Component 7: Indicator 7.3 Workforce Results (Workforce Results)

Component 7 Results

ตัวบ่งชี้ที่ 7.3 ผลด้านบุคลากร(ผลลัพธ์ด้านบุคลากร): Workforce Results (Workforce Results)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3 ข้อ4-5 ข้อ6 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐานEdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-4 ประเมิน 80 คะแนน ประเมินแบบ LeTCI

ผลการดำเนินการ

1 ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร (ขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร) ผลลัพธ์ด้านขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากรมีอะไรบ้าง

การดำเนินการ   

ระดับผลการดำเนินการ: ผลลัพธ์ด้านขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากรคือ ความสามารถในการผลิตผลงานวิชาการ ได้แก่ 1)เอกสาร หนังสือ ตำรา สื่อการสอน ที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง 2)ผลงานวิจัย 3)องค์ความรู้จากบริการวิชาการ 4)องค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรม (ข้อ 5.1.3)  ขีดความสามารถในการทำงานให้บรรลุผล ได้แก่ 1)ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต และ 2)ชื่อเสียง การยอมรับ การเติบโตของวิทยาลัย (ข้อ 5.1.4) ผลการดำเนินการในปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับดีมาก ดังตารางที่ 7.3-1-01

ตารางที่ 7.3-1-01 ผลลัพธ์ด้านขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร

ผลลัพธ์ด้านขีดความสามารถ

การดำเนินการ

ผลลัพธ์

1) การผลิตผลงานวิชาการ

-การผลิตเอกสารประกอบการสอนหนังสือ ตำรา สื่อการสอน

-ผลการใช้เอกสารประกอบการสอน จากผู้เรียน สูงกว่า 4.51

-ผลการใช้ หนังสือ ตำรา จากผู้เรียน สูงกว่า 4.51

-ผลการใช้ สื่อการสอนที่ทันสมัย จากผู้เรียน สูงกว่า 4.51

-ผลงานวิจัยของคณาจารย์

-ร้อยละ 80 ผลงานวิจัยของคณาจารย์ สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาท้องถิ่น การพัฒนาท้องถิ่น หรือปัญหาระดับประเทศ

-ร้อยละ 80ผลงานวิจัย ใช้ขับเคลื่อนประเทศตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

-ร้อยละ 50 ของคณาจารย์มีผลงานที่ได้รับการอ้างอิงในวารสารทางวิชาการ

-องค์ความรู้จากการบริการวิชาการ

-มีองค์ความรู้ทางด้านสุขภาพ มากกว่า 1 รายการ/ปี/คณะ(ด้านสุขภาพ)

-มีองค์ความรู้ทางด้านการบริการ การท่องเที่ยว การศึกษา แหล่งเรียนรู้ การพัฒนาภาษาอังกฤษ มากกว่า 1 รายการ/ปี/คณะ(ด้านบริการ)

-องค์ความรู้จากศิลปวัฒนธรรม

-มีองค์ความรู้ ทางด้านศิลปวัฒนธรรม มากกว่า 1 รายการ/ปี

-การเผยแพร่องค์ความรู้ ทางด้านศิลปวัฒนธรรมในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ มากกว่า 1 รายการ/ปี

2) ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

-คุณลักษณะบัณฑิต

-ผลการประเมินคุณลักษณะบัณฑิต มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า 4.51 โดยไม่มีคณะใดมีผลการประเมิน ต่ำกว่า 3.51

-สมรรถนะภาษาอังกฤษ

-ผลการประเมินสมรรถนะภาษาอังกฤษ  มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า 4.51 โดยไม่มีคณะใดมีผลการประเมิน ต่ำกว่า 3.51

-ทักษะในศตวรรษที่ 21

-ผลการประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า 4.51 โดยไม่มีคณะใดมีผลการประเมิน ต่ำกว่า 3.51

3) ชื่อเสียง การยอมรับ การเติบโตของวิทยาลัย

-ชื่อเสียง การยอมรับ จากผลงานนักศึกษา/บัณฑิต ระดับชาติ

-นักศึกษาได้รับรางวัล เด็กและเยาวชนดีเด่น จากกระทรวงศึกษาธิการ ในงานวันเด็กแห่งชาติ พ.ศ. 2566

-พยาบาลศาสตร์บัณฑิต สอบใบประกอบวิชาชีพ ได้มากกว่าร้อยละ 80

-บัณฑิตวิชาชีพครู สอบใบประกอบวิชาชีพ ได้มากกว่าร้อยละ 80

-ศึกษาศาสตร์บัณฑิต ทั้งสามหลักสูตร สอบบรรจุเป็นข้าราชการครู ได้เป็นอันดับ 1 ทุกสนามสอบ

-ชื่อเสียง การยอมรับ ในองค์กรวิชาชีพ

-คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น อนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ของคุรุสภา

-คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น กรรมการจริยธรรม ของสภาการพยาบาล

-การเติบโตของวิทยาลัย

-วิทยาลัยผ่านการประเมินรับรองวิทยฐานะระดับปริญญาเอก

-วิทยาลัยผ่านการประเมินการจัดกลุ่มสถาบัน เป็นสถาบันอุดมศึกษากลุ่ม 5

-วิทยาลัยผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก จาก สมศ.

-คณะพยาบาลศาสตร์ ได้รับการรับรองระดับสถาบัน เป็นระยะเวลา 5 ปี

-คณะพยาบาลศาสตร์ ได้รับการรับรองให้สามารถขยายการรับนักศึกษา จาก ปีละ 120 คน เป็น ปีละ 200 คน และสามารถรับนักศึกษาได้เต็มจำนวน

แนวโน้มที่ดี: ผลการดำเนินการ ในปีการศึกษา 2563-2565 พบว่า ผลลัพธ์ด้านขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร ทุกรายการ มีผลการดำเนินการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  (7.3-1-01)

การเปรียบเทียบกับคู่เทียบเคียง: ผลการดำเนินการของคู่เทียบเคียงในประเด็นการผลิตบัณฑิต พบว่า ในปีการศึกษา 2565 มีผลการดำเนินการไม่แตกต่างกัน และกรณีประเด็นพันธกิจอื่น การเปรียบเทียบกับผลการดำเนินการ 2 ปีที่ผ่านมา คือ ในปีการศึกษา 2563-2564 พบว่า ในปีการศึกษา 2565 ผลลัพธ์ด้านการวิจัย การบริการวิชาการ และศิลปวัฒนธรรม เพิ่มสูงขึ้น สำหรับ การสร้างชื่อเสียง การสร้างการยอมรับ ที่สำคัญ เช่น การยอมรับจากองค์การวิชาชีพทางด้านการพยาบาล ด้านการศึกษา และการเติบโตของวิทยาลัย ที่สำคัญ เช่น การขยายการนักศึกษาพยาบาล เพิ่มขึ้น ในสถานการณ์ที่จำนวนผู้เรียนในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ มีจำนวนลดลง เป็นต้น

การบูรณาการ: ผลลัพธ์ด้านขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร เป็นผลจากการดำเนินการด้านขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร องค์ประกอบ 5 ข้อ 5.1.1 ข้อ 5.1.2 ข้อ 5.1.3 ข้อ 5.1.4 และเป็นไปตาม การจัดการเครือข่ายอุปทาน ข้อ 6.1.7 และ การจัดการและปรับปรุงกระบวนการ ข้อ 6.1.4

2 ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร (บรรยากาศการทำงาน) ผลลัพธ์ด้านบรรยากาศการทำงานมีอะไรบ้าง

การดำเนินการ

ระดับผลการดำเนินการ: ผลลัพธ์ด้านบรรยากาศการทำงาน คือ 1)ความพึงพอใจต่อการบริหารหลักสูตร 2)ความพึงพอใจต่อสิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 3)ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมในการทำงาน 4)ความพึงพอใจต่อสิ่งอำนวยความสะดวก ที่เกิดจากกระบวนการสร้างบรรยากาศ สภาวะแวดล้อมของการทำงาน (ข้อ 5.1.3)  ผลการดำเนินการในปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับดีมาก ดังตารางที่ 7.3-2-01

ตารางที่ 7.3-2-01 ผลการดำเนินการจัดสภาวะแวดล้อมการทำงานของคณาจารย์และบุคลากร

ด้าน

ผลลัพธ์

ระดับการจัดสภาวะแวดล้อม

การมุ่งเน้นบุคลากรในงาน

ความพึงพอใจต่อการบริหารหลักสูตร

ความพึงพอใจต่อการบริหารหลักสูตร เฉลี่ย 20 หลักสูตร เท่ากับ4.65 โดยไม่มีหลักสูตรใดต่ำกว่า 3.51

บรรยากาศการทำงาน

ความพึงพอใจต่อสิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

ความพึงพอใจต่อสิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ เฉลี่ย 20 หลักสูตร เท่ากับ 4.55 โดยไม่มีหลักสูตรใดต่ำกว่า 3.51

ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมในการทำงาน เฉลี่ย 20 หลักสูตร เท่ากับ 4.58 โดยไม่มีหลักสูตรใดต่ำกว่า 3.51

สิ่งอำนวยความสะดวกและสวัสดิการ

ความพึงพอใจต่อสิ่งอำนวยความสะดวกและสวัสดิการ

ความพึงพอใจต่อสิ่งอำนวยความสะดวกและสวัสดิการ เฉลี่ย เท่ากับ4.53 โดยไม่มีด้านใดคะแนนเฉลี่ย ต่ำกว่า 3.51

แนวโน้มที่ดี: ผลการดำเนินการ ในปีการศึกษา 2563-2565 พบว่า ผลลัพธ์ด้านบรรยากาศการทำงาน ทุกรายการ มีผลการดำเนินการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  (7.3-2-01)

การเปรียบเทียบกับคู่เทียบเคียง: ผลการดำเนินการของผลลัพธ์ด้านบรรยากาศการทำงาน ทำการเปรียบเทียบกับผลการดำเนินการ 2 ปีที่ผ่านมา คือ ในปีการศึกษา 2563-2564 พบว่า ในปีการศึกษา 2565 ผลลัพธ์ด้านบรรยากาศการทำงาน ทุกรายการ เพิ่มสูงขึ้น

การบูรณาการ: ผลลัพธ์ด้านบรรยากาศการทำงาน เป็นผลจากการดำเนินการด้านขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร องค์ประกอบ 5 ข้อ 5.1.5 ข้อ 5.1.6  และเป็นไปตามการจัดการและปรับปรุงกระบวนการสนับสนุน ข้อ 6.1.5 และ ข้อ 6.1.6

3 ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร (ความผูกพันของบุคลากร) ผลลัพธ์ด้านความผูกพันของบุคลากรมีอะไรบ้าง

การดำเนินการ

ระดับผลการดำเนินการ: ผลลัพธ์ด้านความผูกพันของบุคลากร คือ 1)ความสุขในการทำงาน  2)การคงอยู่  3)การมีส่วนร่วมในการทำงาน  4)ความผูกพันในการทำงาน 5)ความภาคภูมิใจในองค์กร ที่เกิดจากกระบวนการขับเคลื่อนและประเมินความผูกพันของบุคลากร ในองค์ประกอบที่ 5.2 ข้อ 5.2.1 ข้อ 5.2.2 โดย  ผลการดำเนินการในปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับดีมาก ดังตารางที่ 7.3-3-01

ตารางที่ 7.3-3-01 ผลการประเมินความผูกพันของบุคลากร

การดำเนินการ

ผลลัพธ์

ระดับความผูกพัน

ประเมินความสุขในการปฏิบัติงาน

ระดับความสุขในการทำงาน

ระดับความสุขในการทำงานเฉลี่ย  เท่ากับ 4.56 โดยไม่มีด้านใดคะแนนเฉลี่ย ต่ำกว่า 3.51

การลาออกของคณาจารย์และบุคลากร

อัตราการคงอยู่

การคงอยู่ของคณาจารย์ ร้อยละ96.82 บุคลากรร้อยละ 95

ประเมินความมุ่งมั่นในการทำงานให้สำเร็จ

ระดับการมีส่วนร่วมในการทำงาน

ระดับการมีส่วนร่วมในการทำงานเฉลี่ย  เท่ากับ 4.65 โดยไม่มีด้านใดคะแนนเฉลี่ย ต่ำกว่า 3.51

ระดับความผูกพันต่อวิทยาลัย

ระดับความผูกพันของคณาจารย์และบุคลากรต่อวิทยาลัย เฉลี่ย  เท่ากับ 4.65 โดยไม่มีด้านใดคะแนนเฉลี่ย ต่ำกว่า 3.51

ความภาคภูมิใจในองค์กร

ระดับความภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

ระดับความภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรเฉลี่ย  เท่ากับ4.60 โดยไม่มีด้านใดคะแนนเฉลี่ย ต่ำกว่า 3.51

แนวโน้มที่ดี: ผลการดำเนินการ ในปีการศึกษา 2563-2565 พบว่า ผลลัพธ์ด้านความผูกพันของบุคลากร ทุกรายการ มีผลการดำเนินการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  (7.3-3-01)

การเปรียบเทียบกับคู่เทียบเคียง: ผลการดำเนินการของผลลัพธ์ด้านความผูกพันของบุคลากร ทำการเปรียบเทียบกับผลการดำเนินการ 2 ปีที่ผ่านมา คือ ในปีการศึกษา 2563-2564 พบว่า ในปีการศึกษา 2565 ผลลัพธ์ด้านความผูกพันของบุคลากร ทุกรายการ เพิ่มสูงขึ้น

การบูรณาการ: ผลลัพธ์ด้านความผูกพันของบุคลากร เป็นผลจากการดำเนินการขับเคลื่อนและประเมินความผูกพันของบุคลากร องค์ประกอบ 5.2 ข้อ 5.2.1 ข้อ 5.2.2   และเป็นไปตามการจัดการและปรับปรุงกระบวนการสนับสนุน ข้อ 6.1.5 และ ข้อ 6.1.6

4 ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร (การพัฒนาบุคลากร) ผลลัพธ์ด้านการพัฒนาบุคลากรและผู้นำองค์กรมีอะไรบ้าง

การดำเนินการ

ระดับผลการดำเนินการ: ผลลัพธ์ด้านการพัฒนาบุคลากรและผู้นำองค์กร คือ 1)การพัฒนาตนเอง 2)สมรรถนะตามศาสตร์ 3)สมรรถนะการทำงาน  4)สมรรถนะตามความต้องการจำเป็นของวิทยาลัย 5)เข้าสู่เส้นทางเป็นผู้นำในอนาคต 6)การยอมรับในวิชาชีพระดับชาติ ที่เกิดจากกระบวนการจัดการผลการปฏิบัติงานและการพัฒนา ความก้าวหน้าในการงานอาชีพ  ในองค์ประกอบที่ 5.2 ข้อ 5.2.7 โดย  ผลการดำเนินการในปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับดีมาก ดังตารางที่ 7.3-4-01

ตารางที่ 7.3-4-01 ผลลัพธ์ด้านการพัฒนาบุคลากรและผู้นำองค์กร

การจัดการความก้าวหน้า

ผลลัพธ์

ผลการพัฒนา

การพัฒนา ตามความต้องการตนเอง

การพัฒนาตนเอง

ร้อยละ 80ของคณาจารย์และบุคลากรที่ได้พัฒนาตามความต้องการของตนเอง

สมรรถนะตามศาสตร์

ร้อยละ80ของคณาจารย์และบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาตามศาสตร์ของตนเอง

การพัฒนาสมรรถนะการทำงาน(ประเมินโดยหัวหน้างาน)

ระดับสมรรถนะในการทำงานเฉลี่ย  เท่ากับ 4.53 โดยไม่มีด้านใดคะแนนเฉลี่ย ต่ำกว่า 3.51

การพัฒนา ตามความต้องการจำเป็นของวิทยาลัย

สมรรถนะตามความต้องการจำเป็นของวิทยาลัย

ร้อยละ80ของคณาจารย์และบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาตามความต้องการจำเป็นของวิทยาลัย

ร้อยละ 10 ของคณาจารย์และบุคลากรที่พัฒนา และได้รับการเลื่อนตำแหน่งตามเส้นทางอาชีพ

การพัฒนาเพื่อเป็นผู้นำองค์กร

เข้าสู่เส้นทางเป็นผู้นำในอนาคต

คณาจารย์อย่างน้อย 1 คนในแต่ละคณะวิชา ที่พัฒนาตนเองจนเข้าสู่การแต่งตั้งเพื่อการเป็นผู้นำระดับคณะ และระดับสถาบัน

เข้าสู่เส้นทางวิชาชีพระดับชาติและนานาชาติ

การยอมรับในวิชาชีพระดับชาติ

คณาจารย์จำนวน 16 คน พัฒนาตนเองจนได้รับการยอมรับในวงวิชาชีพระดับชาติ

ผู้บริหารจำนวน 5 คน พัฒนาตนเองจนได้รับการยอมรับในวงวิชาชีพระดับชาติ

การยอมรับในวิชาชีพระดับนานาชาติ

คณาจารย์ 16 คน พัฒนาตนเองจนได้รับการยอมรับในวงวิชาชีพระดับนานาชาติ

แนวโน้มที่ดี: ผลการดำเนินการ ในปีการศึกษา 2563-2565 พบว่า ผลลัพธ์ด้านการพัฒนาบุคลากรและผู้นำองค์กร ทุกรายการ มีผลการดำเนินการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  

การเปรียบเทียบกับคู่เทียบเคียง: ผลการดำเนินการของผลลัพธ์ด้านการพัฒนาบุคลากรและผู้นำองค์กร ทำการเปรียบเทียบกับผลการดำเนินการ 2 ปีที่ผ่านมา คือ ในปีการศึกษา 2563-2564 พบว่า ในปีการศึกษา 2565 ผลลัพธ์ด้านการพัฒนาบุคลากรและผู้นำองค์กร ทุกรายการ เพิ่มสูงขึ้น  มีผลการพัฒนาที่สำคัญเช่น

คณาจารย์ที่พัฒนาตนเองจนได้รับการยอมรับในวงวิชาชีพระดับชาติ เช่น      ผศ. ดร. พงศ์เทพ จิระโร ได้รับการเลือกตั้งให้เป็น นายกสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์ แห่งประเทศไทย (7.3-4-01) เป็นต้น

ผู้บริหารที่พัฒนาตนเองจนได้รับการยอมรับในวงวิชาชีพระดับชาติ เช่นเป็นผู้ประเมินคุณภาพภายใน ของ สป.อว. และ/หรือ เป็นผู้ประเมินคุณภาพภายนอก ของ สมศ. ตลอดจนได้รับการแต่งตั้ง เป็นกรรมการ สทศ. เป็นกรรมการในสภาวิชาชีพ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มหาวิทยาลัยต่างๆ แต่งตั้ง เป็นต้น

คณาจารย์ที่พัฒนาตนเองจนได้รับการยอมรับในวงวิชาชีพระดับนานาชาติ ได้รับการจัดอันดับใน ฐานข้อมูล AD Scientific Index – World Science Ranking – 2023 ถึง 16 คน เช่น Vijaya Bhaskara Reddy M., Bhupesh Lohar, รศ. ดร. บุญเรือง ชื่นสุวิมล (7.3-4-02) เป็นต้น

การบูรณาการ: ผลลัพธ์ด้านการพัฒนาบุคลากรและผู้นำองค์กร เป็นผลจากการขับเคลื่อน ผลการปฏิบัติงานและการพัฒนาความก้าวหน้าในการงานอาชีพ  ในองค์ประกอบที่ 5.2 ข้อ 5.2.4 ข้อ 5.2.5 ข้อ 5.2.6 ข้อ 5.2.7  และเป็นไปตามการจัดการและปรับปรุงกระบวนการสนับสนุน ข้อ 6.1.5 และ ข้อ 6.1.6

5 บุคลากรทุกคน ได้รับการพัฒนา มากกว่า 15 ชั่วโมง/ปี

การดำเนินการ

วิทยาลัยมี การพัฒนาคณาจารย์และบุคลากร ไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมง/คน/สัปดาห์  โดยในปีการศึกษา 2565 มีการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากร แต่ละคณะ ดังตารางที่ 7.3-5-01

ตารางที่ 7.3-5-01 การพัฒนาคณาจารย์และบุคลากร จำแนกเป็นรายคณะ

คณะ

จำนวนคณาจารย์และบุคลากร

จำนวนชั่วโมงการพัฒนาเฉลี่ย/คน

คณาจารย์

บุคลากร

รวม

บริหารธุรกิจ

48

1

49

16

มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

13

1

14

20

ศึกษาศาสตร์

36

1

37

20

สาธารณสุขศาสตร์

14

1

15

16

พยาบาลศาสตร์

46

4

50

18

รวม

157

8

165

18

6 Happy Index Workplace ของบุคลากร มากกว่า 3.51

วิทยาลัยมี การวัด Happy Index Workplace ของคณาจารย์และบุคลากร เป็นประจำทุกปี ผลการดำเนินการ ในปีการศึกษา 2565 เปรียบเทียบกับ ปีการศึกษา 2563-2564 พบว่า ระดับดัชนีความสุขในปีการศึกษา 2565 สูงกว่า ปีการศึกษา 2563 แต่ ต่ำกว่า ปีการศึกษา 2564 เล็กน้อย ดังภาพที่ 7.3-6-01

ภาพที่ 7.3-6-01 Happy Index Workplace ของคณาจารย์และบุคลากร ปีการศึกษา 2563-2565

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

5 ข้อ

IQA (1-6)

1,2,3,4,5,6

 6 ข้อ

5 คะแนน

EdPEx (1-4)

1,2,3,4

ร้อยละ 30 (จาก80คะแนน)

 24 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐานรายการ
7.3-1-01รายงานผลด้านขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร
7.3-2-01รายงานผลด้านบรรยากาศการทำงาน
7.3-3-01รายงานผลด้านความผูกพันของบุคลากร
7.3-4-01หนังสือแต่งตั้งให้เป็น นายกสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์ แห่งประเทศไทย
7.3-4-02AD Scientific Index – World Science Ranking – 2023
7.3-4-03รายงานผลด้านการพัฒนาบุคลากรและผู้นำองค์กร
7.3-5-01รายงานผลการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรระดับคณะวิชาและสถาบัน
7.3-6-01Happy Index Workplace ของคณาจารย์และบุคลากร