องค์ประกอบที่ 1: ตัวบ่งชี้ที่1.2 การกำกับดูแล (การกำกับดูแลองค์กรและการสร้างประโยชน์ให้สังคม)

องค์ประกอบที่ 1 การนำองค์กร

ตัวบ่งชี้ที่1.2 การกำกับดูแล (การกำกับดูแลองค์กรและการสร้างประโยชน์ให้สังคม)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-6 ข้อ7-8 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-6 ประเมิน 50 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

1 การกำกับดูแลองค์กร (ระบบการกำกับดูแลองค์กร) คณบดีทำให้มั่นใจได้อย่างไรว่ามีการกำกับดูแลองค์กรด้วยความรับผิดชอบอย่างครอบคลุมและรอบด้าน

(A) คณบดีบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล โดยใช้ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศของวิทยาลัยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์คณะปี พ.ศ. 2563 – 2567 มีแผนปฏิบัติงานประจำปีและการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนเพื่อดำเนินการตามผลิตภัณฑ์ด้านการศึกษาด้านการวิจัยด้านการศึกษาด้านการบริการวิชาการและด้านการบริหารจัดการความยั่งยืน

(D) มีระบบกลไกการกำกับติดตามดูแลการบริหารผ่านคณะกรรมการความผลิตภัณฑ์หลักและคณะกรรมการชุดต่างๆ รวมทั้งการกำกับและรายงานผลการดำเนินการต่อผู้บริหารตามลำดับการบังคับบัญชา และต่อคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องตามลำดับ และมีการทบทวนผลการดำเนินการและการปรับกระบวนการปฏิบัติงาน เพื่อการบริหารจัดการให้บรรลุวิสัยทัศน์

(L) คณบดีมีการจัดโครงสร้างการบริหารตามสายบังคับบัญชา และมีการประชุมร่วมตามสายงานการบังคับบัญชาและมีการประชุมร่วมตามสายงานในคณะที่เกิดการทำงานร่วมกันและให้แต่ละงานทำงานตามหน้าที่รับผิดชอบของระบบงานหลักและงานสนับสนุนเพื่อให้การทำงานร่วมกันแบบบูรณาการมีความชัดเจนเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

(I) คณบดีได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการทำหน้าที่ในการพัฒนาหลักเกณฑ์แนวทางการติดตาม แผนปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ อย่างเคร่งครัดและมีการนำเสนอรายงานผลการดำเนินงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาปรับปรุง

2 การกำกับดูแลองค์กร (การประเมินผลการดำเนินการ) คณะประเมินผลการดำเนินการของคณบดีและคณะกรรมการกำกับดูแลองค์กรอย่างไร

(A) คณะฯ ใช้ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของหัวหน้าส่วนงานตามข้อบังคับและประกาศของวิทยาลัย คณบดีรับการประเมินการปฏิบัติงานตามข้อตกลงการปฏิบัติงานจากอธิการบดี

(D) ส่วนในคณะฯ บุคลากรทุกคนได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงานรายบุคคลตามข้อตกลงในการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการของคณะปีละ 1 ครั้ง

(L) คณบดีนำผลการประเมินมาพัฒนาเป็นแนวทางพัฒนาการปฏิบัติงานและฝึกอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพของบุคลากร

(I) คณบดีนำผลการประเมินไปใช้ประกอบการพิจารณาความดีความชอบ เลื่อนเงินเดือน ค่าตอบแทนการมอบหมายงาน การกำกับงานที่เหมาะสม การพัฒนาด้านการบริการและอื่นๆ คณบดียังเปิดโอกาสให้คณะกรรมการบริหารคณะเสนอวิธีหรือแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานมีความคล่องตัวและการนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น โดยมีระบบการประเมินผลการดำเนินงานของทีมบริหารของคณะสาธารณสุขศาสตร์ (ดังภาพที่ 1.2.2)

          ภาพที่ 1.2.2 การประเมินผลการดำเนินงานของทีมบริหารคณะ

3 การประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและอย่างมีจริยธรรม (การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ และการรับรองคุณภาพ) คณบดีดำเนินการด้านกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ ในปัจจุบัน และในอนาคต รวมถึงความกังวลของชุมชนที่มีต่อ หลักสูตรการศึกษา วิจัย และบริการวิชาการ และการปฏิบัติการ อย่างไร

(A) คณบดีและคณะกรรมการบริหารมีการคาดการณ์ล่วงหน้าถึงความกังวลของสังคมที่มีต่อหลักสูตรการวิจัยและการบริการวิชาการตลอดจนการดำเนินงานด้านต่างๆของคณะอย่างเป็นระบบ โดยผ่านคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเพื่อให้ครอบคลุมกระบวนการหลักของคณะทั้งทางด้านการศึกษา ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการ มีแนวทางในการปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อสังคม รวมทั้งผลกระทบต่อคณะ

(D) คณบดีมีการดำเนินการประชุมระบุปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบจากผลผลิตหลัก วิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลต่อสังคม และติดตามผลการดำเนินงานตามแผนอย่างต่อเนื่องโดยทีมคณะกรรมการคณะ

(L) คณบดีให้ความสำคัญกับการดำเนินการตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษาด้านการวิจัยและด้านการบริการวิชาการ รวมทั้งการปฏิบัติตามกฎระเบียบ

(I) คณบดีมีความตระหนักในการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ผู้รับบริการ บุคลากร บุคคลทั่วไป เสนอแนวทางป้องกันแก้ไขโดยมีระบบกลไกรับฟังข้อร้องเรียน ข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์เพื่อคาดการณ์ความกังวลของสังคมและชุมชนที่มีต่อหลักสูตรและบริการ ซึ่งถ้าหากมีการร้องเรียนเกิดขึ้น คณะกรรมการคณะจะดำเนินการตามระบบการจัดการข้อร้องเรียนและประชาสัมพันธ์ ผลการจัดการข้อร้องเรียนให้บุคลากรผู้เสี่ยงและผู้รับบริการทราบผ่านทางการสื่อสารของคณะ

4 การประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและอย่างมีจริยธรรม (การประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม) คณบดีดำเนินการอย่างไรในการส่งเสริมและสร้างความมั่นใจว่าปฏิสัมพันธ์ทุกด้านของคณะเป็นไปอย่างมีจริยธรรม

(A) คณบดีและคณะกรรมการบริหาร ส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมด้านต่างๆ ตามข้อบังคับของวิทยาลัย เพื่อให้มั่นใจว่าทุกด้านของคณะเป็นไปอย่างมีจริยธรรม โดยกระบวนการหลังจากคณะกรรมการบริหารคณะปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีและส่งเสริมพฤติกรรมจริยธรรมแก่นักศึกษาผ่านกระบวนการการจัดการศึกษาและการจัดโครงการหรือกิจกรรมสำหรับบุคลากรและนักศึกษา เพื่อให้บุคลากรมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านคุณธรรมจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส และพฤติกรรมเรื่องการตรงต่อเวลา

(D) คณบดีดำเนินการแจ้งกฎระเบียบต่างๆ จริยธรรม จรรยาบรรณในการปฏิบัติงานแก่บุคลากรใหม่และมีการกำกับติดตามพฤติกรรมด้านจริยธรรมผ่านทางคณะกรรมการชุดต่างๆให้ทำหน้าที่ดูแลให้มีการปฏิบัติตามระเบียบบังคับและประกาศที่เกี่ยวข้อง

(L) กำหนดให้มีกระบวนการแจ้งข้อร้องเรียนและกระบวนการจัดการข้อร้องเรียนสำหรับบุคลากรและนักศึกษาของคณะ คณะส่งเสริมให้บุคลากรเข้าร่วมการอบรมเกี่ยวกับกฎระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง

(I) คณบดีจะมีการมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารหาข้อเท็จจริงในเบื้องต้นและแต่งตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริงในกรณีที่เห็นประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการกระทำที่ขัดต่อการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ กรณีผลการสอบข้อเท็จจริงพบการละเมิดจริยธรรมคณะจะมีการดำเนินการตามข้อบังคับของวิทยาลัย เช่น การตักเตือน และการลงโทษทางวินัยทั้งนี้ขึ้นกับความร้ายแรงของการละเมิด

5 การสร้างประโยชน์ให้สังคม(ความผาสุกของสังคม) คณบดีคำนึงถึงความผาสุกและผลประโยชน์ของสังคม เป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์ และการปฏิบัติงานอย่างไร

(A) คณบดีและคณะกรรมการบริหาร นำวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม มาเป็นองค์ประกอบในการพิจารณาในการสนับสนุนชุมชน เพื่อสร้างความผาสุกของสังคมในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การดูแลด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

(D) คณบดีกำหนดนโยบายและการดำเนินงานด้านความผาสุกและประโยชน์สุกของชุมชนไปยังกลุ่มบุคลากรทุกระดับของคณะฯ ผ่านการประชุม กลุ่ม Line E-mail และ Website และสื่อสารไปยังกลุ่มสู่ความร่วมมือผ่านการประชุม หาข้อตกลงความร่วมมือ และการลงพื้นที่ดำเนินงานร่วมกัน

(L) คณะฯ ดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมตามนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมตามตัวชี้วัดแผนยุทธศาสตร์คณะฯ โดยหลักสูตรของคณะฯ ทุกหลักสูตรผ่านมาตรฐานของกระทรวงอว. และสภาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ทำให้ผลการดำเนินงานตามผลิตภัณฑ์หลักของคณะเกิดประโยชน์ต่อสังคมทั้งในระดับชาติ นานาชาติ ตามลำดับ

(I) คณะฯมีบริการวิชาการสู่สังคม มีการบูรณาการการเรียนการสอนจากห้องเรียนสู่ชุมชนเพื่อสร้างและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนและมีการประยุกต์ใช้หลักการเอื้อประโยชน์ร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรมและชุมชนอีกด้วย โดยคณะได้จัดการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนในโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ต.บางปลากด อ.องครักษ์ จ. นครนายก และโครงการบริการวิชาการด้านอาชีวอนามัยแก่ชุมชน อ.องครักษ์ จ. นครนายก

6 การสร้างประโยชน์ให้สังคม(การสนับสนุนชุมชน) คณบดีดำเนินการอย่างไรในการสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนที่สำคัญ ของคณะ

โครงการบริการวิชาการด้านอาชีวอนามัยแก่ชุมชน                                

          คณะสาธารณสุขศาสตร์จึงได้ร่วมมือกับคณาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์และบุคลากรทางด้านสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสมเด็จย่า 84 พรรษา ตำบลบึงน้ำรักษ์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จัดให้มีการสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงหรืออันตรายทางอาชีพเกษตรกรรม จึงต้องการดำเนินให้ความรู้ ให้คำแนะนำแนวการปฏิบัติที่ปลอดภัยในการทำงาน ให้กับเกษตรกรและอาสาสมัครสาธารณสุข มีสุขภาพดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

7 มีการกำกับดูแลให้บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

หลักการที่

  1. ให้ความสำคัญกับคุณค่าของงาน
  2. เข้าใจบทบาทในการทำงานร่วมกันอย่างชัดเจน
  3. งานต้องปฏิบัติได้จริง
  4. อำนาจการตัดสินใจต้องเหมาะสม
  5. มีความชัดเจนในความรับผิดชอบร่วมกัน
  6. ทีมงานต้องมีความรับผิดชอบ

8 มีการประเมินผล เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

     คณะมีการสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ สนับสนุนให้มีการสร้างนวัตกรรม พยามยามผลักดันและส่งเสริมบรรยากาศให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยใช้หลักการการมีส่วนร่วมของบุุคลากรทุกระดับ ทั้งทีมบริหาร บุคลากร และนักศึกษา ดูแลซึ่งกันและกันที่จะจัดให้มีการเรียนรู้ มุ่งการสร้างนวัตกรรมผ่านการดำเนินงานโดยคณะกรรมการจัดการความรู้และให้ความสำคัญกับการพัฒนาโดยใช้หลักการของ PDCA ได้แก่

  1. Plan การระบุและวิเคราะห์ปัญหา
  2. Do การพัฒนาทางออกและดำเนินการตามแผน
  3. Check การประเมินและสรุปผล
  4. Act การปรับปรุงแก้ไขและวางแผนใหม่ต่อไป
    และนำมาประยุกต์ใช้ดังนี้คือ

ภาพที่ 1.2.8 การสร้างความสำเร็จให้กับคณะฯ

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

….. 5 ข้อ …..

IQA (1-8)

1,2,3,4,5,6,7,8

8 ข้อ

5 คะแนน

EdPEx (1-6)

1,2,3,4,5,6

ร้อยละ 5

 2.50 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน

รายการ

1.2.1.1

– การจัดโครงสร้างการบริหารตามสายบังคับบัญชา

– คำสั่งแต่งตั้งการบริหารงานต่างๆ

1.2.2.1

– ผลการประเมินการบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร

-ผลการประเมินผลการปฏิบัติงานรายบุคคลตามของอาจารย์และเจ้าหน้าที่โดยคณบดี (ลับ)

1.2.3.1

– ทุกหลักสูตรที่เปิดสอนได้รับความเห็นชอบ

– มีแผนบริการวิชาการแก่ชุมชน

-มีงานวิจัยที่สนับสนุนข้อมูลวิชาการให้แก่ชุมชน

1.2.4.1

-การแจ้งกฎระเบียบต่างๆ จริยธรรม จรรยาบรรณในการปฏิบัติงานแก่บุคลากรใหมในโครงการปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่

1.2.5.1

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ต.บางปลากด อ.องครักษ์ จ. นครนายก

โครงการบริการวิชาการด้านอาชีวอนามัยแก่ชุมชน อ.องครักษ์ จ. นครนายก
1.2.6.1

-มีโครงการบริการวิชาการของคณะ

1.2.7.1

-มีการประชุมคณาจารย์ในคณะเพื่อกำกับติดตามงาน

1.2.8.1

– มคอ.7 ของแต่ละหลักสูตร

– ผลการประเมินทุกหลักสูตร

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเอง IQAEdPEx
ตัวบ่งชี้ที่ 1.153.50
ตัวบ่งชี้ที่ 1.252.50
คะแนนเฉลี่ย(IQA)/คะแนนรวม(EdPEx)56