องค์ประกอบที่ 3: ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 ความผูกพัน (ความผูกพันของลูกค้า)

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษาและผู้รับบริการ

ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 ความผูกพัน (ความผูกพันของลูกค้า)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-6 ข้อ7-8 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-4 ประเมิน 45 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

1 ความสัมพันธ์และการสนับสนุนผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นๆ(การจัดการความสัมพันธ์) คณะมีวิธีการอย่างไรในการสร้าง และจัดการความสัมพันธ์กับผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น

          คณบดีและประธานสาขาวิชา มีการประชุมระดมความคิดร่วมกันเพื่อวางแผนดำเนินงาน ทบทวนกระบวนการทำงานและพัฒนากระบวนการในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้เรียน มีการให้บริการด้านการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ มีการติดตามผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรและจัดกิจกรรมต่างๆ ให้กับผู้เรียนให้รู้สึกมีความผูกพันและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับคณะ นอกจากนี้ยังมีการสร้างความสัมพันธ์กับ ลูกค้าซึ่งหมายถึงผู้รับบริการทางวิชาการ และให้บริการงานวิชาการอันเป็นที่พึงพอใจของหน่วยงานที่รับบริการต่าง ๆ จนมีการขอรับบริการงานด้านบริการวิชาการซ้ำอย่างต่อเนื่อง

2 ความสัมพันธ์และการสนับสนุนผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นๆ(การเข้าถึงและการสนับสนุนผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น) คณะมีวิธีการอย่างไรในการช่วยให้ผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นสามารถสืบค้นสารสนเทศ และรับการสนับสนุนจากสถาบัน

          คณะมีการดำเนินการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกันผ่านกิจกรรมนักศึกษาภายใต้แนวคิดที่ว่าทั้งนักศึกษา อาจารย์ และเจ้าหน้าที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยการพยายามแสดงออกถึงภาพลักษณ์ความเท่าเทียมกัน เช่น กิจกรรมพบเพื่อนใหม่ ที่แสดงให้เห็นว่ารุ่นพี่รุ่นน้องมีความเท่าเทียมกัน การจัดกิจกรรมดูแลน้องใหม่ที่มีความสร้างสรรค์และดูแลช่วยเหลือกันระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง เช่น โครงการพี่ติวน้องในบางรายวิชา

          คณะมีการติดตามศิษย์เก่ามาร่วมเข้าประชุมและร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง รวมถึงในการพัฒนาหลักสูตรจะเปิดโอกาสให้ศิษย์เก่าได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและนำเสนอแนะข้อคิดเห็นเพื่อนำไปพัฒนาหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการที่แท้จริงในชีวิตการทำงาน มีการติดตามศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จมีงานนำแล้วนำมาแนะนำกับนักศึกษาปัจจุบันถึงช่องทางอาชีพ

          นอกจากนี้คณะยังมีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างหรือผู้ประกอบการที่มีการรับนักศึกษาที่จบการศึกษาไปแล้วเข้าทำงานหรือองค์กรที่มีการรับนักศึกษาเข้าฝึกงานภายในองค์กรโดยมีเชิญผู้แทนองค์กร นายจ้าง ผู้ประกอบการร่วมให้คำแนะนำในการพัฒนาหลักสูตร หรือให้คำแนะนำนักศึกษาเกี่ยวกับความต้องการด้านการจ้างงานในอนาคต รวมถึงให้ผู้แทนองค์กร นายจ้าง ผู้ประกอบการร่วมให้ความรู้ในการบรรยายหรือเป็นวิทยากรในกิจกรรมต่าง ๆ ให้กับนักศึกษา

          ทั้งนี้ คณะกรรมการกิจการนักศึกษาประชุมออกแบบกระบวนการสร้างความสัมพันธ์ร่วมกับคณะกรรมการนักเรียนโดยใช้ข้อมูลจากรายงานผลการสำรวจความต้องการ/ความคาดหวังของผู้เรียนมาวางแผน กำหนดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ต่อผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สโมสรนักศึกษา และคณะกรรมการกิจการนักศึกษาร่วมรับผิดชอบดำเนินการกิจกรรม เมื่อสิ้นสุดกิจกรรมมีการวัดประเมินผลความพึงพอใจ/ไม่พึงพอใจ และนำผลข้อเสนอแนะของผู้เรียนนำไปวิเคราะห์ไปวางแผนปรับปรุง/พัฒนากระบวนการสร้างความผูกพัน ดังตารางที่ 3.2.1

ตารางที่ 3.2.1 วิธีการสร้างและจัดการความสัมพันธ์ของผู้เรียน

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

วิธีการ

ความถี่

ผู้รับผิดชอบ

ผู้เรียน

– จัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ร่วมกับนักศึกษา

– Line Group และ Facebook Group

ตลอดปีการศึกษา

ตลอดเวลา

– หลักสูตร

– รองคณบดีที่เกี่ยวข้อง

ศิษย์เก่า

– การเชิญเข้าร่วมประชุมและกิจกรรม

วิทยาลัย

– เชิญตัวแทนพัฒนาหลักสูตร

– การติดตามศิษย์เก่าและภาวะการมีงานทำ

1 ครั้ง/ปี

– วิทยาลัย

– หลักสูตร

นายจ้าง/ผู้ใช้บัณฑิต

– เชิญตัวแทนร่วมพัฒนาหลักสูตร

– การติดตามศิษย์เก่าและภาวการณ์มีงาน

ทำ และความพึงพอใจในการใช้บัณฑิต

1 ครั้ง/ปี

– หลักสูตร

หน่วยงาน/แหล่งฝึกงาน

– อาจารย์นิเทศรับฟังความคิดเห็นจากแหล่งฝึกงาน

– การเชิญวิทยากรจากแหล่งฝึกงานมาร่วมสอนในหลักสูตร

1 ครั้ง/ปี

– หลักสูตรและอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาฝึกปฏิบัติงาน

          วิทยาลัยยังได้รับการยอมรับจากผู้เรียนทั้งในหลักสูตรระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาที่ยังได้รับความสนใจในการสมัครเข้าเรียนอย่างต่อเนื่องแม้ในภาพรวมจะมีแนวโน้มการสมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยลดน้อยลง จากจุดเด่นของหลักสูตรทั้งหลักสูตรในด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่ยังเป็นที่สนใจของนักเรียนที่ต้องการองค์ความรู้อย่างกว้างเพื่อปรับนำไปใช้ในหลากหลายสาขาอาชีพ และในหลักสูตรด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อมูลซึ่งเป็นหลักสูตรเป้าหมายที่รัฐบาลให้การสนับสนุนและเป็นสาขาขาดแคลนที่มีความต้องการแรงงานจำนวนมาก

3 ความสัมพันธ์และการสนับสนุนผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นๆ(การจัดการข้อร้องเรียน) คณะมีวิธีการอย่างไรในการจัดการข้อร้องเรียนจากผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น

          คณะมีระบบการจัดการข้อร้องเรียน ผ่านกล่องรับฟังข้อคิดเห็น E-mail แบบสำรวจความพึงพอใจ/ไม่พึงพอใจ ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็น หรือปัญหาที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรคณะ โดยมีกระบวนการจัดการข้อร้องเรียนตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับวิทยาลัยฯ คณะมีระบบการจัดการข้อร้องเรียนตามพันธกิจ ได้แก่ ด้านหลักสูตร วิจัยและบริการวิชาการ โดยในปีงบประมาณ 2565 การจัดการกับปัญหาความไม่พอใจจะมีการดำเนินการเมื่อเกิดข้อซักถามผ่านช่องทางติดต่อสื่อสาร หรือนำปัญหาจากการประเมินความพึงพอใจต่างๆ มาจัดการแก้ไขเสียก่อน ที่ผ่านมาไม่ถึงกับเป็นข้อร้องเรียนในทุกพันธกิจของคณะ

4 การค้นหาความพึงพอใจและความผูกพันของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น(ความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ และความผูกพัน) คณะมีวิธีการอย่างไรในการค้นหา ความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ และความผูกพันของผู้เรียน และลูกค้ากลุ่มอื่น

          คณะฯ ดำเนินการรับฟังเสียงด้านความพืงพอใจ/ไม่พึงพอใจของผู้เรียนเพื่อติดตามคุณภาพการให้บริการนำมาปรับปรุงกระบวนการและพัฒนางานที่เกี่ยวข้องหลากหลายวิธี การประเมินความผูกพันของผู้เรียน คณะดำเนินการประเมินผลเมื่อบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาปีละ 1 ครั้ง ข้อมูลที่ได้รับจะถูกนำเข้าที่

ประชุมคณะกรรมการประจำหลักสูตรทุกหลักสูตรเพื่อทบทวนและบริหารจัดการศึกษาตามความต้องการของผู้เรียน รวมถึงจะต้องมีการรับฟังข้อปัญหาและข้อคำถามในการดำเนินการผ่านช่องทางการติดต่อสื่อสารต่างๆ นอกจากนี้ยังมีคณบดีและคณะกรรมการบริหารคณะมีการไปพบและหารือกับผู้เรียนโดยตรงเพื่อชักถามและพูดคุยให้รับทราบถึงความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ และความรู้สึกต่อคณะจากผู้เรียนโดยตรง เช่น คณบดีพบนักศึกษา 1 -2 เดือน/ครั้ง

5 การค้นหาความพึงพอใจและความผูกพันของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น(ความพึงพอใจเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น) คณะมีวิธีการอย่างไรในการรวบรวมสารสนเทศเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น

          คณะมีพันธกิจที่จะต้องจัดให้มีการสำรวจความพึงพอใจของผู้เรียนและการประเมินผลการเรียนการสอนของหลักสูตร โดยจะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อติดตามคุณภาพการให้บริการ นำมาปรับปรุงกระบวนการและพัฒนางานที่เกี่ยวข้อง โดยจัดกระบวนการการรับฟังผู้เรียน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน การสนับสนุน และคุณภาพหลักสูตรหลากหลายวิธี เช่น แบบสอบถามทั้งแบบเอกสาร การสนทนากลุ่ม/สื่อสังคมออนไลน์ และรวบรวมข้อคิดเห็นจากสื่อสังคมออนไลน์ เว็บไซต์ ข้อมูลที่ได้จากกระบวนการรับฟังผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะถูกนำมาวิเคราะห์ผล สรุปรายงาน นำเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจำหลักสูตรของแต่ละหลักสูตรเพื่อพิจารณาทบทวน และให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกระบวนการพัฒนางานให้สอดคล้องกับความต้องการ/ความคาดหวังร่วม/แตกต่างของผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในแต่ละปีการศึกษา คณะจะดำเนินการรับฟังเสียงด้านความพึงพอใจ/ไม่พึงพอใจของผู้เรียนเพื่อติดตามคุณภาพการให้บริการและนำมาปรับปรุงกระบวนการและพัฒนางานที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันมีระบบสารสนเทศของวิทยาลัยสำหรับสนับสนุนในการรวบรวมข้อมูลรับฟังความคิดเห็นของผู้เรียน

6 การใช้ข้อมูลเสียงของลูกค้าและตลาด คณะมีวิธีการอย่างไรในการใช้ข้อมูลและสารสนเทศที่ได้จากเสียงของลูกค้าและตลาด

          คณะมีระบบสารสนเทศในการรับฟังผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการจัดการเรียน การสอน การสนับสนุน และคุณภาพหลักสูตรหลากหลายวิธี ทั้งในรูปแบบการรับข้อมูลทางตรงและระบบฐานข้อมูลสารสนเทศในระบบ สื่อสังคมออนไลน์ข้อมูลจากทุกช่องทางจะถูกนำมาวิเคราะห์ผล สรุปรายงาน นำเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจำหลักสูตรของแต่ละหลักสูตรเพื่อพิจารณาทบทวน และให้ข้อเสนอแนะใน

การปรับปรุงกระบวนการพัฒนางานให้สอดคล้องกับความต้องการ ความคาดหวังร่วมของผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในแต่ละปีการศึกษา คณะจะดำเนินการรับฟังเสียงด้านความพึงพอใจและไม่พึงพอใจของผู้เรียนเพื่อติดตามคุณภาพการให้บริการและนำมาปรับปรุงกระบวนการและพัฒนางานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาในแต่ละหลักสูตร แสดงให้เห็นความพึงพอใจของนักศึกษาในหลักสูตรต่างๆ

          ในกรณีที่พบปัญหาความไม่พึงพอใจหรือเรื่องร้องเรียนต่างๆ หากมีการนำมาแก้ไขปัญหาจนสำเร็จลุล่วงจะมีการเผยแพร่ผ่านช่องทางการสื่อสารซึ่งเป็นระบบเทคโนโลยีด้านเครือข่ายออนไลน์ เช่น LINE และ FACEBOOK page เพื่อประชาสัมพันธ์และติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนโดยตรงต่อไป

          นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้สนใจในหลักสูตรต่างๆ ผ่าน FACEBOOK page และระบบของเว็บกลางของวิทยาลัย

7 กำกับดูแลให้เกิดการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้และการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน

8 จัดบริการให้คำปรึกษาและการดูแลผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จในการศึกษา

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

….. 5 ข้อ …..

IQA (1-8)

1,2,3,4,5,6

6 ข้อ

4 คะแนน

EdPEx (1-6)

1,2,3,4,5,6

ร้อยละ 5

2.25 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน

รายการ

3.2.1.1

– โครงการศึกษาดูงาน

-โครงปัจฉิมนิเทศนักศึกษา

-โครงการอบรมคุณธรรมและจริยธรรม

3.2.2.1

-ตารางสรุปวิธีการสร้างและจัดการความสัมพันธ์ของผู้เรียน

3.2.3.1

– ผ่านกล่องรับฟังข้อคิดเห็น/ APP Line/website คณะ

3.2.4.1

-ผลประเมินความพึงพอต่อการบริหารหลักสูตร/สิ่งสนันสนุนการเรียนของนักศึกษา และความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต/ความพึงพอใจของผู้รับบริการวิชาการในชุมชน

3.2.5.1

3.2.6.1

-รายงานการประชุมของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

3.2.7.1

3.2.8.1

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเอง IQAEdPEx
ตัวบ่งชี้ที่ 3.142
ตัวบ่งชี้ที่ 3.242.25
คะแนนเฉลี่ย(IQA)/คะแนนรวม(EdPEx) 44.25