องค์ประกอบที่ 5: ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ความผูกพัน (ความผูกพันของบุคลากร)

องค์ประกอบที่ 5 คณาจารย์และบุคลากร

ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ความผูกพัน (ความผูกพันของบุคลากร)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-6 ข้อ7-9 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-7 ประเมิน 45 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

1 การประเมินความผูกพันของบุคลากร(ปัจจัยขับเคลื่อนความผูกพัน) คณะมีวิธีการอย่างไรในการกำหนดปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากร

          ผลการดำเนินการ

          แนวทางการดำเนินงาน : คณะพยาบาลศาสตร์ให้ความสำคัญกับบุคลากรทุกระดับ ให้มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานมีความผูกพันต่อคณะวิชา และต่อเพื่อนร่วมงานทุกระดับ จึงดำเนินการจัดสิ่งแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกที่สร้างบรรยากาศในการทำงาน รวมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจัดระบบสวัสดิการที่เหมาะสม

          การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ : คณบดีชี้แจ้งนโยบายการสร้างบรรยากาศในการทำงาน ในการประชุมอาจารย์และส่งเสริมสนับสนุนให้ ผู้บริหารและอาจารย์ประจำทุกคนรวมทั้งบุคลากรสายสนับสนุนร่วมมือการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ได้แก่ การเคารพผู้อาวุโส พฤติกรรมแสดงออกที่แสดงถึงการให้คุณค่าของบุคคล การแสดงน้ำใจตามโอกาสและวาระต่างๆ สุนทรียสนทนา ผ่านการประชุมและกิจกรรมต่างๆอย่างต่อเนื่อง

          การเรียนรู้ : บุคลากรทุกระดับทั้งนักศึกษา มีพฤติกรรมแสดงออกที่เหมาะสมเป็นแบบอย่างที่ดีของบุคคลที่ได้พบเห็น บรรยากาศในการปฏิบัติงานเป็นบรรยากาศที่ดี คนปฏิบัติงานมีความสุข ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินกิจกรรม/โครงการที่ได้ดำเนินการ

          การบูรณาการ : ผู้บริหารอาจารย์ประจำบูรณาการวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ในการถ่ายทอดประสบการณ์การเรียนรู้ต่อนักศึกษาทั้งภาคทฤษฎี ภาคทดลอง และภาคปฏิบัติ เป็นการบ่มเพาะคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตสาขาพยาบาลศาสตร์

2 การประเมินความผูกพันของบุคลากร(การประเมินความผูกพัน) คณะประเมินความผูกพันของบุคลากรอย่างไร

          ผลการดำเนินการ

          แนวทางการดำเนินงาน : ความผูกพันต่อองค์กรและเพื่อนร่วมงานเป็นปัจจัยสำคัญของบรรยากาศองค์กร ซึ่งประเมินได้จากความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน และความร่วมมือร่วมใจในการกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการทำงานและการใช้ชีวิต

                     ค่าความพึงพอใจของบุคลากรในการปฏิบัติงานปี 2565 ค่าเฉลี่ย 4.07 (NS 5.2.2-01)

          การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ : การถ่ายทอดแนวคิดเรื่องการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตสาขาพยาบาลศาสตร์ที่พึงประสงค์ ที่หลักสูตรกำหนดต่อผู้บริหาร และอาจารย์ประจำ โดยปฏิบัติงานใหเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับนักศึกษาพยาบาล

          การเรียนรู้ : การรับฟังความคิดเห็นของอื่น เป็นการแสดงความเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ที่คณะใช้เป็นแนวทางปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอในการประชุม อบรม สัมมนา และการปฏิบัติวานและปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ

          การบูรณาการ : สามารถเชื่อมโยงความผูกพันต่อองค์กร และเพื่อนร่วมงาน ถ่ายทอดให้กับนักศึกษาด้านทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพพยาบาล ต่อเพื่อน ต่อครอบครัว และต่อสังคม ด้วยการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง สั่งสอน ตักเตือน และบ่มเพาะนักศึกษาพยาบาล

3 วัฒนธรรมองค์กร คณะมีวิธีการอย่างไรในการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีลักษณะการสื่อสารที่เปิดกว้าง มีผลการดำเนินการที่ดี และบุคลากรมีความผูกพัน

          ผลการดำเนินการ

          แนวทางการดำเนินงาน : ลักษณะความสำคัญของพยาบาลคือการดูแลบุคคลทุกช่วงวัยของชีวิต ที่ต้องใช้ศาสตร์ในการดูแลโดยมีคุณธรรมจริยธรรมเป็นพื้นฐาน คณะจึงกำหนดวัฒนธรรมองค์กรคือ “ความรู้คู่คุณธรรม” คือต้องใช้ความรู้ที่ถูกต้องแม่นยำในการให้พยาบาลด้วยความกรุณา (Caring) มีสำนึกรับผิดชอบ (Accountability) เสียสละและเห็นคุณค่าชีวิตของชีวิตมนุษย์

          คำขวัญคณะ “ความรู้คู่คุณธรรม”

          การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ : คำขวัญของคณะถ่ายทอดสู่ผู้บริหารและอาจารย์ประจำ ให้ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานและดำรงชีวิต

          การเรียนรู้ : บุคคลทุกคนยึดมั่นในการใช้ความรู้คู่คุณธรรม

          การบูรณาการ : สอดแทรกในการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมถึงกิจกรรมต่างๆ

4 การจัดการผลการปฏิบัติงานและการพัฒนา(การจัดการผลการปฏิบัติงาน) ระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสนับสนุนให้เกิดการทำงานที่ให้ผลการดำเนินการที่ดีอย่างไร

          ผลการดำเนินการ

          แนวทางการดำเนินงาน : จากผลการปฏิบัติงานตามพันธกิจอุดมศึกษา ด้านการพัฒนาผลงานวิจัยของผีการศึกษา 2564 ได้ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ คณะได้เร่งรัดโดยจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลงานวิจัยส่งผลให้ผลงานวิจัย ปีการศึกษา 2565 เพิ่มขึ้นเป็น = 52.58

          การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ : คณะมีนโยบายประจำทุกคนพัฒนาผลงานวิจัยอย่างน้อยปีละ 1 เรื่องใน 2 ปี

          การเรียนรู้ : อาจารย์ประจำทุกคนตระหนักถึงพันธกิจหลักอุดมศึกษาและพัฒนาทางในการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก โดยใช้เกณฑ์ภาระงานของคณะเป็นแนวทาง

          การบูรณาการ : อาจารย์บูรณาการพัฒนางานวิจัยกับพันธกิจอื่นๆ เช่น การบริการวิชาการกับงานวิจัย เป็นต้น

5 การจัดการผลการปฏิบัติงานและการพัฒนา(การพัฒนาผลการปฏิบัติงาน) ระบบการเรียนรู้และการพัฒนาสนับสนุนความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรและความจำเป็นของคณะอย่างไร

เหมือนข้อ 4

6 การจัดการผลการปฏิบัติงานและการพัฒนา(ประสิทธิผลของการเรียนรู้และการพัฒนา) คณะมีวิธีประเมินประสิทธิผลและประสิทธิภาพของระบบการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างไร

ยังไม่ได้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม

7 การจัดการผลการปฏิบัติงานและการพัฒนา(ความก้าวหน้าในการงานอาชีพ) คณะมีวิธีการอย่างไรในการจัดการความก้าวหน้าในอาชีพการงานของบุคลากรและผู้นำในอนาคตของคณะ

          ผลการดำเนินการ

          แนวทางการดำเนินงาน : คณะมีนโยบายในการพัฒนาอาจารย์ประจำให้มีความก้าวหน้าในอาชีพ โดยมอบหมายภาระกิจให้ร่วมเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานรองรับการก้าวหน้าในอนาคต ได้แก่ การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้เป็นคณะกรรมการบริหารหลักสูตร เป็นต้น

          การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ : คณะกรรมการบริหารหลักสูตร ทำหน้าที่วางแผนบริหารหลักสูตร ดำเนินการจัดการเรียนการสอน การกำกับดูแล การแก้ไขปัญหา ตลอดจนประเมินผลการดำเนินงานตามระบบและกลไกล ผ่านการประชุมอย่างต่อเนื่อง (NS 5.2.7-01)

          การเรียนรู้ : คณะกรรมการบริหารหลักสูตร ได้เรียนรู้กระบวนการบริหารหลักสูตรอย่างเป็นระบบทุกขั้นตอน

          การบูรณาการ : การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร เชื่อมโยงสู่การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในรายวิชาที่รับผิดชอบ ทั้งภาคทฤษฎี ภาคทดลอง และภาคปฏิบัติ

8 มีการกำกับ ติดตาม การดำเนินการตามแผนพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

          ผลการดำเนินการ

          แนวทางการดำเนินงาน : คณะพยาบาลมอบหมายให้รองคณบดีฝ่ายส่งเสริมการศึกษาดูแลรับผิดชอบงานด้านการพัฒนาบุคคลากร โดยจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร 5 ปี ถ่ายทอดสู่แผนปฏิบัติการประจำปี และรายงานผลต่อคณะกรรมการบริหารคณะ และรายงานการประเมินตนเองเพื่อการตรวจคุณภาพการศึกษา (SAR ปี 2565)

          การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ : รองคณบดีฝ่ายส่งเสริมการศึกษาใช้แผนปฏิบัติการประจำปีเป็นแนวทางปฏิบัติ

          การเรียนรู้ : สรุปและรายงานผลการดำเนินการใน SAR

9 มีการสร้างขวัญ กำลังใจ และการยกย่องให้กับบุคลากรที่มีผลงานได้สูงกว่าเป้าหมาย

          ผลการดำเนินการ

          แนวทางการดำเนินงาน : คณะพยาบาลศาสตร์มีแนวทางในการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรทุกระดับที่มีผลงานสูงกว่าเป้าหมาย โดยมีคณะกรรมการพิจารณของอาจารย์และบุคลากรที่มีผลงานดีเด่นในด้านต่างๆ

          การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ : คณะกรรมการพิจารณาผลการดำเนินการของอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนเสนอต่อคณะกรรมการบริหารคณะวิชา เพื่อเห็นชอบ และจัดทำประกาศเกียรติบัตร และรางวัลในวาระสำคัญของคณะต่อไป

          การเรียนรู้ : อาจารย์ประจำทุกคนรับทราบและพัฒนาการปฏิบัติงานในส่วนที่รับผิดชอบ เพื่อให้ผลการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงสุด

          การบูรณาการ : ผลการปฏิบัติงานที่ดีจะเป็นปัจจัยเสริมแรงให้อาจารย์ปฏิบัติภาระกิจต่างๆ ด้วยความมุ่งมั่น รับผิดชอบอย่างสอดคล้องกับนโยบายของคณะวิชา ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

 8 ข้อ 

IQA (1-9)

1,2,3,4,5,7,8

7 ข้อ

5 คะแนน

EdPEx (1-7)

1,2,3,4,5,6,7

ร้อยละ 30 (45 คะแนน)

13.5 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน

รายการ

NS 5.2.2-01

ค่าความพึงพอใจของบุคลากรในการปฏิบัติงานปี 2565

NS 5.2.7-01

รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเอง IQAEdPEx
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1512
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2513.5
คะแนนเฉลี่ย(IQA)/คะแนนรวม(EdPEx) 525.5