องค์ประกอบที่ 5: ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ความผูกพัน (ความผูกพันของบุคลากร)

องค์ประกอบที่ 5 คณาจารย์และบุคลากร

ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ความผูกพัน (ความผูกพันของบุคลากร)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-6 ข้อ7-9 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-7 ประเมิน 45 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

1 การประเมินความผูกพันของบุคลากร(ปัจจัยขับเคลื่อนความผูกพัน) คณะมีวิธีการอย่างไรในการกำหนดปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากร

          คณะตระหนักถึงวัฒนธรรมองค์กรของวิทยาลัยโดยจัดให้บุคลากรใหม่ทุกคนต้องเข้ารับการอบรมโครงการปฐมนิเทศบุคลากรใหม่ของวิทยาลัย โดยเฉพาะบุคลากรสายวิชาการ เพื่อรับทราบและเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรของวิทยาลัยและเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่วิทยาลัยจัดขึ้น นอกจากนี้ ค่านิยมของวิทยาลัย ซึ่งบุคลากรวิทยาลัยทุกคนร่วมกันกำหนดเป็นตัวรวมพลังผลักดันการบรรลุวิสัยทัศน์ของวิทยาลัย อนึ่ง ผู้บริหารของวิทยาลัยให้ความสำคัญกับการพัฒนาและการหล่อหลอมบุคลากรทุกระดับให้มีพฤติกรรมตามค่านิยม มีการจัดโครงการสัมมนาบุคลากรประจำปี รวมถึงการประชุม พบปะ ระหว่างผู้บริหาร และบุคลากรของวิทยาลัยทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการเพื่อให้บุคลากรทุกกลุ่มมีส่วนร่วมกำหนดพฤติกรรมที่พึงประสงค์และกิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนการปฏิบัติตนตามค่านิยมของวิทยาลัย รวมทั้งประชุมบูรณาการงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนงานสวัสดิการเข้ามาในการจัดทำแผนปฏิบัติการของวิทยาลัย 5 ปี พ.ศ. 2563-2567 เพื่อใช้ค่านิยมเป็นกลไกในการขับเคลื่อนความผูกพัน

2 การประเมินความผูกพันของบุคลากร(การประเมินความผูกพัน) คณะประเมินความผูกพันของบุคลากรอย่างไร

          คณะได้ดำเนินการสำรวจระดับความพึงพอใจของบุคลากรต่อวิทยาลัยในภาพรวม ระดับความไม่พึงพอใจ และระดับความผูกพันต่อวิทยาลัย พบว่าบุคลากรของวิทยาลัยมีระดับความพึงพอใจ ระดับความไม่พึงพอใจ และความผูกพันต่อวิทยาลัย เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

3 วัฒนธรรมองค์กร คณะมีวิธีการอย่างไรในการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีลักษณะการสื่อสารที่เปิดกว้าง มีผลการดำเนินการที่ดี และบุคลากรมีความผูกพัน

          คณะได้กำหนดการเสริมสร้างวัฒนธรรม องค์กรเพื่อการทำงาน ดังนี้คือ

1) การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

2) การมอบอำนาจในการตัดสินใจ

3) การเสริมสร้างกระบวนการทำงานที่ดี

4 การจัดการผลการปฏิบัติงานและการพัฒนา(การจัดการผลการปฏิบัติงาน) ระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสนับสนุนให้เกิดการทำงานที่ให้ผลการดำเนินการที่ดีอย่างไร

          คณะจัดการผลการดำเนินงานให้สอดคล้องกับทิศทางแผนปฏิบัติการ 5 ปีของวิทยาลัยและแผนยุทธศาสตร์ระดับมหาวิทยาลัย ผ่านระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานระดับหลักสูตรและเป็นรายบุคคลและนำสมรรถนะมาเป็นองค์ประกอบประเมินผลการปฏิบัติงานประจาปี แล้วนำผลมาใช้พิจารณาเลื่อนเงินเดือน และจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรในแต่ละกลุ่มบุคลากรเพื่อให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเองนำไปสู่ผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ และก้าวหน้าในหน้าที่การงาน บุคลากรทุกกลุ่มมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม อบรม สัมมนาในหลักสูตรที่ตรงกับสายงานและพัฒนาสมรรถนะที่เหมาะกับตำแหน่ง ตลอดจนมีกระบวนการส่งเสริมความก้าวหน้าในอาชีพทุกสายงาน โดยสนับสนุนเงินทุนวิจัยและทุนการนำเสนอผลงานทางวิชาการ

5 การจัดการผลการปฏิบัติงานและการพัฒนา(การพัฒนาผลการปฏิบัติงาน) ระบบการเรียนรู้และการพัฒนาสนับสนุนความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรและความจำเป็นของคณะอย่างไร

          คณะสนับสนุนและวางแผนระบบการเรียนรู้และการพัฒนาบุคลากรทุกกลุ่มและทุกระดับ โดยนำผลการประเมินสมรรถนะ การสอบถามความต้องการจากบุคลากร รวมทั้งข้อเสนอแนะจากผู้บังคับบัญชาและเป้าหมายการบรรลุผลสำเร็จตามแผนปฏิบัติการของวิทยาลัยมาจัดทำเป็นแผนพัฒนาบุคลากร เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และการพัฒนา สำหรับผู้นำในปัจจุบันและอนาคตแต่ละระดับ คณะสนับสนุนให้เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรการบริหารที่คณะและวิทยาลัยกำหนด

6 การจัดการผลการปฏิบัติงานและการพัฒนา(ประสิทธิผลของการเรียนรู้และการพัฒนา) คณะมีวิธีประเมินประสิทธิผลและประสิทธิภาพของระบบการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างไร

          คณะมีการประเมินผลการเรียนรู้และการพัฒนาของบุคลากรจากการเข้าร่วมโครงการอบรม ประชุม สัมมนา โดยประเมินประสิทธิผลของการเรียนรู้และการพัฒนา คือ 1) การเข้าร่วมการอบรม 2) ความรู้ที่ได้รับ 3) การพัฒนาทักษะ

7 การจัดการผลการปฏิบัติงานและการพัฒนา(ความก้าวหน้าในการงานอาชีพ) คณะมีวิธีการอย่างไรในการจัดการความก้าวหน้าในอาชีพการงานของบุคลากรและผู้นำในอนาคตของคณะ

          คณะมีระบบและกลไกในการส่งเสริมให้บุคลากรสายวิชาการ พัฒนาตนเองผ่านแผนพัฒนาตนเองรายบุคคล เพื่อพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ให้เป็นไปตามมาตรฐานและมีศักยภาพที่สูงขึ้น

8 มีการกำกับ ติดตาม การดำเนินการตามแผนพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

9 มีการสร้างขวัญ กำลังใจ และการยกย่องให้กับบุคลากรที่มีผลงานได้สูงกว่าเป้าหมาย

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

….. 5 ข้อ …..

IQA (1-9)

1,2,3,4,5,6,7

7 ข้อ

5 คะแนน

EdPEx (1-7)

1,2,3,4,5,6,7

ร้อยละ 5

2.25 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน

รายการ

5.2.1.1

– งานสัมมนาบุคลากรประจำปี และงานกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เช่น งานวันไหว้ครู งานรดน้ำดำหัวในวันสงกรานต์ งานลอยกระทง งาน International Day

5.2.2.1

– ผลการประเมินระดับความสุขในการทำงานของบุคลากร

5.2.3.1

– โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ

5.2.4.1

– แผนงานบริหารจัดการ แผนงานย่อยที่ 6.2 : การบริหารบุคลากร

– โครงการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนเพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

5.2.5.1

-แผนงานการจัดการศึกษา : แผนงานย่อยที่ 1.3 การพัฒนาอาจารย์

-โครงการสัมมนาอาจารย์ทั้งภายในและภายนอก

5.2.6.1

-ผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนโดยนักศึกษา

-ผลงานวิจัยในแต่ละหลักสูตร

5.2.7.1

-ระบบและกลไกในการส่งเสริมให้บุคลากรสายวิชาการ

-การกำหนดกรอบระยะการพัฒนาตำแหน่งทางวิชาการในแผนการพัฒนาบุคลากร

5.2.8.1

5.2.9.1

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเอง IQAEdPEx
ตัวบ่งชี้ที่ 5.142
ตัวบ่งชี้ที่ 5.252.25
คะแนนเฉลี่ย(IQA)/คะแนนรวม(EdPEx) 4.54.25