บทนำ: ประวัติ และโครงร่างองค์กร

ประวัติองค์กร

วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เดิมชื่อ “วิทยาลัยเซนต์เทเรซา อินติ (St Theresa Inti College)” จัดตั้งเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา เมื่อพ.ศ. 2538 โดยการร่วมทุนระหว่างโรงเรียนนานาชาติบริหารธุรกิจเซนต์เทเรซา ประเทศไทย กับวิทยาลัยอินติ ประเทศมาเลเซีย และใช้ชื่อในระยะก่อตั้งคือ วิทยาลัยเซนต์เทเรซา อินติ ได้รับประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2544 และ ในปีพ.ศ. 2546 ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการเรียนการสอนทุกหลักสูตรจากทบวงมหาวิทยาลัย โดยจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ประเภท วิทยาลัย ใน 4 คณะวิชา ได้แก่คณะบริหารธุรกิจ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์

วิทยาลัย มีความร่วมมือในการผลิตบัณฑิตร่วมกับสถาบันในต่างประเทศต่าง ๆ  เช่น มหาวิทยาลัย University of East London สหราชอาณาจักรอังกฤษ, สถาบันเทคโนโลยี Wairiki ประเทศนิวซีแลนด์ และมหาวิทยาลัย Pattern ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยนักศึกษาชาวไทยและนักศึกษาต่างชาติของวิทยาลัยฯสามารถโอนหน่วยกิตไปศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาต่างประเทศและมีโอกาสได้รับปริญญาบัตรจากทั้งสองสถาบัน (Dual Program)

ปีการศึกษา 2552 วิทยาลัยฯ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา (St Theresa International College)”

ปีการศึกษา 2554 วิทยาลัยได้รับการรับรองมาตรฐานและคุณภาพการศึกษาภายนอกรอบสาม จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ในระดับสถาบันและคณะวิชา รวม 4 คณะวิชา ได้แก่คณะบริหารธุรกิจ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์

ปีการศึกษา 2555 คณะมนุษยศาสตร์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ปีการศึกษา 2556 วิทยาลัยได้เพิ่มการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาโท จำนวน 4 หลักสูตร รวม 3 คณะวิชา ประกอบด้วย คณะบริหารธุรกิจ คือหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต และ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คือหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรภาษาไทย) และ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) โดยมีนักศึกษาทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

ปีการศึกษา 2557 วิทยาลัยได้แยกหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาออกจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มาจัดตั้งเป็นคณะศึกษาศาสตร์  จึงทำให้วิทยาลัยผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท รวม 5 คณะวิชา ได้แก่ คณะบริหารธุรกิจ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์

ปีการศึกษา  2558 วิทยาลัยได้เปิดสอนเพิ่มขึ้น 4 หลักสูตร คือ  หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต  หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ หลักสูตรประกาศนียบัตร สาขาวิชาชีพครู(หลักสูตรนานาชาติ)และ หลักสูตรประกาศนียบัตร สาขาวิชาชีพครู (หลักสูตรภาษาไทย)

ปีการศึกษา 2559 วิทยาลัยได้เปิดสอนเพิ่มขึ้น 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบิน และหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป และมีการปิดหลักสูตร 1 หลักสูตรในระดับปริญญาโท คือ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา (หลักสูตรภาษาไทย)

ปีการศึกษา 2560 วิทยาลัยเปิดสอนเพิ่มขึ้น 2 หลักสูตร คือหลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี  และหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา

ปีการศึกษา 2561 วิทยาลัยได้รับการตรวจรับรองวิทยฐานะ จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2562 โดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ให้การรับรองในระดับหลักสูตรและระดับสถาบัน

ปีการศึกษา 2562 วิทยาลัยมีการปิดหลักสูตรระดับปริญญาโท 1 หลักสูตร คือหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา และสภาวิทยาลัยได้อนุมัติ ให้ใช้ มาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา พ.ศ. 2562  ในการประกันคุณภาพภายใน เพื่อให้เป็นไปตาม มาตรฐานอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 ทดแทน ระบบประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2557 ของ สกอ.

ปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยเปิดเพิ่มหลักสูตรใหม่ระดับปริญญาโท 1 หลักสูตร คือหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้ และได้พัฒนาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ โดยแยกออกเป็น 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ และหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจการบิน

ปีการศึกษา 2564 วิทยาลัยผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก รอบสี่ จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ผลการประเมิน เป็นไปตามมาตรฐานทั้งหมด (จำนวน 28 ตัวบ่งชี้ และไม่รับการประเมินจำนวน 4 ตัวบ่งชี้ เนื่องจากยังไม่มีการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอก) 

ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยได้รับรับรองวิทยฐานะระดับปริญญาเอก และเปิดเพิ่มหลักสูตรใหม่ระดับปริญญาเอก 1 หลักสูตร คือหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา(หลักสูตรใหม่ 2565) และ วิทยาลัยได้รับการประเมินการจัดกลุ่มสถาบัน จาก สป.อว. ตามโครงการ Re-inventing University เป็นสถาบันในกลุ่มที่ 5 กลุ่มพัฒนาบุคลากรสาขาวิชาชีพเฉพาะ ตลอดจนวิทยาลัย เพิ่มความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย South Wales ประเทศอังกฤษ ในการผลิตบัณฑิตในหลักสูตรบัณฑิตศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ(หลักสูตร 3+1)

นอกจากนี้ ในปีการศึกษา 2565 สภาวิทยาลัย ได้อนุมัติให้ใช้ มาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา พ.ศ. 2565  ในการประกันคุณภาพภายใน เพื่อให้เป็นไปตาม มาตรฐานอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ทดแทน ระบบประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2557 ของ สกอ.

ดังนั้นการดำเนินการในปีการศึกษา 2565 มีหลักสูตรที่เปิดสอนรวม 20 หลักสูตร เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี 13 หลักสูตร และหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา 7 หลักสูตร(ประกาศนียบัตรบัณฑิต 2 หลักสูตร ปริญญาโท 4 หลักสูตร และปริญญาเอก 1 หลักสูตร) จาก 5 คณะวิชา คือ บริหารธุรกิจ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ และสาธารณสุขศาสตร์

โครงร่างองค์กร วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา

1.ลักษณะองค์กร

ก. สภาพแวดล้อมองค์กร

1)ผลิตภัณฑ์

ผลิตภัณฑ์ ของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ประกอบด้วย 4 ผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์ด้านการวิจัย ผลิตภัณฑ์ด้านการศึกษา ผลิตภัณฑ์ด้านการบริการวิชาการ และผลิตภัณฑ์ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มีรายละเอียดดังตารางที่ op1 ก 1-1

ตารางที่ op1 ก 1-1 ผลิตภัณฑ์ ของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา

ผลิตภัณฑ์หลัก

ความสำคัญต่อความสำเร็จของวิทยาลัย

กลไกการส่งมอบ/การบริหาร

ผลิตภัณฑ์ด้านการวิจัย

1)ผลงานวิจัยและนวัตกรรม

-เผยแพร่ผลงานวิจัยให้เป็นที่ยอมรับทางวิชาการ

-ขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา จากนวัตกรรมของคณาจารย์ และนักศึกษา

อธิการบดี มอบหมาย รองอธิการบดีฝ่ายแผนงานและวิจัย กำกับ ติดตาม บริหารงานวิจัยและนวัตกรรมให้เป็นไปตาม นโยบายและเป้าหมายของวิทยาลัย  และรายงานเสนอต่อ สภาวิชาการ อย่างน้อยทุกภาคการศึกษา

ผลิตภัณฑ์ด้านการศึกษา

1)หลักสูตรปริญญาตรี

-ผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหลักสูตรและวิทยาลัย  เป็นบัณฑิตที่มีสมรรถนะสูงด้านวิชาการ วิชาชีพ และภาษาอังกฤษ ในหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของยุทธศาสตร์ชาติ

อธิการบดี มอบหมาย รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ กำกับติดตาม คุณภาพหลักสูตร กิจกรรมเสริมหลักสูตร การประเมิน คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ การเป็นบัณฑิตในศตวรรษที่ 21ที่มีสมรรถนะสูงด้านวิชาการ วิชาชีพ และภาษาอังกฤษ และการประเมินผล TOEIC ให้เป็นไปตามเป้าหมายของวิทยาลัย คือการผลิตกำลังคนที่ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ และการผลิตบัณฑิตในกลุ่มที่ 5 คือกลุ่มผลิตและพัฒนาบุคลากรวิชาชีพและสาขาจำเพาะ ที่เป็นไปตามแผนยกระดับและพัฒนาความเป็นเลิศ(Reinventing University)  และรายงานเสนอต่อ สภาวิชาการ ทุกปีการศึกษา โดยในปีการศึกษา 2565 มีหลักสูตรระดับปริญญา จำนวน 13 หลักสูตร

2)หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา

-ผลิตบัณฑิตที่สามารถประยุกต์องค์ความรู้ใหม่ๆ ไปพัฒนางาน  หรือหน่วยงาน ให้มีคุณภาพสูงขึ้น และ มีผลคะแนนTOEIC ก่อนสำเร็จไม่น้อยกว่า 600

-คุณภาพของผลงานวิจัย/ผลงานทางวิชาการของบัณฑิต ได้รับการเผยแพร่ให้เป็นที่ยอมรับทางวิชาการ

อธิการบดี มอบหมาย รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ กำกับดูแลคุณภาพหลักสูตร กิจกรรมเสริมหลักสูตร การประเมินความสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ของบัณฑิตหลังสำเร็จการศึกษา การประเมินผล TOEIC  การประเมินคุณภาพของผลงานวิจัย/ผลงานทางวิชาการของบัณฑิต  ให้เป็นไปตามเป้าหมายของวิทยาลัย คือการผลิตกำลังคนที่ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ และการผลิตบัณฑิตในกลุ่มที่ 5 คือกลุ่มผลิตและพัฒนาบุคลากรวิชาชีพและสาขาจำเพาะ ที่เป็นไปตามแผนยกระดับและพัฒนาความเป็นเลิศ(Reinventing University)และ รายงานเสนอต่อ สภาวิชาการ ทุกปีการศึกษา โดยในปีการศึกษา 2565 มีหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 7 หลักสูตร เป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต 2 หลักสูตร หลักสูตรปริญญาโท 4 หลักสูตร และหลักสูตรปริญญาเอก 1 หลักสูตร

ผลิตภัณฑ์ด้านการบริการวิชาการ

1)รับทำวิจัยและเป็นที่ปรึกษาการวิจัยให้กับ หน่วบงาน/องค์กร ของภาครัฐ และเอกฃน

2)จัดอบรมหลักสูตรระสั้นให้กับหน่วยงานตามความร่วมมือทางวิชาการหรือผู้สนใจ

-การผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาด้านวิชาการ การพัฒนาท้องถิ่น และการมีรายได้เพิ่มขึ้น

-ภาพลักษณ์การเป็นผู้นำ ด้านการนำองค์ความรู้ไปถ่ายทอด /ต่อยอดความรู้สู่ชุมชน

-อธิการบดี มอบหมาย รองอธิการบดีฝ่ายแผนงานและวิจัย กำกับ ติดตาม บริหารงาน ให้เป็นไปตาม นโยบายและเป้าหมายของวิทยาลัย  และรายงานเสนอต่อ สภาวิชาการ ทุกปีการศึกษา

-อธิการบดี มอบหมาย รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ กำกับ ติดตาม บริหารงาน ให้เป็นไปตาม นโยบายและเป้าหมายของวิทยาลัย  และรายงานเสนอต่อ สภาวิชาการ ทุกปีการศึกษา

ผลิตภัณฑ์ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

-การผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ และจัดเก็บองค์ความรู้ ทางด้าน ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี  เพื่อนำไปสู่การทำนุ บำรุง รักษา สืบสาน ต่อยอด เพื่อการพัฒนาชุมชน สังคม ท้องถิ่น

-อธิการบดี มอบหมาย รองอธิการบดีฝ่ายแผนงานและวิจัย กำกับ ติดตาม บริหารงาน ให้เป็นไปตาม นโยบายและเป้าหมายของวิทยาลัย  และรายงานเสนอต่อ สภาวิชาการ ทุกปีการศึกษา

2)พันธกิจ วิสัยทัศน์ ค่านิยม และวัฒนธรรม

พันธกิจ วิสัยทัศน์ ค่านิยม สมรรถนะหลัก และวัฒนธรรมของวิทยาลัย มีดัง ภาพที่ op1 ก 2-1

ภาพที่ op1 ก 2-1 ความสัมพันธ์ของพันธกิจ วิสัยทัศน์ ค่านิยม สมรรถนะหลัก และวัฒนธรรมองค์กร

3)ลักษณะโดยรวมของบุคลากร

วิทยาลัยมีคณาจารย์ รวม 153 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2566) ประกอบด้วย คณะบริหารธุรกิจ 48 คน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 13 คน คณะศึกษาศาสตร์ 36 คน  คณะสาธารณสุขศาสตร์ 14 คน  คณะพยาบาลศาสตร์ 46 คน รายละเอียดดังตารางที่ op ก 3-1

ตารางที่ op1 ก 3-1 ลักษณะโดยรวมของบุคลากร

ประเภท

จำนวน

วุฒิการศึกษา

อายุ(Generation)

ปัจจัยที่บุคลากรมีความผูกพันกับวิทยาลัย

คน

ร้อยละ

ตรี

โท

เอก

Z

Y

X

BB

อาจารย์

130

82.80

89

41

2

6

32

90

ความยอมรับจากผู้ร่วมงานและผู้นำองค์กร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

18

11.46

7

11

1

2

15

ความไว้วางใจจากผู้นำองค์กร

รองศาสตราจารย์

9

5.74

1

8

9

ได้รับผิดชอบงานที่ท้าทาย

รวมคณาจารย์

157

100.00

97

60

2

7

34

114

เจ้าหน้าที่

9

9

9

ความเป็นกันเองของทีมงาน

รวม

166

106

66

1

ในปีการศึกษา 2565 วิทยาลัย มีคณาจารย์ชาวต่างชาติจำนวน 51  คน ประกอบด้วย 6 ประเทศ คือ USA 4, UK 1, Bangladesh 4, Eritrean 1, Philippine 22, Indian 19 โดยคณาจารย์ ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพสูง มีสมรรถนะเป็นไปตามเกณฑ์ที่ สป. อว. กำหนด การมีคณาจารย์หลากหลายเชื้อชาติ ทำให้สภาพแวดล้อมองค์กร เป็นบรรยากาศการจัดการเรียนรู้ในบริบท สถาบันอุดมศึกษาที่มีความเป็นนานาชาติ

ปัจจัยหลักที่บุคลากรทุกคน มีความผูกพันกับการปฏิบัติงานในวิทยาลัย คือการยอมรับในความสามารถ ความไว้วางใจ และ การมอบอำนาจให้รับผิดชอบในงานที่ท้าทายต่างๆ ให้เหมาะสมกับบุคลากรในแต่ละ generation เช่น การให้รางวัลในโอกาสต่างๆ การเป็นคณะทำงานต่างๆที่สำคัญ และการเป็นตัวแทนของบุคลากรในการให้คำปรึกษา ให้ข้อเสนอแนะ ในการพัฒนาวิทยาลัย เช่น กรรมการวิจัย กรรมการความเสี่ยง กรรมการประกันคุณภาพการศึกษา กรรมการธรรมาภิบาลและจริยธรรม  กรรมการบุคลากร กรรมการสภาวิชาการ เป็นต้น ตลอดจนการเป็นคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานหรือการปฏิบัติหน้าที่ของวิทยาลับ เช่น กรรมการประเมินคุณภาพภายใน กรรมการประเมินการปฏิบัติหน้าที่ของคณบดี กรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานของอธิการบดี เป็นต้น

4)สินทรัพย์

วิทยาลัยมี อาคารเรียน ห้องสมุด ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ เครื่องมือ/อุปกรณ์ และเทคโนโลยีต่างๆ เพียงพอและเหมาะสมกับการผลิต เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ของวิทยาลัย ดังตารางที่ op1 ก 4-1

ตารางที่ op1 ก 4-1 สินทรัพย์ของวิทยาลัยจำแนกตามอาคาร

อาคาร

ห้องปฏิบัติการที่สำคัญ

เครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่สำคัญ

-อาคารมาเรียเทเรซา

ห้องปฏิบัติการจำลอง ATC 3 ห้อง

-ระบบจำลองการจราจรทางอากาศ

ห้องปฏิบัติการจำลอง AR 1 ห้อง

-ระบบจำลองการบิน

ห้องปฏิบัติการจำลอง AB 1 ห้อง

-ระบบจำลองการบริการบนเครื่องบิน

ห้องปฏิบัติการ BBA 1 ห้อง

-ห้องปฏิบัติการอาหารและเครื่องดื่ม

ห้องปฏิบัติการ CA 3 ห้อง

-ห้องปฏิบัติการถ่ายภาพ/ตัดต่อ/บันทึกเสียง

ห้องปฏิบัติการ BE 2 ห้อง

-ห้องปฏิบัติการภาษา

ห้องปฏิบัติการ ED 1 ห้อง

-ห้องปฏิบัติการเคมี

-อาคารโจเซฟมารี

ห้องปฏิบัติการ ED 2 ห้อง

-ห้องปฏิบัติการการสอน

ห้องปฏิบัติการ BBA 1 ห้อง

-ห้องปฏิบัติการต้อนรับ(โรงแรม/ท่องเที่ยว)

-อาคารเซนต์แมรี

ห้องปฏิบัติการ ED 2 ห้อง

-ห้องปฏิบัติการชีววิทยา และ ฟิสิกส์

ห้องปฏิบัติการ OHS 1 ห้อง

-ห้องปฏิบัติการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ห้องปฏิบัติการ PH 1 ห้อง

-ห้องปฏิบัติการสาธารณสุข

-อาคารเซนต์แอน

ห้องปฏิบัติการ MBA 1 ห้อง

-ห้องปฏิบัติการธุรกิจจำลอง

ห้องปฏิบัติการ BBA 1 ห้อง

-ห้องปฏิบัติการอาหารและเครื่องดื่ม

-อาคารเซนต์คริสโตเฟอร์

ห้องปฏิบัติการทางสุขภาพ 1 ห้อง

-ห้องปฏิบัติการ Weigh Training

ห้องปฏิบัติการการกีฬา

-สระว่ายน้ำ และกีฬาในร่ม

ห้องช่วยเหลือและให้คำปรึกษา

-ห้องปฐมพยาบาล และห้องให้คำปรึกษา

-อาคารพยาบาลศาสตร์

ห้องปฏิบัติการจำลอง NS 2 ห้อง

-ห้องปฏิบัติการจำลองด้วยการใช้หุ่น

ห้องปฏิบัติการ NS 5 ห้อง

-ห้องปฏิบัติการทางการพยาบาล

-อาคารวิทยบริการ

ห้องปฎิบัติการทางสารสนเทศ

-ห้องสืบค้นจากฐานข้อมูล ห้องสมุดดิจิทัล

-อาคาร Co-Working Space 3 อาคาร

ห้องปฏิบัติการริเริ่มสร้างสรรค์

-ห้องปฏิบัติการสร้างนวัตกรรม/ผู้ประกอบการ

-อาคารหอพัก 7 อาคาร

ห้องปฏิบัติการ BBA 1 ห้อง

-ห้องปฏิบัติการโรงแรม

 นอกเหนือจากเครื่องมือ/อุปกรณ์ และเทคโนโลยี ประจำอาคารต่างๆแล้ว วิทยาลัย ยังมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดด้านสุขภาพ และความปลอดภัยด้วย เช่น ระบบกล้องวงจรปิด ระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น สำหรับเทคโนโลยี วิทยาลัยได้จัดทำระบบสนับสนุนการเรียนรู้(AIS)ต่างๆ เช่น ระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา ระบบการควบคุมการดำเนินการตาม TQF ระบบ STIC-CHE QAระบบการบริหารงาน เป็นต้น ตลอดจนมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับคณาจารย์ และ นักศึกษา เช่น จุดกระจายเครือข่าย wi-fi ครอบคลุมทุกพื้นที่การใช้งาน การให้บริการค้นหาผ่านฐานข้อมูล สนามกีฬา ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์ทดสอบภาษาอังกฤษ ระบบบริการ Smart Classroom  ศูนย์อาหาร และการจำหน่ายเครื่องดื่มอัตโนมัติ เป็นต้น

5)สภาพแวดล้อม ด้าน กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ

วิทยาลัย ใช้ กฎกระทรวง ข้อบังคับ ประกาศ สำหรับการจัดการอุดมศึกษา  ทั้งการจัดการศึกษาอุดมศึกษาของ สป. อว. การจัดการอุดมศึกษาเอกชน และ ของวิทยาลัย(STIC) มาใช้ในการปฏิบัติงาน ดังตารางที่ op1 ก 5.1

ตารางที่ op1 ก 5-1 สภาพแวดล้อม ด้าน กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ

งาน

กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ

การวิจัย

-ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี(2561-2580)

-ข้อบังคับการบริหารทรัพย์สินทางปัญญาฯ

-จรรยาบรรณการวิจัยในมนุษย์ วช 2556

-ประกาศ STIC. การขอรับทุนการวิจัย

การศึกษา(ผลิตบัณฑิต)

-พรบ.อุดมศึกษา 2562

-กฎกระทรวงการจัดการศึกษา ของ สป.อว.

-มาตรฐานหลักสูตร สป.อว.

-พรบ อุดมศึกษาเอกชน

-ระเบียบ ประกาศ  แนวปฏิบัติ ของ สป.อว.

-ระเบียบ ประกาศ  แนวปฏิบัติ ของ STIC

การบริการวิชาการ

-เกณฑ์ประกันคุณภาพภายนอก สมศ.

-กฎกระทรวงมาตรฐานคุณภาพอุดมศึกษา

การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

-พรบ.อุดมศึกษา 2562

-กฎกระทรวงมาตรฐานคุณภาพอุดมศึกษา

การบริหาร

-พรบ.อุดมศึกษา 2562

-ข้อบังคับ ธรรมาภิบาลอุดมศึกษา

-พรบ อุดมศึกษาเอกชน

-กฎกระทรวงมาตรฐานคุณภาพอุดมศึกษา

ข. ความสัมพันธ์ระดับองค์กร

วิทยาลัย มีสภาวิทยาลัย ทำหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการของวิทยาลัย ตาม พรบ. สถาบันอุดมศึกษาเอกชน มีอธิการบดีเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดและรับผิดชอบการบริหารงานของวิทยาลัย โดยมีรองอธิการบดี และคณบดี/หัวหน้าส่วนงาน ทำหน้าที่และรับผิดชอบตามที่อธิการบดีมอบหมาย

1)โครงสร้างองค์กร

โครงสร้างการบริหารงานของวิทยาลัย ประกอบด้วย สภาวิทยาลัย มีนายกสภาวิทยาลัยเป็นผู้บริหารด้านนโยบาย  และ ด้านการบริหารงานมีอธิการบดี เป็นผู้บริหาร ผ่านสภาวิชาการ และ คณะกรรมการบริหารวิทยาลัย ดังภาพที่ op1 ข 1-1

ภาพที่ op1 ข 1-1 โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหารงาน

ตารางที่ op1 ข 1-1 คณะกรรมการ(คกก.)/คณะทำงานตามผลิตภัณฑ์หลักของวิทยาลัย

ด้านการวิจัย

ด้านการศึกษา

ด้านการบริการวิชาการ

ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

-คกก.วิจัยและนวัตกรรม

-คณะทำงานจัดการทรัพย์สินทางปัญญาฯ

-คกก. จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

-คกก. ประกันคุณภาพการศึกษา

-คกก. บริหารหลักสูตร

-คกก. บริหารระบบสารสนเทศ

-คกก. กิจการนักศึกษา

-คกก. อาจารย์ที่ปรึกษา

-คกก. ประเมินผล TOEIC และคุณลักษณะบัณฑิต

-คกก. บริการวิชาการ

-คณะทำงานประชาสัมพันธ์และประสานงานความร่วมมือระหว่างองค์กร

-คกก. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

การบริหารงานของอธิการบดี นอกจากการบริหารผ่าน สภาวิชาการ และ คณะกรรมการบริหารวิทยาลัยแล้ว ยังมีการบริหารผ่านคณะกรรมการ(คกก.)/คณะทำงาน ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินการ ตามผลิตภัณฑ์หลักของวิทยาลัยอีกด้วย ดังตารางที่ op1 ข 1-1

2)ลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

วิทยาลัย กำหนดลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  ตามผลิตภัณฑ์หลัก ซึ่งแต่ละกลุ่มมีความต้องการและความคาดหวังที่สำคัญ ดังนี้

-ลูกค้า ความต้องการและความคาดหวัง

วิทยาลัยจำแนกลูกค้า เป็น 4 ประเภทจำแนกตามผลิตภัณฑ์  โดยแต่ละประเภท มีความต้องการและความคาดหวัง แตกต่างกัน ดังตารางที่ op1 ข

ตารางที่ op1 ข 2-1 ลูกค้า ความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า

ประเภทลูกค้า

ความต้องการและความคาดหวัง

1.ลูกค้าด้านการวิจัย

    1.1 ผู้ให้ทุนการวิจัย

ได้รับผลผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพ และส่งมอบได้ตรงเวลาที่สัญญากำหนด

2.ลูกค้าด้านการศึกษา

   2.1 นักศึกษาระดับปริญญาตรี

1.การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่กำหนดในหลักสูตร

2.กิจกรรมเสริมหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะภาษาอังกฤษและสมรรถนะวิชาชีพ

3.การบริการทางการศึกษาที่อำนวยความสะดวก ส่งเสริมการเรียนรู้และปลอดภัย

   2.2 นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

1.การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่กำหนดในหลักสูตร

2.บรรยากาศการเรียนรู้ส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้องค์ความรู้/สร้างองค์ความรู้ใหม่

3.ลูกค้าด้านการบริการวิชาการ

   3.1ผู้รับบริการด้านวิจัยและที่ปรึกษาการวิจัย

ได้รับผลผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้  และส่งมอบได้ตรงเวลา

   3.2ผู้รับบริการด้านการอบรมหลักสูตรระยะสั้น

ได้รับองค์ความรู้ใหม่ๆ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้  และส่งมอบได้ตรงเวลา

4.ลูกค้าด้านการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม

   4.1 ชุมชน สังคม ท้องถิ่น

ได้รับองค์ความรู้ใหม่จากผลการวิจัย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการทำนุ บำรุง รักษา สืบสาน ต่อยอด และพัฒนาสังคมได้  และส่งมอบได้ตรงเวลา

-ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้านการวิจัย ความต้องการและคาดหวัง

วิทยาลัยจำแนกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการวิจัย เป็น 4 ประเภท  โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แต่ละ ประเภท มีความต้องการและความคาดหวัง ที่แตกต่างกัน ดังตารางที่ op1 ข 2-2

ตารางที่ op1 ข 2-2 ความต้องการและคาดหวังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้านการวิจัย

ความต้องการและคาดหวัง

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ผู้ถือหุ้น

ชุมชน

ผู้ประกอบการ

ประเทศชาติ

1.ผลผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

2.ใช้งบประมาณในการวิจัยเป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง

3.เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา

-ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้านการศึกษา  ความต้องการและคาดหวัง

วิทยาลัยจำแนกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการศึกษา เป็น 5 ประเภท  โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แต่ละประเภท มีความต้องการและความคาดหวัง ที่แตกต่างกัน ดังตารางที่ op1 ข 2-3

ตารางที่ op1 ข 2-3 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้านการศึกษา  ความต้องการและคาดหวัง

ความต้องการและคาดหวัง

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ผู้ถือหุ้น

ผู้ปกครอง

ผู้ร่วมผลิต

ผู้ใช้บัณฑิต

ศิษย์เก่า

1.บุตร/หลานได้รับการดูแล เป็นคนดี มีความรู้ มีงานทำ

2.นักศึกษามีความรับผิดชอบและมีสมรรถนะในการปฏิบัติงาน

3.บัณฑิตมีคุณลักษณะ และสมรรถนะวิชาชีพที่พร้อมปฏิบัติงาน

4.โอกาสการได้รับข่าวสาร และข้อมูลใหม่ๆทางวิชาชีพ

5.การยกย่อง เชิดชูเกียรติ และการร่วมมือในการจัดการเรียนรู้

-ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้านการบริการวิชาการ ความต้องการและคาดหวัง

วิทยาลัยจำแนกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการบริการวิชาการ เป็น 4 ประเภท  โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แต่ละประเภท มีความต้องการและความคาดหวัง ที่แตกต่างกัน ดังตารางที่ op1 ข 2-4

 ตารางที่ op1 ข 2-4 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้านการบริการวิชาการ ความต้องการและคาดหวัง

ความต้องการและคาดหวัง

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ผู้ถือหุ้น

ผู้ประกอบการ

หน่วยงานภาครัฐ

ประเทศชาติ

1.ผลผลิตงานวิจัยมีคุณภาพ ที่ตอบสนองโจทย์วิจัยในพื้นที่

2.องค์ความรู้ใหม่ๆ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงานต่างๆ

3.การพัฒนาทางวิชาการ การพัฒนาเพื่อการประกอบวิชาชีพ

-ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ความต้องการและคาดหวัง

วิทยาลัยจำแนกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เป็น 4 ประเภท  โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แต่ละประเภท มีความต้องการและความคาดหวัง ที่แตกต่างกัน ดังตารางที่ op1 ข 2-5

ตารางที่ op1 ข 2-5 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ความต้องการและคาดหวัง

ความต้องการและคาดหวัง

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ผู้ถือหุ้น

ผู้ประกอบการ

หน่วยงานภาครัฐ

ประเทศชาติ

1.ผลผลิตงานวิจัยมีคุณภาพ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

2.องค์ความรู้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงานต่างๆ

3.องค์ความรู้ สามารถใช้ ทำนุ บำรุง รักษา สืบสาน ต่อยอด ได้

4.องค์ความรู้ใหม่ๆ สามารถใช้พัฒนา เพื่อสร้างมูลค่ากับสังคมได้

3)ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และคู่ความร่วมมือ

วิทยาลัย ใช้กระบวนการความร่วมมือ กับ ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และคู่ความร่วมมือ เพื่อจัดทำบทบาทความร่วมมือ ข้อกำหนดที่สำคัญ และกลไกในการสื่อสารร่วมกัน ในแต่ละผลิตภัณฑ์ ดังนี้

-ผลิตภัณฑ์ด้านการวิจัย

ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และคู่ความร่วมมือของวิทยาลัย ด้านการวิจัย ดังตารางที่ op1 ข 3-1

ตารางที่ op1 ข 3-1 ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และคู่ความร่วมมือด้านการวิจัย

กลุ่ม

บทบาทความร่วมมือ

ข้อกำหนดที่สำคัญ

กลไกในการสื่อสารร่วมกัน

ผู้ส่งมอบ

-แหล่งทุนภายนอก

-แจ้งข้อมูลแหล่งทุนภายนอก

-ส่งมอบงบประมาณในการทำวิจัย/ดำเนินการตามสัญญาจ้าง

-ยุทธศาสตร์การวิจัยชาติ/STIC

-ประกาศการเปิดรับข้อเสนอฯ

-ข้อบังคับ/สัญญาทุน/สัญญาจ้าง

-Website, E-mail, Line

-การประชุม

-หนังสือราชการ

พันธมิตร

-สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ

-ความร่วมมือในการจัดทำโครงร่างขอทุนวิจัยจาก PMU ภาครัฐ

-ความร่วมมือในการทำวิจัย

-ยุทธศาสตร์การวิจัยชาติ

-ประกาศ การส่งเสริมการทำวิจัยร่วมกับหน่วยงานอื่น

-E-mail, Line,โทรศัพท์

-การประชุม

-หนังสือราชการ

คู่ความร่วมมือ

-สถาบันวิจัย/หน่วยทดสอบ ในประเทศและต่างประเทศ

-ภาคีเครือข่าย

-สนับสนุน องค์ความรู้  พื้นที่ อุปกรณ์ เครื่องมือ หรืองบประมาณในการวิจัย

-จรรยาบรรณการวิจัยในมนุษย์ ของ วช 2556

-MOU

-E-mail, Line,โทรศัพท์

-การประชุม

-หนังสือราชการ

-ผลิตภัณฑ์ด้านการศึกษา

ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และคู่ความร่วมมือของวิทยาลัย ด้านการศึกษา ดังตารางที่ op1 ข 3-2

ตารางที่ op1 ข 3-2 ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และคู่ความร่วมมือด้านการศึกษา

กลุ่ม

บทบาทความร่วมมือ

ข้อกำหนดที่สำคัญ

กลไกในการสื่อสารร่วมกัน

ผู้ส่งมอบ

-ผู้ประกอบการ บริษัท ร้านค้า

-การจัดหา วัสดุ อุปกรณ์

-สนับสนุนพันธกิจของวิทยาลัย

-ประกาศ การจัดซื้อ จัดจ้าง

-ประกาศ สป.อว. ที่เกี่ยวข้อง

-E-mail, Website, โทรศัพท์

-เข้าพบโดยตรง การประชุม

-หนังสือราชการ

พันธมิตร

-สถาบันอุดมศึกษาในประเทศ

-การพัฒนาหลักสูตร

-การจัดการเรียนรู้

-ประกาศ สป.อว. คลังหน่วยกิต

-MOU

-E-mail, Line

-หนังสือราชการ/การประชุม

-สถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศที่จัดการศึกษาในหลักสูตรเดียวกันเช่น มหาวิทยาลัย South Wales, East London, Pattern (USA)

-การจัดการเรียนรู้

-การแลกเปลี่ยนทางวิชาการ

-MOU

-การเรียนรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย

-E-mail, Zoom,โทรศัพท์

-การประชุม/การประชุมทางไกล

คู่ความร่วมมือ

-สถานประกอบการ/หน่วยงานที่เป็นแหล่งศึกษา/ดูงาน/ฝึกงาน/ฝึกปฏิบัติงาน/สหกิจศึกษา

-สนับสนุนพื้นที่/สถานที่ เข้าศึกษา ดูงาน ฝึกปฏิบัติ ฝึกงาน

-ร่วมจัดประสบการณ์ภาคปฏิบัติ การนิเทศงาน การประเมินผล

-MOU

-E-mail,โทรศัพท์

-หนังสือราชการ/บันทึกภายใน

-สถานประกอบการที่ร่วมจัดการศึกษา แบบ CWIE, Sand-Box

-ร่วมพัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน ตามแผนการศึกษา และกิจกรรมเสริมหลักสูตร

-MOU

-E-mail, Line, โทรศัพท์

-หนังสือราชการ/บันทึกภายใน

-การประชุม

-ผลิตภัณฑ์ด้านการบริการวิชาการ

ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และคู่ความร่วมมือของวิทยาลัย ด้านการบริการวิชาการ ดังตารางที่ op1 ข 3-3

ตารางที่ op1 ข 3-3 ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และคู่ความร่วมมือด้านการบริการวิชาการ

กลุ่ม

บทบาทความร่วมมือ

ข้อกำหนดที่สำคัญ

กลไกในการสื่อสารร่วมกัน

ผู้ส่งมอบ

-แหล่งทุน/ผู้ว่าจ้าง

-ส่งมอบงบประมาณในการดำเนินโครงการ

-กรอบสัญญา(TOR)

-ความพึงพอใจ ความผูกพัน และการใช้บริการซ้ำ ของลูกค้า

-E-mail, Zoom,โทรศัพท์

-การประชุม/หนังสือราชการ

-ประเมินผลการบริการวิชาการ

พันธมิตร

-หน่วยงานภาครัฐ/เอกชน

-สนับสนุนบุคลากร อุปกรณ์

-MOU

-E-mail , หนังสือราชการ

คู่ความร่วมมือ

-ชุมชน

-ร่วมดำเนินการ

-กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

-E-mail, Line, โทรศัพท์

-หนังสือราชการ

-ผลิตภัณฑ์ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และคู่ความร่วมมือของวิทยาลัย ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ดังตารางที่ op1 ข 3-4

ตารางที่ op1 ข 3-4 ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และคู่ความร่วมมือด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

กลุ่ม

บทบาทความร่วมมือ

ข้อกำหนดที่สำคัญ

กลไกในการสื่อสารร่วมกัน

ผู้ส่งมอบ

-แหล่งทุน/ผู้ว่าจ้าง

-ส่งมอบงบประมาณในการดำเนินโครงการ

-กรอบสัญญา(TOR)

-ความพึงพอใจ ความผูกพัน และการใช้บริการซ้ำ ของลูกค้า

-E-mail, Zoom,โทรศัพท์

-การประชุม/หนังสือราชการ

-ประเมินผลการบริการ

พันธมิตร

-หน่วยงานภาครัฐ/เอกชน

-สนับสนุนบุคลากร อุปกรณ์

-MOU

-E-mail , หนังสือราชการ

คู่ความร่วมมือ

-ชุมชน

-ร่วมดำเนินการ

-กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

-E-mail, Line, โทรศัพท์

-หนังสือราชการ