องค์ประกอบที่ 7 นักศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 7.1 นักศึกษา (การบริการและการช่วยเหลือผู้เรียน)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7-8 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-6 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. มีการสื่อสารเรื่องการรับผู้เรียน เกณฑ์และขั้นตอนการรับเข้าเรียนในหลักสูตรอย่างชัดเจน

หลักสูตรมีการนำระบบและกลไกการรับนักศึกษาของวิทยาลัยมาปฏิบัติใช้โดยมีกระบวนการต่างๆ ได้แก่ กำหนดแผนรับนักศึกษา การกำหนดจำนวนรับและคุณสมบัติของผู้สมัคร การประชาสัมพันธ์ทาง Social media เช่น Facebook และช่องทางการรับสมัครทางเว็บไซด์ของวิทยาลัย  และการแนะนำหลักสูตรของอาจารย์แนะแนวตามโรงเรียนต่างๆ  มีการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์รับการคัดเลือก การสอบคัดเลือก การประกาศรายชื่อ การรายงานตัว และการสัมภาษณ์ โดยระบบและกลไกในการสรรหานักศึกษาเป็นบทบาทและหน้าที่ของฝ่ายการตลาดของวิทยาลัย ภายใต้การสนับสนุนข้อมูลจากหลักสูตร

 หลักสูตรกำหนดแผนการรับนักศึกษาตาม มคอ.2 จำนวน 10 คนและกำหนดคุณสมบัติของนักศึกษาตาม มคอ.2 โดยหลักสูตรร่วมกับคณะและวิทยาลัยดำเนินการประกาศรับสมัครนักศึกษาในช่องทางประกาศในเว็บไซต์ของวิทยาลัยและจัดทีมการตลาดไปให้ความรู้ในเรื่องลักษณะการเรียนการสอน แนวทางการประกอบอาชีพ โดยหลักสูตรให้ข้อมูลโบว์ชัวประชาสัมพันธ์หลักสูตร และวีดีโอแนะนำหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนและอาชีพการทำงาน แก่เจ้าหน้าที่การตลาด เมื่อนักศึกษาสนใจที่จะศึกษาต่อในหลักสูตร ทางอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้ตรวจสอบคุณสมบัติของนักศึกษาว่าเป็นไปตามเกณฑ์กำหนดของคณะ/วิทยาลัยหรือไม่เพื่อดำเนินการดำเนินการคัดเลือกนักศึกษาที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ และหลักสูตรเสนอรายชื่อนักศึกษาต่อวิทยาลัยเพื่อประกาศรายชื่อนักศึกษาที่จะมีสิทธิ์สัมภาษณ์เข้าศึกษาในหลักสูตร และประกาศผลสัมภาษณ์ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรในลำดับต่อไป

2. มีการวางแผนบริการสนับสนุนผู้เรียนที่เพียงพอและมีคุณภาพ

หลักสูตรมีการกำหนดแผนกิจกรรมสำหรับสนับสนุนให้กับนักศึกษาอย่างมีคุณภาพ โดยบรรจุกิจกรรมต่างๆไว้ในแผนปฏิบัติการของคณะ อีกทั้งส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าว

3. ติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ มีการให้ข้อมูลย้อนกลับ และข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง

หลักสูตรจัดทำฐานข้อมูลของนักศึกษาในด้านการเรียนรายวิชาและกิจกรรม โครงการที่สนับสนุนการเรียนรู้ บนระบบ MIS และจัดให้มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาที่พบนักศึกษาทุกคนทุกสัปดาห์ และตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้และพฤติกรรม ให้คำแนะนำในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องผ่านการพบอาจารย์ที่ปรึกษาตามกำหนดและเวลาที่อาจารย์ที่ปรึกษากำหนด อีกทั้งให้การสนับสนุนผู้เรียนโดยใช้แอพลิเคชั่น line เพื่อความรวดเร็วในการให้ข้อเสนอแนะและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

4. มีกิจกรรมเสริมหลักสูตร และการบริการสนับสนุนช่วยเหลือผู้เรียนเพื่อปรับปรุงประสบการณ์การเรียนรู้ และความสามารถในการทำงาน

หลักสูตรมีการวางแผนในเรื่องกิจกรรมเสริมหลักสูตร การบริการที่ให้นักศึกษาตลอดจนการจัดโครงการต่างๆที่นักศึกษาจะเข้าร่วมเพื่อเสริมทางด้านการเรียนรู้ และประสบการณ์นอกเหนือจากด้านวิชาการเพื่อให้นักศึกษามีความสมบูรณ์ในความรู้ในสาขานี้และมีทักษะความสามารถในการทำงาน (แผนพัฒนานักศึกษา)

5. กำหนดสมรรถนะบุคลากรสายสนับสนุนที่ชัดเจนเกี่ยวกับการให้บริการผู้เรียน เพื่อให้มั่นใจว่า สามารถให้บริการได้อย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพ

ทางหลักสูตรและคณะมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุน 1 ท่านคือ นางสาวอรชุดา คำฝึกฝน  โดยกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบไว้ในแผนบริหารบุคคลและมีการอบรมพัฒนาความรู้ 10 ชั่วโมงต่อปีการศึกษา เพื่อส่งเสริมการให้บริการนักศึกษาและคณาจารย์

6. ประเมินผลการให้การบริการและช่วยเหลือผู้เรียน และเทียบเคียงสมรรถนะเพื่อปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

หลักสูตรมีการประเมินผลและปรับปรุงคุณภาพการบริการและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ (เช่น ห้องสมุด สิ่งสนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริการผู้เรียน) ผ่านระบบการประเมินผลการจัดสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของคณะในปีการศึกษา 2565 นอกจากนี้ทางหลักสูตรยังเปิดช่องทางการเสนอแนะการปรับปรุงคุณภาพการบริการและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของหลักสูตรโดยให้นักศึกษาแจ้งข้อคิดเห็นในกล่องจดหมาย หรือสามารถแจ้งอาจารย์ผู้สอน หรือเจ้าหน้าที่ของคณะฯ เพื่อเสนอแนะการปรับปรุงการบริการและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ หลักสูตรทำการรวบรวมข้อมูลข้อเสนอแนะของนักศึกษาจากระบบการประเมิน จากการแจ้งผ่านทางคณาจารย์และเจ้าหน้าที่เสนอต่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและผู้บริหารคณะ เพื่อทำการปรับปรุง ซึ่งคณะได้ทำการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะอย่างสม่ำเสมอ อาทิ ปัญหาสัญญาณอินเตอร์เน็ต ที่มีการขยายจุดส่งสัญญาณ และมีการปรับปรุงสถานที่เพื่อเป็นมุมสำหรับทำงานให้กับนักศึกษาเพิ่มขึ้น

7. มีการรับฟัง วิเคราะห์และตอบสนองความต้องการของผู้เรียน

หลักสูตรนำความคิดเห็นต่างๆของนักศึกษาเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรรมการบริหารหลักสูตรร่วมกับคณะกรรมการบริหารคณะร่วมพิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงและแจ้งผลการพิจารณาแก้ไขให้นักศึกษาได้รับทราบโดยผ่านการพูดคุยผ่านอาจารย์ที่ปรึกษาหรือแจ้งให้ทราบทาง Application Social media Line

8. มีการให้คำปรึกษาและดูแลผู้เรียนให้ประสพความสำเร็จในการศึกษา

ทางหลักสูตรร่วมกับคณะมีการแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการจัดการเรียนการสอน กิจกรรมเสริมหลักสูตรให้กับนักศึกษาในชั่วโมง Advisor meeting อีกทั้งมีการจัดตั้งกลุ่ม line นักศึกษาเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการสื่อสารระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

…5 ข้อ…

IQA(1-8)

1,2,3,4,5,6,7,8

8 ข้อ

5 คะแนน

AUN-QA(1-6)

1,2,3,4,5,6

ระดับ 3

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐานรายการ
7.1.1.1www.stic.ac.th และคู่มือนักศึกษา
7.1.1.2แผนปฏิบัติการของคณะจำแนกตามกิจกรรมส่งเสริมนักศึกษา
7.1.1.3ข้อมูลนักศึกษาในระบบ MIS/แอพลิเคชั่น line สำหรับการสื่อสารระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา
7.1.1.4แผนพัฒนานักศึกษาและโครงการ
7.1.1.5โครงการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนเพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
7.1.1.6ผลการประเมินสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษา
7.1.1.7รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
7.1.1.8ตาราง Advisor meeting

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเองIQAAUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 7.153

Leave a Reply