เกี่ยวกับคณะสาธารณสุขศาสตร์

เกี่ยวกับคณะสาธารณสุขศาสตร์

รายงานการประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2565

คณะสาธารณสุขศาสตร์

วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา

 บทนำ: โครงร่างองค์กร

(ข้อมูลพื้นฐานของคณะ)

1.ลักษณะองค์กร

ก. สภาพแวดล้อมองค์กร

          คณะสาธารณสุขศาสตร์ เป็นคณะที่ 5 ของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา โดยตั้งขึ้นปี 2554 ปัจจุบันคณะสาธารณสุขศาสตร์ ดำเนินการเรียนการสอน 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะฯ ได้ดำเนินภารกิจต่างๆ ตามเจตนารมณ์ของการจัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา และได้มีพัฒนาการก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยมีภารกิจหลัก คือ การผลิตบัณฑิต การศึกษาวิจัย การทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม และการบริการวิชาการแก่ชุมชน ตลอดจนคณะฯ มีการดำเนินการวิจัยในสาขาวิชาด้านสาธารณสุข ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย รวมทั้งมีการดำเนินงานส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างสม่ำเสมอด้วย

          1) การจัดการศึกษา วิจัย และบริการทางการศึกษาที่สำคัญ

              ผลิตภัณฑ์ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ ประกอบด้วย 3 ผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์ด้านการจัดการศึกษา ผลิตภัณฑ์ด้านวิจัย และผลิตภัณฑ์ด้านการบริการวิชาการ มีรายละเอียดดังนี้คือ

  • ผลิตภัณฑ์ด้านการจัดการศึกษา ได้แก่ หลักสูตรระดับปริญญาตรี 2 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 1 หลักสูตร ตามตารางที่ 1.1

ตามตารางที่ 1.1 หลักสูตรระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา

ระดับปริญญาตรี 2 หลักสูตร

ระดับปริญญาโท 1 หลักสูตร

– ส.บ.   สาขาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต

– วท.บ. สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

– ส.ม.   สาขาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต

 

  • ผลิตภัณฑ์ด้านการวิจัย คณะฯ ผลิตองค์ความรู้ใหม่ด้านสุขภาพ การสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมผ่านการวิจัยเชิงบูรณาการ สร้างนวัตกรรมร่วมกับหน่วยงานภายในและภายนอกวิทยาลัยด้วยจริยธรรม จรรยาบรรณการวิจัย ส่งมอบผลการวิจัยให้กับแหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชนมีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติที่มีคุณภาพ
  • ผลิตภัณฑ์ด้านบริการวิชาการ ได้แก่ การบริการวิชาการแบบมุ่งรายได้ การบริการวิชาการแบบประจำ การบริการวิชาการแบบให้เปล่า

ตามตารางที่ 1.2 ผลิตภัณฑ์หลัก ความสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จ กลไกการส่งมอบ/วิธีการจัดการ

ผลิตภัณฑ์หลัก

ความสำคัญต่อความสำเร็จของคณะ

กลไกการส่งมอบ/การบริหาร

ด้านการจัดการศึกษา

– หลักสูตรระดับปริญญาตรี

– ผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหลักสูตรและคณะฯ  มาตรฐานวิชาชีพและวิชาการ เป็นนักสาธารณสุขที่มีความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นผู้นำทางวิชาการ

– นักศึกษาสำเร็จการศึกษาตามเวลาที่กำหนดในหลักสูตร

– ภาวะการมีงานทำและศึกษาต่อได้

– ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตระดับปริญญาตรี

– นักศึกษามีความพึงพอใจและผูกพันกับคณะฯ

– คณบดีมอบหมายรองคณบดี ประธานสาขาวิชารับนโยบายกำกับดูแลนักศึกษาด้านการจัดการศึกษาตามหลักสูตรระดับปริญญาตรี ร่วมพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร/กำหนดแผนพัฒนาคุณภาพนักศึกษาและจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรมีคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและกรรมการคณะฯ กำกับคุณภาพหลักสูตร

 

2)หลักสูตรปริญญาโท

– ผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหลักสูตรและคณะฯ  มาตรฐานวิชาชีพและวิชาการ เป็นนักสาธารณสุขที่มีความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นผู้นำทางวิชาการ

– นักศึกษาสำเร็จการศึกษาตามเวลาที่กำหนดในหลักสูตร

– คุณภาพงานวิทยานิพนธ์ที่ได้ตีพิมพ์

– ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตระดับปริญญาโท

– นักศึกษามีความพึงพอใจและผูกพันกับคณะฯ

– คณบดีมอบหมายรองคณบดี ประธานสาขาวิชารับนโยบายกำกับดูแล งานบัณฑิตศึกษาและประสานงานกับบัณฑิตศึกษา สนับสนุนการบริหารและจัดการผ่านคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาในการกำหนดนโยบาย และแผนงานการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา โดยประกบหลักสูตรบริหารจัดการการเรียนการสอนและกิจกรรมสนับสนุนหลักสูตรและคณะกรรมการประจำคณะฯ กำกับคุณภาพหลักสูตร

ด้านการวิจัย

– ข้อเสนอโครงร่างวิจัย

 

 

– ผลงานวิจัย

– ผลิตองค์ความรู้ใหม่ พัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาการด้านสุขภาพ การสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

– สนับสนุนการสร้างสิ่งประดิษฐ์/นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสุขภาพ การสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

– สร้างชื่อเสียง ความเชื่อมั่น ความไว้วางใจกับแหล่งทุน และสนับสนุนการวิจัยตามยุทธศาสตร์การวิจัยของประเทศ

– สนับสนุนการสร้างความเป็นผู้นำ การเผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับทางวิขาการด้านสุขภาพ การสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม

– สนับสนุนการสร้างความเป็นผู้นำการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาจากผลงานวิจัยด้านสุขภาพ การสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม

– สนับสนุนการสร้างความเป็นผู้นำ การนำผลงานวิจัยไปพัฒนาเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์/อุตสาหกรรม

– คณบดี มอบหมาย รองคณบดีและประธานสาขาวิชา เป็นผู้กำกับดูแล บริการงานวิจัยดำเนินส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และการนำไปสู่การใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้แก่ การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มีคุณภาพหรือการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ฯลฯ ทำหน้าที่ประสานงานด้านวิจัยกับผู้วิจัยภายในคณะฯ และผู้เกี่ยวข้องในวิทยาลัยและแหล่งทุนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องภายนอก เพื่อขอรับการสนับสนุน เช่น

1) การขอทุนสนับสนุนการวิจัย

2) การส่งข้อเสนอโครงการวิจัยไปยังแหล่งทุน

3) การพิจารณาจริยธรรมในมนุษย์/สัตว์/ความปลอดภัยกับทางชีวภาพ

4) การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์/อุตสาหกรรม

5) การพัฒนาคุณภาพนักวิจัย/ผลงานวิจัยในการให้รางวัลหรือทุนสนับสนุนการตีพิมพ์ตลอดจนมีคณะกรรมการประจำคณะฯ กำกับติดตามการดำเนินการวิจัย

ด้านการบริการวิชาการ

– การบริการวิชาการแบบให้เปล่า ได้แก่ การจัดประชุมวิชาการโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน/การให้คำปรึกษาดูแลผู้ป่วยเกี่ยวกับการติดโรค Covid

– การบริการวิชาการแบบประจำ ได้แก่ โครงการบริการวิชาการด้านอาชีวอนามัยแก่ชุมชน  

– การบริหารวิชาการแบบทำรายได้ ได้แก่ การจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นเกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพ (Resuscitation) โดยร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ให้กับสมาคมสุขศาสตร์อุตสาหกรรมแห่งเอเชีย (สมาคมขอชะลอไว้ก่อนเนื่องจากบุคลากรที่จะเข้าอบรมยังไม่สะดวก)

– สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของคณะฯ

– ผู้รับบริการพึงพอใจ

– สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับชุมชน

 

– สร้างความเชี่ยวชาญให้บุคลากรของคณะฯ

– ได้แหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาเพิ่มขึ้น

 

– คณบดี และทีมบริการของคณะฯ ร่วมวางแผนการบริการวิชาการเพื่อเป็นไปตามยุทธศาสตร์คณะฯ และวิทยาลัย โดยได้มีการสอบถามความต้องการของชุมชน/สถานประกอบการ เพื่อประกอบการวางแผนจัดการบริการวิชาการให้ตรงตามความต้องการ

 

– คณบดีมอบหมายรองคณบดีและประธานสาขาวิชา กำกับดูแลบริการงานบริการวิชาการดังกล่าวเพื่อให้การดำเนินงานได้มีการบูรณาการศาสตร์ด้านสุขภาพ สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพตามสนองความต้องการของลูกค้า/ผู้ใช้บริการ รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีคณะกรรมการประจำคณะฯ กำกับติดตามการดำเนินงานดังกล่าว

2)พันธกิจ วิสัยทัศน์ ค่านิยม และวัฒนธรรม

พันธกิจ วิสัยทัศน์ ค่านิยม สมรรถนะหลัก และวัฒนธรรมของคณะ มีดังนี้

พันธกิจ

1. การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติอย่างมีคุณภาพ

2. การพัฒนานักศึกษาให้มีผลลัพธ์การเรียนรู้ 5 ด้านอย่างมีประสิทธิ์ภาพ

3. สร้างงานวิจัย งานวิชาการและนวัตกรรม สู่การนำไปใช้ประโยชน์

4. ให้บริการวิชาการแก่สังคม ชุมชนในการพึ่งตนเองทางสุขภาพ

5. สืบสานและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยและเผยแพร่สู่สากล

6. บริหารจัดการทรัพยากรที่มีคุณภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันของประชาคมอาเซียน

วิสัยทัศน์

สร้างบัณฑิตด้านสาธารณสุขให้มีความรู้ ความสามารถในการพัฒนาสุขภาพของบุคคล ครอบครัว ชุมชม และสังคม ในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ

ค่านิยม

คนที่มีคุณค่าสามารถสร้างผลงานที่มีคุณค่าส่งผลให้องค์กรนั้นมีคุณค่า

สมรรถนะหลัก

…………………………………………………………………

วัฒนธรรมองค์กร

…………………………………………………………………

3)ลักษณะโดยรวมของบุคลากร

3.1) ปัจจัยที่ทำให้บุคลากรมีความผูกพันต่อคณะฯ

3.2) สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของกลุ่มบุคลากร

3.3) ข้อกำหนดพิเศษด้านสุขภาพและความปลลอดภัย

คณะมีบุคลากรรวม 13 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2566) มีรายละเอียดดังนี้

ประเภท

จำนวน

วุฒิการศึกษา

ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน

ปัจจัยที่บุคลากรมีความผูกพันกับคณะวิชา

คน

ร้อยละ

ตรี

โท

เอก

<10ปี

10-15ปี

>15 ปี

อาจารย์

12

 

8

4

7

5

ความยอมรับจากผู้ร่วมงาน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

 

ความไว้วางใจจากคณบดี

รองศาสตราจารย์

2

 

2

1

1

ได้รับผิดชอบงานที่ท้าทาย

รวมคณาจารย์

14

 

8

6

8

6

 

เจ้าหน้าที่

 

 

รวมสายสนับสนุน

1

 

1

1

ความเป็นกันเองของทีมงาน

 4)สินทรัพย์

คณะมี ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์ที่สำคัญ และเทคโนโลยี เพียงพอและเหมาะสมกับการผลิต เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ของคณะ ดังนี้

พื้นที่สำหรับใช้สอย

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่สำคัญ

เทคโนโลยีที่สำคัญ

-ห้องพักอาจารย์ 1 ห้อง

-ห้องเรียน 1 ห้อง

-ห้องปฏิบัติการ 1 ห้อง

-ครุภัณฑ์ประจำห้องพักอาจารย์

-ครุภัณฑ์ประจำห้องเรียน

-ครุภัณฑ์ประจำห้องปฏิบัติการ

-อุปกรณ์และระบบสารสนเทศ

-ระบบอินเทอร์เน็ต, Wi-Fi

-ระบบการติดตามดูแลรักษาและการส่งไปทำการสอบเทียบเครื่องมือ (Calibration)

5)สภาพแวดล้อมด้าน กฎระเบียบข้อบังคับ

คณะ ใช้ กฎกระทรวง ข้อบังคับ ประกาศ สำหรับการจัดการอุดมศึกษา  ทั้งของทางราชการ และ ของวิทยาลัยฯ มาใช้ในการปฏิบัติ ดังนี้

 

งาน

กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ

การศึกษา

-พ.ร.บ. อุดมศึกษา 2562

-กฎกระทรวง อุดมศึกษา

-มาตรฐานหลักสูตร สป.อว.

-พ.ร.บ. วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2556

-พ.ร.บ. อุดมศึกษาเอกชน

-ระเบียบ ประกาศ  แนวปฏิบัติ ของ สป.อว.

-ระเบียบ ประกาศ  แนวปฏิบัติ ของวิทยาลัยฯ

การวิจัย

-ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561-2580)

-ข้อบังคับการบริหารทรัพย์สินทางปัญญาฯ

-มาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี

-จรรยาบรรณการวิจัยในมนุษย์ วช. 2556

-ประกาศของวิทยาลัยฯ การขอรับทุนการวิจัย

การบริการวิชาการ

-ประกาศวิทยาลัยฯ  การรับทำวิจัยและบริการฯ

-ประกาศวิทยาลัยฯ  อัตราค่าบำรุงการใช้อุปกรณ์

การบริหาร

-พ.ร.บ. อุดมศึกษา 2562

-ข้อบังคับ ธรรมาภิบาลอุดมศึกษา

-พ.ร.บ. อุดมศึกษาเอกชน

-กฎหระทรวงมาตรฐานคุณภาพอุดมศึกษา

ข. ความสัมพันธ์ระดับองค์กร

1)โครงสร้างองค์กร

โครงสร้างการบริหารงานของคณะ มีคณบดีเป็นผู้บริหารสูงสุด วาระการดำรงตำแหน่งเป็นไปตามประกาศการแต่งตั้งของวิทยาลัย การบริหารของคณะขึ้นตรงต่ออธิการบดี หน่วยงานในสังกัดคณะ ประกอบด้วย 3 สาขาวิชา

ผู้บริหาร ประกอบด้วย คณบดี รองคณบดี 1 คน ประธานสาขาวิชา 3 คน

การกำกับดูแลของคณะ มีการดำเนินการในรูปคณะกรรมการ คือคณะกรรมการบริหารคณะ ประกอบด้วย คณบดี รองคณบดี ประธานสาขาวิชา และ เลขานุการคณะ นอกจากนี้ มีคณะกรรมการ(คกก.)/คณะทำงาน ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการ กำกับ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินการ ตามผลิตภัณฑ์หลักของคณะ ดังนี้

ผลิตภัณฑ์ด้านการศึกษา

ผลิตภัณฑ์ด้านการวิจัย

ผลิตภัณฑ์ด้านการบริการวิชาการ

-คกก. บริหารหลักสูตรปริญญาตรี 2 หลักสูตร

-คกก. บริหารหลักสูตรปริญญาโท 1 หลักสูตร

-คกก. กิจการนักศึกษา

-คกก. ประเมินผล TOEIC และคุณลักษณะบัณฑิต

-คกก. ประกันคุณภาพการศึกษา

-คกก.วิจัยและนวัตกรรม

-คณะทำงานจัดการทรัพย์สินทางปัญญาฯ

-คกก. บริการวิชาการ

-คณะทำงานประชาสัมพันธ์และประสานงานความร่วมมือระหว่างองค์กร

 

2)ผู้เรียน ลูกค้ากลุ่มอื่น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

คณะกำหนดลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  ตามผลิตภัณฑ์หลัก ซึ่งแต่ละกลุ่มมีความต้องการและความคาดหวังที่สำคัญ ดังนี้

ลูกค้า/ความต้องการและความคาดหวัง

ประเภทลูกค้า

ความต้องการและความคาดหวัง

1.ลูกค้าด้านการศึกษา

1. ความรู้และการมีงานทำเมื่อสำเร็จการศึกษา

   1.1 นักศึกษาระดับปริญญาตรี

2. การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่กำหนดในหลักสูตร

3. กิจกรรมเสริมหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะภาษาอังกฤษและสมรรถนะวิชาชีพ

4. การบริการทางการศึกษาที่อำนวยความสะดวก ส่งเสริมการเรียนรู้และปลอดภัย

   1.2 นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

1. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่กำหนดในหลักสูตร

2. บรรยากาศการเรียนรู้ส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้องค์ความรู้/สร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านสาธารณสุข

2.ลูกค้าด้านการวิจัย

    2.1 ผู้ให้ทุนการวิจัย

ได้รับผลผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพ และส่งมอบได้ตรงเวลาที่สัญญากำหนด

3.ลูกค้าด้านการบริการวิชาการ

 

   3.1ผู้รับบริการด้านวิจัยและที่ปรึกษาการวิจัย

– ได้รับผลผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ 

– ได้รับผลผลิตด้านการให้บริการวิชาการนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอดได้

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในผลิตภัณฑ์ด้านการวิจัย ความต้องการและคาดหวัง

ความต้องการและคาดหวัง

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ผู้ถือหุ้น

ชุมชน

ผู้ประกอบการ

ประเทศ

1.ผลผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

 

2.ใช้งบประมาณในการวิจัยเป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง

     

3.เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา

 

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในผลิตภัณฑ์ด้านการศึกษา ความต้องการและคาดหวัง

ความต้องการและคาดหวัง

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ผู้ถือหุ้น

ผู้ปกครอง

ผู้ร่วมผลิต

ผู้ใช้บัณฑิต

ศิษย์เก่า

1.บุตร/หลานได้รับการดูแล เป็นคนดี  มีความรู้ มีงานทำ

 

     

2.นักศึกษามีความรับผิดชอบและมีสมรรถนะในการปฏิบัติงาน

 

   

3.บัณฑิตมีคุณลักษณะ และสมรรถนะด้านสาธารณสุข

 

 

4.โอกาสการได้รับข่าวสาร และข้อมูลใหม่ๆด้านสาธารณสุข

 

5.การยกย่อง เชิดชูเกียรติ และการร่วมมือในการจัดการเรียนรู้

   

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในผลิตภัณฑ์ด้านการบริการวิชาการ ความต้องการและคาดหวัง

ความต้องการและคาดหวัง

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ผู้ถือหุ้น

ผู้ประกอบการ

หน่วยงานภาครัฐ

ประเทศ

1.ผลผลิตงานวิจัยมีคุณภาพ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

 

 

2.ผลการ ทดสอบที่ถูกต้อง ได้มาตรฐานทางวิชาการ

 

 

3.มีการพัฒนาทางวิชาการด้านสาธารณสุขในบริบทไทย

3)ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และคู่ความร่วมมือ

คณะ ใช้กระบวนการความร่วมมือ กับ ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และคู่ความร่วมมือ เพื่อจัดทำบทบาทความร่วมมือ ข้อกำหนดที่สำคัญ และกลไกในการสื่อสารร่วมกัน ในแต่ละผลิตภัณฑ์ ดังนี้

ผลิตภัณฑ์ด้านการวิจัย

กลุ่ม

บทบาทความร่วมมือ

ข้อกำหนดที่สำคัญ

กลไกในการสื่อสารร่วมกัน

ผู้ส่งมอบ

-สำนักวิจัยและพัฒนาของวิทยาลัยฯ

-แจ้งข้อมูลแหล่งทุนภายนอก

-พิจารณาทุนวิจัยภายใน

-ยุทธศาสตร์การวิจัยชาติ/STIC

-ข้อตกลงทุนแหล่งทุนภายนอก

-ข้อบังคับ/สัญญาทุนภายใน

-E-mail, Line

-การประชุม/อบรม

-หนังสือราชการ/บันทึกภายใน

พันธมิตร

-คณะ/นักวิจัย ใน STIC

-ความร่วมมือในการทำวิจัย

-ประกาศ สัดส่วนในผลงานวิจัย

-E-mail, Line

-หน่วยงาน/นักวิจัย  นอก STIC

-ความร่วมมือในการจัดทำโครงร่างขอทุนวิจัยจาก PMU ภาครัฐ

-ความร่วมมือในการทำวิจัย

-ยุทธศาสตร์การวิจัยชาติ

-ประกาศ การส่งเสริมการทำวิจัยร่วมกับหน่วยงานอื่น

-E-mail, Zoom,โทรศัพท์

-การประชุม

-หนังสือราชการ/บันทึกภายใน

คู่ความร่วมมือ

-คกก.การวิจัยในมนุษย์

-สนับสนุนการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

-จรรยาบรรณการวิจัยในมนุษย์ วช 2556

-E-mail, Line

-หนังสือราชการ/บันทึกภายใน

-สถาบันวิจัย/หน่วยทดสอบ ในประเทศและต่างประเทศ

-สนับสนุน องค์ความรู้  พื้นที่ อุปกรณ์ เครื่องมือ หรืองบประมาณในการวิจัย

-MOU

-E-mail, Zoom,โทรศัพท์

-การประชุม

-หนังสือราชการ/บันทึกภายใน

ผลิตภัณฑ์ด้านการศึกษา

กลุ่ม

บทบาทความร่วมมือ

ข้อกำหนดที่สำคัญ

กลไกในการสื่อสารร่วมกัน

ผู้ส่งมอบ

     

-สำนักวิชาการ

-เปลี่ยนผู้รับผิดชอบหลักสูตร/อาจารย์ประจำหลักสูตร

-พัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตร

-ตรวจสอบและรับรองหลักสูตร

-มาตรฐานหลักสูตร 2565

-ประกาศ การตรวจสอบและรับรองหลักสูตร

-ประกาศ สป.อว. ที่เกี่ยวข้อง

E-mail, Line

-การประชุม

-หนังสือราชการ/บันทึกภายใน

-สำนักทะเบียนและวัดผล

-ข้อมูลการรับเข้า การลงทะเบียน การสำเร็จการศึกษาของนักศึกษา

-ประกาศ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา การวัดและประเมินผล

-E-mail, Line

-หนังสือราชการ/บันทึกภายใน

พันธมิตร

     

-คณะมนุษย์และสังคมศาสตร์

-การจัดการเรียนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป

-คุณลักษะที่พึงประสงค์ของนักศึกษา

-E-mail, Line

-หนังสือราชการ/บันทึกภายใน

-คณะบริหารธุรกิจ

-ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร

-จัดการเรียนรู้ตามแผนการศึกษา

-สมรรถนะภาษาอังกฤษและสมรรถนะทางวิชาชีพ

-E-mail, Line

-หนังสือราชการ/บันทึกภายใน

-มหาวิทยาลัยใน-ต่างประเทศที่จัดการศึกษาในหลักสูตรเดียวกัน

-ความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอน /การบริหารการศึกษา

-การแลกเปลี่ยนทางวิชาการ

-MOU

-ประกาศ สป.อว. คลังหน่วยกิต/การเรียนรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย

-E-mail, Zoom,โทรศัพท์

-การประชุม/การประชุมทางไกล

-หนังสือราชการ/บันทึกภายใน

คู่ความร่วมมือ

     

-แหล่งศึกษา/ดูงาน/ฝึกงาน

-สนับสนุนพื้นที่/สถานที่ เข้าศึกษา ดูงาน ฝึกปฏิบัติ ฝึกงาน

-ร่วมจัดประสบการณ์ภาคปฏิบัติ การนิเทศงาน การประเมินผล

-MOU

-E-mail,โทรศัพท์

-หนังสือราชการ/บันทึกภายใน

-สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

-สนับสนุน การเข้าถึงและสืบค้น เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง

-ประกาศ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา การวัดและประเมินผล

-E-mail, Line

-หนังสือราชการ/บันทึกภายใน

-คกก.การวิจัยในมนุษย์

-สนับสนุนการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

-จรรยาบรรณการวิจัยในมนุษย์ วช 2556

-E-mail, Line

-หนังสือราชการ/บันทึกภายใน

 ผลิตภัณฑ์ด้านการบริการวิชาการ

กลุ่ม

บทบาทความร่วมมือ

ข้อกำหนดที่สำคัญ

กลไกในการสื่อสารร่วมกัน

ผู้ส่งมอบ

     

-หน่วยงานที่มีลูกค้าที่จะเข้ามาใช้บริการ วิจัย/ที่ปรึกษา /ทดสอบ

-หน่วยงานมาตรฐานทางสาธารณสุข

-การบริการตามกรอบสัญญา(TOR)

-การควบคุมตามมาตรฐานทางสาธารณสุข

-ความครบถ้วนของผลงานตามTOR ที่ได้คุณภาพ/มาตรฐาน

-ความพึงพอใจ ความผูกพัน และการใช้บริการซ้ำ ของลูกค้า

-E-mail, Zoom,โทรศัพท์

-การประชุม/การประชุมทางไกล

-หนังสือราชการ/บันทึกภายใน

-ประเมินผลการบริการวิชาการ

พันธมิตร

     

-คณะบริหารธุรกิจ

-ความร่วมมือในการวิจัย/ที่ปรึกษาการวิจัย

-ความร่วมมือในการทดสอบ

–ประกาศ สัดส่วนในผลงานวิจัย/ที่ปรึกษา/ การบริการวิชาการ

-E-mail, Line

-หนังสือราชการ/บันทึกภายใน

คู่ความร่วมมือ

     

-คกก.การวิจัยในมนุษย์

-สนับสนุนการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

-จรรยาบรรณการวิจัยในมนุษย์ วช 2556

-E-mail, Line

-หนังสือราชการ/บันทึกภายใน

-สถาบันวิจัย/หน่วยทดสอบ ในประเทศและต่างประเทศ

-สนับสนุน องค์ความรู้  พื้นที่ อุปกรณ์ เครื่องมือ หรืองบประมาณบริการวิชาการ

-MOU

-E-mail, Zoom,โทรศัพท์

-การประชุม

-หนังสือราชการ/บันทึกภายใน

2.สถานการณ์ขององค์กร

ก. สภาพแวดล้อมด้านการแข่งขัน

1)ลำดับในการแข่งขัน

คณะมีการเทียบเคียงผลการดำเนินการกับคณะวิชาเดียวกันในสถาบันอื่นของไทย จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์ด้านการวิจัย และผลิตภัณฑ์ด้านการศึกษา  สำหรับผลิตภัณฑ์ด้านการบริการวิชาการ คณะได้ทำการเทียบเคียงกับผลการดำเนินการของคณะ ในปีปัจจุบันกับ ผลการดำเนินการ 2 ปีที่ผ่านมา โดยข้อมูลการเทียบเคียงกับคณะวิชาในสถาบันอื่น  มีรายละเอียดดังนี้

ผลิตภัณฑ์

สถาบันที่เทียบเคียง

ตัวชี้วัดในการเทียบเคียง

ผลิตภัณฑ์ด้านการวิจัย

คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม. ………..

-จำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ

-จำนวนผลงานนวัตกรรมที่จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา

ผลิตภัณฑ์ด้านการศึกษา

คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม. ………..

-ร้อยละของบัณฑิตที่ได้งานทำใน 1 ปี

-จำนวนผลงานตีพิมพ์ของบัณฑิตปริญญาโทในวารสารระดับนานาชาติ

-ร้อยละของนักศึกษาที่ได้คะแนน TOEIC ก่อนสำเร็จ ไม่น้อยกว่า 450 ในระดับปริญญาตรี และ ไม่น้อยกว่า 600 ในระดับปริญญาโท

2)การเปลี่ยนแปลงความสามารถในการแข่งขัน

คณะ ศึกษาข้อมูล การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากร การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางการตลาด การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทางการศึกษา ความท้าทายและการได้เปรียบทางกลยุทธ์ของคณะและวิทยาลัย จากนั้นนำมาวิเคราะห์ SWOT ทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ ทำให้ทราบปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการแข่งขันของคณะ ดังนี้

ผลิตภัณฑ์

ปัจจัย

การเปลี่ยนแปลงที่กระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน

ด้านการวิจัย

ภายใน

คณาจารย์ที่เสนอขอรับทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกมีจำนวนน้อย

 

ภายนอก

แหล่งทุนวิจัยภายนอก เน้นการวิจัยที่เป็นการสร้างนวัตกรรมและการต่อยอดเชิงพาณิชย์

ด้านการศึกษา

ภายใน

คณาจารย์จำนวนหนึ่ง ปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี

 

ภายนอก

การเปลี่ยนแปลงทางGeneration ของผู้เรียน ที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนรู้

ด้านการบริการวิชาการ

ภายใน

แผนการตลาดของการให้บริการทางวิชาการของคณะมีประสิทธิภาพน้อย

 

ภายนอก

– ผู้รับบริการมีอำนาจต่อรองสูง จากสภาพการแข่งขันของผู้ให้บริการทางวิชาการ

– สถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19

3)แหล่งข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ

คณะ ใช้ข้อมูลเปรียบเทียบ จากแหล่งข้อมูลภายในประเทศ เช่น รายงานการประเมินตนเอง รายงานประจำปี CHE-QA online และจากแหล่งข้อมูลนานาชาติ เช่น ฐานข้อมูล SCOPUS, ISI, SciVal มีรายละเอียดดังนี้

ผลิตภัณฑ์

แหล่งข้อมูลเปรียบเทียบที่สำคัญ

ด้านการวิจัย

ฐานข้อมูล SCOPUS, ISI, SciVal 

ฐานข้อมูลการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา

ด้านการศึกษา

จำนวนนักศึกษาต่างชาติ

ร้อยละของบัณฑิตที่ได้งานทำใน 1 ปี 

จำนวนผลงานตีพิมพ์ของบัณฑิตปริญญาโทในวารสารระดับนานาชาติ

ร้อยละของนักศึกษาที่ได้คะแนน TOEIC ก่อนสำเร็จการศึกษา

ด้านการบริการวิชาการ

จำนวน หน่วยงาน/บุคคล ที่มารับบริการ

จำนวนเงินรายได้ที่ได้จากการบริการวิชาการ

ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ

ความผูกพัน และการใช้บริการซ้ำ ของผู้รับบริการ

ข. บริบทเชิงกลยุทธ์

ในปีการศึกษา 2565 คณะได้จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ พ.ศ. 2563-2567 โดยพิจารณาถึงความท้าทายและความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ของคณะ ดังนี้

ตารางความท้าทายและความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ด้านต่างๆของคณะฯ

ด้าน

ความได้เปรียบ

ความท้าทาย

หลักสูตรและบริการ

– เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ

– เป็นหลักสูตรนานาชาติเพื่อรองรับตลาดผู้เรียนที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ

การปฏิบัติการ

– การอยู่ใกล้ชุมชนและท้องถิ่นซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาได้สัมผัสประสบการณ์จากสถานที่จริงที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชา

– การจัดการเรียนการสอนส่วนใหญ่ยังเน้นการบรรยาย และยังขาดเทคนิคการสอนแบบใหม่ๆ

– การขาดเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะนำมาใช้ประกอบการบริหารงานด้านต่างๆ ได้แก่ อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ความรับผิดชอบต่อสังคม

– การมีโครงการบริการวิชาการที่ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น

– การมีโครงการบริการวิชาการที่ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น

บุคลากร

– บุคลากรส่วนใหญ่มีอายุค่อนข้างน้อยและเป็นชาวต่างประเทศทำการสอน

– สวัสดิการพื้นฐานยังไม่เพียงพอต่อความต้องการและเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อความผูกพันที่มีต่อองค์กร

ค. ระบบการปรับปรุงผลการดำเนินการ 

การปรับปรุงการดำเนินการ ในผลลัพธ์ด้านการวิจัย ผลลัพธ์ด้านการศึกษา และผลลัพธ์ด้านการบริการวิชาการ คณะได้ใช้ เกณฑ์การประกันคุณภาพระดับหลักสูตร เกณฑ์การประกันคุณภาพระดับคณะ และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร เป็นเครื่องมือในการตรวจ และประเมินเพื่อนำไปสู่การปรับปรุง โดยทำการประเมินคุณภาพภายใน(IQA) เป็นประจำทุกปี สำหรับการปรับปรุงกระบวนการและระบบงาน คณะได้มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบในแต่ละกระบวนการและระบบงาน นำวงจรคุณภาพของเดมมิงหรือ PDCA และการประเมินความเสี่ยง มาใช้ในการตรวจและประเมิน และนำผลที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุงผลการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพ และบรรลุตามเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการประจำปีที่คณะกำหนด