องค์ประกอบที่ 1: ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 การนำองค์กร (การนำองค์กรโดยผู้นำระดับสูง)

องค์ประกอบที่ 1 การนำองค์กร

ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 การนำองค์กร (การนำองค์กรโดยผู้นำระดับสูง)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-6 ข้อ7 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-5 ประเมิน 70 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

1 วิสัยทัศน์และค่านิยม(กำหนดวิสัยทัศน์และค่านิยม) คณบดีดำเนินการอย่างไรในการกำหนดวิสัยทัศน์และค่านิยม

 (A) ผู้นำระดับสูงของคณะประกอบด้วย คณบดี รองคณบดี ประธานสาขาวิชา ได้ให้ความสำคัญกับการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม จึงได้มีการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563-2567) และแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2565 ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ และการเปลี่ยนแปลงในสังคม มาเป็นแนวคิดในการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจ (สำหรับค่านิยมได้ปฏิบัติตามของวิทยาลัย) คณบดีมีแนวคิดในการพัฒนาคณะโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกระดับ และผ่านการดำเนินงานจากคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการประจำคณะในการกำหนดการดำเนินงานที่พึงประสงค์และตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยและแผนปฏิบัติการของคณะ นอกจากนี้ยังการนำข้อมูลพื้นฐาน เช่น อัตรากำลัง ความเชี่ยวชาญของบุคลากร ข้อมูลผลิตภัณฑ์หลักของคณะ ความต้องการความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลการดำเนินการตามเป้าหมายตัวชี้วัดในปีที่ผ่านมา นำมาเป็นข้อมูลประกอบในการประชุมความคิดเห็นจากการมีส่วนร่วมของบุคลากรในคณะ เพื่อร่วมกับการวิเคราะห์และพิจารณา SWOT และร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ (เอกสาร รายงานการประชุม แผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการของคณะสาธารณสุขศาสตร์)

(D) คณบดีถ่ายทอดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม และแผนกลยุทธ์ที่สำคัญผ่านกระบวนการสื่อสารองค์กรไปสู่การปฏิบัติทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการในการขับเคลื่อนคณะให้เกิดผลสำเร็จสำหรับ

กลุ่มผู้บริหาร มอบหมายให้รองคณบดีเป็นผู้รับผิดชอบเสนอแนวทางที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ค่านิยม พันธกิจ ส่งเสริม สนับสนุน และให้คำปรึกษาผ่านช่องทางเป็น/ไม่เป็นทางการ เช่น การประชุมทีมผู้บริหารเดือนละ 1 ครั้ง รวมทั้งปรึกษาโดยตรง เช่น กลุ่ม Line ผู้บริหาร โทรศัพท์ เป็นต้น

กลุ่มผู้เรียน ได้แก่ การปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ Online คณบดีกล่าวต้อนรับนักศึกษาใหม่เองทุกครั้ง ปัจฉิมนิเทศ Online และสอดแทรกเนื้อหาในรายวิชา เป็นต้น

กลุ่มบุคลากร ได้แก่ การต้อนรับบุคลากรใหม่ การประชุมบุคลากร (ถ่ายทอดแผนงาน/เป้าหมายการดำเนินงานของคณะ ได้มีการเน้นยำถึงความสำคัญของวิสัยทัศน์ ค่านิยม พันธกิจ เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรทุกระดับ ได้นำวิสัยทัศน์ พันธกิจ  ค่านิยมไปปฏิบัติอย่างทั่วถึงกันแท้จริง ผ่านทางการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หนังสือเวียน Website คณะฯ เอกสารประชาสัมพันธ์ การติดต่อโดยตรงจากผู้เข้าบริการ)

(L) คณบดีและทีมบริหาร กำหนดการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง/สนับสนุนความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ/ส่งเสริมให้บุคลากรมีศักยภาพ และองค์ความรู้ในการพัฒนางานต่างๆ

(I) คณบดีและทีมบริหาร มีการทบทวนการดำเนินงาน ข้อเสนอแนะจากการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน และนำเสนอผลลัพธ์การดำเนินงานในการประชุมผู้บริหาร/การประชุมคณะกรรมการคณะ

เพื่อนำเข้ากระบวนการจัดทำแผนพัฒนาระบบงาน/กระบวนการปฏิบัติงาน/สนับสนุนการบริหารทางวิชาการ โดยมีการบูรณาการกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม ซึ่งจะเป็นพื้นฐานพฤติกรรมที่สำคัญต่อความสำเร็จของคณะ ประกอบกับบทบาทผู้นำการเป็นต้นแบบในการปฏิบัติตน ซึ่งพฤติกรรมที่พึงประสงค์จึงต้องได้มาจากการร่วมแสดงความคิดเห็นจากบุคลากรทุกระดับ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยผ่านการประชุมดังกล่าว ทำให้ได้พฤติกรรมที่พึงประสงค์ที่บุคลากรสามารถนำไปใช้ได้จริงในการปฏิบัติงานประจำชั้น (เอกสารประชุมคณะกรรมการบริหาร/คณะกรรมการคณะ)

2 วิสัยทัศน์และค่านิยม(การส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมาย และอย่างมีจริยธรรม) การปฏิบัติตนของคณบดีแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมาย และอย่างมีจริยธรรมอย่างไร

 (A) คณบดีประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการปลูกฝังเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ความโปร่งใส ตามกิจกรรมการส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและอย่างมีจริยธรรม โดยกำหนดนโยบายการปฏิบัติตามกฎหมาย ประเทศ ข้อบังคับ

(D) คณบดีมีการกำกับและสนับสนุนการประพฤติปฏิบัติผ่านวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม องค์กรซึ่งกำหนดให้เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ด้านการเป็นองค์กรที่ยึดหลักธรรมาภิบาล และการรับผิดชอบต่อสังคม มีเป้าหมายและตัวชี้วัดผลการดำเนินการเพื่อบรรลุผลสำเร็จตามกลยุทธ์ โดยเป้าหมายดังกล่าวถูกถ่ายทอดไปยังบุคลากรทุกระดับ และเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลการปฏิบัติงาน

(L) คณบดีมีการกำกับติดตามการดำเนินงานของผู้รับผิดชอบในแต่ละด้าน หากพบว่ามีพฤติกรรมที่น่าสงสัย เช่น การให้บริการที่ไม่ได้มาตรฐานหรือเกิดข้อร้องเรียน จะมีการพิจารณาข้อเท็จจริงผ่านคณะกรรมการบริหารคณะ โดยมีคณบดีเป็นประธานกรรมการ

(I) คณบดีส่งเสริมและสร้างสภาพแวดล้อมด้วยการเผยแพร่นโยบายตัวชี้วัดและเป้าหมายรวมทั้งได้สร้างวัฒนธรรมคุณภาพ จริยธรรมให้กับบุคลากรมีจิตสำนึกในการรักษ์สิ่งแวดล้อมตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535

          ตารางที่ 2.1 กิจกรรมการส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายอย่างมีจริยธรรม

  1. การปฏิบัติตามกฎกระทรวง ประกาศ และระเบียบข้อบังคับที่สำคัญ
  2. การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมในการปลูกฝังเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ความโปร่งใส
  3. การกำหนดกลยุทธ์การส่งเสริมประสิทธิภาพ ความโปร่งใส และเป็นธรรมในการบริหารงาน
  4. กิจกรรมพัฒนาระบบการสำรวจและประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหาร/คณะกรรมการคณะ
  5. การจัดระบบการจัดการข้อร้องเรียนของคณะ
  6. การประเมินความพึงพอใจของบุคลากร
    – ผู้บังคับบัญชามีการบริหารงานด้วยความโปร่งใส
    – ผู้บังคับบัญชามีการบริหารงานด้วยความเสมอภาคและเป็นธรรม
    – การเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้บังคับบัญชาในการทำงาน

3 การสื่อสาร คณบดีดำเนินการอย่างไรในการสื่อสารและสร้างความผูกพันกับบุคลากรทั่วทั้งองค์กร คู่ความร่วมมือสำคัญที่เป็นทางการ ผู้เรียน และลูกค้ากลุ่มอื่นที่สำคัญ

 (A) คณบดีใช้ระบบการนำองค์กรของคณะ โดยการสื่อสารและสร้างความผูกพันกับบุคลากรทั่วทั้งองค์กรและชุมชนที่สำคัญ คณบดีและทีมผู้บริหารทบทวนรูปแบบการสื่อสารเพื่อเข้าถึงบุคลากรและลูกค้ากลุ่มต่างๆ โดยกำหนดช่องทางและเนื้อหาที่จะสื่อสารให้เหมาะสมในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย

(D) การสื่อสารเป็นแบบ 2 ทิศทาง ผ่านช่องทาง Online และกลุ่ม Line ผู้บริหาร บุคลากรและนักศึกษาเพื่อกระจายข่าวสารการดำเนินงานแต่ละผลิตภัณฑ์ คณะฯ ประเมินประสิทธิผลของแต่ละช่องทาง พิจารณาช่องทางใหม่ๆ และปรับปรุงกระบวนการให้มีประสิทธิผลบรรลุวัตถุประสงค์จากการปรับปรุงมาอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ปัจจุบันกลุ่ม Line เป็นช่องทางสื่อสารที่รวดเร็ว กลุ่มบุคลากร กลุ่มนักศึกษา และกลุ่มศิษย์เก่าใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารและให้ข้อเสนอแนะ รวมถึงการแจ้งข้อร้องเรียนส่วนตัวถึงความดีโดยตรงสร้างการมีส่วนร่วมได้เป็นอย่างดี

(L) บุคลากรมีการใช้ข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สื่อประชาสัมพันธ์ เช่น ข่าวสารทุนวิจัย ข่าวการอบรมเชิงปฏิบัติต่างๆ ข่าวสารเกี่ยวกับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของบุคลากรและนักศึกษา เป็นต้น

(I) คณบดีและทีมบริหารสอบถามปัญหาการปฏิบัติงานบุคลากรสายสนับสนุนเป็นประจำ กรณีที่มีเรื่องเร่งด่วน บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องสามารถเข้าพบคณบดีได้โดยตรง และมุ่งเน้นสร้างความผูกพันจูงใจกับบุคลากรทั่วทั้งคณะฯ กับนักศึกษาและลูกค้ากลุ่มอื่นๆ เช่น การจัดเวทียกย่อง มอบใบประกาศเกียรติคุณ รางวัลแก่นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรที่ผลงานเด่นได้รับตำแหน่งทางวิชาการ ติดป้ายประกาศภายในคณะ ประชาสัมพันธ์ผ่าน Website คณะ Facebook คณะ

4 พันธกิจและผลการดำเนินการของคณะ(การสร้างสภาวะแวดล้อมเพื่อความสำเร็จ) คณบดีดำเนินการอย่างไร เพื่อทำให้คณะประสบความสำเร็จทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

(A) คณะมีระบบการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัด โดยกำหนดระบบงานหลักและงานสนับสนุน เพื่อให้บุคลากรทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ เน้นการดำเนินการที่สอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์คณะ พ.ศ. 2563-2567 และแผนปฏิบัติการของคณะ พ.ศ. 2565 มีการทำผลการประเมินรายงานคุณภาพ ผลการบริหารความเสี่ยง การรับฟังเสียงลูกค้าทุกกลุ่ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาเป็นข้อมูลในการทบทวนไปสู่การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี โดยบุคลากรทุกระดับมีส่วนร่วม

(D) คณบดีพิจารณาเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วนที่อาจมีผลกระทบต่อคณะโดยเฉพาะในกรณีที่เกิดภาวะวิกฤต เช่น การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คณบดีและทีมบริหารวางแผนกระบวนการทำงานเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและการปฏิบัติงานไม่หยุดชะงัก รวมทั้งสร้างความปลอดภัยให้กับบุคลากร และนักศึกษา

(L) คณบดีกระจายอำนาจให้รองคณบดี ประธานสาขาวิชา และมอบหมายงานคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการคณะ เน้นการสร้างการเรียนรู้ การทำงานเป็นทีม เพื่อเป็นการจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงานและทำให้องค์กรบรรลุพันธกิจ

(I) นอกจากนั้นยังเน้นระบบบริหารความเสี่ยงทุกด้านของผลิตภัณฑ์ ผ่านคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงคณะฯ ทำหน้าที่วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง และระดับความเสี่ยงทั้งระดับยุทธศาสตร์ ปฏิบัติการ การเงิน การปฏิบัติตามกฎระเบียบ ระบบการสร้างความโปร่งใส โดยมีการจัดระบบข้อมูลเผยแพร่ทาง Website คณะ

5 พันธกิจและผลการดำเนินการของคณะ(การทำให้เกิดการมุ่งเน้นการปฏิบัติอย่างจริงจัง) คณบดีดำเนินการอย่างไร เพื่อให้บรรลุพันธกิจของคณะ

(A) คณบดีกำหนดนำผลที่ได้จากการดำเนินการในรอบปีที่ผ่านมาประกอบด้วยผลการดำเนินการในทุกผลิตภัณฑ์ ผลการวิเคราะห์ระบบงานและระบบปฏิบัติการ ผลการประเมินคุณภาพภายในข้อเสนอแนะของผู้ประเมินคุณภาพภายใน ข้อร้องเรียนและการรับฟังเสียงของลูกค้าจากช่องทางต่างๆมาทำการวิเคราะห์หาสาเหตุที่ส่งผลต่อความสำเร็จแล้วนำมาจัดทำเป็นแผนปรับปรุง (Improvement Plan) ซึ่งเป็นแผนระยะสั้น นำไปสู่การปฏิบัติทันที

(D) คณะกรรมการประกันคุณภาพ ทำหน้าที่เชิญผู้เกี่ยวข้องร่วมกิจกรรม การวิเคราะห์หาสาเหตุที่ส่งผลต่อความสำเร็จ และจัดทำเป็นแผนปรับปรุง (Improvement Plan) เสนอต่อคณะกรรมการบริหารคณะ

(L) ผลการดำเนินการตามแผนปรับปรุง (Improvement Plan) พ.ศ. 2564 ทำให้ในรอบปีการศึกษาที่ผ่านมา แก้ปัญหาการบรรลุผลสำเร็จตามแผนปฏิบัติการประจำปี และบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ของคณะได้ (คือ มีผลงานได้รับการจดสิทธิบัตรและมีรายได้จากการบริการทางวิชาการเพิ่มมากขึ้น) 

(I) ผลการดำเนินการนอกจากจะส่งผลต่อการบรรลุผลสำเร็จตามแผนปฏิบัติการประจำปีและบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ของคณะแล้ว ยังตอบสนองต่อความคาดหวังของลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พันธมิตรและคู่ความร่วมมือ โดยลูกค้ามีการใช้บริการซ้ำ

6 มีการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการ

(A) คณบดีใช้หลักธรรมาภิบาลในการควบคุม ตรวจสอบและประเมินผลกิจการต่างๆของคณะที่ประกอบด้วยหลักประสิทธิภาพ หลักประสิทธิผล หลักการตอบสนอง หลักการความรับผิดชอบ สามารถตรวจสอบได้ หลักความโปร่งใสและเปิดเผย หลักนิติธรรม หลักความเสมอภาค หลักการมีส่วนร่วม หลักการกระจายอำนาจ หลักมุ่งเน้นฉันทามติ และหลักคุณธรรมจริยธรรม โดยอธิการบดีจะนำการประเมินผลการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในฐานะผู้บังคับบัญชา และกำหนดให้คณาจารย์มาการประเมินผลการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชา ก่อนสิ้นปีการศึกษา

(D) คณะทำงานประชาสัมพันธ์และประสานความร่วมมือ รับผิดชอบประชาสัมพันธ์ เรื่องการบริการตามหลักธรรมาภิบาล ความสัมพันธ์ของหลักธรรมาภิบาลในแต่ละหลักสูตรที่บูรณาการในระบบงานต่างๆ และการประเมินผลการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของคณบดีให้กับคณาจารย์ได้รับทราบและคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา รับผิดชอบในการส่งแบบประเมินและเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผ่าน Google form ซึ่งทำให้รักษาความลับของผู้ทำการประเมินได้ จากนั้นนำไปจัดทำรายงานผลการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของคณบดี และเสนอรายงานต่อคณะกรรมการบริหารของคณะต่อไป 

 (L) ในระยะแรกของคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาออกแบบการประเมินการบริการตามหลักธรรมาภิบาลของคณบดีตามประเด็นหลักการทั้ง 10 ประการ ซึ่งได้ผลการประเมินค่อนข้างสูงมากจึงได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการบริหาร ให้จัดทำแบบประเมินหลักธรรมาภิบาลที่สัมพันธ์กับระบบงาน/ระบบปฏิบัติการต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการนำผลการประเมินไปพัฒนาระบบงานต่อไปได้ และผลการประเมินการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของคณบดี 3 ปี ย้อนหลังพบว่าทุกหลักการบริการอยู่ในระดับดี และมีแนวโน้มสูงขึ้น

 (I) การประเมินการบริหารตามธรรมาภิบาลของคณบดี นอกจากจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการบริหารงานของคณบดี ตามหลักการที่เป็นที่ยอมรับแล้วยังส่งผลดีต่อการพัฒนาค่านิยม STAR ของคณะอย่างต่อเนื่อง คือ คำนึงถึงความปลอดภัย ใช้เทคโนโลยี ปฏิบัติถูกต้องตรวจสอบได้ด้วยความรับผิดชอบ 

7 มีระบบการรับฟัง และตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ผู้ใช้ และท้องถิ่น

(A) คณบดีกำหนดระบบการรับฟังและตอบสนองของผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย

  • การให้ข้อมูลผ่านช่องทาง Electronic เช่น Website (ห้องทั่วไปและห้องคุยกับคณบดี) Line e-mail
  • การให้ข้อมูลผ่านช่องทางเอกสาร เช่น จดหมาย หนังสือร้องเรียน การให้ข้อเสนอแนะจากการตอบแบบสอบถามหรือการประเมินต่างๆ
  • การให้ข้อมูลโดยตรง เช่น การแจ้งด้วยวาจากับเจ้าหน้าที่ การแจ้งเจ้าหน้าที่ การแจ้งผ่านโทรศัพท์
  • การส่งเจ้าหน้าที่ออกไปสัมภาษณ์ สอบถาม ผู้เรียน ผู้ใช้บัณฑิต และท้องถิ่น

(D) คณะทำงานประชาสัมพันธ์และประสานความร่วมมือและรับผิดชอบในการดำเนินการตามระบบการรับฟังและตอบสนองตามความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง และสรุปรายงานผลการรับฟัง และตอบสนองความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง เสนอต่อคณะกรรมการบริหารคณะอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง ยกเว้นกรณีที่อาจเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงให้รายงานทันที

(L) ในระยะแรกคณะทำงานประชาสัมพันธ์และประสานความร่วมมือได้รับข้อมูลที่เป็นเชิงบวกเพียงด้านเดียว คณะทำงานจึงเพิ่มการให้ข้อมูลผ่านช่องทาง Electronic ด้วย การใช้ Google form ซึ่งเป็นช่องทางที่ปลอดภัยกับผู้ให้ข้อมูล ทำให้คณะทำงานได้รับข้อมูลเป็นที่ทั้งข้อมูลเชิงบวกและข้อมูลเชิงลบ ทำให้คณะสามารถจัดการกับต้นเหตุของปัญหาได้ทันถ่วงที 

(I) ผลการรับฟังและตอบสนองความต้องการของผู้เกี่ยวข้องที่กำหนด นอกจากเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตามแบบงาน/ระบบปฏิบัติการแล้วยังสร้างความเชื่อมั่นจากผู้เรียน 1) ผู้ใช้บัณฑิต และท้องถิ่น โดยผลสำรวจความพึงพอใจของบัณฑิต และความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตปีการศึกษา 2563-2565 เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

….. 5 ข้อ …..

IQA (1-7)

1,2,3,4,5,6,7

7 ข้อ

 5 คะแนน

EdPEx (1-5)

1,2,3,4,5

ร้อยละ 5

3.50 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน

รายการ

1.1.1.1

-รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ


-แผนยุทธศาสตร์


-แผนปฏิบัติการของคณะสาธารณสุขศาสตร์

1.1.2.1

-ผลประเมินการบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร

1.1.3.1

-รายงานการประชุมรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ/ติดป้ายประกาศภายในคณะ /ประชาสัมพันธ์ผ่าน Website  Facebook และ Line

1.1.4.1

โครงสร้างการบริหารจัดการของคณะ/โครงการบริหารความเสี่ยงของคณะ

1.1.5.1

– ผลการประเมินความพึงพอใจของบุคลากรต่อการบริหารงานของคณบดี

1.1.6.1

– ผลการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของคณบดี

1.1.7.1

– ช่องทางสื่อสาร https://www.stic.ac.th/th/academics-th/faculties-th/public-health-th/about-the-faculty

-ผลสำรวจความพึงพอใจของบัณฑิต และความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตปีการศึกษา 2563-2565 เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง