องค์ประกอบที่ 2: ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 การบริหารกลยุทธ์ (การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ)

องค์ประกอบที่ 2 กลยุทธ์และการบริหาร

ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 การบริหารกลยุทธ์ (การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-6 ข้อ7-9 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-7 ประเมิน 40 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

1 การจัดทำแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ(แผนปฏิบัติการ) –แผนปฏิบัติการที่สำคัญทั้งระยะสั้นและระยะยาวของคณะมีอะไรบ้าง

(A) คณะฯ โดยคณบดีและคณะกรรมการฯ มีกรอบแนวทางในการนำแผนปฏิบัติการของคณะ ปี พ.ศ. 2565 ไปสู่การปฏิบัติ คณบดีจะเป็นประธานในการประชุมเพื่อเสนอแนวทางในการปฏิบัติงานในภาพรวม และลงสู่โครงการที่รองคณบดีและประธานสาขาวิชาร่วมกันจัดการดำเนินงานร่วมกันเพื่อตอบสนองเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้

(D) คณะมีการถ่ายทอดแผนปฏิบัติการผ่านการประชุมคณะกรรมการบริหาร เพื่อสื่อสารเป้าหมายตัวชี้วัด รับฟังความต้องการ รับการสนับสนุน ปัญหาอุปสรรค และติดตามผลดำเนินงานของปีที่ผ่านมา และเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ทีมงานทราบถึงความรับผิดชอบร่วมกันในการผลักดันตัวชี้วัดให้บรรลุเป้าหมาย โดยเฉพาะตัวชี้วัดที่ท้าทายคือ ตัวชี้วัดด้านการวิจัย

(L) คณบดีมีการติดตามผลการดำเนินงาน เมื่อพบว่าผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ทีมงานคณะกรรมการบริหารได้วิเคราะห์หาสาเหตุ ปรับปรุงแผนปฏิบัติการเพิ่มเติม เพื่อให้แผนปฏิบัติการบรรลุวัตถุประสงค์ตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้

(I) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คณะฯ ทบทวนตัวชี้วัดและปรับโครงการในแผนปฏิบัติการที่เกิดผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ให้สอดคล้องกับเป้าหมายตัวชี้วัด จึงมีการปรับแผนการดำเนินโครงการ โดยปรับรูปแบบการจัดโครงการ ระยะเวลา และปรับลดงบประมาณโครงการลง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน บทโครงการสามารถบูรณาการร่วมกับการพัฒนางานประจำ ทำให้ไม่ต้องใช้งบประมาณในการดำเนินการโครงการก็สามารถตอบเป้าหมายความสำเร็จตามตัวชี้วัดได้ อย่างไรก็ตามได้มีการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนฯ ปี 2565 เพื่อนำผลการประเมินไปใช้เป็นข้อมูลในการทบทวนแผนยุทธศาสตร์และจัดทำแผนปฏิบัติการในปีต่อไป

แผนการปฏิบัติการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปีการศึกษา 2565
ยุทธฯ รหัส ชื่อโครงการ ผลดำเนินงาน KPI ปี 2565 ระยะเวลา Quarter(เดือน) กลุ่มเป้าหมาย ผู้รับผิดชอบ
Plan Action Plan Action งบประมาณ (บาท)  งบที่ใช้ (บาท)  1
(6-8)
2
(9-11)
3
(12-2)
4
(3-5)
1 แผนงานที่ 1 การจัดการศึกษา         344,000 251,150            
  1.1 การบริหารหลักสูตร           243,000 243,000            
  PH01 โครงการเบิกค่าตอบแทนวิทยากร 1 1 1 1 243,000 120,000   อาจารย์ เลขานุการ
  1.2 การบริหารงานวิชาการ           90,000 8,150            
  PH02 โครงการศึกษาดูงาน : กิจกรรมสาธารณสุขป.ตรี (2 ครั้ง)
                           อาชีวอนามัย (2 ครั้ง)
                           และสาธารณสุขสัมพันธ์ (1 ครั้ง)
1 1 1 1 30,000 8,150 อาจารย์และนักศึกษา อ.รัตนธร
อ.สมพร
  PH03 โครงการพัฒนาศักยภาพการเขียนและเผยแพร่ผลงานวิทยานิพนธ์ 1 1 1 1 0 0     อาจารย์ คณบดี
  PH04 โครงการสอบวิทยานิพนธ์ 1 1 1 1 0 0     อาจารย์และนักศึกษา คณบดี
  PH05 โครงการสัมมนาวิชาการ/วิชาชีพ (นศ.ปี4present จบ) 1 1 1 1 0 0       อาจารย์และนักศึกษา อ.รัตนธร/อ.สมพร
  PH06 โครงการจัดเตรียมวัสดุการเรียนการสอน 1 1 1 1 60,000 0     อาจารย์และนักศึกษา อ.รัตนธร
  1.3 การพัฒนาอาจารย์         11,000 0            
  PH07 โครงการอบรมอาจารย์ใหม่ 1 1 1 1 0 0       อาจารย์ อ.รัตนธร
  PH08 โครงการสัมมนาอาจารย์ทั้งภายในและภายนอก 1   1   10,000     อาจารย์ อ.สุทธิพัฒน์
  PH09 โครงการอบรมเทคนิคการออกข้อสอบและวิเคราะห์ข้อสอบ 1 1 1 1 0 0       อาจารย์ ดร.พรทิพย์
  PH10 โครงการพัฒนาเอกสารประกอบการสอน 1   1   1,000     อาจารย์ คณบดี
2 แผนงานที่ 2 การพัฒนานักศึกษา         22,000 15,000            
  PH11 โครงการติดตามบัณฑิตภายหลังสำเร็จการศึกษา 1 ปี 1 1 1 1 0 0       นักศึกษา เลขานุการ
  PH12 โครงการปฐมนิเทศนักศึกษา 1 1 1 1 0 0       นักศึกษา เลขานุการ
  PH13 โครงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพนักศึกษา  1 1 1 1 12,000 12,000     อาจารย์และนักศึกษา เลขานุการ
  PH14 โครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษา  1 1 1 1 0 0       นักศึกษา เลขานุการ
  PH15 โครงการอบรมคุณธรรมและจริยธรรม 1 1 1 1 5,000 3,000       นักศึกษา อ.สมพร
  PH16 โครงการพัฒนาบุคลิกภาพนักศึกษา (Novotel Hotel) 1 1 1 1 5,000 0       นักศึกษา อ.สมพร
  แผนงานที่ 3 การวิจัย           35,000 0            
  PH17 โครงการสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพอาจารย์ 1 1 1 1 0 0   อาจารย์ ดร.พรทิพย์
  PH18 โครงการสนับสนุนทุนตีพิมพ์วารสารงานวิจัย 1   1   35,000       อาจารย์ ดร.พรทิพย์
3 แผนงานที่ 4 การบริการวิชาการ           4,000 0            
  PH19 โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลบางปลากด อ.องครักษ์
จ.นครนายก
1 1 1 1 2,000 0     ชุมชนผู้สูงอายุ อ.สมพร
  PH20 โครงการบริการวิชาการด้านอาชีวอนามัยแก่ชุมชน อ.องครักษ์
จ.นครนายก (แบบทั่วไป)
1 1 1 1 2,000 0     ชุมชนใน อ.องครักษ์ อ.ศรีจันทร์
  PH21 โครงการบูรณาการงานบริการวิชาการกับการเรียนการสอน 1 1 2 2 0 0     อาจารย์และนักศึกษา อ.ศรีจันทร์
4 แผนงานที่ 5 การทำนุบำรุงศิลปวัฒธรรม           1,000 1,000            
  PH22 โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ 1 1 1 1 1,000 1,000     บุคลากรสาธารณสุขและนักศึกษา Dr.Myo 
  PH23 โครงการสืบสานวัฒนธรรมไทย 1 1 1 1 0 0     นักศึกษา อ.สมพร
5 แผนงานที่ 6 การบริหารจัดการ           120,000 187,000            
  6.1 การบริหารงาน           0 0            
  PH24 โครงการประเมินผลการปฏิบัติงานของอาจารย์และบุคคลากรสายสนับสนุน 1 1 1 1 0 0     อาจารย์ อ.รัตนธร
  PH25 โครงการกำกับติดตามประเมินผลการปฏิบัติการ ตามแผนปฏิบัติการประจำปี 2565 1 1 2 2 0 0 อาจารย์ อ.รัตนธร
  6.2 การบริหารบุคลากร           0 0            
  PH26 โครงการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนเพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ 1 1 1 1 0 0     บุคลากรสายสนับสนุน เลขานุการ
  6.3 การบริหาร/อาคาร /อุปกรณ์/สถานที่/ยานพาหนะ           120,000 187,000            
  PH27 โครงการจัดหาอุปกรณ์ห้องปฏิบัติการ  1 1 1 1 120,000 187,000       อาจารย์และนักศึกษา รศ.ดร.ชมภูศักดิ์
  6.4 การบริหารสารสนเทศ           0 0            
  PH28 โครงการพัฒนาสื่อการสอนที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ 4.0 1 1 1 1 0 0     อาจารย์และนักศึกษา อ.สมพร
  6.5 การพัฒนากระบวนการบริหาร           0 0            
  PH29 โครงการบริหารความเสี่ยง 1 1 1 1 0 0     อาจารย์ คณบดี/อ.รัตนธร
  PH30 โครงการจัดการความรู้สู่แนวปฏิบัติที่ดี 1 1 1 1 0 0     อาจารย์ คณบดี
  PH31 โครงการประเมินการบริหารจัดการด้วยหลักธรรมภิบาลของผู้บริหาร 1 1 1 1 0 0       คณบดี อ.รัตนธร
  PH32 โครงการประเมินคุณภาพการศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์  1 1 1 1 0 0       อาจารย์และนักศึกษา ประธานหลักสูตร
    รวม 32 29 34 31 526,000 454,150            

2 การจัดทำแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ(การนำแผนปฏิบัติการไปใช้) -คณบดีมีวิธีการอย่างไรในการถ่ายทอดแผนปฏิบัติการไปสู่การปฏิบัติ

(A) คณบดีและคณะกรรมการบริหาร นำแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ ทบทวนแผนยุทธศาสตร์วิทยาลัยฯ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563-2567) แล้วจึงทำการกำหนดแผนปฏิบัติการประจำปี 2565 ของคณะฯ เพื่อใข้ในการดำเนินงานของคณะ

(D) คณบดีและคณะกรรมการบริหาร นำแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติผ่านกระบวนการจัดการการปฏิบัติงานและช่องทางการสื่อสารต่างๆ

(L) การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี โดยรองคณบดีเป็นผู้รับผิดชอบ ควบคุม กำกับแผน และผลการดำเนินงานตามหลังกระจายอำนาจไปสู่คณะกรรมการชุดต่างๆผ่านกระบวนการจัดการปฏิบัติงาน

(I) ผู้รับผิดชอบงานที่เกี่ยวข้องช่วยจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี จัดลำดับความสำคัญของแผนโดยยึดเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ ตลอดจนการวางแผนการใช้งบประมาณสนับสนุนที่สอดคล้องกับโครงการ เพื่อเสนอของบประมาณผ่านคณะกรรมการบริหารคณะและคณบดี พิจารณาจัดการงบประมาณ โดยที่ในการกำหนดแผนปฏิบัติการจะมีการกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการระยะสั้นและระยะยาว จำนวน 5 ยุทธศาสตร์ 17 กลยุทธ์ 5 แผนงาน 8 แผนงานย่อย 32 โครงการ 34 ตัวชี้วัด งบประมาณ 526,000 บาท ซึ่งจะมีการติดตามการดำเนินงานทุกไตรมาสเพื่อรายงานผลให้คณบดี คณะกรรมการบริหารคณะและวิทยาลัยรับทราบ โดยผลการดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย

3 การจัดทำแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ(การจัดสรรทรัพยากร) คณบดีทำอย่างไรให้มั่นใจว่ามีทรัพยากรด้านการเงินและด้านอื่นๆ พร้อมใช้ในการสนับสนุนแผนปฏิบัติการจนประสบความสำเร็จและบรรลุพันธะผูกพันในปัจจุบัน

(A) คณะฯ มีการจัดทำแผนงบประมาณ เสนอขอรับการจัดสรรเงินงบประมาณจากวิทยาลัยเพื่อสำหรับสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2565 คณะสาธารณสุขศาสตร์และคณะฯวางแผนในการกำหนดมาตรการและกลยุทธ์ในการจัดหารายได้จากแหล่งต่างๆ

(D) คณะมีการวางแผนกำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณ ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการพิจารณางบประมาณของวิทยาลัย โดยมีหลักเกณฑ์การพิจารณา

1) เป็นโครงการที่จะต้องดำเนินการตามข้อเสนอแนะ/โอกาสจะต้องพัฒนาจากผลการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาของตนเอง (SAR หลักสูตร/คณะ) ตามเกณฑ์ (IQA-Stic, AUN-IQA, EdPEx)

2) เป็นโครงการวิจัยทางการศึกษาหรือโครงการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแนวใหม่

3) เป็นโครงการเร่งด่วนที่ตอบสนองต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เป็นต้น

(L) คณะฯ ร่วมกับงานบริหารการเงินของวิทยาลัย ทำหน้าที่ติดตามและประเมินผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณโดยใช้ระบบสารสนเทศประมวลข้อมูล และมีการนำเสนอรายงานความก้าวหน้าการใช้จ่ายงบประมาณต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯประจำเดือนหรือประจำสิ้นปีงบประมาณ

(I) คณะฯ มีการวางแผนการใช้ทรัพยากรอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ได้แก่ การใช้ห้องประชุม รถยนต์ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น คณะสามารถดำเนินการขอใช้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกำหนดขึ้นไว้

4 การจัดทำแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ(แผนด้านบุคลากร)แผนบุคลากรที่สำคัญที่สนับสนุนวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการทั้งระยะสั้นและระยะยาวมีอะไรบ้าง

(A) คณะฯ จัดโครงการพัฒนาบุคลากรและการจัดสรรงบประมาณสนับสนุน เพื่อให้บุคลากรมีศักยภาพในการดำเนินงานตามภาระงานที่ได้รับมอบหมายให้บรรลุผลสำเร็จตามตัวชี้วัดในแผนงาน/โครงการ

(D) คณะฯ ทำการวิเคราะห์ความต้องการด้านขีดความสามารถและกรอบอัตรากำลัง การกำหนดวุฒิของบุคลากร การดำรงตำแหน่งทางวิชาการ รวมทั้งสำรวจ/การประเมินเรื่องความพึงพอใจ/ไม่พึงพอใจ ความผูกพันของบุคลากร ความต้องการในการพัฒนาตนเอง ซึ่งข้อมูลที่ได้มาจากการสำรวจและวิเคราะห์ และผลการประเมินการปฏิบัติงานตามข้อตกลงการปฏิบัติงานของบุคลากรนำมาจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรระยะสั้น/ระยะยาว เพื่อรองรับต่อการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยและของคณะฯ

(L) คณะฯ มีการวางแผนด้านทรัพยากรบุคคล 2 ด้าน คือ

1. แผนความต้องการขีดความสามารถและอัตรากำลังเป็นแผนระยะสั้นที่คณะมุ่งพัฒนาบุคลากรในการดำเนินงานตามความแผนฯ ประจำปี

2. แผนด้านการพัฒนาขีดความสามารถความแผนฯ ประจำปี เป็นแผนระยะยาวที่คณะฯกำหนดให้บุคลากรมีศักยภาพและสมรรถนะในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์และบรรลุวิสัยทัศน์ของวิทยาลัยและของคณะฯ

(I) คณะฯ มีการวางแผนด้านทรัพยากรบุคคล 2 ด้าน ดังกล่าวข้างต้น คณะฯ จึงได้มีการกำหนดศักยภาพและสมรรถนะของบุคลากรไว้ 3 กลุ่มคือ

  1. กลุ่มคณาจารย์ มุ่งเน้นด้านการพัฒนาตำแหน่งทางวิชาการ/พัฒนาสมรรถภาพการสอน/พัฒนาผลงานวิจัยไปสู่ผลงานนวัตกรรมและการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ
  2. กลุ่มสายสนับสนุน มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพความก้าวหน้าในสายอาชีพ
  3. กลุ่มผู้บริหารมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพการบริหาร

5 การจัดทำแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ(ตัววัดผลการดำเนินการ)ตัววัดผลที่สำคัญที่ใช้ติดตามความสำเร็จและประสิทธิผลของแผนปฏิบัติการมีอะไรบ้าง

(A) คณะฯ ได้กำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของผลการดำเนินการที่ใช้ติดตามผลสำเร็จและผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจนไว้ในแผนปฏิบัติการคณะฯ จำนวน 34 ตัวชี้วัด

(D) คณบดีและคณะกรรมการบริหาร ถ่ายทอดตัวชี้วัดไปสู่บุคลากรทุกระดับ ผ่านกระบวนการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ

(L) คณบดีและคณะกรรมการบริหาร มีการกำกับติดตามประเมินผลสำเร็จและประสิทธิผลของแผนปฏิบัติการ

(I) คณะฯ มีการรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดต่อผู้บริหารของวิทยาลัยทุก 3 เดือน – 6 เดือน และมีการทบทวน วิเคราะห์ ปรับปรุงการดำเนินงานทุก 6 เดือน ซึ่งจะทำการทบทวน วิเคราะห์ และปรับปรุง การดำเนินงานตามตัวชี้วัดของคณะที่มีความเชื่อมโยงกับตัวชี้วัดทุกระดับตามแผนปฏิบัติการ/กระบวนการ เพื่อสร้างความสอดคล้องไปในแนวเดียวกันและนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ของคณะ 

ตารางที่ 2.2.5 ตัวชี้วัดที่สำคัญ ผู้รับผิดชอบและวิธีการวัดการสำเร็จ

หมวดงานตามแผนฯ

ตัวชี้วัดผลลัพธ์

ผู้รับผิดชอบ

รูปแบบการวัดประสิทธิผล

การนำ Feed back ไปใช้ประโยชน์

การผลิตบัณฑิต

·    จำนวนระบบในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษ 21

– รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

– ประธานหลักสูตรฯ

·    วิธีการวัดความสำเร็จ

แบบสอบถามความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต

·    ช่วงเวลาเก็บข้อมูล

ทำการประเมินทุกปี

ข้อมูลที่ได้รับจะนำมาใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21

งานวิจัย

·    จำนวนโครงการวิจัย

·    จำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับ

·    จำนวนผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์

รองคณบดีฝ่ายวิจัย

·    วิธีการวัดความสำเร็จ

จำนวนผลงานวิจัย

·    ช่วงเวลาเก็บข้อมูล

จัดเก็บสถิติผลงานวิจัยที่ตอบตัวชี้วัดผลลัพธ์

สถิติผลงานวิจัยที่จัดเก็บจะถูกนำมาทบทวนแผนงานของคณะฯ

งานบริการวิชาการ

·    จำนวนครั้งของการบริการวิชาการ

คณะกรรมการบริหารคณะ

·    วิธีการวัดความสำเร็จ

จำนวนชิ้นงาน/จำนวนเงิน/จำนวนครั้งที่คณะให้บริการสังคม

·    ช่วงเวลาเก็บข้อมูลหลังจากแต่ละโครงการดำเนินการเรียบร้อย

ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการวิชาการสามารถสะท้อนความต้องการที่แท้จริงของผู้มาใช้บริการ ซึ่งคณะสามารถนำมาปรับแนวทางการให้บริการเพื่อตอบสนองผู้ใช้บริการได้อย่างแท้จริง

งานพัฒนาการบริหารงานองค์กร

·    จำนวนครั้งในการพัฒนาระบบการให้บริการด้านต่างๆของคณะ

·    วิธีการวัดความสำเร็จ

จำนวนระบบ/จำนวนโครงการฝึกอบรมความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมงานที่นำทักษะที่ได้จากการฝึกอบรมหรือระบบไปใช้ประโยชน์

สถิติจำนวนระบบ/โครงการที่จัดเก็บจะถูกนำมาทบทวนแผนงานของคณะฯ

6 การจัดทำแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ(การคาดการณ์ผลการดำเนินการ)ตัวชี้วัดที่สำคัญตามกรอบเวลาของการวางแผนทั้งระยะสั้นและระยะที่ยาวขึ้นของคณะมีอะไรบ้าง

(A) คณะมีการใช้ระบบการปรับปรุงผลการดำเนินงาน และนำผลที่ได้จากการประเมินแต่ละผลิตภัณฑ์และแต่ละระบบมาวิเคราะห์ เพื่อการคาดการณ์และการดำเนินการตามเป้าหมายตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติการคณะ ที่กำหนดไว้ในแต่ละปี

(D) คณบดีและคณะกรรมการบริหารคณะ ร่วมกันกำหนด/ทบทวเป้าหมายตัวชี้วัดโดยเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานกับปีที่ผ่านมา

(L) คณะกรรมการบริหารคณะ จะทำการวิเคราะห์หาสาเหตุของตัวชี้วัดที่ไม่บรรลุเป้าหมายหรือต่ำหว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ และเสนอขอนำไปปรับปรุงแก้ไข

(I) คณะกรรมการบริหารคณะ ทำหน้าที่ติดตามและรายงานผลการดำเนินงานเสนอคณบดีและเพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนดำเนินงานในอนาคตต่อไป

        คณะฯ มีนโยบายว่าผลการดำเนินงานจะต้องสูงกว่าเดิม และจะมีการนำข้อมูลผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา & ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการแข่งขันและเพื่อสร้างมาตรฐานหลักสูตรให้ยอมรับในระดับสากล โดยจะพิจารณาปรับแผนหรือเป้าหมายตามความเหมาะสมผ่านกระบวนการติดตามและประเมินผลสำเร็จของตัวชี้วัดผลการดำเนินงานแต่ละโครงการกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการประจำปี โดยการวางแผนฯสรุปเป็นข้อมูลรายงานผ่านระบบการติดตามผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยด้วย

7 การปรับเปลี่ยนแผนปฏิบัติการ -คณะรับรู้และตอบสนอง อย่างไร ในกรณีที่สถานการณ์บังคับให้ต้องปรับแผนปฏิบัติการและนำแผนใหม่ไปปฏิบัติอย่างรวดเร็ว

(A) คณบดีและคณะกรรมการบริหารคณะปรับแผนปฏิบัติการ กรณีที่มีสถานการณ์บังคับให้มีการปรับเปลี่ยนแผนปฏิบัติการได้ ได้แก่ 

  1. การเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์ปกติ
  2. การเปลี่ยนแปลงกรณีเร่งด่วนฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย

(D) คณบดีและคณะกรรมการบริหารคณะ จัดทำการประชุมทีมงาน วิเคราะห์สถานการณ์ ผลกระทบ และแนวทางการปรับเปลี่ยนแผนปฏิบัติการเบื้องต้น

(L) คณบดีมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารที่รับผิดชอบ กำหนดแผนปฏิบัติการใหม่และนำเสนอต่อที่ประชุมทีมบริหาร ให้ความเห็นชอบและอนุมัติ ให้ดำเนินการต่อได้ โดยต้องมีการชี้แจงความเข้าใจไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกได้ ปฏิบัติให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน

(I) ในปีการศึกษา 2563-2564 เกิดผลกระทบจาก Covid-19 คณะฯ บริหารจัดการเพื่อไม่ให้การดำเนินการตามผลิตภัณฑ์ด้านการศึกษา ด้านการวิจัย ด้านบริการวิชาการและการบริหารจัดการต่างๆ หยุดชะงัก จึงมีการปรับแผนการดำเนินโครงการ โดยปรับรูปแบบการจัดการโครงการ ระยะเวลา งบประมาณ และบทโครงการสามารถหาแนวทางร่วมกัน ได้แก่ การพัฒนาทักษะอาจารย์ในการจัดการเรียนการสอน Online การประชุมผ่านระบบ Online การปรับวิธีเรียน การฝึกภาคสนามของนักศึกษา การจัดทำสื่อต่างๆ เกี่ยวกับการป้องกัน Covid-19 การเตรียมอุปกรณ์ฆ่าเชื้อวัสดุอุปกรณ์ภายในห้องเรียน ห้องประชุม การกำหนดบริเวณจุดเสี่ยงของคณะตามมาตรการและแนวปฏิบัติการเฝ้าระวังการระบาดของ Covid-19

8 แผนปฏิบัติการ ครอบคลุมการดำเนินการตามกลยุทธ์และการดำเนินการตามพันธกิจ

     คณะฯ มีการกำหนดระยะเวลาติดตามผลการดำเนินการตามแผนฯ/โครงการเป็นรายไตรมาสและทุกสิ้นปีงบประมาณ และมีการนำเสนอรายงานความก้าวหน้า ผลการดำเนินการต่อคณะกรรมการคณะฯ เพื่อพิจารณา และวิเคราะห์หาสาเหตุที่ส่งผลต่อความสำเร็จตามแผนปฏิบัติงาน และกำหนดแนวทางการดำเนินเพื่อการปรับปรุงแก้ไขให้ผลการดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมาย คือมีกระบวนการจัดการดังภาพที่ 2.2.8

ตารางที่ 2.2.8 ตัวชี้วัดที่สำคัญ ผู้รับผิดชอบและวิธีการวัดการสำเร็จ

หมวดงานตามแผนฯ

ตัวชี้วัดผลลัพธ์

ผู้รับผิดชอบ

รูปแบบการวัดประสิทธิผล

การนำ Feed back ไปใช้ประโยชน์

การผลิตบัณฑิต

·    จำนวนระบบในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษ 21

– รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

– ประธานหลักสูตรฯ

·    วิธีการวัดความสำเร็จ

แบบสอบถามความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต

·    ช่วงเวลาเก็บข้อมูล

ทำการประเมินทุกปี

ข้อมูลที่ได้รับจะนำมาใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21

งานวิจัย

·    จำนวนโครงการวิจัย

·    จำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับ

·    จำนวนผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์

รองคณบดีฝ่ายวิจัย

·    วิธีการวัดความสำเร็จ

จำนวนผลงานวิจัย

·    ช่วงเวลาเก็บข้อมูล

จัดเก็บสถิติผลงานวิจัยที่ตอบตัวชี้วัดผลลัพธ์

สถิติผลงานวิจัยที่จัดเก็บจะถูกนำมาทบทวนแผนงานของคณะฯ

งานบริการวิชาการ

·    จำนวนครั้งของการบริการวิชาการ

คณะกรรมการบริหารคณะ

·    วิธีการวัดความสำเร็จ

จำนวนชิ้นงาน/จำนวนเงิน/จำนวนครั้งที่คณะให้บริการสังคม

·    ช่วงเวลาเก็บข้อมูลหลังจากแต่ละโครงการดำเนินการเรียบร้อย

ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการวิชาการสามารถสะท้อนความต้องการที่แท้จริงของผู้มาใช้บริการ ซึ่งคณะสามารถนำมาปรับแนวทางการให้บริการเพื่อตอบสนองผู้ใช้บริการได้อย่างแท้จริง

งานพัฒนาการบริหารงานองค์กร

·    จำนวนครั้งในการพัฒนาระบบการให้บริการด้านต่างๆของคณะ

·    วิธีการวัดความสำเร็จ

จำนวนระบบ/จำนวนโครงการฝึกอบรมความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมงานที่นำทักษะที่ได้จากการฝึกอบรมหรือระบบไปใช้ประโยชน์

สถิติจำนวนระบบ/โครงการที่จัดเก็บจะถูกนำมาทบทวนแผนงานของคณะฯ

9 มีการประเมินผลการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติตามตัวชี้วัดความสำเร็จ

          คณะฯ กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานตามตัวชี้วัดแผนยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยและแผนปฏิบัติงานประจำปี 2565 โดยถ่ายทอดผ่านสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ การประชุม การเสนอผ่านสื่อออนไลน์ ช่องทางการสื่อสารแบบออนไลน์ ไปสู่บุคลากรทุกระดับ ตลอดจนติดตามผลสำเร็จและประสิทธิผลตามแผนทุกไตรมาส และปีละ 1 ครั้ง และนำเสนอต่อคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณาตัวชี้วัดที่สำคัญของแผนฯ สามารถจำแนกออกตามหมวดงานของคณะ ได้แก่ งานผลิตบัณฑิต งานวิจัย งานบริการวิชาการและงานพัฒนาการบริหารงานองค์กร โดยการติดตามความสำเร็จของแต่ละกิจกรรมจะมอบหมายให้รองคณบดีและประธานสาขาเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งลักษณะการวัดความสำเร็จจะแตกต่างไปตามบริบทของงานที่บรรจุอยู่ในแผนฯ ซึ่งสามารถแสดงรายละเอียดได้ดังตารางที่ 2.2.9

ตารางที่ 2.2.9 ตัวชี้วัดที่สำคัญ ผู้รับผิดชอบและวิธีการวัดการสำเร็จ

หมวดงานตามแผนฯ

ตัวชี้วัดผลลัพธ์

ผู้รับผิดชอบ

รูปแบบการวัดประสิทธิผล

การนำ Feed back ไปใช้ประโยชน์

การผลิตบัณฑิต

·    จำนวนระบบในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษ 21

– รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

– ประธานหลักสูตรฯ

·    วิธีการวัดความสำเร็จ

แบบสอบถามความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต

·    ช่วงเวลาเก็บข้อมูล

ทำการประเมินทุกปี

ข้อมูลที่ได้รับจะนำมาใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21

งานวิจัย

·    จำนวนโครงการวิจัย

·    จำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับ

·    จำนวนผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์

รองคณบดีฝ่ายวิจัย

·    วิธีการวัดความสำเร็จ

จำนวนผลงานวิจัย

·    ช่วงเวลาเก็บข้อมูล

จัดเก็บสถิติผลงานวิจัยที่ตอบตัวชี้วัดผลลัพธ์

สถิติผลงานวิจัยที่จัดเก็บจะถูกนำมาทบทวนแผนงานของคณะฯ

งานบริการวิชาการ

·    จำนวนครั้งของการบริการวิชาการ

คณะกรรมการบริหารคณะ

·    วิธีการวัดความสำเร็จ

จำนวนชิ้นงาน/จำนวนเงิน/จำนวนครั้งที่คณะให้บริการสังคม

·    ช่วงเวลาเก็บข้อมูลหลังจากแต่ละโครงการดำเนินการเรียบร้อย

ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการวิชาการสามารถสะท้อนความต้องการที่แท้จริงของผู้มาใช้บริการ ซึ่งคณะสามารถนำมาปรับแนวทางการให้บริการเพื่อตอบสนองผู้ใช้บริการได้อย่างแท้จริง

งานพัฒนาการบริหารงานองค์กร

·    จำนวนครั้งในการพัฒนาระบบการให้บริการด้านต่างๆของคณะ

·    วิธีการวัดความสำเร็จ

จำนวนระบบ/จำนวนโครงการฝึกอบรมความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมงานที่นำทักษะที่ได้จากการฝึกอบรมหรือระบบไปใช้ประโยชน์

สถิติจำนวนระบบ/โครงการที่จัดเก็บจะถูกนำมาทบทวนแผนงานของคณะฯ

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

….. 5 ข้อ …..

IQA (1-9)

1,2,3,4,5,6,7

7 ข้อ

5 คะแนน

EdPEx (1-7)

1,2,3,4,5,6,7

ร้อยละ 5

2 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน

รายการ

2.2.1.1

-แผนและผลการปฏิบัติการของคณะ ปี พ.ศ. 2565 (แผนระยะสั้น)

-แผนพัฒนาบุคลากรคณะปี พ.ศ. 2563-2567 (แผนระยะยาว)

2.2.2.1

-รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ

2.2.3.1

-รายงานการประชุมสภาวิทยาลัยในหัวข้อการพิจารณางบประมาณของคณะปี พ.ศ. 2565

2.2.4.1

-แผนงานที่ 1: การจัดการศึกษา/แผนงานย่อย 1.3 การพัฒนาอาจารย์

-แผนงานที่ 6: การบริหารจัดการ/แผนงานย่อย 2 การบริหารบุคลากร

2.2.5.1

-การรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด: โครงการกำกับติดตามประเมินผลการปฏิบัติการตามแผนปฏิบัติการประจำปี 2565

2.2.6.1

-การกำหนดระยะเวลาดำเนินการของแผนฯออกเป็น 4 ไตรมาส

2.2.7.1

-รายการการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ

2.2.8.1

-ภาพที่ 2.2.8 กระบวนการจัดการการให้บรรลุตัวชี้วัดการปฏิบัติงาน (Performance Management Process)

2.2.9.1

-ตารางที่ 2.2.9 ตัวชี้วัดที่สำคัญ ผู้รับผิดชอบและวิธีการวัดการสำเร็จ

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเอง IQAEdPEx
ตัวบ่งชี้ที่ 2.142.25
ตัวบ่งชี้ที่ 2.252
คะแนนเฉลี่ย(IQA)/คะแนนรวม(EdPEx) 4.54.25