Component 7: Indicator 7.1 Student Results (Student Learning, Customer-Focused Service Results, Process Results)

Component 7 Results

ตัวบ่งชี้ที่ 7.1 ผลด้านผู้เรียน(ผลลัพธ์ด้านผู้เรียน และบริการ/กระบวนการ ต่อลูกค้ากลุ่มอื่น): Student Results (Student Learning, Customer-Focused Service Results, Process Results)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3 ข้อ4-5 ข้อ6 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐานEdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-4 ประเมิน 120 คะแนน ประเมินแบบ LeTCI

ผลการดำเนินการ

1 ผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน และด้านบริการที่มุ่งเน้นลูกค้า ผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน และด้านบริการที่ตอบสนองผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นคืออะไร

การดำเนินการ

ระดับผลการดำเนินการ: ผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน และด้านบริการที่มุ่งเน้นลูกค้า ของคณะที่กำหนด เป็น 3 ผลิตภัณฑ์หลัก ตอบสนองต่อกลุ่มลูกค้าทุกกลุ่ม อยู่ในระดับดี-ดีมาก ทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์  ทั้งนี้ ผู้ที่รับผิดชอบในแต่ละผลิตภัณฑ์ ได้รายงานผลต่อ คกก.บริหาร แล้ว

แนวโน้มที่ดี: ผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน และด้านบริการที่ตอบสนองผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น แยกตามกลุ่มผลิตภัณฑ์หลัก และ ผลการดำเนินการ ปีการศึกษา 2563-2565 มีดังนี้

ผลิตภัณฑ์ด้านการวิจัย คือ ร้อยละผลงานวิจัยตอบโจทย์ของลูกค้าผู้ให้ทุนวิจัย  ร้อยละผลงานวิจัยที่สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาท้องถิ่น/สังคมการพัฒนาท้องถิ่น/สังคม หรือตอบสนองต่อปัญหาระดับประเทศ  ร้อยละผลงานวิจัยที่สอดคล้องกับการขับเคลื่อนประเทศตามแผนพัฒนาชาติ 20 ปี   ร้อยละของผลงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิงในวารสารทางวิชาการ  มีแนวโน้มสูงขึ้น

ผลิตภัณฑ์ด้านการศึกษา คือ ผลลัพธ์การจัดการเรียนรู้ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง   คะแนน TOEIC ของนักศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษา ในระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท  สมรรถนะวิชาชีพของบัณฑิต  ทักษะที่จำเป็นตามคุณลักษณะที่เป็นความต้องการของประเทศ  ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตระดับปริญญาตรีตามกรอบคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ  ร้อยละของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนดในหลักสูตร  การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการของบัณฑิตปริญญาโท   ผลงานวิจัยของบัณฑิตปริญญาโทสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ หรือความต้องการของหน่วยงาน/ภาคอุตสาหกรรม   การนำความรู้และทักษะวิชาชีพระดับปริญญาโทไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางาน  มีแนวโน้มสูงขึ้น ร้อยละของหลักสูตรที่ผ่านการกำกับมาตรฐาน   ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่มีงานทำหรือประกอบอาชีพอิสระใน 1 ปี  อยู่ในระดับร้อยละ 100 อย่างต่อเนื่อง   

ผลิตภัณฑ์ด้านบริการวิชาการ คือ คุณค่าที่โรงเรียนได้รับจากการรับบริการทางวิชาการ  คุณค่าที่ชุมชนได้รับจากการรับบริการทางวิชาการ   ทักษะที่ผู้รับบริการคาดหวังจากการรับบริการทางวิชาการ ความเข้มแข็งของชุมชนที่ได้ประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากการรับบริการทางวิชาการ มีแนวโน้มสูงขึ้น

การเปรียบเทียบกับคู่เทียบเคียง: วิทยาลัยเทียบเคียงผลการดำเนินการกับ มหาวิทยาลัยอื่น ใน ผลิตภัณฑ์ด้านการศึกษา สำหรับ ผลิตภัณฑ์ด้านการวิจัย และ ผลิตภัณฑ์ด้านการบริการวิชาการ ทำการเทียบเคียงกับผลการดำเนิน 2 ปีที่ผ่านมา  ผลการเทียบเคียงทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ มีผลการดำเนินการที่ดี ดังนี้

ผลิตภัณฑ์ด้านการวิจัย ผลการดำเนินการการในปีการศึกษา 2563-2565 มีแนวโน้มที่ดีขึ้นทั้ง 4 ผลลัพธ์

ผลิตภัณฑ์ด้านการศึกษา ผลการดำเนินการการในปีการศึกษา 2563-2565 มีแนวโน้มที่ดีขึ้นทั้ง 11 ผลลัพธ์

ผลิตภัณฑ์ด้านการบริการวิชาการ ผลการดำเนินการการในปีการศึกษา 2563-2565 มีแนวโน้มที่ดีขึ้นทั้ง 4 ผลลัพธ์

การบูรณาการ: ผลลัพธ์ที่เกิดจากการดำเนินการของวิทยาลัย ทั้ง ผลิตภัณฑ์ด้านการวิจัย ผลิตภัณฑ์ด้านการศึกษา ผลิตภัณฑ์ด้านการบริการวิชาการ สอดคล้องกับกระบวนการผลิตที่วิทยาลัยกำหนด ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและลูกค้าทุกกลุ่ม สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีส่งผลให้การดำเนินการผลิตบัณฑิต ซึ่งเป็นพันธกิจหลักของวิทยาลัย ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ เช่น นักศึกษาตามโครงการความร่วมมือ ของมหาวิทยาลัย South Wale สามารถสำเร็จการศึกษา ได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จากมหาวิทยาลัย South Wale ภายใน 1 ปี หลังจากศึกษาศึกษาในวิทยาลัยเพียง 3 ปี   และ วิทยาลัยร่วมขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครนายก ตามแผนการพัฒนาการศึกษาระยะ 5 ปี พ.ศ. 2565-2569 ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินการ ตามองค์ประกอบ 3 ข้อ 3.1.4  ข้อ 3.1.5 ข้อ 3.1.6 องค์ประกอบ 6 ข้อ 6.1.1  ข้อ 6.1.2 ข้อ 6.1.3

2 ผลลัพธ์ด้านประสิทธิผลของกระบวนการทำงาน (ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการ) ผลลัพธ์ด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการคืออะไร

การดำเนินการ

ระดับผลการดำเนินการ: วิทยาลัยมีการพัฒนากระบวนการทำงานด้านผลลัพธ์ผู้เรียนอย่างต่อเนื่องตามตารางที่ op 1 ก 1-1 และ กระบวนการทำงานที่สำคัญ (ข้อ 6.1.2) ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล(ข้อ 6.2.1) อยู่ในระดับดี  ดังตารางที่ 7.1-2-01

ตารางที่ 7.1-2-01ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการจำแนกตามผลิตภัณฑ์

ผลิตภัณฑ์/กระบวนการ

ผลลัพธ์

ประสิทธิภาพของกระบวนการ

ประสิทธิผลของกระบวนการ

ผลิตภัณฑ์ด้านการวิจัย

1)กระบวนการผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรม

-ความร่วมมือจากสถาบันอื่นในการวิจัย

-สัดส่วนการใช้ทุนวิจัยภายในกับภายนอก

-การสนับสนุนเครื่องมือ/อุปกรณ์ จากสถาบันอื่น ในการพัฒนานวัตกรรม

-ผลงานวิจัย>ร้อยละ50ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Q1-Q4

-งานวิจัย 1 เรื่องได้รับทุนองค์กรระดับชาติ

-จำนวนนวัตกรรม1เรื่องเสนอขอจดสิทธิบัตร

ผลิตภัณฑ์ด้านการศึกษา

1)กระบวนการจัดการเรียนรู้ระดับปริญญาตรี

-ร้อยละของบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ และสมรรถนะวิชาชีพ ตามความต้องการของสถานประกอบการ

-ร้อยละ100 บัณฑิตมีงานทำภายใน 1 ปี

-ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตทุกหลักสูตร >3.51

2)กระบวนการจัดการเรียนรู้ระดับปริญญาโท

-ร้อยละของมหาบัณฑิตที่ประยุกต์ใช้ความรู้ขั้นสูงในการพัฒนางาน ตามความต้องการของหน่วยงาน/องค์กรต้นสังกัด

-ความพึงพอใจของผู้ใช้มหาบัณฑิตทุกหลักสูตร >3.51

ผลิตภัณฑ์ด้านการบริการวิชาการ

1)กระบวนการบริการวิชาการทั่วไปแบบให้เปล่า

-คุณค่าที่โรงเรียนได้รับจากบริการทางวิชาการ

-คุณค่าที่ชุมชนได้รับจากบริการทางวิชาการ

-โรงเรียน 12 โรงที่ได้รับบริการทางวิชาการ

-ชุมชน 12 แห่ง ได้รับบริการทางวิชาการ

-ความพึงพอใจของนักเรียน ครู คนในชุมชน>3.51

2)กระบวนการกระบวนการบริการวิชาการทั่วไปแบบเฉพาะเจาะจงแบบให้เปล่า

-ทักษะที่ผู้รับบริการคาดหวังจากการรับบริการทางวิชาการ

-ความเข้มแข็งของชุมชนที่ได้ประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากการรับบริการทางวิชาการ

-ชุมชนมี 2 ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มทักษะ

-ชุมชนมีรายได้จากการมีทักษะใหม่เพิ่มขึ้น

-ความพึงพอใจของคนในชุมชน>3.51

-ชุมชน 12 ที่มีความเข้มแข็งเพิ่มขึ้น

-ภาพลักษณ์การเป็นผู้นำวิชาการของวิทยาลัย >3.51

แนวโน้มที่ดี: ในปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยมีการทบทวน/ปรับปรุงกระบวนการในการทำงาน ด้วยการใช้ lean ในการบริหารจัดการ ทั้งการลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น การใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีมาช่วยในการทำงานให้รวดเร็วขึ้น การลดข้อผิดพลาดจากการทำงาน จึงทำให้ผลลัพธ์ด้านประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น ใช้ระยะเวลาในการทำงานน้อยลง ใช้งบประมาณในการทำงานน้อยลง มีต้นทุนการผลิต/ต่อชิ้นงานถูกลง เป็นต้น นอกจากนี้คณะได้ทำการพัฒนาบุคลากรทั้งการอบรม การสัมมนา การศึกษาดูงาน และนำผลการพัฒนาไปใช้ในการปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผลลัพธ์ด้านประสิทธิผลสูงขึ้น เช่น ผลงานมีคุณภาพมากขึ้น จำนวนผลงานเพิ่มขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น ลูกค้ามีความพึงพอใจเพิ่มมากขึ้น อย่างต่อเนื่อง เป็นต้น(7.1-2-01)

การเปรียบเทียบกับคู่เทียบเคียง: ผลการเทียบเคียงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการ ในปีการศึกษา 2565 มีดังนี้

ผลิตภัณฑ์ด้านการวิจัย เทียบเคียงกับ ผลงานวิจัยของวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563-2564 พบว่า กระบวนการผลิตงานวิจัยและนวัตกรรม มีผลลัพธ์ประสิทธิผลของกระบวนการ สูงกว่าคู่เทียบในเรื่องจำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Q1-Q4(7.1-2-02)

ผลิตภัณฑ์ด้านการศึกษา เทียบเคียงกับ การมีงานทำของบัณฑิตภายใน 1 ปี กับมหาวิทยาลัย อื่น พบว่า กระบวนการจัดการเรียนการสอน มี ผลลัพธ์ประสิทธิผลของกระบวนการ  ไม่แตกต่างกัน คือมีงานทำร้อยละ 100 เช่นกัน(7.1-2-03)

ผลิตภัณฑ์ด้านการบริการวิชาการ เทียบเคียงกับ ผลการดำเนิน 2 ปีที่ผ่านมา(ปีการศึกษา 2563-2564) พบว่า กระบวนการบริการวิชาการทั่วไปแบบให้เปล่า มีผลลัพธ์ประสิทธิผลของกระบวนการ สูงกว่าคู่เทียบในเรื่องจำนวนโรงเรียน จำนวนครู จำนวนนักเรียน ที่ได้รับบริการทางวิชาการ และ กระบวนการบริการวิชาการเฉพาะเจาะจงแบบให้เปล่า มีผลลัพธ์ประสิทธิผลของกระบวนการ สูงกว่าคู่เทียบในเรื่องจำนวน จำนวนชุมชน และจำนวนผู้รับบริการ ตลอดจนความพึงพอใจของการรับบริการทางวิชาการ (7.1-2-04)

การบูรณาการ: ผลลัพธ์ประสิทธิภาพของกระบวนการ และ ผลลัพธ์ประสิทธิผลของกระบวนการ ของวิทยาลัยที่อยู่ในระดับดี เป็นผลมาจากคณาจารย์และบุคลากรของวิทยาลัย มีการยกระดับสมรรถนะการทำงาน ตามองค์ประกอบ 5 ข้อ 5.1.4  และสามารถ ใช้การบริหารจัดการแบบ Lean ปรับปรุงกระบวนการทำงาน ตามองค์ประกอบ 6 ข้อ 6.1.6 ได้เป็นอย่างดี

3 ผลลัพธ์ด้านประสิทธิผลของกระบวนการทำงาน (ความปลอดภัยและการเตรียมพร้อมต่อภาวะฉุกเฉิน) ผลลัพธ์ด้านความปลอดภัยและการเตรียมพร้อมต่อภาวะฉุกเฉินเป็นอย่างไร

การดำเนินการ

ระดับผลการดำเนินการ: ผลลัพธ์ด้านความปลอดภัยของวิทยาลัย เป็นไปตามกระบวนการดูแลสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานให้มีความปลอดภัย (ข้อ 6.2.3)  และผลลัพธ์ด้านการเตรียมพร้อมต่อภาวะฉุกเฉินของวิทยาลัยเป็นไปตามกระบวนการบริหาร ตามแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต: BCP (ข้อ 6.2.4)  ผลการดำเนินการ พบว่า ทุกกระบวนการมีผลลัพธ์อยู่ในระดับดี มีรายละเอียดดังตารางที่ 7.1-3-01

ตารางที่ 7.1-3-01 ประสิทธิผลของผลลัพธ์ด้านความปลอดภัย และการเตรียมพร้อมต่อภาวะฉุกเฉิน

ด้าน/กระบวนการ

การดำเนินการ

ผลลัพธ์ด้านประสิทธิผล

ความปลอดภัย

1)กระบวนการจัดการการใช้ถนนให้ปลอดภัย

-จัด รปภ.อำนวยความสะดวกขณะข้ามถนน

-จัดทำลูกคลื่นบนถนน ก่อนถึงจุดตัดผ่านของถนน

-รณรงค์สวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่จักรยานยนต์

-อุบัติเหตุขณะข้ามถนนเป็นศูนย์

-อุบัติเหตุรถชนกันที่จุดตัดถนนเป็นศูนย์

-บาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุเป็นศูนย์

2)กระบวนการจัดห้องปฏิบัติการที่ปลอดภัย

-ใช้อุปกรณ์ป้องกันจากสารเคมีและวัตถุอันตราย

-ติดตั้งอุปกรณ์ล้างสารเคมีในห้องปฏิบัติการ

-อุบัติเหตุจากสารเคมีเป็นศูนย์

-บาดเจ็บจากสารเคมีเป็นศูนย์

การเตรียมพร้อมต่อภาวะฉุกเฉิน

1)กระบวนการแจ้งเหตุฉุกเฉิน

-รายงานการสำรวจ นศ./บุคลากร ที่ติดเชื้อ

-นศ./บุคลากร ที่ติดเชื้อต่ำกว่าร้อยละ 5

2)กระบวนการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ทันที เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อรุนแรง เกิดสถานการณ์ใหม่ๆ หรือเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน

-รายงานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้สื่อเทคโนโลยีในการเรียนรู้

-รายงานจำนวนวิชาที่พร้อมจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน

-ร้อยละ 80 ใช้สื่อเทคโนโลยีจัดกิจกรรมการเรียนรู้

-ร้อยละ 80 ของรายวิชา จัดการเรียนรู้ออนไลน์ได้ทันทีเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน

3)กระบวนการจัดการเรียนแบบออนไซด์ในระหว่างการแพร่ระบาด

-การรักษามาตรฐานหน่วยเปิดสอนออนไซด์ในระหว่างการแพร่ระบาด

-ร้อยละ 100 ของตัวชี้วัด เป็นไปตามมาตรฐานหน่วยเปิดสอนออนไซด์ฯ

แนวโน้มที่ดี: ผลการดำเนินการ ในปีการศึกษา 2563-2565 พบว่า ผลลัพธ์ด้านความปลอดภัย พบว่า ทั้งในเรื่อง สภาพแวดล้อมจากการใช้รถใช้ถนน และ การเกิดอุบัติเหตุขณะปฏิบัติการ มีความปลอดภัยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับผลลัพธ์ด้านการเตรียมพร้อมต่อภาวะฉุกเฉิน พบว่า ความพร้อมเรื่องการจัดการเรียนออนไลน์เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน มีความพร้อมเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในมิติของสื่อการสอน และมิติรายวิชา สำหรับการจัดการเรียนแบบออนไซด์ในระหว่างการแพร่ระบาด มีความพร้อมตามมาตรฐานร้อยละ 100 (7.1-3-01)

การเปรียบเทียบกับคู่เทียบเคียง: ไม่พบการดำเนินการของคู่เทียบเคียงในปีการศึกษา 2565 ทั้ง ผลลัพธ์ด้านความปลอดภัย และ ผลลัพธ์ด้านการเตรียมพร้อมต่อภาวะฉุกเฉิน (7.1-3-02)

การบูรณาการ: การดำเนินการในเรื่องผลลัพธ์ด้านความปลอดภัย เป็นไปตามรายละเอียดในข้อ 6.2.3 และการเตรียมพร้อมต่อภาวะฉุกเฉิน เป็นไปตามรายละเอียดในข้อ 6.2.4

4 ผลลัพธ์ด้านการจัดการเครือข่ายอุปทาน ผลลัพธ์ด้านการจัดการเครือข่ายอุปทานเป็นอย่างไร

การดำเนินการ

ระดับผลการดำเนินการ: ผลลัพธ์ด้านการจัดการเครือข่ายอุปทานของวิทยาลัย ตามห่วงโซ่คุณค่าของการผลิตบัณฑิต (ข้อ 6.1.7) ประกอบด้วย ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต และ ชื่อเสียงและการเติบโตของวิทยาลัย ผลการดำเนินการในปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับดีมาก มีรายละเอียด ดังตาราง 7.1-4-01

ตาราง 7.1-4-01 ประสิทธิผลของผลลัพธ์ด้านการจัดการเครือข่ายอุปทาน

ผลลัพธ์

เป้าหมาย

ผลการดำเนินการ

ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

-ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตในแต่ละคณะ (5 คณะ) มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า 3.51

-ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตในภาพรวมของสถาบัน มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า 3.51

-ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตทุกคณะ มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า 4.51

-ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตในภาพรวมของสถาบัน มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า 4.51

ชื่อเสียงและการเติบโตของวิทยาลัย

-ความร่วมมือกับต่างประเทศในการจัดการศึกษาอย่างน้อย 1 หลักสูตร

-ผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ฐานข้อมูล SCOPUS มากกว่าร้อยละ50 ของผลงานวิจัย

-จำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2564 อย่างน้อย 1 หลักสูตร

-ความร่วมมือกับต่างประเทศในการจัดการศึกษา 2 หลักสูตร คือ BE และ BBA

-ผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ฐานข้อมูล SCOPUS ร้อยละ55.56 ของผลงานวิจัย

-จำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 หลักสูตร คือ NS

แนวโน้มที่ดี: ผลการดำเนินการ ในปีการศึกษา 2563-2565 พบว่า ผลลัพธ์ด้านความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต (7.1-4-01)และ ชื่อเสียงและการเติบโตของวิทยาลัย  มีแนวโน้มคงที่ ในระดับดีมาก (7.1-4-02)

การเปรียบเทียบกับคู่เทียบเคียง: ไม่พบการดำเนินการของคู่เทียบเคียงในปีการศึกษา 2565 อย่างไรก็ตาม กรณีเปรียบเทียบกับผลการดำเนินการ 2 ปีที่ผ่านมา คือ ในปีการศึกษา 2563-2564 พบว่า ผลลัพธ์ ยังอยู่ในระดับดีมาก

การบูรณาการ:  การดำเนินการด้านการจัดการเครือข่ายอุปทาน เป็นไปตาม การออกแบบการจัดการศึกษา วิจัย และบริการวิชาการ และกระบวนการ ในองค์ประกอบที่ 6 ข้อ 6.1.2  ข้อ 6.1.3 ข้อ 6.1.5  และการจัดการเครือข่ายอุปทาน  ข้อ 6.1.7

5 การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายเป็นไปตามเป้าหมาย

การดำเนินการ

แต่ละคณะ กำหนดเป้าหมายให้นักศึกษาชั้นปีสุดท้าย ร้อยละ ร้อย ผ่านการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ มากกว่า 3.51 ผลการดำเนินการในปีการศึกษา 2565 พบว่า นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายร้อยละ ร้อย ผ่านการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ มากกว่า 3.51 ทุกตัวชี้วัด โดย มีคะแนนเฉลี่ย 3.52- 4.00 จำนวน 10 ตัวชี้วัด  มีคะแนนเฉลี่ย 4.01- 4.50 รวม 5 ตัวชี้วัด และสูงกว่า 4.51 รวม 5 ตัวชี้วัด (7.1-5-01)

6 การประเมินสมรรถนะภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายเป็นไปตามเป้าหมาย

การดำเนินการ

แต่ละคณะ กำหนดเป้าหมายให้นักศึกษาชั้นปีสุดท้าย ระดับปริญญาตรี ร้อยละร้อย ผ่านการประเมินสมรรถนะภาษาอังกฤษ มีคะแนน TOEIC ไม่น้อยกว่า 450 และ นักศึกษาชั้นปีสุดท้าย ระดับปริญญาโท ร้อยละร้อย ผ่านการประเมินสมรรถนะภาษาอังกฤษ มีคะแนน TOEIC ไม่น้อยกว่า 600

ผลการดำเนินการในปีการศึกษา 2565 พบว่า นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายระดับปริญญาตรี ร้อยละร้อย ผ่านการประเมินสมรรถนะภาษาอังกฤษ มีคะแนน TOEIC 450 -600 ร้อยละ 60  มีคะแนน TOEIC 600-800 ร้อยละ 35  และมีคะแนน TOEIC สูงกว่า 800 ร้อยละ 5 สำหรับนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายระดับปริญญาโท ร้อยละร้อย ผ่านการประเมินสมรรถนะภาษาอังกฤษ มีคะแนน TOEIC 600-700 ร้อยละ 55  มีคะแนน TOEIC 701-800 ร้อยละ 35  และมีคะแนน TOEIC สูงกว่า 800 ร้อยละ 10 (7.1-6-01)

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

5 ข้อ

IQA (1-6)

1,2,3,4,5,6

 6 ข้อ

 5 คะแนน

EdPEx (1-4)

1,2,3,4

ร้อยละ 30 (จาก120คะแนน)

 36 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐานรายการ
7.1-1-01รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ เมษายน 2566
7.1-1-02ร้อยละผลงานวิจัยตอบโจทย์ของลูกค้าผู้ให้ทุนวิจัย
7.1-1-03ร้อยละผลงานวิจัยที่สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาท้องถิ่น/สังคมการพัฒนาท้องถิ่น/สังคม หรือตอบสนองต่อปัญหาระดับประเทศ
7.1-1-04ร้อยละผลงานวิจัยที่สอดคล้องกับการขับเคลื่อนประเทศตามแผนพัฒนาชาติ 20 ปี
7.1-1-05ร้อยละของผลงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิงในวารสารทางวิชาการ
7.1-1-06ผลลัพธ์การจัดการเรียนรู้ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
7.1-1-07คะแนน TOEIC ของนักศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี และปริญญาโท
7.1-1-08สมรรถนะวิชาชีพของบัณฑิต
7.1-1-09ทักษะที่จำเป็นตามคุณลักษณะที่เป็นความต้องการของประเทศ
7.1-1-10ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตตามกรอบคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
7.1-1-11ร้อยละของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนดในหลักสูตร
7.1-1-12การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการของบัณฑิตปริญญาโท
7.1-1-13ผลงานวิจัยของบัณฑิตปริญญาโทสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ หรือความต้องการของหน่วยงาน/ภาคอุตสาหกรรม
7.1-1-14การนำความรู้และทักษะวิชาชีพระดับปริญญาโทไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางาน
7.1-1-15ร้อยละของหลักสูตรที่ผ่านการกำกับมาตรฐาน
7.1-1-16ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่มีงานทำหรือประกอบอาชีพอิสระใน 1 ปี
7.1-1-17คุณค่าที่โรงเรียนได้รับจากการรับบริการทางวิชาการ
7.1-1-18คุณค่าที่ชุมชนได้รับจากการรับบริการทางวิชาการ
7.1-1-19ทักษะที่ผู้รับบริการคาดหวังจากการรับบริการทางวิชาการ
7.1-1-20ความเข้มแข็งของชุมชนที่ได้ประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากการรับบริการทางวิชาการ
7.1-1-21ภาพถ่ายนักศึกษาตามโครงการความร่วมมือ กับ มหาวิทยาลัย South Wales
7.1-1-22แผนการพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครนายก ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2565-2569
7.1-2-01รายงานประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการจำแนกตามผลิตภัณฑ์
7.1-2-02ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Q1-Q4
7.1-2-03การมีงานทำของบัณฑิตภายใน 1 ปี
7.1-2-04รายงานความพึงพอใจของการรับบริการทางวิชาการ
7.1-3-01รายงานผลการจัดการด้านการใช้ถนนให้ปลอดภัย
7.1-3-02รายงานผลการจัดการด้านการใช้ห้องปฏิบัติการให้ปลอดภัย
7.1-3-03รายงานผลการเตรียมความพร้อมต่อภาวะฉุกเฉิน
7.1-4-01รายงานผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต
7.1-4-02รายงานผลการประเมินชื่อเสียงและการเติบโตของวิทยาลัย
7.1-5-01รายงานการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย 2565
7.1-6-01รายงานการประเมินสมรรถนะภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย 2565