องค์ประกอบที่ 6: ตัวบ่งชี้ที่ 6.2 ประสิทธิผล(ประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน)

องค์ประกอบที่ 6 ระบบการปฏิบัติงาน

ตัวบ่งชี้ที่ 6.2 ประสิทธิผล(ประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3 ข้อ4-5 ข้อ6 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-4 ประเมิน 40 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

1 ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการ คณะมีการจัดการต้นทุน ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการปฏิบัติการอย่างไร

       คณะควบคุมกำกับการใช้จ่ายเงินผ่านคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยพิจารณากลั่นกรองแผนคำขอตั้งงบประมาณ และแผนจัดสรรเงินงบประมาณ เพื่อใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า กำกับการใช้งบประมาณให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ สนับสนุนการใช้ทรัพยากรร่วมกันภายในวิทยาลัย และให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์พลังงาน โดยประกาศมาตรการประหยัดพลังงานเพื่อการควบคุมและกำกับการใช้ทรัพยากร รวมถึงรณรงค์ให้บุคลากรภายในสำนักงานประหยัดทรัพยากรไฟฟ้า ประปา ลดการใช้กระดาษ และใช้ระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แทน

2 ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ คณะมีวิธีการอย่างไรเพื่อทำมั่นใจว่าข้อมูลและสารสนเทศที่อ่อนไหวหรือเป็นสิทธิพิเศษ(Privilege) และสินทรัพย์ที่สำคัญของคณะ มีความปลอดภัย

          ด้านการจัดการข้อมูลและสารสนเทศ

          การจัดการข้อมูลและสารสนเทศของคณะ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของวิทยาลัย ในการดำเนินการระบบการจัดการความปลอดภัยของระบบสารสนเทศของ Data Center ของวิทยาลัย โดยมีแนวทางการดำเนินงานและมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ตามเป้าหมายของระบบการจัดการความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ

แผนภาพ 6.2.2 การจัดการข้อมูลและสารสนเทศ

3 การเตรียมพร้อมด้านความปลอดภัยและภาวะฉุกเฉิน(ความปลอดภัย) คณะดูแลให้มีสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติการที่ปลอดภัยได้อย่างไร

          คณะให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยของอาคารและสถานที่ทำงาน โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการคณะกรรมการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้แก่บุคลากรในวิทยาลัยฯ และให้เป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในทำงาน ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2553 นอกจากนี้มีการจัดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉิน ได้แก่ สัญญาณเตือนภัย ถังดับเพลิง ป้ายทางหนีไฟ ชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น และ การรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ โดยการใช้ระบบคีย์การ์ดและมีกล้องวงจรปิด เพื่อรักษาความปลอดภัยภายในสำนักงาน และยังการจัดอบรมเจ้าหน้าที่ในการซ้อมหนีไฟ เพื่อความปลอดภัยในการทำงานและการดูแลนักศึกษาทั้งในและนอกเวลาราชการ รวมถึงในสถานการณ์โควิด – 19 แพร่ระบาดวิทยาลัยได้มีการเตรียมพร้อมในการดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่บุคลากรและนักศึกษา

          นอกจากนี้ในสถานการณ์โควิด – 19 แพร่ระบาดซึ่งถือเป็นภาวะฉุกเฉินในปัจจุบัน คณะโดยวิทยาลัยได้มีการเตรียมพร้อมปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน การเรียนการสอน และการสอบให้เป็นในระบบ online เพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของบุคลากรและนักศึกษา โดยมีแผนการปฏิบัติงานให้บุคลากรทำงานจากที่บ้าน (Work from Home)

          ตารางที่ 6.2.3-1 ระบบความปลอดภัยและการเตรียมความพร้อมต่อภาวะฉุกเฉิน

ด้าน

แนวปฏิบัติ

อาคารสถานที่/ห้องเรียน/ห้องประชุม

–          ตรวจสอบความพร้อมอุปกรณ์ห้องเรียน แสงสว่าง เสียง อากาศ เหมาะสมต่อการเรียนการสอน และการปฏิบัติงาน

–          ตรวจสอบการฆ่าเชื้อของวัสดุอุปกรณ์ภายในห้องเรียน ห้องประชุม สำนักงาน และจุดเสี่ยงภายในคณะฯ ตามมาตรการป้องกันโควิด-19 สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

ห้องปฏิบัติการ/

การกำจัดของเสีย/

สารเคมี

–          คู่มือความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับสารเคมี และแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี

–          ระบบกำจัดของเสียและสารเคมีตามมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ

ความปลอดภัยบุคลากร/ทรัพย์สิน

–          มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 24 ชั่วโมง

–          มีประกาศมาตรการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับอาคารสถานที่ของคณะฯ

–          การตรวจสุขภาพของบุคลากรแรกเข้า และตรวจสุขภาพประจำปี

–          มีระบบการคัดกรองเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19

ระบบประปา

–          ระบบสำรองน้ำเพื่อไว้ใช้ในยามเกิดปัญหาระยะสั้น

–          ตรวจเช็คอุปกรณ์เครื่องจ่ายน้ำประปาอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

ระบบไฟฟ้า/ลิฟต์

–          ตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้าสม่ำเสมอ ติดป้ายแสดงวิธีใช้งาน

–          มีระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน

ระบบป้องกันอัคคีภัย

–          ติดตั้งสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน และอุปกรณ์การดับเพลิง

–          ตรวจสอบอุปกรณ์การดับเพลิงอย่างสม่ำเสมอ ทุก 6 เดือน

–          ฝึกซ้อมการป้องกันระงับอัคคีภัย และรองรับเหตุฉุกเฉินจากสารเคมีรั่วไหล ปีละ 1 ครั้ง

4 การเตรียมพร้อมด้านความปลอดภัยและภาวะฉุกเฉิน(ความต่อเนื่องทางธุรกิจ) คณะมีวิธีการอย่างไรเพื่อให้มั่นใจว่ามีการเตรียมพร้อมต่อภัยพิบัติหรือภาวะฉุกเฉิน

          ความต่อเนื่องทางธุรกิจ คณะมีการดำเนินงานปฏิบัติการตามนโยบายของวิทยาลัย มีกระบวนการเตรียมความพร้อมต่อภาวะฉุกเฉิน และแนวทางในการบริหารความต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานของคณะฯ สามารถดำเนินต่อเนื่องโดยไม่เกิดการหยุดชะงักเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน และมีความปลอดภัยต่อชีวิตของบุคลากรทุกระดับ นักศึกษา และผู้มาใช้บริการอันประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ (1) กำหนดความเสี่ยงที่สำคัญที่มีผลต่อการทำงาน การให้บริการผู้เรียน และลูกค้ากลุ่มอื่นของคณะฯ (2) จัดทำแผนป้องกัน แก้ไขสู่สภาพเดิม เพื่อให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ (3) มีการซักซ้อม อบรม และทบทวนสถานการณ์ทุกปี เพื่อปรับปรุงกระบวนการ โดยมีโครงการและแผนรับมือสถานการณ์ต่าง ๆ และมีผู้รับผิดชอบกระบวนการย่อย (4) การทบทวนแผน กระบวนการเพื่อให้มั่นใจว่ามีความพร้อมต่อการรับการเกิดภัยพิบัติและภาวะจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 คณะฯ ดำเนินการตามนโยบายของวิทยาลัยอย่างรวดเร็วทันต่อสถานการณ์ด้วยการออกประกาศมาตรการและแนวปฏิบัติการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสื่อสารแก่บุคลากรและนักศึกษาทุกระดับให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด มีการติดต่อสื่อสารผ่านกลุ่ม LINE อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา การเฝ้าระวัง การงดเดินทางไปต่างประเทศ การทำงานจากที่บ้าน การประชุม/ส่งเอกสารออนไลน์ การจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลออนไลน์ มาตรการกักตัวเอง มาตรการเยียวยา การให้ความช่วยเหลือนักศึกษา มาตรการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง มาตรการการกลับมาเปิดภาคการศึกษาใหม่ เป็นต้น ด้วยการดำเนินการที่เด็ดขาดและทันการณ์ ทำให้คณะฯ สามารถดำเนินการตามภารกิจได้อย่างต่อเนื่องและไม่ปรากฏผลกระทบที่รุนแรงต่อการปฏิบัติหน้าที่

          ตารางที่ 6.2.4-1 กิจกรรมการเตรียมความพร้อมต่อภาวะฉุกเฉิน และผู้รับผิดชอบ

กิจกรรม

กระบวนการป้องกัน ควบคุม และกู้คืน

ผู้รับผิดชอบ

แผนป้องกันระงับอัคคีภัย และรองรับเหตุฉุกเฉินจากสารเคมีรั่วไหล

ฝึกซ้อมแผนการป้องกันระงับเหตุอัคคีภัยฯ โดยทีมวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญจากหน่วยงานภายนอก

– รองคณบดีร่วมกับ

– งานอาคารสถานที่ของวิทยาลัย

ตรวจสอบอุปกรณ์การดับเพลิงให้พร้อมใช้จากบริษัทเอกชน

แผนป้องกันระบบไฟฟ้าขัดข้อง

ระบบสำรองกระแสไฟฟ้ากรณีที่ไฟฟ้าดับฉุกเฉิน และทดสอบระบบไฟฉุกเฉิน

แผนควบคุม ป้องกัน โรคระบาด

กำหนดมาตรการควบคุม ป้องกัน และระบบการคัดกรองเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

– คณบดี

– ทีมบริหาร

แผนป้องกันและควบคุมสารเคมีรั่วไหลทางห้องปฏิบัติการ

อบรมและฝึกซ้อมแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินสารเคมีรั่วไหลทางห้องปฏิบัติการ

– คณบดี

– ประธานสาขาวิชา

แผนป้องกันความเสียหายระบบเครือข่ายสารสนเทศและการสื่อสาร

ทวนสอบแผนสำรองและกู้คืนข้อมูลที่สำคัญ

จัดทำ Server สำรอง และจัดเก็บข้อมูลผ่านระบบ Online

– คณบดี

– ประธานสาขาวิชา

D = Daily, M = Monthly, H = Half-yearly, Y = Yearly

5 การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทสังคมดิจิทัลที่ทันสมัย

          คณะฯ มีแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสังคมดิจิทัลดังนี้ คือ การบริหารแหล่งเรียนรู้ในยุคดิจิทัล เป็นการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในโลกศตวรรษที่ 21 ให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ดี แหล่งเรียนรู้มีประโยชน์ต่อการนำมาใช้ในการเรียนการสอน สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียนเพิ่มขึ้นเพราะได้เรียนรู้จากสภาพความเป็นจริง ได้ลงมือทำหรือปฏิบัติจริงอย่างหลากหลายได้รับประสบการณ์ตรง ฝึกทักษะในการคิดวิเคราะห์คิดสังเคราะห์และการไปศึกษายังแหล่งเรียนรู้สามารถปลูกฝังเจตคติให้เป็นไปตามที่พึงประสงค์ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนต่อสังคม รักและผูกพันกับท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม

          กระทรวงศึกษาธิการ (2551, น.13) มีนโยบายว่าการบริหารสถานศึกษาปัจจุบันเน้นการบริหารคุณภาพตามวงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle: PDCA) ซึ่งสถานศึกษาสามารถนำมาใช้ในพัฒนาการบริหารแหล่งการเรียนรู้เพื่อให้การจัดแหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษามีคุณภาพ การบริหารคุณภาพจะทำให้การบริหารงานพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษามีการทำงานที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพช่วยส่งเสริมการใช้แหล่งการเรียนรู้บรรลุเป้าหมายตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          ระบบบริหารจัดการที่ดีตามระบบวงจรคุณภาพด้วยการมีส่วนร่วมของบุคลากรและชุมชนประกอบด้วย การวางแผน (Plan) การดำเนินงานตามแผน (Do) การตรวจสอบ (Check) การพัฒนาปรับปรุง (Action) ซึ่งสถานศึกษาควรดำเนินการ ดังนี้

  1. ด้านการวางแผนการบริหารแหล่งเรียนรู้ (Plan) หมายถึง กำหนดนโยบายการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ โดยทำความเข้าใจนโยบายตามแผนหลัก หลักสูตร รวมทั้งแนวดำเนินการของสถานศึกษาเพื่อกำหนดนโยบายการพัฒนาและใช้แหล่งการเรียนรู้โดยให้คณะครู นักเรียน และชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนด จัดตั้งคณะกรรมการสำรวจแหล่งการเรียนรู้ เพื่อวิเคราะห์สภาพความพร้อมในการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาและคณะกรรมการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้มีบทบาทหน้าที่สำคัญที่จะเป็นผู้สำรวจ วิเคราะห์ความพร้อม รวบรวมข้อมูลแล้วจัดทำแผนพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ให้สามารถดำเนินการได้อย่างเหมาะสม สถานศึกษาดำเนินการสร้างความเข้าใจกับบุคลากรทุกๆฝ่ายในสถานศึกษาและบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้อง การประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาและใช้แหล่งการเรียนรู้เพื่อให้ครู อาจารย์ ผู้เรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจตรงกัน เกิดความร่วมมือในการสนับสนุน ช่วยเหลือ เพื่อให้แหล่งการเรียนรู้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า
  2. ด้านการบริหารแหล่งเรียนรู้ (Do) หมายถึง การดำเนินการสร้างและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ ตามความพร้อมที่ได้ดำเนินการสำรวจ และวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งในสถานศึกษาและชุมชนกำหนดแหล่งเรียนรู้และจัดระบบสารสนเทศเกี่ยวกับแหล่งการเรียนรู้ดำเนินการสร้างและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ตามสารสนเทศที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ จัดระบบการใช้สำหรับผู้เรียน ผู้เรียนได้ใช้แหล่งการเรียนรู้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่า มีการรวบรวมข้อมูลการใช้ เพื่อเป็นข้อมูลกำหนดแนวทางในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ต่อไป
  3. ด้านการประเมินการบริหารแหล่งเรียนรู้ (Check) หมายถึง สถานศึกษากำหนดให้มีผู้รับผิดชอบในการนิเทศ ติดตาม และประเมินการพัฒนาและใช้แหล่งการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ แก้ไข ปัญหาอุปสรรคในระหว่างการดำเนินการ มีการประเมินทบทวนปรับปรุงกระบวนการดำเนินการ ให้เกิดการพัฒนาและใช้แหล่งการเรียนรู้ตามแผนหลักและแนวดำเนินการของสถานศึกษาในฝันที่สถานศึกษากำหนดไว้ตามบริบทของสถานศึกษาเองมีการกำหนดวิธีการ และเครื่องมือประเมินผลการดำเนินการ การสร้าง การพัฒนาและใช้แหล่ง การเรียนรู้วิเคราะห์ผลการประเมินและสรุปผลการประเมิน
  4. ด้านการปรับปรุงการบริหารแหล่งเรียนรู้ (Action) หมายถึง ผลการประเมินหากพบปัญหา หรือข้อบกพร่อง ก็นำมาวางแผนปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

6 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม

          คณะฯ มีแนวความคิดในการจะพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพให้กับมวลประชาชน เพื่อให้มีความเจริญก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546) จึงดำเนินการตามแนวทางพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ซึ่งมีความมุ่งหมายที่จะจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีความสามารถและอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข โดยยึดเงื่อนไขหลักการสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ โดยยึดประโยชน์ที่จะเกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญในด้านการให้ความร่วมมือ (Collaboration) กำหนดให้บุคคลหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการร่วมแสดงความคิดเห็นหรือร่วมกำกับดูแล และใช้การกระจายอำนาจ (Decentralization) ในการบริหารจัดการศึกษา (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2550) ดังนี้

  1. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษาฯ จึงมี 6 องค์ประกอบดังนี้ คือ 1) หลักการของเครือข่าย 2) ภาระหน้าที่ในการพัฒนาการจัดการศึกษา 3) แนวทางการปฏิบัติงานเครือข่าย 4) กระบวนการเสริมสร้างซึ่งกันและกัน 5) คุณลักษณะที่ดีของผู้นำเครือข่าย และ 6) เทคนิควิธีการพัฒนาสมาชิกเครือข่ายครู
  2. กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาในโรงเรียนเอกชนจังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การตระหนักถึงความจำเป็นของเครือข่าย 2) การประสานแสวงหาผู้ร่วมพัฒนาเครือข่าย 3) การสร้างพันธสัญญาร่วมกัน 4) การบริหารจัดการเครือข่าย 5) การติดตามผลพัฒนาการปฏิบัติงานของเครือข่าย และ 6) การธำรงรักษาสร้างความต่อเนื่องของเครือข่าย และสำหรับผลการประเมินความเหมาะสมในการนำกลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือนำไปใช้อยู่ในระดับมาก
  3. รูปแบบและองค์ความรู้ใหม่ คือ การสร้างเครือข่ายการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบร่วมกัน และการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับภาคีเครือข่ายโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ซึ่งการสร้างเครือข่ายในการจัดการศึกษาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการของสังคมยุคใหม่ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ทุกมิติ เช่น ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม การบริหารเครือข่ายในสถานศึกษาให้ประสบความสำเร็จนั้น ประกอบด้วย การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ การออกแบบเครือข่ายให้สอดคล้องกับเป้าหมาย การพัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากร และการวัดผลและประเมินผล

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

….. 5 ข้อ …..

IQA (1-6)

1,2,3

3 ข้อ

3 คะแนน

EdPEx (1-4)

1,2,3

ร้อยละ 5

 2 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน

รายการ

6.2.1.1

-รายงานการประชุมอนุมัติงบประมาณของคณะของสภาวิทยาลัย

– ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรกระดาษ เช่น ระบบ STIC QA และการใช้เอกสารอิเล็คทรอนิคในการประชุม

6.2.2.1

-การจัดการความปลอดภัยของระบบ MIS และระบบ STIC QA ของคณะ

6.2.3.1

-ภาพแสดงอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยภายในสำนักงาน

6.2.4.1

-กิจกรรมการเตรียมความพร้อมต่อภาวะฉุกเฉิน

6.2.5.1

-ระบบบริหารจัดการที่ดีตามระบบวงจรคุณภาพด้วยการมีส่วนร่วมของบุคลากรและชุมชน

6.2.6.1

กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษา

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเอง IQAEdPEx
ตัวบ่งชี้ที่ 6.142.25
ตัวบ่งชี้ที่ 6.232
คะแนนเฉลี่ย(IQA)/คะแนนรวม(EdPEx) 3.54.25