Component 5: Indicator 5.1 Expectations (Workforce Environment)

Component 5 Faculty Members and Staff

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 ความคาดหวัง(สภาวะแวดล้อมด้านบุคลากร): Expectations (Workforce Environment)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-6 ข้อ7-8 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-6 ประเมิน 40 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

1 ขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร (ความจำเป็นด้านขีดความสามารถและอัตรากำลัง) สถาบันมีวิธีการอย่างไรในการประเมินด้านขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากรที่จำเป็นต้องมี

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัย กำหนดให้มีการประเมินขีดความสามารถและอัตรากำลังของบุคลากร โดยการประเมินผลการปฏิบัติงานจาก 4 ประเด็นหลักคือ เวลาในการปฏิบัติงาน สมรรรถนะตามตำแหน่งงาน ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน และภาระงาน เป็นประจำทุกปี โดยหากพบว่ามีภาระงานเกิน วิทยาลัยจะกำหนดให้มีอัตรากำลังเพิ่มขึ้น

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: งานบุคลากร รับผิดชอบในการนำข้อมูลจากคณะ/หน่วยงาน มาทำการกำหนดอัตรากำลังของแต่ละคณะ/หน่วย ตามแผนบุคลากร ระยะ 5 ปี โดยแต่ละอัตรา จะมีการกำหนด คุณลักษณะและสมรรถนะประจำตำแหน่ง  รายละเอียดงานประจำตำแหน่ง และภาระงาน ให้บุคลากรรับทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ จะทำการประเมินขีดความสามารถของบุคลากร ตามที่ได้รับทราบ โดยให้ผู้บังคับบัญชา เป็นผู้ประเมิน ตามแบบประเมินบุคลากร ใน 4 ประเด็นหลัก คือ เวลาในการปฏิบัติงาน สมรรรถนะตามตำแหน่งงาน ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน และภาระงาน ก่อนสิ้นสุดปีการศึกษา

การเรียนรู้: บุคลากรที่มีผลการประเมินขีดความสามารถ ต่ำกว่าร้อยละ 60 ต้องดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาเป็นรายบุคคล มีกำหนดในการพัฒนา 1 ปี ทั้งนี้ บุคลากรที่มีผลการประเมินขีดความสามารถ ต่ำกว่าร้อยละ 60 ติดต่อกัน 2 ปี จะไม่ได้รับการต่อสัญญาจ้าง สำหรับบุคลากรที่มีภาระงานเกิน ติดต่อกัน 2 ภาคเรียน ให้งานบุคคลเสนอเรื่องขยายอัตรากำลัง เสนอต่ออธิการบดีตามลำดับ

การบูรณาการ: วิทยาลัย บูรณาการ การประเมินขีดความสามารถและอัตรากำลัง เข้ากับ การประเมินความดีความชอบ นั่นคือ บุคลากรที่มีผลการประเมินขีดความสามารถ ตั้งแต่ร้อยละ 60 จะได้รับการพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือน ตามอัตราส่วนผลการปฏิบัติงาน

2 ขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร (บุคลากรใหม่) สถาบันมีวิธีการอย่างไรในการสรรหา ว่าจ้าง และดูแล บุคลากรใหม่

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัย กำหนดการสรรหา และว่าจ้าง บุคลากรใหม่ เป็น 2 แนวทาง คือ กรณีเป็นตำแหน่งงานเดิม แต่มีการเพิ่มอัตรากำลัง ให้ดำเนินการสรรหาและว่าจ้าง ตามคุณลักษณะและสมรรถนะประจำตำแหน่ง  รายละเอียดงานประจำตำแหน่ง และภาระงาน เดิมที่กำหนดไว้ และกรณีที่เป็นตำแหน่งงานที่กำหนดขึ้นใหม่ ให้งานบุคคลร่วมกับ คณะ/หน่วยงาน ที่เสนอกำหนดตำแหน่ง ร่วมกันจัดทำ คุณลักษณะและสมรรถนะประจำตำแหน่ง  รายละเอียดงานประจำตำแหน่ง และภาระงานก่อน ประกาศรับสมัคร สรรหา และว่าจ้าง สำหรับการดูแลบุคลากรใหม่ทั้ง 2 กรณี ให้งานบุคคลให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ ในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามสัญญาจ้าง เป็นระยะเวลา 4 เดือน 

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: งานบุคคล รับผิดชอบการดำเนินการดังนี้

การสรรหาและว่าจ้าง ให้มีการดำเนินการอย่างเปิดเผย ประกอบด้วย 1)การประกาศตำแหน่งงานว่างผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 2)การเปิดช่องทางการรับใบสมัครทั้งทางออนไลน์ ทางไปรษณีย์ และยื่นโดยตรงที่วิทยาลัย 3)การนัดหมายสัมภาษณ์/ทดสอบทักษะในงานเบื้องต้น 4)การประกาศผลการสรรหา 5)การทำสัญญาทดลองงาน 6)การประเมินผลการทดลองงาน 7)การทำสัญญาจ้างกรณีผ่านการประเมิน 8)การส่งเรื่องบรรจุ/แต่งตั้ง กรณี เป็นอาจารย์ ต่อ สป. อว.

การดูแลบุคลากรใหม่ ให้งานบุคคลดำเนินการ ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ ในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามสัญญาทดลองงาน เป็นระยะเวลา 4 เดือน ประกอบด้วย 1)การปฐมนิเทศในภาพรวม 2)การปฐมนิเทศเฉพาะตำแหน่ง 3)การจัดพี่เลี้ยง/ผู้ให้คำแนะนำ/ผู้ช่วยเหลือ ในการปฏิบัติงานตามตำแหน่ง 4)การอบรมในหลักสูตรที่จำเป็นเฉพาะตำแหน่ง สำหรับอาจารย์ เช่น หลักสูตรการเขียน TQF3, TQF4, TQF5, TQF6, การนิเทศนักศึกษาฝึกงาน เป็นต้น สำหรับบุคลากรสนับสนุน เช่น การใช้งานในระบบฐานข้อมูลต่างๆ การปฏิบัติงานตามระบบปฏิบัติการเฉพาะตำแหน่ง เป็นต้น

การเรียนรู้: การดำเนินการสรรหาและว่าจ้าง ในกรณีเป็นชาวต่างชาติ งานบุคคลต้องดำเนินการให้เป็นไปตาม กฎ ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการใช้แรงงานต่างชาติ ที่ กฎหมายแรงงานกำหนด และเป็นไปตามขั้นตอนของ หน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง เช่น การจัดทำ Work Permit เป็นต้น นอกจากนี้ การสรรหาและว่าจ้าง อาจารย์ ต้องมีคุณวุฒิ และคุณสมบัติ และความสามารถด้านภาษาอังกฤษ เป็นไปตามมาตรฐานต่างๆ เช่น มาตรฐานหลักสูตร ที่ สป. อว. กำหนด เป็นต้น

การบูรณาการ: วิทยาลัย บูรณาการเรื่อง ดำเนินการสรรหาว่าจ้าง และดูแลบุคลากรใหม่ กับเกณฑ์การดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐาน/ ข้อบังคับ/ประกาศ ที่ สป. อว. กำหนด นั่นคือ วิทยาลัยพร้อมที่จะรายงานข้อมูลด้านบุคลากร ต่อต้นสังกัดได้ทันที

3 ขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร (การจัดการการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากร) สถาบันมีวิธีการอย่างไรในการเตรียมบุคลากรให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงความจำเป็นด้านขีดความสามารถและอัตรากำลัง

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัย ใช้แผนบุคลากรระยะ 5 ปี ในการเตรียมบุคลากรให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากร การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม การระบาดของโรคอุบัติใหม่ ที่มีผลต่อ การเปลี่ยนแปลงผู้เรียน กระบวนการเรียนรู้ หลักสูตร การวัดผลประเมินผล การพัฒนางาน ที่กระทบกับความจำเป็นด้านขีดความสามารถและอัตรากำลัง ของบุคลากร โดยให้มีการดำเนินการ ทั้งในลักษณะการพัฒนาบุคลากรเดิม และการสรรหาบุคลากรใหม่

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: งานบุคคลและคณะ ร่วมรับผิดชอบดำเนินการการเตรียมบุคลากรให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

1)การเตรียมความพร้อมบุคลากรด้านคุณวุฒิ คือการพัฒนาผู้รับผิดชอบหลักสูตรให้มีคุณวุฒิปริญญาเอก และ การสรรหาบุคลากรใหม่ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกเพิ่มขึ้น

2)การเตรียมความพร้อมบุคลากรด้านตำแหน่งทางวิชาการ คือการพัฒนาผู้รับผิดชอบหลักสูตรให้มีตำแหน่งทางวิชาการ ผศ. รศ. ศ. และ การสรรหาบุคลากรใหม่ที่มีตำแหน่งทางวิชาการ เพิ่มขึ้น

3)การเตรียมความพร้อมอาจารย์ให้รองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี คือการพัฒนาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอนให้มีสมรรถนะทางเทคโนโลยี สำหรับการจัดการเรียนรู้ เช่น การใช้แอปพลิเคชั่นในการจัดการเรียน การวัดผล ตลอดจน การพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง

4)การเตรียมความพร้อมบุคลากรด้านการเพิ่มขีดความสามารถ/สมรรถนะ คือการพัฒนาบุคลากรสนับสนุน ให้สามารถ/มีสมรรถนะ ที่เป็น multi tasking skills และพร้อมรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการพัฒนาคุณภาพงาน

5)การเตรียมความพร้อมบุคลากรในการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย คือการพัฒนาอาจารย์และบุคลากรสนับสนุน ให้พร้อมขับเคลื่อน ตามกลุ่มการผลิตและพัฒนาบุคลากรวิชาชีพและสาขาวิชาจำเพาะ

6)การเตรียมผู้สืบทอด(Successor) ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง  คือการพัฒนาอาจารย์และบุคลากรสนับสนุน ที่มีผลการทำงานดีเด่น มีทักษะศตวรรษที่ 21 และมีมนุษยสัมพันธ์ดี ให้พร้อมเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้างาน ตำแหน่งทางการบริหาร ในอนาคต(ระยะ3-5 ปี)

การเรียนรู้: กระบวนการเตรียมบุคลากร ให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงความจำเป็นด้านขีดความสามารถและอัตรากำลัง ดำเนินการจากคณะ/หน่วยงานสนับสนุน เสนอวิธีการเตรียมความพร้อม ว่าเป็นการพัฒนาบุคลากรเดิม หรือจัดอัตรากำลังทดแทน หรือ การกำหนดตำแหน่งใหม่/สรรหาบุคลากร ใหม่ ที่มีการระบุคุณลักษณะ จำนวน และระยะเวลาตามเป้าหมาย ส่งมอบให้งานบุคคล ดำเนินการจัดทำเป็น แผนพัฒนาบุคลากร และโครงการ เสนอ ต่ออธิการบดีเพื่ออนุมัติต่อไป รายละเอียด ดัง ตารางที่ 5.1-3-01

ตารางที่ 5.1-3-01 การเตรียมบุคลากร ให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงด้านขีดความสามารถและอัตรากำลัง

การเตรียมความพร้อม

วิธีการ/โครงการ

ผลลัพธ์

การพัฒนาบุคลากรเดิม

การสรรหาบุคลากรใหม่

ด้านคุณวุฒิ

ทุนศึกษาต่อระดับปริญญาเอก

เพิ่มอัตรากำลัง

1)เอกสาร หนังสือ ตำรา สื่อ

ทุนศึกษาต่อในสาขาเฉพาะเพื่อสอน ในอนาคต

กำหนดตำแหน่งใหม่

2)ผลงานวิจัย

ด้านตำแหน่งทางวิชาการ

พัฒนาการจัดทำผลงาน/การเผยแพร่ผลงาน

เพิ่มอัตรากำลัง

3)องค์ความรู้จากบริการวิชาการ

ความพร้อมอาจารย์ให้รองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี

อบรม/สัมมนา/ดูงาน/การแลกเปลี่ยนอาจารย์

กำหนดตำแหน่งใหม่

4)องค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรม

พัฒนาคนในห้องปฏิบัติการจำลองที่ทันสมัย

เพิ่มอัตรากำลัง

ด้านการเพิ่มขีดความสามารถ/สมรรถนะ

อบรม/สัมมนา/ดูงาน/การ rotate งาน

อัตรากำลังทดแทน

บุคลากรในการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย

สัมมนา/ดูงาน/ปฏิบัติการในสถานประกอบการ

กำหนดตำแหน่งใหม่

ผู้สืบทอด

สัมมนา/การ rotate งาน/การสร้างทีมงาน

กำหนดตำแหน่งใหม่

การบูรณาการ: วิทยาลัย บูรณาการเรื่อง การเตรียมบุคลากร ให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงด้านขีดความสามารถและอัตรากำลัง กับเกณฑ์การดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐาน/ ข้อบังคับ/ประกาศ ที่ สป. อว. กำหนด นั่นคือ แต่ละสาขาวิชา คณะ และ วิทยาลัย จึงมีบุคลากร ในแต่ละสาขาวิชา คณะ เป็นไปตามมาตรฐาน/ ข้อบังคับ/ประกาศ ที่ สป. อว. กำหนด

4 ขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร (การทำงานให้บรรลุผล) สถาบันมีวิธีการอย่างไรในการจัดระบบการทำงานและบริหารบุคลากร

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยบริหารบุคลากรโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของคณาจารย์และบุคลากร ในการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมตรวจสอบ ร่วมประเมิน และร่วมรับผลแห่งความสำเร็จ ในการจัดระบบการทำงาน ตามแนวคิดของอธิการบดี คือ “งานเกิดผล คนเป็นสุข” ตามเป้าประสงค์ที่ 7 ยุทธศาสตร์ที่ 5 ของแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปีของวิทยาลัย

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: งานบุคคล มีหน้าที่ในการ จัดงานประชุมคณาจารย์และบุคลากรประจำปี ก่อนเปิดภาคเรียนใหม่ทุกปีการศึกษา โดยในงานจะมีการจัดกิจกรรม เพื่อเป็นการ Refreshment/Coaching อย่างมืออาชีพให้กับคณาจารย์และบุคลากร และมีกิจกรรมที่สำคัญ อย่างน้อย 3 กลุ่มคือ การใช้เทคนิค/วิธีการทำงานที่ท้าทาย การใช้เทคโนโลยี/เครื่องมือ/อุปกรณ์ในการพัฒนางาน การพัฒนาทัศนคติ/พฤติกรรมการทำงานเชิงบวก ซึ่งเป็นการ Up skills เป็นประจำทุกปี ดังนั้น เมื่อมีการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย กรณีที่ยังไม่มีระบบงาน หรือระบบงานเดิมไม่เหมาะสม  ผู้ที่ได้รับมอบหมาย/คณะทำงาน จะร่วมกันจัดทำระบบงาน โดยใช้ทักษะที่ได้จากการ Refreshment/ Coaching จากนั้นนำไปสู่การใช้งานจริง ร่วมกันกันตรวจสอบผลการดำเนินการ ร่วมกันประเมินผลการทำงานตามระบบ หากพบว่าระบบยังไม่สมบูรณ์จะนำไปสู่การพัฒนา หากพบว่าระบบสามารถดำเนินการได้อย่างสมบูรณ์ จะทำการจัดเก็บเข้าเป็นระบบงานของวิทยาลัย มีการรายงานความสำเร็จ ตลอดจนมีการเผยแพร่/แบ่งปันความสำเร็จในงาน KM Day และ ยกย่อง/ชมเชย/มอบรางวัล ให้กับผลงานที่ประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ในการจัดงานประชุมคณาจารย์และบุคลากรประจำปี เป็นประจำทุกปี  รายละเอียด ดังภาพที่ 5.1-4-01

การเรียนรู้: การจัดระบบการทำงานแบบมีส่วนร่วม โดยมีเป้าหมาย “งานเกิดผล คนเป็นสุข” ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กรที่มุ่งสู่งานที่ได้ผลคนเป็นสุข ผลการทำงานนอกจากจะเป็นการพัฒนา และปรับปรุงระบบการทำงานที่เกิดจากมีส่วนร่วมของบุคลากร ทำให้มีระบบงานที่ก่อให้เกิดผลสำเร็จและได้รับการยอมรับเป็นประจำทุกปีแล้ว ยังก่อให้เกิดการพัฒนาทีมงานของวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง โดยเกิดผลลัพธ์ที่สำคัญ 2 เรื่อง คือ 1)ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต และ 2)ชื่อเสียง การยอมรับ การเติบโตของวิทยาลัย

การบูรณาการ: วิทยาลัย บูรณาการเรื่อง การจัดระบบการทำงานและบริหารบุคลากร กับเกณฑ์การดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐาน/ประกาศ ที่ สป. อว. กำหนด ในประเด็นจำนวนชั่วโมงในการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากร นั่นคือ แต่ละสาขาวิชา คณะ และ วิทยาลัย จึงมีจำนวนชั่วโมงในการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากร ในแต่ละสาขาวิชา/คณะ เป็นไปตามมาตรฐาน/ประกาศ ที่ สป. อว. กำหนด และห่วงโซ่คุณค่าของการผลิตบัณฑิต ตามองค์ประกอบที่ 6 ข้อ 6.1.7 และมีผลการดำเนินการใน องค์ประกอบที่ 7 ข้อ 7.3.1

ภาพที่ 5.1-4-01 การจัดระบบการทำงานให้บรรลุผลสำเร็จ

5 บรรยากาศการทำงานของบุคลากร (สภาวะแวดล้อมของการทำงาน) สถาบันมีวิธีการอย่างไรเพื่อสร้างความมั่นใจว่าสถานที่มีสุขภาวะ ความมั่นคง และความสะดวกในการเข้าทำงานของบุคลากร

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยมีระบบการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ และการปฏิบัติงาน ที่ครอบคลุม ห้องพัก ห้องปฏิบัติงาน ห้องทำงาน ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงาน และการจัดการเรียนรู้ อย่างมีสุขภาวะ มีสะดวกในการใช้งาน ที่มีความมั่นคงและปลอดภัย

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: งานอาคารและคณะวิชา ร่วมรับผิดชอบในการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก โดยงานอาคาร รับหน้าที่ที่เกี่ยวกับอาคาร สถานที่ ห้องพัก ห้องทำงาน ห้องปฏิบัติการ และพื้นที่ส่วนกลาง  สำหรับคณะวิชารับหน้าที่จัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ และการฝึกปฏิบัติงาน โดยมีการสำรวจสภาพแวดล้อมการทำงาน ให้ถูกสุขภาวะ มีความสะดวก มั่นคง และปลอดภัย ตามระยะเวลาที่กำหนด มีการสำรวจความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นต้องใช้ในบรรยากาศของการทำงาน มีการประเมินความพึงพอใจต่อสิ่งอำนวยความสะดวก และนำผลการประเมินความพึงพอใจต่อสิ่งอำนวยความสะดวก ไปใช้ในการกำหนดแผนงาน/โครงการ จัดการสิ่งอำนวยความสะดวก เป็นประจำทุกปี ตลอดจน ในระหว่างการใช้บริการ หากพบว่ามีความไม่มั่นคง/ชำรุด/ไม่ปลอดภัย หรือมีจำนวนไม่เพียงพอ ไม่เหมาะสมในการใช้งาน สามารถแจ้งให้ผู้รับผิดชอบ ปรับปรุงการบริการได้ รายละเอียด ดังภาพที่ 5.1-5-01

ภาพที่ 5.1-5-01 ระบบการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ และการปฏิบัติงาน

การเรียนรู้: สาขาวิชา จะทำการประเมินการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ และการปฏิบัติงานจากผู้รับบริการ ประกอบด้วย คณาจารย์และบุคลากร และนักศึกษา เป็นประจำทุกปี โดย ผลการประเมินใดที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ ต่ำกว่า 3.51 และ/หรือ ผลการประเมินในประเด็นการประเมินใดที่มีผลการประเมินต่ำสุด (แม้ว่าจะมีค่าเฉลี่ย สูงกว่า 3.51) งานอาคาร และคณะวิชา ต้องเร่งดำเนินการแก้ไข ทั้งโดยการ กำหนดแผนงาน/โครงการ ในส่วนที่รับผิดชอบ หรือนำเสนอผลการประเมินต่ออธิการบดี ในกรณีที่เกินขอบเขตความรับผิดชอบ เช่น การก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ เป็นต้น รายละเอียด ดังตารางที่ 5.1-5-01

ตารางที่ 5.1-5-01 การดำเนินการจัดสภาวะแวดล้อมการทำงานของคณาจารย์และบุคลากร

ด้าน

การดำเนินการ

ผลลัพธ์

การบริหารงาน

การบริหารหลักสูตร และการบริหารงาน

ความพึงพอใจต่อการบริหารหลักสูตร

บรรยากาศการทำงาน

สิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

ความพึงพอใจต่อสิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

สภาพแวดล้อมในการทำงาน

ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมในการทำงาน

สิ่งอำนวยความสะดวก

การใช้บริการต่อสิ่งอำนวยความสะดวก

ความพึงพอใจต่อสิ่งอำนวยความสะดวก

การบูรณาการ: วิทยาลัย บูรณาการเรื่อง การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ และการปฏิบัติงาน กับเกณฑ์การดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐาน/ประกาศ ที่ สป. อว. กำหนด ในประเด็นสิ่งอำนวยความสะดวก นั่นคือ แต่ละสาขาวิชา คณะ และ วิทยาลัย จึงมีสิ่งอำนวยความสะดวก ในแต่ละสาขาวิชา/คณะ และ วิทยาลัย เป็นไปตามมาตรฐาน/ประกาศ ที่ สป. อว. กำหนด เป็นไปตามมาตรฐาน/ประกาศ ที่ สป. อว. กำหนด และผลการดำเนินการปรากฏใน องค์ประกอบที่ 7 ข้อ 7.3.2

6 บรรยากาศการทำงานของบุคลากร (นโยบายและสิทธิประโยชน์สำหรับบุคลากร) สถาบันสนับสนุนบุคลากรโดยจัดให้มีการบริการ สิทธิประโยชน์ และนโยบายอย่างไร

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยมีนโยบายและสิทธิประโยชน์สำหรับคณาจารย์และบุคลากร ใน 2 ส่วนคือ 1)สิทธิประโยชน์ตามกฎหมายการประกันสังคม 2)สิทธิประโยชน์ที่วิทยาลัยจัดให้เพิ่มเติม เช่น ที่พัก รถรับส่งพนักงาน การตรวจสุขภาพประจำปี(ในราคาพิเศษ) การให้ทุนการศึกษาต่อในวิทยาลัยในระดับที่สูงขึ้น(ปริญญาโท ปริญญาเอก) การให้ทุนการศึกษากับบุตรที่ศึกษาในวิทยาลัย การให้บริการรถรับส่งกรณีชาวต่างชาติยื่นขอ work permit ต่ออายุ work permit เป็นต้น

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: งานบุคคล ทำหน้าที่ ดำเนินการให้ คณาจารย์และบุคลากร ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายการประกันสังคมทันทีที่เป็นพนักงานของวิทยาลัย สำหรับกรณีสิทธิประโยชน์ที่วิทยาลัยจัดให้เพิ่มเติม คณาจารย์และบุคลากรที่ประสงค์จะใช้สิทธิต้องยื่นเรื่องขอรับสิทธิกับงานบุคคลไม่เกินเดือนแรกของการทำงาน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้าง และเป็นไปตามเงื่อนไขที่วิทยาลัยกำหนด เช่น ที่พักที่จัดให้ คือ หอพักของวิทยาลัย รถรับส่ง คือ รถที่วิทยาลัยรับส่งคณาจารย์และบุคลากร จาก กรุงเทพ-นครนายก ตามจุดรับส่ง ที่วิทยาลัยกำหนด เป็นต้น

การเรียนรู้: การจัดให้มีการบริการ และสิทธิประโยชน์ให้กับคณาจารย์และบุคลากร ผู้ขอใช้สิทธิแต่ละคนอาจรายละเอียดที่แตกต่างกัน ต้องให้ข้อมูลกับงานบุคคลอย่างชัดเจน เช่น

ในกรณีที่คณาจารย์และบุคลากร เคยทำงานในหน่วยงานเอกชนอื่นๆมาก่อน ต้องมีการแจ้งให้งานบุคคลรับทราบก่อนล่วงหน้า เนื่องจากสามารถใช้สิทธิทางการประกันสังคมต่อเนื่องได้

กรณีที่คณาจารย์ เคยทำงานในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนอื่นๆมาก่อน ต้องมีการแจ้งให้งานบุคคลรับทราบ  เนื่องจากสามารถใช้สิทธิในการนับอายุการทำงานเป็นอาจารย์ต่อเนื่องได้ ซึ่งมีผลต่อการขอเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

ในกรณีที่คณาจารย์และบุคลากร ชาวต่างชาติ เคยขอ work permit  หรือ work permit หมดอายุการทำงาน/ใกล้หมดอายุ ต้องมีการแจ้งให้งานบุคคลรับทราบ  เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการประสานงานกับ สำนักตรวจคนเข้าเมือง และต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ทั้งกฎหมายแรงงานต่างด้าว และกฎหมายตรวจคนเข้าเมือง เป็นต้น

การบูรณาการ: วิทยาลัย บูรณาการเรื่อง นโยบายและสิทธิประโยชน์สำหรับคณาจารย์และบุคลากร กับการประเมินความสุขของบุคลากรในการทำงาน นั่นคือ เมื่อคณาจารย์และบุคลากรได้รับบริการและสิทธิประโยชน์เป็นที่พอใจ ผลการประเมินความสุขของบุคลากรในการทำงานควรอยู่ในระดับสูง(ค่าเฉลี่ยมากกว่า 3.51)

7 มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อยกระดับสมรรถนะอย่างต่อเนื่อง

การดำเนินการ

วิทยาลัยมีการพัฒนาศักยภาพคณาจารย์และบุคลากร ให้มีจำนวนชั่วโมงในการอบรม สัมมนา และการพัฒนาเฉพาะทาง ตลอดทั้งปี โดยมีเป้าหมายการพัฒนาไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมง/คน/ปี เป็นประจำทุกปี  โดยในปีการศึกษา 2565  คณาจารย์และบุคลากรมีค่าเฉลี่ยการพัฒนา เท่ากับ 21  ชั่วโมง/คน/ปี

8 มีระบบการบริหารงานที่ส่งเสริมการนำศักยภาพบุคลากรมาใช้อย่างเต็มที่

การดำเนินการ

วิทยาลัยใช้ระบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ทั้งในการบริหารระดับนโยบาย เช่นคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการผู้บริหาร คณะกรรมการสภาวิชาการ  เป็นต้น การบริหารในระดับกลาง เช่น คณะกรรมการวิจัยและนวัตกรรม คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการจัดการจัดการความรู้ คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา คณะกรรมการกิจการนักศึกษา  และการบริหารงานในระดับปฏิบัติการ เช่น คณะทำงานบริการวิชาการแบบเฉพาะเจาะจง คณะทำงานประสานงานพัฒนาการจัดการศึกษาในจังหวัดนครนายก คณะทำงานสนับสนุนและช่วยเหลือนักศึกษา จึงมีการนำศักยภาพของบุคลากรมาใช้ในการพัฒนา/ให้บริการ ทั้งในลักษณะการทำงานตามสายงาน และการบูรณาการข้ามสายงาน

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

5 ข้อ

IQA (1-8)

1,2,3,4,5,6,7,8

 8 ข้อ

 5 คะแนน

EdPEx (1-6)

1,2,3,4,5,6

ร้อยละ 30

(จาก40 คะแนน)

 12 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐานรายการ
5.1-01แผนพัฒนาบุคลากร
5.1-02คู่มือบุคลากร
5.1-03แบบสัญญาจ้าง และแบบประเมินทดลองงานบุคลากร
5.1-04ภาพการจัดงานประชุมคณาจารย์และบุคลากรประจำปี
5.1-05ภาพอาคารและห้องปฏิบัติการ
5.1-06ภาพหอพักอาจารย์และนักศึกษา
5.1-07โครงการพัฒนาศักยภาพคณาจารย์และบุคลากร
5.1-08ภาพการประชุมของคณะกรรมการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ