ข้อเสนอแนะการดำเนินการ(ปีการศึกษา 2564)

ผลการดำเนินการในปีการศึกษา 2564

StandardQuality IndicatorsAssessment ResultsAssessment Level
Component 1Regulatory Standards PassPass
Component 2Graduates

2.1 คุณภาพบัณฑิต 3.80 ดี
2.2 ผลสัมฤทธิ์ของบัณฑิต 5 ดีมาก
Component 3Students
3.1 การรับนักศึกษา4ดี
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา4ดี
3.3 คุณภาพของนักศึกษา5ดีมาก
Component 4Instructors
4.1 การบริหารและการพัฒนา4ดี
4.2 คุณภาพอาจารย์4.72ดีมาก
4.3 นวัตกรรมทางวิชาการ2.5ปานกลาง
Component 5Curriculum, Learning Management and Learning Support Resources
5.1 การพัฒนาหลักสูตร4ดี
5.2 การจัดการเรียนรู้ และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้4ดี
5.3 การประเมินผู้เรียน4ดี
5.4 ผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตร5ดีมาก
Overall Average Score4.17ดีมาก

Note IF Score>4 = “Very Good” , Score>3 = “Good” , Score>2 =”Fair” and Score>=0 = “Need Improve”

       ผลดำเนินการในการประกันคุณภาพภายใน หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561) คณะกรรมการพบว่ามีจุดเด่นและจุดควรพัฒนาในภาพรวมดังนี้
จุดเด่น
   1. อาจารย์มีความมุ่งมั่น ตั้งใจที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีคุณภาพมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จุดควรพัฒนา
    1.  พัฒนาเกณฑ์การประเมิน 3.3.1 ว่า ผลงานที่จะมานับเพื่อแสดงว่านักศึกษาเป็นผู้รอบรู้เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ และเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ให้ชัดเจน เช่น เป็นผลงานที่ได้รับรางวัลระดับชาติ เป็นต้น และเกณฑ์การประเมินควรเป็นจำนวนชิ้นงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพ เช่น 5 คะแนน เท่ากับ 5 ชิ้นงาน ขึ้นไป 

    2.  ควรพัฒนาแบบสอบถามผู้ใช้บัณฑิตให้มีความชัดเจนสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ของหลักสูตร เช่น ทักษะทางปัญญา 

    3.  ควรมีการประเมินเพื่อสนับสนุนให้อาจารย์พัฒนาสื่อการสอนให้ทันสมัยและส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษา

การสะท้อนผลการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน ตามรายมาตรฐาน

       การสะท้อนผลการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน ประจำปีการศึกษา 2564 ของหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561) ตามมาตรฐานของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา (STIC-QA) พ.ศ. 2561 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 มีดังนี้
มาตรฐานที่ 1 : ด้านการกำกับมาตรฐาน
จุดแข็ง/ประเด็นที่ชื่นชม
            1. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณภาพและความรู้ ความเข้าใจในกา่รพัฒนาและการบริหารหลักสูตร

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพ
          1. ควรสนับสนุนให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิปริญญาเอก 

การปฏิบัติที่ดี/นวัตกรรม/ผลงานที่โดดเด่น 

มาตรฐานที่ 2 : ด้านบัณฑิต 

จุดแข็ง/ประเด็นที่ชื่นชม

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒณาคุณภาพ

  1.  ควรศึกษาวิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพบัณฑิตโดยเฉพาะทักษะทางปัญญา เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาให้มีสมรรถนะทางด้านนี้เพิ่มขึ้น

การปฏิบัติที่ดี/นวัตกรรม/ผลงานที่โดดเด่น

มาตรฐานที่ 3 : ด้านนักศึกษา

จุดแข็ง/ประเด็นที่ชื่นชม

         1.   นักศึกษามีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพและวิทยาลัย
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพ

        1.  ควรส่งเสริมให้นักศึกษาสนใจใฝ่รู้ด้วยตนเองและทักษะภาษาอังกฤษ

การปฏิบัติที่ดี/นวัตกรรม/ผลงานที่โดดเด่น

มาตรฐานที่ 4 : ด้านอาจารย์

จุดแข็ง/ประเด็นที่ชื่นชม

    –
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพ

        1.  ควรส่งเสริมอาจารย์ให้มีคุณวุฒิปริญญาเอกและตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น 

การปฏิบัติที่ดี/นวัตกรรม/ผลงานที่โดดเด่น

มาตรฐานที่ 5 : ด้านหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

จุดแข็ง/ประเด็นที่ชื่นชม


ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพ

        1.  ในการพัฒนาหลักสูตรรอบต่อไปควรให้ความสำคัญต่อการบูรณาการเนื้อหาสาระที่ซ้ำซ้อนในแต่ละรายวิชาเข้าด้วยกัน เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาเรียนรู้ถึงแก่นขององค์ความรู้และสามารถเชื่อมโยงความรู้ในแต่ละประเด็น เพื่อให้เกิดการพยาบาลแบบองค์รวม

การปฏิบัติที่ดี/นวัตกรรม/ผลงานที่โดดเด่น

Leave a Reply