องค์ประกอบที่ 6: ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 ระบบงาน (กระบวนการทำงาน)

องค์ประกอบที่ 6 ระบบการปฏิบัติงาน

ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 ระบบงาน (กระบวนการทำงาน)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-7 ข้อ8-10 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-8 ประเมิน 45 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

1 การออกแบบการจัดการศึกษา วิจัย และบริการฯ และกระบวนการ(การจัดทำข้อกำหนดของการจัดการศึกษา วิจัย และบริการฯ และกระบวนการทำงานที่สำคัญ) คณะมีวิธีการอย่างไร

          คณะกำหนดวิสัยทัศน์ในการเป็นหน่วยงานหนึ่งของสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านสหวิทยาการ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ โดยใช้แนวคิดของวงจรคุณภาพ PDCA เพื่อขับเคลื่อนงานตามพันธกิจหลัก ได้แก่ การศึกษา วิจัย และการบริการวิชาการ ให้บรรลุพันธกิจและวิสัยทัศน์ของคณะและวิทยาลัย โดยผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ การบริหารหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา สร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของสังคม และการจัดบริการวิชาการที่ได้คุณภาพและมาตรฐาน (ดังภาพที่ 6.1.4-1)

2 การออกแบบการจัดการศึกษา วิจัย และบริการฯ และกระบวนการ(กระบวนการทำงานที่สำคัญ) กระบวนการทำงานที่สำคัญของคณะมีอะไรบ้าง

          ในส่วนของการดำเนินงานของหลักสูตรมีการกำกับให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา เช่น คุณสมบัติอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรในระดับปริญญาตรีจะต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง ส่วนอาจารย์ประจำที่สอนในหลักสูตร มีคุณวุฒิระดับปริญญาโทขึ้นไป หรือมีตำแหน่งทางวิชาที่ไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน ส่วนอาจารย์พิเศษที่สอนในหลักสูตร มีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือคุณวุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่สอนไม่น้อยกว่า 6 ปี และมีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชา (ดังภาพที่ 6.1.4-1)

3 การออกแบบการจัดการศึกษา วิจัย และบริการฯ และกระบวนการ(แนวคิดในการออกแบบ) คณะมีวิธีการอย่างไรในการออกแบบการจัดการศึกษา วิจัย และบริการฯ และกระบวนการทำงานที่สำคัญเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนด

          คณะใช้กรอบแนวคิดของวงจรคุณภาพ PDCA ในการออกแบบระบบงานหลักและงานสนับสนุนซึ่งบูรณาการกับการรับฟังเสียงของผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนกลุ่มบุคลากร งบประมาณ อาคาร วัสดุ ครุภัณฑ์ และ เทคโนโลยี เพื่อกำหนดกระบวนการ ตัวชี้วัด และผลลัพธ์ให้ชัดเจน โดยใช้เกณฑ์ IQA Stic, AUN-IQA, EdPEx –IQA รวมทั้งตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ 5 ปีของวิทยาลัย

          หลักสูตร

          คณะฯ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาโดยมีรองคณบดีทำหน้าที่เป็นประธานเพื่อประชุมหารือ ทบทวนผลดำเนินการในปีที่ผ่านมา และร่วมกันกำหนดปฏิทินการดำเนินการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและเสนอขอความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาลัย หลังจากนั้น รองคณบดีจะสื่อสารทำความเข้าใจในที่ประชุมคณะกรรมการประจำหลักสูตรต่าง ๆ เพื่อให้หลักสูตรต่างๆ ได้รับทราบและถือปฏิบัติต่อไปเพื่อร่วมขับเคลื่อนภารกิจการผลิตบัณฑิต โดยใช้แนวคิด PDCA จัดการคุณภาพหลักสูตร เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุวิสัยทัศน์ และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษา และการใช้กรอบแนวคิดการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based Education) ออกแบบหลักสูตรและการจัดการหลักสูตร ให้มีเนื้อหาของหลักสูตรและสาระในรายวิชาให้มีองค์ความรู้ในเชิงสหวิทยาการ โดยมีการปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยก้าวทันความก้าวหน้าทางวิชาการและสอดคล้อง กับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต กระบวนการทำงานหลัก และกระบวนการสนับสนุน โดยขอความร่วมมือจากคณาจารย์ภายในวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาจากภายนอก ศิษย์เก่า องค์กร วิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ร่วมรับผิดชอบให้ข้อมูลที่สำคัญในเรื่องทิศทางวิชาชีพ ทักษะความชำนาญที่บัณฑิตพึงมี รวมถึงข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการเรียนการสอน เพื่อใช้เป็นข้อมูลออกแบบหลักสูตรตามกรอบ แนวคิดการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based Education: OBE) ให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน และส่งมอบให้ผู้เรียนได้อย่างมีคุณภาพ

การจัดการคุณภาพหลักสูตร

แนวคิด PDCA

การดำเนินการ

ผู้รับผิดชอบ

Plan

 

การวางแผนจากวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดขึ้น สำรวจความต้องการของลูกค้าในการศึกษา กำหนดปฏิทินการจัดการศึกษาตามกรอบ TOF ประจำปีการศึกษา

– คกก.ประจำหลักสูตร

– คกก.ประจำคณะ

 

Do

 

คณะถ่ายทอดกรอบแนวคิดการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based Education) ออกแบบเนื้อหาหลักสูตรสู่ คกก. ประจำหลักสูตรทุกหลักสูตร รวมทั้งใช้กรอบ TQF ตามเกณฑ์ สกอ. การปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงานที่เขียนไว้อย่างต่อเนื่องเป็นระบบ และเสนอขอเปิดหลักสูตรตามขั้นตอนปฏิบัติตามปฏิทินการจัดการศึกษา

– ระดับคณะ : คณะกรรมการบริหารคณะ

– ระดับหลักสูตร : คณะกรรมการประจำหลักสูตร

 

Check

 

ตรวจสอบผลดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนของแผนงานว่ามีปัญหาอะไร

จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไข แผนงานในขั้นตอนใดบ้าง

– คณะกรรมการบริหารคณะ

Action

 

ปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา หรือถ้าไม่มีปัญหาใด ๆ ก็ยอมรับแนวทางปฏิบัติตามแผนงานที่ได้ผลสำเร็จ เพื่อนำไปใช้ในการทำงานครั้งต่อไป

– คณะกรรมการบริหารคณะ

การวิจัย

          คณะกรรมการบริหารคณะกำหนดและกำกับทิศทางการวิจัยของคณะ รวมทั้งพิจารณาประกาศข้อบังคับในการกำกับการวิจัยให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ได้แก่ ประกาศวิทยาลัยว่าด้วยการสนับสนุนทุนวิจัยในระดับวิทยาลัย และประกาศวิทยาลัยว่าด้วยการสนับสนุนการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติ

การบริการวิชาการ

          คณะให้บริการวิชาการจากองค์คงความรู้ ความเชี่ยวชาญ ของบุคลากร ในคณะเพื่อพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้สร้างผลงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน และให้บริการวิชาการที่ มีการบูรณาการการเรียนการสอนจากในห้องเรียนสู่ชุมชนเพื่อสร้างและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือการทำวิจัยและบริการวิชาการ ที่บูรณากับการเรียนการสอนในการพัฒนาทรัพยากรทางสังคมวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชน

4 การจัดการและการปรับปรุงกระบวนการ(การนำกระบวนการไปสู่การปฏิบัติ) คณะมั่นใจได้อย่างไรว่าการปฏิบัติงานประจำวันของกระบวนการทำงานต่างๆเป็นไปตามข้อกำหนดที่สำคัญ

        คณะดำเนินการตามระบบหลักและระบบงานสนับสนุนภายใต้การกำกับดูแล โดยคณะกรรมการบริหารคณะ ตามตัวชี้วัดกระบวนการและตัวชี้วัดผลลัพธ์ ซึ่งเป็นการติดตามการดำเนินการของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และกำกับกระบวนการและผลการดำเนินการเพื่อมั่นใจในความสำเร็จคุณภาพของการดำเนินงาน และการใช้ทรัพยากรต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งคณะมีการทบทวนหลังปฏิบัติงานกิจกรรมต่างๆ เพื่อการเรียนรู้และปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย คณะกรรมการบริหารคณะจะมีการวิเคราะห์หาสาเหตุ และทำการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานอย่างต่อเนื่อง ดังตารางที่ 6.1.4-1

          ตารางที่ 6.1.4-1 กระบวนการทำงานที่สำคัญ ข้อกำหนด ตัวชี้วัดกระบวนการ และตัวชี้วัดผลลัพธ์ ของผลิตภัณฑ์ด้านการจัดการศึกษา

กระบวนการทำงานที่สำคัญ

ข้อกำหนดที่สำคัญ

ตัวชี้วัดกระบวนการ

ตัวชี้วัดผลลัพธ์

กระบวนการหลัก

กระบวนการรับฟังเสียงลูกค้า

1.ทบทวนเป้าหมายของประเทศ วิทยาลัย คณะและหลักสูตร

·    คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตที่วิทยาลัยกำหนด

·    ประกาศ/ ข้อบังคับของวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา

·    พ.ร.บ.วิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

– การประชุมคณะกรรมการคณะ

– อัตราการสำเร็จการศึกษาภายในวงรอบหลักสูตร

– ร้อยละการมีงานทำของบัณฑิต ภายใน 1 ปี

– ความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

– ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

2.รับฟังเสียงศิษย์เก่า ผู้ใช้บัณฑิตและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง

– จำนวนความถี่ในการรับฟังเสียงลูกค้า (1 ครั้งปี)

กระบวนการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรให้ตรงตามความต้องการของตลาด

3.จัดทำแผนพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร

·    เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 และมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561

·    เกณฑ์คุณภาพการศึกษา ตามเกณฑ์ AUN-QA (Version 3) ฉบับปี 2557 และ EdPEx

·    ประกาศ/ข้อบังคับของวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา

·    พ.ร.บ. วิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

จำนวนหลักสูตรที่ได้รับการตรวจประเมินและได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล

– จำนวนหลักสูตรที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานระดับสากล

– จำนวนนักศึกษาใหม่ตรงตามแผนการรับ

กระบวนการจัดการเรียนการสอน

4. การจัดการศึกษา

     

4.1 การจัดการเรียนการสอน

·    คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตที่วิทยาลัยและคณะกำหนด

·    ประกาศ/ข้อบังคับของวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา

การปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอน เช่น การพัฒนาสื่อเรียนออนไลน์ การพัฒนาห้องเรียน

– ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตรและต่อสิ่งเอื้อต่อการเรียนรู้

4.2 ดูแลและพัฒนานักศึกษา

– จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่จัดพัฒนานักศึกษา เช่น กิจกรรมการเตรียมความพร้อมการมีงานทำของนักศึกษา และการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ

– จำนวนการคงอยู่ของนักศึกษาเมื่อขึ้นชั้นปีที่ 2

– จำนวนของนักศึกษาที่พ้นสภาพนักศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษา

– ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อจัดโครงการ/กิจกรรมพัฒนานักศึกษา

กระบวนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

5. การประเมินผลผู้เรียน

·    คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตที่คณะกำหนด

– การประเมินผลตามปีการศึกษา

– ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตรและต่อสิ่งเอื้อต่อการเรียนรู้

– ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อจัดโครงการ/กิจกรรมพัฒนานักศึกษา

          ตารางที่ 6.1.4-2 กระบวนการทำงานที่สำคัญ ข้อกำหนด ตัวชี้วัดกระบวนการ และตัวชี้วัดผลลัพธ์ ของผลิตภัณฑ์ด้านการวิจัย

กระบวนการทำงานที่สำคัญ

ข้อกำหนดที่สำคัญ

ตัวชี้วัดกระบวนการ

ตัวชี้วัดผลลัพธ์

กระบวนการหลัก

1.การแสวงหาแหล่งทุนและสนับสนุนการยื่นโครงการวิจัยยังแหล่งทุน

1.   ยุทธศาสตร์การวิจัยของประเทศ

2.   ยุทธศาสตร์วิทยาลัย และคณะ

3.   ระเบียบข้อบังคับและประกาศของวิทยาลัย

4.   หลักจริยธรรมและจรรยาบรรณด้านการวิจัย

·    จำนวนโครงการวิจัย

·    จำนวนเงินทุนวิจัย

·    จำนวนผลงานตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ

·    จำนวนผลงานตีพิมพ์ในวารสารประเภท Q1

·    จำนวนผลงานที่นำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้แก่ ทรัพย์สินทางปัญญา การต่อยอดเชิงพาณิชย์ เชิงนโยบาย

·    ความพึงพอใจเฉลี่ยของแหล่งทุน

2.การสนับสนุนการดำเนินงานวิจัย

1.   จรรยาบรรณนักวิจัย

2.   จริยธรรมการวิจัยในคน

3.   จริยธรรมการวิจัยในสัตว์ทดลอง

4.   ความปลอดภัยทางชีวภาพ

5.   ระเบียบการเงิน

·    มีคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน/สัตว์

·    มีคณะกรรมการคณะอนุกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพคณะสาธารณสุขศาสตร์

·    จำนวนโครงการวิจัยที่ผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน/สัตว์

·    จำนวนโครงการที่ผ่านการรับรองความปลอดภัยทางชีวภาพ

·    จำนวนโครงการที่ถูกร้องเรียนเรื่องจริยธรรม และจรรยาบรรณ

·       จำนวนโครงการที่ถูกร้องเรียนเรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพ (ไม่พบข้อร้องเรียน)

3.การพัฒนานักวิจัย

1.     จรรยาบรรณของนักวิจัย

2.     การอบรมจริยธรรมการวิจัยในคน/สัตว์

3.     การอบรมความปลอดภัยทางชีวภาพ

4.     ระเบียบข้อบังคับ/ประกาศของวิทยาลัย

·      มีการจัดอบรมจริยธรรมการวิจัยในคน/สัตว์ปีละ 1 ครั้ง และส่งคนเข้าร่วมการอบรมความปลอดภัยทางชีวภาพ และการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

·      มีประกาศคณะ สนับสนุนทุนวิจัย และสนับสนุนการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติที่มีคุณภาพ

·    จำนวนผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ

·    จำนวนผลงานตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติระดับ Q1

·    จำนวนทรัพย์สินทางปัญญา

·    จำนวนโครงการวิจัยที่ได้รับอนุมัติจากแหล่งทุน

·    จำนวนบุคลากรสายวิชาการที่ได้เสนอขอและได้รับตำแหน่งทางวิชาการ

·    จำนวนบุคลากรสายวิชาการที่เป็นอาจารย์ใหม่ที่ได้ทุนวิจัย

1.กระบวนการสนับสนุน

1.การสนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์ทางห้องปฏิบัติการ

1.  การตั้งงบประมาณครุภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ทางห้องปฏิบัติการประจำปี

2.  การตั้งงบประมาณซ่อมบำรุงเครื่องมือประจำปี

3.  การยกระดับมาตรฐานและความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

·    มีการยื่นตรวจประเมินห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย

·    จำนวนงบประมาณซ่อมบำรุงเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ได้รับ

·    จำนวนห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย

2.การสนับสนุนการตีพิมพ์ฯ

1.   จรรยาบรรณนักวิจัย

2.   ระเบียบข้อบังคับและประกาศของวิทยาลัย และคณะ

3.   ตัวชี้วัดการปฏิบัติงานด้านการวิจัยของวิทยาลัย

·    ประกาศคณะสาธารณสุขศาสตร์ เรื่องหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินอุดหนุนการตีพิมพ์บทความวิชาการหรือบทความปริทัศน์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ พ.ศ. 2563

·    จำนวนผลงานวิจัยได้รับการสนับสนุนการตีพิมพ์ฯ

·    งบประมาณที่อนุมัติเพื่อสนับสนุนการตีพิมพ์

3.การสนับสนุนจากงานเทคโนโลยีสารสนเทศ

·    ความต้องการของผู้เรียน

·    ความต้องการของอาจารย์

– จำนวนครั้งของการฝึกอบรมการสอนออนไลน์ Webex Zoom ms team

– ความพึงพอใจของฝึกอบรมการสอนออนไลน์ Webex Zoom ms-team

– จำนวนห้องที่ได้รับการพัฒนา

– จำนวนรายวิชาออนไลน์

– ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตร และต่อสิ่งเอื้อต่อการเรียนรู้

          ตารางที่ 6.1.4-3 กระบวนการทำงานที่สำคัญ ข้อกำหนด ตัวชี้วัดกระบวนการ และตัวชี้วัดผลลัพธ์ ของผลิตภัณฑ์ด้านการบริการวิชาการ

กระบวนการทำงานที่สำคัญ

ข้อกำหนดที่สำคัญ

ตัวชี้วัดกระบวนการ

ตัวชี้วัดผลลัพธ์

ระบบงานหลัก

1.การจัดบริการให้ตรงกับความต้องการ และคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้รับบริการ ลูกค้าอบรม, ตรวจวิเคราะห์, ห้องปฏิบัติการ, บริการสุขภาพ

2.การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สุขภาพชุมชนและความรอบรู้สุขภาพ

·    ระเบียบ/ประกาศ/ข้อบังคับวิทยาลัย/คณะ เกี่ยวกับการให้บริการวิชาการ

·    ระเบียบ/ประกาศของหน่วยงานที่มารับบริการวิชาการ

·    ระบบคุณภาพตามบริการ การบริการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ (Medical Check-up Services)

·    มาตรฐานห้องปฏิบัติการ/มาตรฐานเครื่องมือ

1.  จำนวนโครงการฝึกอบรม/ประชุมวิชาการ/บริการวิชาการ

2.  จำนวนงบประมาณซ่อมบำรุงเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ได้รับ

3.  จำนวนมาตรฐานห้องปฏิบัติการ/มาตรฐานเครื่องมือ

4.  มีกิจกรรมในการสร้างเขตสร้างเสริมสุขภาพ

1.      จำนวนผู้รับบริการ

2.      ความพึงพอใจของผู้รับบริการวิชาการ

3.      จำนวนเงินรายได้จากการบริการวิชาการ

5 การจัดการและการปรับปรุงกระบวนการ(กระบวนการสนับสนุน) คณะมีวิธีการอย่างไรในการกำหนดกระบวนการสนับสนุนที่สำคัญ

          คณะได้กำหนดระบบงานสนับสนุนเพื่ออำนวยความสะดวกและสนับสนุนแก่ระบบงานหลักให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ โดยที่กระบวนการสนับสนุนที่สำคัญ 
         การกำหนดกระบวนการจะเป็นการพิจารณาการสนับสนุนการปฏิบัติงานตามผลิตภัณฑ์หลัก สนับสนุนด้านการจัดการศึกษา ด้านการวิจัยและด้านการบริการวิชาการเป็นไปตามยุทธศาสตร์และตัวชี้วัดวิสัยทัศน์คณะฯ กลไกการเชื่อมโยงระหว่างกระบวนการต่างๆ ขับเคลื่อนโดยผู้รับผิดชอบตั้งแต่ คณบดี รองคณบดี ประธานสาขาวิชา เพื่อให้เกิดการสนับสนุนอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ดังตารางที่ 6.1.5-1

ตารางที่ 6.1.5-1 กระบวนการสนับสนุนที่สำคัญ

กระบวนการ

ผู้รับผิดชอบ

ระบบงานสนับสนุนผลิตภัณฑ์หลัก

 

1. กระบวนการทางทรัพยากรบุคคล

คณะกรรมการบริหารคณะฯ

1.1 การรับบุคลากรใหม่และการพัฒนาบุคลากร

1.2 การส่งเสริมความผูกพันของผู้ปฏิบัติงาน

1.3 การประเมินผลการปฏิบัติงาน

1.4 การจัดกระบวนการทำงานให้เป็นไปตามกฎระเบียบขององค์กร

1.5 การสื่อสารภายใน/นอกองค์กร

1.6 งานสารบรรณ ธุรการ การจัดประชุม และยานพาหนะ

2. กระบวนการทางการเงินและพัสดุ

การเงินของวิทยาลัย

2.1 การบริหารเงินอุดหนุนการวิจัย

2.2 การบริหารเงินทุนการศึกษา

2.3 การจัดการทางบัญชี

2.4 การบริหารด้านงบประมาณ

2.5 การจัดการทางพัสดุ

2.6 การจัดการด้านเงินทดรองจ่าย

2.7 งานธุรการการเงิน

2.8 การจัดการด้านสวัสดิการ

3. กระบวนการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

คณะกรรมการบริหารคณะฯ

3.1 การพัฒนาระบบสารสนเทศและระบบเว็บไซต์

3.2 การสื่อสารด้วยสื่อออนไลน์

4. กระบวนการทางกิจการพิเศษและความร่วมมือระหว่างประเทศ

คณะกรรมการบริหารคณะฯ

4.1 การลงนามบันทึกความร่วมมือ MOU

4.2 ประสานงานกิจกรรมต่าง ๆ กับเครือข่าย

5. กระบวนการด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม

รองฯ บริหารของวิทยาลัย

5.1 การดูแลรักษาอาคารและสิ่งสาธารณูปโภค

5.2 การจัดการด้านความปลอดภัย และเตรียมพร้อมต่อเหตุฉุกเฉิน

5.3 การจัดการด้านความสะอาดและสุขอนามัย

5.4 การจัดการขยะและของเสียอันตราย

ระบบงานสนับสนุนองค์กร

1. กระบวนการด้านบริหารกลยุทธ์ พัฒนาคุณภาพ และบริหารความเสี่ยง

คณะกรรมการบริหารคณะฯ

1.1 การสร้าง พิจารณา ทบทวน ติดตาม แผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ

1.2 การทำรายงานประจำปี

1.3 การทำข้อตกลงการปฏิบัติงานระดับภาคและคณะ

1.4 การจัดทำรายงานประเมินตนเอง SAR

1.5 การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ

1.6 การบริหารความเสี่ยง

1.7 การตรวจประเมินคุณภาพภายใน

1.8 การตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ

1.9 การติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ

1.10 การรายงานตัวชี้วัดผลผลิต

1.11 การจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดผลลัพธ์

2. กระบวนการสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม

คณะกรรมการบริหารคณะฯ

2.1 การประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์องค์กร

2.2 การดำเนินงานศิษย์เก่าสัมพันธ์

6 การจัดการและการปรับปรุงกระบวนการ(การปรับปรุง) คณะมีวิธีการอย่างไรในการปรับปรุงกระบวนการทำงานที่เพิ่มการเรียนรู้ของผู้เรียน ปรับปรุงการจัดการศึกษา วิจัย และบริการฯ และผลการดำเนินการ เสริมสร้างสมรรถนะหลักของคณะ และลดความแปรปรวนของกระบวนการ

          การปรับปรุงการจัดการศึกษา วิจัย และบริการฯ และกระบวนการ คณบดี คณะกรรมการคณะ และบุคลากรที่รับผิดชอบกระบวนการหลักและกระบวนการสนับสนุน ประเมินและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ โดยการนำข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญจากการประเมินคุณภาพตามเกณฑ์ EdPEx AUN-QA การจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงาน ข้อมูลตัวชี้วัดข้อเสนอแนะจากผู้ประเมิน รวมทั้งข้อเสนอจากการรับฟังเสียงลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มาวิเคราะห์จัดลำดับความสำคัญ เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงอย่างเป็นระบบ โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ในการปรับปรุงกระบวนการ และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อถ่ายทอดความรู้ไปสู่บุคลากรในคณะ กระบวนการในระบบการจัดการศึกษา คณะฯใช้มาตรฐานหลักสูตรและ TOF เป็นเครื่องมือกำกับมาตรฐาน เช่น การปรับปรุงการเรียนการสอน การประเมินผลในรายวิชา การปรับปรุงหลักสูตรอย่างน้อยทุก 5 ปี เป็นต้น และใช้แนวทางการพัฒนาคุณภาพตามเกณฑ์ AUN-QA เป็นเครื่องมือในการพัฒนากระบวนการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น เช่น การพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร ดังภาพที่ 6.1.6-1 การพัฒนาระบบสนับสนุนการเรียนการสอนออนไลน์ เอกสารประกอบการสอน การส่ง-ตรวจ-ส่งคืนการบ้าน/งานที่ได้รับมอบหมาย การสอบ/การประเมินผลอย่างสะดวก รวดเร็ว นักศึกษาสามารถทบทวนเนื้อหาได้ตลอดเวลา ระบบ i-Thesis ในระดับบัณฑิตศึกษาทำให้การติดตามผลการเรียน/การทำวิทยานิพนธ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการแจ้งเตือนระยะเวลาที่สำคัญให้นักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาทราบ การช่วยนักศึกษาในการจัดทำวิทยานิพนธ์ให้ประสบความสำเร็จได้รวดเร็วขึ้น ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการด้านการจัดการศึกษา  กระบวนการในระบบบริหารงานวิจัย มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วยการรับฟังความเห็นจากนักวิจัยและผู้ให้ทุนวิจัย ประเมินการให้บริการและนำข้อมูลมาปรับปรุงกระบวนการทำงาน เช่น การพัฒนาระบบสารสนเทศ การปรับปรุงระเบียบ/ข้อบังคับ/ประกาศ โดยที่การปรับกระบวนการทำงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กระบวนการในระบบงานบริการวิชาการ ผู้รับผิดชอบโครงการนำผลจากการเสนอแนะจากลูกค้า/ผู้รับบริการและผลการดำเนินโครงการบริการวิชาการมาปรับปรุง/พัฒนากระบวนการและโครงการอย่างต่อเนื่อง

 

7 การจัดการเครือข่ายอุปทาน คณะมีการจัดการเครือข่ายอุปทานอย่างไร

          การจัดการเครือข่ายอุปทาน คณะฯ และคณะกรรมการจัดหาพัสดุของวิทยาลัย กำหนดผู้ส่งมอบ และคู่ความร่วมมือในด้านการศึกษา ด้านการวิจัย และด้านการบริการวิชาการ ตามตารางที่ 6.1.7-1 กระบวนการจัดการเครือข่ายอุปทาน ที่กำหนดข้อกำหนดห่วงโซ่อุปทานและกลไกการสื่อสารกับผู้ส่งมอบและคู่ความร่วมมือ คณะฯ มีกระบวนการจัดการเครือข่ายอุปทาน เพื่อสนับสนุนผลิตภัณฑ์หลัก โดยใช้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างทีรับผิดชอบโดยงานพัสดุของวิทยาลัย  โดยกำหนดคุณสมบัติของพัสดุตามความต้องการผู้ใช้ พิจารณาการตอบสนองต่อกระบวนงานตามผลิตภัณฑ์หลัก กำหนดคุณลักษณะผู้ส่งมอบตามมาตรฐานและข้อกำหนด โดยผู้ใช้ หรือ คกก. จัดทำ Term of Reference (TOR) ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ตรวจรับตามระเบียบ อบรมการใช้ครุภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เทคโนโลยีใหม่ มีการทบทวนประสิทธิภาพ ประเมินผู้ส่งมอบ ให้ข้อมูลป้อนกลับในการจัดหาสินค้า/บริการที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน แล้วจัดทำรายการสิ่งของสำรองในคลังพัสดุทำให้มั่นใจว่า  คณะฯ สามารถจัดการเรียนการสอน และปฏิบัติการวิจัยในห้องปฏิบัติการ และให้บริการวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้บัณฑิต แหล่งทุนวิจัยและผู้รับบริการมีความพึงพอใจ คณบดีและคณะกรรมการบริหารพิจารณาผลการดำเนินงานของผู้ส่งมอบที่มีประสิทธิภาพเป็นไปตามมาตรฐานข้อกำหนด TOR และพิจารณาถึงแนวทางการควบคุมต้นทุน เพื่อประกอบการจ้างเหมาในปีต่อไป เช่น การจ้างเหมาแม่บ้านทำความสะอาด บริษัทดูแลรักษาเครื่องปรับอากาศ บริษัท/ตัวแทนจำหน่ายวัสดุ อุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุสำนักงาน วัสดุอุปกรณ์ทางห้องปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์ โรงพิมพ์ผู้ผลิตจัดทำเอกสาร/วารสาร เป็นต้น

 

ตารางที่ 6.1.7-1 กระบวนการจัดการเครือข่ายอุปทาน

กระบวนการ

วัตถุประสงค์

วิธีการ/กิจกรรม

เครื่องมือควบคุม

ผู้รับผิดชอบ

ความต้องการของผู้ใช้งาน

ต้องการพัสดุที่มีคุณภาพและตรงตามความต้องการ

1. กำหนดคุณสมบัติพัสดุให้ตรงตามความต้องการ

ข้อบังคับวิทยาลัย ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2557 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

คณะฯ

 

2. จัดทำแผนการใช้วัสดุ

หน่วยงานพัสดุของวิทยาลัย

การคัดเลือก

คัดเลือกผู้รับจัดหาพัสดุที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ

เชิญผู้รับจัดหาที่ผลงานดีรู้พัสดุนั้นๆมาเสนอราคา

คกก.จัดหาพัสดุของวิทยาลัย

การจัดซื้อ

1. จัดซื้อวัสดุมีคุณภาพตรงความต้องการผู้ใช้

2. จัดซื้อให้ทันตามกำหนด

1. วิธีตกลงราคา

2. วิธีคัดเลือก

3. วิธีประกวดราคา/วิธีพิเศษ

คกก.จัดหาพัสดุ/เจ้าหน้าที่พัสดุของวิทยาลัย

การจัดส่ง

ส่งมอบพัสดุถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนดของสัญญาและข้อตกลง

กำหนดระยะเวลาการส่งมอบพัสดุให้ชัดเจนและเหมาะสม

ใบสั่งซื้อ/สั่งจ้าง/สัญญาซื้อ/สัญญาจ้าง

เจ้าหน้าที่พัสดุของวิทยาลัย

การรับมอบ

รับมอบพัสดุตรงตามกำหนดเวลาถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงข้อสัญญา

คกก.ตรวจรับพัสดุ/ผู้ตรวจรับพัสดุทำการตรวจรับพัสดุ

รายละเอียดคุณสมบัติของพัสดุที่ทำการจัดซื้อ

คกก.ตรวจรับพัสดุ/ผู้ตรวจรับพัสดุของวิทยาลัย

การเก็บรักษา

เก็บรักษาให้เป็นหมวดหมู่เรียบร้อยและครบถ้วนถูกต้องตามบัญชีพัสดุ

1. บันทึกรายการ/จำนวนรายละเอียด

2. บันทึกทะเบียนสินทรัพย์

1. ทะเบียนคลังพัสดุ

2. ทะเบียนสินทรัพย์

เจ้าหน้าที่พัสดุของวิทยาลัย

การเบิกจ่าย

เบิกจ่ายวัสดุในคลัง 1 ครั้ง/สัปดาห์

ภาควิชา/หน่วยงานเขียนใบเบิกวัสดุขออนุมัติเบิก

ปฏิทินการเบิกจ่ายประจำปี

เจ้าหน้าที่พัสดุของวิทยาลัย

อบรมพัฒนา

ส่งมอบความรู้และกลไกการดำเนินงานตามผลิตภัณฑ์หลัก

การจัดการอบรม การจัดการความรู้ตามผลิตภัณฑ์หลัก

เอกสารคู่มือ

งานวิชาการ/

งานวิจัย/

งานบริการวิชาการ/

งานบริหารของวิทยาลัย

8 การจัดการนวัตกรรม คณะมีการดำเนินการกับโอกาสในการสร้างนวัตกรรมอย่างไร

          การจัดการนวัตกรรม

          คณะมีการจัดทำแผนปฏิบัติการตามแผนยุทธศาสตร์ของวิทยาลัย ปี 2563-2567 เพื่อการพัฒนาคณะสู่การเป็นคณะสาธารณสุขรอบรู้สุขภาพ คณะนำความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์สำคัญมาดำเนินการ เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์ของคณะเป็นที่รู้จัก และสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ เช่น (1) ผลิตภัณฑ์ด้านการวิจัย มีการดำเนินการนำผลงานวิจัยไปสู่การนำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชนและสถานประกอบการ โดยการดำเนินการคัดเลือกและตรวจสอบผลงานวิจัยที่เป็นงานสร้างสรรค์ เพื่อผลิตนวัตกรรมด้านการวิจัย ให้มีการดำเนินการเกิดขึ้น คณะส่งเสริมให้มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารนานาชาติ ระดับ Q1 โดยมีการกำหนดเป้าหมายผลงานตีพิมพ์ในระดับนานาชาติและในวารสารนานาชาติในระดับ Q1 แทนการกำหนดเป้าหมายผลงานตีพิมพ์ระดับชาติ และมีการออกประกาศของวิทยาลัย สนับสนุนเงินอุดหนุนเพิ่มสำหรับผลงานพิมพ์ในวารสารนานาชาติระดับ Q1 และ Q2 นอกจากนี้ตั้งแต่ปี 2564-2565 วิทยาลัยฯ ได้จัดมอบรางวัลการวิจัยดีเด่นประจำปี เพื่อการกระตุ้นและขับเคลื่อนการสร้างผลงานวิจัยที่ดีและมีคุณภาพยิ่งขึ้นในปีต่อ ๆ ไป (2) ผลิตภัณฑ์ด้านการศึกษา คณะปรับการเรียนการสอนเป็นแบบผสมผสาน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยในปีการศึกษา 2563 คณะได้ขออนุมัติเพื่อการปรับปรุงห้องเรียน สนับสนุนการเรียนการสอนทางไกล การสนับสนุนการเรียนการสอนออนไลน์ มีการจัดการเรียนออนไลน์ และปรับการฝึกภาคสนามของนักศึกษา

9 มีระบบการออกแบบหลักสูตรและสาระวิชาในหลักสูตรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง

          คณะฯ ได้มีจุดเน้นการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของเซเลอร์ และอาเล็กซานเดอร์ คือ ความเป็นระบบ (curriculum as a system) ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า คือ ผู้เรียน 2) กระบวนการ คือ การวางแผนการใช้หลักสูตร และการประเมินผล 3) ผลผลิต คือ คุณภาพผู้เรียน ดังแผนภาพดังต่อไปนี้ (Saylor & Alexander. 1974: 22)

ระบบและกลไกในการออกแบบสาระรายวิชาในหลักสูตร   

แผนภาพ 6.1.9-1 ระบบและกลไกในการออกแบบสาระรายวิชาในหลักสูตร

         

รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร

แผนภาพ 6.1.9-2 ความคิดรวบยอดระบบหลักสูตรของเซเลอร์ และอาเล็กซานเดอร์

         

        ระบบการพัฒนาหลักสูตร มีองค์ประกอบหลัก 3 ประการได้แก่ ปัจจัยนำเข้า (input) กระบวนการ (process) และผลผลิต (output)

          1) ปัจจัยนำเข้า หมายถึง ผู้เรียนที่รับเข้าการศึกษาในหลักสูตรซึ่งมีความแตกต่างกันระหว่างบุคคล (individual different)

          2) การกำหนดขอบข่ายเป้าประสงค์และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ซึ่งต้องพิจารณาปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้องร่วมด้วย ได้แก่ องค์ความรู้ เป้าหมายของสังคม ระบบคุณค่า ความต้องการของผู้เรียน และกระบวนการเรียนรู้

          3) การสังเคราะห์เป็นเป้าประสงค์และวัตถุประสงค์ของหลักสูตรที่มีความเฉพาะเจาะจง นำไปสู่การออกแบบหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการประเมินผล

          4) การออกแบบหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การประเมินผล และนำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร จนกระทั่งได้ผลผลิต คือคุณภาพของผู้เรียน แสดงได้ดังแผนภาพ 6.1.9-3 ต่อไปนี้

 

แผนภาพ 6.1.9-3 ระบบหลักสูตรของเซเลอร์ และอาเล็กซานเดอร์ (ปรับปรุงจาก Saylor & Alexander. 1974: 23)

         สำหรับรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์และอาเล็กชานเดอร์ ประกอบด้วยระบบหลัก 3 ระบบ ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่เป็นปัจจัยภายนอกเพื่อนำไปสู่การกำหนดเป้าประสงค์และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ส่งผลไปที่การวางแผน และการออกแบบหลักสูตร การนำหลักสูตรไปปฏิบัติ การประเมินหลักสูตร และการให้ข้อมูลย้อนกลับไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร ดังแผนภาพ 6.1.9-4 ต่อไปนี้

         แผนภาพ 6.1.9-4 กระบวนการวางแผนพัฒนาหลักสูตร (ปรับปรุงจาก Saylor & Alexander. 1974:27)

        นอกจากการนำเสนอรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรโดยทั่วไปดังที่กล่าวมาแล้ว เซเลอร์ และอาเล็กซานเดอร์ ยังได้นำเสนอรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรระดับชาติไว้อีกด้วย ดังแผนภาพ 6.1.9-5 ต่อไปนี้

แผนภาพ 6.1.9-5 การวางแผ่นโครงการพัฒนาหลักสูตรระดับชาติ (ปรับปรุงจาก Saylor & Alexander.1974: 73)

10 มีระบบการจัดเตรียมสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และการบำรุงรักษาให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง

          คณะฯ ได้มีการจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนด้านทรัพยากรทางกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่สำคัญและจำเป็นให้กับนักศึกษาในสัดส่วนที่เหมาะสมและเพียงพอต่อจำนวนนักศึกษาได้แก่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ที่พักของนักศึกษา ฯลฯ และความพร้อมของอุปกรณ์ เทคโนโลยี และสิ่งอำนวยความสะดวก หรือทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น อุปกรณ์การเรียนการสอน ห้องสมุด หนังสือ ตำรา สิ่งพิมพ์วารสาร ฐานข้อมูลเพื่อการสืบค้นแหล่งเรียนรู้ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ (ดังแผนภาพที่ 6.1.10-1 – 6.1.10-5 )

แผนภาพที่ 6.1.10-1 การจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน การดำเนินการจัดตั้งครุภัณฑ์รายการใหม่ระหว่างปีงบประมาณ

                                                           

แผนภาพที่ 6.1.10-2 การดูแลห้องปฏิบัติการและเครื่องมือ อุปกรณ์

 

แผนภาพที่ 6.1.10-3  การดูแลโสตทัศนูปกรณ์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในห้องเรียน โดยฝ่ายโสตฯของ   วิทยาลัย

 

แผนภาพที่ 6.1.10-4 การจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน การดูแลระบบสาธารณูปโกคภายในอาคารเพื่อให้เพียงพอ สะดวก ปลอดภัยต่อการจัดการเรียนการสอน

 

แผนภาพที่ 6.1.10-5  การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

 

แผนภาพที่ 6.1.10-6 การจัดสภาพระบบเครือข่ายภายในห้อง 1227/1-2 ให้เป็นระบบปิด เพื่อทดสอบการเขียนโปรแกรมของน.ศ.ด้วยระบบ Grader System ของภาควิชาคอมพิวเตอร์ นายนพดล สุขกล่อมชีพ

 

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

….. 5 ข้อ …..

IQA (1-10)

1,2,3,4,5,6,8

7 ข้อ

 4 คะแนน

EdPEx (1-8)

1,2,3,4,5,6,8

ร้อยละ 5

2.25 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน

รายการ

6.1.1.1

-วิสัยทัศน์ของคณะที่ครอบคลุมด้านการจัดการศึกษา วิจัย และบริการฯ

6.1.2.1

-หลักสูตรมีการกำกับให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา 

6.1.3.1

-กรอบแนวคิดของวงจรคุณภาพ PDCA ในการออกแบบระบบงานหลักและงานสนับสนุน

6.1.4.1

– ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรที่มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี

6.1.5.1

-หลักฐานสนับสนุนด้านกระบวนการ ด้านการเงิน งบประมาณ ด้านพัสดุ ด้านสารบรรณ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อมความปลอดภัย ด้านห้องปฏิบัติการ ด้านสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร

6.1.6.1

-การดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรบนกรอบ OBE Framework

6.1.7.1

-กระบวนการจัดการเครือข่ายอุปทาน

6.1.8.1

– การเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารนานาชาติในปี 2565

– รางวัลผลงานวิจัยดีเด่นของ Dr.Vijaya ปี 2564-2565

6.1.9.1

-ระบบและกลไกในการออกแบบสาระรายวิชาในหลักสูตร 

6.1.10.1

 -ระบบการจัดเตรียมสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และการบำรุงรักษา