Component 4: Indicator 4.2 Learning (Information and Knowledge Management)

Component 4 Knowledge Management

ตัวบ่งชี้ที่ 4.2 การเรียนรู้ (การจัดการสารสนเทศและการเรียนรู้) : Learning (Information and Knowledge Management)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-6 ข้อ7 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-5 ประเมิน 45 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

1 ข้อมูลและสารสนเทศ (คุณภาพ) สถาบันมีวิธีการอย่างไรในการทวนสอบและทำให้มั่นใจว่าข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ในสถาบันมีคุณภาพ

การดำเนินการ

แนวทาง: คณะวิชา โดยอาจารย์และผู้เกี่ยวข้องทำการบันทึกข้อมูลในระบบสารสนเทศของวิทยาลัย(AIS/MIS) ให้เป็นปัจจุบัน และมีการกำหนดผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบการบันทึกก่อนเผยแพร่ และทวนสอบข้อมูลในระบบทุกภาคเรียน

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และผู้เกี่ยวข้องทำการบันทึกข้อมูลในระบบสารสนเทศของวิทยาลัย(AIS/MIS) ให้เป็นปัจจุบัน โดยมีประธานหลักสูตร เป็นผู้ตรวจสอบการบันทึกก่อนเผยแพร่ และคณบดี/ผู้ได้รับมอบหมายทำการทวนสอบข้อมูลในระบบทุกภาคเรียน

การเรียนรู้: เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ในวิทยาลัย ถูกต้อง ทันสมัย มีคุณภาพ จึงได้มีการกำหนดระยะเวลาในการ บันทึก ตรวจสอบ และทวนสอบ ข้อมูลและสารสนเทศที่กำหนด ตัวอย่าง ข้อมูลและสารสนเทศที่ต้องดำเนินการทวนสอบให้มีคุณภาพ ดังแสดงในตารางที่ 4.2-1-01

ตารางที่ 4.2-1-01 ตัวอย่าง ข้อมูล/สารสนเทศที่ต้องดำเนินการบันทึก ตรวจสอบ และทวนสอบ

ข้อมูล/สารสนเทศ

ระยะเวลาในการบันทึก

ระยะเวลาในการตรวจสอบ

ระยะเวลาในการทวนสอบ

TQF3, TQF4

ก่อนเปิดเรียน อย่างน้อย 7 วัน

ก่อนเปิดเรียนอย่างน้อย 3 วัน

ก่อนสอบกลางภาค

TQF5, TQF6

หลังสิ้นสุดภาคเรียนไม่เกิน 7 วัน

หลังสิ้นสุดภาคเรียนไม่เกิน 10 วัน

ก่อนเปิดภาคเรียนใหม่

ข้อมูลผู้เรียน

ก่อนเปิดเรียน อย่างน้อย 10 วัน

ก่อนเปิดเรียนอย่างน้อย 3 วัน

เดือน กุมภาพันธ์ และ กันยายน

ข้อมูลอาจารย์

ก่อนเปิดเรียน อย่างน้อย 10 วัน

ก่อนเปิดเรียนอย่างน้อย 3 วัน

เดือน กรกฎาคม

การบูรณาการ: วิทยาลัย บูรณาการเรื่อง การทวนสอบข้อมูลและสารสนเทศ กับเกณฑ์การดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐาน/ ข้อบังคับ/ประกาศ ที่ สป. อว. กำหนด นั่นคือ วิทยาลัยพร้อมที่จะรายงานข้อมูลต่อต้นสังกัดได้ทันที

2 ข้อมูลและสารสนเทศ (ความพร้อมใช้) สถาบันทำให้มั่นใจอย่างไร ว่าข้อมูลและสารสนเทศของสถาบันมีความพร้อมใช้

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัย มอบหมายให้ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ดำเนินจัดทำระบบฐานข้อมูลการบริหารงาน(AIS/MIS) เพื่อให้ คณะวิชาและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง สามารถบันทึก ปรับเปลี่ยน/แก้ไขข้อมูลและสารสนเทศ ได้อย่างรวดเร็ว และสะดวกในการใช้งานเพื่อการตัดสินใจได้ตลอดเวลา

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: สำนักวิชาการ ทำหน้าที่ ติดตาม ตรวจสอบ การใช้งานข้อมูลและสารสนเทศ จากระบบฐานข้อมูลการบริหารงาน(AIS/MIS) และรายงานผลความพร้อมใช้ข้อมูลและสารสนเทศ จากฐานข้อมูลการบริหารงาน(AIS/MIS) ต่อคณะกรรมการผู้บริหารเป็นประจำทุกเดือน

การเรียนรู้: ระบบฐานข้อมูลการบริหารงาน(AIS/MIS) ที่มีประสิทธิภาพเกิดจาก ผู้ใช้ส่งมอบรายละเอียดของการบันทึกและการใช้สารสนเทศ ในเบื้องต้นและเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงให้กับ IT อย่างครบถ้วน เมื่อ IT ออกแบบ/ปรับปรุงระบบฐานข้อมูล จึงจะให้ผู้บันทึก และผู้ตรวจสอบข้อมูลทำงานได้อย่างรวดเร็ว ไม่ยุ่งยากข้อมูลมีคุณภาพ และเป็นปัจจุบัน ตลอดจนผู้ใช้งาน สามารถใช้สารสนเทศได้อย่างถูกต้อง และเมื่อมีความต้องการเพิ่มหรือปรับปรุง สารสนเทศ ก็แจ้งให้ IT ดำเนินการปรับปรุง ทั้งนี้ สำนักวิชาการ จะทำหน้าที่เป็นผู้ติดตาม ตรวจสอบการใช้ และรายงานต่อคณะกรรมการผู้บริหารเป็นประจำทุกเดือน ผลการรายงาน อาจให้ข้อเสนอกับผู้บันทึก ผู้ตรวจสอบ หรือผู้ใช้ ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลและสารสนเทศมีความพร้อมใช้งานตลอดเวลา ดัง ภาพที่ 4.2-2-01

ภาพที่ 4.2-2-01 ความพร้อมใช้ข้อมูลและสารสนเทศของวิทยาลัย

การบูรณาการ: วิทยาลัย บูรณาการเรื่อง ความพร้อมใช้ข้อมูลและสารสนเทศของวิทยาลัย กับเกณฑ์การดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐาน/ ข้อบังคับ/ประกาศ ที่ สป. อว. กำหนด นั่นคือ วิทยาลัยพร้อมที่จะรายงานข้อมูลต่อต้นสังกัดได้ทันที

3 ความรู้ของสถาบัน (การจัดการความรู้) สถาบันมีวิธีการอย่างไรในการสร้างและจัดการความรู้ของสถาบัน

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยใช้กระบวนการจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน ในการสร้างและจัดการความรู้

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: คณะกรรมการจัดการความรู้ที่ประกอบด้วยตัวแทนของทุกคณะวิชา รับผิดชอบดำเนินการขับเคลื่อน กระบวนการจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน ในการสร้างและจัดการความรู้ ที่ประกอบด้วย การบ่งชี้ความรู้(Knowledge Identification) การสร้างและแสวงหาความรู้(Knowledge Creation and Acquisition) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ(Knowledge Organization) การประมวลและกลั่นกรองความรู้(Knowledge Godification and Refinement)  การเข้าถึงความรู้(Knowledge Access) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้(Knowledge Sharing) การเรียนรู้(Learning)   และเมื่อดำเนินการเรียนรู้ จะเข้าสู่ขั้นตอนการบ่งชี้ความรู้ใหม่ สร้างองค์ความรู้ใหม่ไม่สิ้นสุด ดังภาพที่ 4.2-3-01

ภาพที่ 4.2-3-01 กระบวนการจัดการความรู้ของวิทยาลัย

การเรียนรู้: การนำกระบวนการจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน ไปใช้ในการสร้างและจัดการความรู้ คณะกรรมการได้กำหนดผลลัพธ์ของแต่ละกระบวนการ รายละเอียด ดังตารางที่ 4.2-3-01

ตารางที่ 4.2-3-01 ผลลัพธ์ของแต่ละกระบวนการในการจัดการความรู้

ขั้นตอน

ประเด็นในการดำเนินการ

ผลลัพธ์

การบ่งชี้ความรู้

เรื่องที่เราต้องมีความรู้ เรารู้แล้วหรือยัง

วิเคราะห์ผลการนำข้อมูลและสารสนเทศไปใช้งาน

การสร้างและแสวงหาความรู้

ความรู้อยู่ที่ใคร ในรูปแบบใด จะจัดเก็บได้อย่างไร

ค้นหาผู้รู้ นำความรู้ที่ได้ไปทดลองใช้  ได้องค์ความรู้

การจัดความรู้ให้เป็นระบบ

เราจะแบ่งประเภท/หัวข้อความรู้อย่างไร

วางโครงสร้างความรู้ เพื่อการใช้งานในอนาคต

การประมวล/กลั่นกรองความรู้

เราทำให้ความรู้ที่ได้เข้าใจง่ายและสมบูรณ์อย่างไร

เก็บความรู้ใหม่ รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ล้าสมัย

การเข้าถึงความรู้

ความรู้ที่จัดเก็บได้ เราใช้งานจริงได้สะดวกเพียงใด

จัดเก็บเป็นเอกสาร ฐานความรู้ คู่มือ แนวปฏิบัติ

การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้

เราแบ่งปันความรู้ที่จัดเก็บได้ให้แก่กันอย่างไร

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ KM-Day ตีพิมพ์ในวารสาร

การเรียนรู้

เรานำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับองค์กรให้ดีขึ้น

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ กิจกรรมกลุ่ม การนำไปใช้

การบูรณาการ: วิทยาลัยบูรณาการการจัดการความรู้เข้ากับทุกพันธกิจของวิทยาลัย โดยเมื่อคณะวิชานำองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิม ไปใช้ในการแก้ปัญหา จากข้อมูลและสารสนเทศที่ได้รับมาใหม่ ไม่ได้ จะเกิดการแสวงหาความรู้จากผู้รู้ สร้างองค์ความรู้ใหม่ และเมื่อนำไปใช้แก้ปัญหาได้สำเร็จ นำไปจัดเก็บให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย จากนั้นนำมาแบ่งปัน และเรียนรู้ร่วมกัน ตั้งแต่พันธกิจ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการบริหาร

4 ความรู้ของสถาบัน (วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ) สถาบันมีวิธีการอย่างไรในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในสถาบัน

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยกำหนดให้มีการใช้ความรู้/องค์ความรู้ที่จัดเก็บ โดยให้แต่ละคณะวิชามีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้เป็นประจำทุกภาคเรียน

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: คณะกรรมการจัดการความรู้จะนำเอาองค์ความรู้ที่ได้ ทั้งองค์ความรู้จาก การจัดการเรียนรู้ การวิจัย การบริการวิชาการ ศิลปวัฒนธรรม และการบริหารงาน ไปสร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งภายใน และภายนอกวิทยาลัย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายใน เช่น การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโอกาสต่างๆ  การจัดงาน KM-Day อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง เป็นต้น สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายนอก เช่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประชุมวิชาการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระหว่างเครือข่ายเช่น เครือข่าย IQAN เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออก ตลอดจนการเผยแพร่ในวารสารทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นต้น

เมื่อมีองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  หรือการนำเอาองค์ความรู้เดิมไปต่อยอดในบริบทของคณะวิชาที่แตกต่างกัน บริบทที่สถานการณ์แตกต่างกัน หรือในสถาบันอุดมศึกษาอื่น คณะกรรมการจัดการความรู้ จะพิจารณาผลกระทบจากการนำไปใช้  เพื่อจัดเป็น แนวปฏิบัติที่ดี และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ ต่อไป

การเรียนรู้: การนำวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในวิทยาลัย ทั้งการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโอกาสต่างๆ  การจัดงาน KM-Day พบว่าเกิดการพัฒนาองค์ความรู้ในบริบทของคณะวิชา หรือสาขาวิชา ที่แตกต่างกัน หรือนำไปใช้ในการพัฒนาวิทยาลัยในภาพรวม สำหรับการนำวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายนอกวิทยาลัย พบว่า เป็นการนำเอาองค์ความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือสร้างผลประโยชน์ สร้างความผาสุก สร้างคุณค่า ให้กับชุมชน สังคม เกิดองค์ความรู้ใหม่ในบริบทของชุมชน/สังคม ที่วิทยาลัยสามารถนำกลับมาใช้ในการพัฒนาวิทยาลัยในภาพรวมด้วยเช่นกัน

การบูรณาการ: วิทยาลัย บูรณาการเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ กับเรื่องการบริหารงานด้วยเครือข่าย นั่นคือ ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศของวิทยาลัย กับเครือข่ายต่างๆ ในพันธกิจด้านการจัดการศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ดังภาพที่ 1.2-5-01

5 ความรู้ของสถาบัน (การเรียนรู้ระดับสถาบัน) สถาบันใช้ความรู้และทรัพยากรอย่างไร เพื่อให้การเรียนรู้ฝังลึกเข้าไปในวิธีการปฏิบัติงานของสถาบัน

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยกำหนดให้คณะวิชา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการกำหนดระบบงาน/ระบบปฏิบัติการ/ วิธีการทำงาน/ขั้นตอนการทำงาน ต่างๆ ให้เป็นไปตามหลักการ/ทฤษฎี องค์ความรู้ และเหมาะสมกับทรัพยากรของวิทยาลัย ทั้งนี้ต้องมีการปรับปรุงระบบงาน เมื่อองค์ความรู้และทรัพยากรมีการเปลี่ยนแปลง

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: คณะวิชา มีหน้าที่ในการเห็นชอบการกำหนด/ปรับปรุงระบบงาน ที่เป็นไปตามหลักการ/ทฤษฎี องค์ความรู้ และเหมาะสมกับทรัพยากรของวิทยาลัย เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไป อย่างมีคุณภาพ ทั้งนี้ ระบบงานในแต่ละสาขาวิชา ในคณะ อาจแตกต่างกันได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละสาขาวิชา ตลอดจนระบบงานในแต่ละคณะอาจแตกต่างกันได้ ยกเว้นระบบงานที่เกี่ยวข้องกับหลายคณะ ต้องมีการนำเสนอผ่านคณะกรรมการผู้บริหารให้ความเห็นชอบ

การเรียนรู้: การกำหนดระบบงานที่เกี่ยวข้องกับหลายคณะ ที่เกี่ยวข้องกับคณะทำงาน หรือคณะกรรมการที่มีการระบุหน้าที่ชัดเจน ให้คณะทำงานหรือ คณะกรรมการนั้น เป็นผู้กำหนดระบบงาน ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามหลักการ/ทฤษฎี องค์ความรู้ และเหมาะสมกับทรัพยากรของวิทยาลัย   ตัวอย่างระบบงานที่กำหนดโดยคณะทำงาน หรือคณะกรรมการ ดัง ตารางที่ 4.2-5-01

ตารางที่ 4.2-5-01 ตัวอย่างระบบงานที่กำหนดโดยคณะทำงาน หรือคณะกรรมการ

คณะทำงาน/คณะกรรมการ

ระบบงาน/กระบวนการ

วิชาการ

พัฒนาหลักสูตร

ปรับปรุงหลักสูตร

เปลี่ยนผู้รับผิดชอบหลักสูตร

วิจัยและนวัตกรรม

การขอรับทุนวิจัย

การขอรับทุนตีพิมพ์

การขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

บริการวิชาการ

การให้บริการเมื่อชุมชนร้องขอ

การบริการวิชาการแบบมีรายได้

ประเมินผลการให้บริการวิชาการ

กิจการนักศึกษา

การขอรับทุนการศึกษา

การจัดตั้งชมรมของนักศึกษา

ประเมินผลการจัดกิจกรรม

บริหารงานบุคคล

การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

การสร้างขวัญและกำลังใจ

ทุนการศึกษาระดับปริญญาเอก

การบูรณาการ: วิทยาลัย บูรณาการเรื่อง การกำหนด/ปรับปรุงระบบงาน ที่เป็นไปตามหลักการ/ทฤษฎี องค์ความรู้ และเหมาะสมกับทรัพยากรของวิทยาลัย กับเกณฑ์การดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐาน/ ข้อบังคับ/ประกาศ ที่ สป. อว. กำหนด นั่นคือ วิทยาลัยพร้อมที่จะรายงานข้อมูลต่อต้นสังกัดได้ทันที

6 มีการทบทวนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิผล

การดำเนินการ

วิทยาลัยมีการทบทวนการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ทำให้มีผลการดำเนินการที่มีประสิทธิผล เช่น

ความต้องการพยาบาลในตลาดแรงงานเพิ่มสูงขึ้น มีการทบทวนการพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ ให้ออกแบบหลักสูตรที่สอดคล้องกับมาตรฐาน AUN-QA และการทบทวนระบบปฏิบัติการต่างๆ ของคณะ ทำให้หลักสูตร/คณะพยาบาลศาสตร์ได้รับการรับรองจากสภาการพยาบาล เป็นระยะเวลา 5 ปี และมีผลให้ สภาการพยาบาล อนุญาตขยายการรับนักศึกษาจาก 120 คน เป็น 200 คน

7 มีการทบทวนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างต่อเนื่อง

การดำเนินการ

วิทยาลัย มีการนำข้อมูลและสารสนเทศของผู้เรียน เช่น คะแนนเฉลี่ยของผลลัพธ์การเรียนรู้ตามTQF คะแนนเฉลี่ยของผลลัพธ์ผู้เรียน สมรรถนะด้านภาษาอังกฤษ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินการสอนของอาจารย์ ตลอดจน มีการนำข้อมูลและสารสนเทศของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตตาม TQF ความพึงพอใจของพี่เลี้ยงการฝึกงาน ความพึงพอใจในการใช้บริการวิชาการ เป็นต้น มาใช้ในการทบทวนเนื้อหารายวิชา ทบทวนการพัฒนาหลักสูตร และ/หรือทบทวนกระบวนการให้บริการ เป็นประจำทุกปี

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

5 ข้อ

IQA (1-7)

1,2,3,4,5,6,7

 7 ข้อ

 5 คะแนน

EdPEx (1-5)

1,2,3,4,5

ร้อยละ 30

(จาก45 คะแนน)

 13.50 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐานรายการ
4.2-01ระบบสารสนเทศของวิทยาลัย(AIS/MIS)
4.2-02ตัวอย่างการใช้ฐานข้อมูลการบริหารงาน(AIS/MIS)
4.2-03คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้
4.2-04รายงานผลการจัดงาน KM-Day
4.2-05แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศของวิทยาลัย
4.2-06ภาพการเชื่อมโยงข้อมูลกับฐานข้อมูล Data 3 ของ สป.อว.
4.2-07หนังสือการรับรองระดับสถาบันและขยายการรับนักศึกษาจาก 120 คน เป็น 200 คนของสภาการพยาบาล
4.2-08โครงการการประชุมกับพี่เลี้ยงการฝึกงาน กรณีตัวอย่าง คณะพยาบาลศาสตร์

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเอง IQAEdPEx
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1513.50
ตัวบ่งชี้ที่ 4.2513.50
คะแนนเฉลี่ย(IQA)/คะแนนรวม(EdPEx) 527