิน 70 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

1 วิสัยทัศน์และค่านิยม (กำหนดวิสัยทัศน์และค่านิยม) ผู้นำดำเนินการอย่างไรในการกำหนดวิสัยทัศน์และค่านิยม

  1. วิสัยทัศน์และค่านิยม (กำหนดวิสัยทัศน์และค่านิยม)

อธิการบดีดำเนินการอย่างไรในการกำหนดวิสัยทัศน์และค่านิยม

การดำเนินการ

แนวทาง: อธิการบดีและผู้นำหน่วยงานระดับคณะ ได้ใช้ข้อมูลความต้องการและความคาดหวังจากทั้งกลุ่มลูกค้า กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกลุ่ม ผู้ส่งมอบ พันธมิตร คู่ความร่วมมือ ตลอดจนข้อมูลผลการดำเนินการที่ผ่านมา กฎ ระเบียบ ข้อกำหนดต่างๆ และ นโยบายของภาครัฐ  มาทำการวิเคราะห์ SWOT กำหนด วิสัยทัศน์ค่านิยม สมรรถนะหลัก และวัฒนธรรมของคณะ และจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของวิทยาลัย พ.ศ. 2563-2567 และ ใช้เป็นแผนแม่บทในการจัดแผนปฏิบัติการประจำปี เป็นประจำทุกปี

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: วิสัยทัศน์ “เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ”  และค่านิยม: STIC ได้รับการถ่ายทอดผ่านการประชุมคณะกรรมการชุดต่างๆอย่างต่อเนื่อง เช่น สภาวิชาการ คณะกรรมการบริหารวิทยาลัย ตลอดจนในการประชุมบุคลากรในโอกาสต่างๆ เช่น การประชุมบุคลากรประจำปี การประชุมอาจารย์ที่ปรึกษา ทำให้ วิสัยทัศน์ และค่านิยมได้นำไปสู่การปฏิบัติในทุกระบบงาน

การเรียนรู้: การนำวิสัยทัศน์และค่านิยมไปสู่การปฏิบัติ ในระยะแรก(ปีการศึกษา2563)ผ่านการทำโครงการ และกิจกรรมต่างๆ ต่อมาได้มีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ ให้สะท้อนถึงการบรรลุผลตาม วิสัยทัศน์และค่านิยมด้วย ทำให้หน่วยงานระดับคณะ ทุกหน่วยงานได้นำวิสัยทัศน์และค่านิยมไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง  และสามารถตรวจสอบได้

ภาพที่ 1.1-1-1 การนำวิสัยทัศน์สู่ค่านิยม

การบูรณาการ: ผลการประเมินความสำเร็จตามวิสัยทัศน์และค่านิยม มีการบูรณาการโครงการและกิจกรรมต่างๆ ภายใต้พฤติกรรมผู้นำในทุกระดับ และ พฤติกรรมของบุคลากร ในการปฏิบัติงานตาม ระบบการปฏิบัติงานต่างๆ ระบบการจัดการเรียนรู้ ระบบการวัดประเมินผล ระบบกิจการนักศึกษา ระบบการวิจัย ระบบการบริการทางวิชาการ ระบบการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ก่อให้เกิดค่านิยมดังภาพที่  1.1-1-1

2 วิสัยทัศน์และค่านิยม (การส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมาย และอย่างมีจริยธรรม) การปฏิบัติตนของผู้นำแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมาย และอย่างมีจริยธรรมอย่างไร

  1. วิสัยทัศน์และค่านิยม (การส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมาย และอย่างมีจริยธรรม)

การปฏิบัติตนของอธิการบดีแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมาย และอย่างมีจริยธรรมอย่างไร

การดำเนินการ

แนวทาง: อธิการบดี มีความมุ่งมั่นดำเนินการตามวิสัยทัศน์ มีการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ให้เป็นไปตามเจตจำนงที่กำหนดไว้ในค่านิยม: STIC ในประเด็น “T: Trustworthy  ซื่อสัตย์ ถูกต้อง ตรงเวลา” โดยมีการประพฤติปฏิบัติ ในทุกระบบงาน อย่างถูกต้องตามกฎ ระเบียบ ข้อปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง และตรวจสอบได้ อย่างมีจริยธรรม รวมถึงส่งเสริม สนับสนุน ให้บุคลากรและนักศึกษา ไม่ดำเนินการใดๆที่ขัดต่อกฎหมาย และกฎ ระเบียบ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นไปตามจรรยาบรรณวิชาชีพ

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: อธิการบดีได้มอบหมายบุคคลต่างๆ ให้มีการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ เช่น 1) รองอธิการบดีฝ่ายแผนและวิจัย นำกฎ ระเบียบ มาตรฐาน และประกาศจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง มาจัดทำเป็นกฎ ระเบียบ มาตรฐาน และประกาศต่างๆของวิทยาลัย และถ่ายทอดสู่หน่วยงานระดับคณะในการประชุมกรรมการผู้บริหารของวิทยาลัย  2) คณบดีทุกคณะ นำกฎ ระเบียบ มาตรฐาน และประกาศต่างๆของวิทยาลัย ถ่ายทอดสู่คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และจัดกิจกรรมส่งเสริมให้คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา มีการประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎระเบียบ ข้อปฏิบัติ และไม่ดำเนินการใดๆที่ขัดต่อกฎหมาย และกฎระเบียบ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง   3) รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ชี้แจงแนวทางการดำเนินการบริหารงานตามประมวลจริยธรรมและหลักธรรมาภิบาลของคณาจารย์ การประพฤติปฏิบัติตามกฎหมาย การปฏิบัติถูกต้องตามกฎระเบียบ ข้อปฏิบัติ ที่ตรวจสอบได้ อย่างมีจริยธรรม ชี้แจงแนวทางการดำเนินการตามประมวลจริยธรรมและหลักธรรมาภิบาลของนักศึกษา  และจัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักศึกษามีการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมาย การปฏิบัติถูกต้องตามกฎระเบียบ ข้อปฏิบัติ และไม่ดำเนินการใดๆที่ขัดต่อกฎหมาย และกฎระเบียบ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังมีการแจ้งข้อกฎหมาย และ กฎ ระเบียบ ใหม่ๆ ให้กับนักศึกษา และคณาจารย์ให้ทราบ เป็นระยะ

การเรียนรู้: การส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมาย และอย่างมีจริยธรรมของอธิการบดี ในระยะแรก เป็นการมุ่งเน้น การนำค่านิยม ในเรื่อง T: Trustworthy จากค่านิยม STIC ผ่านการปฏิบัติงานของคณาจารย์และบุคลากร ระยะต่อมา ได้ออกข้อบังคับว่าด้วยธรรมาภิบาลของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ซึ่งครอบคลุม ทั้ง ประมวลจริยธรรม และ ธรรมาภิบาล ตั้งแต่ นายกสภา กรรมการสภาวิทยาลัย ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา และส่งเสริมให้มีกิจกรรมต่างๆ ในทุกกลุ่มเป้าหมาย และมีการ นำเกณฑ์ การประพฤติปฏิบัติตามกฎหมาย และจริยธรรม เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลผู้บริหารด้วย

การบูรณาการ: วิทยาลัยได้บูรณาการ ค่านิยมของวิทยาลัย ในเรื่อง T: Trustworthy จากค่านิยม STIC  เข้ากับการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและจริยธรรม ของผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา  

พบว่า การปฏิบัติตามค่านิยม สร้างให้เกิดคุณภาพในการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน ส่งผลต่อ ความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในกลุ่มสถานประกอบการที่เป็นแหล่งฝึกงาน และผู้ใช้บัณฑิต เพิ่มสูงขึ้น ดังภาพที่ 1.1-2-1  ทำให้บรรลุวิสัยทัศน์ของวิทยาลัย คือ“เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ”

ภาพที่ 1.1-2-1 การปฏิบัติตามกฎหมายและจริยธรรม ของผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา

3 การสื่อสาร ผู้นำดำเนินการอย่างไรในการสื่อสารและสร้างความผูกพันกับบุคลากรทั่วทั้งองค์กร คู่ความร่วมมือสำคัญที่เป็นทางการ ผู้เรียน และลูกค้ากลุ่มอื่นที่สำคัญ

  1. การสื่อสาร

อธิการบดีดำเนินการอย่างไรในการสื่อสารและสร้างความผูกพันกับบุคลากรทั่วทั้งองค์กร คู่ความร่วมมือสำคัญที่เป็นทางการ ผู้เรียน และลูกค้ากลุ่มอื่นที่สำคัญ

การดำเนินการ

แนวทาง: อธิการบดีกำหนดให้มีช่องทางการสื่อสารวิสัยทัศน์และค่านิยมเพื่อสร้างความผูกพัน ทั้งการสื่อสารแบบทางเดียว และการสื่อสารแบบสองทาง ในทุกกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง โดยการสื่อสารแบบทางเดียว เช่น การแจ้งเป็นหนังสือ ป้ายประกาศ โบชัวร์ โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ การส่งอีเมล เป็นต้น  และการสื่อสารแบบสองทาง เช่น การปฐมนิเทศ การประชุมทั้งแบบ on site และ on line การนิเทศงาน การเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ การใช้ line เดี่ยว/กลุ่ม การเปิดห้องคุยกับอธิการบดีในเว็บไซด์ เป็นต้น

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: อธิการบดี มอบหมายให้ คกก. ชุดต่างๆ กำหนดรูปแบบการใช้ช่องทางการสื่อสาร สารสนเทศที่ใช้ในการสื่อสาร ความถี่ในการสื่อสาร และคณะทำงานได้ทำการสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ได้รับทราบ ดังตารางที่ 1.1-3-1

ตารางที่ 1.1-3-1 ช่องทางการสื่อสาร สารสนเทศที่ใช้ในการสื่อสาร และความถี่ในการสื่อสาร

กลุ่ม

ช่องทางการสื่อสาร

สารสนเทศที่ใช้ในการสื่อสาร

ความถี่

ผลลัพธ์

คณาจารย์

FB, Meet, Zoom, ประชุม

Activities, Inf., R&D, คู่มืออาจารย์

1ครั้ง/เดือน

สมรรถนะ(การสอน,งานวิจัย,บริการสังคม)

บุคลากร

FB, ประชุม

Activities, Inf., R&D, คู่มือระบบงาน

1ครั้ง/เดือน

สมรรถนะ(ปสภ.ระบบงาน, ปสภ.บริการ)

ผู้เรียน

FB, Web, Line, Chatbot

Activities, Inf., Services, คู่มือ นศ.

ตลอดเวลา

พึงพอใจ(ร่วมกิจกรรม,พัฒนาสมรรถนะฯ)

คู่ความร่วมมือ 

e-mail, Zoom,ประชุม

Inf., Annual Report, Feedback

1 ครั้ง/ภาค

พึงพอใจ(ใช้ทรัพยากรร่วม, ร่วมผลิต)

ลูกค้า

e-mail, FB, Web, ประชุม

Inf., Activities, Services, Feedback

2 ครั้ง/ภาค

พึงพอใจ(การใช้บริการ และใช้บริการซ้ำ)

การเรียนรู้: การสื่อสารในระยะแรกเป็นการสื่อสารเพียงบางกลุ่ม ไม่ครบผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด  ต่อมาได้มีการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ เรื่องการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ทำให้มีการเพิ่มช่องทางการสื่อสาร โดยเฉพาะ Digital Channel เช่น You-tube และมีการใช้ Digital Media เพิ่มขึ้น ทำให้คุณภาพการรับสารของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ กลุ่มคณาจารย์และบุคลากร เมื่อมีระดับความผูกพันต่อองค์กรเพิ่มมากขึ้น จึงเพิ่มสมรรถนะการทำงาน ประสิทธิภาพของระบบงาน และประสิทธิภาพการให้บริการ

การบูรณาการ: วิทยาลัยใช้ข้อมูลที่ได้จากการประเมินความผูกพันต่อองค์กรของคณาจารย์และบุคลากร มาใช้ในการพัฒนาระบบการสื่อสารไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม อย่างมีประสิทธิภาพ ดังภาพที่ 1.1-3-1 โดยเกิดความผูกพันตามข้อ 7.2.2 และมีผลลัพธ์ตาม ข้อ 7.4.1

ภาพที่ 1.1-3-1 การสื่อสารต่อผู้เกี่ยวข้อง

4 พันธกิจและผลการดำเนินการของคณะ (การสร้างสภาวะแวดล้อมเพื่อความสำเร็จ) ผู้นำดำเนินการอย่างไร เพื่อทำให้สถาบันประสบความสำเร็จทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

  1. พันธกิจและผลการดำเนินการของสถาบัน (การสร้างสภาวะแวดล้อมเพื่อความสำเร็จ)

อธิการบดีดำเนินการอย่างไร เพื่อทำให้สถาบันประสบความสำเร็จทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

การดำเนินการ

แนวทาง: อธิการบดีเปลี่ยนรูปแบบการทำงานจากเดิมที่ทำงานตามหน้าที่  ให้เป็นการทำงานที่บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่กำหนด(OKR: Objective and Key Results)

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: อธิการบดีมอบหมายให้ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ บรรยายแนวทางการ OKR ในการทำงานที่ คณะวิชา และคณะกรรมการชุดต่างๆ ได้รับมอบหมาย และส่งเสริมให้มีการจัดทำ OKR ในหน่วยงานต่าง ๆ เช่น  คกก.ประเมินผล TOEIC และคุณลักษณะบัณฑิต คกก.วิจัยและนวัตกรรม คกก.กิจการนักศึกษา และ คกก.ประกันคุณภาพการศึกษา เป็นต้น

การเรียนรู้: ผลการศึกษาสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของคณะกรรมการต่างๆ ที่นำ OKR ไปใช้ในการทำงาน ด้วยการจัดการความรู้ที่เป็น BAR: Before Action Review และ AAR: After Action Review พบว่า คณาจารย์และบุคลากร เกิดวัฒนธรรมในการทำงานที่มุ่งเน้นผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์หลัก คือการบรรลุวิสัยทัศน์ของวิทยาลัย ทำให้ทุกระบบงานพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างทันท่วงที

การบูรณาการ: สภาพแวดล้อมในการทำงานที่เปลี่ยนรูปแบบการทำงาน เป็นการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่กำหนด(OKR: Objective and Key Results) ทำให้ คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และ คู่ความร่วมมือ ได้รับมอบผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย ทันเวลา ทันความต้องการ โดย ปีการศึกษา 2563-2565 ไม่มีการร้องเรียน หรือร้องขอให้แก้ไขใดๆ

5 พันธกิจและผลการดำเนินการของสถาบัน (การทำให้เกิดการมุ่งเน้นการปฏิบัติอย่างจริงจัง) ผู้นำดำเนินการอย่างไร เพื่อให้บรรลุพันธกิจของสถาบัน

  1. พันธกิจและผลการดำเนินการของสถาบัน (การทำให้เกิดการมุ่งเน้นการปฏิบัติอย่างจริงจัง)

อธิการบดีดำเนินการอย่างไร เพื่อให้บรรลุพันธกิจของสถาบัน

การดำเนินการ

แนวทาง: อธิการบดี กำหนดให้การบรรลุพันธกิจของวิทยาลัย เกิดการมุ่งเน้นการปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยให้นำผลที่ได้จากการดำเนินการในรอบปีที่ผ่านมา ประกอบด้วย ผลการดำเนินการในทุกผลิตภัณฑ์ ผลการวิเคราะห์ระบบงานและระบบปฏิบัติการ ผลการประเมินคุณภาพภายใน ข้อเสนอแนะของผู้ประเมินคุณภาพภายใน ข้อร้องเรียนและการรับฟังเสียงของลูกค้าจากช่องทางต่างๆ มาทำการวิเคราะห์หาสาเหตุที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ในกรณีเป็นเรื่องเร่งด่วนให้นำมาจัดทำเป็นแผนปรับปรุง(Improvement Plan) และนำสู่การปฏิบัติทันที สำหรับกรณีที่ไม่เป็นเรื่องเร่งด่วน ให้นำมาจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการประจำปี(Operational Plan)

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: อธิการบดีมอบหมายให้ รองอธิการบดีฝ่ายต่างๆ ทำหน้าที่เชิญผู้เกี่ยวข้องร่วมกิจกรรมการวิเคราะห์หาสาเหตุที่ส่งผลต่อความสำเร็จ และจัดทำแผนปรับปรุง(Improvement Plan) ในกรณีเป็นเรื่องเร่งด่วน เสนอต่อ คณะกรรมการบริหารวิทยาลัย อนุมัติ ในกรณีเป็นเรื่องไม่เร่งด่วนให้นำผลการวิเคราะห์ไปใช้ในการ จัดทำเป็นแผนปฏิบัติการประจำปี(Operational Plan) ปีการศึกษาต่อไป

การเรียนรู้: จากผลการดำเนินการ ตามแผนปรับปรุง(Improvement Plan) และ แผนปฏิบัติการประจำปี ตั้งแต่ ปีการศึกษา  2563 – ปีการศึกษา 2565 ทำให้เกิดการมุ่งเน้นการปฏิบัติอย่างจริงจัง ในทุกผลิตภัณฑ์ของวิทยาลัย ตามตารางที่ op1 ก 1-1 มีผลลัพธ์เกิดขึ้นตามเป้าหมาย ดังตารางที่ 1.1-5-1

ตารางที่ 1.1-5-1 ผลลัพธ์ที่เกิดการมุ่งเน้นการปฏิบัติอย่างจริงจัง ปีการศึกษา  2563 – ปีการศึกษา 2565

แนวทางการปฏิบัติ

การติดตาม

ผู้รับมอบคุณค่า

ผลลัพธ์

ด้านการวิจัย

1)เผยแพร่ผลงานวิจัยให้เป็นที่ยอมรับทางวิชาการ

คณะกรรมการวิจัยฯ

คณาจารย์

ผลงานตีพิมพ์ใน SCOPUS เพิ่มขึ้น

2)ขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา

คณะกรรมการวิจัยฯ

คณาจารย์

มีผลงานขึ้นทะเบียนทรัพย์สินฯ

ด้านการศึกษา

1)พัฒนาสมรรถนะศตวรรษที่ 21ของบัณฑิต

สภาวิชาการ

บัณฑิต, ผู้ใช้บัณฑิต

บัณฑิตมีสมรรถนะศตวรรษที่ 21

2)พัฒนาสมรรถนะภาษาอังกฤษของบัณฑิต

สภาวิชาการ

บัณฑิต, ผู้ใช้บัณฑิต

บัณฑิตมีสมรรถนะภาษาอังกฤษ

3)ผลงานบัณฑิตปริญญาโท/เอกเป็นที่ยอมรับทางวิชาการ

สภาวิชาการ

บัณฑิต, ผู้ใช้บัณฑิต

บัณฑิตมีผลงานตีพิมพ์ใน SCOPUS

ด้านการบริการวิชาการ

1)สร้าง/ให้คำปรึกษา ผลงานวิจัยให้กับหน่วยงาน/องค์การ

คณะกรรมการวิจัยฯ

ชุมชน, หน่วยงาน

มีผลงานวิจัยนำไปใช้พัฒนาองค์การ

2)ถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนด้วยหลักสูตรระยะสั้น

สภาวิชาการ

ชุมชน, หน่วยงาน

มีองค์ความรู้ที่นำไปใช้พัฒนาชุมชน

ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

1)จัดเก็บองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมผ่านการวิจัย

คณะกรรมการวิจัยฯ

ชุมชน, สังคม

มีผลงานวิจัยทางวัฒนธรรมเผยแพร่

2)ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางวัฒนธรรม

คณะกรรมการวิจัยฯ

ชุมชน, สังคม

การต่อยอดองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม

การบูรณาการ: ผลการดำเนินการของผู้บริหารในการมุ่งเน้นการปฏิบัติอย่างจริงจัง นอกจากจะส่งผลต่อการบรรลุผลสำเร็จตามแผนปฏิบัติการประจำปี และบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ของวิทยาลัย ที่ตอบสนองต่อความคาดหวัง ของลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พันธมิตร และ คู่ความร่วมมือแล้ว  การนำองค์กรของอธิการบดี ยังสร้างวัฒนธรรมองค์กร “การทำงานที่มุ่งเน้นผลสำเร็จ มีความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลก”  ด้วยกระบวนการปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง ผ่านระบบ STIC Improvement Tools for Excellence ดัง ภาพ op2 ค 1-1

6 มีการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการ

  1. มีการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการ

อธิการบดีดำเนินการอย่างไร

การดำเนินการ

แนวทางการดำเนินการ: อธิการบดีใช้หลักธรรมาภิบาล ในการควบคุม ตรวจสอบ และประเมินผลกิจการต่างๆของคณะ ที่ประกอบด้วย หลักประสิทธิภาพ หลักประสิทธิผล หลักการตอบสนอง หลักภาระความรับผิดชอบ สามารถตรวจสอบได้ หลักความโปร่งใสเปิดเผย หลักนิติธรรม หลักความเสมอภาค หลักการมีส่วนร่วม หลักการกระจายอำนาจ หลักมุ่งเน้นฉันทามติ และหลักคุณธรรมจริยธรรม ให้เป็นไปตามข้อบังคับวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ว่าด้วยธรรมาภิบาลของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา พ.ศ. 2565

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: อธิการบดี ประชุมชี้แจง คณบดี และคณะทำงานชุดต่างๆ ให้มีการนำข้อบังคับฯ ว่าด้วยธรรมาภิบาลของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา  ไปบูรณาการกับระบบงาน และระบบปฏิบัติการต่างๆ และ ให้มีการประเมินผล การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของ อธิการบดี และคณบดี เป็นประจำทุกปี หลังสิ้นสุดปีการศึกษา โดยคณะกรรมการประเมินฯที่สภาวิทยาลัยแต่งตั้ง

การเรียนรู้:   ก่อนปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยได้ออกแบบให้ การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารทุกระดับ เป็นไปตามประเด็นหลักธรรมาภิบาล ทั้ง 10 ประการ ซึ่งได้ผลการประเมินค่อนข้างสูงมาก จึงได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ สภาวิทยาลัย ในการประเมินผลการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่สัมพันธ์กับระบบงาน/ระบบปฏิบัติการต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาระบบงานต่อไปได้ โดยในปีการศึกษา 2565 อธิการบดีได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าว สำหรับผลการประเมิน ในปีการศึกษา 2565 พบว่า ลดลงจากปีการศึกษา 2561-2564 เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการประเมิน อย่างไรก็ตาม ผลการประเมินการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ทั้ง 10 ประการอยู่ในระดับดี

การบูรณาการ: จากการประเมินผลการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่บูรณาการกับระบบงาน/ระบบปฏิบัติการต่างๆ นอกจากจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดการนำหลักธรรมาภิบาลไปสู่การบริหารงานอย่างแท้จริงแล้ว ยังเป็นการสร้างสมรรถนะองค์กรที่สำคัญ คือ “มีการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน(WIL)”ที่สัมพันธ์กับ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม และวัฒนธรรมองค์กร ของวิทยาลัยด้วย ดังภาพที่  op1 ก 2-1

7 มีระบบการรับฟัง และตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ผู้ใช้ และท้องถิ่น

  1. มีระบบการรับฟัง และตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ผู้ใช้บัณฑิต และท้องถิ่น

อธิการบดีดำเนินการอย่างไร

การดำเนินการ

แนวทางการดำเนินการ: อธิการบดีกำหนดระบบการรับฟังและตอบสนองความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง ที่ประกอบด้วย 1)การให้ข้อมูลผ่านช่องทางอีเล็กทรอนิกส์ เช่น เว็บไซด์(ห้องทั่วไป และห้องคุยกับอธิการบดี) Line, อีเมล์  2)การให้ข้อมูลผ่านช่องทางเอกสาร เช่นจดหมาย หนังสือร้องเรียน การให้ข้อเสนอแนะจากการตอบแบบสอบถาม หรือการประเมินต่างๆ 3)การให้ข้อมูลโดยตรง เช่น การแจ้งด้วยวาจากับเจ้าหน้าที่/บุคลากร การแจ้งผ่านโทรศัพท์ เป็นต้น 4)การส่งบุคลากรออกไปเก็บข้อมูล เช่น การประชุม การสัมมนา การสัมภาษณ์ การสอบถาม กับผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้เรียน ผู้ใช้บัณฑิต และท้องถิ่น เป็นต้น

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: อธิการบดี มอบหมาย รองอธิการบดี และคณบดี รับผิดชอบและประสานความร่วมมือฯ เพื่อดำเนินการตามระบบการรับฟังและตอบสนองความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง และสรุปรายงานผลการรับฟังและตอบสนองความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง เสนอต่อ คกก.บริหารวิทยาลัย หรือสภาวิชาการ หรือต่อที่ประชุมผู้บริหาร อย่างน้อย ภาคเรียนละ 1 ครั้ง ยกเว้นกรณีที่อาจเกิดความเสียหายอย่างรุนแรง ให้รายงานต่ออธิการบดีทันที

การเรียนรู้: ในระยะแรก ข้อมูลที่วิทยาลัยได้รับเป็นข้อมูลเชิงบวกเพียงด้านเดียว อธิการบดี จึงเพิ่ม การให้ข้อมูลผ่านช่องทางอีเล็กทรอนิกส์ ด้วยการใช้ Google form ซึ่งเป็นช่องทางที่ปลอดภัยกับผู้ให้ข้อมูล ทำให้วิทยาลัย ได้รับข้อมูลที่เป็นทั้งข้อมูลเชิงบวก และข้อมูลเชิงลบ ทำให้วิทยาลัยสามารถจัดการแก้ไข ปรับปรุง ป้องกัน และ ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ผู้ใช้บัณฑิต และท้องถิ่นได้ทันท่วงที

การบูรณาการ: ในปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยได้บูรณาการ ผลการรับฟังและตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ผู้ใช้บัณฑิต และท้องถิ่น เข้ากับกลไกในการสื่อสารกับ ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และคู่ความร่วมมือ ด้วย ดังตารางที่ op1 ข 3.1 – op1 ข 3.4 ซึ่งนอกจากเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตามระบบงาน/ระบบปฏิบัติการ แล้ว ยังสร้างความเชื่อมั่นจากผู้เรียน ผู้ใช้บัณฑิต และท้องถิ่น ด้วย

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

5 ข้อ

IQA (1-7)

1,2,3,4,5,6,7

 7 ข้อ

5 คะแนน

EdPEx (1-5)

1,2,3,4,5

ร้อยละ 30

(จาก70 คะแนน)

21 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐานรายการ
1.1.-01แผนยุทธศาสตร์วิทยาลัยฯ พ.ศ. 2563-2567
1.1-02แผนปฏิบัติการวิทยาลัยฯประจำปีการศึกษา 2565
1.1-03รายงานการประชุม คณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ … ปีการศึกษา 2565
1.1-04ข้อบังคับวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ว่าด้วยธรรมาภิบาลของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา พ.ศ. 2565
1.1-05ตัวอย่างภาพถ่ายช่องทางการสื่อสาร พ.ศ. 2565
1.1-06กิจกรรม BAR: Before Action Review และ AAR: After Action Review
1.1-07รายงานการจัดการความรู้
1.1-08คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการวิจัยฯ
1.1-09คำสั่งแต่งตั้งสภาวิชาการ