Component 6: Indicator 6.1 Work system (Work Processes)

Component 6 Operations

ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 ระบบงาน(กระบวนการทำงาน) : Work system (Work Processes)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-7 ข้อ8-10 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-8 ประเมิน 45 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

1 การออกแบบการจัดการศึกษา วิจัย และบริการฯ และกระบวนการ (การจัดทำข้อกำหนดของการจัดการศึกษา วิจัย และบริการฯ และกระบวนการทำงานที่สำคัญ) สถาบันมีวิธีการอย่างไร

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยกำหนดให้มีการจัดทำข้อกำหนด ของการจัดการศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และกระบวนการทำงานที่สำคัญ โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมขององค์กร และ ความสัมพันธ์ระดับองค์กร

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: ฝ่ายแผนและวิจัย ร่วมกับฝ่ายต่างๆ และคณะวิชา รับผิดชอบในการจัดทำข้อกำหนด โดยใช้ข้อมูลที่ได้จาก สภาพแวดล้อมองค์กรของวิทยาลัย ประกอบด้วย 1)ผลิตภัณฑ์ 2)พันธกิจ 3)ลักษณะของบุคลากร 4)สินทรัพย์ 5)สภาพแวดล้อมด้านกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และ ความสัมพันธ์ระดับองค์กรของวิทยาลัย ประกอบด้วย 1)โครงสร้างองค์กร 2)ลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3)ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และคู่ความร่วมมือ มาใช้ในการจัดทำข้อกำหนด ของการจัดการศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และกระบวนการทำงานที่สำคัญ

การเรียนรู้: ข้อมูลที่ได้จาก สภาพแวดล้อมองค์กร และความสัมพันธ์ระดับองค์กร ถูกนำมาใช้เป็นปัจจัยนำเข้า สำหรับการจัดทำข้อกำหนด โดยนำข้อมูลมาใช้ใน 3 กลุ่ม คือ ปัจจัยนำเข้าของSuppier ภายนอก (ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และคู่ความร่วมมือ) ปัจจัยนำเข้าทางด้านการบริหาร (วิสัยทัศน์และพันธกิจ  ผลิตภัณฑ์ บุคลากร สินทรัพย์ ข้อมูลที่เป็น Feed back จากความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า) และปัจจัยนำเข้าเฉพาะด้าน ทั้งด้านการจัดการศึกษา ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการ และการตอบสนองตามพันธกิจ(สภาพแวดล้อมด้านกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ) มาใช้ในการจัดทำข้อกำหนด  ตัวอย่างข้อกำหนดกระบวนการ ในด้านต่างๆ  ดังแสดงใน ตารางที่  6.1-1-01

ตารางที่  6.1-1-01 ตัวอย่างข้อกำหนดกระบวนการที่สำคัญ ในด้านต่างๆ

ข้อกำหนดด้าน

กระบวนการ

ข้อกำหนดกระบวนการที่สำคัญ

ผลลัพธ์

ผลสัมฤทธิ์

การจัดการศึกษา

การออกแบบ/พัฒนาหลักสูตร

มาตรฐานหลักสูตรของ สป. อว.

การรับรองหลักสูตร

การยอมรับหลักสูตร

การจัดการเรียนการสอน

คุณลักษณะบัณฑิตอุดมศึกษา

สมรรถนะบัณฑิต

บัณฑิตมีงานทำ

การวิจัย

การผลิตผลงานวิจัย

เกณฑ์คุณภาพงานวิจัยของ สป. อว.

เกณฑ์คุณภาพวารสารใน/ต่างประเทศ

งานวิจัยมีคุณภาพ

อ้างอิง/ประยุกต์ใช้

การบริการวิชาการ

บริการอบรมหลักสูตรระยะสั้น

เกณฑ์คุณภาพสภาวิชาชีพ/ต้นสังกัด

ความรู้/ทักษะ/เจตคติ

Re-skill, Up-skill

ตอบสนองพันธกิจ

สืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

เกณฑ์การใช้ศิลปวัฒนธรรม

งานวิจัยศิลปวัฒนธรรม

Soft Power

การบูรณาการ: วิทยาลัยบูรณาการการจัดทำข้อกำหนด ของการจัดการศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และกระบวนการทำงานที่สำคัญ กับการประเมินผลการดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนด และความต้องการของลูกค้า ดังภาพที่ 6.1-1-01

ภาพที่ 6.1-1-01 การจัดทำข้อกำหนด ของการจัดการศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และกระบวนการทำงานที่สำคัญ

2 การออกแบบการจัดการศึกษา วิจัย และบริการฯ และกระบวนการ (กระบวนการทำงานที่สำคัญ) กระบวนการทำงานที่สำคัญของสถาบันมีอะไรบ้าง

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัย แบ่งกระบวนการทำงานที่สำคัญ เป็น 3 กลุ่มหลัก คือ Core processes, Supportive processes, Management processes

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: ฝ่ายแผนและวิจัย ร่วมกับฝ่ายต่างๆ และคณะวิชา รับผิดชอบในการจัดกระบวนการทำงานที่สำคัญ ใน 3 กลุ่มหลัก และในกลุ่มย่อย(รวม 11 กลุ่มย่อย) เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกระบวนการที่วิทยาลัยจัดทำขึ้น

การเรียนรู้: ฝ่ายแผนและวิจัย ร่วมกับฝ่ายต่างๆ และคณะวิชา จัดกระบวนการทำงานที่สำคัญเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ Core process, Supportive process, Management process โดยให้แต่ละกลุ่มหลักมีกลุ่มย่อยที่สำคัญ และมีการทบทวนกระบวนการทำงานที่สำคัญ รวมทั้งการปรับจำนวนกลุ่มในกลุ่มหลัก และกลุ่มย่อย หลังเสร็จสิ้นการประเมินคุณภาพภายในเป็นประจำทุกปี ปัจจุบัน กระบวนการทำงานที่สำคัญในแต่ละกลุ่มหลัก และกลุ่มย่อย ดัง ตารางที่ 6.1-2-01

ตารางที่ 6.1-2-01 กระบวนการทำงานที่สำคัญของวิทยาลัย

กลุ่ม

กลุ่มย่อย

กระบวนการทำงานที่สำคัญ

Core process

การจัดการศึกษา

การออกแบบ/พัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดประเมินผล การประเมินผู้สอน

การวิจัย

การผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรม การเผยแพร่ผลงานฯและการจดทะเบียน การจัดหาทุนสนับสนุนฯ

การบริการวิชาการ

บริการทั่วไปแบบให้เปล่า บริการเฉพาะฯแบบให้เปล่า บริการเฉพาะฯแบบมีรายได้

Supportive process

กิจการนักศึกษา

การรับนักศึกษา การให้ปรึกษา การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร วิทยบริการ การบริการนักศึกษา

ศิลปวัฒนธรรม

กิจกรรมทำนุบำรุงฯศิลปวัฒนธรรม การสืบสานและต่อยอดศิลปวัฒนธรรม

สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

การจัดหา การให้บริการ การซ่อมบำรุง การติดตามผลการใช้บริการและการพัฒนา

สารสนเทศ

การเข้าถึง การใช้บริการ การซ่อมบำรุง การติดตามผลการใช้บริการและการพัฒนา

Management process

แผนและนโยบาย

การกำหนด/ทบทวน การเผยแพร่และการนำไปปฏิบัติ การกำกับติดตามและประเมินผลความสำเร็จ

บุคลากร

แผน การจัดหา การบรรจุแต่งตั้ง การปฏิบัติงาน การสร้างขวัญกำลังใจ การติดตามและประเมินผล

การเงินและกายภาพ

วิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน วิเคราะห์ความคุ้มค่า การบริหารอาคารสถานที่-ยานพาหนะ การซ่อมบำรุง

การประกันคุณภาพ

การควบคุม ตรวจสอบ ประเมินและพัฒนาคุณภาพภายใน การขอรับรองคุณภาพภายนอก

การบูรณาการ: วิทยาลัยบูรณาการ กระบวนการทำงานที่สำคัญของสถาบัน กับการออกแบบการดำเนินการ และการประเมินผลการดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนด และความต้องการของลูกค้า ดังภาพที่ 6.1-1-01

3 การออกแบบการจัดการศึกษา วิจัย และบริการฯ และกระบวนการ (แนวคิดในการออกแบบ) สถาบันมีวิธีการอย่างไรในการออกแบบการจัดการศึกษา วิจัย และบริการฯ และกระบวนการทำงานที่สำคัญเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนด

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยใช้แนวคิด SIPOC Model ในการออกแบบ การจัดการศึกษา วิจัย และบริการวิชาการแก่สังคม และกระบวนการทำงานที่สำคัญ

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: ฝ่ายแผนและวิจัย ร่วมกับฝ่ายต่างๆ และคณะวิชา รับผิดชอบในการ 1)สื่อสาร ทำความเข้าใจและส่งเสริม ให้ใช้แนวคิด SIPOC Model ในการออกแบบกระบวนการทำงาน ที่ประกอบด้วย Supplier, Input, Process, Out put, Customer ในการจัดทำกระบวนการทำงาน 2)ร่วมกันจัดทำ/พัฒนา กระบวนการทำงาน ระบบและกลไก ในหน่วยงานของตนเอง และในหน่วยงานกลาง  3)ร่วมกันประเมินและทบทวน กระบวนการทำงาน ระบบและกลไก ในหน่วยงานของตนเอง และในหน่วยงานกลางเพื่อให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ของวิทยาลัย

การเรียนรู้: วิทยาลัยได้นำแนวคิด SIPOC Model ในการออกแบบกระบวนการทำงาน โดยเรียกว่า ระบบและกลไกการทำงาน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2566 มีการประเมินและทบทวน กระบวนการทำงาน ระบบและกลไก ต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างผลการเรียนรู้ของการนำ SIPOC Model ไปใช้ในการออกแบบกระบวนการทำงาน ดัง ตารางที่ 6.1-3-01

ตารางที่ 6.1-3-01 ตัวอย่างการนำ SIPOC Model ไปใช้ในการออกแบบกระบวนการทำงาน

กระบวนการ

Supplier

ผู้ส่งมอบสิ่งของ/ข้อมูล

Input

สิ่งของ/ข้อมูลที่ใช้ดำเนินการ

Process

กระบวนการที่ใช้ดำเนินการ

Out put

สิ่งของ/ข้อมูลที่ลูกค้าต้องการ

Customer

ผู้กำหนดความต้องการ

การออกแบบ/พัฒนาหลักสูตร

-ผู้ผลิตเครื่องมือ

-แหล่งฝึกงาน

-ศิษย์เก่า

-คุณวุฒิคุณสมบัติอาจารย์

-Feedbackใน TQF7

-ความทันสมัยในศาสตร์

-ความคาดหวัง/ต้องการ

-ทักษะพื้นฐานผู้เรียน

-การยกร่างหลักสูตร

-การวิพากษ์หลักสูตร

-การอนุมัติโดย สภาฯ

-การรับรองโดย กมอ.

หลักสูตรที่ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ

ผู้ประกอบการ ที่ใช้บัณฑิต

การผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรม

-กองทุนพัฒนาวิจัย

-แหล่งทุน

-โจทย์วิจัย

-Feedback จากงานวิจัย

-ความทันสมัย

-ความคาดหวัง/ต้องการ

-เครื่องมือ/อุปกรณ์/ห้องปฏิบัติการทดลอง

-ข้อเสนอการวิจัย

-จริยธรรมการวิจัย

-การเก็บรวบรวมข้อมูล

-การวิเคราะห์ข้อมูล

-เขียนรายงานการวิจัย

-เขียนบทความวิจัย/ขึ้นทะเบียนนวัตกรรม

งานวิจัย ที่นำไปใช้ประโยชน์/นวัตกรรมจากการวิจัย

-สังคม/ชุมชน

-ผู้ซื้อสิทธิบัตร

บริการวิชาการแก่สังคมเฉพาะ เจาะจงแบบมีรายได้(อบรมระยะสั้น)

-สถานประกอบการ ห้องปฏิบัติการ ที่เป็นแหล่งฝึก

-แหล่งทุน

-คุณวุฒิคุณสมบัติอาจารย์

-Feedbackการบริการ

-new skills

-ความคาดหวัง/ต้องการ

-ทักษะพื้นฐานผู้อบรม

-ยกร่างหลักสูตร

-จัดกิจกรรมการเรียนรู้

-ปฏิบัติการ/ฝึกปฏิบัติ

-วัดผล/ประเมินผล

-ประกาศผลการพัฒนา

ผู้อบรมมีทักษะใหม่ ที่เก็บข้อมูลการอบรมในคลังหน่วยกิต

สถานประกอบการที่ต้องการ พัฒนาทักษะใหม่ให้กับบุคลากร

การบูรณาการ: วิทยาลัยบูรณาการ แนวคิด SIPOC Model กับ การจัดทำข้อกำหนด ของการจัดการศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และกระบวนการทำงานที่สำคัญ โดย Supplier ครอบคลุมถึง กลุ่ม ผู้ส่งมอบและพันธมิตร คู่ความร่วมมือ ดังภาพที่ 6.1-1-01

4 การจัดการและการปรับปรุงกระบวนการ (การนำกระบวนการไปสู่การปฏิบัติ) สถาบันมั่นใจได้อย่างไรว่าการปฏิบัติงานประจำวันของกระบวนการทำงานต่างๆเป็นไปตามข้อกำหนดที่สำคัญ

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยกำหนดให้ รองอธิการบดี และคณบดี ดำเนินการควบคุม กำกับ ติดตาม ประเมินผล การนำกระบวนการทำงานต่างๆ ที่เป็นระบบและกลไก ไปใช้ในการปฏิบัติงานประจำวัน

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: รองอธิการบดี และคณบดี ดำเนินการตามขั้นตอนใน ภาพที่ 6.1-1-01 คือกำหนดตัวชี้วัดควบคุมระบบและกลไก/กระบวนการทำงานต่างๆ ที่จัดทำขึ้น ตามขั้นตอนที่ 4  จากนั้นนำไปสู่การประชุมชี้แจง/สื่อสารกับผู้ปฏิบัติงาน ทั้งการกำหนดกระบวนการทำงานต่างๆขึ้นใหม่ และการปรับปรุงกระบวนการทำงานต่างๆ ก่อนนำไปสู่การปฏิบัติ ตามขั้นตอนที่ 5 และดำเนินการควบคุมให้เป็นไปตามกระบวนการที่กำหนด ตามขั้นตอนที่ 6 กำกับ ติดตาม ประเมินผล ตามขั้นตอนที่ 7 หากผลการดำเนินการ ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดกระบวนการ ให้ฝ่าย/คณะ ที่ควบคุม กำกับ ดูแล นำกระบวนการทำงานนั้น เข้าสู่ขั้นตอนทบทวนการระบุข้อกำหนด ตามขั้นตอนที่ 2 และออกแบบใหม่ ตามขั้นตอนที่ 3 ให้สอดคล้องตามวงจรการทำงาน

ในกรณีผลการกำกับ ติดตาม ประเมินผล พบว่า เป็นไปตามข้อกำหนดกระบวนการ  ให้ฝ่าย/คณะดำเนินการ ติดตาม ผลลัพธ์ และผลสัมฤทธิ์ ตามตารางที่  6.1-1-01 ว่าสอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อไป โดย Feedback ที่ได้จากการตรวจสอบความสอดคล้อง ให้นำไปใช้ทบทวนกับ ปัจจัยการบริหาร หรือ ปัจจัยเฉพาะ หรือ ข้อมูลของผู้ส่งมอบและพันธมิตร คู่ความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไป ตามภาพที่ 6.1-1-01

การเรียนรู้: ผลจากการนำกระบวนการทำงานต่างๆ ที่เป็นระบบและกลไก ไปใช้ในการปฏิบัติงานประจำวันอย่างต่อเนื่อง พบว่า เพื่อให้มั่นใจว่ามีการนำกระบวนการทำงานต่างๆ ไปใช้ในการปฏิบัติงานประจำวัน ต้องมีการกำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละกระบวนการอย่างชัดเจน ตัวอย่างการกำหนดผู้รับผิดชอบกระบวนการ ดัง ตารางที่ 6.1-4-01

ตารางที่ 6.1-4-01 ตัวอย่างกระบวนการ และการกำหนดผู้รับผิดชอบกระบวนการ

ข้อกำหนดด้าน

กระบวนการ

ข้อกำหนดกระบวนการที่สำคัญ

ผลลัพธ์

ผู้รับผิดชอบกระบวนการ

การจัดการศึกษา

การออกแบบ/พัฒนาหลักสูตร

มาตรฐานหลักสูตรของ สป. อว.

การรับรองหลักสูตร

ประธานหลักสูตร/คณบดี

การจัดการเรียนการสอน

คุณลักษณะบัณฑิตอุดมศึกษา

สมรรถนะบัณฑิต

คณบดี/ฝ่ายวิชาการ

การวิจัย

การผลิตผลงานวิจัย

เกณฑ์คุณภาพงานวิจัยของ สป. อว.

เกณฑ์คุณภาพวารสารใน/ต่างประเทศ

งานวิจัยมีคุณภาพ

คณบดี/ฝ่ายวิจัย

การบริการวิชาการ

บริการอบรมหลักสูตรระยะสั้น

เกณฑ์คุณภาพสภาวิชาชีพ/ต้นสังกัด

ความรู้/ทักษะ/เจตคติ

คณบดี/ฝ่ายวิชาการ

ตอบสนองพันธกิจ

สืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

เกณฑ์การใช้ศิลปวัฒนธรรม

งานวิจัยศิลปวัฒนธรรม

คณบดี/ฝ่ายกิจการ นศ.

การบูรณาการ: วิทยาลัย มีการบูรณาการ เรื่องการนำกระบวนการทำงานต่างๆ ที่เป็นระบบและกลไก ไปใช้ในการปฏิบัติงานประจำวันอย่างต่อเนื่อง  กับ การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ระดับคณะ และระดับสถาบัน โดยให้มีการตรวจสอบผลการดำเนินการ ว่าสอดคล้อง/เป็นไปตามกระบวนการที่กำหนดด้วย

5 การจัดการและการปรับปรุงกระบวนการ (กระบวนการสนับสนุน) สถาบันมีวิธีการอย่างไรในการกำหนดกระบวนการสนับสนุนที่สำคัญ

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยกำหนดกระบวนการสนับสนุนที่สำคัญ ประกอบด้วย Supportive processes และ Management processes

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: ฝ่ายแผนและวิจัย ร่วมกับฝ่ายต่างๆ และคณะวิชา รับผิดชอบในการจัดกระบวนการสนับสนุนที่สำคัญ ใน 2 กลุ่มหลัก และในกลุ่มย่อย(รวม 8 กลุ่มย่อย) เพื่อให้กระบวนการทำงานต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และครอบคลุมทุกพันธกิจของวิทยาลัย

การเรียนรู้: ฝ่ายแผนและวิจัย ร่วมกับฝ่ายต่างๆ และคณะวิชา จัดกระบวนการสนับสนุนที่สำคัญเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ Supportive process, Management process โดยแต่ละกลุ่มหลัก มี 4 กลุ่มย่อยที่สำคัญ  และให้มีการทบทวนกระบวนการสนับสนุนที่สำคัญ รวมทั้งทบทวนการปรับจำนวนกลุ่มในกลุ่มหลัก และกลุ่มย่อย หลังเสร็จสิ้นการประเมินคุณภาพภายในเป็นประจำทุกปี ปัจจุบัน กระบวนการสนับสนุนที่สำคัญในแต่ละกลุ่มหลัก และกลุ่มย่อย ดัง ตารางที่ 6.1-5-01

ตารางที่ 6.1-5-01 กระบวนการสนับสนุนที่สำคัญของวิทยาลัย

กลุ่ม

กลุ่มย่อย

กระบวนการสนับสนุนที่สำคัญ

Supportive process

ทะเบียนนักศึกษา

การขึ้นทะเบียนนักศึกษา การลงทะเบียนเรียนของนักศึกษา การสำเร็จการศึกษา

กองทุนนักศึกษา

กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา การจัดสรรทุนการศึกษาของวิทยาลัยและหน่วยงานภายนอก

หอพักและสวัสดิการ

การบริการหอพัก การบริการร้านอาหารและร้านค้า การบริการยานพาหนะ สวัสดิการอื่นๆ

ประชาสัมพันธ์

การประชาสัมพันธ์ การแนะแนวศึกษาต่อ ความร่วมมือกับสถาบันในประเทศและต่างประเทศ

Management process

จริยธรรมและธรรมาภิบาล

การใช้ประมวลจริยธรรมผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษา การบริหารโดยใช้ธรรมาภิบาลในวิทยาลัย

การบริหารงานทั่วไป

ธุรการและสารบรรณ ความปลอดภัยของนักศึกษาและบุคลากร

การบริหารความเสี่ยง

การจัดการความเสี่ยงระดับคณะ และระดับสถาบัน

การจัดการความรู้

การจัดการความรู้ แนวปฏิบัติที่ดี และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ

การบูรณาการ: วิทยาลัย มีการบูรณาการทำงานใน กระบวนการสนับสนุนที่สำคัญ กับ กระบวนการทำงานต่างๆ ที่สำคัญ ให้นำไปใช้ในการปฏิบัติงานประจำวันอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกัน ทั้งในด้านการสนับสนุน และด้านการบริหาร โดยคำนึงถึงการสนับสนุนให้กระบวนการทำงานต่างๆที่สำคัญ บรรลุผลตามข้อกำหนดของกระบวนการทำงาน

6 การจัดการและการปรับปรุงกระบวนการ (การปรับปรุง) สถาบันมีวิธีการอย่างไรในการปรับปรุงกระบวนการทำงานที่เพิ่มการเรียนรู้ของผู้เรียน ปรับปรุงการจัดการศึกษา วิจัย และบริการฯ และผลการดำเนินการ เสริมสร้างสมรรถนะหลักของสถาบัน และลดความแปรปรวนของกระบวนการ

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยปรับปรุงกระบวนการทำงานที่เพิ่มการเรียนรู้ ด้วยการใช้ Lean ในการบริหารจัดการเพื่อลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงาน เพื่อให้การทำงานน้อยลง แต่มีผลงานมากขึ้น ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและผู้รับบริการมากที่สุด เพิ่มความพึงพอใจ เพิ่มความภักดีและกล่าวถึงองค์กรในทางที่ดี ซึ่งเป็นการยกระดับขีดความสามารถของหน่วยงาน คณะ และวิทยาลัย (ใช้ทรัพยากรลดลง และได้ประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม)

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: ฝ่ายแผนและวิจัย ร่วมกับฝ่ายต่างๆ และคณะวิชา รับผิดชอบในการพิจารณาปรับปรุงกระบวนการทำงาน ทั้งกระบวนการทำงานที่สำคัญ และกระบวนการสนับสนุนที่สำคัญ เพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการทำงานของหน่วยงาน ให้เหลือแต่สิ่งเนื้องาน ที่ตอบสนองต่อผู้รับมอบผลงานในขั้นตอนต่อไป กำจัดกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่าแก่ผู้รับผลงาน/ผู้รับบริการ เช่น ขั้นตอนที่มากเกินไป ผู้รับบริการต้องติดต่อหลายหน่วยงาน การรอคอยการรับบริการโดยไม่มีการกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จ การต้องทำงานซ้ำเพื่อการแก้ไข การไม่ได้ใช้ความรู้/ทักษะ/ความคิดสร้างสรรค์ของผู้ปฏิบัติงานในหน้างานอย่างเต็มที่ การสื่อสารผิดพลาด การใช้แบบฟอร์มมากจนเกินความจำเป็น ตลอดจนการเกิดปัญหาซ้ำซากในการทำงาน

การเรียนรู้: ผลการนำ Lean มาใช้ในการบริหารงานอย่างต่อเนื่อง พบว่า การปรับปรุงกระบวนการทำงานที่เพิ่มการเรียนรู้ของผู้เรียน ปรับปรุงการจัดการศึกษา วิจัย และบริการฯ และ มีผลการดำเนินการ เสริมสร้างสมรรถนะหลักของสถาบัน และลดความแปรปรวนของกระบวนการได้ ประกอบด้วย 8 แนวทางคือ 1)Elimination กำจัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น ทั้งนี้ต้องไม่ขัดต่อระเบียบ กฎ เกณฑ์ ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยง/ความความผิดพลาด หรือโอนงานไปให้ผู้อื่นทำแทน  2)Combination รวมขั้นตอนหลายๆขั้นตอนเข้าด้วยกัน 3)Re-arrange ลำดับขั้นตอนใหม่ให้เหมาะสม  4)Parallel ออกแบบการทำงานในบางขั้นตอนให้ทำคู่ขนานกัน 5)Simplify ปรับวิธีการทำงาน ทำให้ง่าย ไม่ซับซ้อน ไม่ซ้ำซ้อน มีผู้ให้คำแนะนำหรือมีอุปกรณ์ช่วย 6)Pull system การส่งงานขั้นถัดไปเมื่อฝ่ายถัดไปพร้อมให้บริการ เพื่อกำจัดการรอที่สูญเปล่า และลดขั้นตอนการเดินเอกสารของผู้รับบริการ 7)Quick Changeover/ Quick set up เตรียมความพร้อมที่จะรับงานใหม่ได้อย่างเหมาะสม ทั้ง คน สถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ เพื่อให้บริการได้รวดเร็ว และลดการรอคอย เช่น การรายงานตัวของนักศึกษาใหม่  8)IT ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เก็บข้อมูล บันทึก ส่งรายงาน/ผลการดำเนินการ และสั่งการผ่านระบบคอมพิวเตอร์

การบูรณาการ: วิทยาลัย มีการบูรณาการ ปรับปรุงกระบวนการทำงานที่เพิ่มการเรียนรู้ ด้วยการใช้ Lean  กับ การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ระดับคณะ และระดับสถาบัน โดยให้มีการตรวจสอบผลการดำเนินการตามกระบวนการทำงานที่สำคัญ และกระบวนการสนับสนุนที่สำคัญ ผลการตรวจสอบนำไปสู่การปรับปรุงกระบวนการทำงาน เป็นประจำทุกปี

7 การจัดการเครือข่ายอุปทาน สถาบันมีการจัดการเครือข่ายอุปทานอย่างไร

การดำเนินการ

แนวทาง: ห่วงโซ่อุปทาน ของวิทยาลัยประกอบด้วย ผู้ส่งมอบ คือ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง ผู้ผลิตบัณฑิต คือวิทยาลัย และ ลูกค้า คือ ผู้ใช้บัณฑิต

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ:  ฝ่ายแผนและวิจัย ร่วมกับฝ่ายต่างๆ และคณะวิชา รับผิดชอบในการพิจารณาจัดการห่วงโซ่อุปทาน ของวิทยาลัยประกอบด้วย ผู้ส่งมอบ คือ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง ผู้ผลิตบัณฑิต คือวิทยาลัย และ ลูกค้า คือ ผู้ใช้บัณฑิต ดังตารางที่ 6.1-7-01

การเรียนรู้: ผลการดำเนินการ จัดการห่วงโซ่อุปทานของวิทยาลัย พบว่า เกิดเป็นห่วงโซ่คุณค่า(Value Chain)ของการผลิตบัณฑิต ที่ Primary Activities คือ การรับนักศึกษา การบริหารหลักสูตร การพัฒนานักศึกษา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล การตรวจสอบคุณภาพผลผลิต มี Support Activities คือ การบริหารจัดการ การพัฒนาคณาจารย์และบุคลากร และการสนับสนุนที่ประกอบด้วย การวิจัย การบริการวิชาการ ศิลปวัฒนธรรม และการประกันคุณภาพการศึกษา และมี Margin คือ ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต และ ชื่อเสียงและการเติบโตของวิทยาลัย ดังภาพที่ 6.1-7-01

ตารางที่ 6.1-7-01  การจัดการห่วงโซ่อุปทาน ของวิทยาลัย

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

กิจกรรมโซ่อุปทาน

ความต้องการสารสนเทศ

ผู้ส่งมอบ

-โรงเรียนระดับมัธยม/Ind.

เอกสารการสำเร็จการศึกษาของผู้เรียน ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ต้องการเทียบโอน

ส่งมอบในวันรายงานตัว

-ครอบครัว

ข้อจำกัดเรื่องสุขภาพและร่างกายของผู้เรียน

ส่งมอบในวันรายงานตัว

-องค์กรภาครัฐ

จำนวนทุนและเงื่อนไข จากกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา และ หน่วยงานอื่น

สัญญาการรับทุน

วิทยาลัย ผู้ผลิตบัณฑิต

1.การรับนักศึกษา

เกณฑ์การรับและคัดเลือก การตรวจสอบคุณวุฒิ ความพร้อมในการเรียน

ผลการตรวจสอบ

2.การบริหารหลักสูตร

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง โครงสร้างหลักสูตร เนื้อหาการสอนในหลักสูตร

การตรวจสอบและรับรอง

3.การพัฒนานักศึกษา

กิจกรรมเสริมหลักสูตร ทุนการศึกษา แหล่งงานนอกเวลา การให้คำปรึกษา

ดำเนินตามแผนการพัฒนา

4.การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

แผนการสอน กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและเทคโนโลยีการเรียนรู้ การเรียนรู้ตลอดชีวิต

ดำเนินการตาม มคอ.3/4

5.การวัด ประเมินผล

การวัดผล การประเมินผู้เรียน ความสำเร็จของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง

แสดงผลตาม มคอ.5/6

6.การสนับสนุนการเรียนรู้

การวิจัย การบริการวิชาการ ศิลปวัฒนธรรม การประกันคุณภาพการศึกษา

เป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพ

7.คณาจารย์และบุคลากร

การสรรหาและคัดเลือก การประเมินสมรรถนะ แผนการพัฒนา ขวัญกำลังใจ

การประเมินความพึงพอใจ

8.การบริหารจัดการ

สิ่งอำนวยความสะดวก สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ สุขภาพและความปลอดภัย

การประเมินผลการบริหาร

9.ผลผลิต

การออกกลางคัน ระยะเวลาเฉลี่ยการสำเร็จการศึกษา การมีงานทำ

การหาอัตราเฉลี่ย

ลูกค้า

ผู้ใช้บัณฑิต

-บัณฑิตมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามกรอบคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ

-บัณฑิตมีสมรรถนะภาษาอังกฤษ และทักษะศตวรรษที่ 21

แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

ผู้สนใจ

ชื่อเสียงและการเติบโตของวิทยาลัย

ผลการเปรียบเทียบกับคู่แข่ง

ภาพที่ 6.1-7-01 ห่วงโซ่คุณค่าของการผลิตบัณฑิตของวิทยาลัย

การบูรณาการ: วิทยาลัย มีการบูรณาการ การจัดการห่วงโซ่อุปทานของวิทยาลัย  กับ ห่วงโซ่คุณค่าของการผลิตบัณฑิต เพื่อให้มั่นใจว่า ภาพรวมของกระบวนการผลิตบัณฑิตของวิทยาลัย ที่เริ่มตั้งแต่การรับนักศึกษา ไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายคือ การส่งมอบผลผลิตคือ บัณฑิต ให้กับ ลูกค้าหรือผู้ใช้บัณฑิต นั้น แต่ละขั้นตอนสามารถสร้างคุณค่าให้กับองค์กรและบัณฑิตอย่างไม่มีปัญหา

8 การจัดการนวัตกรรม สถาบันมีการดำเนินการกับโอกาสในการสร้างนวัตกรรมอย่างไร

การดำเนินการ

แนวทาง: ความเสี่ยงของวิทยาลัยที่สำคัญคือจำนวนนักศึกษาที่เข้าเรียนมีแนวโน้มลดลง ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากรของไทย อย่างไรก็ตามโอกาสเชิงกลยุทธ์ของวิทยาลัยคือการมีความร่วมมือในการจัดการศึกษาทั้งในและนอกประเทศ วิทยาลัยจึงใช้โอกาสดังกล่าว มาพัฒนาหลักสูตรให้มีความโดดเด่น ท้าทายให้เกิดความร่วมมือกับสถาบันอื่น ซึ่งถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษา

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: คณะวิชา ใช้เงื่อนไขความร่วมมือ ดำเนินการพัฒนาหลักสูตร ทั้งเพื่อ 1)สร้างความโดดเด่น ท้าทายให้เกิดความร่วมมือ   หรือ 2)ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการบริหารหลักสูตรและคณะ ให้เกิดการยอมรับและเป็นที่สนใจของผู้เรียน

การเรียนรู้: ผลการดำเนินการที่ผ่านมา พบว่ามีจำนวน 3 คณะวิชา รวม 3 หลักสูตร สามารถใช้โอกาสเชิงกลยุทธ์ เพื่อลดความเสี่ยง ดังตารางที่ 6.1-8-01

ตารางที่ 6.1-8-01 การใช้โอกาสเชิงกลยุทธ์ของคณะวิชา

คณะ/สาขาวิชา

การใช้โอกาสเชิงกลยุทธ์/นวัตกรรม

หน่วยงาน

ผลการดำเนินการ

มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

-ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ

นศ. ปี 3 มีคะแนน TOEIC สูงกว่า 800

South Wale U.

หลักสูตร 3+1(เรียนต่อที่อังกฤษ)

ศึกษาศาสตร์

-ประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาชีพครู

บูรณาการ การเรียนรู้แบบ WIL&PBL

คุรุสภา

รับนักศึกษาเพิ่ม เป็น 5 กลุ่ม

พยาบาลศาสตร์

-พยาบาล

ยกระดับการรับรองสถาบันเป็นรับรอง 5 ปี

สภาการพยาบาล

รับ นศ.เพิ่มจาก 120 เป็น 200 คน

การบูรณาการ: วิทยาลัย มีการบูรณาการ โอกาสในการสร้างนวัตกรรม กับ ห่วงโซ่คุณค่าของการผลิตบัณฑิต เพื่อนำคุณค่าในทุกขั้นตอนการผลิตบัณฑิต ทำให้เกิดโอกาสในการสร้างนวัตกรรม

9 มีระบบการออกแบบหลักสูตรและสาระวิชาในหลักสูตรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง

การดำเนินการ

วิทยาลัย กำหนดให้คณะ และประธานหลักสูตรใช้ผลการดำเนินการตาม TQF.7/SAR และผลการประกันคุณภาพการศึกษาใน ในการออกแบบหลักสูตร ตลอดจนปรับปรุงสาระวิชาในหลักสูตรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นอกเหนือจากการปรับปรุงตามรอบการปรับปรุงหลักสูตร ที่ สป. อว. กำหนด

10 มีระบบการจัดเตรียมสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และการบำรุงรักษาให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง

การดำเนินการ

วิทยาลัย กำหนดให้คณะ และประธานหลักสูตร ดำเนินการสำรวจสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ก่อนเปิดเรียน เพื่อให้มีจำนวนเพียงพอ และเหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้ มีการบำรุงรักษาตามระยะเวลา มีการ Calibrate ตามรอบระยะเวลา และมีการสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษา และอาจารย์ที่มีต่อการใช้บริการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ตลอดจนให้ใช้ผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร เป็นข้อมูลในการจัดเตรียมและบำรุงรักษา ให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

5 ข้อ

IQA (1-10)

1,2,3,4,5,6,7,8,9,10

 10 ข้อ

5 คะแนน

EdPEx (1-8)

1,2,3,4,5,6,7,8

ร้อยละ 30

(จาก45 คะแนน)

13.50 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐานรายการ
6.1-01ระบบการทำงานหลักของวิทยาลัย
6.1-02ระบบการทำงานสนับสนุนที่สำคัญของวิทยาลัย
6.1-03ระบบพิจารณาทุนวิจัยและพิจารณาจริยธรรมการวิจัย
6.1-04เอกสารการเข้าศึกษาต่อ และการลงทะเบียน
6.1-05คลิป VDO แนะนำวิทยาลัย ที่นักศึกษาจัดทำ
6.1-06Nakhon Nayok Channel
6.1-07แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญานครนายก เครือข่าย U-School
6.1-08ระบบการพัฒนาคะแนน TOEIC ของนักศึกษา