Component 1: Indicators 1.2 Organizational Governance (Governance and Social Contributions)

Component 1 Leadership

ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 การกำกับดูแล(การกำกับดูแลองค์กรและการสร้างประโยชน์ให้สังคม) : Organizational Governance (Governance and Social Contributions)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-6 ข้อ7-8 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-6 ประเมิน 50 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

1 การกำกับดูแลองค์กร (ระบบการกำกับดูแลองค์กร) สถาบันทำให้มั่นใจได้อย่างไรว่ามีการกำกับดูแลองค์กรด้วยความรับผิดชอบอย่างครอบคลุมและรอบด้าน

  1. การกำกับดูแลองค์กร(ระบบการกำกับดูแลองค์กร)

สถาบันมั่นใจอย่างไรว่าการกำกับดูแลองค์กรด้วยความรับผิดชอบอย่างครอบคลุมและรอบด้าน

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยมีการกำกับดูแลองค์กรโดยสภาวิทยาลัย ดังภาพที่ op1 ข 1-1 มีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบาย และขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ ทั้งนี้ สภาวิทยาลัย อาจมีการมอบหมายให้คณะกรรมการ คณะทำงาน ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลตามพันธกิจของวิทยาลัย

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: การกำกับดูแลองค์กรโดยสภาวิทยาลัย หรือ คณะกรรมการที่สภาวิทยาลัยมอบหมาย มีการกำหนดระยะเวลาในการกำกับติดตามอย่างชัดเจน ดัง ตารางที่ 1.2-1-1

ตารางที่ 1.2-1-1 ระยะเวลาในการกำกับติดตามของวิทยาลัย

คณะกรรมการ

การกำกับติดตาม

การติดตาม

ผลลัพธ์

สภาวิทยาลัย

ผลการดำเนินการตามนโยบายและพันธกิจ 

อย่างน้อย ปีละ 4 ครั้ง

รายงานการปฏิบัติงานของวิทยาลัย

ผลการใช้ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ 

อย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง

การเงิน งบประมาณ

อย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง

สภาวิทยาลัย

การปฏิบัติงานของอธิการบดี

อย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง

รายงานการปฏิบัติงานของอธิการบดี

ธรรมาภิบาล

จริยธรรมและธรรมาภิบาล

อย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง

ผลการปฏิบัติงานของสภาวิทยาลัย

ผลการบริหารความเสี่ยง

บริหารงานบุคคล

การพัฒนาศักยภาพอาจารย์

อย่างน้อย ภาคเรียนละ 1 ครั้ง

การประเมินผลการสอนของอาจารย์

อุทธรณ์และร้องทุกข์

ข้อเสนอแนะและการร้องเรียน

อย่างน้อย ภาคเรียนละ 1 ครั้ง

การจัดการข้อร้องเรียนของวิทยาลัย

การเรียนรู้: ความรับผิดชอบในการกำกับดูแลองค์กรของสภาวิทยาลัย และคณะกรรมการที่สภาวิทยาลัยมอบหมาย  ครอบคลุมใน 4 ผลิตภัณฑ์ คือ การวิจัย การศึกษา การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อย่างสม่ำเสมอ ในทุกพันธกิจของวิทยาลัย ทำให้ สามารถขับเคลื่อนให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ที่วิทยาลัยกำหนด

การบูรณาการ: การกำกับดูแลองค์กรของสภาวิทยาลัย  มีความสัมพันธ์กับ การกำกับดูแลองค์กรของอธิการบดี และการกำกับดูแลองค์กรของคณบดีและหัวหน้าหน่วยงาน ดังภาพที่ 1.2-1-1

ภาพที่ 1.2-1-1 การกำกับดูแลองค์กรของสภาวิทยาลัย อธิการบดี และคณบดีฯ

2 การกำกับดูแลองค์กร (การประเมินผลการดำเนินการ) สถาบันประเมินผลการดำเนินการของผู้นำและคณะกรรมการกำกับดูแลองค์กรอย่างไร

2. การกำกับดูแลองค์กร (การประเมินผลการดำเนินการ)

สถาบันประเมินผลการดำเนินการของผู้นำและคณะกรรมการกำกับดูแลองค์กรอย่างไร

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัย ทำการประเมินผลการดำเนินการของผู้นำและคณะกรรมการกำกับดูแลองค์กร คือ สภาวิทยาลัย อธิการบดี และคณบดี โดยใช้คณะกรรมการที่ประกอบด้วย บุคคลภายนอกเป็นประธานกรรมการ และกรรมการ เป็นบุคคลภายนอก ร่วมกับบุคลากรภายใน

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: สภาวิทยาลัย พิจารณารายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติ และประวัติ ในการบริหารงานอุดมศึกษา และแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินการทั้ง 3 คณะ ให้ทำหน้าที่ประเมินผล รายงานผล และให้ข้อเสนอแนะกับสภาวิทยาลัยรับทราบผลการกำกับดูแลองค์กร เป็นประจำทุกปี

การเรียนรู้: วิทยาลัยนำผลการประเมินของคณะกรรมการฯ และข้อเสนอแนะของกรรมการสภาวิทยาลัย ไปดำเนินการพัฒนาต่อไป โดยในปีการศึกษา 2565 มีการพัฒนาแบบประเมินผลการดำเนินการ  ให้มีการสะท้อนถึงผลสัมฤทธิ์ตามพันธกิจที่ได้รับผิดชอบ หรือได้รับการมอบหมายด้วย

การบูรณาการ: วิทยาลัยนำผลการประเมิน “การดำเนินการของผู้นำและคณะกรรมการกำกับดูแลองค์กร” ไปใช้ในการพัฒนาพฤติกรรมผู้นำ ในการกำหนดกิจกรรมเพื่อปรับปรุงระบบงานและกลไกต่างๆของวิทยาลัย ให้เป็นไปตามค่านิยมของวิทยาลัย ดังภาพที่ 1.1-1-1 มีผลลัพธ์ใน องค์ประกอบ 7.4 ข้อ 7.4.2

3 การประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและอย่างมีจริยธรรม (การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ และการรับรองคุณภาพ) สถาบันดำเนินการด้านกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ ในปัจจุบัน และในอนาคต รวมถึงความกังวลของชุมชนที่มีต่อ หลักสูตรการศึกษา วิจัย และบริการวิชาการ และการปฏิบัติการ อย่างไร

3. การประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและอย่างมีจริยธรรม(การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ และการรับรองคุณภาพ)

สถาบันดำเนินการอย่างไรในด้านกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ ในปัจจุบัน และในอนาคต รวมถึงความกังวลของชุมชนที่มีต่อ หลักสูตรการศึกษา วิจัย และบริการวิชาการ และการปฏิบัติการ

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัย โดยอธิการบดี ได้กำหนดให้รองอธิการบดี ตามที่กำหนดใน ตาราง op1 ก 1-1 ควบคุม กำกับ ติดตาม ให้การปฏิบัติการในแต่ละผลิตภัณฑ์/งาน มีการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับ ตามที่กำหนดในตาราง op1 ก 5-1 และ/หรือเป็นไปตามการรับรองคุณภาพ ทั้งในการดำเนินการในปัจจุบัน และการวางแผนป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: รองอธิการบดี และคณบดี ร่วมกัน กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินการ ให้บุคลากร ประพฤติ ปฏิบัติตามกฎหมาย และกฎระเบียบข้อบังคับ อย่างเคร่งครัด ทั้งในด้าน การวิจัย หลักสูตรการศึกษา การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  โดยรองอธิการบดีที่ได้รับมอบหมาย ได้นำผลการดำเนินการ เสนอต่อที่ประชุมผู้บริหาร อย่างน้อยภาคเรียนละ 2 ครั้ง

การเรียนรู้: บุคลากรของวิทยาลัย มีการเรียนรู้ในการประพฤติ ปฏิบัติตามกฎหมาย และกฎระเบียบข้อบังคับ อย่างเคร่งครัด ให้สอดคล้องกับ ผลลัพธ์ที่คาดหวังของการดำเนินการตามผลิตภัณฑ์ จึงทำให้การปฏิบัติงานของบุคลากรเป็นไปอย่างถูกต้อง ดังตารางที่ 1.2-3-01

ตารางที่ 1.2-3-01 ผลลัพธ์การประพฤติปฏิบัติตามกฎหมาย และกฎระเบียบข้อบังคับ

ด้าน

การควบคุม กำกับ ติดตาม

ผลลัพธ์

กฎหมาย/กฎระเบียบข้อบังคับ

ด้านการวิจัย

จรรยาบรรณการวิจัยในมนุษย์

คุณภาพผลงานวิจัย

ด้านการศึกษา

เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร

มาตรฐานคุณภาพหลักสูตร

ด้านการบริการวิชาการ

เกณฑ์การประกันคุณภาพภายนอก สมศ.

คุณภาพบริการแบบทั่วไป และแบบเฉพาะเจาะจง

ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

กฎกระทรวงมาตรฐานคุณภาพอุดมศึกษา

องค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นจากงานวิจัย

การรับรองคุณภาพ

การรับรองคุณภาพภายใน

เกณฑ์การประกันคุณภาพภายใน

การประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตร คณะ สถาบัน

เกณฑ์การรับรองวิทยฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

การรับรองวิทยฐานะระดับหลักสูตร และ สถาบัน

การรับรองคุณภาพภายนอก

เกณฑ์การประกันคุณภาพภายนอก

การรับรองคุณภาพภายนอก จาก สมศ.

การบูรณาการ: วิทยาลัยบูรณาการการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมาย และกฎระเบียบข้อบังคับ กับการดำเนินการบริหารตามข้อบังคับธรรมาภิบาลของวิทยาลัย ด้วยการนำ ผลลัพธ์การประพฤติปฏิบัติตามกฎหมาย และกฎระเบียบข้อบังคับ รายงานต่อสภาวิทยาลัย และรายงานต่อสาธารณะ ผ่านช่องทางเวปไซด์ของวิทยาลัย เป็นประจำทุกปี โดยผลลัพธ์การดำเนินการ ปรากฏใน องค์ประกอบ 7.4 ข้อ 7.4.3

4 การประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและอย่างมีจริยธรรม (การประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม) สถาบันดำเนินการอย่างไรในการส่งเสริมและสร้างความมั่นใจว่าปฏิสัมพันธ์ทุกด้านของสถาบันเป็นไปอย่างมีจริยธรรม

4. การประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและอย่างมีจริยธรรม(การประพฤติปฎิบัติอย่างมีจริยธรรม)

สถาบันดำเนินการอย่างไรในการส่งเสริมและสร้างความมั่นใจว่าปฏิสัมพันธ์ทุกด้านของสถาบันเป็นไปอย่างมีจริยธรรม

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัย ใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมและสร้างความมั่นใจว่าปฏิสัมพันธ์ของผู้บริหารและบุคลากรในทุกด้านของวิทยาลัยเป็นไปอย่างมีจริยธรรม มีการจัดกิจกรรมต่างร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้พฤติกรรมผู้นำ และพฤติกรรมผู้ร่วมงาน หลอมรวมเป็นค่านิยมเดียวกัน คือค่านิยม STIC

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: วิทยาลัยสร้างความเข้าใจให้กับบุคลากรทุกระดับ ว่าในการดำเนินการตามพันธกิจของวิทยาลัย ต้องเป็นไปตามกฎหมาย และกฎระเบียบข้อบังคับ ของหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน เช่น การประชุมบุคลากรประจำปี การประชุมอาจารย์ผู้สอน การประชุมอาจารย์ที่ปรึกษา  และการประชุมคณะกรรมการต่างๆ เช่นคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา คณะกรรมการวิจัย คณะกรรมการความเสี่ยง คณะกรรมการจัดการความรู้ คณะกรรมการบริการวิชาการ คณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น

การเรียนรู้: วิทยาลัยสร้างความมั่นใจว่าปฏิสัมพันธ์ของผู้นำ และบุคลากร ในการประพฤติปฏิบัติ ให้เป็นไปตามกฎหมาย และกฎระเบียบข้อบังคับ เป็นไปอย่างมีจริยธรรม ด้วยการสำรวจความเห็นของบุคลากร ในเรื่อง ผลการปฏิสัมพันธ์ของผู้นำและบุคลากรเป็นไปอย่างมีจริยธรรม ในปีการศึกษา 2563-2565 พบว่ามีแนวโน้มที่ดี ดังภาพที่ 1.2-4-01 ทั้งนี้ผลลัพธ์ที่สำคัญ ดัง ตารางที่ 1.2-4-01

ตารางที่ 1.2-4-01 ปฏิสัมพันธ์ของผู้บริหารและบุคลากรในทุกด้านของวิทยาลัยเป็นไปอย่างมีจริยธรรม

ด้าน

การส่งเสริมและสร้างความมั่นใจ

ผลลัพธ์

ผลิตบัณฑิต

การมีส่วนร่วมในการบริหารกิจกรรมต่างๆ

การปฏิบัติตัวอย่างมีจริยธรรมของ นศ. คณาจารย์

การวิจัย

การตรวจ Plagialism ของ นศ. คณาจารย์

การไม่ละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น

การบริการวิชาการแก่สังคม

สนับสนุน นศ. บุคลากร ให้มีจิตสาธารณะ

การสร้างความเข้มแข็งของสังคม

ศิลปวัฒนธรรม

บูรณากิจกรรม วิถีไทย ในสังคมนานาชาติ

ความเชื่อมั่นวิถีความเป็นไทยในสังคมพหุวัฒนธรรม

การบริหาร

ผู้บริหารปฏิบัติตนของเป็นแบบอย่างที่ดี

การเข้าถึงทรัพยากร การป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน

การบูรณาการ: วิทยาลัยทำการบูรณาการปฏิสัมพันธ์ของผู้นำและบุคลากรอย่างมีจริยธรรมกับ ความสุขในการทำงานของบุคลากร ผลการประเมินความสุขในการทำงานของบุคลากร ปีการศึกษา 2563-2565 พบว่ามีแนวโน้มที่ดี เช่นกัน ดังภาพที่ 1.2-4-02 โดยผลลัพธ์การดำเนินการ ปรากฏใน องค์ประกอบ 7.4 ข้อ 7.4.4

ภาพที่ 1.2-4-01 ผลการปฏิสัมพันธ์ของผู้นำ
ภาพที่ 1.2-4-02 ความสุขในการทำงานของบุคลากร

5 การสร้างประโยชน์ให้สังคม (ความผาสุกของสังคม) สถาบันคำนึงถึงความผาสุกและผลประโยชน์ของสังคม เป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์ และการปฏิบัติงานอย่างไร

5. การสร้างประโยชน์ให้สังคม(ความผาสุกของสังคม)

สถาบันคำนึงถึงความผาสุกและผลประโยชน์ของสังคม เป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์ และการปฏิบัติงานอย่างไร

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัย กำหนดให้คณะวิชา ดำเนินกิจกรรมตามพันธกิจ/กลยุทธ์ของอุดมศึกษา ที่สัมพันธ์กับสังคมใน 3 ระดับ คือ กลุ่มพื้นที่ที่รับบริการ กลุ่มชุมชนโดยรอบ และกลุ่มชุมชนในภาคตะวันออก และในระดับชาติ โดยการนำองค์ความรู้สู่ชุมชน เพื่อสร้างความผาสุกและผลประโยชน์ให้กับชุมชน และนำองค์ความรู้ที่เกิดจากการให้บริการกับชุมชน มาพัฒนาองค์ความรู้ตามศาสตร์ในบริบทของพื้นที่

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: คณะวิชา ดำเนินกิจกรรมตามพันธกิจ โดยใช้กลยุทธ์ตามแผนยุทธศาสตร์ของวิทยาลัย ทั้งกลยุทธ์การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สร้างความผาสุกและผลประโยชน์ให้กับชุมชน โดยคณาจารย์ในแต่ละคณะ นำนักศึกษา ถ่ายทอดความรู้/ทำงานร่วมกับเครือข่ายต่างๆในจังหวัดนครนายก เช่นเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืน(SDG) เครือข่ายสภาวัฒนธรรม ตลอดจนเครือข่ายต่างๆในระดับภูมิภาค เช่นเครือข่ายการวิจัยภาคตะวันออก เครือข่ายครูคืนถิ่นภาคกลางตอนล่าง

ภาพที่ 1.2-5-01 รูปแบบการบริหารงานด้วยเครือข่าย

การเรียนรู้: การนำองค์ความรู้ ไปบริการสู่สังคมนั้น นอกจากเป็นการสร้างผลประโยชน์ สร้างความผาสุกให้กับชุมชน และสังคมแล้ว ยังเกิดประโยชน์ต่อวิทยาลัย ทั้งในด้าน การเกิดองค์ความรู้ในบริบทเชิงพื้นที่ ที่สร้างคุณค่า หรือ เกิดรายได้ ให้กับวิทยาลัย เช่น บริการทางวิชาการเฉพาะเจาะจงแบบมีรายได้ เป็นต้น

การบูรณาการ: วิทยาลัยได้บูรณาการการสร้างความผาสุกและผลประโยชน์ให้กับชุมชน กับการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของวิทยาลัย ร่วมกับการทำงานกับเครือข่าย เกิดเป็นรูปแบบการบริหารงานด้วยเครือข่าย ดังภาพที่ 1.2-5-01

6 การสร้างประโยชน์ให้สังคม (การสนับสนุนชุมชน) สถาบันดำเนินการอย่างไรในการสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนที่สำคัญ ของสถาบัน

6. การสร้างประโยชน์ให้สังคม(การสนับสนุนชุมชน)

สถาบันดำเนินการอย่างไรในการสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนที่สำคัญ

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยกำหนดให้แต่ละคณะวิชา ให้การสนับสนุนชุมชน ตามศาสตร์ของคณะวิชา

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: วิทยาลัย มอบคณะพยาบาลศาสตร์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ให้การสนับสนุนชุมชน ด้านสุขภาพ และมอบคณะบริหารธุรกิจ คณะศึกษาศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์ฯ ให้บริการชุมชน ด้านการบริการต่างๆ ผ่านโครงการบริการวิชาการ และ/หรือการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยการดำเนินการต้องให้ชุมชนพึ่งพาตนเอง(เข้มแข็ง)ในเรื่องที่กำหนดภายใน 3 ปี และสามารถเป็นตัวอย่างให้กับชุมชนอื่น(ยั่งยืน) ภายใน 5 ปี

การเรียนรู้: การสนับสนุนชุมชนด้านสุขภาพในระยะแรกเป็นการให้ความรู้กับคนในชุมชนทุกกลุ่ม ปัจจุบันได้พัฒนามาให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้สูงอายุ ที่เป็นคนกลุ่มใหญ่ของสังคม ทั้งที่เป็นผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สำหรับการสนับสนุนชุมชนด้านการบริการ ในระยะแรกมุ่งให้การพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษเพื่อวิชาชีพ ปัจจุบันได้ต่อยอดมาให้ความสำคัญกับการเพิ่มทักษะทางวิชาชีพ ทั้งที่เป็น Up skills และ Re skills

การบูรณาการ: ผลการดำเนินการสนับสนุนชุมชน ทั้งด้านสุขภาพและด้านการบริการ ได้นำมาบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้ โดย คณาจารย์และบุคลากรได้นำนักศึกษา ได้ลงไปร่วมปฏิบัติงานให้การบริการด้วย ทำให้เกิดการเรียนรู้ในบริบทชุมชน หรือการเรียนรู้ในบริบทเชิงพื้นที่ หรือกล่าวได้ว่า ชุมชนมีส่วนร่วมเป็นห้องปฏิบัติการในการเรียนรู้ ผลลัพธ์ที่เกิดจาก การดำเนินการตามข้อ 1.2.5 และ ข้อ 1.2.6 สามารถบูรณาการ เป็นผลลัพธ์ด้านความผาสุกของสังคมและการสนับสนุนชุมชนที่สำคัญ ดังตารางที่ 1.2-6-01

ตารางที่ 1.2-6-01 ผลลัพธ์ด้านความผาสุกของสังคมและการสนับสนุนชุมชนที่สำคัญ

ความผาสุกและการสนับสนุนชุมชนด้าน

ผลลัพธ์

สิ่งแวดล้อม

ลดการใช้กระดาษ  ลดการใช้พลังงาน เพิ่มการใช้ประโยชน์จากของเสีย

การพัฒนาสังคม

การพัฒนาคุณภาพการศึกษา เกี่ยวกับ นักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ทักษะภาษาอังกฤษ แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นผ่านสื่อดิจิทัล

การพัฒนาสุขภาวะ สุขภาพ  และคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ ผู้ดูแล

การพัฒนาวิธีปฏิบัติในองค์กร/สมาคม วิชาชีพ

การพัฒนาเศรษฐกิจ

การเพิ่มรายได้ให้กับสังคม การพัฒนา Soft Power การพัฒนาผลิตภัณฑ์ SME

7 มีการกำกับดูแลให้บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

  1. มีการกำกับดูแลให้บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

การดำเนินการ

ทุกคณะวิชา ได้มีการกำกับดูแลให้คณาจารย์และบุคลากร สร้างประโยชน์ให้กับชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ทั้งการดำเนินการในพันธกิจของการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการบริการวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริการวิชาการกับชุมชน นอกจากแต่ละคณะจะบริการวิชาการในศาสตร์ของคณะแล้ว แต่ละคณะยังส่งคณาจารย์เข้าร่วมให้บริการวิชาการกับวิทยาลัย ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 5 ของคณาจารย์ในคณะเป็นประจำทุกปี  

หลักฐาน

1) รายชื่อคณาจารย์ที่ร่วมกิจกรรมบริการวิชาการ ปีการศึกษา 2565 (1.2-7-01)

8 มีการประเมินผล เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

  1. มีการประเมินผล เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

การดำเนินการ

การสนับสนุน การสร้างความเข้มแข็ง และสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชนของวิทยาลัยที่ดำเนินการผ่านการบริการวิชาการ มีการดำเนินการประเมินผลการรับบริการ ทั้งการบริการในระดับคณะ และการบริการในระดับสถาบัน ผลการประเมินจากผู้รับบริการ มีการนำไปใช้ในการปรับปรุง โดยประเด็นการบริการที่มีผลการประเมินน้อย และ/หรือต่ำกว่าเกณฑ์ระดับปานกลาง ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขทันที ทำให้ผลงานการสร้างความเข้มแข็ง และสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชน มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

5 ข้อ

IQA (1-8)

1,2,3,4,5,6,7,8

 8 ข้อ

5 คะแนน

EdPEx (1-6)

1,2,3,4,5

ร้อยละ 30

(จาก50 คะแนน)

15 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐานรายการ
1.2-01คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสภาวิทยาลัย
1.2.-02คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการธรรมาภิบาลของวิทยาลัย
1.2-03คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินสภาวิทยาลัย
1.2-04คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินอธิการบดี
1.2-05คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคณบดี
1.2-06รายงานผลการประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2565
1.2-07การประชุมบุคลากรประจำปี 2565
1.2-08เครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืน(SDG)จังหวัดนครนายก
1.2-09ตัวอย่างโครงการบริการทางวิชาการ
1.2-10แบบประเมินผลการบริการวิชาการแก่ชุมชน

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเอง IQAEdPEx
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1521
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2515
คะแนนเฉลี่ย(IQA)/คะแนนรวม(EdPEx)536