Component 3: Indicator 3.1 Expectations (Customer Expectations)

Component 3 Students and Customers

ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 ความคาดหวัง (ความคาดหวังของลูกค้า) : Expectations (Customer Expectations)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3 ข้อ4-5 ข้อ6 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-4 ประเมิน 40 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

1 การรับฟังผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น (ผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นที่มีอยู่ในปัจจุบัน) สถาบันมีวิธีการอย่างไรในการรับฟัง ปฏิสัมพันธ์ และสังเกตผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ได้

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยจำแนกผู้เรียนและลูกค้าในปัจจุบัน ออกเป็น 3 กลุ่ม ที่ประกอบด้วย Pre-Customer, Customer, Post Customer การรับฟังเสียง จึงกำหนดให้สัมพันธ์กันกับผู้เรียนและลูกค้าในแต่ละกลุ่ม

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: วิทยาลัยกำหนดให้ อาจารย์แนะแนว อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นิเทศ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ประชาสัมพันธ์ และกิจการนักศึกษา ร่วมกันรับฟังเสียงของ ผู้เรียนและลูกค้า ในแต่ละกลุ่มที่สัมพันธ์กับงานและความรับผิดชอบ ผลการรับฟังให้ประชาสัมพันธ์นำไปจัดทำเป็นสารสนเทศ เช่น ความต้องการและความคาดหวัง ความพึงพอใจ ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ฯลฯ เสนอต่อ อธิการบดีอย่างน้อย ภาคเรียนละ 1 ครั้ง

การเรียนรู้: ผู้รับผิดชอบในการรับฟังเสียงของ ผู้เรียนและลูกค้า ได้ร่วมกันกำหนดช่องทางการรับฟังและช่องทางการสื่อสาร ดังตารางที่ 3.1-1-01

ตารางที่ 3.1-1-01 ช่องทางการรับฟังเสียงของผู้เรียนและลูกค้า

รายการ

กลุ่มผู้เรียนและลูกค้า

Pre-Customer

Customer

Post Customer

เป้าหมาย

สร้างการรับรู้

สร้างความเชื่อมั่น

สร้างความประทับใจ

สร้างการสนับสนุน

สร้างการใช้บริการซ้ำ

สร้างการแนะนำและบอกต่อ

ช่องทางการรับฟัง

Face-to-face channel

Digital channel

Face-to-face channel

Written channel

Digital channel

Face-to-face channel

Written channel

Digital channel

การบูรณาการ: วิทยาลัย ได้ให้คณะทำงานรับฟังเสียงของผู้เรียนและลูกค้า นำเอาข้อมูลที่ได้จากการร้องเรียนต่างๆ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการรับฟังเสียงของลูกค้าแต่ละกลุ่มด้วย

2 การรับฟังผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น (ผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นที่พึงมี) สถาบันมีวิธีการอย่างไรในการรับฟังผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นที่พึงมีเพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำไปใช้ได้

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยได้กำหนดการรับฟังผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นที่พึงมี/อาจมี เช่นการรับฟังเสียงลูกค้าของคู่แข่ง เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ใช้ในการออกแบบการบริการหรือการสร้างผลิตภัณฑ์ของวิทยาลัยในอนาคต

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: วิทยาลัยกำหนดให้มีคณะทำงานรับฟังผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นที่พึงมี ที่ประกอบด้วย อาจารย์แนะแนว อาจารย์นิเทศ ประชาสัมพันธ์ และกิจการนักศึกษา ร่วมกันรับฟัง เสียงผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น และ ร่วมกันรับฟังเสียงผู้เรียนและลูกค้าของคู่แข่ง เช่น สถาบันอุดมศึกษาที่มีกลุ่มเป้าหมายและลูกค้าใกล้เคียงกัน หรือ สถาบันอุดมศึกษาที่วิทยาใช้เป็นคู่เทียบเคียง  ผลการรับฟังให้ประชาสัมพันธ์นำไปจัดทำเป็นสารสนเทศ เช่น ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจเลือก สภาพแวดล้อมที่สร้างความพึงพอใจ จุดเด่นของการบริการที่สร้างความพึงพอใจ/ประทับใจ  จุดอ่อนของการบริการ ฯลฯ และนำเสนอต่อ อธิการบดี อย่างน้อย ภาคเรียนละ 1 ครั้ง

การเรียนรู้: การรับฟังเสียงผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น และ การรับฟังเสียงผู้เรียนและลูกค้าของคู่แข่ง สามารถดำเนินการในลักษณะที่ไม่เป็นทางการ เช่น การสังเกต การพูดคุย การสัมภาษณ์ การประชุม การสัมมนาหรือการทำงานร่วมกัน

การบูรณาการ: วิทยาลัย ได้ให้คณะทำงาน นำข้อมูลการรับฟังเสียงของผู้เรียนและลูกค้าในปัจจุบัน และการรับฟังเสียงของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น มาจัดลำดับความสำคัญ และนำไปทบทวนกับแผนปฏิบัติการประจำปี

3 การจำแนกกลุ่มผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น และการกำหนดการจัดการศึกษา วิจัย และบริการวิชาการ (การจำแนกกลุ่มผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นและการกำหนดการตามพันธกิจ) สถาบันมีวิธีการอย่างไรในการกำหนดกลุ่มผู้เรียน ลูกค้ากลุ่มอื่น และส่วนแบ่งการตลาด

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัยจำแนกผู้เรียนและลูกค้า ทั้ง 3 กลุ่ม คือ Pre-Customer, Customer, Post Customer ตามพันธกิจและผลิตภัณฑ์ของวิทยาลัย

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: รองอธิการบดี และ คณบดี ร่วมกันจำแนกผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น ตามพันธกิจและผลิตภัณฑ์ของวิทยาลัย โดยการประชุมร่วมกันเป็นประจำทุกปี เพื่อให้การให้บริการกับผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น แต่ละกลุ่มสัมพันธ์กัน ตลอดจนลดความซ้ำซ้อนในการประสานงาน และซ้ำซ้อนในพื้นที่บริการ

การเรียนรู้: การจำแนกผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น ตามพันธกิจและผลิตภัณฑ์ของวิทยาลัย ในบางกลุ่ม อาจมีกลุ่มเป้าหมายผู้เรียนและลูกค้า ซ้ำกัน อาจพิจารณาใช้สื่อสำหรับการสื่อสารร่วมกัน หรือร่วมกันดำเนินกิจกรรมร่วมกัน ดังตารางที่ 3.1-3-01

ตารางที่ 3.1-3-01 การจำแนกผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น ตามพันธกิจของวิทยาลัย

พันธกิจ

กลุ่มผู้เรียนและลูกค้า

Pre-Customer

Customer

Post Customer

ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ

1)นักเรียนชั้นมัธยมปลาย

2)พนักงานที่ต้องการ up-skill

1)นักศึกษาปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา

2)ผู้เข้ารับการอบรม/สัมมนา

1)ศิษย์เก่า

2)ผู้ผ่านการอบรม/สัมมนา

ผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพ

หน่วยงานความร่วมมือ/ผู้ให้ทุนวิจัย

ผู้รับบริการการวิจัย/ที่ปรึกษาการวิจัย

ผู้ใช้ผลการวิจัย

บริการวิชาการกับสังคม

หน่วยงาน/องค์กร/สังคม/ชุมชน

หน่วยงาน/องค์กร/สังคม/ชุมชน

หน่วยงาน/องค์กร/สังคม/ชุมชน

สืบสานศิลปวัฒนธรรม

หน่วยงาน/องค์กร/สังคม/ชุมชน

หน่วยงาน/องค์กร/สังคม/ชุมชน

หน่วยงาน/องค์กร/สังคม/ชุมชน

บริหารสู่ความเป็นเลิศ

สถานประกอบการ

สถานประกอบการ

สถานประกอบการ

การบูรณาการ: วิทยาลัย ส่งเสริมให้คณะวิชา มีการบูรณาการการจัดการเรียนรู้ การวิจัย การบริการวิชาการ และการสืบสานศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล โดยให้ระบุแผนการดำเนินการใน มคอ.3/ มคอ.4 และรายงานผลการดำเนินการ ใน มคอ.5/ มคอ.6

4 การจำแนกกลุ่มผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น และการกำหนดการจัดการศึกษา วิจัย และบริการวิชาการ (การจัดการศึกษา วิจัย และบริการวิชาการ) สถาบันมีวิธีการอย่างไร

การดำเนินการ

แนวทาง: วิทยาลัย มีวิธีการ จัดการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการ ดังนี้

การจัดการศึกษาของวิทยาลัย ให้ความสำคัญกับผู้เรียนตั้งแต่การเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนก่อนเข้าศึกษา และในระหว่างการจัดการศึกษา ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ผู้เรียนมีสมรรถนะทางวิชาชีพ มีทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 และมีสมรรถนะทางด้านภาษาอังกฤษ

การวิจัยของวิทยาลัย ให้ความสำคัญกับการวิจัยที่สอดคล้องกับบริบทของวิทยาลัย และ/หรือสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ และการพัฒนาคุณภาพให้เกิดการอ้างอิงทางวิชาการ

การบริการวิชาการของวิทยาลัย ให้ความสำคัญกับการบริการวิชาการแบบทั่วไป และการบริการวิชาการแบบเฉพาะเจาะจงจากหน่วยงานที่ร้องขอ ตามบริบท เชิงพื้นที่ และการพัฒนาประเทศ

การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ: วิทยาลัยกำหนดให้สำนักวิชาการ ดำเนินการควบคุม กำกับ ติดตาม กระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา กำหนดให้คณะกรรมการวิจัยดำเนินการควบคุม กำกับ ติดตาม กระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการวิจัย และกำหนดให้คณะกรรมการบริการวิชาการดำเนินการควบคุม กำกับ ติดตาม กระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการบริการวิชาการ

การเรียนรู้: ผลการดำเนินการที่ประสบผลสำเร็จอย่างต่อเนื่อง ได้มีการถอดบทเรียนเป็นแนวปฏิบัติที่ดี เช่นแนวปฏิบัติที่ดีด้านการจัดการศึกษา แนวปฏิบัติที่ดีด้านการแนวปฏิบัติที่ดีด้านการบริการวิชาการ แนวปฏิบัติที่ดีด้านการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม อย่างเช่น แนวปฏิบัติที่ดีด้านการเตรียมความพร้อมภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ก่อนเข้าเรียน เป็นต้น ดังภาพที่ 3.1-4-01

ภาพที่ 3.1-4-01 แนวปฏิบัติที่ดีด้านการเตรียมความพร้อมภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ก่อนเข้าเรียน

การบูรณาการ: วิทยาลัยมีการบูรณาการการพัฒนาผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น กับการประกันคุณภาพการศึกษา ในระดับหลักสูตร และระดับคณะ ดังภาพที่ 3.1-4-02

ภาพที่ 3.1-4-02 การพัฒนาผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นในระดับหลักสูตรและระดับคณะ

5 พัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาในระดับชาติและนานาชาติ

การดำเนินการ

ระบบการพัฒนาผู้เรียนของวิทยาลัย ประกอบด้วย การนำมาตรฐานคุณภาพระดับอุดมศึกษา และมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ มาเป็นใช้ในการจัดการเรียนการสอน ให้เป็นไปตามผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา และผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาชาติ  และจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านการวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาในระดับชาติและนานาชาติ ดังภาพที่ 3.1-5-01

ภาพที่ 3.1-5-01 ระบบการพัฒนาผู้เรียนของวิทยาลัย

6 บริหารหลักสูตรให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

การดำเนินการ

วิทยาลัยมีการบริหารหลักสูตร ให้ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ทักษะผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษา ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ที่ทำให้ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจในระดับสูง ดังภาพที่ 3.1-6-01

ภาพที่ 3.1-6-01 การบริหารหลักสูตร ให้ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

 5 ข้อ

IQA (1-6)

1,2,3,4,5,6

 6 ข้อ

 5 คะแนน

EdPEx (1-4)

1,2,3,4

ร้อยละ 30

(จาก40 คะแนน)

 12 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐานรายการ
3.1-01แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน
3.1-02แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการห้องสมุด
3.1-03แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการวิชาการ
3.1-04แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต
3.1-05คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียน
3.1-06ระบบสารสนเทศการฝึกทักษะภาษาอังกฤษสำหรับผู้เรียน
3.1-07แนวปฏิบัติที่ดีของวิทยาลัย