องค์ประกอบที่ 2 ผลลัพธ์การเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ที่ 2.1  ผลลัพธ์การเรียนรู้ (ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-5 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. กำหนดและสื่อสาร ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

ทางหลักสูตรมีการกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและสื่อสารให้กับนักศึกษาทราบโดยใช้ มคอ.2 เป็นคู่มือดำเนินการ โดยแบ่งเป็นการพัฒนาผลการเรียนรู้ในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไปกับหมวดวิชาเฉพาะด้าน และได้สื่อสารให้กับคณาจารย์และนักศึกษาทราบในวันปฐมนิเทศให้กับนักศึกษาใหม่ (2.1.1.1)

2. ออกแบบผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้

การออกแบบผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง ประกอบด้วย 6 ด้านคือ 1.ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะการฝึกปฏิบัติทางวิชาชีพ โดยแต่ละรายวิชามีการบูรณาการออกแบบโดยจัดการเรียนการสอนผ่านสถานการณ์จำลอง และการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (2.1.1.2)

3. ระบุผลลัพธ์การเรียนรู้ทั่วไป และผลลัพธ์การเรียนรู้เฉพาะทาง

ทางหลักสูตรมีการกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและสื่อสารให้กับนักศึกษาทราบโดยใช้ มคอ.2 เป็นคู่มือดำเนินการ โดยแบ่งเป็นการพัฒนาผลการเรียนรู้ในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไปกับหมวดวิชาเฉพาะด้าน ดังนี้ (2.1.1.3)

1.1 หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป

1.1.1 คุณธรรม จริยธรรม

    1.1.1.1 ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม

  1. มีระเบียบ วินัย และตรงต่อเวลา
  2. มีความซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ สุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน ขยันและอดทน
  3. มีความรับผิดชอบต่อตนเอง และต่อผู้อื่น
  4. ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และประเพณีอันดีงามขององค์กรและสังคม

1.1.2 ความรู้

1.1.2.1 ผลการเรียนรู้ด้านความรู้

  1. มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎี ในองค์ความรู้พื้นฐานทั่วไปอย่างกว้างขวาง และเป็นระบบ
  2. มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้ โดยคำนึงถึงบริบทของสังคมไทยและสากล
  3. มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการคิด เป้าหมายชีวิต ศิลปะ วัฒนธรรม มนุษยสัมพันธ์ และการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมถึงการนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาของตน
  4. มีความสามารถในการเรียนรู้ สามารถใช้เทคโนโลยีในการค้นหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตในสังคม
  5. มีความรู้และความเข้าใจพื้นฐานในปรากฎการณ์และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

1.1.3 ทักษะทางปัญญา

1.1.3.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

  1. มีความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริง การหาข้อมูล การทำความเข้าใจข้อมูลและประเมินข้อมูล จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อมูลที่ได้ ในการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
  2. มีทักษะในการใช้วิจารณญาณ คิด วิเคราะห์และสังเคราะห์สิ่งต่างๆ อย่างเป็นระบบ
  3. มีทักษะในการกำหนดประเด็นปัญหา เสนอทางเลือกและตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
  4. มีทักษะในการคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ ในการแสวงหาความรู้และความจริงเพิ่มเติมอย่างเหมาะสม

1.1.4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

1.1.4.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ

1. มีความสามารถในการปรับตัว มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี เคารพและให้คุณค่าแก่ตนเองและผู้อื่น

2. มีความสามารถในการแสดงออกได้อย่างเหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆ

3. มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในบทบาทผู้นำและสมาชิกของกลุ่ม เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่นด้วยความรับผิดชอบ และด้วยจิตอาสา    

4. ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล และวัฒนธรรมที่หลากหลาย เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับสมาชิกในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างมีความสุข

1.1.5 ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

1.1.5.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

  1. มีความสามารถในการประยุกต์ใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ และสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลในชีวิตประจำวัน
  2. มีความสามารถในการแปลความหมายข้อมูลทางคณิตศาสตร์และสถิติได้อย่างมีประสิทธิผล
  3. มีความสามารถในการสื่อสารทั้งการพูด ฟัง อ่าน เขียน โดยใช้ภาษาประจำชาติและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิผล
  4. มีความสามารถในการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสืบค้น เก็บรวบรวม แปลความหมาย ประเมินผล และนำเสนอข้อมูล เพื่อการศึกษาได้อย่างเหมาะสมและรู้เท่าทัน

 

1.2 หมวดวิชาเฉพาะด้าน

1.2.1 คุณธรรม จริยธรรม

1.2.1.1 ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม

  1. ปฏิบัติตนอย่างมีคุณค่า คุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
  2. มีวินัยตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
  3. รักษาสิทธิของตนเองและเคารพในสิทธิของผู้อื่น รักคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
  4. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
  5. ปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สภาพแวดล้อมในการทำงาน และด้านสาธารณสุข

1.2.2 ความรู้

1.2.2.1 ผลการเรียนรู้ด้านความรู้

  1. มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญ
  2. การวางแผนงานโครงการและการประเมินผลการทำงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน การกำจัดความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพทั้งมวล
  3. ค้นคว้าหากลยุทธ์และกลวิธีทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ประกอบอาชีพในชุมชน สถานประกอบการ

1.2.3 ทักษะทางปัญญา

1.2.3.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

  1. ประเมินวิเคราะห์สถานะสุขภาพในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชนได้แบบองค์รวม
  2. วางแผนพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพสอดคล้องกับบริบท โดย ประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้อย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพ
  3. การบำบัดเบื้องต้นการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและฟื้นฟูสภาพ และการส่งต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของบุคคล พนักงานสถานประกอบการ ชุมชน การพัฒนาศักยภาพของชุมชนโดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. ให้บริการวิชาการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และการสาธารณสุขที่มุ่ง เน้นการส่งเสริมสุขภาพแก่พนักงานในสถานประกอบการ และประชาชนได้อย่างเหมาะสม
  5. ริเริ่มและสร้างสรรค์ คิดค้นสร้างนวัตกรรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.2.4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

1.2.4.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

  1. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลอื่น
  2. สามารถทำงานเป็นทีมและมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่นในหน่วยงาน และงานที่ได้รับมอบหมาย
  3. มีคุณลักษณะของภาวะผู้นำและภาวะผู้ตามที่ดี

1.2.5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

1.2.5.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

  1. สามารถใช้เทคนิคทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และด้านสาธารณสุขในการวิเคราะห์ข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
  2. สามารถใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูลด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และด้านสาธารณสุข

สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการพูด การฟัง และการเขียน

1.2.6 ทักษะการฝึกปฏิบัติทางวิชาชีพ

1.2.6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการฝึกปฏิบัติทางวิชาชีพ

  1. สามารถปฏิบัติทักษะทางวิชาชีพด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และการสาธารณสุข เพื่อการควบคุมป้องกันปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคและลดความเสี่ยงการเจ็บป่วยต่อบุคคล พนักงาน ครอบครัวและชุมชนตามมาตรฐานวิชาชีพ
    อาชีวอนามัยและความปลอดภัย และสาธารณสุข
  2. สามารถปฏิบัติทักษะทางวิชาชีพด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และสาธารณสุขได้อย่างเป็นองค์รวม
  3. สามารถสำรวจตรวจสอบสถานประกอบการ ชุมชนอย่างเป็นระบบ และสามารถ นำข้อมูลมานำเสนอ หรือนำเข้าแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพอนามัยและคุณภาพสภาพแวดล้อมในการทำงาน และสิ่งแวดล้อมภายนอก
  4. สามารถให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรคการควบคุมโรคการบำบัดโรคเบื้องต้นและการฟื้นฟูสุขภาพ สามารถตรวจประเมินบำบัดโรคเบื้องต้น และการดูแลให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยได้
  5. สามารถประเมินสถานการณ์ การวินิจฉัยการวางแผนงานโครงการสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพ และการปฏิบัติตามแผนการติดตาม และประเมินผล

4. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังบรรลุตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ทางหลักสูตรได้ดำเนินการวัดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังว่าบรรลุตามความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียโดยประเมินการบริหารหลักสูตร และกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายได้รับตลอดระยะเวลาการศึกษา ดังนี้

(2.1.1.4)

ลำดับ

รายการประเมิน

คะแนนเต็ม

(n=6)

1

การบริหารหลักสูตรของอาจารย์

5

4.17

2

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

5

4.33

3

ผลลัพธ์การเรียนรู้จากการศึกษาในหลักสูตร

5

4.33

4

ความรู้ความสามารถของอาจารย์ผู้สอน

5

4.67

5

สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

5

4.17

6

วิธีการการวัดประเมินผลการเรียน

5

4.00

7

ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของผู้เรียน

5

4.50

รวมคะแนนเฉลี่ยทั้งหมด= 4.31

5. ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง บรรลุผลกับผู้เรียนเมื่อสำเร็จการศึกษา

ทางหลักสูตรดำเนินการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของบัณฑิตจากการสอบถามผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการปฏิบัติงาน ผู้ใช้บัณฑิตตอบแบบสอบถามกลับมา 1 ที่จากทั้งหมด 1 คิดเป็นร้อยละ 100 จากผลการดำเนินการพบว่า ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.92 อยู่ในระดับความพึงพอใจปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าแต่ละด้านมีค่าดังนี้ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพมีค่าเฉลี่ย 4.00  2) ด้านความรู้ความสามารถทางวิชาการ/วิชาชีพ มีค่าเฉลี่ย 3.60  3) ด้านเชาว์ปัญญาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ย 3.80  4) ด้านปฏิสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานและความรับผิดชอบมีค่าเฉลี่ย 4.20  และ 5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีมีค่าเฉลี่ย 4.00  (2.1.1.5)

6. ผลการประเมินผลการเรียนรู้ ด้านความรู้ ทักษะ จริยธรรม และลักษณะบุคคล ของนักศึกษา(กลุ่มตัวอย่างทุกชั้นปี) สูงกว่า 3.51

ทางหลักสูตรได้ทำการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ 5 ด้านตามหลักสูตร ได้แก่ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ 2) ด้านความรู้ความสามารถทางวิชาการ/วิชาชีพ 3) ด้านเชาว์ปัญญาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน 4) ด้านปฏิสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานและความรับผิดชอบ 5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี โดยสำรวจนักศึกษาทุกชั้นปี พบว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีผลลัพธ์การเรียนรู้ 5 ด้านมีค่าเฉลี่ยที่ 3.67 นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ค่าเฉลี่ยที่ 3.95 และนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ค่าเฉลี่ยที่ 4.35 ตามลำดับ  (ไม่มีนักศึกษาชั้นปีที่3) (2.1.1.6)

7. ผลการประเมินผลการเรียนรู้เฉลี่ยทั้ง 4 ด้าน สูงกว่า 3.51

ทางหลักสูตรได้ทำการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ 5 ด้านจำแนกตามรายด้านของนักศึกษาทุกชั้นปีพบว่า ค่าเฉลี่ยด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพมีค่า 4.05   ค่าเฉลี่ยด้านความรู้ความสามารถทางวิชาการ/วิชาชีพมีค่า 3.86   ค่าเฉลี่ยด้านเชาว์ปัญญาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานมีค่า 3.81   ค่าเฉลี่ยด้านปฏิสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานและความรับผิดชอบมีค่า 4.29  และค่าเฉลี่ยด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีมีค่า 3.94 ตามลำดับ และมีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทุกด้าน 3.99 จากคะแนนเต็ม 5 (2.1.1.7)

 

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

….5ข้อ….

IQA(1-7)

1,2,3,4,5,6,7

 7 ข้อ

 5 คะแนน

AUN-QA(1-5)

1,2,3,4,5

ระดับ 3

รายการหลักฐานอ้างอิง

Evidence No. List of evidences
2.1.1.1 โครงการปฐมนิเทศให้กับนักศึกษาใหม่
2.1.1.2 เล่ม มคอ.2 และตัวอย่าง TQF3
2.1.1.3 การพัฒนาผลการเรียนรู้ในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไปกับหมวดวิชาเฉพาะด้าน
2.1.1.4 ระดับความพึงพอใจต่อการบริหารหลักสูตรของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย
2.1.1.5 ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการปฏิบัติงาน
2.1.1.6 ผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ 5 ด้านตามหลักสูตรของนักศึกษาทุกชั้นปี
2.1.1.7 ผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ 5 ด้านจำแนกตามรายด้านของนักศึกษาทุกชั้นปี

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเองIQAAUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 2.153

Leave a Reply