องค์ประกอบที่ 7: ตัวบ่งชี้ที่ 7.2 ผลด้านบริการ (ผลลัพธ์ด้านลูกค้า)

องค์ประกอบที่ 7 ผลลัพธ์

ตัวบ่งชี้ที่  7.2 ผลด้านบริการ (ผลลัพธ์ด้านลูกค้า)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3 ข้อ4 ข้อ5 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐานEdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-2 ประเมิน 80 คะแนน ประเมินแบบ LeTCI

ผลการดำเนินการ

1 ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น(ความพึงพอใจของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น) ผลลัพธ์ด้านความพึงพอใจและความไม่พึงพอใจของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นคืออะไร

          คณะได้สำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาทุก ระดับ ในปีการศึกษา 2560 – 2565 พบว่านักศึกษาทุกระดับมีความพึงพอใจต่อการเป็นนักศึกษาของวิทยาลัย /คณะ/หลักสูตร การจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรกิจกรรมเสริมหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอน โดยมีระดับคะแนนสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ (เป้าหมายไม่น้อยกว่า 3.51 คะแนน) นอกจากนี้ ผลการประเมินผู้ใช้บัณฑิตของวิทยาลัยในทุกระดับมีระดับคะแนนความพึงพอใจสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด

2 ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น(ความผูกพันของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น) ผลลัพธ์ด้านความผูกพันของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นคืออะไร

          คณะส่งเสริมให้ผู้เรียนและศิษย์เก่ามีความผูกพันกับคณะและวิทยาลัย โดยในกลุ่มผู้เรียน คณะดำเนินการผ่านกิจกรรมเสริมหลักสูตร กิจกรรมพัฒนา กิจกรรมนันทนาการ ซึ่งผลความผูกพันของนักศึกษาทุกระดับตั้งแต่ปี 2560 มีค่าสูงกว่าเป้าหมาย

3 การบริการวิชาการ สร้างคุณค่า/มูลค่า ให้กับสังคม

         คณะฯ มีการบริการวิชาการแก่สังคม การให้บริการนั้นนอกจากเป็นการได้นำองค์ความรู้ที่มีอยู่ตามความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆของคณะเพื่อไปประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่มีอยู่กับสภาพบริบทของสังคมไทยตามความได้เปรียบเชิงทรัพยากรและความได้เปรียบเชิงพื้นที่ และนำนักศึกษาในสาขาวิชานั้นๆออกไปปฏิบัติการในลักษณะการให้บริการกับชุมชนแล้วยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อชุมชนในพื้นที่ที่ให้บริการอีกด้วย ดังนั้นผลการบริการวิชาการมีการพัฒนาองค์ความรู้ในการจัดการเรียนการสอน การเรียนรู้ให้กับนักศึกษาได้อย่างต่อเนื่องเกิดเป็นองค์ความรู้ ซึ่งอาจเกิดเป็นทฤษฏีใหม่ที่เติบโตภายใต้บริบทของสังคมไทย และผลที่สำคัญคือ การพัฒนาให้นักศึกษาเป็นพลเมืองที่ดีที่รู้จักการรับใช้สังคมได้ด้วย ผลของการบริการวิชาการของคณะที่มีคุณภาพได้นั้น คณะต้องให้ความสำคัญกับความสำเร็จของการบริการวิชาการแก่สังคมที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมที่มีรายได้หรือกิจกรรมที่ให้เปล่าหรือกิจกรรมการสร้างคุณค่า/มูลค่า ซึ่งอาจเป็นการเพิ่มให้ทรัพยากรในชุมชนตามองค์ความรู้ที่มีอยู่และตามสภาพบริบทของสังคม

4 มีการเผยแพร่ศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง

          ภายใต้พันธกิจ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย จึงได้ดำเนินการพัฒนาที่ปรากฏผลการปฏิบัติที่สำคัญๆ ดังต่อไปนี้

  1. คณะมอบหมายให้รองคณบดีและประธานสาขาวิชาเป็นผู้ร่วมรับผิดชอบหลักในงานด้านนี้ เพื่อนำนโยบาย การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และความเป็นไทย” ของสถาบันและคณะ ไปสู่การปฏิบัติ โดยในการนี้คณะได้จัดทำโครงการที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับ ที่สำคัญ 2 โครงการ คือ
    • โครงการพัฒนาการเรียนรู้ของชุมชนที่ตั้งวิทยาลัย
    • โครงการส่งเสริมการวิจัย/บริการทางวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่บูรณาการกับการจัดการเรียนการสอน
  1. คณะได้ดำเนินงานตามโครงการดังกล่าวข้างตัน ด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่น การส่งเสริมให้บุคลากรไปร่วมในกิจกรรมสำคัญทางศาสนาและวัฒนธรรม ร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่จัดขึ้นทั้งในวิทยาลัยและในชุมชน การชี้แนะให้คณาจารย์ที่สอนวิชาพื้นฐานทำการวิจัยเรื่องการใช้สารเคมีในแปลงผัก ผลไม้ หรือร้านขายตันไม้ คณะกำหนดให้นักศึกษาและคณาจารย์ ร่วมกิจกรรมในวันสำคัญๆ ทางประเพณีไทย อาทิ วันไหว้ครู วันสงกรานต์ วันลอยกระทง การปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนา โดยการฟังธรรมและฝึกปฏิบัติสมาธิ เป็นดัน

5 ผลการให้บริการสร้างประโยชน์ให้ท้องถิ่นและสังคม

       คณะได้มีแนวคิดว่าการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม เป็นกระบวนการสำคัญเพื่อช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและสังคม สำหรับการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 ที่กำลังเข้าสู่สังคมยุคดิจิทัล โดยเป้าหมายของการพัฒนาในด้านต่างๆนั้นไม่ใช่เพียงเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน แต่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน อันเป็นองค์ประกอบที่จะทำให้ชีวิตมนุษย์อยู่ดี มีสุข คือทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม จิตใจ รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งต่อคนในรุ่นปัจจุบันและคนรุ่นอนาคต การพัฒนาที่ยั่งยืนจึงต้องบูรณาการความรู้ทางวิซาการกับความรู้ ความสามารถของคนในท้องถิ่นผู้ซึ่งรู้จักพื้นที่ของตนเป็นอย่างดี เพื่อช่วยนางแนวทางการพัฒนาให้เป็นไปในการเกิดผลประโยชน์สูงสุด และมีเจตคติที่ดีต่อการพัฒนาท้องถิ่นของตน เพื่อเร่งสร้างองค์ความรู้สู่ท้องถิ่นควบคู่กับการพัฒนากำลังคนให้มีทักษะสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ การมีส่วนร่วมของนักศึกษาเป็นกระบวนการที่สถาบันอุดมศึกษาควรให้ความสำคัญ เพื่อให้นักศึกษาผู้ซึ่งจะเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศได้เรียนรู้กับชุมชน ฝึกปฏิบัติจากสถานที่จริง มีทักษะและมีความพร้อมด้านต่างๆ ก่อนก้าวสู่การทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของคณะให้มีความรู้ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ มีคุณธรรม นำวิชาการไปพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้า ทำการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน พัฒนาคณะ สถาบัน ท้องถิ่น สังคมและประเทศชาติ ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ทำนุบำรุงส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการทำงานวิจัยเชิงบูรณาการกับการเรียนการสอน จำเป็นต้องวิเคราะห์ว่ามีรายวิชาใดบ้างที่สามารถนำงานวิจัยมาบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนได้ และวิชาดังกล่าวต้องสามารถนำไปบริการวิชาการเชิงพื้นที่กับชุมชน ในลักษณะที่นักศึกษาศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการทำวิจัยได้ เมื่อพบรายวิชานั้นแล้ว จึงดำเนินการบูรณาการร่วมกันและเลือกชุมชนที่จะนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ซึ่งการจะนำประโยชน์ลงไปสู่ชุมชนนั้นจำเป็นต้องได้ประโยชน์เท่ากันทุกส่วน ทั้งคณาจารย์ที่ลงพื้นที่ ชาวบ้านในชุมชน และหน่วยงานที่คณาจารย์สังกัด ดังนั้นในรายวิชาสถิติและการวิจัยทางสาธารณสุข วิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของหลักสูตรปริญญาตรี และวิชาวิธีทำวิจัยทางสาธารณสุข วิชาวิทยานิพนธ์ ของหลักสูตรปริญญาโทได้จัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาทำการวิจัยในชุมชน ท้องถิ่น และสังคม

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

….. 4 ข้อ …..

IQA (1-5)

1,2

2 ข้อ

2 คะแนน

EdPEx (1-2)

1,2

ร้อยละ 5

…….. คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน

รายการ

7.2.1.1

-สำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาทุกระดับในปีการศึกษา 2565 ของการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรกิจกรรมเสริมหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอน

7.2.2.1

-กลุ่มสมาชิกนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่าใน APP Line

7.2.3.1

ภาพกิจกรรมการบริการวิชาการ

7.2.4.1

ภาพวันสงกรานต์/ไหว้ครู/ลอยกระทง

7.2.5.1

-ภาพกิจกรรมการบริการวิชาการ