Component 7: Indicator 7.4 Executive Results (Leadership and Governance Results)

Component 7 Results

ตัวบ่งชี้ที่ 7.4 ผลด้านผู้บริหาร(ผลลัพธ์ด้านการนำและกำกับองค์กร): Executive Results (Leadership and Governance Results)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-6 ข้อ7 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-5 ประเมิน 80 คะแนน ประเมินแบบ LeTCI

ผลการดำเนินการ

1 ผลลัพธ์ด้านการนำองค์กร การกำกับดูแลองค์กร และการสร้างประโยชน์ให้สังคม (การนำองค์กร) ผลลัพธ์ด้านการสื่อสารของผู้นำระดับสูงและการสร้างความผูกพันกับบุคลากร คู่ความร่วมมือที่เป็นทางการ ผู้เรียน และลูกค้ากลุ่มอื่นมีอะไรบ้าง

การดำเนินการ

ระดับผลการดำเนินการ: ผลลัพธ์ด้านการสื่อสารของผู้นำระดับสูงและการสร้างความผูกพันกับบุคลากร คู่ความร่วมมือที่เป็นทางการ ผู้เรียน และลูกค้ากลุ่มอื่น คือ 1)การพัฒนาสมรรถนะอาจารย์(ด้านการสอน,งานวิจัย,บริการสังคม) 2)ความพึงพอใจของบุคลากรสนับสนุน(ต่อการพัฒนา ปสภ.ระบบงานและ ปสภ.การบริการ) 3)ความพึงพอใจของนักศึกษา(ต่อการร่วมกิจกรรม,พัฒนาสมรรถนะฯ) 4)ความพึงพอใจ(ต่อการใช้ทรัพยากรร่วม และร่วมผลิตบัณฑิต) 5)ปริมาณการใช้บริการ และการใช้บริการซ้ำ  ที่เกิดจากกระบวนการตาม องค์ประกอบที่ 1.1 การนำองค์กร ข้อ 1.1.3 และข้อ 1.1.5 โดย  ผลการดำเนินการในปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับดีมาก ดังปรากฏใน ตารางที่ 7.4-1-01

ตารางที่ 7.4-1-01 การประเมินผลลัพธ์ด้านการสื่อสารของผู้นำระดับสูงและการสร้างความผูกพันกับบุคลากร คู่ความร่วมมือที่เป็นทางการ ผู้เรียน และลูกค้ากลุ่มอื่น

กลุ่ม

ผลลัพธ์

การประเมินผลลัพธ์

คณาจารย์

สมรรถนะ(ด้านการสอน,งานวิจัย,บริการสังคม)

ระดับสมรรถนะอาจารย์ในภาพรวมและรายด้าน มากกว่า 4.51

บุคลากร

สมรรถนะ(ด้านปสภ.ระบบงาน, ปสภ.บริการ)

ระดับสมรรถนะของบุคลากรในภาพรวมและรายด้าน มากกว่า 4.51

ผู้เรียน

พึงพอใจ(ด้านการร่วมกิจกรรม,การพัฒนาสมรรถนะฯ)

ระดับความพึงพอใจของผู้เรียนในภาพรวมและรายด้าน มากกว่า 4.51

คู่ความร่วมมือ  

พึงพอใจ(ใช้ทรัพยากรร่วม, ร่วมผลิต)

ระดับความพึงพอใจของคู่ความร่วมมือในภาพรวมและรายด้าน มากกว่า 4.51

ลูกค้า

ความพึงพอใจ(การใช้บริการ และการใช้บริการซ้ำ)

ระดับความพึงพอใจของลูกค้าในภาพรวมและรายด้าน มากกว่า 4.51

แนวโน้มที่ดี: ผลการดำเนินการ ในปีการศึกษา 2563-2565 พบว่า ผลลัพธ์ด้านการสื่อสารของผู้นำระดับสูงและการสร้างความผูกพันกับบุคลากร คู่ความร่วมมือที่เป็นทางการ ผู้เรียน และลูกค้ากลุ่มอื่น ทุกรายการ มีผลการดำเนินการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง (7.4-1-01)

การเปรียบเทียบกับคู่เทียบเคียง: ผลการดำเนินการของผลลัพธ์ด้านการสื่อสารของผู้นำระดับสูงและการสร้างความผูกพันกับบุคลากร คู่ความร่วมมือที่เป็นทางการ ผู้เรียน และลูกค้ากลุ่มอื่น ทำการเปรียบเทียบกับผลการดำเนินการ 2 ปีที่ผ่านมา คือ ในปีการศึกษา 2563-2564 พบว่า ในปีการศึกษา 2565 ผลลัพธ์ด้านการสื่อสารของผู้นำระดับสูงและการสร้างความผูกพันกับบุคลากร คู่ความร่วมมือที่เป็นทางการ ผู้เรียน และลูกค้ากลุ่มอื่น เพิ่มสูงขึ้น  มีผลการพัฒนาที่สำคัญ เช่น

ความสัมพันธ์ของอธิการบดี กับคณาจารย์และบุคลากร เป็นลักษณะ STIC- Family (7.4-1-02)

คู่ความร่วมมือที่เป็นทางการ มีความร่วมมือตาม MOU ที่กำหนดร่วมกัน เช่น การสนับสนุนทุนการศึกษากับนักศึกษา การเป็นแหล่งฝึกปฏิบัติการ/แหล่งเรียนรู้ให้กับนักศึกษา อย่างต่อเนื่อง(7.4-1-03)

ผู้เรียน สามารถเข้าพบ คณบดี และอธิการบดี ได้ง่าย ทำให้มีความสัมพันธ์ที่ดีตลอดระยะเวลาการศึกษาและ  ยังคงความสัมพันธ์ที่ดีหลังสำเร็จการศึกษา เช่นจัดตั้งกองทุนศิษย์เก่าคณะพยาบาลศาสตร์ ศิษย์เก่าที่ต่างประเทศ เข้ามาพบอธิการบดี และคณบดี ทุกครั้งที่กลับประเทศไทย เป็นต้น

ลูกค้ากลุ่มอื่น มีการใช้บริการซ้ำอย่างต่อเนื่อง ทั้งการบริการวิชาการแบบทั่วไป การบริการวิชาการแบบเฉพาะเจาะจงแบบให้เปล่า  และการบริการวิชาการแบบเฉพาะเจาะจงแบบมีรายได้

การบูรณาการ: ผลลัพธ์ด้านการสื่อสารของผู้นำระดับสูงและการสร้างความผูกพันกับบุคลากร คู่ความร่วมมือที่เป็นทางการ ผู้เรียน และลูกค้ากลุ่มอื่น เป็นผลจากการดำเนินการ ตามองค์ประกอบที่ 1.1 ข้อ 1.1.3 และข้อ 1.1.5   และการดำเนินการ  ในองค์ประกอบที่ 3.2 ความผูกพันกับนักศึกษาและผู้รับบริการ ข้อ 3.2.1 ข้อ 3.2.2 องค์ประกอบที่ 4.1 การวัด วิเคราะห์ผลการดำเนินการ ข้อ 4.1.2 ข้อ 4.1.4 องค์ประกอบที่ 4.2 การเรียนรู้ ข้อ 4.2.1 ข้อ 4.2.2 และองค์ประกอบที่ 5.2 ความผูกพันของคณาจารย์และบุคลากร ข้อ 5.2.1 ข้อ 5.2.2

2 ผลลัพธ์ด้านการนำองค์กร การกำกับดูแลองค์กร และการสร้างประโยชน์ให้สังคม (การกำกับดูแลองค์กร) ผลลัพธ์ด้านความรับผิดชอบในการกำกับดูแลองค์กรมีอะไรบ้าง

การดำเนินการ  

ระดับผลการดำเนินการ: ผลลัพธ์ด้านความรับผิดชอบในการกำกับดูแลองค์กร คือ 1) ผลการปฏิบัติงานของวิทยาลัย 2) ผลการปฏิบัติงานของอธิการบดี 3) ผลการปฏิบัติงานของสภาวิทยาลัย  4) ผลการบริหารความเสี่ยง 5) ผลการสอนของอาจารย์ 6) ผลการจัดการข้อร้องเรียนของวิทยาลัย  ที่เกิดจากกระบวนการในองค์ประกอบที่ 1.2 การกำกับดูแลองค์กรและการสร้างประโยชน์สังคม ข้อ 1.2.1 โดย  ผลการดำเนินการในปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับดีมาก (7.4-2-01)ดังตารางที่ 7.4-2-01

ตารางที่ 7.4-2-01 ผลลัพธ์ด้านความรับผิดชอบในการกำกับดูแลองค์กร

คณะกรรมการ

ผลลัพธ์

การประเมินผลลัพธ์

สภาวิทยาลัย

รายงานผลการปฏิบัติงานของวิทยาลัย

ระดับการปฏิบัติงานในภาพรวมและรายด้าน มากกว่า 4.51

สภาวิทยาลัย

รายงานผลการปฏิบัติงานของอธิการบดี

ระดับการปฏิบัติงานในภาพรวมและรายด้าน มากกว่า 4.51

ธรรมาภิบาล

ผลการปฏิบัติงานของสภาวิทยาลัย

ระดับการปฏิบัติงานในภาพรวมและรายด้าน มากกว่า 4.51

ผลการบริหารความเสี่ยง

ระดับความเสี่ยงคงเหลือไม่เกินระดับปานกลาง

บริหารงานบุคคล

ผลการสอนของอาจารย์

ระดับการประเมินผลการสอนในภาพรวมและรายด้าน มากกว่า 4.51

อุทธรณ์และร้องทุกข์

ผลการจัดการข้อร้องเรียนของวิทยาลัย

ความพึงพอใจในการจัดการข้อร้องเรียนภาพรวมและรายด้าน มากกว่า 4.51

แนวโน้มที่ดี: ผลการดำเนินการ ในปีการศึกษา 2563-2565 พบว่า ผลลัพธ์ด้านความรับผิดชอบในการกำกับดูแลองค์กร ทุกรายการ มีผลการดำเนินการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การเปรียบเทียบกับคู่เทียบเคียง: ผลการดำเนินการของผลลัพธ์ด้านความรับผิดชอบในการกำกับดูแลองค์กร ทำการเปรียบเทียบกับผลการดำเนินการ 2 ปีที่ผ่านมา คือ ในปีการศึกษา 2563-2564 พบว่า ในปีการศึกษา 2565 ผลลัพธ์ด้านความรับผิดชอบในการกำกับดูแลองค์กร เพิ่มสูงขึ้น  มีผลการพัฒนาที่สำคัญ เช่น

1) ผลการปฏิบัติงานของวิทยาลัย พบว่า  ผลการดำเนินการของวิทยาลัย เป็นไปตามวิสัยทัศน์ บรรลุตามเป้าหมาย ในแต่ละพันธกิจอุดมศึกษาที่กำหนด นักศึกษา คณาจารย์และบุคลากรปฏิบัติงาน อย่างมีจริยธรรม ปฏิบัติตนตามธรรมาภิบาลของนักศึกษา และธรรมาภิบาลของคณาจารย์และบุคลากร

2) ผลการปฏิบัติงานของอธิการบดี พบว่า  อธิการบดีของวิทยาลัย ปฏิบัติงานให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติอุดมศึกษาเอกชน อย่างมีจริยธรรม และปฏิบัติตนตามธรรมาภิบาลของอธิการบดี

3) ผลการปฏิบัติงานของสภาวิทยาลัย พบว่า  สภาวิทยาลัย มีการดำเนินการให้เป็นตาม พระราชบัญญัติอุดมศึกษาเอกชน อย่างมีจริยธรรม และปฏิบัติตนตามธรรมาภิบาลของสภาวิทยาลัย

4) ผลการบริหารความเสี่ยง พบว่า  วิทยาลัยสามารถจัดการความเสี่ยงที่สำคัญอย่างได้ผล คือจำนวนนักศึกษาแรกเข้าลดลงไม่มากนักในบางสาขาวิชา และบางสาขาวิชามีจำนวนนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น

5) ผลการสอนของอาจารย์ พบว่า  วิทยาลัยการประเมินผลการสอนของคณาจารย์ทุกภาคเรียน ไม่มีผลการสอนที่ผิดปกติ นักศึกษามีความพึงพอใจทั้ง วิธีการจัดการเรียนรู้ สื่อการสอน การวัดและประเมินผลการสอน

6) ผลการจัดการข้อร้องเรียนของวิทยาลัย พบว่า  วิทยาลัยไม่มีข้อร้องเรียนจากนักศึกษา คณาจารย์ และชุมชน/สังคม

การบูรณาการ: ผลลัพธ์ด้านความรับผิดชอบในการกำกับดูแลองค์กร เป็นผลจากการดำเนินการ ตามองค์ประกอบที่ 1.2 การกำกับดูแลองค์กรและการสร้างประโยชน์สังคม ข้อ 1.2.1 และข้อ1.2.2 องค์ประกอบที่ 4.1 การวัด วิเคราะห์ผลการดำเนินการ ข้อ 4.1.2 ข้อ 4.1.4 องค์ประกอบที่ 4.2 การเรียนรู้ ข้อ 4.2.1 ข้อ 4.2.2 และองค์ประกอบที่ 5.2 ความผูกพันของคณาจารย์และบุคลากร ข้อ 5.2.1 ข้อ 5.2.2 ข้อ 5.2.3

3 ผลลัพธ์ด้านการนำองค์กร การกำกับดูแลองค์กร และการสร้างประโยชน์ให้สังคม (กฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ และการรับรองคุณภาพ) ผลลัพธ์ด้านกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ และการรับรองคุณภาพมีอะไรบ้าง

การดำเนินการ

ระดับผลการดำเนินการ: ผลลัพธ์ด้านกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ และการรับรองคุณภาพประกอบด้วย 6 ผลลัพธ์ ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับใน 4 ผลิตภัณฑ์ และการรับรองคุณภาพ 2 ประการ ได้แก่ 1)คุณภาพผลงานวิจัย 2)คุณภาพหลักสูตร 3)คุณภาพบริการแบบทั่วไป และแบบเฉพาะเจาะจง  4)องค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นจากงานวิจัย 5)การรับรองคุณภาพภายใน  6)การรับรองคุณภาพภายนอก  ที่เกิดจากกระบวนการในองค์ประกอบที่ 1.2 ข้อ 1.2.3 โดย  ผลการดำเนินการในปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับดีมาก ดังตารางที่ 7.4-3-01

ตารางที่ 7.4-3-01 ผลลัพธ์การประพฤติปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ และการรับรองคุณภาพ

ด้าน

ผลลัพธ์

การประเมินผลลัพธ์

กฎหมาย/กฎระเบียบข้อบังคับ

ด้านการวิจัย

คุณภาพผลงานวิจัย

ผลงานวิจัยร้อยละ 100 ดำเนินการตามจรรยาบรรณการวิจัยในมนุษย์

ด้านการศึกษา

มาตรฐานคุณภาพหลักสูตร

หลักสูตร ร้อยละ 100 เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตร

ด้านการบริการวิชาการ

คุณภาพบริการแบบทั่วไป และแบบเฉพาะเจาะจง

มีบริการวิชาการแก่สังคมทั้งแบบทั่วไปที่ให้เปล่า และแบบเฉพาะเจาะจงที่มีรายได้และให้เปล่า

ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

องค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นจากงานวิจัย

มีองค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น 1 เรื่อง/ปี

การรับรองคุณภาพ

การรับรองคุณภาพภายใน

การประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตร คณะ สถาบัน

ระดับหลักสูตร มีค่าเฉลี่ย สูงกว่า 3.01

ระดับคณะ และสถาบัน มีค่าเฉลี่ย สูงกว่า 3.51

การรับรองวิทยฐานะระดับหลักสูตร และ สถาบัน

ระดับหลักสูตร ร้อยละ 100 ได้รับรองวิทยฐานะ

ระดับสถาบัน ได้รับรองวิทยฐานะ

การรับรองคุณภาพภายนอก

การรับรองคุณภาพภายนอก จาก สมศ.

รับรองคุณภาพภายนอก จาก สมศ. ระยะเวลา 5 ปี

การรับรองคุณภาพสถาบัน จาก สภาการพยาบาล

รับรองคุณภาพสถาบัน ระยะเวลา 5 ปี

แนวโน้มที่ดี: ผลการดำเนินการ ในปีการศึกษา 2563-2565 พบว่า ผลลัพธ์ด้านกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ และการรับรองคุณภาพ ทุกรายการ มีผลการดำเนินการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การเปรียบเทียบกับคู่เทียบเคียง: ผลการดำเนินการของผลลัพธ์ด้านกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ และการรับรองคุณภาพ ทำการเปรียบเทียบกับผลการดำเนินการ 2 ปีที่ผ่านมา คือ ในปีการศึกษา 2563-2564 พบว่า ในปีการศึกษา 2565 ผลลัพธ์ด้านกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ และการรับรองคุณภาพ เพิ่มสูงขึ้น  มีผลการพัฒนาที่สำคัญ เช่น

1)คุณภาพผลงานวิจัย พบว่า  ผลการดำเนินการของวิทยาลัย พบว่า ผลงานวิจัยของวิทยาลัยมีคุณภาพ โดยร้อยละ 60 ของผลงานได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ  ในฐานข้อมูล SCOPUS ที่ สป. อว. กำหนด

2)คุณภาพหลักสูตร พบว่า  ผลการดำเนินการบริหารหลักสูตรของวิทยาลัย ทั้ง 20หลักสูตร เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพหลักสูตร ที่ สป.อว. กำหนด หรือกล่าวได้ว่า หลักสูตร ร้อยละ 100 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร

3)คุณภาพบริการแบบทั่วไป และแบบเฉพาะเจาะจง  พบว่า  ผลการดำเนินการของวิทยาลัย ในการให้บริการทางวิชาการแบบทั่วไป แบบให้เปล่า สร้างคุณค่า และมูลค่าให้กับสังคม และการให้บริการทางวิชาการแบบเฉพาะเจาะจง มีทั้งแบบมีรายได้ และแบบให้เปล่า สามารถพัฒนาสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม เป็นไปตามเกณฑ์ มาตรฐานคุณภาพการศึกษาภายนอก(ของ สมศ.)

4)องค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นจากงานวิจัย พบว่า ผลการดำเนินการของวิทยาลัย ก่อ ให้เกิดองค์ความรู้จากศิลปวัฒนธรรมเป็นประจำทุกปี โดยในปีการศึกษา 2565 เกิดองค์ความรู้ ได้ 3 เรื่อง

5)การรับรองคุณภาพภายใน  พบว่า  ผลการดำเนินการของวิทยาลัย ได้รับการรับรองวิทยฐานะในระดับหลักสูตร ทั้ง 20 หลักสูตร และได้รับการรับรองวิทยฐานะในระดับสถาบัน ตลอดจน ได้รับการประเมินการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา เป็นกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ

6)การรับรองคุณภาพภายนอก พบว่า  ผลการดำเนินการของวิทยาลัย ได้รับการรับรองคุณภาพระดับสถาบัน ที่สำคัญ คือ การรับรองคุณภาพการศึกษาระดับสถาบัน จาก สมศ. ระยะเวลา 5 ปี การรับรองคุณภาพสถาบันผลิตพยาบาลวิชาชีพ จาก สภาการพยาบาล ระยะเวลา 5 ปี เป็นต้น

การบูรณาการ: ผลลัพธ์ด้านกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ และการรับรองคุณภาพ เป็นผลจากการดำเนินการ ตามองค์ประกอบที่ 1.2 ข้อ 1.2.3  องค์ประกอบที่ 4.1 การวัด วิเคราะห์ผลการดำเนินการ ข้อ 4.1.2 ข้อ 4.1.4 องค์ประกอบที่ 4.2 การเรียนรู้ ข้อ 4.2.1 ข้อ 4.2.2 และองค์ประกอบที่ 5.2 ความผูกพันของคณาจารย์และบุคลากร ข้อ 5.2.1 ข้อ 5.2.2 ข้อ 5.2.3

4 ผลลัพธ์ด้านการนำองค์กร การกำกับดูแลองค์กร และการสร้างประโยชน์ให้สังคม (จริยธรรม) ผลลัพธ์ด้านการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมมีอะไรบ้าง

การดำเนินการ

ระดับผลการดำเนินการ: ผลลัพธ์ด้านการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม คือ 1)การปฏิบัติตัวอย่างมีจริยธรรมของ นศ. คณาจารย์ 2)การไม่ละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น 3)การสร้างความเข้มแข็งของสังคม  4)ความเชื่อมั่นวิถีความเป็นไทยในสังคมพหุวัฒนธรรม 5)การเข้าถึงทรัพยากร การป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน  ที่เกิดจากกระบวนการในองค์ประกอบที่ 1.2 ข้อ 1.2.4 โดยปีการศึกษา 2565 มีผลการดำเนินการใน ในระดับดีมาก ดังตารางที่ 7.4-4-01

ตารางที่ 7.4-4-01 ผลลัพธ์ด้านการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม ของผู้บริหารและบุคลากร

ด้าน

ผลลัพธ์

การประเมินผลลัพธ์

ผลิตบัณฑิต

การปฏิบัติตัวอย่างมีจริยธรรมของ นศ. คณาจารย์

ร้อยละ100 ของคณาจารย์ไม่มีการกระทำผิดทางจริยธรรม

ร้อยละ100 ของนักศึกษาไม่มีข้อร้องเรียนเรื่องการกระทำผิดทางจริยธรรม

การวิจัย

การไม่ละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น

ร้อยละ100 ของผลงานวิจัย  นศ. คณาจารย์ ไม่มีการละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น

การบริการวิชาการแก่สังคม

การสร้างความเข้มแข็งของสังคม

ความเชื่อมั่นของสังคมต่อวิทยาลัยในการพัฒนาองค์ความรู้สูงกว่า 4.51

ศิลปวัฒนธรรม

ความเชื่อมั่นวิถีความเป็นไทยในสังคมพหุวัฒนธรรม

ความเชื่อมั่นของสังคมต่อวิทยาลัยในการพัฒนาความเป็นไทย ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สูงกว่า 4.51

การบริหารจัดการ

การเข้าถึงทรัพยากร

การป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน

-ร้อยละ100 ของ นศ. คณาจารย์ เข้าถึงทรัพยากรอย่างเท่าเทียม

-ร้อยละ100 ของ นศ. คณาจารย์ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน

-ผลการประเมินทางจริยธรรมของนักศึกษา คณาจารย์และบุคลากร และผู้บริหาร มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า 4.51

แนวโน้มที่ดี: แนวโน้มที่ดี: ผลการดำเนินการ ในปีการศึกษา 2563-2565 พบว่า ผลลัพธ์ด้านการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม ของผู้บริหารและบุคลากร ทุกรายการ มีผลการดำเนินการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การเปรียบเทียบกับคู่เทียบเคียง: ผลการดำเนินการของผลลัพธ์ด้านการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม ของผู้บริหารและบุคลากร ทำการเปรียบเทียบกับผลการดำเนินการ 2 ปีที่ผ่านมา คือ ในปีการศึกษา 2563-2564 พบว่า ในปีการศึกษา 2565 ผลลัพธ์ด้านการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม ของผู้บริหารและบุคลากร เพิ่มสูงขึ้น 

การบูรณาการ: ผลลัพธ์ด้านการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม ของผู้บริหารและบุคลากร เป็นผลจากการดำเนินการ ตามองค์ประกอบที่ 1.2 ข้อ 1.2.4  องค์ประกอบที่ 4.1 การวัด วิเคราะห์ผลการดำเนินการ ข้อ 4.1.2 ข้อ 4.1.4 องค์ประกอบที่ 4.2 การเรียนรู้ ข้อ 4.2.1 ข้อ 4.2.2 และองค์ประกอบที่ 5.2 ความผูกพันของคณาจารย์และบุคลากร ข้อ 5.2.1 ข้อ 5.2.2 ข้อ 5.2.3

5 ผลลัพธ์ด้านการนำองค์กร การกำกับดูแลองค์กร และการสร้างประโยชน์ให้สังคม (สังคม) ผลลัพธ์ด้านความผาสุกของสังคมและการสนับสนุนชุมชนที่สำคัญมีอะไรบ้าง

การดำเนินการ 

ระดับผลการดำเนินการ: ผลลัพธ์ด้านความผาสุกของสังคมและการสนับสนุนชุมชนที่สำคัญ คือ ผลลัพธ์ทางด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนาสังคม และ การพัฒนาเศรษฐกิจ ที่เกิดจากผลการดำเนินการตามกระบวนการในองค์ประกอบที่ 1.2 ข้อ 1.2.5 และ ข้อ 1.2.6 โดย  ผลการดำเนินการในปีการศึกษา 2565 บรรลุตามเป้าหมาย อยู่ในระดับดีมาก ดังตารางที่ 7.4-5-01

ตารางที่ 7.4-5-01 ผลลัพธ์ด้านความผาสุกของสังคมและการสนับสนุนชุมชนที่สำคัญ

ด้าน

ผลลัพธ์

การประเมินผลลัพธ์

สิ่งแวดล้อม

ลดการใช้กระดาษ

การใช้กระดาษในสำนักงานลดลง ร้อยละ 30

ลดการใช้พลังงาน

การใช้พลังงานในสำนักงานลดลง ร้อยละ 10

การใช้ประโยชน์จากของเสีย

แยกขยะขวดน้ำพลาสติก และกระดาษนำไปใช้ประโยชน์  เพื่อให้มีปริมาณขยะลดลงจากเดิม ร้อยละ10

การพัฒนาสังคม

การพัฒนาคุณภาพการศึกษา

ลดปริมาณนักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ จำนวน 2 โรงเรียน/ปี

พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของครู และ นร. จำนวน 10 โรงเรียน/ปี

พัฒนาแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นผ่านสื่อดิจิทัล จำนวน 10 โรงเรียน/ปี

การพัฒนาสุขภาวะ สุขภาพ และคุณภาพชีวิต

พัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุ ผู้ดูแล จำนวน 2 ชุมชน/ปี

พัฒนาสุขภาวะ สุขภาพ ผู้ป่วยติดเตียง จำนวน 8 ชุมชน/ปี

การพัฒนาวิธีปฏิบัติในองค์กร/สมาคม วิชาชีพ

บุคลากรเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารองค์กรวิชาชีพ จำนวน 5 องค์กร

การพัฒนาเศรษฐกิจ

การเพิ่มรายได้ให้กับสังคม

พัฒนา Soft Power การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2 รายการ/ปี

พัฒนา Soft Power การท่องเที่ยวเชิงเกษตร 2 รายการ/ปี

พัฒนา ผลิตภัณฑ์ของ SME ในชุมชน 1 รายการ/ปี

แนวโน้มที่ดี: แนวโน้มที่ดี: ผลการดำเนินการ ในปีการศึกษา 2563-2565 พบว่า ผลลัพธ์ด้านความผาสุกของสังคมและการสนับสนุนชุมชนที่สำคัญ ทุกรายการ มีผลการดำเนินการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การเปรียบเทียบกับคู่เทียบเคียง: ผลการดำเนินการของผลลัพธ์ด้านความผาสุกของสังคมและการสนับสนุนชุมชนที่สำคัญ ทำการเปรียบเทียบกับผลการดำเนินการ 2 ปีที่ผ่านมา คือ ในปีการศึกษา 2563-2564 พบว่า ในปีการศึกษา 2565 ผลลัพธ์ด้านความผาสุกของสังคมและการสนับสนุนชุมชนที่สำคัญ เพิ่มสูงขึ้น มีผลการพัฒนาที่สำคัญ คือ ผลลัพธ์การพัฒนาสังคม ในเรื่องการพัฒนาวิธีปฏิบัติในองค์กร/สมาคม วิชาชีพในระดับนานาชาติ เช่น บุคลากรของวิทยาลัย มีส่วนร่วมพัฒนาการเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพให้กับ องค์กร Order of Malta ประเทศไทย และ องค์กร Order of Malta สากล โดยได้ทำการวิจัย ทดลอง และสร้างรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย แบบ Day-care Service เป็นต้น

การบูรณาการ: ผลลัพธ์ด้านการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม ของผู้บริหารและบุคลากร เป็นผลจากการดำเนินการ ตามองค์ประกอบที่ 1.2 ข้อ 1.2.5 และ ข้อ 1.2.6 องค์ประกอบที่ 4.1 การวัด วิเคราะห์ผลการดำเนินการ ข้อ 4.1.2 และ ข้อ 4.1.4 องค์ประกอบที่ 4.2 การเรียนรู้ ข้อ 4.2.1 และ ข้อ 4.2.2 และองค์ประกอบที่ 5.2 ความผูกพันของคณาจารย์และบุคลากร ข้อ 5.2.1 ข้อ 5.2.2 และ ข้อ 5.2.3

6 ผลการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตร ผ่านองค์ประกอบที่1 มาตรฐานหลักสูตร

ผลการบริหารหลักสูตรของผู้บริหาร ในปีการศึกษา 2565 พบว่าผลการประเมินคุณภาพหลักสูตร ใน องค์ประกอบที่1 มาตรฐานหลักสูตร ผ่านทั้ง 20หลักสูตร และภาพรวมการประเมินคุณภาพ ระดับหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 2- องค์ประกอบที่9  อยู่ในช่วงคะแนนเฉลี่ย 3.26 – 4.64 ดังแสดงใน ภาพที่ 7.4-6-01

ภาพที่ 7.4-6-01 เปรียบเทียบผลการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรในองค์ประกอบที่ 2- องค์ประกอบที่ 9
ปีการศึกษา 2561-2565

7 ผลประเมินการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลทั้ง 10 ประการ มากกว่า 3.51

ผลประเมินการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร ในปีการศึกษา 2565 พบว่า ทุกด้าน สูงกว่า 3.51 นั่นคือ อยู่ในระดับดี – ดีมาก อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบผลการประเมิน ปีการศึกษา 2561-2565 พบว่า มีผลการประเมินลดลง เนื่องจากในปีการศึกษา 2565 มีการปรับปรุงแบบประเมิน และเปลี่ยนคณะกรรมการการประเมิน ตามที่กรรมการสภาวิทยาลัยแต่งตั้ง รายละเอียด ดังแสดงในภาพที่ 7.4 -7-01

ภาพที่ 7.4 -7-01 ผลประเมินการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร ในปีการศึกษา 2561-2565

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

 5 ข้อ

IQA (1-7)

1,2,3,4,5,6,7

 7 ข้อ

5 คะแนน

EdPEx (1-5)

1,2,3

ร้อยละ 30 (จาก80คะแนน)

 24 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐานรายการ
7.4-1-01รายงานผลด้านการสื่อสารของผู้นำระดับสูงและการสร้างความผูกพันกับบุคลากร คู่ความร่วมมือที่เป็นทางการ ผู้เรียน และลูกค้า
7.4-1-02คลิป VDO ความสัมพันธ์ของอธิการบดี กับบุคลากร ที่เป็น STIC- Family
7.4-1-03ภาพกิจกรรมความร่วมมือตาม MOU
7.4-2-01รายงานผลด้านความรับผิดชอบในการกำกับดูแลองค์กร
7.4-3-01รายงานผลการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ และการรับรองคุณภาพ
7.4-4-01รายงานผลด้านการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม ของผู้บริหารและบุคลากร
7.4-5-01รายงานผลด้านความผาสุกของสังคมและการสนับสนุนชุมชน
7.4-5-02ภาพกิจกรรม องค์กร Order of Malta สากล ทำกิจกรรมในการสร้างรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย แบบ Day-care Service
7.4-6-01รายงานผลการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตร
7.4-7-01รายงานผลประเมินการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร