องค์ประกอบที่ 2: ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 กลยุทธ์ (การจัดทำกลยุทธ์)

องค์ประกอบที่ 2 กลยุทธ์และการบริหาร

ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 กลยุทธ์ (การจัดทำกลยุทธ์)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-6 ข้อ7-8 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-6 ประเมิน 45 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

1 กระบวนการจัดทำกลยุทธ์(กระบวนการวางแผนกลยุทธ์)  คณบดีมีวิธีการอย่างไรในการวางแผนกลยุทธ์ ขั้นตอนที่สำคัญของกระบวนการวางแผนกลยุทธ์มีอะไรบ้าง ผู้เกี่ยวข้องที่สำคัญมีใครบ้าง กรอบเวลาของการวางแผนระยะสั้น ระยะยาวคืออะไร และคณบดีมีวิธีการอย่างไรในการทำให้กระบวนการวางแผนกลยุทธ์มีความสอดคล้องกับกรอบเวลาดังกล่าว กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ได้คำนึงถึงความจำเป็นที่อาจเกิดขึ้นของคณะในเรื่อง การเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉม การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องที่ริเริ่มขึ้นเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ความคล่องตัวของคณะ อย่างไร

(A) คณบดีและคณะกรรมการบริหารทำแผนยุทธศาสตร์วิทยาลัย พ.ศ. 2563-2567 และแผนงานที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาจัดทำแผนยุทธศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รวมถึงผลการวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กร ได้แก่ ความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าสู่ความร่วมมือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ชุมชน บุคลากร โอกาสความท้าทาย และความได้เปรียบทางกลยุทธ์ โดยใช้ SWOT-Analysis วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและภายในคณะฯ เพื่อกำหนดกลยุทธ์และกำหนดกรอบเวลาแผนปฏิบัติการระยะสั้นและระยะยาว พิจารณาถึงความพร้อมของสิ่งสนับสนุนและทรัพยากรในการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุตามตัวชี้วัดกลยุทธ์

(D) คณะมีกระบวนการวางแผนกลยุทธ์และการถ่ายทอดแผนกลยุทธ์ แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 การวิเคราะห์องค์กร โดยการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยภายนอกภายในที่สำคัญที่ส่งผลลัพธ์      การปฏิบัติงานรอบปีที่ผ่านมา

ระยะที่ 2 การพัฒนากลยุทธ์ โดยการยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากล การสร้างบุคลากรคุณภาพ       การพัฒนาองค์กรสู่ประสิทธิภาพที่สูงขึ้นเพื่อความยั่งยืน

ระยะที่ 3 การนำไปสู่การปฏิบัติ โดยการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ

(L) คณะฯ จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี จัดลำดับความสำคัญของโครงการหรือกิจกรรมโดยยึดเป้าหมายผลลัพธ์ เพื่อเสนอขออนุมัติงบประมาณผ่านคณะกรรมการบริหารคณะ

(I) คณะฯ จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี และทำการวัดผล/ทบทวนผลการดำเนินงาน รายงานผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดกลยุทธ์เป็นรายไตรมาส พัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติงานโดยทบทวนกระบวนการทำงานตามแผนกลยุทธ์รายงานผลต่อคณะกรรมการบริหารคณะ เพื่อนำผลการวิเคราะห์กระบวนการทำงานและปัญหาอุปสรรคมาปรับปรุงแผน ในกรณีมีผลกระทบเร่งด่วน จะมีการเสนอปรับแผนทันที ถ้ากรณีไม่เร่งด่วนจะปรับแผนตามรอบปีถัดไป

2 กระบวนการจัดทำกลยุทธ์(นวัตกรรม) กระบวนการจัดทำกลยุทธ์ของคณะกระตุ้นและทำให้เกิดนวัตกรรมได้อย่างไร

(A) คณบดีและคณะกรรมการบริหารคณะ พิจารณาการสร้างนวัตกรรมในกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ส่งเสริมและผลักดันผลงานวิจัยนวัตกรรมหรือผลงานในรูปแบบอื่นไปสู่การใช้ประโยชน์กับชุมชน เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จที่สำคัญตามเป้าหมายยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ โดยพิจารณาจากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการแข่งขันร่วมกับการนำผลจาก SWOT มาวิเคราะห์

(D) คณบดีคณะกรรมการบริหารคณะพิจารณาความเสี่ยงและความสอดคล้องเกี่ยวกับขีดความสามารถของบุคลากร งบประมาณ ทรัพยากร สู่ความร่วมมือและเครือข่าย มาจัดทำโครงการหรือกำหนดแผนการดำเนินงานเพื่อบรรลุผลสำเร็จตามตัวชี้วัดกลยุทธ์ โดยกำหนดกรอบระยะเวลาแผนปฏิบัติการระยะสั้นและระยะยาว

(L) คณบดีกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม

(I) คณบดีให้การสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมจากผลการดำเนินงานตามผลิตภัณฑ์หลักของคณะ ได้แก่ การมีผลงานวิจัยแบบบูรณาการที่ใช้ประโยชน์ในการผลักดันนโยบายและเชิงพานิชเพิ่มขึ้น การพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรให้ได้การรับรองมาตรฐานระดับสากล และการพัฒนาบัณฑิตตามคุณลักษณะพึงประสงค์ การบริการวิชาการที่สร้างรายได้และเป็นประโยชน์ต่อสังคม

3 กระบวนการจัดทำกลยุทธ์(การวิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ์) คณบดีมีวิธีการอย่างไรที่รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพัฒนาสารสนเทศเพื่อใช้ในกระบวนการวางแผนกลยุทธ์

(A) คณะฯ และคณะกรรมการบริหารคณะ มีกระบวนการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศภายในและภายนอกที่สำคัญ เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆในการกำหนดกลยุทธ์ (ได้แก่ นโยบายภาครัฐ มาตรฐานต่างๆสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ สังคม การตลาด ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นต้น) โดยผ่านการใช้เครื่องมือ SWOT

(D) คณบดีประชุมระดมความคิดเห็นจากบุคลากร นักศึกษาใหม่ ศิษย์เก่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ผู้ใช้บัณฑิต) ผ่านช่องทางสื่อ Online เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาในการจัดทำกลยุทธ์

(L) คณบดีและคณะกรรมการบริหารคณะ วิเคราะห์ขีดความสามารถของบุคลากรและความพร้อมของคณะในการวางแผนดำเนินงานตามกลยุทธ์

(I) คณะฯ ทบทวนระบบงานหลักและงานสนับสนุน เพื่อให้มีความสอดคล้องกับการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ ซึ่งผลการวิเคราะห์โดยใช้ SWOT ดังนี้คือ

ภาพที่ 2.1.3 การวบรวมข้อมูลมาใช้ในกระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ปี 2565 (การวิเคราะห์ & การกำหนดกลยุทธ์)

ปัจจัยที่นำมาประกอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ปี 2565

ข้อมูลสำคัญ

แหล่งข้อมูล

ความถี่รวบรวมข้อมูล

สารสนเทศ

ผู้รับผิดชอบ

ปัจจัยภายใน

1. จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคาม

·     ผลการวิเคราะห์การประเมินสถานการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานภาพรวมของคณะ

·     แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2565-2570)

·     รายงานผลการปฏิบัติงานของคณะฯ ปีงบประมาณ 2564

·     ผลสำเร็จโครงการและการใช้จ่ายเงิน ปีงบประมาณ 2564

·     ผลการตรวจประเมินคุณภาพปี พ.ศ. 2564

คณะฯ

รายเดือน

สรุปรายไตมาส และปีงบประมาณ

ผลการดำเนินงานของคณะ

คณะกรรมการบริหารคณะ

2. ความต้องการ ความคาดหวังทั้งระยะสั้นและระยะยาวของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

·     ผลการดำเนินงานแผนปฏิบัติการประจำปีที่ผ่านมา

·     รายงานความต้องการและความคาดหวังของผู้เรียนปัจจุบัน

·     รายงานความพึงพอใจของผู้เรียนในแต่ละหลักสูตร

คณะฯ

ปีงบประมาณ

ทุกปี

ภาคการศึกษา

3. นวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงสำคัญทางเทคโนโลยีและอื่นๆที่อาจมีต่อบริการและดำเนินงาน

·     รายงานผลตรวจประเมินตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการเป็นเลิศประจำปี 2564

คกก.ตรวจประเมิน

ปีกรศึกษา

   

4. ศึกษาวิเคราะห์โอกาสการปรับเปลี่ยนทรัพยากร

·     สรุปรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2564

คณะฯ

สรุปรายไตรมาสและปีงบฯ

   

4 กระบวนการจัดทำกลยุทธ์(ระบบงานและสมรรถนะหลัก) คณบดีมีวิธีการอย่างไรในการตัดสินใจว่ากระบวนการสำคัญใดจะดำเนินการโดยบุคลากรของคณะ และกระบวนการใดจะดำเนินการจากภายนอกโดยผู้ส่งมอบ คู่ความร่วมมือ ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

(A) คณบดีและคณะกรรมการบริหารได้กำหนดสมรรถนะหลักของคณะ ภายใต้ทิศทางที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยและแผนการปฏิบัติงานประจำปีของคณะ

(D) คณบดีและคณะกรรมการบริหารนำแผนยุทธศาสตร์ สมรรถนะหลัก นโยบายของวิทยาลัยและคณะ ข้อมูลและข้อกำหนดต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งรูปแบบการให้บริการของคณะฯ มาวิเคราะห์ระบบงานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ และสภาพแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลง โดยมีการกำหนดระบบงานในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์คณะ ประกอบด้วย 2 ระบบงาน คือ

1. ระบบงานหลัก 
2. ระบบงานสนับสนุน

(L) คณบดีและคณะกรรมการบริหาร จัดประชุมชี้แจงวิธีการดำเนินงานระบบงานให้บุคลากรทุกระดับในคณะให้รับทราบและสามารถใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้

  1. ระบบงานหลัก เป็นระบบงานในการสร้างผลผลิตและผลลัพธ์ตามผลิตภัณฑ์หลักของคณะ รวม 3 ระบบงาน คือ 1) ระบบการจัดการศึกษา 2) ระบบงานวิจัย 3) ระบบบริการวิชาการ โดยคณะฯ ใช้สมรรถนะหลักในการบริหารจัดการ เพื่อผลิตผลงานส่งมอบให้กับผู้เรียนและลูกค้า
  2. ระบบงานสนับสนุน เป็นระบบสนับสนุนผลิตภัณฑ์หลักและระบบสนับสนุนองค์กร
    โดยที่ทั้ง 2 ระบบงานจะมีการดำเนินงานที่เชื่อมโยงกับใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อให้ทั้ง 2 ระบบงานบรรลุผลสำเร็จและตอบสนองต่อตัวชี้วัดที่กำหนดไว้โดยแผนฯ

(I) คณบดีและคณะกรรมการบริหารมีการทบทวนและติดตาม เพื่อปรับปรุงระบบงานโดยการรับฟังข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง

5 วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์(วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ) วัตถุประสงค์ของคณะมีอะไรบ้าง

(A) คณะฯ กำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ คือ พัฒนาศักยภาพผู้เรียน สร้างบุคลากรคุณภาพ ร่วมมือกับเครือข่ายทุกระดับคุณภาพงานวิจัยและนวัตกรรมสู่นานาชาติ และสร้างองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน

(D) คณะฯ มีการกำหนดยุทธศาสตร์ของคณะ 5 ยุทธศาสตร์ 17 กลยุทธ์ 5 แผนงาน 8 แผนงานย่อย จำนวน 32 โครงการ 34 ตัวชี้วัด ดำเนินการบริหารจัดการเพื่อมุ่งสู่องค์กรที่เป็นเลิศโดยยึดหลักธรรมาภิบาล

(L) คณะฯ มีการกำหนดกรอบเวลาในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประจำปีและกำหนดเป้าหมายการบรรลุผลสำเร็จตามตัวชี้วัดในปี 2565

(I) คณะฯ มีการทบทวนผลการดำเนินงานในแต่ละปีงบประมาณ โดยใช้ข้อมูลสารสนเทศจากการรายงานนำมาวิเคราะห์ เพื่อทบทวนและจัดทำแผนงาน/โครงการ ในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์และตามแผนปฏิบัติการประจำปี 2565

6 วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์(การพิจารณาวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์) วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของคณะสามารถสร้างความสมดุลอย่างเหมาะสมกับความต้องการที่มีความหลากหลาย และที่มีโอกาสจะแข่งขันกันเองได้อย่างไร

(A) คณบดีและคณะกรรมการบริหารพิจารณาวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่คณะสามารถดำเนินการได้ และสามารถบรรลุเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ได้นำมาจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี 2565 และกำหนดผู้รับผิดชอบและระบุเป้าหมายการดำเนินงานเชิงยุทธศาสตร์

(D) คณะมุ่งพัฒนาศักยภาพผู้เรียน สร้างบุคลากรคุณภาพ ยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากล

1) ด้านวิจัยงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพระดับสากล

2) ด้านการบริการวิชาการคณะมุ่งสร้างเครือข่าย สร้างองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน

3) ด้านการศึกษาคณะพัฒนาหลักสูตรด้านสาธารณสุขที่มีคุณภาพสอดคล้องกับความจำเป็นของสังคมและความต้องการของลูกค้า

4) ด้านการบริหารจัดการ คณะฯ มุ่งพัฒนาระบบงานที่ตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์หลัก

(L) คณะฯ มุ่งพัฒนาสร้างพื้นฐานและองค์กรสู่ความ เป็นเลิศ

(I) คณะมุ่งพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Online & Face to Face, Classroom & สถานที่ฝึกปฏิบัติงาน)

     โดยการนำความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์มาพิจารณากำหนดวัตถุประสงค์ในแผนปฏิบัติงานประจำปี 2565 ในการดำเนินงาน ดังตารางที่ 2.1.6

 

 

 

 

 

 

 

 

ตารางที่ 2.1.6 การนำความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์มาใช้พิจารณากำหนดวัตถุประสงค์ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565

ความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์

การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนา

การบรรลุเป้าหมาย

1. การสร้างความเป็นนานาชาติให้แก่หลักสูตร

1. การพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตด้วยการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง

2. การพัฒนาการเรียนการสอนสู่ความเป็นเลิศตามมาตรฐานสากล

1. ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

2. ผลการทดสอบภาษาอังกฤษ

3. ภาวะการมีงานทำของบัณฑิต

4. ร้อยละของอาจารย์วุฒิปริญญาเอก

5. ร้อยละของอาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งวิชาการที่สูงขึ้น

2. การสร้างเครือข่ายพันธมิตรงานวิจัย

1. การพัฒนางานวิจัยที่มีการบูรณาการกับสาขาต่างๆทางด้านมนุษยศาสตร์/สังคมศาสตร์ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

1. ร้อยละของงานวิจัยที่เป็นงานสร้างสรรค์ & ตีพิมพ์เผยแพร่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติต่ออาจารย์ประจำ

2. เงินทุนสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งภายนอกต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

3. การบริการวิชาการที่ตรงกับความเชี่ยวชาญของคณะ

1. พัฒนาปรับปรุงงานบริการวิชาการ

1. จำนวนผลงานที่เกิดจากการบริการวิชาการ

ภาพที่ 2.1.6 กระบวนการพิจารณาวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์

7 กลยุทธ์ที่จัดทำ ทำให้บรรลุความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ที่กำหนด

ภาพที่ 2.1.7 กระบวนการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำกลยุทธ์ให้บรรลุความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ที่กำหนด

8 กลยุทธ์ที่จัดทำ สอดคล้องกับแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ

          ตารางที่ 2.1.8 การจัดการความสอดคล้องกับแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนา

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ข้อกำหนดที่สำคัญ

กระบวนการที่สำคัญ

ผลผลิตหลักและผู้รับบริการ

1. ระบบการจัดการศึกษาปริญญาตรี

– ผู้ปกครอง ผู้ใช้บัณฑิต ศิษย์เก่า

– หลักสูตรตามกรอบมาตรฐาน TQF

– คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์

– คณาจารย์มีคุณวุฒิสอดคล้องกับหลักสูตร

1. พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

2. จัดการเรียนการสอน

3. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร

4. ฝึกปฏิบัติ

5. ประเมินผลสัมฤทธิ์

1. อัตราการสำเร็จการศึกษา

2. ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการศึกษา

3. จำนวนผู้รับบริการ (นักศึกษาระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา)

2. ระบบบริหารงานวิจัย

– สถาบันวิจัย ผู้ใช้งานวิจัย เครือข่ายร่วมทำวิจัย

– คุณภาพงานวิจัย

– การส่งงานวิจัยตรงเวลา

– จรรยาบรรณวิชาชีพและแนวทางปฏิบัติวิชาชีพ

– จริยธรรมการวิจัยในคน

1. สนับสนุนทุนวิจัยภายในวิทยาลัย

2. แสวงหาแหล่งทุนวิจัยภายนอก

3. การรับรองงานวิจัยในมนุษย์

4. พัฒนานักวิจัย

5. กำกับและติดตามความก้าวหน้า

6. รวบรวมผลงานและจัดทำรายงานวิจัย

7. สนับสนุนการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการ

8. จัดการความรู้และเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สาธารณะ

1. ผลผลิต

– จำนวนโครงการวิจัย

– จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัย

– จำนวนอาจารย์ทั้งหมด

– จำนวนบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ICI, SCOPUS หรือ IST

2. ผู้ให้ทุนวิจัย

– ภาครัฐ

-ภาคเอกชน

3. ระบบบริการวิชาการ

– ผู้ใช้บริการ

– การบริการที่ดี

1. การประสานงานติดต่อผู้รับบริการ

2. ออกแบบ/จัดบริการตามความต้องการ

3. การประเมินผลความพึงพอใจของผู้รับบริการ

4. การปรับปรุงบริการ

1. ผลผลิต

– จำนวนผู้รับบริการ

– จำนวนเงินรายได้

2. หน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

….. 5 ข้อ …..

IQA (1-8)

1,2,3,4,5,6

6 ข้อ

 4 คะแนน

EdPEx (1-6)

1,2,3,4,5,6

ร้อยละ 5

2.25 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน

รายการ

2.1.1.1

-แผนพัฒนาบุคลากรคณะสาธารณสุขศาสตร์ ปี 2563-2567

-แผนปฏิบัติการคณะสาธารณสุขศาสตร์ ประจำปี 2565

2.1.2.1

-ผลการฝึกประสบการวิชาชีพของนักศึกษาชั้นปีที่ 4

2.1.3.1

– การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค ของคณะสาธารณสุขศาสตร์

2.1.4.1

-แผนปฏิบัติการคณะสาธารณสุขศาสตร์ ประจำปี 2565  แบ่งออกเป็น 6 แผนงาน

2.1.5.1

-วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของแผนปฏิบัติการคณะสาธารณสุขศาสตร์ ประจำปี 2565

2.1.6.1

-วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของรายละเอียดแต่ละแผนงาน 6 แผนงาน

-แผนภาพที่ 2.1.6 กระบวนการพิจารณาวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์

2.1.7.1

-แผนภาพที่ 2.1.7 กระบวนการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำกลยุทธ์ให้บรรลุความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ที่กำหนด

2.1.8.1

-ตารางที่ 2.1.8 การจัดการความสอดคล้องกับแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนา