Component 7: Indicator 7.5 Economic Results (Budgetary, Financial, Market, and Strategy Results)

Component 7 Results

ตัวบ่งชี้ที่ 7.5 ผลด้านเศรษฐกิจ(ผลลัพธ์ด้านงบประมาณ การเงิน ตลาด และ กลยุทธ์): Economic Results (Budgetary, Financial, Market, and Strategy Results)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3 ข้อ4 ข้อ5 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐานEdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-3 ประเมิน 90 คะแนน ประเมินแบบ LeTCI

ผลการดำเนินการ

1 ผลลัพธ์ด้านงบประมาณ การเงิน ตลาด (ผลการดำเนินการด้านงบประมาณและการเงิน) ผลลัพธ์ของการดำเนินการด้านการเงินคืออะไร

การดำเนินการ 

ระดับผลการดำเนินการ: ผลลัพธ์ของการดำเนินการด้านการเงิน คือ 1)การควบคุมต้นทุน 2) การดำเนินการด้านงบประมาณ  ที่เกิดจากผลการดำเนินการตามกระบวนการในองค์ประกอบที่ 2.2 ข้อ 2.2.3 โดย  ผลการดำเนินการในปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับดีมาก ดังตารางที่ 7.5-1-01

ตารางที่ 7.5-1-01 ผลลัพธ์ของการดำเนินการด้านการเงิน

ด้าน

ผลลัพธ์

การประเมินผลลัพธ์

การควบคุมต้นทุน

ต้นทุนการดำเนินการเมื่อเทียบกับงบประมาณ

ต้นทุนการดำเนินการในภาพรวมลดลง ร้อยละ 10

ต้นทุนที่ลดลงจากการบริหารที่มีประสิทธิภาพ

ผลการบริหารที่มีประสิทธิภาพมีต้นทุนที่ลดลง ร้อยละ 5

ต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้จากการบริหารความเสี่ยง

ผลการบริหารความเสี่ยงมีต้นทุนที่ลดลง ร้อยละ 5

ค่าใช้จ่ายรายหัวของผู้เรียน

ค่าใช้จ่ายรายหัวของผู้เรียน ลดลงร้อยละ 5

ผลการดำเนินการด้านงบประมาณ

ร้อยละค่าใช้จ่ายด้านการจัดการเรียนรู้ ต่อ งปม.

ค่าใช้จ่ายด้านการจัดการเรียนรู้ ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 25

ร้อยละค่าใช้จ่ายด้านเงินเดือน ต่อ งปม.

ค่าใช้จ่ายด้านเงินเดือน ไม่สูงกว่า ร้อยละ 70

ร้อยละค่าใช้จ่ายของคณะวิขา ต่อ งปม.

ค่าใช้จ่ายของคณะวิชา ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 50

การใช้งบประมาณรายปีต่อผู้เรียน

การใช้งบประมาณรายปีต่อผู้เรียน ลดลงร้อยละ 5

แนวโน้มที่ดี: แนวโน้มที่ดี: ผลการดำเนินการ ในปีการศึกษา 2563-2565 พบว่า ผลลัพธ์ของการดำเนินการด้านการเงิน ทุกรายการ มีผลการดำเนินการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การเปรียบเทียบกับคู่เทียบเคียง: ผลการดำเนินการของผลลัพธ์ของการดำเนินการด้านการเงิน ทำการเปรียบเทียบกับผลการดำเนินการ 2 ปีที่ผ่านมา คือ ในปีการศึกษา 2563-2564 พบว่า ในปีการศึกษา 2565 ผลลัพธ์ของการดำเนินการด้านการเงินที่สำคัญ มีแนวโน้มที่ดีขึ้น มีผลการพัฒนาที่สำคัญ ในการควบคุมต้นทุน ที่มีการบริหารจัดการร่วมกันระหว่างคณะวิชา และจัดการความเสี่ยงเช่นความเสี่ยงในการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้ค่าใช้จ่ายรายหัวลดลง

การบูรณาการ: ผลลัพธ์ของการดำเนินการด้านการเงิน เป็นผลจากการดำเนินการ ตามองค์ประกอบที่ 2.2 ข้อ 2.2.3   องค์ประกอบที่ 4.1 การวัด วิเคราะห์ผลการดำเนินการ ข้อ 4.1.2 และ ข้อ 4.1.4 องค์ประกอบที่ 4.2 การเรียนรู้ ข้อ 4.2.1 และ ข้อ 4.2.2 และองค์ประกอบที่ 5.2 ความผูกพันของคณาจารย์และบุคลากร ข้อ 5.2.1 ข้อ 5.2.2 และ ข้อ 5.2.3

2 ผลลัพธ์ด้านงบประมาณ การเงิน ตลาด (ผลการดำเนินการด้านการตลาด) ผลลัพธ์ของการดำเนินการด้านการตลาด

การดำเนินการ

ระดับผลการดำเนินการ: ผลลัพธ์ของการดำเนินการด้านการตลาด คือ 1)การกำหนดตำแหน่งของวิทยาลัยในตลาดการแข่งขัน 2)การเติบโตของตลาดการผลิตบัณฑิต 3)การเจาะตลาดใหม่ในการผลิตบัณฑิต  ที่เกิดจากผลการดำเนินการตามกระบวนการในองค์ประกอบที่ 2.2 ข้อ 2.2.3  และ องค์ประกอบที่ 4.1 ข้อ 4.1.2 โดย  ผลการดำเนินการในปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับดีมาก ดังตารางที่ 7.5-2-01

ตารางที่ 7.5-2-01 ผลลัพธ์ของการดำเนินการด้านการตลาด

ด้าน

ผลลัพธ์

การประเมินผลลัพธ์

การกำหนดตำแหน่งของวิทยาลัยในตลาดการแข่งขัน

การผลิตบัณฑิตในหลักสูตรด้านการบริการในสาขาที่ขาดแคลน

หลักสูตรปริญญาตรีที่ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ มากกว่า 5 หลักสูตร

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ 1 หลักสูตร เปิดสอนเพียงแห่งเดียว

หลักสูตรระดับปริญญาโท นานาชาติ 3 หลักสูตร จาก 2 คณะวิชา

หลักสูตรระดับปริญญาเอก นานาชาติ 1 หลักสูตร

การผลิตบัณฑิตในหลักสูตรด้านสุขภาพในสาขาที่ขาดแคลน

หลักสูตรปริญญาตรีตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ มากกว่า 2 หลักสูตร

หลักสูตรระดับปริญญาโท นานาชาติ 1 หลักสูตร

แหล่งทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอก

ได้รับทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอก มากกว่า 3 ล้านบาทจาก 3 หน่วยงาน

การบริการวิชาการแบบมีรายได้

รายได้จากการบริการวิชาการ มากกว่า 3 ล้านบาทต่อปี

การเติบโตของตลาดการผลิตบัณฑิต

หลักสูตรระยะสั้น ที่สามารถกู้ยืม กยศ.

เสนอหลักสูตรระยะสั้น 1 หลักสูตร ที่สามารถกู้ยืม กยศ. เข้าระบบแล้ว

หลักสูตรปริญญาโท ที่สามารถกู้ยืม กยศ.

จัดทำกรอบหลักสูตรปริญญาโท 1 หลักสูตร ที่สามารถกู้ยืม กยศ. แล้ว

ขยายการผลิตบัณฑิตหลักสูตรพยาบาลฯ

ขยายการผลิตบัณฑิตหลักสูตรพยาบาลฯ จาก 120 คน เป็น 200 คน

ขยายการผลิตบัณฑิตหลักสูตร ป. บัณฑิต

ขยายการผลิตบัณฑิตหลักสูตร ป. บัณฑิต จาก 3 กลุ่ม เป็น 5 กลุ่ม

การเจาะตลาดใหม่ในการผลิตบัณฑิต

เพิ่มความสำคัญกับผู้เรียนในอนาคต

จัดกิจกรรมความร่วมมือกับโรงเรียนมัธยมฯขนาดใหญ่ มากกว่า 4 จังหวัด

ความร่วมมือกับ 17องค์กรการศึกษา พัฒนาการศึกษาจังหวัดนครนายก

เพิ่มความร่วมมือกับ 4 ผู้ประกอบการร่วมผลิตบัณฑิต

แนวโน้มที่ดี: แนวโน้มที่ดี: ผลการดำเนินการ ในปีการศึกษา 2563-2565 พบว่า ผลลัพธ์ของการดำเนินการด้านการตลาด ทุกรายการ มีผลการดำเนินการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การเปรียบเทียบกับคู่เทียบเคียง: ผลการดำเนินการของผลลัพธ์ของการดำเนินการด้านการตลาด ทำการเปรียบเทียบกับผลการดำเนินการ 2 ปีที่ผ่านมา คือ ในปีการศึกษา 2563-2564 พบว่า ในปีการศึกษา 2565 ผลลัพธ์ของการดำเนินการด้านการตลาดที่สำคัญ มีแนวโน้มที่ดีขึ้น มีผลการพัฒนาที่สำคัญ ในการกำหนดตำแหน่งของวิทยาลัยในตลาดการแข่งขัน คือ การผลิตบัณฑิตในสาขาที่ขาดแคลน และผลการพัฒนาที่สำคัญในการเติบโตของตลาดการผลิตบัณฑิต คือ การยอมรับและมีความต้องการศึกษาต่อทางด้าน การพยาบาลในวิทยาลัยสูงขึ้น ทั้งหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต และหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล

การบูรณาการ: ผลลัพธ์ของการดำเนินการด้านการตลาด เป็นผลจากการดำเนินการ ตามองค์ประกอบที่ 2.2 ข้อ 2.2.3   องค์ประกอบที่ 4.1 การวัด วิเคราะห์ผลการดำเนินการ ข้อ 4.1.1 ข้อ 4.1.2 ข้อ 4.1.3 และ ข้อ 4.1.4 องค์ประกอบที่ 4.2 การเรียนรู้ ข้อ 4.2.1 และ ข้อ 4.2.2 และองค์ประกอบที่ 5.2 ความผูกพันของคณาจารย์และบุคลากร ข้อ 5.2.1 ข้อ 5.2.2 และ ข้อ 5.2.3

3 ผลลัพธ์ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ผลลัพธ์ด้านการบรรลุความสำเร็จของกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการของสถาบันมีอะไรบ้าง

การดำเนินการ

ระดับผลการดำเนินการ: ผลลัพธ์ด้านการบรรลุความสำเร็จของกลยุทธ์ คือ 1)ผลิตบัณฑิตที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติ 2)มีผลงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติ/นานาชาติ 3)สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน  4)สืบสานศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น 5)ยกระดับมาตรฐานการจัดการสู่ความเป็นเลิศ  ที่เกิดจากผลการดำเนินการตามกระบวนการในองค์ประกอบที่ 2.1 ข้อ 2.1.3 ข้อ 2.1.5  และ ผลลัพธ์ด้านการบรรลุความสำเร็จของแผนปฏิบัติการของสถาบัน คือ 1)สมรรถนะบัณฑิต 2)ผลงานวิจัยของคณาจารย์ 3)ศูนย์ความเป็นเลิศสู่ชุมชน  4)องค์ความรู้จากศิลปวัฒนธรรม 5)องค์การแห่งการเรียนรู้  ที่เกิดจากผลการดำเนินการตามกระบวนการในองค์ประกอบที่ 2.2 ข้อ 2.2.5  2.2.6  โดย  ผลการดำเนินการในปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับดีมาก ดังตารางที่ 7.5-3-01 และ ตารางที่ 7.5-3-02

ตารางที่ 7.5-3-01 ผลลัพธ์ด้านการบรรลุความสำเร็จของกลยุทธ์

ด้าน

ผลลัพธ์

การประเมินผลลัพธ์

ผลิตบัณฑิตที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติ

หลักสูตรเป็นไปตามมาตรฐานที่องค์กรวิชาชีพกำหนด

ร้อยละ 100 ของหลักสูตรที่มีองค์กรวิชาชีพ ได้รับการรับรอง

มีผลงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติ/นานาชาติ

ผลงานวิจัยของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และอาจารย์ประจำ ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ/นานาชาติ

ร้อยละ 100 ของผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ และนานาชาติ ตามประกาศของ สป. อว.

สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน

ชุมชนมีความเข้มแข็งในด้านคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น

ความเข้มแข็งชุมชนในคุณภาพชีวิต ทางด้านการศึกษา มากกว่า 9 ชุมชน และด้านสุขภาพ มากกว่า 8 ชุมชน

สืบสานศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น

พัฒนาศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้เป็น Soft Power

Soft Power จากศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น 2 เรื่อง

ยกระดับมาตรฐานการจัดการสู่ความเป็นเลิศ

ประยุกต์ใช้มาตรฐานสากล ในการบริหารจัดการ เพื่อความเป็นเลิศทางการบริหารการศึกษา

ประยุกต์ใช้ AUN-QA ในการบริหารหลักสูตร และ ประยุกต์ใช้ EdPEx ในการบริหารคณะและสถาบัน

ตารางที่ 7.5-3-02 ผลลัพธ์ด้านการบรรลุความสำเร็จของแผนปฏิบัติการ

ด้าน

ผลลัพธ์

การประเมินผลลัพธ์

สมรรถนะบัณฑิต

สมรรถนะบัณฑิตทางวิชาชีพ

สมรรถนะภาษาอังกฤษของบัณฑิต

ร้อยละ 100 ของบัณฑิต ผ่านการประเมินสมรรถนะวิชาชีพ

ร้อยละ 100 ของบัณฑิต ผ่านเกณฑ์สมรรถนะภาษาอังกฤษ

ผลงานวิจัยของคณาจารย์

ผลงานวิจัยของคณาจารย์ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ

ร้อยละ 55 ผลงานวิจัยคณาจารย์ตีพิมพ์วารสารในSCOPUS

ศูนย์ความเป็นเลิศสู่ชุมชน

ศูนย์ความเป็นเลิศที่สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน

มีศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษา และสุขภาพ

องค์ความรู้จากศิลปวัฒนธรรม

องค์ความรู้จากการสืบสานศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น

มี 3 องค์ความรู้จากการสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

องค์การแห่งการเรียนรู้

องค์การแห่งการเรียนรู้ที่มุ่ง “งานได้ผล คนเป็นสุข”

ผลการประเมิน Happy Index มีคะแนนเฉลี่ย สูงกว่า 3.51 

แนวโน้มที่ดี: ผลการดำเนินการ ในปีการศึกษา 2563-2565 พบว่า ผลลัพธ์ด้านการบรรลุความสำเร็จของกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการของสถาบัน ทุกรายการ มีผลการดำเนินการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การเปรียบเทียบกับคู่เทียบเคียง: ผลการดำเนินการของผลลัพธ์ด้านการบรรลุความสำเร็จของกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการของสถาบัน ทำการเปรียบเทียบกับผลการดำเนินการ 2 ปีที่ผ่านมา คือ ในปีการศึกษา 2563-2564 พบว่า ในปีการศึกษา 2565 ผลลัพธ์ด้านการบรรลุความสำเร็จของกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการของสถาบัน มีแนวโน้มที่ดีขึ้น  โดยผลลัพธ์ด้านการบรรลุความสำเร็จของกลยุทธ์ ที่สำคัญคือ กลยุทธ์ของวิทยาลัยทั้ง 5 กลยุทธ์ นำไปสู่การปฏิบัติอย่างได้ผล เป็นไปตามเป้าหมายของแผนระยะสั้นและแผนระยะยาว  สำหรับ ผลลัพธ์ด้านการบรรลุความสำเร็จของแผนปฏิบัติการที่สำคัญคือ บัณฑิตมีสมรรถนะทางวิชาชีพ และสมรรถนะภาษาอังกฤษ เป็นไปตามเป้าหมายคุณภาพ ตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายใน และการประเมินคุณภาพภายนอก

การบูรณาการ: ผลลัพธ์ด้านการบรรลุความสำเร็จของกลยุทธ์ เป็นผลจากการดำเนินการ ตามองค์ประกอบที่ 2.1 ข้อ 2.1.3 ข้อ 2.1.5 ข้อ 2.1.6 สำหรับ ผลลัพธ์ด้านการบรรลุความสำเร็จของแผนปฏิบัติการ เป็นผลจากการดำเนินการ ตามองค์ประกอบที่ 2.2 ข้อ 2.2.5 ข้อ 2.2.6 ข้อ 2.2.7 ตลอดจนผลลัพธ์ด้านการบรรลุความสำเร็จของกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ ดำเนินการบูรณาการร่วมกับกระบวนการตาม องค์ประกอบที่ 4.1 การวัด วิเคราะห์ผลการดำเนินการ ข้อ 4.1.1 ข้อ 4.1.2 ข้อ 4.1.3 และ ข้อ 4.1.4 องค์ประกอบที่ 4.2 การเรียนรู้ ข้อ 4.2.1 และ ข้อ 4.2.2 และองค์ประกอบที่ 5.2 ความผูกพันของคณาจารย์และบุคลากร ข้อ 5.2.1 ข้อ 5.2.2 และ ข้อ 5.2.3

4 บรรลุผลตามตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนปฏิบัติการประจำปี

การดำเนินการ

การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของ วิทยาลัยในปีการศึกษา 2565 พบว่า บรรลุผลสำเร็จ ตามตัวชี้วัดทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ รายละเอียด ดังภาพที่ 7.5.4.1

ภาพที่ 7.5.4.1 การบรรลุผลสำเร็จ ตามตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนปฏิบัติการ
ปีการศึกษา 2562-2565

5 ความคงอยู่หรือเพิ่มขึ้นของผู้รับบริการ

การดำเนินการ

ผลการดำเนินการตามพันธกิจของวิทยาลัย ในปีการศึกษา 2565 เมื่อเปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2563-2564 พบว่า ภาพรวมอัตราการคงอยู่มีแนวโน้มดีขึ้น เช่น อัตราออกกลางคันของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 อัตราการสำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาของหลักสูตร อัตราการคงอยู่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อัตราการคงอยู่ของบุคลากร อัตราการขอรับบริการจากผู้รับบริการทางวิชาการแบบทั่วไป และแบบเฉพาะด้าน อัตราการให้ทุนการศึกษากับนักศึกษาที่ขาดแคลน อัตราการมีงานทำของนักศึกษา เป็นต้น

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

 5 ข้อ

IQA (1-5)

1,2,3,4,5

 5 ข้อ

 5 คะแนน

EdPEx (1-3)

1,2,3

ร้อยละ 30 (จาก90คะแนน)

 27 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐานรายการ
7.5-1-01รายงานผลการดำเนินการด้านการเงิน
7.5-2-01รายงานผลการดำเนินการด้านการตลาด
7.5-3-01รายงานผลด้านการบรรลุความสำเร็จของกลยุทธ์
7.5-3-02รายงานผลด้านการบรรลุความสำเร็จของแผนปฏิบัติการ
7.5-4-01รายงานผลการปฏิบัติการตามแผน ปีการศึกษา 2565
7.5-5-01รายงานการประเมินความคงอยู่หรือเพิ่มขึ้นของผู้รับบริการ