องค์ประกอบที่ 5: ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 ความคาดหวัง (สภาวะแวดล้อมด้านบุคลากร)

องค์ประกอบที่ 5 คณาจารย์และบุคลากร

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 ความคาดหวัง (สภาวะแวดล้อมด้านบุคลากร)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-6 ข้อ7-8 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-6 ประเมิน 40 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

1 ขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร(ความจำเป็นด้านขีดความสามารถและอัตรากำลัง) คณะมีวิธีการอย่างไรในการประเมินด้านขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากรที่จำเป็นต้องมี

          ผลการดำเนินการ

          แนวทางการดำเนินงาน : คณะพยาบาลศาสตร์ มีแผนพัฒนาอาจารย์ 5 ปี (2564 -2569) โดยกำหนดคุณสมบัติของอาจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักฐาน ตามที่เกณฑ์ของสภาพยาบาลกำหนดคือ 5 คน รวมทั้งคุณสมบัติของอาจารย์ประจำตามจำนวนที่มีสัดส่วนของอาจารย์ประจำต่อนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าไม่เกิน 1:6 และใช้แผนนี้เป็นแนวทางในการสรรหาและคัดเลือกอาจารย์ประจำซึ่งดำเนินการโดย คณะกรรมการคัดเลือกอาจารย์

          การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ : รองคณบดีฝ่ายสงเสริมการศึกษาจะถ่ายทอด แผนพัฒนาอาจารย์ 5 ปี สู่แผนปฏิบัติการประจำปีและดำเนินกี่ให้เป็นไปตามแผน รวมทั้งพัฒนาศักยภาพอาจารย์ประจำทางด้านวิชาชีพ/วิชาการ และการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ การอบรมระยะสั้นและการศึกษาต่อระดับสูง

          การเรียนรู้ : อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำ มีการวางแผนการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการพัฒนาศักยภาพด้านวิชาการ วิชาชีพ การอบรมระยะสั้น และการพัฒนาผลงานวิชาการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ โดยมีการจัดประชุมปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมสนับสนุนโดยจัดประจำอย่างต่อเนื่อง

          การบูรณาการ : หัวหน้าภาคทุกภาควิชากำหนดแผนในการพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ประจำ ภาควิชาด้านการปฏิบัติการพยาบาล (Faculty Practice) โดยบูรณาการกับพันธกิจอื่นเช่น การพัฒนาผลงานวิจัย การพัฒนาผลงานวิชาการ การบริการวิชาการแก่สังคม ซึ่งเกิดประโยชน์ร่วมกันทั้งด้านการพัฒนาศักยภาพอาจารย์กับพันธกิจอื่นๆ

2 ขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร(บุคลากรใหม่) คณะมีวิธีการอย่างไรในการสรรหา ว่าจ้าง และดูแล บุคลากรใหม่

          ผลการดำเนินการ

          แนวทางการดำเนินงาน : คณะพยาบาลศาสตร์ดำเนินการสรรหาอัตรากำลังตามแผนอัตรากำลังที่กำหนดไว้หลายช่องทาง ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ในเว็บไซต์ของวิทยาลัย การแสวงหาของคณะอาจารย์ให้ผู้มีคุณสมบัติมาสมัคร และคัดเลือกโดยคณะกรรมการระดับคณะที่ทำการตรวจสอบคุณสมบัติด้านคุณวุฒิ ประสบการณ์ทางวิชาชีพ ประสบการณ์ด้านการสอนในสภาบันการศึกษาพยาบาล และทีการทดสอบสรรมถนะด้านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของวิทยาลัยจึงรับไว้เป็นอาจารย์ประจำ โดยทำสัญญาจ้างและทดลองปฏิบัติงาน (ปี 65 มีอาจารย์รับใหม่จำนวน 4 คน) (NS 5.1.2-01)

          การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ : คณะกรรมการรับสมัครอาจารย์จะดำเนินการตามนโยบายของคณะวิชา ให้ได้อาจารย์ประจำที่มีคุณสมบัติและขีดความสามารถตรงกับสาขาวิชาที่ต้องการ และทอดลองปฏิบัติงานโดยมีระบบพี่เลี่ยง จากอาจารย์ประจำในการส่งเสริมสนับสนุนให้พัฒนาศักยภาพในการเป็นอาจารย์ หลังกระบวนการปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ ตามระบบที่กำหนดไว้และมีผลการประเมินการทดลองงานภายใน 3 เดือน

(NS 5.1.2-02)

          การเรียนรู้ : รองคณบดีฝ่ายส่งเสริมการศึกษาร่วมกับคณบดีฝ่ายวิชาการ และหัวหน้าภาควิชาในสาขาที่ต้องการจะมีแนวทางในการสัมภาษณ์ให้ได้ข้อมูลพอเพียงกับการตัดสินใจ ในการเลือกเป็นอาจารย์ประจำ โดยมีแบบประเมินจาการสัมภาษณ์ สรุปข้อมูลต่อผู้บริหารระดับคณะเพื่อรับเป็นอาจารย์ประจำ รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ใหม่จากอาจารย์ประจำ (NS 5.1.2-03)

          การบูรณาการ : อาจารย์ที่สมัครสามารถเลือกสาขาวิชาหลักที่ตรงกับความต้องการของคณะวิชา และเลือกสาขาวิชารองที่สามารถปฏิบัติงานได้ กรณีบางสาขาวิชามีอัตรากำลังไม่เพียงพอ ให้สามารถทดแทนอัตรากำลังอาจารย์ประจำในการนิเทศ การฝึกปฏิบัติตามแผนแม่บทด้านการบริหารหลักสูตร (NS 5.1.2-04)

3 ขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร(การจัดการการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากร) คณะมีวิธีการอย่างไรในการเตรียมบุคลากรให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงความจำเป็นด้านขีดความสามารถและอัตรากำลัง

          ผลการนำเนินการ

          แนวทางการดำเนินงาน : อาจารย์ประจำ (ใหม่) ทุกคนจะได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์ด้านการจัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎี ภาคทดลอง และภาคปฏิบัติจากหัวหน้าภาควิชา โดยมีอาจารย์ที่ได้รับมอบหมายเป็นอาจารย์พี่เลี้ยงให้การสนับสนุน และเอื้ออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ด้านวิชาการ และความเป็นครู (NS 5.1.3-01)

          การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ : อาจารย์ประจำที่เป็นพี่เลี้ยง และอาจารย์ประจำใหม่จะร่วมเรียนรู้ด้านวิชาการเทคนิคประสบการณ์การเรียนรู้ และคุณลักษณะของความเป็นครูไปพร้อมๆกันแบบกัลยาณมิตร จากการปฏิบัติงานในหน้าที่ของอาจารย์ประจำ และสามารถปฏิบัติงานทดแทนอัตรากำลังที่ต้องการของคณะวิชาได้

          การเรียนรู้ : อาจารย์ประจำ (ใหม่) จะได้รับประสบการณ์ตรงจาการปฏิบัติงานในบทบาทของอาจารย์ประจำสาขาพยาบาลศาสตร์ และบทบาทอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา โดยใช้ภาระงานเป็นแนวทางในการมอบหมายงานตามพันธกิจหลัก รวมทั้งงานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย และสามารถปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

          การบูรณาการ : อาจารย์ประจำ (ใหม่) สามารถเรียนรู้การบูรณาการงานตามพันธกิจอุดมศึกษา โดยมีการวางแผนงาน การดำเนินงาน การกำกับ การประเมินผล และการพัฒนางาน (PDCA) ทำให้เรียนรู้การปฏิบัติงานประจำตอบสนองพันธกิจอุดมศึกษาได้

4 ขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร(การทำงานให้บรรลุผล) คณะมีวิธีการอย่างไรในการจัดระบบการทำงานและบริหารบุคลากร

          ผลการดำเนินการ

          แนวทางการดำเนินงาน : คณะพยาบาลศาสตร์กำหนดโครงสร้างองค์กรและการบริหารบุคคลตามพันธกิจ โดยมีรองคณบดี 4 ฝ่ายและ 6 ภาควิชา หัวหน้าภาควิชาจะมอบหมายภาระงานด้านการสอนตามรายวิชาที่รับผิดชอบ ส่วนภาระงานตามพันธกิจจะกำหนดนโยบายด้านต่างๆ และการปฏิบัติตามพันธกิจจะมีภาระงานกำหนดไว้เป็นคู่มือ การกำกับการปฏิบัติงาน และการประเมินผลการปฏิบัติงาน หัวหน้าภาควิชาและรองคณบดีแต่ละฝ่ายจะเป็นผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีเสนอต่อผู้บริหารระดับคณะวิชา ผู้บริหารระดับหัวหน้าภาควิชา จาการประเมินการปฏิบัติงาน และผลการประเมินประสิทธิภาพการเรียนการสอนโดยนักศึกษา (NS 5.1.4-01)

          การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ : คณบดีและรองคณบดีฝ่ายต่างๆ จะชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงานตามขอบเขตและหน้าที่รับผิดชอบ รวมทั้งกำกับดูแล และการประเมินผลอย่างเป็นระบบ โดยผลการประเมินอยู่ในระดับดี-ดีมาก รองคณบดีทุกฝ่ายและหัวหน้าภาควิชาจะสะท้อนผลการประเมินและแนวทางการพัฒนาต่ออาจารย์ประจำ เพื่อทราบและกำหนดแนวทางในการพัฒนาตนเอง

          การเรียนรู้ : ผู้บริหารและอาจารย์ประจำทุกคนจะบันทึกภาระงานไว้ในระบบข้อมูลสาระสนเทศ และใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพแต่ละด้าน สำหรับผู้บริหารจะใช้เป็น (MIS) แนวทางใช้ประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี (NS 5.1.4-02)

          การบูรณาการ : ผู้บริหารและอาจารย์ประจำทุกคนจะใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศ (MIS) เรื่องภาระงานเป็นแนวทางในการบูรณาการงานประจำกับพันธกิจหลัก และภาระงานที่ได้รับมอบหมาย เป็นการลดความซ้ำซ้อนของการปฏิบัติและเวลา ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน

5 บรรยากาศการทำงานของบุคลากร(สภาวะแวดล้อมของการทำงาน) คณะมีวิธีการอย่างไรเพื่อสร้างความมั่นใจว่าสถานที่มีสุขภาวะ ความมั่นคง และความสะดวกในการเข้าทำงานของบุคลากร

          ผลการดำเนินการ

          แนวทางการดำเนินงาน : ผู้บริหารเชื่อว่าบรรยากาศที่ได้ขององค์กรจะส่งเสริมให้บุคลากรทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพและมีความสุขในการทำงาน จึงจัดสิ่งสนับสนุนการทำงานและการจัดการเรียนการสอน เช่น การต้องทำงานที่เหมาะสมพร้อมอุปกรณ์และเครื่องใช้ที่จำเป็น จัดห้องเรียนและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน มีห้องปฏิบัติการพร้อมอุปกรณ์ที่พอเพียงพร้อมใช้สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ทำงานร่วมกันแบบกัลยาณมิตร รวมทั้งจัดกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรทุกระดับ เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง (NS 5.1.5-01 ถึง NS 5.1.5-03)

          การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ : ผู้บริหารทุกระดับได้รับนโยบายและแนวคิดด้านการสร้างบรรยากาศที่ดีขององค์กร และปฏิบัติตนเป็นอย่างดี และมีสัมพันธภาพเชิงช่วยเหลือแบบกัลยาณมิตรทั้งเพื่อนร่วมงานทุกระดับ และนักศึกษา

          การเรียนรู้ : ผู้บริหารอาจารย์ประจำ และบุคลากรสายสนับสนุน ได้เรียนรู้ร่วมกันในกิจกรรมต่างๆ และแสดงตนเป็นแบบอย่างอย่างของการสร้างบรรยายกาศที่ดีขององค์กร รวมทั้งถ่ายทอดแนวคิดการพัฒนาองค์กร สู่นักศึกษาทุกชั้นปีผ่านกิจกรรมในระบบครอบครัวเสมือน (NS 5.1.5-04)

          การบูรณาการ : ระบบครอบครัวเสมือนจะเป็นแหล่งพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาสู่คุณลักษณะของบัณฑิตสาขาพยาบาลศาสตร์ที่พึงประสงค์ ทั้งด้านทักษะในการเรียนรู้ ทักษะชีวิต แบะทักษะทางวิชาชีพ ที่ส่งเสริมการศึกษาตามหลักสูตร ตอบสนองนโยบายของคณะวิชาเรื่อง “ความรู้คู่คุณธรรม”

6 บรรยากาศการทำงานของบุคลากร(นโยบายและสิทธิประโยชน์สำหรับบุคลากร) คณะสนับสนุนบุคลากรโดยจัดให้มีการบริการ สิทธิประโยชน์ และนโยบายอย่างไร

          ผลการดำเนินการ

          แนวทางการดำเนินงาน : วิทยาลัยมีระบบสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น การให้ทุนเพื่อการศึกษาต่อระดับสูง การประกันสังคม การดูแลบุคลาการที่มีปัญหาสุขภาพและอุบัติเหตุ สวัสดิการรถรับส่ง ที่พักอาศัย สำหรับคณะพยาบาลศาสตร์ระเบียบสวัสดิการที่เหมาะสม การตรวจสุขภาพประจำปี เครื่องแต่งกายประจำคณะ เป็นต้น (NS 5.1.6-01 ถึง NS 5.1.6-04)

          การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ : สำนักงานคณบดีจะดำเนินการด้านสิทธิประโยชน์ระหว่างอาจารย์ประจำและบุคลากรทุกระดับของวิทยาลัย รวมทั้งจัดบริการด้านสวัสดิการภายในคณะ ตามระเบียบสวัสดิการที่กำหนดไว้

          การเรียนรู้ : ผู้บริหารและอาจารย์ประจำทุกคนได้รับสิทธิประโยชน์ มีความมั่นใจ รักและผูกพันต่อองค์กร และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มศักยภาพ

          การบูรณาการ : การได้รับสิทธิประโยชน์ของบุคลากรทุกระดับ สร้างความรักและผูกพันต่อคณะและเพื่อนร่วมงาน เป็นการสร้างเจตนคติที่ดีต่อองค์กร

 

7 มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อยกระดับสมรรถนะอย่างต่อเนื่อง

          การดำเนินงาน คณะฯ มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ทุกคนมีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพตนเองตามแผนพัฒนาบุคลากร

โดยมีอาจารย์     ศึกษาต่อปริญญาเอก  2         ราย      อาจารย์อาภรณี, อาจารย์สุภาพร

                    ศึกษาระดับปริญญาโท     2         ราย      อาจารย์นันท์นภัส, อาจารย์เทพอนงค์

                    ตำแหน่งวิชาการ               –         ราย

                    อบรมระยะสั้น                   1         ราย      น.ท.หญิง ดร.เบญจภัค

          ประชุมอบรมสัมภาษณ์ ร้อยละ 100 ≥15 ชั่วโมง/คน/ปี

          การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ : ถ่ายทอดแผนพัฒนาอาจารย์ 5 ปี สู่แผนปฏิบัติการประจำปีและดำเนินการความแผนปฏิบัติการโดยรองคณบดีฝ่ายส่งเสริมการศึกษา เป็นผู้กำกับติดตามประเมินผล และสรุปผลการดำเนินงานเสนอต่อ คณะกรรมการบริหารคณะวิชา    

          การเรียนรู้ : ผู้บริหารและอาจารย์ประจำสามารถกำหนดแผนการพัฒนาตนเอง และใช้ประโยชน์จาการพัฒนาผลงานวิชาการ เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ และความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

          การบูรณาการ : การพัฒนาผลงานวิจัยและผลงานวิชาการที่มีคุณภาพ สามารถใช้ขอตำแหน่งทางวิชาการ หรือต่อยอดงานวิจัยเชิงนวัตกรรมที่สร้างคุณประโยชน์ต่อตนเอง วิชาชีพ และสังคมได้ NS 5.1.7-(01)

8 มีระบบการบริหารงานที่ส่งเสริมการนำศักยภาพบุคลากรมาใช้อย่างเต็มที่

          การดำเนินงาน คณะฯ มีนโยบายส่งเสริมให้อาจารย์ใช้ความเชี่ยวชาญในการบริการวิชาการแก่สังคม

          ผลการดำเนินงาน

  1. โครงการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ (Malta) 3 รุ่น มีอาจารย์ร่วมเป็นวิทยากรและดำเนินการรวม 20คน
  2. โครงการสร้างความเข็มแข็งให้ชุมชน เรื่อง CPR อาจารย์ร่วมเป็นวิทยากร 10 คน (คณะได้เปิดโอกาสให้อาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้านจัดดำเนินการ โครงการบริการวิชาการแก่สังคมเพื่อเพิ่มศักยภาพในเด่นนั้นๆ ให้เป็นที่ยอมรับ)

          การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ : ภาควิชาต่างๆ สามารถพัฒนาความเชี่ยวชาญในภาควิชา โดยจัดทำโครงการบริการวิชาการ โดยออกแบบให้บูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาที่รับผิดชอบ

          การเรียนรู้ : การเพิ่มศักยภาพอาจารย์ประจำด้านวิชาชีพสามารถทำได้หลายวิธี และจะทำให้อาจารย์ประจำมีความเชี่ยวชาญและความมั่นใจ ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพิ่มขึ้น

          การบูรณาการ : อาจารย์ประจำสามารถเชื่อมโยงความรู้ ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบกับการบริการวิชาการ การวิจัย และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อีกทั้งยังนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากพันธกิจอื่น เชื่อมโยงสู่การจัดการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักศึกษา (NS 5.1.8-01 ถึง NS 5.1.8-02)

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

8 ข้อ 

IQA (1-8)

1,2,3,45,6,7,8

8 ข้อ

5 คะแนน

EdPEx (1-6)

1,2,3,4,5,6

ร้อยละ 30 (40คะแนน)

12 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน

รายการ

NS 5.1.2-01

คำสั่งแต่งตั้งกรรมการสัมภาษณ์, ผลการสัมภาษณ์ อาจารย์ใหม่ 4 คน

NS 5.1.2-02

กระบวนการปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่

NS 5.1.2-03

ประเมินจากคณะกรรมการ

NS 5.1.2-04

การแต่งตั้ง/มอบหมายให้ภาควิชา

NS 5.1.3-01

รายงานการปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ 4 คน

NS 5.1.4-01

แบบสรุปการประเมินผลการปฏิบัติงานปี 2565

NS 5.1.4-02

รายงานภาระงานของทุกคน

NS 5.1.5-01

โครงการ “ศึกษาดูงานและสร้างความสัมพันธ์ในองค์กร วิทยาลัยพยาบาลพะเยา

NS 5.1.5-02

ภาพถ่ายห้องทำงาน ห้องเรียน LAB

NS 5.1.5-03

กิจกรรมการต่างๆ

NS 5.1.6-01

คำขออยู่หอพัก

NS 5.1.6-02

ตารางการใช้รถ

NS 5.1.6-03

โครงการตรวจสุขภาพประจำปี

NS 5.1.6-04

ระเบียบสวัสดิการ และรายงาน

NS 5.1.7-01

MIS ชั่วโมงการอบรม

NS 5.1.8-01

โครงการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ

NS 5.1.8-02

โครงการสร้างความเข็มแข็งให้ชุมชน