องค์ประกอบที่ 2 ผลลัพธ์การเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ที่ 2.1  ผลลัพธ์การเรียนรู้ (ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-5 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. กำหนดและสื่อสาร ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

ทางหลักสูตรมีการกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและสื่อสารให้กับนักศึกษาทราบโดยใช้ มคอ.2 เป็นคู่มือดำเนินการ โดยแบ่งเป็นการพัฒนาผลการเรียนรู้ในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไปกับหมวดวิชาเฉพาะด้าน และได้สื่อสารให้กับคณาจารย์และนักศึกษาทราบในวันปฐมนิเทศให้กับนักศึกษาใหม่ (2.1.1.1)

2. ออกแบบผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้

การออกแบบผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของแต่ละรายวิชาสอดคล้องกับแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) ประกอบด้วย 6 ด้านคือ 1.ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะการฝึกปฏิบัติทางวิชาชีพ โดยแต่ละรายวิชามีการบูรณาการออกแบบโดยจัดการเรียนการสอนผ่านสถานการณ์จำลอง และการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (2.1.1.2)

3. ระบุผลลัพธ์การเรียนรู้ทั่วไป และผลลัพธ์การเรียนรู้เฉพาะทาง

ทางหลักสูตรมีการกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและสื่อสารให้กับนักศึกษาทราบโดยใช้ มคอ.2 เป็นคู่มือดำเนินการ โดยแบ่งเป็นการพัฒนาผลการเรียนรู้ในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไปกับหมวดวิชาเฉพาะด้าน ดังนี้ (2.1.1.3)

1.1 หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป

1.1.1 คุณธรรม จริยธรรม

    1.1.1.1 ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม

  • มีระเบียบ วินัย และตรงต่อเวลา
  • มีความซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ สุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน ขยันและอดทน
  • มีความรับผิดชอบต่อตนเอง และต่อผู้อื่น
  • ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และประเพณีอันดีงามขององค์กรและสังคม

1.1.2 ความรู้

1.1.2.1 ผลการเรียนรู้ด้านความรู้

  • มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎี ในองค์ความรู้พื้นฐานทั่วไปอย่างกว้างขวาง และเป็นระบบ
  • มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้ โดยคำนึงถึงบริบทของสังคมไทยและสากล
  • มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการคิด เป้าหมายชีวิต ศิลปะ วัฒนธรรม มนุษยสัมพันธ์ และการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมถึงการนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาของตน
  • มีความสามารถในการเรียนรู้ สามารถใช้เทคโนโลยีในการค้นหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตในสังคม
  • มีความรู้และความเข้าใจพื้นฐานในปรากฎการณ์และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

1.1.3 ทักษะทางปัญญา

1.1.3.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

  • มีความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริง การหาข้อมูล การทำความเข้าใจข้อมูลและประเมินข้อมูล จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อมูลที่ได้ ในการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
  • มีทักษะในการใช้วิจารณญาณ คิด วิเคราะห์และสังเคราะห์สิ่งต่างๆ อย่างเป็นระบบ
  • มีทักษะในการกำหนดประเด็นปัญหา เสนอทางเลือกและตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
  • มีทักษะในการคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ ในการแสวงหาความรู้และความจริงเพิ่มเติมอย่างเหมาะสม

1.1.4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

1.1.4.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ

(1)   มีความสามารถในการปรับตัว มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี เคารพและให้คุณค่าแก่ตนเองและผู้อื่น

(2)   มีความสามารถในการแสดงออกได้อย่างเหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆ

(3)   มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในบทบาทผู้นำและสมาชิกของกลุ่ม เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่นด้วยความรับผิดชอบ และด้วยจิตอาสา    

(4)   ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล และวัฒนธรรมที่หลากหลาย เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับสมาชิกในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างมีความสุข

1.1.5 ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

1.1.5.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

  • มีความสามารถในการประยุกต์ใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ และสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลในชีวิตประจำวัน
  • มีความสามารถในการแปลความหมายข้อมูลทางคณิตศาสตร์และสถิติได้อย่างมีประสิทธิผล
  • มีความสามารถในการสื่อสารทั้งการพูด ฟัง อ่าน เขียน โดยใช้ภาษาประจำชาติและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิผล
  • มีความสามารถในการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสืบค้น เก็บรวบรวม แปลความหมาย ประเมินผล และนำเสนอข้อมูล เพื่อการศึกษาได้อย่างเหมาะสมและรู้เท่าทัน

1.2 หมวดวิชาเฉพาะด้าน

1.2.1 คุณธรรม จริยธรรม

1.2.1.1 ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม

  • ปฏิบัติตนอย่างมีคุณค่า คุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
  • มีวินัยตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
  • รักษาสิทธิของตนเองและเคารพในสิทธิของผู้อื่น รักคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
  • เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
  • ปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สภาพแวดล้อมในการทำงาน และด้านสาธารณสุข

1.2.2 ความรู้

1.2.2.1 ผลการเรียนรู้ด้านความรู้

  • มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญ
  • การวางแผนงานโครงการและการประเมินผลการทำงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน การกำจัดความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพทั้งมวล
  • ค้นคว้าหากลยุทธ์และกลวิธีทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ประกอบอาชีพในชุมชน สถานประกอบการ

1.2.3 ทักษะทางปัญญา

1.2.3.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

  • ประเมินวิเคราะห์สถานะสุขภาพในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชนได้แบบองค์รวม
  • วางแผนพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพสอดคล้องกับบริบท โดย ประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้อย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพ
  • การบำบัดเบื้องต้นการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและฟื้นฟูสภาพ และการส่งต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของบุคคล พนักงานสถานประกอบการ ชุมชน การพัฒนาศักยภาพของชุมชนโดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ให้บริการวิชาการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และการสาธารณสุขที่มุ่ง เน้นการส่งเสริมสุขภาพแก่พนักงานในสถานประกอบการ และประชาชนได้อย่างเหมาะสม
  • ริเริ่มและสร้างสรรค์ คิดค้นสร้างนวัตกรรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.2.4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

1.2.4.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

  • มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลอื่น
  • สามารถทำงานเป็นทีมและมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่นในหน่วยงาน และงานที่ได้รับมอบหมาย
  • มีคุณลักษณะของภาวะผู้นำและภาวะผู้ตามที่ดี

1.2.5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

2.2.5.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

  • สามารถใช้เทคนิคทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และด้านสาธารณสุขในการวิเคราะห์ข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
  • สามารถใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูลด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และด้านสาธารณสุข

สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการพูด การฟัง และการเขียน

1.2.6 ทักษะการฝึกปฏิบัติทางวิชาชีพ

1.2.6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการฝึกปฏิบัติทางวิชาชีพ

  • สามารถปฏิบัติทักษะทางวิชาชีพด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และการสาธารณสุข เพื่อการควบคุมป้องกันปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคและลดความเสี่ยงการเจ็บป่วยต่อบุคคล พนักงาน ครอบครัวและชุมชนตามมาตรฐานวิชาชีพ
    อาชีวอนามัยและความปลอดภัย และสาธารณสุข
  • สามารถปฏิบัติทักษะทางวิชาชีพด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และสาธารณสุขได้อย่างเป็นองค์รวม
  • สามารถสำรวจตรวจสอบสถานประกอบการ ชุมชนอย่างเป็นระบบ และสามารถ นำข้อมูลมานำเสนอ หรือนำเข้าแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพอนามัยและคุณภาพสภาพแวดล้อมในการทำงาน และสิ่งแวดล้อมภายนอก
  • สามารถให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรคการควบคุมโรคการบำบัดโรคเบื้องต้นและการฟื้นฟูสุขภาพ สามารถตรวจประเมินบำบัดโรคเบื้องต้น และการดูแลให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยได้
  • สามารถประเมินสถานการณ์ การวินิจฉัยการวางแผนงานโครงการสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพ และการปฏิบัติตามแผนการติดตาม และประเมินผล

4. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังบรรลุตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

หลักสูตรได้เชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อร่วมกันพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัยและเป็นไปตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังมาประชุมที่วิทยาลัย อันได้แก่ อาจารย์ผู้รับผิดชอบ ตัวแทนศิษย์เก่า ตัวแทนผู้ใช้บัณฑิต คณะกรรมการจากสภาวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน คณะการสภาคณบดีสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ตัวแทนจากกระทรวงแรงงาน นอกจากนี้ทางหลักสูตรได้ดำเนินการวัดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังว่าบรรลุตามความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียโดยประเมินการบริหารหลักสูตร และกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายได้รับตลอดระยะเวลาการศึกษา ดังนี้ (2.1.1.4)

ลำดับ

รายการประเมิน

(n=7)

คะแนนเต็ม

1

การบริหารหลักสูตรของอาจารย์

4.00

5

2

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

4.14

5

3

ผลลัพธ์การเรียนรู้จากการศึกษาในหลักสูตร

4.29

5

4

ความรู้ความสามารถของอาจารย์ผู้สอน

4.43

5

5

สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

4.14

5

6

วิธีการการวัดประเมินผลการเรียน

4.14

5

7

ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของผู้เรียน

4.29

5

รวมคะแนนเฉลี่ยทั้งหมด= 4.20

5. ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง บรรลุผลกับผู้เรียนเมื่อสำเร็จการศึกษา

ทางหลักสูตรดำเนินการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของบัณฑิตจากการสอบถามด้วยแบบสอบถามผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการปฏิบัติงาน ผู้ใช้บัณฑิตตอบแบบสอบถามกลับมา 5 ที่จากทั้งหมด 14 คิดเป็นร้อยละ 35.7 จากผลการดำเนินการพบว่า ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91 อยู่ในระดับความพึงพอใจปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าแต่ละด้านมีค่าดังนี้ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพมีค่าเฉลี่ย 3.92 2) ด้านความรู้ความสามารถทางวิชาการ/วิชาชีพ มีค่าเฉลี่ย 3.64 3) ด้านเชาว์ปัญญาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ย 3.92 4) ด้านปฏิสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานและความรับผิดชอบมีค่าเฉลี่ย 4.12 และ5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีมีค่าเฉลี่ย 3.96 (2.1.1.5)

6. ผลการประเมินผลการเรียนรู้ ด้านความรู้ ทักษะ จริยธรรม และลักษณะบุคคล ของนักศึกษา(กลุ่มตัวอย่างทุกชั้นปี) สูงกว่า 3.51

ทางหลักสูตรได้ทำการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ 5 ด้านตามหลักสูตร ได้แก่ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ 2) ด้านความรู้ความสามารถทางวิชาการ/วิชาชีพ 3) ด้านเชาว์ปัญญาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน 4) ด้านปฏิสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานและความรับผิดชอบ 5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี โดยสำรวจนักศึกษาทุกชั้นปีในปีการศึกษา 2565 พบว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีผลลัพธ์การเรียนรู้ 5 ด้านมีค่าเฉลี่ยที่ 3.37 นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ค่าเฉลี่ยที่ 3.93 นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ค่าเฉลี่ยที่ 3.93 และนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ค่าเฉลี่ยที่ 4.33 ตามลำดับ (2.1.1.6)

7. ผลการประเมินผลการเรียนรู้เฉลี่ยทั้ง 4 ด้าน สูงกว่า 3.51

ทางหลักสูตรได้ทำการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ 5 ด้านจำแนกตามรายด้านของนักศึกษาทุกชั้นปีในปีการศึกษา 2565 พบว่า ค่าเฉลี่ยด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพมีค่า 4.06   ค่าเฉลี่ยด้านความรู้ความสามารถทางวิชาการ/วิชาชีพมีค่า 3.86   ค่าเฉลี่ยด้านเชาว์ปัญญาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานมีค่า 3.79   ค่าเฉลี่ยด้านปฏิสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานและความรับผิดชอบมีค่า 4.28  และค่าเฉลี่ยด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีมีค่า 3.90 ตามลำดับ (2.1.1.7)

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

….5ข้อ….

IQA(1-7)

1,2,3,4,5,6,7

7 ข้อ

5 คะแนน

AUN-QA(1-5)

1,2,3,4,5

ระดับ 3

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐานรายการ
2.1.1.1โครงการปฐมนิเทศให้กับนักศึกษาใหม่
2.1.1.2เล่ม มคอ.2 และตัวอย่าง TQF3
2.1.1.3การพัฒนาผลการเรียนรู้ในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไปกับหมวดวิชาเฉพาะด้าน
2.1.1.4ระดับความพึงพอใจต่อการบริหารหลักสูตรของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย
2.1.1.5ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการปฏิบัติงาน
2.1.1.6ผลการhttps://drive.google.com/file/d/1If1tLu007gKx307pVDBimChKX_QDuMFJ/view?usp=drive_linkประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ 5 ด้านตามหลักสูตรของนักศึกษาทุกชั้นปี
2.1.1.7ผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ 5 ด้านจำแนกตามรายด้านของนักศึกษาทุกชั้นปี

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเองIQAAUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 2.153

Leave a Reply