บทนำ

โครงร่างองค์กร

โครงร่างองค์กร คณพยาบาลศาสตร์

1.ลักษณะองค์กร

ก. สภาพแวดล้อมองค์กร

คณะพยาบาลศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ โดยสภาการพยาบาลให้การรับรองหลักสูตรใหม่ ปี 2550 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2550 และเปิดดำเนินการตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โดยมีบัณฑิตรุ่นแรก ปีการศึกษา 2453 ปัจจุบันคณะพยาบาลศาสตร์ เปิดสอนมาเป็นเวลา 16 ปี คณะผ่านการรับรองคุณภาพสถาบันการศึกษาพยาบาลและการผดุงครรภ์จากสภาการพยาบาล เป็นระยะเวลา 4 ปี (ปีการศึกษา 2562-2565) และได้รับการรับรองครั้งล่าสุดเป็นระยะเวลา 5 ปี (ปีการศึกษา 2566-2570)

1)ผลิตภัณฑ์

คณะพยาบาลศาสตร์ จัดการศึกษาออกเป็น 2 ประเภทได้แก่  (1) หลักสูตรปริญญาตรี (2) หลักสูตรต่ำกว่าปริญญาตรี การจัดการระดับอุดมศึกษา เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาระดับปริญญาตรี โดยการกำกับดูแลของคณะกรรมการอุดมศึกษาและสภาการพยาบาล ส่วนหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล และหลักสูตรอบรมระยะสั้นผ่านการรับรองหลักสูตร และการจัดการศึกษา ตามประกาศที่สภาพยาบาลกำหนด

ผลิตภัณฑ์หลัก

(หลักสูตร)

ความสำคัญต่อความสำเร็จของคณะ

กลไกการส่งมอบ/การบริหาร

ระดับปริญญาตรี

(พยาบาบศาสตร์บัณฑิต)

ผลิตบัณฑิตเพื่อตอบสนองต่อความต้องการดูแลสุขภาพของประชาชน ผลิตเพื่อรองรับการขยายตัวของระบบบริการสุขภาพ ที่เพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ เป็นสาขาที่ขาดแคลน มีแผนรับนิสิตตามเป้าหมาย 120 คน และเพิ่มขึ้นเป็น 200 คนในปีการศึกษา 2566

คณบดี มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารหลักสูตร กำกับดูแลการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามนโยบายและเป้าหมายของคณะฯ และเสนอรายงานต่อคกก.บริหาร เพื่อทราบผลการดำเนินงานทุกภาคการศึกษา

ระดับประกาศนียบัตร

(ประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล)

ผลิตบุคลากรเพื่อสนองความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพ ช่วยเหลือและดูแลสุขภาพของประชาชนผู้รับบริการ และสนับสนุนการปฏิบัติการของพยาบาลวิชาชีพทุกสาขา

คณบดีเป็นประธานกรรมการโครงการอบรมหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล โดยมอบหมายให้ผู้จัดการโครงการ ควบคุมกำกับการจัดการเรียนการสอน และรายงานผลต่อคณะกรรมการโครงการอบรมหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล ทุกปีการศึกษา

หลักสูตรอบรมระยะสั้น

เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ หรือนวัตกรรมให้กับพยาบาลวิชาชีพ

คณบดีมอบหมายให้รองคณบดีฝ่ายส่งเสริมการศึกษาจัดการอบรมระยะสั้นไม่น้อยกว่า 1 โครงการ/ปีการศึกษาและรายงานผลต่อคกก.บริหารคณะ ทุกปีการศึกษา

2)พันธกิจ วิสัยทัศน์ ค่านิยม และวัฒนธรรม

 ในปีงบประมาณพ.ศ. 2564 ขณะมีการทบทวนและ ผลการดำเนินงาน และทบทวนปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี โดยมีรายละเอียดดังนี้

วิสัยทัศน์

–  มุ่งสู่ การเป็นสถาบันการศึกษาพยาบาล ที่ได้มาตรฐานระดับชาติ และระดับสากล เป็นที่เชื่อมั่นและยอมรับจากสังคมไทยและนานาชาติ

พันธกิจ

1. ผลิตบัณฑิตพยาบาล

2. วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านสุขภาพ

3. ให้บริการวิชาการแก่สังคม

4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

สมรรถนะหลัก

การจัดการเรียนรู้เพื่อผลิตบัณฑิต สาขาพยาบาลศาสตร์และผู้ช่วยพยาบาล

ค่านิยม

STIC

S = Sharing and Caring            เกื้อกูลและเอื้ออาทร

T = Trustworthy                     ซื่อสัตย์ ถูกต้อง ตรงเวลา

I = Inter-cultural competency  เข้ากันได้กับวัฒนธรรมหลากหลายชาติ

C = Commitment to Quality    มุ่งมั่นสู่คุณภาพ

 

3)ลักษณะโดยรวมของบุคลากร

ในปีการศึกษา 2565 คณะพยาบาลศาสตร์อาจารย์ประจำหลักสูตร 48 คน ในจำนวนนี้คิดหน่วยภาระงาน ตามเกณฑ์สภาพยาบาล เทียบเท่า 44.5 คน วุฒิการศึกษาส่วนใหญ่ระดับปริญญาโท ร้อยละ 79.17 ปริญญาเอก ร้อยละ 20.83 ระยะเวลาในการปฏิบัติงานส่วนใหญ่คือน้อยกว่า 10 ปี คิดเป็นร้อยละ79.16

ประเภท

จำนวน

วุฒิการศึกษา

ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน

ปัจจัยที่บุคลากรมีความผูกพันกับคณะวิชา

คน

ร้อยละ

ตรี

โท

เอก

<10ปี

10-15ปี

>15 ปี

อาจารย์

48

100

38

10

38

7

3

ผู้บริหารคณะมีความสามารถในการบริหาร และทักษะผู้นำสูง โดยเฉพาะด้านการสร้างแรงจูงใจในการทำงานและส่งเสริมทัศนคติในการทำงานให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาในระดับสูง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

4

7.84

4

3

1

อาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการผู้ช่วยพยาบาล

3

100

3

2

1

เจ้าหน้าที่ธุรการ

6

5

1

เจ้าหน้าที่แม่บ้าน

2

2

4)สินทรัพย์

อาคารคณะพยาบาลศาสตร์ มี 1 อาคารเป็นตึก 4 ชั้น และมีพื้นที่ โดยรอบอาคาร 10 ไร่ ตั้งอยู่ภายในบริเวณวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาประกอบด้วยห้องเรียนและห้องกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

พื้นที่สำหรับใช้สอย

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่สำคัญ

เทคโนโลยีที่สำคัญ

– ห้องพักผู้บริหาร 1 ห้อง

– ห้องพักอาจารย์ 5 ห้อง

– ห้องสำนักงาน 1 ห้อง

-ห้องปฏิบัติการพยาบาลพร้อมเครื่องอุปกรณ์และหุ่นฝึกปฏิบัติ 3 ห้อง

– ห้องฝึกปฏิบัติเสมือนจริง 2 ห้อง

– ห้องประชุม 2 ห้อง

– ห้องสมุด นักศึกษาใช้บริการห้องสมุดกลางของวิทยาลัย

– หนังสือทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ รวม 23,362 เล่ม (สองหมื่นสามพันสามร้อยหกสิบสองเล่ม)

– คุรุภัณฑ์ประจำห้องพักอาจารย์ประกอบด้วยโต๊ะ เก้าอี้ และตู้เก็บเอกสาร ครบตามจำนวนเจ้าหน้าที่และบุคลากรสายสนับสนุน

– คุรุภัณฑ์ประจำห้องเรียนครบทุกห้องประกอบด้วย เครื่องฉายและไมโครโฟน

– เครื่องถ่ายเอกสาร 3 เครื่อง

– คุรุภัณฑ์ประจำห้องฝึกปฏิบัติ(หุ่นจำลอง/อุปกรณ์/เครื่องมือแพทย์)จำนวน 180 ชนิด

– คุรุภัณฑ์ประจำห้องปฏิบัติเสมือนจริงประกอบด้วย 3 ชุด คือ

(1) Lucy

(2) Lena

(3) Susie

คณะพยาบาลศาสตร์ดำเนินการสนับสนุนการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารได้แก่ ระบบสาระสนเทศในการตัดสินใจของผู้บริหาร การสนับสนุนการทำงานและบุคลากร และใช้ในการ จัดการการเรียนการสอนโดยมีรายละเอียดดังนี้

(1) ระบบสาระสนเทศในการบริหาร ครอบคลุม 5 ด้านได้แก่ ด้านการบริหาร ครอบคลุมแผน ปฏิบัติงานการใช้งบประมาณด้านงานบุคลากรและการพัฒนาบุคลากร และงานสิ่งสนับสนุนการศึกษา ด้านงานวิจัย ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและงาน ด้านการบริการวิชาการสังคม

(2) การสนับสนุนการทำงานของอาจารย์และบุคลากร ขณะมีคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะจำนวน 16 เครื่อง และคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค จำนวน 8 เครื่อง และมีระบบเชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระบบเครือข่ายWireless ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ภายในคณะพยาบาลศาสตร์ เพื่อให้อาจารย์และนักศึกษาสามารถสืบค้นข้อมูลทางวิชาการ ใช้ฐานข้อมูลของวิทยาลัย ในด้านวิชาการผ่านเครือข่ายห้องสมุดกลาง โดยมีระบบเครือข่ายสารสนเทศ เชื่อมโยง เพื่อทำให้เข้าถึงข้อมูลฐานข้อมูล อีเล็กทรอนิกส์ทั้ง E-Journal และ E-book เพื่อการสืบค้นข้อมูล

(3) ส่วนสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน โดยมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์ ในการให้ การบริการ อำนวยความสะดวกนักศึกษา/อาจารย์ ให้สามารถใช้อุปกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5)สภาพแวดล้อมด้าน กฎระเบียบข้อบังคับ

ขณะใช้กฎกระทรวงข้อบังคับประกาศสำหรับการจัด การอุดมศึกษา ทั้งของราชการและของวิทยาลัยมาใช้ในการ ปฏิบัติดังนี้

งาน

กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ

การนำไปใช้

การเรียนการสอน

– พรบ.อุดมศึกษา 2562

– กฎกระทรวง อุดมศึกษา

– มาตรฐานหลักสูตร สป.อว.

– พรบ อุดมศึกษาเอกชน

– ระเบียบประกาศแนวปฏิบัติของ สป.อว.

– ระเบียบประกาศแนวปฏิบัติของ วิทยาลัยนานาชาติ เซนต์เทเรซา

– พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2540

– การจัดทำหลักสูตร

– การจัดกระบวนการเรียนรู้

– การสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

การวิจัย

– ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561-2580)

– ระเบียบจรรยาบรรณการวิจัยในมนุษย์ของ วิทยาลัยนานาชาติ เซนต์เทเรซา

– ข้อบังคับการบริหารทรัพย์สินทางปัญญา

– ประกาศการขอรับทุนการวิจัยของ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา

– ส่งเสริมให้คณาจารย์มี การทำวิจัยและนวัตกรรมด้านสุขภาพ ภายใต้กฎระเบียบและจรรยาบรรณการวิจัยในมนุษย์

การบริการวิชาการ

– นโยบายของคณะวิชาและคู่มือการจัดการบริการวิชาการสังคม

– ดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติของคณะวิชา

การบริหารงานบุคคล/ การบริหารงาน

– ระเบียบการบริหารงานบุคคลของ วิทยาลัยนานาชาติ เซนต์เทเรซา

– นโยบายการจัดทำแผนงาน โครงการและการจัดสรรงบประมาณ ของ   วิทยาลัยนานาชาติ เซนต์เทเรซา

– ข้อบังคับธรรมาภิบาลของ วิทยาลัยนานาชาติ เซนต์เทเรซา

– ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณของอาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์เซนต์เทเรซา

– กฎกระทรวงมาตรฐานคุณภาพอดุมศึกษา

– นโยบายและคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาของ วิทยาลัยนานาชาติ เซนต์เทเรซา

– การบริหารงานบุคคลและการปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับ

– จัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปีการศึกษาครอบคลุมทุกพันธกิจ

-การประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรและคณะวิชา

ข. ความสัมพันธ์ระดับองค์กร

1)โครงสร้างองค์กร

คณะพยาบาลศาสตร์ ดำเนินงานอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของอธิการบดีและสภาวิทยาลัย บริหารงานผ่านคณะกรรมการบริหารคณะซึ่งมีคณบดีเป็นประธาน ประกอบด้วยคณบดี รองคณบดี หัวหน้าภาควิชา หัวหน้าสำนักงานคณบดี ผู้แทนอาจารย์และผู้แทนบุคลากรสายสนับสนุน ทำหน้าที่วางแผนระดับนโยบายและควบคุมกำกับติดตามการดำเนินงานและพัฒนาคณะตามแผนงานคณะฯ รวมทั้งกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ การปฏิบัติงาน ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของวิทยาลัย มีระบบการควบคุมภายใน โดยการรายงานผลการดำเนินงานต่ออธิการบดีและสภาวิทยาลัยปีละ 2 ครั้ง

ผู้บริหารคณะประกอบด้วย คณบดี 1 คน รองคณบดี 4 คน หัวหน้าสำนักงานคณบดี 1 คน และหัวหน้าภาควิชา 6 คน มีการมอบหมายหน้าที่ตามการบังคับบัญชาของคณะตามโครงสร้างองค์กร และมีการมอบหมายหน้าที่ในแต่ละหน่วยงานชัดเจน

มีการบริหารงาน ในรูปแบบของคณะกรรมการ เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการบริหาร และการดำเนินการโครงการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ การติดตามประเมินผล การตัดสินใจแก้ปัญหา โดยมีคณะกรรมการที่สำคัญดังนี้ เช่น กรรมการบริหารคณะวิชา กรรมการบริหารหลักสูตร กรรมการกิจการนักศึกษา กรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กรรมการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ กรรมการบริการวิชาการแก่สังคม กรรมการพัฒนาบุคลากร

มีการแต่งตั้งกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อดำเนินโครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติ เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะโครงสร้าง และความเหมาะสมของบุคลากร ได้แก่ กรรมการพิธีมอบหมวกและตะเกียงไนติงเกล กรรมการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เป็นต้น

โครงสร้างการบริหารงานคณะฯ ประกอบด้วย สำนักงานคณบดีและ 6 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น สาขาวิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช และสาขาการพยาบาลพื้นฐานและพัฒนาวิชาชีพ มีการกำกับดูแล ติดตาม ประเมินผล โดยรองคณบดีฝ่ายวิชาการและรายงานผลการดำเนินงาน เสนอผู้บริหารระดับคณะและวิทยาลัยต่อไป โดยมีคณะกรรมการรับผิดชอบตามผลิตภัณฑ์หลักและรอง ดังนี้

ผลิตภัณฑ์

คณะกรรมการ

ผู้รับผิดชอบหลัก

ผลิตภัณฑ์หลัก

การผลิตบัณฑิต

– คกก.บริหารหลักสูตร

– คกก.วิพากษ์ มคอ.

– คกก.ทวนสอบผลสัมฤทธิ์การศึกษา

– คกก.กิจการนักศึกษา

– รองคณบดีผ่ายวิชาการ

– รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

– อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ผลิตภัณฑ์รอง

การวิจัย

– คกก.พัฒนางานวิจัยและองค์ความรู้

– คกก.จัดการความรู้

– รองคณบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้

การบริการวิชาการสังคม

– คกก.บริการวิชาการสังคม

– รองคณบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้

การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

– คกก.ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

– รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

การบริหารครอบคุมนโยบายและแผน, งานประกันคุณภาพ, งานพัฒนาบุคลากรและส่งเสริมสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

– คกก.บริหาร

– คกก.พัฒนาบุคลากร

– คกก.สรรหาและพัฒนาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

– คกก.พัฒนาคุณภาพ

– คกก. นโยบายและแผน

– คกก. บริหารความเสี่ยง

– คกก. ประกันคุณภาพการศึกษา

– คณบดี

– รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

– รองคณบดีฝ่ายส่งเสริมการศึกษา

2)ลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

          ปีการศึกษา 2565 กลุ่มผู้เรียน ระดับปริญญาตรีมีจำนวนทั้งสิ้น 417 คน กลุ่มผู้อบรมหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล 156 คน กลุ่มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ศิษย์เก่า ผู้ใช้บัณฑิต และผู้ปกครอง ซึ่งมีความต้องการและความคาดหวังต่อหลักสูตรและการบริการที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

ผลิตภัณฑ์

ลูกค้า/ผู้รับบริการ

และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ความต้องการและความคาดหวัง

ผลิตภัณฑ์หลัก

1. การผลิตบัณฑิต

ลูกค้า

– ลูกค้าปัจจุบัน

– สำเร็จการศึกษาตามกำหนดเวลา

– การบริหารหลักสูตรมีประสิทธิภาพ

– สิ่งอำนวยความสะดวก

– ลูกค้าในอนาคต

(ผู้เรียนมัธยมการศึกษา)

– สนใจเข้าเรียนหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ และหลัก สูตรอบรมประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล

– ผู้ปกครอง

– บุตร/ธิดา สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้

– บุตร/ธิดา ได้เรียนในหลักสูตรที่มีคุณภาพ การบริการนักศึกษา และมีสิ่งสนับสนุนการศึกษาที่ดี

ผู้รับบริการ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

– ศิษย์เก่า

– มีชมรมศิษย์เก่า และได้ข้ออมูลข่าวสารจากคณะฯ

– มีโอกาสร่วมการประชุมวิชาการของคณะฯ

– หน่วยบริการสุขภาพที่เป็นผู้ใช้บัณฑิต

– ได้บัณฑิตที่พร้อมทำงานทั้งความรู้และทักษะวิชาชีพ

– บัณฑิตมีคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์และมีคุณธรรมจริยธรรม

– วิทยาลัย

– มีผู้เรียนตามจำนวนที่ต้องการ

– การบริหารหลักสูตร มีประสิทธิภาพ

– สภาการพยาบาล

– คณะสามารถผลิตบัณฑิต เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่หลักสูตรกำหนด

– การบริหารหลักสูตรได้มาตรฐานตามมาตรฐานตามข้อบังคับของสภาการพยาบาล

– สำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา (สกอ.)

– หลักสูตรพยาบาลศาสตร์มีบัณฑิตที่มีมาตรฐานตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี

ผลิตภัณฑ์รอง

1. การวิจัย

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

– สถาบันการศึกษาและเครื่อข่ายการวิจัย

– มีผลงานวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และหรือสอดคล้องกับการแก้ปัญหาสุขภาพ

– สถานบริการสุขภาพและชุมชน

– ผลผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

– ประเทศ

– เกิดองค์ความรู้ใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ

2. บริการวิชาการ

ลูกค้า/ผู้รับบริการ

– ผู้รับบริการ/ประชาชน ที่มีส่วนร่วมในโครงการทุกช่วงวัย

– มีสุขภาพที่แข็งแรง สามารถดูแลตนเองได้เบื้องต้น

– ผู้อบรมหลักสูตรพัฒนาวิชาชีพระยะสั้น(รับหน่วย CNEU)

– ต้องการพัฒนาความรู้ด้านวิชาชีพ นวัตกรรมใหม่ๆ ทางการพยาบาล

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

– ผู้บริหาร รพ.สต.

– ประชาชนในพื้นที่มีสุขภาพที่แข็งแรง สามารถดูแลต้นเองได้เบื้องต้น

– อาจารย์และนักศึกษา

– มีส่วนร่วมในโครงการและกิจกรรม ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม และการเรียนรู้ในสถานการณ์จริง

3. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

– อาจารย์/บุคลากร/นักศึกษา

– มีส่วนร่วมในโครงการเพื่อส่งเสริม สร้างจิตสำนักในมิติสุนทรียภาพ ด้านศิลปวัฒนธรรมประเพณีของไทย และวัฒนธรรมเชิงวิชาชีพ

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

– คณะวิชา/ชุมชน

– ประเทศ

– มีองค์ความรู้ภูมิปัญญาไทยเพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพ

– ประชาชนมีความภูมิใจในขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมของประเทศ

4. การบริหาร

ลูกค้า/ผู้รับบริการ

– อาจารย์/บุคลากร

– ความพึงพอใจในการทำงานและสิ่งสนับสนุนการทำงาน

– มีส่วนร่วมในการบริหาร

– มีความเจริญก้าวหน้าในอาชีพ

– มีการพัฒนาความรู้ และทักษะในการทำงานอย่างต่อเนื่อง

– ผลตอบแทนการทำงานเหมาะสม

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

– วิทยาลัย

– ผู้ถือหุ้น

– ผู้บริหารคณะฯ บริหารงานด้วยหลักธรรมภิบาล

– ผลการบริหารงานของคณะมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ

– ธุรกิจเจริญเติบโต มีรายได้สูงขึ้น มีอัตราส่วนการตอบแทนผู้ถือหุ้นที่เหมาะสม

– วิทยาลัยมีภาพลักษณ์ที่ดี

3)ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และคู่ความร่วมมือ

คณะพยาบาลศาสตร์ ใช้กระบวนการความร่วมมือ กับ ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และคู่ความร่วมมือ ข้อกำหนดที่สำคัญ และกลไกในการสื่อสารร่วมกัน โดยมีความร่วมมือที่สำคัญด้านการเรียนการสอน มีคณะวิชาที่ร่วมสอนคือ คณะศึกษาศาสตร์ในหมวดการศึกษาทั่วไป มีโรงพยาบาลในระดับ ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ เพื่อใช้เป็นแหล่งฝึกภาคปฏิบัติและผู้นำท้องถิ่นเขตอำเภอองครักษ์ สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนและการจัดกิจกรมมการบริการวิชาการ รถตู้รับจ้าง (รับ-ส่งนิสิตไปแหล่งฝึก) ด้านวิจัย มีสำนักวิจัยและพัฒนาของวิทยาลัยช่วยเหลือสนับสนุน ส่งเสริม อาจารย์ของคณะในการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง

หน่วยงาน

หรือองค์กร

ผู้ส่งมอบ

พันธ

มิตร

คู่ความร่วมมือ

บทบาทความร่วมมือ

ข้อกำหนดที่สำคัญ

กลไกในการสื่อสารร่วมกัน

คณะศึกษา ศาสตร์

ü

– ความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนในหมวดการศึกษาทั่วไปเป็นภาษาอังกฤษ

– เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของนักศึกษาให้มีความรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านคณิตศาสตร์ สังคมศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ

– บันทึกข้อความ

– E-mail

– คณะฯ มอบหมายให้อาจารยพยาบาลทำหน้าที่เป็นผู้ประสานรายวิชา

แหล่งฝึกภาคปฏิบัติ

ü

– จัดการศึกาภาคปฏิบัติการพยาบาลครอบคลุม 6 สาขาวิชา

– พัฒนาให้นักศึกษาตามการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ใน มคอ. 4

– จัดเตรียมสถานที่และอาจารย์นิเทศเพื่อร่วมในการเรียนการสอน

– อาจารย์นิเทศในแหล่งฝึก มีส่วนร่วมในการประเมินผลการเรียนของนักศึกษา

– MOU ระหว่างคณะพยาบาลศาสตร์กับแหล่ง

ฝึก

– แผนการจัดการเรียนการสอน มคอ. 4 พร้อมคู่มือฝึกปฏิบัติ

– การประชุมแหล่งฝึก

– โทรศัพท์

– E-mail

รถตู้รับจ้าง

(รับ-ส่ง นักศึกษาไปแหล่งฝึก)

ü

รถตู้ที่มีคุณภาพ

– รถรับ-ส่ง ตรงเวลา

– มีความปลอดภัย

– การบริการของพนักงานขับรถที่มีคุณภาพ

– โทรศัพท์

– ข้อตกลงระหว่างผู้ว่าจ้าง/ผู้รับจ้างและผู้รับบริการ

ผู้นำท้องถิ่นเขตอำเถอ องครักษ์

ü

– ร่วมกันจัดตั้งโครงการการพัฒนาความรู้ด้านสุขภาพให้กับประชาชนในชุมชน

– พัฒนาให้ประชาชนในชุมชนมีความ สามารถในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นได้

– พัฒนาให้นักศึกษามีประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพชุมชน

– โทรศัพท์

– บันทึกข้อความ

– การประชุมร่วมระหว่างผู้ดำเนินโครงการกับผู้นำท้องถิ่น

สำนักวิจัยและพัฒนา

(วิทยาลัย)

ü

– ความร่วมมือในการทำวิจัย

– ความร่วมมือในการจัดทำโครงร่างทุนวิจัยจาก PMU ภาครัฐ

– สนับสนุนการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

– ประกาศสัดส่วนในผลงานวิจัย

– ประกาศการส่งเสริมการทำวิจัยร่วมกับหน่วยงานอื่น (วิทยาลัย)

-จรรยาบรรณการวิจัยในมนุษย์ (วิทยาลัย)

– บันทึกภายใน

– การประชุม

– E-mail

– โทรศัพท์

2.สถานการณ์ขององค์กร

ก. สภาพแวดล้อมด้านการแข่งขัน

คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เป็นสถาบันเอกชน สังกัดกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม คณะฯ เป็นสถาบันการศึกษาพยาบาล ที่ได้รับการรับรองคุณภาพโดยสภาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดได้รับการรับรอง 5 ปี (2566-2570) และเป็นหลักสูตรที่มีนักศึกษามัธยมศึกษาสนใจ สมัครเข้าเรียนเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง

1) ลำดับในการแข่งขัน

        เนื่องจากในประเทศไทย ยังไม่มีการจัดลำดับการ Ranking สถาบันการศึกษาพยาบาลอย่างเป็นทางการ ดังนั้น การจัดลำดับการแข่งขันจึงพิจารณาจากแนวโน้มการพัฒนาของคณะฯ ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ทั้งด้าน การรับรองคุณภาพโดยสภาวิชาชีพ การผลิตบัณฑิตพยาบาล ด้านการวิจัย ดังนี้

ด้านการรับรองสถาบันการศึกษาพยาบาลโดยสภาวิชาชีพ พบว่ามีการรับรองคุณภาพทุกปีการศึกษาและพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ระยะเวลาการรับรอง

ปีการศึกษาที่รับรอง

หมายเหตุ

3 ปี

2556 – 2558

ข้อมูลจากสภาการพยาบาล

3 ปี

2559 – 2561

ข้อมูลจากสภาการพยาบาล

4 ปี

2562 – 2565

ข้อมูลจากสภาการพยาบาล

5 ปี

2566 – 2570

ข้อมูลจากสภาการพยาบาล

          ด้านการผลิตบัณฑิตพยาบาล พบว่าผลสอบความรู้ขอขึ้นทำเบียนการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ เนื่องจากสภาการพยาบาลได้แสดงผลสอบเป็นข้อมูลเปรียบเทียบลำดับของการแข่งขันของสถาบันการศึกษาอื่นๆได้ เมื่อเปรียบเทียบผลการสอบความรู้ของขึ้นทะเบียนบย้อนหลัง ปีการศึกษา 2563-2565 มีแนวโน้มลดลงสอดคล้องกับช่วงการการเรียนการสอน Online ในช่วงการระบาดของ Covid-19 จึงนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนพัฒนาการจัดการศึกษาต่อไป

                     ตารางร้อยละของบัณฑิตที่สอบวัดความรู้ขอขึ้นทะเบียนการประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ผ่าน 8 วิชาในปีแรก

ปีการศึกษา

ปีการศึกษา

หมายเหตุ

2563

ร้อยละ 96.96

ข้อมูลจากสภาการพยาบาล

2564

ร้อยละ 88.33

ข้อมูลจากสภาการพยาบาล

2565

ร้อยละ 81.63

ข้อมูลจากสภาการพยาบาล

          ด้านการวิจัย คณะได้จับคู่เทียบตนเองกันเกณฑ์ที่กำหนด โดยผลการดำเนินการมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และยังมีผลการวิจัยที่นำมาลงในฐาน SCOPUS เพิ่มขึ้น

          ตารางจำนวนผลการวิจัยที่ลงตีพิมพ์ในฐานข้อมูลระดับชาติ และนานาชาติ รวมถึงค่าถ่วงน้ำหนักผลงานวิจัยเทียบกับเกณฑ์ของสภาพยาบาล (ค่าเฉลี่ย 3 ปี ≥ 30% ได้คะแนนเต็ม)

ปีการศึกษา

Total

TCI 1

TCI 2

SCOPUS

%w/FTE

เกณฑ์%W/FTE

ผลการเปรียบเทียบ

2563

14

4

4

6

28.29

30%

ต่ำกว่าเกณฑ์

2564

29

4

6

16

60.95

30%

สูงกว่าเกณฑ์

2565

14

10

3

1

21.12

30%

ต่ำกว่าเกณฑ์

          การดำเนินงานมี %w/FTE ขึ้นลงเนื่องจากช่วงเวลาขอตีพิมพ์เฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 36.79 ซึ่งมากกว่าเกณฑ์

ข. บริบทเชิงกลยุทธ์

บริบทเชิงกลยุทธ์ของคณะ ได้จาการวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลตามกระบวนการประชุมเพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์คณะพยาบาลศาสตร์ปี 2563-2567 มีปัจจัยภายในและภายนอกที่สำคัญ คือ

ความท้าทายเชิงกลยุทธ์(อุปสรรค)

ความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์(โอกาส)

ปัจจัยภายนอก (ภัยคุกคาม)

1) มีการเปิดหลักสูตรเพื่อผลิตบุคลากรด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้น

2) การขาดแคลนอาจารย์พยาบาล

ปัจจัยภายนอก (โอกาส)

1) ความต้องการบุคลากรด้านสุขภาพสูงขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ

2) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้านประชากรของประเทศเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบัน

3) สิ่งของสนับสนุน ทุนกู้เพิ่มให้กับผู้เรียนหลักสูตรพยาบาลอย่างต่อเนื่อง

ปัจจัยภายใน (จุดอ่อน)

1) วิทยาลัยไม่มีธุรกิจเครือข่ายที่สนับสนุนการฝึกปฏิบัติในภาควิชาชีพพยาบาล

2) บุคลากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยสูงอายุ และกลุ่มที่มีประสบการณ์น้อย

3) ผลลัพธ์การพัฒนานักศึกษาด้านทักษะภาษาอังกฤษยังไม่ผ่านตามเกณฑ์

4) ผลงานวิชาการ เช่นหนังสือ ตำรา ยังมีไม่เพียงพอ

ปัจจัยภายใน (จุดแข็ง)

1) หลักสูตรผลิตบุคลากรที่ดูแลด้านสุขภาพในระดับปริญญาตรีที่มีคุณภาพ

2) ผู้บริหารมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์บริหารมากกว่า 40 ปี

3) อาจารย์และบุคลากรมีความรักและผูกพันธ์ในองค์กร

4) อาจารย์มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning

          และนำผลการวิเคราะห์มาจัดทำแผนกลยุทธ์ โดยนำจุดแข็งและโอกาสมาจัดผลิตบัณฑิตหลักคือการพัฒนาหลักสูตรและเร่งรัดพัฒนา จุดอ่อนขององค์กร และป้องกันความเสี่ยง (Risk) จากภัยคุกคามจากภายนอก   

          แนวทางการพัฒนาจุดแข็งขององค์กรและโอกาสทางธุรกิจเพื่อเพิ่มความได้เปรียบของผลิตภัณฑ์ (หลักสูตร) ดังนี้

อุปสรรค/จุดอ่อน

แนวทางการพัฒนาจุดอ่อน

1. วิทยาลัยไม่มีธุรกิจเครือข่ายที่สนับสนุนการฝึกปฏิบัติในภาควิชาชีพพยาบาล

2. การขาดแคลนของอาจารย์

– ทำ MOU กับแหล่งฝึก

– มีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร/การวิจัยร่วมกับแหล่งฝึกปฏิบัติ

– ประกาศรับสมัครอาจารย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

– พิจารณาจัดสรรเงินค่าตอบแทนการสอนเกินภาระงาน

– สนับสนุนทุนการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น, จัดสรรทุนศึกษาต่อปริญญาโทให้กับศิษย์เก่า

3. ผลลัพธ์การพัฒนานักศึกษาด้านทักษะภาษาอังกฤษยังไม่ผ่านเกณฑ์

– เร่งรัด พัฒนา นักศึกษาให้มีความรู้และทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษ

4. ผลงานวิจัยและวิชาการยังไม่ผ่านตามเกณฑ์

– เร่งรัด พัฒนา และส่งเสริมให้อาจารย์มีความสามารถในการทำวิจัยและผลิตผลงานวิชาการที่มีคุณภาพ

คณะพยาบาลศาสตร์ นำ Balanced Scorecard (BSC) มาเป็นเครื่องมือด้านการจัดการ ที่จะช่วยให้องค์กรแปลงกลยุทธ์และเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ ไปสู่การปฏิบัติ ( Transform Strategy into Action) โดยที่คณะได้นำวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ และเป้าหมายขององค์กร มาจัดทำแผนปฏิบัติครอบคลุมพันธกิจหลัก และกำหนดเป้าหมายระดับคณะใน 4 มุมมองตาม Balanced Scorecard ผ่าน 4 มุมมองหลัก ได้แก่ มุมมองด้านการเงิน (Financial Perspective) มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspective) มุมมองด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspective) และมุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Growth Perspective) โดยมีเป้าหมายวัตถุประสงค์และตัวชี้วัด (KPI 4 มุมมองดังนี้)

มุมมอง

เป้าหมาย

วัตถุประสงค์

เกณฑ์ตัวชี้วัด

ด้านการ เงิน

เพิ่มผลประกอบด้านการเงิน

ควบคุมต้นทุนการดำเนินงานต่อหน่วยไม่เกินค่าเฉลี่ย

เกณฑ์ทุนต่อหน่วย 150,000 บาท/คน/ปี

ด้านลูกค้า

เพื่อสร้างความพึงพอใจของลูกค้า (นักศึกษาผู้ปกครองผู้ใช้บัณฑิต)

ผลิตบัณฑิตสาขาพยาบาลศาสตร์ที่มีคุณภาพ

– ความพึ่งใจในระบบบริการนักศึกษา ≥ 3.51

– นักศึกษาสำเร็จตามเวลาของหลักสูตรร้อยละ 90

– บัณฑิตมีงานทำหลังสำเร็จการศึกษาร้อยละ 100

– คะแนนความพึ่งพอใจผู้ใช้บัณทิต ≥ 3.51

ด้านกระบวน การภายใน

เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารหลักสูตร

 

 

– ผลลัพธ์การบริหารหลักสูตรบรรลุตัวชี้วัดตามเกณฑ์มาตรฐานของหลักสูตร

– ผลลัพธ์การพัฒนานักศึกษา บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

คะแนนการประเมินคุณภาพหลักสูตร ≥ 3.51

เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารคณะวิชาด้วยธรรมภิบาล

– ผลลัพธ์การบริหารคณะสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานการประเมินคุณภาพภายใน

– ผู้บริหารใช้หลักธรรมภิบาลในการบริหาร

– คะแนนการประเมินคุณภาพภายใน ระดับคณะ ≥ 3.51

– คะแนนการประเมินการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลของคณบดีและผู้บริหารคณะ  ≥ 3.51

– ได้รับการรับรองสถาบันการศึกษาพยาบาลระยะเวลา 5 ปี อย่างต่อเนื่อง

– ผลการปฏิบัติงานตามแผนงานผ่านเกณฑ์ของวิทยาลัย

ด้านการเรียนรู้และพัฒนา

– สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

– เพื่อความพึงพอใจในการทำงานของอาจารย์และบุคลากร

– คะแนนความพึงพอใจในการทำงาน

อาจารย์ ≥ 3.51

บุคลากร ≥ 3.5

 

– เพื่อพัฒนาศักยภาพของอาจารย์และบุคลากร

– ร้อยละ 100 ของอาจารย์ได้รับการพัฒนาตามเกณฑ์ของสถาบัน

– ร้อยละ 100 บุคลากรได้รับการพัฒนาตามเกณฑ์ของสถาบัน

ค. ระบบการปรับปรุงผลการดำเนินการ 

      การปรับปรุงการดำเนินงาน ด้านการบริหารหลักสูตร และการบริหารคณะโดยใช้เกณฑ์การประกันคุณภาพระบบหลักสูตร เกณฑ์ประกันคุณภาพระดับคณะ(รวมถึงการประเมินผลการบริหารงานตามกลยุทธโดยใช้ Balanced Scorecard  เพื่อประเมินผลลัพธ์ และนำไปสู่การปรับปรุง โดยทำการประเมินคุณภาพภายใน (IQA) ประจำทุกปี สำหรับการปรับปรุงกระบวนการและระบบงาน คณะได้มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบในระบบงาน นำวงจรคุณภาพ เดมมิ่ง หรือ PDCA และประเมินความเสี่ยงมาใช้ในการตรวจและประเมิน และนำผลที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุงผลการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการประจำปีที่คณะกำหนด