Component 2: Indicator 2.1 Strategy (Strategy Development)

Component 2 Strategy and Management

ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 กลยุทธ์(การจัดทำกลยุทธ์) : Strategy (Strategy Development)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-6 ข้อ7-8 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-6 ประเมิน 45 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

1 กระบวนการจัดทำกลยุทธ์ (กระบวนการวางแผนกลยุทธ์) สถาบันมีวิธีการอย่างไรในการวางแผนกลยุทธ์ ขั้นตอนสำคัญของการวางแผนมีอะไรบ้าง ผู้เกี่ยวข้องที่สำคัญมีใครบ้าง กรอบเวลาของการวางแผนระยะสั้น ระยะยาวคืออะไร และสถาบันมีวิธีการอย่างไรทำให้กระบวนการวางแผนกลยุทธ์มีความสอดคล้องกับกรอบเวลาดังกล่าว กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ได้คำนึงถึงความจำเป็นที่อาจเกิดขึ้นของสถาบันในเรื่อง การเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉม การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องที่ริเริ่มขึ้นเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ความคล่องตัวของสถาบัน อย่างไร

การดำเนินการ

แนวทาง: คณะกรรมการนโยบายและแผนวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา  ทำหน้าที่กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย กลยุทธ์ แผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี และแผนปฏิบัติการประจำปี ด้วยการวิเคราะห์ศักยภาพของวิทยาลัย (SWOT) ความต้องการและความคาดหวังของ ลูกค้าตามตารางที่ op1 ข 2-1 และความต้องการและความคาดหวังของ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตามตารางที่ op1 ข 2-2 ถึง ตารางที่ op1 ข 2-5 โดยนำข้อมูลจากการวิเคราะห์ มากำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจของสถาบัน เพื่อสร้างความได้เปรียบและโอกาสเชิงกลยุทธ์ คือการเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งการสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพบนพื้นฐานความเป็นนานาชาติ และการมีสมรรถนะทางวิชาชีพและสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษที่เป็นเลิศ ให้มีความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ของวิทยาลัย กับ ยุทธศาสตร์อุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม มาตรฐานการศึกษาของชาติกรอบแนวทางปฏิรูปการศึกษา และยุทธศาสตร์การวิจัยของประเทศ โดยแผนยุทธศาสตร์มีกรอบระยะเวลาดำเนินการในระยะยาว ระยะ 5 ปีจากนั้นนำแผนยุทธศาสตร์ไปดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี ซึ่งเป็นแผนระยะสั้น นำเสนอต่อสภาวิทยาลัยอนุมัติ

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: คณะกรรมการนโยบายและแผนวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนทุกคณะ/หน่วยงาน นำแผนและกลยุทธ์ที่ได้รับอนุมัติ  มอบให้คณะกรรมการนโยบายและแผนระดับคณะ นำไปสู่การปฏิบัติ โดยใช้ข้อมูลที่ได้จาก การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการปีการศึกษาที่ผ่านมา ข้อมูลจากผลการควบคุมคุณภาพ และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ไปดำเนินการให้สอดคล้องกับตัวชี้วัด พันธกิจ นโยบาย และเป้าหมายของแผนยุทธศาสตร์ และให้เป็นไปตามกรอบเวลา โดยมี คณะกรรมการ นโยบายและแผนวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน ติดตาม ตรวจสอบ การดำเนินการตามกลยุทธ์ และให้มีการรายงานผลการดำเนินการเป็นประจำทุกปี  

การเรียนรู้: คณะกรรมการนโยบายและแผนวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา พบว่า การดำเนินการตามกลยุทธ์ โดยใช้ข้อมูลการวิเคราะห์ศักยภาพ ความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และข้อมูลผลการดำเนินการที่ผ่านมาไม่เพียงพอต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว คณะกรรมการจึงได้นำประเด็นอื่นที่เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงมาใช้ในการจัดทำกลยุทธ์ด้วย ได้แก่ กฎ ระเบียบ และนโยบาย ของ สป.อว.  การเปลี่ยนแปลงอุดมศึกษาแบบพลิกโฉม ความจำเป็นในการดำเนินการร่วมกับคู่ความร่วมมือ ความคล่องตัวของสถาบันในการรองรับผู้เรียนกลุ่มใหม่ เป็นต้น มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของกลไกการขับเคลื่อนกลยุทธ์ให้ประสบความสำเร็จ

การบูรณาการ: จากการประเมินผลกระบวนการจัดทำกลยุทธ์ วิทยาลัยจึงพัฒนากระบวนการจัดทำกลยุทธ์ โดยบูรณาการกระบวนการให้สอดคล้องกับขีดความสามารถของบุคลากร ความเสี่ยงของวิทยาลัย และ ข้อเสนอแนะจากสภาวิทยาลัย เพื่อให้บรรลุตามความต้องการและความหวังของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  ตลอดจน การบรรลุตามวิสัยทัศน์ของวิทยาลัย ดังภาพที่ 2.1-1.01

ภาพที่ 2.1-1.01 กระบวนการจัดทำกลยุทธ์แบบบูรณาการ

2 กระบวนการจัดทำกลยุทธ์ (นวัตกรรม) กระบวนการจัดทำกลยุทธ์ของสถาบันกระตุ้นและทำให้เกิดนวัตกรรมได้อย่างไร

การดำเนินการ

แนวทาง: การจัดทำกลยุทธ์ ที่เกิดจากการวิเคราะห์ศักยภาพของวิทยาลัย ให้สอดคล้องกับ ความต้องการและความคาดหวังของ ลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เกิดการเรียนรู้ร่วมกันของคณะกรรมการนโยบายและแผนฯ  เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการจัดการความรู้ การเกิดแนวปฏิบัติที่ดี การเกิดแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ เกิดการเทียบเคียงในมิติต่างๆ มีโอกาสเกิดเป็นนวัตกรรมทางการเรียนรู้

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: คณะกรรมการนโยบายและแผนฯ ให้คณะกรรมการทำการวิเคราะห์กลยุทธ์เชิงเปรียบเทียบ เช่น กลยุทธ์ของสถาบันอุดมศึกษามีการเรียนการสอนในคณะวิชาที่ใกล้เคียงกัน กรณีกลยุทธ์การรับนักศึกษาใหม่ภายใต้สถานการณ์ของการแพร่ระบาดของโควิด19 เป็นต้น

การเรียนรู้: การจัดการความรู้จากกระบวนการจัดทำกลยุทธ์ที่ผ่านมา ทำให้เกิด การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบตามหลักการ 4 มิติของบาลานสกอร์การ์ด ซึ่งเกิดเป็น นวัตกรรมทางการเรียนรู้

การบูรณาการ: กระบวนการจัดทำกลยุทธ์ในปัจจุบัน มีการบูรณาการ หลักการ 4 มิติของบาลานสกอร์การ์ด กับ การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล และการบริหารตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกิดนวัตกรรม การกำหนดกลยุทธ์บนหลักการ เศรษฐกิจพอเพียงตาม มิติของบาลานสกอร์การ์ด

3 กระบวนการจัดทำกลยุทธ์ (การวิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ์) สถาบันมีวิธีการอย่างไรที่รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพัฒนาสารสนเทศเพื่อใช้ในกระบวนการวางแผนกลยุทธ์

การดำเนินการ

แนวทาง: กระบวนการรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการจัดทำกลยุทธ์ ประกอบด้วยการรวบรวมข้อมูลจากภายในและข้อมูลจากภายนอก โดยมีสำนักนโยบายและแผน เป็นผู้รวบรวมข้อมูล และนำเสนอต่อ คณะกรรมการนโยบายและแผนทำการวิเคราะห์ เพื่อใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ โดยข้อมูลจากภายในที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ มีหน่วยงานสารสนเทศ พัฒนาระบบ AIS ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: สำนักนโยบายและแผน ทำการรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานและคณะกรรมการต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลภายในและภายนอกที่ครบถ้วน เช่น คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการจัดการความรู้ คณะกรรมการวิจัย คณะกรรมการบริการวิชาการ คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา ข้อมูลจากคณะวิชาต่างๆ เป็นต้น

ภาพที่ 2.1-3-01 กระบวนการรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล

การเรียนรู้: กระบวนการรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ ในระยะแรกเกิดจากการรวบรวมผ่านการสื่อสารทางเดียว เช่นจากแบบสอบถาม หรือการวิเคราะห์เอกสาร  ซึ่งได้ข้อมูลที่ดีในระดับหนึ่ง ต่อมาคณะกรรมการ/คณะวิชา ได้เพิ่มกระบวนการรวบรวมข้อมูลทางตรง คือการสัมภาษณ์ หรือพูดคุยกับลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พันธมิตร และคู่ความร่วมมือ ทั้งจากการไปนิเทศนักศึกษา การประชุมปรึกษาหารือ หรือระหว่างการทำกิจกรรมร่วมมือกัน ทำให้ได้ข้อมูลที่จะมาใช้ในการวิเคราะห์ได้อีกแนวทางหนึ่ง 

การบูรณาการ: สำนักนโยบายและแผน ได้นำกระบวนการรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล ที่ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น และประเทศ เชิงภารกิจและพื้นที่ มาบูรณาการกับ พันธกิจอุดมศึกษาที่สะท้อนอัตลักษณ์ของวิทยาลัย ดังภาพที่ 2.1-3-01

4 กระบวนการจัดทำกลยุทธ์ (ระบบงานและสมรรถนะหลัก) สถาบันมีวิธีการอย่างไรในการตัดสินใจว่ากระบวนการสำคัญใดจะดำเนินการโดยบุคลากรของสถาบัน และกระบวนการใดจะดำเนินการจากภายนอกโดยผู้ส่งมอบ คู่ความร่วมมือ ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

แนวทาง: การตัดสินใจว่ากระบวนการใดในการจัดทำกลยุทธ์ จะต้องดำเนินการตามระบบงานหรือสมรรถนะหลัก ของผู้ส่งมอบ หรือคู่ความร่วมมือ ตามตาราง op1 ข 3-1 ถึง ตาราง op1 ข 3-4 วิทยาลัยพิจารณาจากข้อกำหนดที่สำคัญในการดำเนินการ เช่น MOU, TOR    

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: วิทยาลัยกำหนดให้ คณะวิชา/หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องตาม ตาราง op1 ข 3-1 ถึง ตาราง op1 ข 3-4 รวบรวมข้อมูล ส่งให้กับสำนักนโยบายและแผน เพื่อใช้ในการจัดทำหรือทบทวนกลยุทธ์ ตามระยะเวลาที่กำหนด หรือทันทีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดที่สำคัญ

แนวทาง: การตัดสินใจว่ากระบวนการใดในการจัดทำกลยุทธ์ จะต้องดำเนินการตามระบบงานหรือสมรรถนะหลัก ของผู้ส่งมอบ หรือคู่ความร่วมมือ ตามตาราง op1 ข 3-1 ถึง ตาราง op1 ข 3-4 วิทยาลัยพิจารณาจากข้อกำหนดที่สำคัญในการดำเนินการ เช่น MOU, TOR    

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: วิทยาลัยกำหนดให้ คณะวิชา/หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องตาม ตาราง op1 ข 3-1 ถึง ตาราง op1 ข 3-4 รวบรวมข้อมูล ส่งให้กับสำนักนโยบายและแผน เพื่อใช้ในการจัดทำหรือทบทวนกลยุทธ์ ตามระยะเวลาที่กำหนด หรือทันทีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดที่สำคัญ

ภาพที่ 2.1-4-01 กระบวนการจัดทำกลยุทธ์ ที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาการศึกษาของประเทศ

การเรียนรู้: วิทยาลัยได้มีการนำระบบงานหรือสมรรถนะหลัก ของผู้ส่งมอบ หรือคู่ความร่วมมือ มาใช้ร่วมกับ ระบบงานหรือสมรรถนะหลัก ของวิทยาลัย อย่างระมัดระวัง โดยคำนึงถึงคุณภาพของทุกผลผลิตที่เกิดขึ้น ต้องตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

การบูรณาการ: วิทยาลัยได้บูรณาการ กระบวนการจัดทำกลยุทธ์ ให้เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาการศึกษาของประเทศ ดังภาพที่ 2.1-4-01

5 วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ) วัตถุประสงค์ของสถาบันมีอะไรบ้าง

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยกำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ดังนี้ 1)ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ 2)ผลิตงานวิจัย ผลงานวิชาการ และนวัตกรรมที่มีคุณภาพในระดับชาติและนานาชาติ 3)บริการวิชาการที่สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน/สังคม 4)สืบสานและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และค่านิยมอันดีงามของไทย 5)ยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการสถาบันสู่ความเป็นเลิศ 

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: การดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ได้นั้น วิทยาลัยใช้หลักการบริหารงานแบบทั่วถึงทั้งองค์การ(TQM) ที่ประกอบด้วย การมุ่งเน้นที่ลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การพัฒนาระบบงานอย่างต่อเนื่อง และการมีส่วนร่วมของทุกคนในองค์การ นั่นคือ มีการสื่อสารให้กับบุคลากรในทุกระดับ ให้มีส่วนร่วม ตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมวางแผนกำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ร่วมกันจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ร่วมกันประเมินผล และร่วมกันพัฒนา ในการประชุมร่วมกัน และในการทำงานร่วมกันในรูปคณะกรรมการต่างๆ

การเรียนรู้: การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ สร้างคุณภาพให้เกิดขึ้นกับผลผลิต ทั้งที่เป็น สมรรถนะบัณฑิต สมรรถนะคณาจารย์ และสมรรถนะของวิทยาลัย

ภาพที่ 2.1-5-01 การกำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์แบบทั่วถึงทั้งองค์การ

การบูรณาการ: วิทยาลัย ได้นำกระบวนการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ มาบูรณาการกับ      ธรรมาภิบาลของผู้บริหาร ทำให้การกำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ผ่านการนำองค์การ ในทุกระดับ ทั้งในระดับคณะ และระดับสถาบัน ดังภาพที่ 2.1-5-01

6 วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (การพิจารณาวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์) วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของสถาบันสามารถสร้างความสมดุลอย่างเหมาะสมกับความต้องการที่มีความหลากหลาย และที่มีโอกาสจะแข่งขันกันเองได้อย่างไร

การดำเนินการ

แนวทาง: วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของวิทยาลัย ได้พิจารณาให้เชื่อมโยงกับพันธกิจของอุดมศึกษา 5 พันธกิจคือ 1)จัดการศึกษาบนพื้นฐานความเป็นนานาชาติอย่างมีคุณภาพ  2)สร้างงานวิจัย งานวิชาการ นวัตกรรม นำไปสู่การใช้ประโยชน์ในสังคม 3)บริการวิชาการแก่สังคม เพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชนในการพึ่งพาตนเอง 4)สืบสานและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมนานาชาติ 5)เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และการแข่งขัน สามารถสร้างความสมดุล ให้กับ ลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตามตารางที่  op1 ข 2-1  และ ตามตารางที่ op1 ข 2-2 ถึง ตารางที่ op1 ข 2-5 และสร้างโอกาสทางการแข่งขัน ได้จากการดำเนินการใน 4 มิติ คือ การเรียนรู้และการพัฒนา การมีกระบวนการภายในที่ชัดเจน การคำนึงถึงลูกค้าและผู้รับบริการ และการคำนึงถึงต้นทุนทางการเงิน

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: วิทยาลัยถ่ายทอด การกำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของวิทยาลัย ที่เชื่อมโยงกับพันธกิจของอุดมศึกษา ผ่านกระบวนการแบบมีส่วนร่วมของบุคลากร ในการร่วมคิด ร่วมกันวางแผนปฏิบัติการประจำปี ร่วมกันทำโครงการ/กิจกรรม ร่วมกันประเมินตาม 4 มิติของการดำเนินการ เพื่อให้เกิดผลผลิตตามที่วิทยาลัยกำหนด

ภาพที่ 2.1-6-01 การพิจารณาวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ บนพื้นฐานของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

การเรียนรู้: วิทยาลัยทำการประเมินความสมดุล ของ ลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความต้องการที่หลากหลาย ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ตามตารางที่ op2 ก 2-1  และให้สอดคล้องกับโอกาสในการแข่งขัน ตามตารางที่ op2 ก 3-1 โดยใช้ 3 ปัจจัยความสำเร็จของการบริหารกลยุทธ์ คือ 1)Efficiency 2)Effectiveness 3)Productivity

การบูรณาการ: วิทยาลัยได้ทำการบูรณาการ การพิจารณาวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ โดยมีการประเมินความสมดุล และโอกาสในการแข่งขัน กับการดำเนินการบนพื้นฐานของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้เหมาะสมกับขนาดของวิทยาลัย และในบริบทของวิทยาลัย ดังภาพที่ 2.1-6-01

7 กลยุทธ์ที่จัดทำ ทำให้บรรลุความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ที่กำหนด

การดำเนินการ

วิทยาลัย มีการจัดทำกลยุทธ์ ที่ให้วิสัยทัศน์ “เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ” ประสบความสำเร็จ รวม 10 กลยุทธ์ ประกอบด้วย 1)พัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของสังคมไทยและภูมิภาคอาเซียน 2)พัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะทางปัญญา และมีสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษ 3)ผลิตผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ และนวัตกรรมที่มีคุณภาพระดับชาติ 4)พัฒนาเครือข่ายการผลิตผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ และนวัตกรรมทั้งในและต่างประเทศ 5)ยกระดับความเชี่ยวชาญของบุคลากร และให้บริการทางวิชาการในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง  6)เร่งรัดพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศตามความเชี่ยวชาญ 7)ส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรทุกระดับและนักศึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมนานาชาติ 8)เร่งรัดพัฒนาสถาบันให้เป็นอุดมศึกษาสีเขียว 9)บริหารงานด้านหลักธรรมาภิบาล มุ่งสู่องค์การที่มีสมรรถนะสูง 10)เร่งรัดพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ส่งเสริมการปฏิบัติงาน

8 กลยุทธ์ที่จัดทำ สอดคล้องกับแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ

การดำเนินการ

กลยุทธ์ที่วิทยาลัยจัดทำ สอดคล้องกับแผนการศึกษาชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ มาตรฐานการศึกษาชาติ และ แผนอุดมศึกษา โดยปัจจุบัน วิทยาลัยได้ผ่านการประเมินการจัดกลุ่มสถาบัน ของ สป. อว. โดยเป็นสถาบันอุดมศึกษา กลุ่ม 5 กลุ่มวิชาชีพ และสาขาวิชาจำเพาะ ตามแผนยกระดับและพัฒนาความเป็นเลิศ หรือ แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

5 ข้อ

IQA (1-8)

1,2,3,4,5,6,7, 8

 8 ข้อ

5 คะแนน

EdPEx (1-6)

1,2,3,4,5

ร้อยละ 30

(จาก45 คะแนน)

13.5 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐานรายการ
2.1-01คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและแผน
2.1-02แผนยุทธศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563-2567)
2.1-03บทความวิจัยเรื่อง The Effectiveness of Administration which Applies the Sufficiency Economy Philosophy According to the Balanced Scorecard Perspective of St Theresa International College โดย Vichian Puncreobutr et. al. ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ Turkish Online Journal of Qualitative Inquiry, 12(7), 8935 – 8944
2.1-04แผนยุทธศาสตร์วิทยาลัยนานาชาติเซ็นต์เทเรซา ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563-2567)
2.1-05แผนยกระดับและพัฒนาความเป็นเลิศ กลุ่ม 5 กลุ่มวิชาชีพ และสาขาวิชาจำเพาะ