Component 6: Indicator 6.2 Effectiveness (Operational Effectiveness)

Component 6 Operations

ตัวบ่งชี้ที่ 6.2 ประสิทธิผล(ประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน): Effectiveness (Operational Effectiveness)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3 ข้อ4-5 ข้อ6 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-4 ประเมิน 40 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

1 ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการ สถาบันมีการจัดการต้นทุน ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการปฏิบัติการอย่างไร

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยควบคุมต้นทุนโดยรวมของระบบปฏิบัติการต่างๆ ผ่านการบริหารงบประมาณตามแผนปฏิบัติการประจำปี สำหรับการควบคุมประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติการ ผ่านการติดตามผลการดำเนินการตามตัวชี้วัดของแต่ละโครงการและกิจกรรม

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: งานนโยบายและแผน รับผิดชอบตรวจสอบการใช้งบประมาณ ตามโครงการและกิจกรรม ของคณะ/หน่วยงานต่างๆ ให้เป็นไปตามกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติในแผนปฏิบัติการประจำปี ตรวจสอบการบรรลุตามตัวชี้วัดความสำเร็จจากรายงานผลการปฏิบัติงานตามโครงการ/กิจกรรมต่างๆ ทุกระยะ 3 เดือน แล้วรายงานต่อคณะกรรมการผู้บริหารทุกระยะ 6 เดือน เพื่อ ทบทวน หรือ ปรับปรุง การใช้ทรัพยากรร่วมกัน ที่ช่วยลดต้นทุน มีประสิทธิภาพ หรือ ลดข้อผิดพลาด ลดระยะเวลาในการดำเนินการ ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ทั้งนักศึกษา ผู้ปฏิบัติการ อาจารย์ และผู้ใช้บริการ

การเรียนรู้: การใช้ทรัพยากรร่วมกันที่สำคัญ คือการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างสาขาวิชา ในคณะเดียวกัน เช่น โครงการศึกษาดูงานในสถานประกอบการ ของสาขาวิชาการควบคุมการจราจรทางอากาศ และสาขาวิชาการบิน  หรือการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ของระหว่างคณะวิชา เช่น การพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ด้านการวัดและประเมินผล ของคณะศึกษาศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์ฯ ทำให้ต้นทุนโดยรวมลดลง โดยความสำเร็จตามตัวชี้วัดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ไม่แตกต่างไปจากเดิม

การบูรณาการ: การควบคุมต้นทุนโดยรวมของระบบปฏิบัติการต่างๆ ผ่านการบริหารงบประมาณตามแผนปฏิบัติการประจำปี โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การใช้ Google drive สามารถลดการใช้กระดาษในการถ่ายเอกสารประกอบการประชุม หรือการใช้ Drive shared ในการส่งหนังสือภายใน หรือสำเนาหนังสือส่ง สำเนาหนังสือสั่งการ หรือการใช้ Google form สำหรับการประเมินผลต่างๆ ทำให้ลดต้นทุนด้านธุรการได้ โดยกระบวนการทำงานต่างๆ ยังคงมี ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ตามตัวชี้วัดที่กำหนด

2 ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ สถาบันมีวิธีการอย่างไรเพื่อทำมั่นใจว่าข้อมูลและสารสนเทศที่อ่อนไหวหรือเป็นสิทธิพิเศษ (Privilege) และสินทรัพย์ที่สำคัญของสถาบัน มีความปลอดภัย

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัย กำหนดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัย ข้อมูลและสารสนเทศที่อ่อนไหวหรือเป็นสิทธิพิเศษ(Privilege) ภายใต้ พรบ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และการรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ และ ความปลอดภัยของสินทรัพย์ที่สำคัญของวิทยาลัย ตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: คณะกรรมการความเสี่ยงของวิทยาลัย และงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ร่วมกันวิเคราะห์ความเสี่ยง จัดทำแผนบริหารความเสี่ยง และดำเนินการลดความเสี่ยง ทั้ง การรักษาความปลอดภัย ข้อมูลและสารสนเทศที่อ่อนไหวหรือเป็นสิทธิพิเศษ(Privilege) และ การรักษาความปลอดภัยของสินทรัพย์ที่สำคัญ โดยรายงานผลการดำเนินการต่อคณะกรรมการผู้บริหาร อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง หรือ ทันทีที่พบเหตุการณ์ผิดปกติที่มีผลต่อความปลอดภัย

การเรียนรู้: การจัดการความเสี่ยงในการรักษาความปลอดภัย มีดังนี้

การรักษาความปลอดภัย ข้อมูลและสารสนเทศที่อ่อนไหวหรือเป็นสิทธิพิเศษ(Privilege) มีการใช้มาตรการที่สำคัญ ประกอบด้วย 1)ใช้โปรแกรมป้องกันการเข้าถึงข้อมูล 2) ตรวจสอบความผิดปกติในระบบทุกวัน 3)สำรองข้อมูลทุกระยะ 1 สัปดาห์ 4)สำรองข้อมูลทุกวัน

การรักษาความปลอดภัยของสินทรัพย์ที่สำคัญ มีการใช้มาตรการที่สำคัญ ประกอบด้วย 1)มีหน่วยรักษาความปลอดภัยคัดกรองบุคคลเข้าในอาคารที่สำคัญตลอด 24 ชั่วโมง 2)ติดตั้งกล้องวงจรปิด ทุกจุดที่มีสินทรัพย์สำคัญ และเส้นทางที่สำคัญ 3)จัดลำดับการเคลื่อนย้ายสินทรัพย์ที่สำคัญเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน 4)จัดจุดรวมพลกรณีมีเหตุการณ์อัคคีภัย 5)จัดอบรมความปลอดภัยด้านอัคคีภัยภายในอาคาร และการซ้อมอพยพหนีไฟ การเคลื่อนย้ายสินทรัพย์ที่สำคัญ  6)จัดให้มีการตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ดับเพลิง 7)จัดให้มีการตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ 8)จัดให้มีทางหนีไฟในทุกอาคาร และการตรวจสอบเส้นทางหนีไฟอย่างสม่ำเสมอ

การบูรณาการ: วิทยาลัยมีการใช้มาตรการรักษาความปลอดภัย ข้อมูลและสารสนเทศที่อ่อนไหว ครอบคลุม ทั้งสารสนเทศงานวิชาการ การจัดการเรียนรู้ออนไลน์ รวมถึงงานสนับสนุนต่างๆ เช่น ข้อมูลงานทะเบียนนักศึกษา ข้อมูลการสำเร็จการศึกษา ฐานข้อมูลห้องสมุดดิจิทัล วารสารออนไลน์ของวิทยาลัย (SJHS) เป็นต้น

3 การเตรียมพร้อมด้านความปลอดภัยและภาวะฉุกเฉิน (ความปลอดภัย) สถาบันดูแลให้มีสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติการที่ปลอดภัยได้อย่างไร

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัย กำหนดให้ใช้กระบวนการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ดูแลให้สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติการของวิทยาลัย มีความปลอดภัย

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: คณะกรรมการจัดการความเสี่ยง คณะ และ งานอาคารสถานที่ ร่วมกันดำเนินการ ตามกระบวนการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่ประกอบด้วย 1)รวบรวม/ทบทวน สิ่งคุกคามและความเสี่ยงด้านความปลอดภัย และค้นหาความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติการของวิทยาลัย 2)จัดทำวัตถุประสงค์การเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัย 3)จัดทำแผนป้องกันด้านความปลอดภัยและมาตรการแก้ไขหากเกิดเหตุการณ์ 4)สื่อสาร ประชาสัมพันธ์กับนักศึกษาและบุคลากร และชี้แจงกับผู้ปฏิบัติหน้าที่ 5)ดำเนินการตามแผนเมื่อเกิดเหตุการณ์ และ/หรือ ซักซ้อมตามกระบวนการทำงาน 6)กำกับ ติดตาม ตรวจเยี่ยม สำรวจความปลอดภัย  วิเคราะห์ผลการดำเนินการ และรายงานผล เสนอต่อคณะกรรมการผู้บริหารอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง

การเรียนรู้: วิทยาลัยมีการดูแลสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติการของวิทยาลัย ให้มีความปลอดภัย ทั้งการปรับสภาพแวดล้อม การจัดบุคลากร และการใช้อุปกรณ์  มีรายละเอียด ดังตารางที่ 6.2-3-01

ตารางที่ 6.2-3-01 การดูแลสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติการของวิทยาลัย ให้มีความปลอดภัย

สภาพแวดล้อม

สิ่งคุกคาม

วัตถุประสงค์

การดำเนินการ

การใช้ถนน

การข้ามถนนก่อนเข้าวิทยาลัย

ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุขณะข้ามถนน

จัด รปภ. อำนวยความสะดวกขณะข้ามถนน

ถนนตัดผ่านพื้นที่ของวิทยาลัย

ป้องกันอุบัติเหตุกับรถจักรยานยนต์

-จัดทำ ลูกคลื่นบนถนน ก่อนถึงจุดตัดผ่าน

-จัด รปภ. ให้สัญญาณ ในช่วงเวลาเร่งด่วน

ลดความสูญเสียจากการขับขี่ รถจักรยานยนต์

-รณรงค์ ให้นักศึกษา คณาจารย์สวมใส่หมวกนิรภัย

-รณรงค์ ให้ขับขี่ด้วยความเร็วต่ำในพื้นที่จุดตัดผ่าน

ห้องปฏิบัติการ

การใช้สารเคมี/วัตถุออกฤทธิ์

ป้องกันอันตรายจากสารเคมี/วัตถุออกฤทธิ์ ในระหว่างทำการทดลอง

-ให้นักศึกษาใช้อุปกรณ์ป้องกันที่กำหนด

-ติดตั้ง อุปกรณ์ล้างสารเคมีในห้องปฏิบัติการ

การบูรณาการ: การดูแลสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติการของวิทยาลัยนอกจากการทบทวน/ค้นหา สิ่งคุกคาม ของคณะกรรมการฯ แล้ว มีการใช้ข้อมูลที่ได้รับจากนักศึกษา ผู้ใช้บริการ และข้อมูลจากอุบัติการณ์ นอกจากนี้ นักศึกษายังมีส่วนร่วมในการดูแลสภาพแวดล้อมของวิทยาลัย เช่น สโมสรนักศึกษา จัดการรณรงค์ การสวมใส่หมวกนิรภัย การลดความเร็วเมื่อขับขี่ยานพาหนะในวิทยาลัย และการระมัดระวังเมื่อข้ามจุดตัดผ่าน ในการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น ในการแข่งขันกีฬาสี ในการจัดงานวันความปลอดภัย เป็นต้น

4 การเตรียมพร้อมด้านความปลอดภัยและภาวะฉุกเฉิน (ความต่อเนื่องทางธุรกิจ) สถาบันมีวิธีการอย่างไรเพื่อให้มั่นใจว่ามีการเตรียมพร้อมต่อภัยพิบัติหรือภาวะฉุกเฉิน

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยมีการจัดทำแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต(Business Continuity Plan: BCP) เพื่อเตรียมความพร้อม และสามารถนำไปใช้ในการตอบสนองและปฏิบัติงานในสภาวะวิกฤติ หรือเหตุการณ์ฉุกเฉิน โดยไม่ให้สภาวะวิกฤติหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ส่งผลให้วิทยาลัยต้องหยุดการดำเนินการจัดการเรียนการสอน หรือหยุดการดำเนินกิจกรรมต่างๆ หรือยังคงมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: ฝ่ายแผนและวิจัย ร่วมกับฝ่ายต่างๆ และคณะวิชา รับผิดชอบในการพิจารณาจัดทำแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต(Business Continuity Plan: BCP) โดยได้มีการกำหนด สภาวะวิกฤต ที่เกิดจาก ภัยธรรมชาติ (เช่น น้ำท่วม) อุบัติเหตุ (เช่นอัคคีภัยในสถานประกอบการ) การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ หรือเหตุการณ์อื่นๆ โดยทันทีที่เกิดสภาวะวิกฤติ ให้มีคณะกรรมการบริหารความต่อเนื่อง(Business Continuity Plan Team: BCP Team) ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนแผน BCP

กระบวนการจัดทำ BCP ประกอบด้วย การรับทราบเหตุฉุกเฉิน การวิเคราะห์ผลกระทบต่อกระบวนการทำงานหรือการให้บริการ(Business Impact Analysis: BIA) การกำหนดทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้เพื่อการดำเนินการต่อเนื่องในสภาวะวิกฤต และการกำหนดกลยุทธ์ความต่อเนื่องให้สอดคล้องกับทรัพยากร

แผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตของวิทยาลัย ประกอบด้วย การตอบสนองต่อเหตุการณ์ทันที การตอบสนองระยะสั้น การตอบสนองระยะกลาง และการซักซ้อมแผน/การฝึกซ้อมแผน ทั้งแบบการฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะ(Table Top Exercise) และ การฝึกซ้อมเฉพาะหน้าที่(Function Exercise)

การเรียนรู้: แผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต(Bisiness Continuity Plan: BCP) ที่มีการนำไปใช้ที่ผ่านมาคือ การใช้เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 รายละเอียดในการดำเนินการเตรียมความพร้อม ดังแสดงในตารางที่ 6.2-4-01

ตารางที่ 6.2-4-01 การดำเนินการตามแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต COVID-19

การบริหารความต่อเนื่อง

กิจกรรม

กลยุทธ์ความต่อเนื่อง

การแจ้งเหตุฉุกเฉิน

(การตอบสนองทันที)

-การประเมินความเสียหายและผลกระทบ

-การสำรวจ นศ./บุคลากรที่ติดเชื้อ การทำทะเบียนประวัติการรักษา

-การสื่อสารและรายงานสถานการณ์ให้ นศ./ผู้ปกครอง/บุคลากร

-สำรวจผลกระทบต่อการให้บริการ และทบทวนความสามารถรับมือฯ

-การจัดให้บุคลากรแบบ ไป-กลับ ให้เข้าพักในหอพักของวิทยาลัย

การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์

(การตอบสนองระยะสั้น)

-การเตรียมระบบสารสนเทศและบุคลาการ

-ระบบสารสนเทศเพื่อการรองรับการสอน/งานธุรการแบบออนไลน์

-การอบรมบุคลากรเพื่อใช้สื่อออนไลน์ในการสอน/งานธุรการ

-การจัดการเรียนรู้

-การสอนออนไลน์ โดยใช้ Google Classroom/ Google Meet

-การบรรยาย ผ่าน Pod-Cast/ Pod-Bean

-การส่งงาน ผ่าน e-Port Folio/ Clip ภาพ/ Clip เสียง

-การจัดสัมมนาแบบ Webinar /การใช้ e-PLC.

-การใช้ Application ต่างๆ ในการวัดและประเมินผล

-การประชุม การเผยแพร่นวัตกรรมการสอนที่เป็น BP การสร้างขวัญ

-การศึกษาดูงานของ นศ.

-การส่งตัวแทนเข้าไปศึกษาดูงาน ควบคู่กับใช้ FB Live /You Tube

การจัดการเรียนการสอนในที่ตั้ง (on site) ในระหว่างการแพร่ระบาด

(การตอบสนองระยะกลาง)

-การขอเป็นหน่วยเปิดสอนระหว่างการแพร่ระบาด

-การยื่นขอเป็นสถาบันที่เปิดสอนในระหว่างการแพร่ระบาด

-การรับการประเมินจากจังหวัด และหน่วยงานต่างๆ

-การให้ความรู้บุคลากร และคนงานไม่ให้ติดเชื้อ/เมื่อติดเชื้อ

-การรับการตรวจติดตามการดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐาน

-การสื่อสารกับชุมชน การสร้างความเข้าใจ/จัดการข้อร้องเรียน

-การป้องกันการแพร่ระบาด

-การอบรมบุคลากรเพื่อตรวจคัดกรอง

-การตรวจคัดกรอง และการส่งต่อเมื่อพบผู้ติดเชื้อ

-การเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และการพ่น/เช็ดเพื่อฆ่าเชื้อ

-การเตรียมพื้นที่สำหรับการสังเกตอาการ/กักตัว

-การจัดการเรียนรู้

-การเข้าเรียนในห้องเรียนแบบสลับกลุ่ม

-การฝึกภาคปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ การฝึกงาน แบบกลุ่มเล็ก

การบูรณาการ: วิทยาลัยกำหนดแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำงานสำคัญ และกระบวนการสนับสนุนที่สำคัญ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอน การผลิตบัณฑิต และการดำเนินการตามพันธกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่มีผลกระทบต่อผู้เรียน ลูกค้า หรือผู้รับบริการ

5 การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทสังคมดิจิทัลที่ทันสมัย

การดำเนินการ

วิทยาลัย มีแหล่งเรียนรู้ที่เป็นสื่อดิจิทัลของวิทยาลัย เช่น ฐานข้อมูลการวิจัย ฐานข้อมูลวารสาร และ e-Book ให้บริการ ณ ศูนย์วิทยบริการ นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือกับหอสมุดต่างๆ เพื่อการสืบค้นแหล่งเรียนรู้ที่เป็นสื่อดิจิทัล ระหว่างมหาวิทยาลัยด้วย สำหรับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทสังคมดิจิทัลนั้น คณะวิชาต่างๆ ได้ดำเนินการจัดทำ ทั้งเพื่อการเรียนรู้ของนักศึกษา คณาจารย์ของวิทยาลัย และ เพื่อการบริการวิชาการแก่สังคมด้วย เช่นคณะมนุษยศาสตร์ จัดทำ Nakhon Nayok Channel คณะศึกษาศาสตร์ จัดทำ ฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและปราชญ์ท้องถิ่นในจังหวัดนครนายก การจัดทำ You Tube Channel ทางการศึกษา  และ Pod-cast ทางการศึกษา เป็นต้น

6 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม

การดำเนินการ

วิทยาลัยมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการจัดการศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ในหลายระดับ  เช่น เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออก เครือข่ายวิจัยและนวัตกรรมภาคตะวันออก เครือข่ายครูคืนถิ่นภาคกลางตอนล่าง เครือข่ายการประกันคุณภาพการศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนานาชาติ(IQAN) เครือข่ายพัฒนาการศึกษาตามโครงการ SEAMEO STEM-Ed เครือข่ายพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครนายก เครือข่ายศิลปวัฒนธรรมจังหวัดนครนายก  ตลอดจน มีการจัดทำ MOU ร่วมกันกับโรงเรียนต่างๆ ในภาคตะวันออก จำนวนมาก

สำหรับเครือข่ายความร่วมมือระดับนานาชาติ ในการจัดการศึกษา มีการจัดทำ MOU ร่วมกัน เช่น ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย South Wale, East London, Pattern(USA) เป็นต้น

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

5 ข้อ

IQA (1-6)

1,2,3,4,5,6

 6 ข้อ

 5 คะแนน

EdPEx (1-4)

1,2,3,4

ร้อยละ 30

(จาก40 คะแนน)

12 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐานรายการ
6.2-01รายงานการประชุมคณะกรรมการผู้บริหาร
6.2-02รายงานผลการปฏิบัติงานตามโครงการ/กิจกรรมต่างๆ ระยะ 3 เดือน
6.2-03รายงานผลการปฏิบัติงานตามโครงการ/กิจกรรมต่างๆ ระยะครึ่งปี
6.2-04รายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี
6.2-05ภาพระบบความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
6.2-06ภาพระบบกล้องวงจรปิดเพื่อความปลอดภัยของสินทรัพย์และบุคลากร
6.2-07ภาพการรณรงค์สวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่
6.2-08ภาพระบบความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
6.2-09คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความต่อเนื่อง
6.2-10แผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตของวิทยาลัย
6.2-11You Tube Channel ทางการศึกษา และ Pod-cast ทางการศึกษา
6.2-12MOU กับเครือข่ายต่างๆ

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเอง IQAEdPEx
ตัวบ่งชี้ที่ 6.1513.50
ตัวบ่งชี้ที่ 6.2512
คะแนนเฉลี่ย(IQA)/คะแนนรวม(EdPEx) 525.50