องค์ประกอบที่ 7: ตัวบ่งชี้ที่ 7.4 ผลด้านผู้บริหาร(ผลลัพธ์ด้านการนำและกำกับองค์การ)

องค์ประกอบที่ 7 ผลลัพธ์

ตัวบ่งชี้ที่ 7.4 ผลด้านผู้บริหาร(ผลลัพธ์ด้านการนำและกำกับองค์การ)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-6 ข้อ7 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-5 ประเมิน 80 คะแนน ประเมินแบบ LeTCI

ผลการดำเนินการ

1 ผลลัพธ์ด้านการนำองค์กร การกำกับดูแลองค์กร และการสร้างประโยชน์ให้สังคม(การนำองค์กร) ผลลัพธ์ด้านการสื่อสารของผู้นำระดับสูงและการสร้างความผูกพันกับบุคลากร คู่ความร่วมมือที่เป็นทางการ ผู้เรียน และลูกค้ากลุ่มอื่นมีอะไรบ้าง

          คณบดีและคณะกรรมการบริหารคณะสื่อสารกับบุคลากร ผู้เรียน ลูกค้ากลุ่มต่าง ๆ ผ่านช่องทางที่หลากหลายและคณบดียังเปิดโอกาสให้สื่อสารโดยตรงกับคณบดี นอกจากนี้คณะยังใช้กลไกการประชาสัมพันธ์ของวิทยาลัยในการสื่อสารข้อมูลของคณะเพื่อเจาะตลาดใหม่ด้วย ผลประเมินความพึงพอใจของบุคลากรต่อการบริหารงานของคณบดีและผู้บริหาร พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจดังรายละเอียด

หัวข้อการประเมิน 5 ด้าน

 

ระดับความพึงพอใจ

(คะแนนเต็ม 5)

1.การกำหนดทิศทางขององค์กร

3.95

2.การสื่อสารและการสร้างความเข้าใจทิศทางขององค์กรให้บุคลากรรับรู้

3.99

3.การสร้างบรรยากาศและการมีส่วนร่วมของผู้บริหารในกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการพัฒนาองค์กร

3.82

4. การให้ความสำคัญเรื่องธรรมาภิบาลขององค์กร

3.91

5.การเป็นตัวอย่างที่ดี (Role Mode) ของผู้บริหารในการดำเนินการเรื่องต่างๆ

4.06

2 ผลลัพธ์ด้านการนำองค์กร การกำกับดูแลองค์กร และการสร้างประโยชน์ให้สังคม(การกำกับดูแลองค์กร) ผลลัพธ์ด้านความรับผิดชอบในการกำกับดูแลองค์กรมีอะไรบ้าง

       คณะฯติตามผลการบริหารงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2565 โดยผ่านการกำกับติดตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ตามแผนฯ ซึ่งมีผลความสำเร็จของการดำเนินการโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติงานตามพันธกิจและวิสัยทัศน์

          การกำกับดูแล

          คณะฯ มีวิธีการทบทวนและกำกับดูแลให้คณะฯประสบความสำเร็จในเรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญ ดัง ดารางที่ 7.4.2-1

ตารางที่ 7.4.2-1 แสดงวิธีการทบทวนและกำกับดูแลคณะฯให้ประสบความสำเร็จ

ประเด็นความสำคัญ

วิธีการ

ระยะเวลา

ผู้รับผิดชอบ

1. ความรับผิดชอบในการกระทำของคณะผู้บริหาร

– ผู้บริหารรับผิดชอบในการมอบนโยบาย มอบหมายงานและการกำกับติดตามผล ภายใต้รูปแบบคณะกรรมการบริหารคณะ (คำสั่งแต่งดั้งคณะกรรมการบริหาร) และคณะกรรมการประจำคณะ(คำสั่งแต่งดั้งคณะกรรมการบริหาร มีการประชุมติดตาม วิเคราะห์ ทบทวน การบริหารงานของคณะฯตามหลักธรรมภิบาล

– คณะกรรมการบริหารกำหนดรอบการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง

– คณะกรรมการประจำคณะประชุม รอบ 2 เดือนต่อ 1 ครั้ง

คณะกรรมการบริหารคณะ

2. ภาระรับผิดชอบต่อกลยุทธ์ที่กำหนด

มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ของคณะฯและทบทวนแผนตามตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย

– มีรอบการกำกับติดตาม ผลการปฏิบัติงานตามแผนแบบรายไตรมาส

– ทบทวนแผนยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายเป็นประจำทุกปี

คณะกรรมการบริหาร

3. ภาระรับผิดชอบด้านการเงิน

– มีการกำหนดกรอบงบประมาณ ในการวางแผนการบริหารงานประจำปีโดยนำประมาณการรายได้ในแต่ละรอบปี

– พิจารณาการจัดสรรงบประมาณ กระจายสู่งานแต่ละฝ่าย โดยยึดจากแผนการใช้จ่ายของแต่ละฝ่าย และพิจารณาจัดสรรงบประมาณ ตามความเหมาะสม

– ควบคุม กำกับ ติดตาม ประเมินผลการเบิกจ่ายงบประมาณที่เป็นระบบปฏิบัติตามระเบียบด้านการเงินของวิทยาลัย

– มีการรายงานแก่คณะกรรมการบริหารคณะฯ เพื่อให้สามารถตรวจสอบ หรือ ทบทนการใช้จ่ายให้เป็นไปตามแผนได้อย่างเหมาะสม

– รายงานต่อคณะกรรมการบริหารคณะฯ ทุกเดือน

คณบดี

4. ความโปร่งใสในการดำเนินงาน

– มีการกำกับดูแลโดยคณะผู้บริหาร ได้แก่ รองคณบดี ประธานสาขาวิชา หัวหน้าสำนักงานฯ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้างาน เป็นต้น

– มีการแต่งตั้งคณะกรรมการในการปฏิบัติงานในด้านต่างๆและการปฏิบัติงานที่สำคัญของคณะฯ

– มีระบบการติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการปฏิบัติงานเป็นประจำทุกเดือน

รายงานผลการปฏิบัติงานเป็นประจำทุกเดือนในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ

คณะผู้บริหาร

          คณะกรรมการบริหารคณะสื่อสารกับบุคลากร ผู้เรียน ลูกค้ากลุ่มอื่น ผ่านช่องทางที่หลากหลาย ในการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆของคณะ ส่วนในการบริหารของคณะ มีผลการประเมินความพึงพอใจของบุคลากรต่อการบริหารงานอยู่ระหว่าง 3.82 – 4.06

3 ผลลัพธ์ด้านการนำองค์กร การกำกับดูแลองค์กร และการสร้างประโยชน์ให้สังคม(กฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ และการรับรองคุณภาพ) ผลลัพธ์ด้านกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ และการรับรองคุณภาพมีอะไรบ้าง

            คณะดำเนินการตามพันธกิจภายใต้กฎระเบียบข้อบังคับตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร สป.อว. ซึ่งผลดำเนินงานของคณะพบว่า ทุกหลักสูตรได้รับการประเมินและปรับปรุงตามเกณฑ์ TOF และคณะไม่พบเรื่องสอบสวนว่ามีความผิดวินัยร้ายแรง รวมทั้งไม่ปรากฏข้อร้องเรียนตามพันธกิจของคณะ

4 ผลลัพธ์ด้านการนำองค์กร การกำกับดูแลองค์กร และการสร้างประโยชน์ให้สังคม(จริยธรรม) ผลลัพธ์ด้านการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมมีอะไรบ้าง

          คณบดีและคณะกรรมการบริหารคณะ ประพฤติปฏิบัติตามหลักจริยธรรมของบุคลากรในการบริหารงานและส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร โดยมีกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม กับบุคลากรทุกระดับ คณะเปิดช่องทางในการแจ้งข้อร้องเรียน ร้องทุกข์ หลายช่องทาง และสายตรงถึงคณบดี

5 ผลลัพธ์ด้านการนำองค์กร การกำกับดูแลองค์กร และการสร้างประโยชน์ให้สังคม(สังคม) ผลลัพธ์ด้านความผาสุกของสังคมและการสนับสนุนชุมชนที่สำคัญมีอะไรบ้าง

      คณะฯ มีพันธกิจที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การบริการวิขาการแก่สังคม ซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินกิจกรรมที่มุ่งเน้นความผาสุกด้านสุขภาพแก่ชุมชน โดยบรรจุ 1) โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ต.บางปลากด อ.องครักษ์ จ.นครนายก 2) โครงการบริการหลักการด้านอาชีวอนามัยแก่ชุมชน อ.องครักษ์ จ.นครนายก ไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุและผู้ประกอบอาชีพ คือ (ประชาชนในสังคม/ชุมชน) ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการบริการสุขภาพ โดยร่วมมือกับหน่วยงานด้านสุขภาพต่างๆ และยังมีการจัดรายวิชาในหลักสูตรมีการบริการด้านสุขภาพ/สาธารณสุข มีการสอดแทรกกิจกรรมการเรียนการสอนที่ให้บริการสุขภาพครอบคลุมในเขตพื้นที่ของวิทยาลัยและใกล้เคียง โดยดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งได้เชิญผู้นำท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ/กิจกรรมพัฒนาชุมชนด้านสุขภาพ

6 ผลการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตร ผ่านองค์ประกอบที่1 มาตรฐานหลักสูตร

          ทั้ง 3 หลักสูตรของคณะผ่านการประเมินคุณภาพในองค์ประกอบที่1 มาตรฐานหลักสูตร ได้แก่หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

7 ผลประเมินการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลทั้ง 10 ประการ มากกว่า 3.51

          ผลการประเมินการบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารพบว่าค่าเฉลี่ยรายด้านมีดังต่อไปนี้คือ หลักประสิทธิผล (Effectiveness) มีค่าเฉลี่ย 4.04 หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) มีค่าเฉลี่ย 3.71 หลักการตอบสนอง (Responsiveness) มีค่าเฉลี่ย 4.58 หลักภาระความรับผิดชอบ (Accountability) มีค่าเฉลี่ย 4.37 หลักความโปร่งใส (Transparency) มีค่าเฉลี่ย 5.00 หลักการมีส่วนร่วม (Participation) มีค่าเฉลี่ย 4.71 หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) มีค่าเฉลี่ย 4.10 หลักนิติธรรม (Rule of Law) มีค่าเฉลี่ย 4.00 หลักความเสมอภาค (Equity) มีค่าเฉลี่ย 4.31 และหลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) มีค่าเฉลี่ย 5.00 ส่วนค่าเฉลี่ยรวมทุกรายด้านมีค่าเท่ากับ 4.38

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

….. 5 ข้อ …..

IQA (1-7)

1,2,3,4,5,6,7

7 ข้อ

5 คะแนน

EdPEx (1-5)

1,2,3,4,5

ร้อยละ 5

4 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน

รายการ

7.4.1.1

– ผลประเมินความพึงพอใจของบุคลากรต่อการบริหารงานของคณบดีและผู้บริหาร

7.4.2.1

– ผลประเมินความพึงพอใจของบุคลากรต่อการบริหารงานของคณบดีและผู้บริหาร

7.4.3.1

-ทุกหลักสูตรผ่านการประเมินคุณภาพของหลักสูตร

7.4.4.1

-โครงการอบรมคุณธรรมและจริยธรรม

7.4.5.1

-โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

-โครงการบริการวิชาการด้านอาชีวอนามัยแก่ชุมชน

7.4.6.1

-ทั้ง 3 หลักสูตรของคณะผ่านการประเมินคุณภาพในองค์ประกอบที่1 มาตรฐานหลักสูตร

7.4.7.1

-โครงการประเมินการบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร